ธรณีพิบัติภัย - PDF Flipbook

ธรณีพิบัติภัย

100 Views
70 Downloads
PDF 5,276,419 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


GEOHAZARD

ธรณี พิบัติภัย

VIEW MORE



คำนำ

ในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง
ในการดำเนิ นงานของหน่ วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่ วยงานรัฐบาล
หรือเอกชนเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทที่สำคัญมากในทุก
ธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กจนไปถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ล้วนได้มีการนำ
เอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการดำเนิ นธุรกิจทั้งสิ้น และระบบ
สารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์มากขึ้นทุกวัน นั กเรียนนั กศึกษา
ต้องใช้สารสนเทศเพื่อศึกษาค้นคว้ารวมถึงนั กวิชาการต้องใช้
สารสนเทศเพื่อพัฒนาความรู้และนวัตกรรมที่มีประโยชน์ ในอนาคต
และไม่ว่าจะเป็นบุคลากรหรือบุคคลทั่วไปก็ต้องใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศกันไม่มากก็น้ อย ซึ่งในปัจจุบันสารสนเทศมีความซับซ้อน
และหลายรูปแบบเป็นผลมาจากการพัฒนาของเทคโนโยสารสนเทศที่
พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่ อง การเข้าถึงสารสนเทศจึงต้องมีความรู้และ
ทักษะเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศในหนั งสือออนไลน์ (e-book)ผู้
จัดทำ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่ งของการศึกษาเรื่อง ธรณีพิบัติภัย ใน
รายวิชา วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ เพื่อให้นั กเรียนและผู้ที่สนใจ
ศึ กษาค้นคว้ามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับธรณี พิบัติภัย

ธรณีพิบัติภัย มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในชีวิต
ประจำวันในปัจจุบันนี้ ผู้จัดจึงได้รวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับธรณี
พิบัติภัยจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆของธรณีพิบัติภัย เพื่อหวังว่า
ธรณีพิบัติภัยในหนั งสือออนไลน์ (e-book) จะเป็นแหล่งความรู้สำหรับ
ที่ผู้สนใจไม่มากก็น้ อย

คณะผู้จัดทำ



สารบัญ

ดินถล่ม 2020
แผ่นดินไหว 2020
คลื่นสึ นามิ 2020
หลุมยุบ 2020
รอยดินแยก 2020
ตลิ่งทรุดตัว 2020



GEOHAZARD

ธรณี พิบัติภัย

ธรณีพิบัติภัย หมายถึง ภัยธรรมชาติ ที่เกิดจาก
กระบวนการทาง ธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว
สึนามิ หลุมยุบ ดินถล่ม หิมะถล่ม ภูเขาไฟ

ระเบิด เป็นต้น ถือเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจาก
กระบวนการทางธรณี วิทยาที่เกิดขึ้นโดยฉั บพลัน
และรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน

ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ใน
พื้นที่ที่เกิดเหตุ

GEOHAZARD

ประเภทของธรณี พิบัติภัย

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่ งแวดล้อมได้แบ่งธรณี พิบัติภัยเป็นประเภท
ต่างๆ กัน โดยพิจารณาจากธรณีพิบัติภัยหลักที่ส่ง

ผลกระทบถึงประเทศไทย ดังนี้
1. ดินถล่ม

2. แผ่นดินไหว
3. คลื่นสึนามิ

4. หลุมยุบ
5. รอยดินแยก
6. ตลิ่งทรุดตัว

VIEW MORE

ดินถล่ม

ดินถล่ม เป็นภัยธรรมชาติ คือ คำเรียกรวมๆของ Landslide
การเคลื่อนที่ของมวลสาร ซึ่งคือ กระบวนการ
เคลื่อนตัวของมวลหิน ดินและทรายลงมาตามความ
ลาดชันภายใต้แรงดึงดูดของโลกเป็นหลัก โดยอาจ
อาศัยตัวกลางระหว่างการพัดพา

หลายคนเข้าใจว่า การย้ายมวลเกิดเฉพาะบนแผ่น
ดิน เท่านั้ น แต่จากการศึกษาทางธรณีฟิสิกส์และ
การลำดับชั้นหินตะกอนพบว่า บริเวณไหล่ทวีป ของ
มหาสมุทรหลายแห่ง มีการเคลื่อนตัวของตะกอน
เช่นเดียวกับบนแผ่นดิน และจัดเป็นการเคลื่อน
ตัวอย่างรวดเร็วลงมาตามความลาดชัน เรียกว่า
กระแสน้ำขุ่นข้น

LANDSLIDE

กระบวนการเกิดดินหรือ
โคลนถล่ม

ส่วนใหญ่การย้ายมวลที่กล่าวถึงกันบ่อยๆ คือ แผ่นดิน
เลื่อน (Landslide) หรือดินถล่ม โดยรวมเอาวิธีการย้าย
มวลทุกรูปแบบไว้ด้วยกัน ซึ่งความจริงยังไม่ถูกต้องมาก
นั ก รูปแบบการย้ายมวลมีหลายกระบวนการด้วยกัน โดย

ถือปัจจัยเหล่านี้ เป็นตัวกำหนด
1. ความเร็วของการย้ายมวล
2. ปริมาณน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

3. ชนิ ดของสารที่เกิดการย้ายมวล
4. ความลาดชันของพื้นที่

VIEW MORE

LANDSLIDE

หากจำแนกตาม Sharpe (1938) จะพิจารณา
ความเร็วของการย้ายมวล ปริมาณน้ำและความ
ลาดชันของพื้นที่เป็นสำคัญ โดยเรียงลำดับจาก
ปริมาณน้ำน้ อยและมีการเคลื่อนตัวของมวลสาร
มาก ในพื้นที่ความลาดชันสูง – ปริมาณน้ำมาก
และมีการเคลื่อนตัวของมวลสารน้ อย ในพื้นที่

ความลาดชันต่ำ ดังนี้

01 แผ่นดินถล่ม

02 กองหินจากการถล่ม

03 ดินเลื่อน

04 น้ำหลากแผ่ซ่าน

05 การกร่อนแบบพื้นผิว

06 ธารน้ำ

แผ่นดินไหว

เป็นปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่เกิดจากการ Earthquake
เคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่าง
รอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัว
ของ ชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือ
แตกหักและเกิดการโอนถ่าย พลังงานศักย์
ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน

EARTHQUAKE

สาเหตุแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีภัยพิบัติชนิ ดหนึ่ ง

ส่ วนมากเป็นปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติที่จะเกิดจากการ
สั่นสะเทือนของพื้นดิน เนื่ องมาจากการปลดปล่อย
พลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมา
อย่างฉั บพลันเพื่อปรับความสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่
โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้น
เปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการ
เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ แผ่นดินไหว
จะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมี
มากเกินไป ภาวะนี้ เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่น
เปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค เรียก
แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้
ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า
แผ่นดินไหวภายในแผ่น

VIEW MORE

EARTHQUAKE

แผ่นดินไหวจากการ
กระทำของมนุษย์

มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำ
เหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การ
ทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บ

ขยะนิ วเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น
1. การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบ
ปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่ องจากน้ำหนั กของน้ำ
ในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้

สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้ น
เปลี่ยนแปลงไป

2. การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมี
การระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้
3. การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกิน

ไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจ
ทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้

4. การทดลองระเบิดนิ วเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความ
สั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิด

ผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลก

VIEW MORE

สึ นามิ

คลื่นสึนามิ (Tsunami) Tsunami
เป็นคลื่นใต้น้ำที่เกิดจากการเกิดแผ่นดินไหวเหนื อ
ภูเขาระเบิดใต้มหาสมุทรมากกว่า แมกนิ จูด 7.0
รวมทั้งจุดโฟกัสต้องอยู่ลึกลงไปในเปลือกโลก
น้ อยกว่า 50 กิโลเมตรและเปลือกโลกเคลื่อนที่ใน
แนวตั้ง หรือเกือบตั้ง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณที่
มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว เช่น พื้นที่รอบ
ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือ “วงแหวนแห่งไฟ”

สาเหตุการเกิดคลื่น
สึ นามิ

คลื่นสึ นามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมาก
เกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิดใต้

มหาสมุทร หรืออุกกาบาตพุ่งชน

เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำ
ทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่ จุดสมดุลและจะก่อให้เกิด
คลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดิน
ไหวเนื่ องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของ

เปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน

นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาด
ใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของวัตถุ ก็สามารถทำให้
เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้ จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็ว
และไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่ งที่อยู่ห่างไกลมากนั ก อย่างไรก็ตาม ถ้า
แผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความ

สูงร่วมร้อยเมตรได้

หลุมยุบ

ธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ ง ที่มีลักษณะพื้นผิว Sinkhole
พังทลายเป็นหลุม ซึ่งเกิดจากหินตะกอนที่มี
องค์ประกอบทางเคมีจำพวกคาร์บอเนต เช่น
หินปูน ชั้นเกลือ หรือ หินตามธรรมชาติที่
สามารถถูกละลายด้วยน้ำ ซึ่งเมื่อเกิดการไหล
เวียนของน้ำใต้ดิน จะทำให้หินใต้ดินดังกล่าว
ละลาย เกิดช่องว่างใต้ดินขึ้น จนถึงจุดๆหนึ่ งที่
บริเวณพื้นผิวมีน้ำหนั กมากเกินไป จะทำให้เกิด
การถล่ม เกิดเป็นหลุมยุบ

SINKHOLE

กระบวนการเกิดหลุมยุบ

VIEW MORE

รอยดินแยก

เป็นปรากฏการณ์ ที่พื้นดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือ Creep
แยกตัวออกจากกันในแนวดิ่งหรือแนวราบ หรือ
ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ จากข้อมูลการรับแจ้งจาก
หน่ วยงานต่างๆ เข้ามาในกรมทรัพยากรธรณีให้
เข้าทำการตรวจสอบ ทำให้สามารถแบ่งดินแยก
ออกเป็นสองชนิ ดด้วยกัน ตามลักษณะพื้นที่ที่
เกิด คือ ดินแยกที่เกิดขึ้นบนภูเขาที่มีความลาด
ชัน และดินแยกที่เกิดขึ้นบนพื้นราบ

ตลิ่งทรุดตัว

ตลิ่งทรุดตัว (Bank Erosion) เกิดจากการ Bank
เปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำ ทำให้เกิด Erosion
ความแตกต่างของระดับน้ำใต้ดินกับน้ำในแม่น้ำ
เช่น ระดับน้ำในแม่น้ำลดลงเนื่ องจากเป็นฤดู
แล้งหรือเกิดจากความรุนแรง ของกระแสน้ำใน
ช่วงที่เกิดน้ำหลากตามธรรมชาติ การเกิดธรณี
พิบัติภัยของประเทศไทยในปี 2550 ส่วนใหญ่
เกิดดินถล่ม ดินไหล หินร่วง รอยดินแยก หลุม
ยุบ ตลิ่งทรุดตัว และแผ่นดินไหว

BANK EROSION

สาเหตุการพังทลาย
ของตลิ่ง

1) การกัดเซาะตลิ่ง
การกัดเซาะตลิ่งเกิดขึ้นเมื่อแรงกัดเซาะเนื่ องจากการไหล
ของ กระแสน้ำเกินกว่าแรงต้านทานของดินริมตลิ่ง ทําให้
เม็ดดินถูกพัดพาไหล หลุดออกมา อันอาจจะนํ าไปสู่การ

พังทลายของตลิ่งได้
2) การขาดเสถียรภาพของลาดตลิ่ง
การพังทลายของตลิ่งจากการขาดเสถียรภาพเกิดขึ้นเมื่อ
กําลัง ต้านทานของดินไม่เพียงพอที่จะต้านแรงที่กระทํา

กับตัวตลิ่งได้ สาเหตุ

VIEW MORE



บรรณานุกรม

วิกิพีเดีย. 2564. ธรณีพิบัติภัย . [ระบบออนไลน์ ]. แหล่ง
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ธรณีพิบัติภัย?
fbclid=IwAR07LLd526brzWh1lii5BuQoycrZ1uyN2kYjMgj2e
43-dXPgaQcYMgoZ4u4 (16 มกราคม 2565)

Kapook. 2562. เปิดสาเหตุตลิ่งทรุด ที่มาศาลาริมน้ำแม่
กลองพัง และวิธีการรับมือ . [ระบบออนไลน์ ]. แหล่งที่มา
https://hilight.kapook.com/view/190930 (18 มกราคม
2565)


Data Loading...