พอลิเมอร์ - PDF Flipbook

สมบัติของพอลิเมอร์

103 Views
66 Downloads
PDF 7,612,867 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


Polymer

พอลิเมอร์

Chemtcal

คำนำ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ พอลิเมอร์ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเคมีกายภาพรหัสวิชา (ว32102)
ชั้นมัธยมยมศึกษาปี 5/2 โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ในเรื่อง พอลิเมอร์
ซึ่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พอลิเมอร์นี้มีเนื้อหา ความรู้เกี่ยวกับ พอลิเมอร์และมอนอเมอร์
ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ การปรับปรุงสมบัติของพอ
ลิเมอร์ การแก้ปัญหาขยะจากพอลิเมอร์ ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์พอลิเมอร์เนื่องมาจากต้องการศึกษาเพื่อให้ได้รับความรู้มากยิ่งขึ้นและเกิด
ประโยชน์สูงสุด

ในการจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์พอลิเมอร์ ในครั้งนี้ ผู้จัดตาม
ขอขอบคุณ คุณครูจุไรรัตน์ คำลือ ผู้ให้ความรู้และแนวทางในการศึกษา
และเพื่อนๆทุกคนให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์
พอลิเมอร์เล่มนี้จะให้ความรู้เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
ทุกๆท่าน

คณะผู้จัดทำ

นางสาวเกศรา พูลแก้ว
นางสาวมัญชรี วีสุวรรณ
นางสาวสาลิษา เหล็มหมาย
นางสาวสุวรัตน์ แก่นทอง

สารบัญ

01พอลิเมอร์และมอนอเมอร์
05ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์
06โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์
09การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์

11การแก้ปัญหาขยะจากพอลิเมอร์

พอลิเมอร์และมอนอเมอร์ 1

พอลิเมอร์ (polymer) ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ได้จากสารโมเลกุล
ขนาดเล็กที่เรียกว่ามอนอเมอร์ (monomer) จำนวนหลายโมเลกุลทำปฏิกิริยาเคมีกันแล้วเกิดการ
เชื่อมต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะโคเวเลนต์โดยมอนอเมอร์อาจเป็นสารชนิดเดียวกันหรือต่างกัน
ก็ได้

ภาพจำลองโมเลกุลของพอลิเมอร์และมอนอเมอร์

ผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันหลายประเภททำมาจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น
ถุงพลาสติก ขวดน้ำดื่มพลาสติก เชือก ไนลอน ท่อน้ำพีวีซี นอกจากนี้ยังมีพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองใน
ธรรมชาติ เช่น แป้ง เซลลูโลส ไหม เส้นผม DNA ยางพารา พอลิเมอร์สังเคราะห์และพอลิเมอร์
ธรรมชาติบางชนิด

2

ชนิดของพอลิเมอร์

1 พอลิเมอร์ธรรมชาติ(Natural polymers) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น
เซลลูโลส DNA โปรตีน แป้ง ยางธรรมชาติ เป็นต้น
2 พอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์
(Symthetic polymers) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์โดยปฏิกิริยาเคมีเช่น
พลาสติก ไนลอน เมลามีน เป็นต้น

ชนิดของมอนอเมอร์

1. โฮโทพอลิเมอร์ ( Homopolymers ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันมา
เชื่อมต่อกัน เช่น แป้ง และเซลลูโลส ซึ่งเกิดจากมอนอเมอร์กลูโคสมาเชื่อมต่อกัน
2. โคพอลิเมอร์ ( Co - polymers ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากด้วยมอนอเมอร์มากกว่า 1
ชนิด มาเชื่อมต่อกัน เช่น โปรตีน เกิดจากกรดอะมิโนชนิดต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน ซึ่งกรดอะมิ
โนมีหลายชนิด และเมื่อมีการเชื่อมต่อกลายเป็นโปรตีนก็อาจมีการสลับที่กันไปมา ซึ่ง
โปรตีนแต่ละชนิดก็อาจเกิดมาจากกรดอะมิโนคนละชนิดกัน จำนวนก็อาจไม่เท่ากัน และรูป
ร่างและความยาวของสายพอลิเมอร์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้โปรตีนมีความหลากหลาย

3

โคพอลิเมอร์ สามารถแบ่งตามลักษณะการเรียงตัวของโมเลกุลได้ 4 แบบ

2.1 พอลิเมอร์ที่จัดแบบสุ่ม ( Random Copolymer )
เกิดจากมอนอเมอร์ 2 ชนิดขึ้นไปเรียงตัวกันไม่มีรูปแบบแน่นอน

2.2 โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบสลับกัน ( Alternating Copolymer )
เกิดจากมอนอเมอร์ 2 ชนิด เรียงตัวสลับที่กันไปมา

2.3 กูพอลิเมอร์ที่จัดแบบบล็อก (Block Copolymer) เป็นพอลิเมอร์
ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดที่ 1 ต่อกันเป็นระยะหนึ่ง แล้วมอนอเมอร์
ชนิดที่ 2 ก็มาต่อและสลับกันต่อเป็นช่วงๆ จนกลายเป็นสายโซ่พอลิเมอร์

2.4 โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบบล็อก (Graft Copolymer)เป็นพอลิเมอร์
ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดที่ 1 สร้างสายยาว แล้วมอนอเมอร์ชนิดที่ 2 ต่อเป็นกิ่ง

4

พอลิเอเทลีนที่ใช้ทำถุงพลาสติกและ
พอลิแซ็กคาไรด์ในสาร

พอลิเมอร์มีขนาดโมเลกุลใหญ่กว่ามอนอเมอร์ ซึ่งส่งผลให้สมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์ ต่าง
จากมอนอเมอร์ พอลิเมอร์ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่ามอนอเมอร์มาก และละลายในตัวทำ
ละลายได้น้อยกว่า เช่น พอลิเอทิลีน (polyethylene) ที่ใช้ทำถุงพลาสติกที่มีสถานะเป็นของแข็ง
และพอลิเมอร์ที่เกิดจากแก๊สเอทิลีน พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ในแป้งเป็นพอลิเมอร์
ของ กลูโคสละลายในน้ำได้น้อยกว่ากลูโคส

สมบัติบางประการของมอนอเมอร์
และพอลิเมอร์บางชนิด

โดยทั่วไปพอลิเมอร์มีความแข็งและเหนียวกว่ามอนอเมอร์ เมื่อพอลิเมอร์ละลายในตัวทำ
ละลายสารละลายผู้พอลิเมอร์จะมีความหนืดมากกว่าสารละลายของมอนอเมอร์เนื่องจาก
พอลิเมอร์มีโมเลกุลขนาดใหญ่จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่ามอนอเมอร์

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ 5

ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้มอนอเมอร์เชื่อมต่อกันเป็นพอลิเมอร์เรียกว่า
ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ (polymerizationreaction) หรืออาจเรียกสั้นๆว่าการเกิด
พอลิเมอร์ (polymization) ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ของมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพันธะคู่ ใน
มอนอเมอร์ให้เป็นพันธะเดี่ยวที่เชื่อมระหว่าง
มอนอเมอร์ ซึ่งมีลักษณะเดียวกับปฏิกิริยาการเติม ของแอลคีนจึงเรียกว่า
ปฏิยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม (addition polymriztion reaction) โครงสร้างของพอลิเมอร์ที่
ได้จากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติมมีองค์ประกอบของอะตอม เหมือนกับในมอนอเมอร์
อย่างครบถ้วน เช่น พอลิเอทิลีน ได้จากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม ของเอทิลีน ดัง
สมการเคมี

นอกจากพอลิเอทิลีนแล้ว ยังมีพอลิเมอร์อีกหลายชนิดที่เกิดจากปฏิกิริยาการเติมของแอลคีน
ชนิดอื่น เช่น พอลิโพรพิลีน
พอริไวนิลคลอไรด์ พอลิสไตรลีน พอลิเตตระฟลูออราเอทิลีน

6

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ที่สามารถเกิดปฏิกิริยา
เคมีกันแล้วมีส่วนของหมู่ฟังก์ชันหลุดออกไปในลักษณะเดียวกับปฏิกิริยาควบแน่นของ การ
เกิดเอสเทอร์หรือเอไมด์ เรียกว่า ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น เช่น กดคาร์บอกซิลิ
กกับแอลกอฮอล์หรือเอมีน ได้พอลิเอสเทอร์หรือ พอลิเอไมด์ โดยมีน้ำเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์แบบควบแน่น เช่น การสังเคราะห์ไนลอน 6,6 ซึ่งเป็น พอลิ
เอไมด์ชนิดหนึ่ง แสดงได้ดังนี้

โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์

โครงสร้างของพอลิเมอร์มีผลต่อการจัดเรียงตัวของสาย
พอลิเมอร์และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลซึ่งส่งผลต่อสมบัติของ
พอลิเมอร์ เช่น ความหนาแน่น จุดหลอมเหลว

โครงสร้างของพอลิเมอร์

โครงสร้างของพอลิเมอร์แบ่งเป็น 3 แบบได้แก่
พอลิเมอร์แบบเส้น พอลิเมอร์แบบกิ่ง พอลิเมอร์แบบร่างแห ดังรูป

พอลิเมอร์แบบเส้น 7

เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์สร้างพันธะต่อกัน
เป็นสายยาว โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากกว่า
โครงสร้างแบบอื่นๆ จึงมีความหนาแน่นและ
จุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง ขุ่นเหนียว กว่าโครง
สร้างอื่นๆเช่น PVC พอลิไตรีน
พอลิเอทิลีน

พอลิเมอร์แบบกิ่ง

เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ยึดกันแต่กิ่งด้านสาขา มี
ทั้งโซ่สั้นและโซ่ยาว กิ่งที่แตกจาก
พอลิเมอร์ของโซ่หลัก ทำให้ไม่สามารถจัดเรียงโซ่พอลิเมอร์ให้
ชิดกันได้มาก จึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำยึด
หยุ่นได้ ความเหนียวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปได้หงายเมื่อ
อุณหภูมิเพิ่มขึ้น เช่น พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ

พอลิเมอร์แบบร่างแห

เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมรณภาพต่อกันเป็นสายยาวและมี
การเชื่อมโยงแต่ละครั้งพอลิเมอร์เข้าหากัน
โครงสร้างพอลิเมอร์ชนิดนี้ทำให้พอลิเมอร์มีความแข็งมากจึงมี
ความทนทาน ไม่หลอมเหลว และไม่ยืดหยุ่น

**พอลิเมอร์แบบเส้นและแบบกิ่ง มีโครงสร้างที่จับกันแบบหลวมๆ ถ้าให้
ความร้อนสูง จะสามารถหลอมเหลวได้
สามารถรีไซเคิลแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้**

สมบัติของพอลิเมอร์ 8

พอลิเมอร์ต่างชนิดกันเมื่อได้รับความร้อนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างกัน โดยพอลิเมอร์ที่
อ่อนตัวหรือหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน และแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง เรียกว่า
พอลิเมอร์เทอร์มอพลาสติก (thermoplastic polymer) พอลิเมอร์ประเภทนี้สามารถนำ
มาหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเมอร์เทอร์มอร์
พลาสติกมีโครงสร้างแบบเส้นและแบบกิ่ง ซึ่งนิยมนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ขึ้น
รูปได้ง่าย เช่น ภาชนะ บรรจุภัณฑ์ ของเล่นอุปกรณ์ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

พอลิเมอร์ที่ไม่อ่อนตัวหรือไม่หลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน
แต่อาจเกิดการสลายตัวหรือไหม้เมื่อได้รับความร้อนสูง เรียกว่าพอลิเมอร์เทอร์มอเซต
(thermosetting polymer)
พอลิเมอร์ประเภทนี้จึงไม่สามารถนำมาหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ เช่น ฟีนอล-ฟอร์แมลดีไฮด์
พอลิยูรีเทน ยางรันคาไนซ์ พอลิเมอร์เทอร์มอเซตส่วนใหญ่ มีโครงสร้างแบบร่างแหนิยม
นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการความคงทน ทนความร้อนสูงและบางกรณี
มีความยืดหยุ่นและคืนรูปได้ดี เช่น ยาง

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีการพัฒนา พอลิเมอร์มพลาสติกชนิดใหม่ๆ ที่มีสมบัติเทียบ
เท่าหรือใกล้เคียงกับพอลิเมอร์เทอร์มอเซต
เพื่อนำมาใช้แทนพอลิเมอร์เทอร์มอเซตและสามารถทำการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์
หลังการใช้ได้

สมบัติพิเศษของพอลิเมอร์ ทนต่อสารเคมี
ทนทานต่อแรงกระแทก
มีความเหนียวและยืดหยุ่น
เป็นทั้งฉนวนความร้อนและฉนวนไฟฟ้า

มีน้ำหนักเบา

9

การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์

การเติม การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์ทำได้โดยการเติม
สารเติมแต่ง สารเติมแต่ง (additive) ลงไปในพอลิเมอร์ เพื่อให้ได้
สมบัติตามต้องการ ซึ่งสารที่เติมลงในพอลิเมอร์อาจ
เข้าไปแทรกระหว่างสายพอลิเมอร์โดยไม่เกิดปฏิกิริยา
เคมีสารเติมแต่งบางชนิดอาจทำให้จุดหลอมเหลวของ
พอลิเมอร์ลดลง ขึ้นรูปได้ง่าย โค้งงอได้ดีขึ้น ไม่แตกหัก
ง่าย สารเติมแต่งดังกล่าวเรียกว่า พลาสติไซเซอร์
(plasticizer) หรือสารเสริมสภาพพลาสติก ซึ่งพบได้
ทั่วไปในผลิตภัณฑ์พลาสติกเกือบทุกชนิด เช่น พอลิไว
นิลคลอไรด์ ที่เป็นพลาสติกแข็งใช้ทำท่อน้ำ สามารถ
ทำให้มีสมบัติอ่อน นิ่ม โค้งงอเพื่อใช้ทำฉนวนหุ้มสาย
ไฟหรือฟิล์มยืดห่ออาหารได้ โดยการเติมพลาสติไซ
เซอร์ที่เหมาะสม

การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์บางชนิดอาจทำ การปรับเปลี่ยน
ไดโดยการทำปฏิกิริยาเคมีสายพอลิเมอร์ ซึ่งจะ โครงสร้างพอลิเมอร์
ทำให้ได้พอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างและสมบัติ
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

10

ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพอลิเมอร์

เซลลูโลสแอซีเตต (cellulose acetate, CA) ได้จากการทำปฏิกิริยาของเซลลูโลสกับ
กรดแอซีติกเข้มข้น โดยมีกรดซัลฟิวริกเข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้เซลลูโลสแอซี
เตตที่สามารถ หลอมขึ้นรูปเป็นแผ่นหรือเป็นเส้นใยได้ซึ่งต่างจากเซลลูโลสที่ไม่สามารถ
ออกได้

การผลิตเซลลูโลสแอซีเตตกับเซลลูโลส
ไคโตซาน (chitosan) ได้จากการนำไคติน (Chitin) ไปทำปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสในสภาวะที่เป็นเบสซึ่ง
ไคตินเป็นพอลิเมอร์ที่มีอยู่ในเปลือกกุ้ง กระดองปู แกงหมึก เปลือกแมลง ฯลฯ
เนื่องจากไคโตซานมีหมู่ - NH, ซึ่งมีสมบัติเป็นเบสทำให้ไคโตซานสามารถทำปฏิกิริยากับ
สารละลายกรดอ่อนได้เป็นเกลือที่ละลายในน้ำได้ต่างจากไคตินที่ไม่ละลายในน้ำ จึงสามารถนำ
ไคโตซานไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายกว่าไอติม

ผลิตภัณฑ์จากไคโตซานและไคติน

การแก้ปัญหาขยะจากพอลิเมอร์ 11

แนวทางการลดปัญหาจากขยะพลาสติกในปัจจุบัน

การลดการใช้ การไม่รับถุงพลาสติก การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติกการใช้
(reduce) แก้วน้ำหรือภาชนะใส่อาหารที่นำมาเองการลดการใช้อาจทำได้
โดยการใช้ (use) เช่น การใช้แก้วหรือขวดน้ำดื่ม การนำยาง
รถยนต์มาทำกระถางต้นไม้หรือรองเท้าแตะซึ่งพอลิเมอร์ที่น่าใช้
เหล่านี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการหลอมและแต่รูปการลดการใช้จึง
เป็นการลดปัญหาขยะพลาสติกที่ใช้ต้นทุนต่ำ

เป็นการแปรรูปวัสดุที่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่วิธีนี้ใช้ได้กับพอลิเม การรีไซเคิล
อร์เทอร์มอพลาสติก ซึ่งสามารถนำมาหลอมแล้วขึ้นรูปใหม่ได้ โดยต้องมี (recycle)
การคัดแยกชนิดของพลาสติกก่อนนำมาหลอม ดังนั้นจึงมีการกำหนด
รหัสที่ระบุชนิดของพลาสติกบนผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล
ได้เช่น

พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต เป็นพลาสติกที่ใช้ผลิตขวดหรือภาชนะต่างๆ
สามารถนำ กลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น เส้นใยสำหรับเสื้อกันหนาว
หรือพรม
พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง เป็นพลาสติกที่ใช้ผลิตถุงหูหิ้ว ขวดน้ำ
สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ฉนวนกันความร้อน
ภาชนะบรรจุภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬา
พอลิไวนิลคลอไรด์ เป็นพลาสติกที่ใช้ผลิตท่อน้ำ หนังเทียม สายยาง ฟิล์ม
ยืดห่ออาหาร สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น แผ่นยางปู
พื้น
พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ เป็นพลาสติกที่ใช้ผลิตถุงใส่ของต่างๆ
สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงขยะ

12

การใช้พอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
(biodegradable polymer)

เช่น พอลิบิวทิลีน แอดิเพตเทเรฟแทเลต(PBAT) พอลิคาโพรลิ
แล็คโทน (polycaprolacton,PCL) พอลิแลกติก แอซิด(PLA)
พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต ซึ่งเป็นพอริเอสเทอร์ที่สาย พอลิเมอร์มี
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยสามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิล
ได้ง่าย ทำให้เกิดการย่อย โดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติได้เร็วกว่า
พอลิเมอร์สังเคราะห์ทั่วไป นอกจากนี้ผลิตภันฑ์ที่ย่อยสลายได้
ทางธรรมชาติยังอาจใช้พอลิเมอร์ธรรมชาติเช่นแป้งเซลลูโลส

อย่างไรก็ตาม หากผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ผู้ใช้
ควรตระหนักถึงปัญหาขยะโพลิเมอร์ที่เกิดขึ้น และควรมีส่วนร่วมในการลดปัญหาโดยการคัด
แยกประเภทขยะ เช่นพลาสติกรีไซเคิลประเภทต่างๆ พลาสติกย่อยสลายได้ ซึ่งควรแยกออก
จาก ขยะประเภทอื่น เพื่อให้สามารถนำไปกำจัดหรือรีไซเคิลได้อย่างถูกต้องต่อไป

13

สรุปเนื้อหา

พอลิเมอร์ เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ได้จากปฏิกิริยาการเกิด
พอลิเมอร์ของโมเลกุล ขนาดเล็กที่เรียกว่า มอนอเมอร์ สมบัติทางกายภาพ
ของพอลิเมอร์จึงต่างจากมอนอเมอร์ที่เป็น สารตั้งต้น
พอลิเมอร์มีทั้ง
พอลิเมอร์ธรรมชาติและพอลิเมอร์สังเคราะห์ พอลิเมอร์อาจเกิดจาก ปฏิกิริยา
การเกิดพอลิเมอร์แบบเติมหรือแบบควบแน่น ขึ้นอยู่กับหมู่ฟังก์ชันที่ทำ
ปฏิกิริยา
พอลิเมอร์อาจมีโครงสร้างเป็นแบบเส้น แบบกิ่ง หรือแบบร่างแห ทั้งนี้ขึ้นกับ
ลักษณะ การเชื่อมต่อของมอนอเมอร์ ซึ่งส่งผลต่อสมบัติของพอลิเมอร์และการนำไป
ใช้ ในผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันโดยพอลิเมอร์เทอร์มอพลาสติกมีโครงสร้าง
เป็นแบบเส้นหรือแบบกิ่ง เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถนำมาหลอมขึ้นรูปใหม่ได้สำหรับ
พอลิเมอร์เทอร์มอเต ส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบร่างแหเป็นพอลิเมอร์ที่ไม่หลอมเหลว
เมื่อได้รับความร้อน แต่เกิดการสลายตัวหรือไหม้เมื่อได้รับความร้อนสูงจึงไม่สามารถ
นำมาหลอมขึ้นรูปใหม่ได้

การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์อาจทำได้โดยการเติมสารเติมแต่ง ซึ่งอาจเป็นสารที่
เข้าไปผสมในเนื้อพอลิเมอร์หรือเข้าไปทำปฏิกิริยากับพอลิเมอร์ นอกจากนี้การ
ปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์อาจทำได้โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพอลิเมอร์
หรือการสังเคราะห์ พอลิเมอร์ชนิดใหม่ๆเช่น โคพอลิเมอร์ พอลิเมอร์นำไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันอาจผ่านการปรับปรุงสมบัติหลายวิธีการร่วม
กัน

การใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวันควรคำนึงถึงผลกระทบ
ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การป้องกันและการแก้ไขอาจทำได้โดยการลดการใช้
การรีไซเคิลและการใช้
พอลิเมอร์ย่อยสลายได้

บรรณานุกรม

ศุภาวิตา จรรยา. (2563). ชนิดของพอลิเมอร์และมอนอเมอร์.[ออนไลน์]. เข้าถึง
ได้จาก : https://www.scimath.org. (วันที่สือค้น : 23 กันยายน 2565).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
(2563). พอลิเมอร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สกสค.

ลาดพร้าว.
Sanomaru. (2562). สมบัติของพอลิเมอร์.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://www.trueplookpanya.com. (วันที่สืบค้น : 24 กันยายน 2565).

สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวเกศรา พูลแก้ว เลขที่8
2. นางสาวมัญชรี วีสุวรรณ เลขที่18
3. นางสาวสาลิษา เหล็มหมาย เลขที่22
4. นางสาวสุวรัตน์ แก่นทอง เลขที่26

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2


Data Loading...