แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความ (4.) - PDF Flipbook

แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความ (4.)

220 Views
77 Downloads
PDF 1,045,445 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ ช ุดที่ ๔ การอ่านจับใจความจาก บทความชัน้ ประถมศึกษาปี ที่ ๕



คำนำ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยให้นักเรียนเกิดทักษะใน การอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุผล มีวิจารณญาณ มีการไตร่ตรอง และรู้จักนำความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม เนื้อหาของแบบฝึกทักษะมีทั้งหมด ๖ ชุด ดังนี้ ชุดที่ ๑ พื้นฐานหลักการอ่านจับใจความ ชุดที่ ๒ การอ่านจับใจความจากเรื่องสั้น ชุดที่ ๓ การอ่านจับใจความจากนิทาน ชุดที่ ๔ การอ่านจับใจความจากบทความ ชุดที่ ๕ การอ่านจับใจความจากบทโฆษณา ชุดที่ ๖ การอ่านจับใจความจากสารคดี แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญแต่ละชุด นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้ โดยฝึก ตามลำดับขั้นตอน ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ คงเป็นประโยชน์สำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและผู้เรียนอีกทั้งยังเป็นแนวทางใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งต่อไป ทิพย์สุดา สมฤทธิ์



สำรบัญ เรื่อง

หน้า

คำนำ



สารบัญ



คำชี้แจงการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ



คำชี้แจงสำหรับครู



คำชี้แจงสำหรับนักเรียน



มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด



จุดประสงค์การเรียนรู้



สาระสำคัญ



ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง



ใบความรู้เกี่ยวกับบทความ



-ความหมายของบทความ



-โครงสร้างของบทความ



-ประเภทของบทความ



แบบฝึกทักษะที่ ๑



แบบฝึกทักษะที่ ๒





สำรบัญต่อ เรื่อง แบบฝึกทักษะที่ ๓ ภาคผนวก บรรณานุกรม

หน้า ๖

คาชี้แจงการใช้แบบฝึก ทักษะการอ่านจับ ใจความ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดข่วงสิงห์ โดยผู้จัดทำได้มีความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ของนักเรียนด้าน ทักษะการอ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ จึงได้จัดทำแบบฝึกทักษะโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๖ ชุด ดังนี้ ชุดที่ ๑ พื้นฐานหลักการอ่านจับใจความ ชุดที่ ๒ การอ่านจับใจความจากเรื่องสั้น ชุดที่ ๓ การอ่านจับใจความจากนิทาน ชุดที่ ๔ การอ่านจับใจความจากบทความ ชุดที่ ๕ การอ่านจับใจความจากบทโฆษณา ชุดที่ ๖ การอ่านจับใจความจากสารคดี แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ชุดที่ ๔ เรื่อง การอ่านจับใจความจากบทความ ประกอบไปด้วย ๑. ใบความรู้เกี่ยวกับบทความ ๒. แบบฝึกทักษะที่ ๑ ๓. แบบฝึกทักษะที่ ๒ ๔. แบบฝึกทักษะที่ ๓ ๕. เฉลย





คาชี้แจงสาหรับครู

แบบฝึ ก ทั ก ษะการอ่ า นจั บ ใจความสำคั ญ รายวิ ช าภาษาไทย กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ภาษาไทย ชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕ โรงเรียนวัดข่วงสิงห์ โดยครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ศึกษาและทำความเข้าใจแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความให้เข้าใจก่อน นำไปใช้ ๒. ชี้แจงให้นักเรียนรู้จักแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความ ๓. ให้นักเรียนศึกษาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความ จากนั้นให้นักเรียนทำ แบบฝึกทักษะด้วยตนเองโดยครูผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้แนะนำและให้คำปรึกษาเท่านั้น ๔. สรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการศึกษาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความ ๕. ประเมินผลนักเรียนพร้อมกับให้คำแนะนำ

คาชี้แจงสาหรับ นักเรียน

แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุดนี้ จัด ทำขึ้ นเพื่ อใช้ป ระกอบการจั ดกิจ กรรมการเรีย นรู้ข องนั ก เรีย นในชั้น ประถมศึก ษาปี ที่ ๕ โรงเรียนวัดข่วงสิงห์ โดยนักเรียนควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ศึกษาและทำความเข้าใจแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความให้เข้าใจก่อน นำไปใช้ ๒. ฟังคำชี้แจงจากครูเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความ ๓. เริ่มศึกษาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความชุดนี้จากนั้นให้นักเรียนทำแบบ ฝึกทักษะด้วยตนเอง ๕. สรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการศึกษาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากบทความ



มำตรฐำนกำรเรียนรู้



ตัวชี้วดั มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาใน การดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ป.๕/๔ แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน

จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ด้านความรู้ (K) ๑. นักเรียนสามารถสรุปใจความสำคัญจากบทความได้ ด้านกระบวนการ (P) ๒. นักเรียนสามารถเขียนตอบคำถามจากบทความได้ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ๓. นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม



สำระสำคัญ

การอ่านจับใจความ คือ การอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญ หลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด

ผลกำรเรียนรูท้ ี่คำดหวัง



นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความเพิ่มขึ้น



ใบความร ้ ู เกี่ยวกับบทความ

➢ ความหมายของบทความ บทความ (Article) คือ งานเขียนที่มุ่งเสนอความคิดเห็นหรือความรู้ในเรื่องที่คนกำลังสนใจ อยู่ตามทัศนะส่วนตัวของผู้แต่งเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง บทความโดยทั่วไปจึงมีเนื้อหา เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทันสมัยขนาดสั้น ๆ และมีกลวิธีการแต่งที่มุ่งแสดงเหตุผลโน้มน้าวใจ ให้ผู้อ่านเชื่อถือคล้อยตาม ➢ โครงสร้างของบทความ บทความจะประกอบด้วยลักษณะสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. ชื่อเรื่อง จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ๒. ความนำเป็นส่วนที่ท ำให้ทราบความเป็นมาของเรื่องและดึงดูดความสนใจให้อ่านต่อไป ผู้อ่านจะต้องวิเคราะห์เพื่อแยกแยะประเด็น สำคัญของเรื่อง ซึ่งเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนว่ามี ประเด็นเกี่ยวกับอะไรบ้าง ๓. เรื่อง เป็นรายละเอียดของเรื่อง จะมีการสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนลงไปเพื่อให้ ผู้อ่านเกิดความสนใจและคล้อยตาม ๔. บทส่งท้ายหรือสรุป เป็นส่วนที่สรุปประเด็นสำคัญของเรื่องและเน้นความคิดของผู้เขียน ให้ ชั ด เจนขึ้ น ผู้ อ่านจะต้ อ งวิเคราะห์ ให้ ได้ว่าผู้เขียนต้อ งการเน้ น ประเด็ น อะไร มี การเสนอแนะ เรียกร้องหรือขอร้องอะไร อย่างไร ในการวิเคราะห์บทความนั้น ผู้อ่านจะต้องจับให้ได้ว่าผู้เขียนมีวัตถุประสงค์อย่างไร ส่วนใด คือข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น มีข้อมู ลมาประกอบการแสดงความคิดเห็นสมเหตุสมผลหรือไม่ ใช้ ภาษายากง่ายอย่างไร



➢ ประเภทของบทความ บทความสามารถแบ่งออกได้กว้าง ๆ ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. บทความบรรยาย เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่งเสนอความรู้ที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป ตามทรรศนะของตนเอง โดยมีแง่มุมที่ทันสมัย แปลกใหม่และอ้างอิงข้อมูลที่เชื่อถือได้ มักนิยมใช้ใน การเสนอความคิดเห็นใหม่ ๆ ทางวิชาการ เช่น บทความต่อต้านโรคเอดส์ จึงมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บทความทางวิชาการ ๒. บทความวิเคราะห์ เป็นบทความที่ผู้เขียนเสนอความคิดเห็นต่อเหตุการณ์หรือ สถานการณ์ ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเป็นกลาง โดยประมวลข้อมูล ข้อเท็จจริงและเหตุผล ทั้งผลดีและผลเสียมานำเสนอให้ผู้อ่านพิจารณาเพื่อจะได้เข้าใจและสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ๓. บทความวิจารณ์ เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่งเสนอความคิดเห็นเพื่อโน้มน้าวจูงใจให้ผู้อ่าน คล้อยตาม เป็นบทความที่นิยมแต่งมากที่สุด แบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๓.๑ บทความเชิงโต้แย้ง เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งหรือไม่เห็นด้วยกับการกระทำ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพยายามหาเหตุผลมาอ้างอิงให้ผู้อ่านคล้อยตามมากที่สุด ๓.๒ บทความวิจารณ์เชิงสนับสนุน เป็นการแสดงความคิดเห็นคล้อยตามหรือสนับสนุนการ กระทำหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น บทความลักษณะนี้ใช้มากในการประชาสัมพันธ์ หน่วยงาน



แบบฝึ กทักษะที่ ๑ คำชี้แจง

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนีใ้ ห้ถูกต้อง (๑๐ คะแนน)

๑. บทความ ภาษาอังกฤษคืออะไร (๑ คะแนน) .............................................................................................................................................................................

๒. บทความ หมายถึง (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๓. บทความมีกี่ประเภท อะไรบ้าง (๓ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๔. บทความใด มักนิยมใช้ในทางวิชาการ (๒ คะแนน) .............................................................................................................................................................................

๕. บทความใดมักใช้ในการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน (๒ คะแนน) .............................................................................................................................................................................



แบบฝึ กทักษะที่ ๒ คำชี้แจง

ให้นักเรียนอ่านเรื่องต่อไปนี้แล้วตอบคำถามต่อไปนีใ้ ห้ถูกต้อง (๑๐ คะแนน)

น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน เรื่องโดย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กระชายเป็ น พื ช สมุ น ไพรพื้ น บ้ า นที่ มี ก ารใช้ เป็ น อาหารและยามานาน ภูมิปัญญาพื้นบ้านใช้แก้โรคที่เกิดในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล รักษาอาการ จมูกไม่ได้กลิ่น ไซนัสอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชองเพศชาย ยาอายุวัฒนะบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้ลมวิงเวียน มีการศึกษาพบว่า สารสกัดของกระชายสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านไวรัส ซาร์ส ในระยะหลังการติดเชื้อและยังพบว่าสารแพนดูราทิน (pan-duratin) ของ กระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยังยั้งเชื้อพิโคร์นาไวรัส (picornaviruses) ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก นอกจากนี้ยังพบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด -๑๙ แต่ยังต้อง มี ก ารศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม ในสั ต ว์ ท ดลองและในคนต่ อ ไป หากประชาชนต้ อ งการใช้ กระชายในช่วงนี้สามารถใช้ในรูปแบบของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันได้

คำถำม ๑. จากบทความข้างต้นพูดถึงเรื่องอะไร (๑ คะแนน) .............................................................................................................................................................................

๒. กระชายช่วยรักษาอาการอะไรได้บ้าง (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๓. กระชายนอกจากจะช่วยรักษาอาการต่าง ๆ แล้วยังมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๔. ประโยชน์ของกระชายขาวมีอะไรบ้าง (๓ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๕. แหล่งที่มาของเรื่อง น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน มาจากที่ใด (๒ คะแนน) .............................................................................................................................................................................





แบบฝึ กทักษะที่ ๓ คำชี้แจง

ให้นักเรียนอ่านเรื่องต่อไปนี้แล้วตอบคำถามต่อไปนีใ้ ห้ถูกต้อง (๑๐ คะแนน) ผักพื้นบ้าน

ผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผัก หรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภค เป็นผักเกิดในแหล่งธรรมชาติตามป่าเขา หนองบึง ริมน้ำ หรือชาวบ้านนำมาปลูกไว้เพื่อความ สะดวกในการเก็บประกอบอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของผักพื้นบ้าน สารอาหารที่พบมากในผักพื้นบ้านมีหลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ธาตุ และวิตามินชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถจำแนกพอสังเขป ได้ดังนี้ -ผักที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ใบชะพลู ผักแพ้ว ใบยอ ผักกะเฉด ยอดแค สะเดา สะแล หน่อเหรียง มะเขือพวง ขี้เหล็ก ใบเหลือง ผักแส้ว กระถิน ตำลึง ผักฮ้วน ฯลฯ -ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง (แบต้าแคโรทีนนี้จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย) ได้แก่ ใบย่านาง ผักแพว ตำลึง ยอดแค ใบกะเพรา ผักแว่น ใบเหลือง ใบแมงลัก ผักชะอม ฟักทอง ฯลฯ -ผักที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ผักกูด ขมิ้นขาว ผักแว่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ผักเม็ก ยอดมะกอก กระถิน ชะพลู ขี้เหล็ก ผักแขยง ฯลฯ -ผักที่มีวิตามินซีมาก ได้แก่ ดอกขี้เหล็ก ดอกผักฮ้วน ยอดผักฮ้วน มะรุม พริก ยอดสะเดา ใบเหรียง มะระขี้นก ผักหวาน ผักเชียงดา ผักขี้หูด ผักแพว ฯลฯ



คำถำม

๑. ผักพื้นบ้าน หมายถึง (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๒. ผักพื้นบ้านมักเกิดขึ้นที่ใด (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๓. ผักที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ผกั อะไรบ้าง (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๔. ดอกขี้เหล็ก มะรุม ยอดสะเดา จัดอยู่ในผักชนิดใด (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

๕. ถ้าอยากให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กเยอะ ๆ ควรกินผักชนิดใดบ้าง (๒ คะแนน) ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................

ภำคผนวก

แนวกำรตอบ แบบฝึ กทักษะที่ ๑ ๑. บทความ ภาษาอังกฤษคืออะไร ➢ บทความภาษาอังกฤษ คือ Article ๒. บทความ หมายถึง ➢ งานเขียนที่มุ่งเสนอความคิดเห็นหรือความรู้ในเรื่องที่คนกำลังสนใจอยู่ตามทัศนะส่วนตัว ของผู้แต่งเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ๓. บทความมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ➢ บทความมี ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ๑. บทความบรรยาย เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่งเสนอความรู้ที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป ๒. บทความวิเคราะห์ เป็นบทความที่ผู้เขียนเสนอความคิดเห็นต่อเหตุการณ์หรือ สถานการณ์ ๓. บทความวิจารณ์ เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่งเสนอความคิดเห็นเพื่อโน้มน้าวจูงใจให้ผู้อ่าน คล้อยตาม เป็นบทความที่นิยมแต่งมากที่สุด แบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๓.๑ บทความเชิงโต้แย้ง ๓.๒ บทความวิจารณ์เชิงสนับสนุน ๔. บทความใด มักนิยมใช้ในทางวิชาการ ➢ บทความบรรยาย ๕. บทความใดมักใช้ในการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ➢ บทความวิจารณ์เชิงสนับสนุน

แนวกำรตอบ แบบฝึ กทักษะที่ ๒ ๑. จากบทความข้างต้นพูดถึงเรื่องอะไร ➢ น้ำกระชาย ๒. กระชายช่วยรักษาอาการอะไรได้บ้าง ➢ ช่วยรักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ไซนัสอักเสบ ๓. กระชายนอกจากจะช่วยรักษาอาการต่าง ๆ แล้วยังมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง ➢ ช่วยรักษาปากเปื่อย ปากเป็นแผลอีกทั้งยังช่วยย่อยอาหาร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ชองเพศชาย ยาอายุวัฒนะบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้ลมวิงเวียน ๔. ประโยชน์ของกระชายขาวมีอะไรบ้าง ➢ มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการ ทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยังยั้ง เชื้อพิโคร์นาไวรัส (picornaviruses) ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก ๕. แหล่งที่มาของเรื่อง น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน มาจากที่ใด ➢ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

แนวกำรตอบ แบบฝึ กทักษะที่ ๓

๑. ผักพื้นบ้าน หมายถึง ➢ พรรณพืชผัก หรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภค ๒. ผักพื้นบ้านมักเกิดขึ้นที่ใด ➢ มักเกิดในแหล่งธรรมชาติตามป่าเขา หนองบึง ริมน้ำ หรือชาวบ้านนำมาปลูกไว้ ๓. ผักที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ผกั อะไรบ้าง ➢ ใบชะพลู ผักแพ้ว ใบยอ ผักกะเฉด ยอดแค สะเดา สะแล หน่อเหรียง มะเขือพวง ขี้เหล็ก ใบเหลือง ผักแส้ว กระถิน ตำลึง ผักฮ้วน ฯลฯ ๔. ดอกขี้เหล็ก มะรุม ยอดสะเดา จัดอยู่ในผักชนิดใด ➢ ผักที่มีวิตามินซีมาก ๕. ถ้าอยากให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กเยอะ ๆ ควรกินผักชนิดใดบ้าง ➢ ผักกูด ขมิ้นขาว ผักแว่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ผักเม็ก ยอดมะกอก กระถิน ชะพลู ขี้เหล็ก ผักแขยง ฯลฯ

บรรณำนุกรม เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ “ผักพื้นบ้านต้านโรคมะเร็ง” ไทยโพสต์ แทบลอยด์ ฉ. 239 (25 – 31 ม.ค. 46) วารสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 506 ปีที่ 43 มิถุนายน 2564 สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565 จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/WNRPT6105240010003 เอกสารการสอนชุดวิชาการอ่านภาษาไทย.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,๒๕๓๔.

Data Loading...