กล่องทิชชูจากเศษผ้า - PDF Flipbook

กล่องทิชชูจากเศษผ้า

215 Views
74 Downloads
PDF 933,086 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


การศึกษาต้นทุนการผลิต กล่องทิชชูจากเศษผ้า

คุณครูผู้สอน ครู นภลดา อินภูษา

ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลาภู สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงการศึกษาธิการ เอกสารประกอบการเรียน



กิตติกรรมประกาศ การศึกษาต้นทุนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้าเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 รหัสวิชา 30201-2003 จัดทำขึ้นเพื่อประยุกต์หลักวิชาการบัญชีต้นทุน 1 เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายกาผลิต คณะ ผู้จัดทำได้เลือกผลิตภัณฑ์กล่องทิชชูจากเศษผ้าเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นของ ฝากหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ นางนภลดา อินภูษา ครูประจำวิชา ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ความรู้ รวมทั้งได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ จนเกิดทักษะการ ทำงานที่มีประสิทธิภาพ คณะผู้จัดทำขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ และขอขอบคุ ณนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่1 แผนกวิชาการบัญชีที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานฉบับนี้ จนสำเร็จ คุณค่าและประโยชน์จากโครงานแบบงานวิจัยเล่มนี้ ผู้วิจัยขอมอบบูชาพระคุณบิดา มารดา ตลอดจนบูรพาจารย์และผู้มีพระคุณที่ให้การอบรมสั่งสอน ประสิทธิ์ประสาทวิชา ซึ่งผู้วิจัยจะได้นำไป พัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่1 (ทวิภาคี)



หัวข้อโครงงาน ชื่อผู้ศึกษา ปีการศึกษา

: การศึกษาต้นทุนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า : นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 กลุ่มทวิภาคี แผนกวิชาการบัญชี : 2565 บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 2) เพื่อบันทึกบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ 3) เพื่อจัดทำงบต้นทุนการผลิต การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมโครงงาน เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 รหัสวิชา 30201-2003 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้าเริ่มจาก ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์การ ผลิต การออกแบบตามความต้องการของผู้จัดทำโครงงาน การเย็บเพื่อให้เกิดรูปร่างที่สวยงาม การ ตกแต่ง การใส่กระดุม ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบรรจุห่อติดป้าย ราคาพร้อมจำหน่าย การบันทึกบัญชีและจัดทำงบต้นทุนการผลิตประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรงจำนวน 0 บาท ค่าแรงานทางตรงจำนวน 200 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิตจำนวน 55 บาท รวมต้นทุนการผลิตกล่องทิชชู จากเศษผ้าจำนวน 255 บาท ผลิตภัณฑ์กล่องทิชชูจากเศษผ้ามีต้นทุนการผลิตจำนวน 5บาทต่อหน่วย



สารบัญ หัวข้อ กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ สารบัญ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.3 ขอบเขตการศึกษา 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน 2.2 ระบบบัญชีต้นทุน 2.3 ต้นทุนผลิตภัณฑ์ 2.4 ขั้นตอนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา 3.1 ขั้นตอนกานเตรียมงาน 3.2 ขั้นตอนการดำเนินการ 3.3 ขันตอนการสรุป บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงงาน 4.1 กระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 4.2 บันทึกบัญชีต้นทุนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 4.3 งบต้นทุนการผลิต บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการศึกษา 5.2 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก

หน้า ก ข ค 1 1 2 2 2 3 4 6 6 7 7 8 9 10 12 13 13

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 มีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและ สมรรถนะในงานอาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ ใน งานอาชีพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ ปฏิบัติ แก้ปัญหา หรือศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองโดยยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นลักษณะ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมิใช่เป็นเพียงผู้รับความรู้ ข้อมูลที่ผู้อื่นถ่ายทอดมาให้เท่านั้น แต่ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้มีความตื่นตัว ที่จะต้องศึกษา จั ดกระทำ และสร้างความเข้าใจในข้อมูล ความรู้น ั้น ๆ ให้แก่ตนเอง เพื่อทำให้สิ่งที่เรียนรู้ มี ความหมายต่อตนเอง อันจะส่งผลให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้ วิชาการบัญชีต้นทุน 1 รหัสวิชา 30201-2003 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ สาขาวิชาการบัญชี ระดับประกาศนียบัตรวิ ชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ต้อง ศึกษาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ แนวคิดเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน การจำแนกประเภทต้นทุน การสะสมต้นทุน ระบบบัญชี ต้นทุน การบันทึกบัญชีวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิต การปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิต ต้นทุนงานสั่งทำ ของ เสีย ของมีตำหนิ เศษซาก และต้น ทุนฐานกิจกรรม ตามสมรรถนะรายวิชาผู้เรียนจะต้องแสดงความรู้เกี่ยวกับ หลักการบัญชีต้นทุน และปฏิบัติงานตามกระบวนการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำตามหลักการบัญชี จากเหตุผลที่กล่าว มาข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาต้นทุนการผลิตหมอนสม๊อคหัวใจ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายประณีต สวยงาม เหมาะสำหรับการตกแต่งได้ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นตอนการผลิต โดยประยุกต์ความรู้หลัก วิชาบัญชีต้นทุน 1 เกี่ยวกับการจำแนกต้นทุน การบันทึกบัญชีต้นทุน งานสั่งทำ และการจัดทำงบต้นทุนการผลิต 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 1.2.2 เพื่อบันทึกบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ 1.2.3 เพื่อจัดทำงบต้นทุนการผลิต

2

1.3 ขอบเขตการศึกษา 1.3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 1) กระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 2) การบัญชีต้นทุน 1 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.4.1 ทำให้ทราบต้นทุนที่ถูกต้องของผลิตภัณฑ์กล่องทิชชูจากเศษผ้า 1.4.2 สามารถนำความรู้ที่ได้ไปกำหนดราคาขาย 1.4.3 เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ วางแผนและควบคุมการผลิต 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 1.5.1 ต้นทุน หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่ สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการโดยมูลค่านั้น จะต้อง สามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา 1.5.2 วัตถุดิบทางตรง หมายถึง สิ่งของที่ใช้ในการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้าโดยตรง ได้แก่ ผ้า 1.5.3 วัตถุดิบทางอ้อม หมายถึง สิ่งของที่ใช้ในการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้าเป็นส่วนประกอบที่มีจำนวน น้อย ได้แก่ ด้าย เข็ม ผ้าเศษ กล่องทิชชู กระดุม 1.5.4 ค่าแรงงานทางตรง หมายถึง จำนวนเงินที่จ่ายให้คนงานที่ทำการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 1.5.5 ค่าใช้จ่ายการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 1.5.6 งบต้นทุนการผลิต หมายถึง งบที่แสดงให้เห็นถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจาก กระบวนการ ผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า ประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การศึกษาต้นทุนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า คณะผู้จัดทำได้ศึกษาแนวคิดโดยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน 2.2 ระบบบัญชีต้นทุน 2.3 ต้นทุนผลิตภัณฑ์ 2.4 กระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน 2.1.1 ความหมายของบัญชีต้นทุน การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) จัดเป็นวิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้าน ต้นทุนของธุรกิจ ประเภทอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจน วิเคราะห์ และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุน (Cost Management) ตามความต้องการของผู้บริหาร ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แต่กิจประเภทอุตสาหกรรมเท่านั้น ที่จะต้องใช้วิธีการทางบัญชีหรือข้อมูลของบัญชีต้นทุน แต่ ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภท เช่น โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัท สายการบิน และกิจการอื่น ๆ อีกมากมายที่ได้มีการนำวิธีการบัญชีต้นทุนไปประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจของ ผู้บริหาร 2.1.2 วัตถุประสงค์ของบัญชีต้นทุน 1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิต ตลอดจนต้นทุนขาย (Cost of goods sold) ประจำงวดซึ่ง จะนำไปหักออกจากรายได้ในงบกำไรขาดทุน เพื่อช่วยให้ผู้บริหารได้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผล กำไรหรือขาดทุนอย่างไร 2. เพื่อใช้ในการตีราคาสินค้าคงเหลือ (Inventory Evaluation) ในธุรกิจอุตสาหกรรม สินค้า คงเหลือที่จะปรากฏในงบดุลจะประกอบด้วย วัตถุดิบ งานระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งการแสดงมูลค่า ของสินค้าคงเหลือเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดจำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางบัญชี ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ 3. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจวางแผนและควบคุม (Planning and Control) ซึ่งจะช่วย ให้ผู้บริหารสามารถดำเนินธุรกิจไปอย่างมีแบบแผน และบรรลุเป้าหมายตามความต้องการของธุรกิจในที่สุด นอกจากนี้ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนยังช่วยให้ผู้บริหารได้ทราบถึงความผิดพลาดหรือจุดบกพร่องในการดำเนิน ธุรกิจ เพื่อหาทางกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างทันท่วงที 4. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อตัดสินใจ (Decision Making) ทั้งนี้ในการ ดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารมักจะต้องประสบปัญหาที่จะต้องทำการแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระยะ สั้น หรือปัญหาที่จะส่งผลกระทบในระยะยาว 2.1.3 การจำแนกประเภทของต้นทุน สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1) จำแนกการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรม 2) จำแนกคามความรับผิดชอบหรือจำแนกตามแผนกผลิตและดำเนินงาน 3) จำแนกตามส่วนประกอบของสินค้าสำเร็จรูป 4) จำแนกตามหน้าที่ในอง์กรธุรกิจ

4

5) จำแนกตามการตัดสินใจและลักษณะทางเศรษฐกิจ 6) จำแนกตามงวดเวลาหรืองวดบัญชี 7) จำแนกตามความประสงค์ใรการวางแผนและควบคุม 8) ใช้ในการคำนวณต้นทุนขายประจำงวด 9) ใช้ในการคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือ 10) เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและควบคุม 2.1.4 งบต้นทนการผลิต เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการผลิตสินค้า งบต้นทุนกา ผลิตหรือรายงานต้นทุนการผลิต (Cost of Production Reports) หมายถึง งบในการดำเนินธุรกิจในการแปร รูปวัตถุดิบมาเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งงบต้นทุนการผลิตประกอบไปด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายในโรงงานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิต 2.2 ระบบัญชีต้นทุน 2.2.1 ความหมาของระบบบัญชีต้นทุน การบัญชีต้นทุนเป็นระบบบัญชีหนึ่งของกิจการ การบัญชีต้นทุนเป็นกาบันทึกการวัดผลและการ รายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน แบ่งเป็น 2 ระบ คือ ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำเป็นการคิดต้นทุนของงานแต่ละ งานทำให้ทราบต้นทุนทั้งหมดของงานนั้นๆ จึงมีประโยชน์ในการตั้งราคาขายเป็นสำคัญ ระบบบัญชีต้นทุนช่วง เป็นการคิดเต้นทุนของงานในแต่ละแผนกหรือเป็นช่วงๆ ของงงาน ดังนั้นจะต้องมีการโอนย้ายต้นทุนระหว่าง แผนกซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมต้นทุนและการประเมินผลงาน 2.2.2 วงจรบัญชีต้นทุน วงจรบัญชี หมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำบัญชี โดยเริ่มจากจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นลง ในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวันทั่วไป) จากนั้นแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่และทำการปรับปรุงบัญชีในวันสิ้น งวด และทำการจัดทำงบทดลอง จากนั้นทำการปรับปรุงบัญชีเพื่อแสดงรายการทางการเงินได้ถูกต้องในงบ การเงินตามรอบบัญชี เช่น 6 เดือน หรือ 1 ปี วงจรบัญชี ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์รายการค้า ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชีหรือการ วิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการ 2) การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้ว หลังจากนั้น จึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น 3) การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้นไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) เป็นการนำ รายการค้าที่บันทึกในสมุดรายวันจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่างๆ 4) การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการหากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและ ผ่ายรายแล้วยังไม่ถูกต้องเราจ้ะองนำมาทำรายการปรับปรุงรายการโดยการบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุด รายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม 5) การจัดทำงบการเงิน หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชี ต่างๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม และงบแสดงฐานะการเงิน

5

6) การปิดบัญชี หลังจากที่ปรับปรุงรายการแล้วและจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการ ปิดบัญชีต่างๆ ที่จะต้องปิดบัญชีนแต่ละงวดบัญชีในสมุดรายวันและผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่ เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิดก็จะทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป 2.2.4 การบันทึกบัญชีตามวงจรต้นทุน การบันทึกบัญชีตามวงจรต้นทุนจะเป็นไปตามวงจรต้นทุนดังนี้คือ 1) การบันทึกบัญชีขั้นจัดหา จะบันทึกแยกตามปัจจัยการผลิตทั้ง 3 ชนิด คือ วัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่าย บันทึกตามแหล่งที่มาของต้นทุนหรือปัจจัยการผลิตนั้นๆ คือ 1.1) การจัดหาวัตถุดิบ การบันทึกบัญชีโดย เดบิต วัตถุดิบ xx เครดิต เจ้าหนี้ xx 1.2) การจัดหาค่าแรง การบันทึกบัญชีโดย เดบิต ค่าแรงงาน xx เครดิต ค่าแรงค้างจ่าย xx 1.3) การจัดหาค่าใช้จ่ายการผลิต การบันทึกบัญชีโดย เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิต xx เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม xx 2) การบันทึกบัญชีในการผลิต จะเห็นว่ามีการเปิดบัญชีงานระหว่างทำขึ้นเพื่อบันทึกการโอน ปัจจัยการผลิตเข้าไปคำนวณต้นทุนการผลิต กาบันทึกบัญชีเป็นดังนี้ 2.1) โอนวัตถุดิบ การบันทึกบัญชีโดย เดบิต งานระหว่างทำ xx เครดิต วัตถุดิบ xx 2.2) โอนค่าแรง การบันทึกบัญชีโดย เดบิต งานระหว่างทำ xx เครดิต ค่าแรง xx 2.3) โอนค่าใช้จ่ายกาผลิต การบันทกบัญชีโดย เดบิต งานระหว่างทำ xx เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิจ xx 3) การบันทึกบัญชีการเก็บรักษา เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 2 มาแล้วสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จจะ โอนเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูปเพื่อรอไว้ขายให้แก่ลูกค้า การบันทึกบัญชีขั้นตอนนี้คือ เดบิต สินค้าสำเร็จรูป xx เครดิต งานระหว่างทำ xx 4) การบันทึกต้นทุนของสินค้าที่ขายได้ คือ การโอนต้นทุนของสินค้าที่ขายได้เข้าบัญชีต้นทุน ขาย ซึ่งคำนวณได้จากปริมาณขายคูณด้วยต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าสำเร็จรูป การบันทึกบัญชีคือ เดบิต ต้นทุนขาย xx เครดิต สินค้าสำเร็จรูป xx

6

และบันทึกขาย

เดบิต เงินสด/ลูกหนี้ เครดิต ขายสินค้า

xx xx

2.3 ต้นทุนผลิตภัณฑ์ 2.3.1 ต้นทุนวัตถุดิบ 1) วัตถุดิบทางตรง หมายถึง สิ่งของที่ใช้ในการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้าโดยตรง ได้แก่ เศษผ้า วัสดุ/อุปกรณ์ 1. เศษผ้า 2. ด้าย 3. เข็มเย็บผ้า 4. กรรไกร 5. กระดุม 2) วัตถุดิบทางอ้อม หมายถึง สิ่งของที่ใช้ในการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้าเป็นส่วนประกอบที่มี จำนวนน้อย ได้แก่ ด้าย กระดุม 2.3.2 ต้นทุนค่าแรงทางตรง หมายถึง จำนวนเงินที่จ่ายให้คนงานที่ทำการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 2.3.3 ต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 1. เศษผ้า 3 ผืน 0 บาท 2. ด้าย 40 บาท 3. เข็มเย็บผ้า 15 บาท 4. กรรไกร 0 บาท 5. กระดุม 0 บาท 2.4 ขั้นตอนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 1. ตัดผ้าขนาด 18 5/8 x 14.5 นิ้ว 2. จากนั้นตัดมุมทั้ง 4 ออก ขนาด 4.5 x 4.5 นิ้ว 3. เย็บด้านทั้ง 4 เข้าด้วยกัน 4. เจาะรูตรงกลาง ใส่ห่วง 5. นำไปวัดกับกล่องกระดาษทิชชูลองใส่ว่าพอดีรึเปล่า ถ้าเกินให้ตัดบางส่วนออก 6. ประดับมุมด้านล่างให้สวยงาม ด้วยกระดุม

รูปที่ 2.4 กล่องทิชชูจากเศษผ้า

บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา การศึกษาต้นทุนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้าคณะผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้ 3.1 ขั้นตอนการเตรียมงาน 3.2 ขั้นตอนการดำเนินการ 3.3 ขั้นตอนสรุป 3.1 ขั้นตอนการเตรียมงาน 3.1.1 เลือกผลิตภัณฑ์ที่ผู้จัดทำมีความเชี่ยวชาญ และกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค 3.1.2 ประชุมเพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้สมาชิกในกลุ่ม 3.1.3 มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ และนำเสนอรายชื่อต่อครูผู้สอน 3.2 ขั้นตอนการดำเนินการ 3.2.1 ออกแบบผลิตภัณฑ์กล่องทิชชูจากเศษผ้า ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้ นางสาวนิพาดา

นามบัวน้อย 006

นางสาวภัชราภรณ์ ศรีภธู ร

008

นางสาวจันทกานต์ คำนัด

014

3.2.2 บันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปและจัดทำงบต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้ นางสาวนิตยา

คุมสุข 007

นางสาววันวิสา ครูชว่ ย 024 3.2.3 รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรูปเล่มรายงาน ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้ นางสาววนิดา

ไชยแสง

004

นางสาวณิชาภัตร

สุปัญญา

005

นางสาวนิพาดา

นามบัวน้อย 006

นางสาวนิตยา

คุมสุข

007

นางสาวภัชราภรณ์ ศรีภธู ร

008

8

นางสาวจันทกานต์ คำนัด

014

นางสาววรรณภา

สักลอ

018

นางสาววันวิสา

ครูช่วย

024

3.3 ขั้นตอนสรุป 3.3.1 ผลิตภัณฑ์กล่องทิชชูจากเศษผ้า ใส่บรรจุภัณฑ์พร้อมป้ายแสดงราคา 3.1.2 ตรวจสอบความถูกต้องการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปและงบต้นทุนการผลิต 3.1.3 จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อนำเสนอต่อครูผู้สอน

บทที่ 4 ผลการศึกษา ศึกษาต้นทุนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า คณะผู้จัดทำเสนอผลการศึกษา ดังนี้ 4.1 กระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 4.2 บันทึกบัญชีต้นทุนการกล่องทิชชูจากเศษผ้า 4.3 งบต้นทุนการผลิต 4.1 กระบวนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 4.1.1 ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบทางตรง ผ้าเศษ จำนวน 3 ผืน 0 บาท ค่าแรงงานทางตรง คนงานเย็บผ้ากล่องทิชชู จำนวน 2 คน 200 บาท ค่าแรงชั่วโมงละ 10 (7 ชม.) ค่าใช้จ่ายการผลิต ค่าด้าย จำนวน 2 หลอดๆ ละ 20 บาท 40 บาท ค่าเข็ม จำนวน 3 ด้ามๆ ละ 5 บาท 15 บาท รวมต้นทุนการผลิต 255 บาท

10

4.1.2 ขั้นตอนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า 1) การออกแบบตัดผ้าขนาด 18 5/8 x 14.5 นิ้ว จากนั้นตัดมุมทั้ง 4 ออก ขนาด 4.5 x 4.5 นิ้ว เย็บด้านทั้ง 4 เข้าด้วยกัน เจาะรูตรงกลาง ใส่ห่วง นำไปวัดกับกล่องกระดาษทิชชู ลองใส่ ว่าพอดี รึเปล่า ถ้าเกิน ให้ตัดบางส่วนออก ประดับมุมด้านล่างให้สวยงาม ด้วยแผ่นหนัง

2) การเย็บ เย็บริมผ้าด้วยมือ โดยเย็บขอบบน ขอบล่าง และขอบข้างโดยเย็บตามเส้นประในแบบ จากนั้นใช้จัก สอยตามลายที่ขีดไว้ การสอยต้องสอดทีละแถว จากนั้นใช้ด้ายประมาณ 24 ซม.ใช้หนาพอประมาณ 2 เส้น แล้ว ร้อยกับเข็มหัวทอง เพื่อเย็บด้านบนและด้านล่างของกล่องทิชชูในการเย็บต้องจัดจีบผ้าตามรอยของกล่องทิชชู 3) บรรจุภัณฑ์

4.2 บันทึกบัญชีต้นทุนการกล่องทิชชูจากเศษผ้า ระยะเวลาในการดำเนินการ ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2565 มีการบันทึกบัญชี ดังนี้

11

สมุดรายวันทั่วไป พ.ศ.2565 เดือน วันที่ มิ.ย. 18 วัตถุดิบ

รายการ

เงินสด ซื้อวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าแรงงานค้างจ่าย ค่าแรงงานค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายการผลิต เงินสด จ่ายค่าใช้จ่ายการผลิต งานระหว่างทำ วัตถุดิบ เบิกวัตถุดิบ งานระหว่างทำ ค่าแรงงาน โอนค่าแรงงาน งานระหว่างทำ ค่าใช้จ่ายการผลิต โอนค่าใช้จ่ายการผลิต สินค้าสำเร็จรูป งานระหว่างทำ โอนงานระหว่างทำเข้าสินค้าสำเร็จรูป 30 ต้นทุนขาย สินค้าสำเร็จรูป ขายสินค้า

หน้า 1 เดบิต เลขที่ บัญชี บาท สต. 0 -

200

55

0

200

55

255

255

เครดิต บาท สต. 0

-

200

-

55

-

0

-

200

-

55

-

255

-

255

-

-

-

-

-

-

-

-

12

4.3 งบต้นทุนการผลิต วัตถุดิบทางตรงใช้ไป

0 บาท

ค่าแรงงานทางตรง

200 บาท

ค่าใช้จ่ายการผลิต

55 บาท

รวมต้นทุนการผลิต

255 บาท

ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น = วัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต + ค่าแรงงานทางตรง + ค่าใช้จ่ายในการผลิต ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น = 0 + 200 + 55 ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น = 255 บาท

บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ ศึกษาต้นทุนการผลิตกล่องทิชชูจากเศษผ้า คณะผู้จัดทำสรุปผลการศึกษา ดังนี้ 5.1 สรุปผลการศึกษา 5.2 ข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการศึกษา กระบวนการผลิต กล่องทชชู่จากเศษผ้า เริ่มจากขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิตการ ออกแบบลวดลายกล่องทิชชูตามความต้องการของลูกค้า การเย็บผ้าตามทรงของกล่องทิชชูเพื่อให้เกิดรูปร่างที่ สวยงาม การตกแต่งด้วยกระดุม ขั้นตอนสุดท้ายตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบรรจุห่อติดป้ายราคาพร้อม จำหน่าย การบันทึกบัญชีและจัดทำงบต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง จำนวน 0 บาท ค่าแรงงาน ทางตรง จำนวน 200 บาท ค่าด้าย จำนวน 40 บาท และค่าใช้จ่ายการผลิต จำนวน 15 บาทรวมต้นทุนการผลิต กล่องทิชชูจากเศษผ้า จำนวน 255 บาท ผลิตภัณฑ์กล่องทิชชูจากเศษผ้ามีต้นทุนการผลิต จำนวน 0 บาทต่อหน่วย 5.2 ข้อเสนอแนะ 1. การควบคุมต้นทุนการผลิตบางรายการ เช่น กระดุม ซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตอาจเลือกใช้กระดุมจากเสื้อผ้าที่ไม่ ใช้แล้วมาทดแทนได้ 2. ควรนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้กับการผลิตสินค้าสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ เช่น กล่องทิชชูจากเศษผ้า เป็นต้น 3. การตั้งราคากล่องทิชชูจากเศษผ้าใหม่ โดยเริ่มจากการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงและผลกำไรที่ทางกลุ่ม ต้องการทั้งนี้เพื่อขยายตลาดลงสู่ส่วนล่างให้มากขึ้น 4. เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายกลุ่มโดยอาจมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นของใช้อื่น ๆ นอกเหนือจาก กล่องทิชชู

บรรณานุกรม คณะอนุกรรมการเทคนิคคณะที่ 2 โครงการฉลากเขียว, 2539 บริษัท ปังปอน จำกัด รศ.เบญจมาศ อภิสิทธิภิญโญ (2556) การศึกษาต้นทุนการผลิต ศรีสุดา ธีรยา"ลักษณะข้อมูลทางการบัญชี". การบัญชีเพื่อการจัดการ Managerial Accounting. ปทุมธานี, 2555 อ.ชรินทร์ ศรีวิฑูรย์ (2556) ความหมายของงานบัญชี

ภาคผนวก ภาพการดำเนินงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์กล่องทิชชูจากเศษผ้า ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้ 1. นางสาววนิดา ไชยแสง 004 2. นางสาวณิชาภัตร สุปัญญา 005 3. นางสาวนิตยา คุมสุข 007 4. นางสาวนิพาดา นามบัวน้อย 006 5. นางสาวภัชราภรณ์ ศรีภูธร 008 6. นางสาวจันทกานต์ คำนัด 014 7. นางสาววรรณภา สักลอ 018 8. นางสาววันวิสา ครูช่วย 024

Data Loading...