นิทานพื้นบ้าน - PDF Flipbook

นิทานพื้นบ้าน

103 Views
77 Downloads
PDF 3,440,025 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


นิทานพื้นบ้าน เพจภาษาไทยไม่จั๊กเดียม

นิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน คือ เรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา ดั้งเดิมนั้นถ่ายทอดกันด้วย มุขปาฐะ (การเล่าปากต่อปากกันมา การบอกเล่าต่อ ๆ กันมา โดยมิได้เขียน เป็นลายลักษณ์) แต่ก็มีอยู่มากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และนิทาน พื้นบ้านต้องเล่าด้วยถ้อยคําธรรมดาภาษาชาวบ้านทั่ว ๆ ไป เป็นเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาช้านานหลาย ชั่วอายุคน ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิมต้นเรื่อง

ความสําคัญของนิทานพื้นบ้าน ให้ความเพลิดเพลิน เพราะในนิทานมีเรื่องมหัศจรรย์ต่าง ๆ ที่เราทําไม่ได้ในชีวิตจริง จึงทําให้เราเกิดความเพลิดเพลิน เช่น การเหาะเหินเดินอากาศ เวทย์มนตร์ ของวิเศษ หรือการแปลงกาย

ความสําคัญของนิทานพื้นบ้าน ให้กําลังใจในการดําเนินชีวิต ตัวละครในนิทานหลายเรื่อง มักประสบความทุกข์ยากลําบากแต่ก็จะได้รับความสุขสบาย ในที่สุด เช่น นิทานชุดท้าวกําพร้าของคนอีสาน ตัวละครเอก ยากจนและอยู่อย่างอ้างว้างไร้ญาติมิตร แต่ในที่สุดก็มีโชคหรือมี ผู้ช่วยให้รํ่ารวยและได้เป็นเจ้าเมืองในตอนจบ

ความสําคัญของนิทานพื้นบ้าน ให้คําอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือที่มา ของสถานที่และสิ่งต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น เรื่องเมขลากับ รามสูรอธิบายการเกิดฟ้าแลบฟ้าร้อง หรือนิทานเรื่องพญา กงพญาพานที่สัมพันธ์กับการสร้างพระปฐมเจดีย์ในจังหวัด นครปฐม

ความสําคัญของนิทานพื้นบ้าน ให้ความสําคัญแก่วีรบุรุษประจําถิ่นหรือประจําชาติ เช่น นิทานเรื่องพระร่วงของชาวสุโขทัย เป็นเรื่องที่กล่าวถึง พระร่วงซึ่งเป็นผู้นําของกลุ่มคนไทยว่าเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์

ความสําคัญของนิทานพื้นบ้าน ให้ข้อคิดและคติในการดําเนินชีวิต นิทานมักจะสอนเรื่อง กฎแห่งกรรมหรือคติธรรมที่ว่า “ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว” เช่น เรื่องปลาบู่ทอง โสนน้อยเรือนงาม ทั้งสองเรื่องนางเอกเป็น คนดีแต่ถูกกลั่นแกล้ง ตอนจบนางเอกได้พบพากับความสุข เข้าทํานองที่ว่า “คนดีตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” ส่วนคน ชั่วก็ถูกลงโทษในที่สุด

นิทานพื้นบ้านในท้องถิ่น นิทานแต่ละท้องถิ่นมักมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้ อ ม สั ง คม วั ฒ นธรรมของท้ อ งถิ ่ น นิ ท านแต่ ล ะท้ อ งถิ ่ น จึ ง มี ค วามแตกต่ า งกั น ตาม ลักษณะสภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม

นิทานภาคเหนือ

นิทานภาคเหนือ มักมีนิทานประเภทเล่าความเป็นมาของสถานที่หรือ นิ ท านที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ พุ ท ธศาสนา ส่ ว นใหญ่ เ กี ่ ย วกั บ พระพุทธเจ้าหรือ ความเป็นมาของสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธเจ้า เช่น การสร้างเมือง และที่มาของชื่อเมือง การสร้างพระธาตุเจดีย์ นิทานประเภทอธิบายสาเหตุของ สิ่งต่าง ๆ บางเรื่องก็ยังมีเรื่องของพระพุทธเจ้าเข้าไป เกี่ยวข้อง

นิทานภาคเหนือ “คําผี้หลี้”

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมี พระชมน์ชีพอยู่นั้น สัตว์ทุกตัวสามารถพูดภาษาคนได้ สัตว์หลาย ตัวได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอให้พระพุทธเจ้าตั้งชื่อให้ สัตว์แต่ละตัวต่างก็ได้ชื่อ ดี ๆ ไพเราะ ๆ กลับไปทุกตัว

สุนัขตัวหนึ่งเห็นเพื่อน ๆ ต่างได้ชื่อที่ไพเราะ ก็เลยเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มันได้ขอให้ พระพุทธเจ้าตั้งชื่อให้ พระพุทธเจ้าจึงตั้งชื่อสุนัขว่า "คําผี้หลี้" ซึ่งมีความหมายว่า งดงาม น่ารัก

สุนัขตัวนั้นชอบชื่อของมันมาก ด้วยความเห่ออยากจะได้ยินคน อื่นเรียกชื่อตัวเองบ่อย ๆ ก็เลยวิ่งกลับไปหาพระพุทธเจ้าอีกแล้ว ถามว่ า "พระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นตั ้ ง ชื ่ อ ให้ ข ้ า ว่ า อย่ า งไรนะท่ า น“ พระพุทธเจ้าจึงบอกสุนัขไปว่า "ข้าให้ชื่อเจ้าว่า คําผีห้ ลี"้

สุ น ั ข หรื อ คํ า ผี ้ ห ลี ้ ต ามที ่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ได้ ต ั ้ ง ชื ่ อ ให้ น ั ้ น ก็ ด ี ใ จ ลากลับไป พอกลับไปได้ไม่นานก็ดีใจอยากจะได้ยินชื่อของตนอีก จึงวิ่งกลับมาถามพระพุทธเจ้าอีกว่ามันชื่ออะไร พระพุทธเจ้าก็ตอบ เหมือนเดิมว่า "คําผีห้ ลี”้

คําผี้หลี้ได้ยินชื่อตนเองอีกครั้งก็ดีใจ จึงลากลับไป วิ่งไปได้ไม่นาน ก็อยากจะฟังชื่อของตนอีก ด้วยความ เห่ อก็ ว ิ ่ งกลั บ มาถามพระพุ ทธเจ้ า เป็ นครั ้ งที ่ ๓ ว่ า "พระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นให้ ช ื ่ อ ว่ า อะไรนะ บอกข้ า อี ก ครั้งเถอะ“

พระพุทธเจ้าได้ยินคําผี้หลี้ถามซํ้าแล้วซํ้าอีกก็นึก รําคาญจึงตอบไปว่า "ข้าให้ชื่อเจ้าว่า หมา” คําผี้หลี้จึง ได้ชื่อว่าหมา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสุนัขจึงมีชื่อเรียกว่า “หมา”

ที ่ ม า : ฐานข้ อ มู ล นิ ท านพื ้ น บ้ า นล้ า นนา มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ http://lannakadee.cmu.ac.th/area1/story/index.php?pid=96

นิทานภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

นิทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักเป็นนิทานที่กล่าวถึงความแห้งแล้ง การขอฝนและบทบาท ของแถนซึ่งชาวอีสานเชื่อว่าเป็นเทวดาที่มีอํานาจเหนือ ชีวิตมนุษย์

นิทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เรื่อง “พญาคันคาก”

เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกําเนิดเป็นพญาคันคาก (คางคก) ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ครั้งหนึ่งพญาแถนเทพ เจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง ๗ เดือน ทําให้เกิดความลําบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวล มนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจํานวนมาก

พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้น โพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกัน เพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน

ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทําให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิด ความท้อถอยหมดกําลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย

ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบ กับพญาแถน และได้วางแผนในการรบโดยให้ ปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมือง พญาแถน

เพื ่ อ เป็ น เส้ น ทางให้ บ รรดาสรรพสั ต ว์ ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมี มอด แมลงป่อง ตะขาบ มอดได้รับหน้าที่ให้ ทําการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทําด้วยไม้ทุกชนิด

ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตาม เสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทําหน้าที่กัดต่อย

หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อ ปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทําหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและ ตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพ ระสํ่าระสาย

ในที่สุดพญาแถนจึงยอมแพ้และตกลงทําสัญญาสงบศึกกับ พญาคางคก ดังนี้ ๑. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใดให้พญาแถนสั่ง ให้ฝนตกในโลกมนุษย์

๒. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว ๓. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียง โหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้

ที่มา : โครงการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีhttps://www.ubu.ac.th/web/rocket/content

นิทานภาคกลาง

มักอธิบายที่มาหรือตํานานสถานที่และสิ่งต่าง ๆ

นิทานภาคกลาง

“พญากงพญาพาน“

กล่าวถึงพญากงได้ครองเมืองกาญจนบุรี (บางสํานวนว่าเป็นเมือง นครชัยศรี) มีพระมเหสีรูปโฉมงดงาม เมื่อพระมเหสีทรงพระครรภ์ โหรหลวงได้ทํานายว่าจะได้พระราชโอรสเป็นผู้มีบุญ และจะได้เป็น ใหญ่ภายหน้า แต่จะเป็นผู้ฆ่าพระราชบิดา

เมื่อครบกําหนดพระมเหสีก็ประสูติพระกุมาร ขณะที่ข้าราชบริพาร ได้เอาพานไปรองรับ บังเอิญหน้าผากของพระกุมารกระทบขอบพาน เป็นแผล พญากงได้สั่งให้นําพระกุมารไปทิ้งตามยถากรรม ยายหอมไปพบเข้าจึงนําไปเลี้ยงไว้และตั้งชื่อว่า “พาน”

ครั้นเมื่อเด็กชายพานโตขึ้นยายหอมก็นําไปฝากให้เล่าเรียนที่วัด พานเป็นเด็กฉลาด สมภารวัดผู้เป็นอาจารย์จึงรักใคร่เอ็นดู มีวิชาอะไรก็ สอนให้หมด อาจารย์ได้นําพานไปฝากให้เข้ารับราชการกับเจ้าเมือง ราชบุรี พานเป็นคนปัญญาดี เรียบร้อยและขยัน จึงเป็นที่โปรดปราน ของเจ้าเมืองราชบุรีมาก จนถึงกับรับไว้เป็นโอรสบุญธรรม

สมัยนั้นเมืองราชบุรีขึ้นกับเมืองกาญจนบุรี พระยาราชบุรีต้องส่ง เครื่องบรรณาการทุกปี พญาพานเป็นผู้มีฝีมือในการรบจึงชักชวนให้เจ้า เมืองราชบุรียกกองทัพไปปราบเมืองกาญจนบุรี พญาพานเป็นแม่ทัพ ออกไปรบกับพญากง ทั้งสองทํายุทธหัตถีกันในที่สุดพญากงก็ถูกฟัน ด้วยของ้าวคอขาดตายในที่รบ

เมื่อพญาพานเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้แล้ว ย่อมได้ทั้ง ราชสมบัติตลอดจนพระมเหสีของพญายากงด้วย แต่ในขณะที่จะ เข้าไปหาพระมเหสีนั้น เทวดาได้แปลงกายเป็นแมวแม่ลูกอ่อนให้ลูก กินนมขวางประตูไว้ แล้วร้องทักเสียก่อน

พญายาพานจึงได้อธิษฐานว่า ถ้าพระมเหสีเป็นแม่ของตนจริง ก็ขอให้มีนํ้านมไหลซึมออกมา ก็เห็นนํ้านมไหลออกมาจริง จึงได้รู้ว่า ทั้งสองเป็นแม่ลูกกัน พญายาพานจึงสํานึกได้ว่าได้กระทําปิตุฆาต ฆ่าพระราชบิดา และโกรธที่ยายหอมปิดบังความจริง ด้วยโทสะจึง สั่งให้นํายายหอมไปฆ่าเสีย

ต่อมาด้วยความสํานึกผิด ที่ได้ฆ่าพระราชบิดาและ ยายหอมผู้มีพระคุณ จึงได้สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่สูงแค่นกเขา เหินตามคําแนะนําของพระอรหันต์ คือ พระปฐมเจดีย์ ที่เมืองนคร ชัยศรี (ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม) เพื่อเป็นการล้างบาปที่ ฆ่าพระราชบิดาให้บรรเทาลงบ้าง และสร้างพระประโทณเจดีย์ (ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม) เพื่อล้างบาปที่ฆ่ายายหอม

ที่มา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม http://ich.culture.go.th/

นิทานภาคตะวันออกและ ภาคตะวันตก

นิทานภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมีพื้นที่ที่เป็นชายหาดและเกาะแก่งต่าง ๆ ในทะเลอ่าวไทย จึงมักมีนิทานที่สัมพันธ์กับชื่อและลักษณะภูมิประเทศ ชายฝั่งทะเล

นิทานภาคตะวันออกและภาคตะวันตก

“ตาม่องล่าย”

ตาม่องล่ายและยายรําพึงอาศัยอยู่บ้านหลังหนึ่งริมทะเล มีลูกสาวสวยชื่อ ยมโดย สวยเด่นกว่าหญิงอื่น จึงมีชายหมายปองหลายคน ในขณะเดียวกัน มีชายคนหนึ่งชื่อ เจ้าลาย ซึ่งมียายรําพึงให้การสนับสนุน เนื่องจากรู้ใจมักนํา ของมาเป็นของกํานัลอยู่เนือง ๆ อีกคนหนึ่งคือ เจ้ากรุงจีน ซึ่งมีตาม่องล่าย ให้การสนับสนุน

ต่อมาเจ้ากรุงจีนมาสู่ขอยมโดยต่อตาม่องล่าย ส่วนเจ้าลาย มาขอยมโดยจากยายรําพึง บังเอิญที่สองตายายนัดวัน แต่งงานตรงวันเดียวกัน เมื่อวันนั้นมาถึงขบวนขันหมากของ ทั้งสองฝ่ายก็ยกมาประจันหน้ากัน สองตายายไม่รู้จะทํา อย่างไรดี ในที่สุดก็หันไปโทษกันถึงขั้นวิวาทอย่างรุนแรง

จนยายรําพึงฉวยได้หมวกขว้างใส่ตาม่องล่าย แต่หมวกลอยตามแรงลม ลงทะเลกลายเป็นเขาล้อมหมวก ตาม่องล่ายก็ไม่ยอมฉวยได้กระบุงขว้าง ใส่ยายรําพึงทันที กระบุงก็ลอยไปตกในทะเลแถวจังหวัดตราดเป็นเกาะ กระบุง ยายรําพึงไม่ยอมคว้าได้งอบขว้างเข้าใส่ตาม่องล่ายอีก คราวนี้ งอบลอยไปตกในทะเลกลายเป็นแหลมงอบที่จันทบุรี

ตาม่องล่ายก็ตอบโต้โดยการขว้างสากใส่ยายรําพึง แต่สากกระดอนไป กระทบเกาะที่ขวางหน้า จนเกาะทะลุแล้วกระดอนลงในทะเลไปเป็นเกาะสาก ยายรําพึงหมดปัญญาที่จะตอบโต้โมโหสุดขีดนอนดิ้นเร่า ๆ สิ้นใจตรงริม หาดแห่งนั้น ผู้คนจึงเรียกว่าหาดแม่รําพึง

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ตาม่องล่ายไม่รู้จะทําประการใด จึงคว้าลูกสาวฉีกออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งขว้างให้เจ้าลาย อีกซีกโยนไปให้เจ้ากรุงจีน กลายเป็นเกาะนมสาวที่บางปู ปราณบุรีและจันทบุรี พร้อมกับขว้างขันหมาก พลู เครื่องสู่ขอ ลงในทะเลกลายเป็นหอยมวน ขนมจีนกลายเป็นสาหร่าย กระจกโยนตกไปเป็นเขาช่องกระจก

ตะเกียบเป็นเขาตะเกียบ และจานตกเป็นเกาะจาน เจ้าลายก็เสียใจ สุดขีด เพราะผิดหวังอาเจียนออกมาเป็นโลหิต จนตายกลายเป็น เขาเจ้าลาย เจ้ากรุงจีนเลยยกขบวนกลับเมือง ตาม่องล่ายพึงนึก ขึ้นได้ว่าตัวเองสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเอาเหล้ามาดื่มจนตาย ณ หาดทรายริมทะเลแห่งนั้น

ที่มา : สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคิริขันธ์ http://province.mculture.go.th/prachuapkhirikhan/?p=2404

นิทานภาคใต้

นิทานภาคใต้

มักกล่าวถึงที่มาของภูเขา เกาะและชายหาดต่าง ๆ เพราะด้วย ภูมิประเทศของทางภาคใต้ติดกับเกาะและชายหาดเป็นหลัก

นิทานภาคใต้

“เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”

เมืองตานี (เมืองปัตตานี) เป็นเมืองท่าที่สําคัญแห่งหนึ่ง มีเรือ สําเภานําสินค้าจากต่างเมืองมาค้าขายและขนถ่ายสินค้าเป็นประจํา ลิ่มโต๊ะเคี่ยมเป็นพ่อค้าหนุ่มชาวจีนนําเรือสําเภาไปค้าขายตามเมือง ต่าง ๆ ได้แวะมาที่เมืองตานีและนําสินค้าเครื่องบรรณาการไป มอบให้เจ้าเมืองตานีจึงได้มีโอกาสพบธิดาเจ้าเมืองซึ่งมีรูปโฉม งดงาม ลิ่มโต๊ะเคี่ยมเกิดหลงรักอย่างถอนตัวไม่ขึ้น

ส่วนนางก็มีใจตรงกัน ติดขัดอยู่ที่ว่าฝ่ายชายเป็นคนต่างชาติ ศาสนา บิดาของนางจึงขอให้ลิ่มโต๊ะเคี่ยมเปลี่ยนมานับถือศาสนา อิสลามตามอย่างนาง ซึ่งลิ่มโต๊ะเคี่ยมก็ยินยอมโดยส่งเรือสําเภา ให้เดินทางกลับไปส่งข่าวให้มารดาทราบว่าตนจะตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ เมืองตานีไม่กลับไปเมืองจีนอีก

เมื่อมารดาทราบข่าวก็เศร้าโศกเสียใจมาก นางลิ่มกอเหนี่ยวผู้เป็น น้องสาวจึงตัดสินใจเดินทางมาหาพี่ชายเพื่อขอร้องให้กลับไปเยี่ยม มารดาที่ล้มป่วย และได้ให้สัจจะวาจาว่าหากพาพี่ชายกลับบ้านไม่ได้ นางก็จะไม่ยอมกลับ

เมื่อลิ่มกอเหนี่ยวมาที่เมืองตานีก็พบว่าพี่ชายได้เข้ารีตนับถือศาสนา อิสลาม และกําลังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยเจ้าเมืองตานีก่อสร้าง มัสยิดหลังใหญ่เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานทางศาสนาซึ่งนางเห็นว่าเป็น ความผิดอย่างมหันต์

แล้วคืนนั้นเองนางก็ตัดสินใจผูกคอตายกับกิ่งมะม่วง หิมพานต์ตรงหน้ามัสยิดทีก่ ําลังก่อสร้าง เมื่อลิ่มโต๊ะเคี่ยมรู้ก็ เศร้าโศกเสียใจและได้จัดการฝังศพนางไว้ใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ ต้นนั้น หลังจากทําศพน้องสาวเสร็จลิ่มโต๊ะเคี่ยวก็พยายามสร้าง มัสยิดต่อไปโดยเจตนาให้เป็นอนุสรณ์แก่น้องสาวด้วย

แต่ปรากฎว่า เมื่อสร้างไปถึงยอดโดมอันเป็นสัญลักษณ์สําคัญก็เกิด เหตุอัศจรรย์ฟ้าผ่าลงตรงกลางทําให้เห็นยอดโดมพังทลายลงมา ครั้งแรกยังไม่มีใครคิดเป็นอย่างอื่นนอกจากเห็นว่าเป็นปรากฎการณ์ ธรรมชาติและลงมือสร้างต่อใหม่ แต่พอสร้างถึงยอดโดมก็เกิดฟ้าผ่า เปรี้ยงลงมาเป็นครั้งที่สองทําให้ยอดโดมพังทลายลงไปอีกครั้ง

ลิ่มโต๊ะเคี่ยมจึงนึกถึงคําสาปแช่งของนางลิ้มกอเหนี่ยวขึ้นมาได้และ สั่งให้คนวางมือจากการก่อสร้างทั้ง ๆ ที่สร้างใกล้จะเสร็จแล้ว เหลืออยู่แต่เพียงยอดโดมที่เป็นสัญลักษณ์ของมัสยิดเท่านั้น ส่วนต้นมะม่วงหิมพานต์ต้นนั้นมีผู้นํามาแกะสลักเป็นรูปเจ้าแม่ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

ที่มา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม http://ich.culture.go.th/

นิทานไทยเรื่อง

นิทานไทยเรื่อง สังข์ทอง บทละครนอกเรื่อง “สังข์ทอง” เป็นบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

นิทานสังข์ทองมีสํานวนท้องถิ่นต่าง ๆ มากมายเพราะมี ความแพร่หลายมานานแล้ว ในรูปแบบนิทานมุขปาฐะที่ ถ่ายทอดกันแบบปากต่อปาก ซึ่งบางท้องถิ่นก็เชื่อว่าเรื่อง สังข์ทองเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในท้องถิ่นของตนด้วย สังข์ทองที่ถ่ายทอดเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรก็มี เป็นจํานวนมากเช่นกัน เพราะมีทั่วทุกภาคของประเทศไทย

- สังข์ทองภาคกลาง มีสังข์ทองกลอนสวด สังข์ทอง คําฉันท์และบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง - สังข์ทองในภาคเหนือ มีชาดกเรื่องสุวัณณะหอยสังข์ และค่าวซอเรื่องสุวัณณะหอยสังข์ - สังข์ทองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาดกเรื่องสุวัณณะ สังข์กุมาร - สังข์ทองในภาคใต้ มีสังข์ทองคํากาพย์

เรื่องย่อ สังข์ทอง

ณ เมืองหนึ่ง เจ้าเมืองมีพระมเหสี ๒ พระองค์ พระมเหสีองค์แรกได้คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ จึงถูกมเหสีรองใส่ร้ายว่าเป็นกาลกิณีบ้านเมืองจนถูก ขับออกจากเมืองไปอยู่กระท่อมตายายที่ชายป่า

อยู่มาวันหนึ่งพระสังข์ที่ซ่อนอยู่ในหอยได้ ออกมาช่วยแม่ทํางานบ้านแม่ดีใจมากที่เห็นลูก และไม่อยากให้ลูกอยู่ในหอยนั้นอีก นางจึงทุบหอย สังข์ทิ้ง

ข่าวล่วงรู้ไปถึงมเหสีรอง นางจึงได้ส่ง คนมาจับพระสังข์ไปถ่วงนํ้า แต่มี พญานาคช่วยเอาไว้และส่งให้ไปอยู่กับ นางยักษ์และนางยักษ์ก็เลี้ยงพระสังข์ ไว้เป็นบุตร

พระสังข์อยู่เมืองยักษ์จนโตเป็นหนุ่ม พบของ วิเศษในเมืองยักษ์และรู้ว่าแม่เลี้ยงของตน เป็นยักษ์ พระสังข์จึงอยากหนีไปจากที่นี่ จึงลงชุบตัวเป็นทองในบ่อทอง สวมรูปเงาะ เกือกแก้ว แล้วเหาะหนีไปบนเขา

นางยักษ์จึงตามหาพระสังข์เพื่อขอให้กลับไปกับ นางแต่ไม่สําเร็จและนางก็ไม่สามารถขึ้นไปหา พระสังข์บนเขาได้ นางจึงสอนมนต์เรียกเนื้อ เรียกปลาให้พระสังข์แล้วสิ้นใจตายตรงเชิงเขา

พระสังข์เหาะมาจนถึงเมืองเมืองหนึ่ง ซึ่งกําลังจัดพิธีเลือก คู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด แต่พระธิดาองค์สุดท้องไม่ยอมเลือกใคร เป็นคู่ บิดาจึงให้คนไปตามเจ้าเงาะมาให้เลือก

นางเห็นรูปทองที่ซ่อนอยู่ในรูปเงาะจึงเสี่ยงมาลัยไปให้ สร้างความพิโรธให้บิดา บิดาจึงขับไล่นางให้ไปอยู่ กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ

เจ้าเมืองพยายามหาทางกําจัดเจ้าเงาะ โดยการให้ไป หาเนื้อหาปลาแข่งกับเขยทั้งหก เจ้าเงาะใช้มนต์ที่นาง ยักษ์ให้ไว้เรียกเนื้อเรียกปลามารวมกันทําให้หกเขยหา ปลาไม่ได้ จึงต้องยอมตัดปลายหูและปลายจมูกแลก กับเนื้อและปลา เจ้าเมืองพิโรธมากจนถึงกับคิดหาทาง ประหารเจ้าเงาะ

พระอินทร์ต้องการให้เจ้าเงาะถอดรูปตลอดไป จึงลงมาท้าตีคลีชิงเมืองกับเจ้าเมือง เจ้าเมืองส่งหกเขย ไปสู้ก็สู้ไม่ได้ จึงต้องยอมให้เจ้าเงาะไปสู้แทน พระสังข์ถอดรูปตีคลีกับพระอินทร์จนได้รับชัยชนะ เมื่อเจ้าเมืองเห็นรูปโฉมและความสามารถของพระสังข์ก็ยกบ้านเมืองให้

พระอินทร์ไปเข้าฝันบิดาของพระสังข์ เพื่อบอกเรื่องราวทั้งหมด บิดาจึงออกตามหา แม่ของพระสังข์จนพบและได้เดินทางไปเมืองของพระสังข์เพื่อพบพระสังข์ โดยแม่ พระสังข์ได้ปลอมเป็นแม่ครัวในวังและได้แกะสลักเรื่องราวทั้งหมดบนชิ้นฟักให้พระสังข์ เสวยทําให้พระสังข์รู้ว่าแม่ครัวคือพระมารดา บิดามารดาและพระสังข์จึงได้พบกัน

นิทานบางเรื่องที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับเรื่องสังข์ทอง เช่น เรื่อง “กํ่ากาดํา” ซึ่งเป็นเรื่องที่แพร่หลายอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพระเอกมีลักษณะผิวดําอัปลักษณ์ มารดาท้าวกํ่ากาดําทนความอับอายไม่ได้จึงนํา ท้าวกํ่ากาดําไปลอยแพ หญิงม่ายคนหนึ่งได้เก็บไปเลี้ยงจนโตเป็นหนุ่ม เมืองที่ท้าวกํ่ากาดํา อาศัยอยู่นี้เป็นเมืองที่มธี ิดาเจ็ดองค์ ท้าวกํ่ากาดําหลงรักธิดาองค์สุดท้องจึงร้อยมาลัยฝาก หญิงชราไปมอบให้นาง ท้าวกํ่ากาดําให้หญิงชราไปสู่ขอพระธิดาให้ตนเจ้าเมืองจึงสั่งให้สร้าง สะพานเงินสะพานทอง หากสร้างไม่ได้จะฆ่าท้าวกํ่ากาดํา ท้าวกํ่ากาดําก็อธิษฐานให้เทวดาช่วย เมื่อสะพานเสร็จท้าวกํ่ากาดําก็ถอดรูปลักษณ์ ออกกลายเป็นคนรูปงามแล้วอยู่กับพระธิดาอย่างมีความสุข

สาระสําคัญของเรื่องสังข์ทอง การที่พระเอกซ่อนตัวอยู่ในรูปลักษณ์หรือท้าวกํ่ากาดําที่ซ่อนรูปทองไว้ใต้ผิว ดํานั้น กวีที่ผูกเรื่องมีจุดมุ่งหมายที่จะสื่อความหมายให้ผู้อ่านรู้ว่า “การดูถูกผู้คน จากรูปลักษณ์ภายนอกนั้น เราจะกําหนดว่าใครเป็นคนดีหรือไม่ดไี ม่ได้ จะต้องมอง ให้ลึกซึ้งถึงภายในเพราะนั่นคือความรู้ความสามารถและจิตใจที่ดีงาม” รูปทองที่ ซ้อนอยู่ภายในก็คือคุณงามความดีของแต่ละคนจะดูกันผิวเผินไม่ได้ ต้องใช้เวลาใน การพิจารณา

นิทานเรื่องสังข์ทองกับคนไทย - ทําให้เกิดสํานวนว่า “เงาะถอดรูป” ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลง รูปลักษณ์ที่ไม่น่าดูให้งดงามขึ้นทันที - ทําให้มีจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง สงข์ทอง หลายตอนที่วิหารลายคํา วัดพระสิงห์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เช่น ตอนชุบตัว พบของวิเศษ และเลือกคู่

นิทานเรื่องสังข์ทองกับคนไทย - ทําให้มีเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ในตอนนางยักษ์ตามพระสังข์ นางยักษ์เหอ ชื่อนางพันธุรัต รูปงามขบกรามกลัด วิ่งแล่นตามลูกชาย แล่นข้ามห้วยข้ามหนอง อี้เอาสังข์ทองแม่ให้ได้ วิ่งแล่นตามลูกชาย ไปตามภูเขาใหญ่

นิทานเรื่องสังข์ทองกับคนไทย - ทําให้มีเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ในตอนนางรจนาเลือกคู่ คือน้องเหอ คือนางรจนา ทิ้งพวงมาลา เลือกเงาะทันใด ท้าวสามลรู้ พาลโกรธยกใหญ่ ขับรจนาทรามวัย ไปไว้ปลายนา

นิทานเรื่องสังข์ทองกับคนไทย - ทําให้เกิดปริศนาคําท้ายภาคใต้ ที่ทายว่า “เข้าไปในทับ เห็นไอ้ไหร (อะไร)” คําเฉลยคือ “เห็นลูกเขย” ปริศนานี้ตรงกับเนื้อความในกลอนบทละครนอก เรื่องสังข์ทอง ตอนนางมณฑาเลือกท้าวสามนต์ ให้เข้ามาดูพระสังข์ซึ่งถอด รูปเงาะออกแล้วปรากฏในคํากลอนว่า เข้าไปในทัพเห็นลูกเขย พ่อเจ้าลูกเอ๋ยงามนักหนา น้อยหรือรูปร่างเหมือนเทวดา หน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มเพรา

สวัสดี

Data Loading...