โรคภูมิแพ้อากาศ - PDF Flipbook

โรคภูมิแพ้อากาศ

118 Views
14 Downloads
PDF 1,853,553 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


18

แนวทางเวชปฏบิ ัตกิ ารดแู ลรักษาผปู้ ว่ ยโรคภมู แิ พ้อากาศ

1. แผนภูมแิ สดงแนวทางเวชปฏบิ ตั กิ ารดแู ลรกั ษาผูป้ ่วยโรคภมู แิ พ้อากาศ

โรคภมู ิแพอ้ ากาศ

วนิ ิจฉยั

อาการทางเย่ือบุตาอักเสบ ไซนสั จาม คดั จมกู คนั จมูก น้ำมูกไหล ไมม่ ี
อกั เสบ หรือคออักเสบ มีไข้ ไข้ มีอาการมากกวา่ 2 สัปดาห์

ส่งตอ่ ส่งต่อ
แพทยแ์ ผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย

ตดิ ตามอาการ จา่ ยยาปราบชมพูทวีป อบสมนุ ไพร

อาการแพอ้ ากาศ
case allergic,
bronchitis allergic,
rhinitis , asthma
สามารถใชท้ ดแทนยา
Antihistsmine, Actifed

****อาการดีขึน้ ใหท้ านยาปราบชมพูทวปี ต่อไป แต่ถ้าอาการไมด่ ขี ้ึนใหส้ ่งต่อแผนปัจจบุ นั ****

2. คำจำกดั ความของโรค (การแพทยแ์ ผนไทย)
อาการภูมิแพ้เป็นอาการปรากฏทางระบบเสมหะเกิด แต่มีส่ิงเร้าสิ่งผิดมากระตุ้นมากระทบต่อตรีธาตุ

ให้เกิดอปรกติขึ้น เม่ืออาการเริ่มปรากฏน้ันเสมหะจะเข้าเพิ่ม ปิตตะ,วาตะจะลดลง ทำให้สำแดงอาการทางศอ
เสมหะ อรุ ะเสมหะ และคถู เสมหะ

โรคภูมิแพ้อากาศ หมายถึง การท่ีเยื่อบุจมูกอักเสบและบวมทำให้เกิดอาการดังนี้ จาม คัดจมูก คันจมูก
น้ำมูกไหล นอกจากนั้นอาจจะมีอาการทางเย่ือบุตาอักเสบ ไซนสั อกั เสบ หรอื คออักเสบ
ขอ้ แตกตา่ งระหวา่ งโรคหวดั กบั ภมู ิแพ้

โรคแพ้อากาศจะตา่ งจากไขห้ วัด กลา่ วคือ อาการของไขห้ วดั จะมีอาการคดั จมูก น้ำมูกไหล ชว่ งแรกจะใส
ต่อมาจะข้น ระยะเวลาเป็นนาน 3-10 วัน มีไข้หรือไม่มีก็ได้ มีจามบ้างโดยไม่มีอาการคันจมูก ส่วนโรค

คู่มอื แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยาสมนุ ไพรและการรักษา 12 โรค จงั หวัดอตุ รดติ ถ์

19

แพ้อากาศจะมีอาการคันจมูก ร่วมกับน้ำมูกใส ๆ มีอาการคันตา น้ำตาไหล ไม่มีไข้ ซึ่งส่วนมากมักจะมีอาการ
มากกวา่ 2 สปั ดาหข์ ึ้นไป

ข้อบง่ ช้อี าการ
อาการทีบ่ ่งชวี้ า่ ผู้ปว่ ยเป็นโรคภมู ิแพอ้ ากาศ ประกอบดว้ ย
1) มีอาการ และ/หรือ อาการแสดงท่ีบ่งบอกว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้ โดยเป็นมานานมากกว่า 1 เดือน
ขน้ึ ไป เชน่

- ถ้ามีอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหลออกมาทางจมูก หรือไหลลงคอ คัดจมูก คันเพดานปาก
หรือคอ

2) อาการดงั กล่าวในขอ้ 1 มกั จะมีอาการ เป็นๆ (มเี หตุมากระตุน้ ) หายๆ (ไม่มเี หตุมากระตุน้ ) เมื่อผู้ป่วย
มีอาการ ต้องมีเหตุท่ีกระตนุ้ ทำให้เกิดอาการนำมากอ่ น เชน่

- ความเครียด, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, อารมณ์เศร้า, วิตก, กังวล, เสียใจ(สำหรับโรคภูมแิ พ้
ทกุ ประเภท)

- ของฉุน, ฝนุ่ , ควนั , อากาศท่ีเปลีย่ นแปลง, การตดิ เชื้อในระบบทางเดนิ หายใจ หรอื หวัด
- เม่อื มอี าการทางจมูก อาการจะดขี น้ึ หลังไดร้ บั ประทานยาแก้แพ้
3) ผปู้ ่วยอาจมีประวัตเิ ปน็ โรคภูมิแพช้ นิดต่างๆ ในสมัยเด็ก หรอื ในปัจจุบัน เน่ืองจากโรคภมู ิแพ้ เป็นกลุ่ม
ของโรคทแ่ี สดงอาการได้กับหลายระบบของรา่ งกาย
4) ผู้ป่วยอาจมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิ ดต่างๆ หรือท่ีเรียกว่ากลุ่มโรค
อะโทปี (atopic diseases or atopy) เน่อื งจากโรคภมู ิแพด้ ังกลา่ วมีการถ่ายทอดทางกรรมพนั ธไ์ุ ด้

3. เกณฑค์ ดั กรองเข้ารบั รกั ษา
3.1 ไม่มีไข้
3.2 มอี าการไอ จาม
3.3 คดั จมกู น้ำมูกใส
3.4 คนั ตา นำ้ ตาไหล
3.5 มอี าการมากกว่า 2 สปั ดาห์ข้ึนไป

4. เกณฑ์สง่ ต่อแพทย์แผนปัจจบุ ัน
4.1 มอี าการของไซนสั อกั เสบ
4.2 เยอื่ บตุ าอักเสบ
4.3 ตาอกั เสบ
4.4 มีไข้

5. วธิ กี ารตรวจและวินิจฉยั โรควินจิ ฉยั
5.1 การซกั ประวตั ิ
วเิ คราะหส์ มฎุ ฐานท่ีมีความสัมพันธ์ของโรค ตามสมฏุ ฐานการเกดิ โรคของการแพทยแ์ ผนไทย ดงั นี้

คูม่ ือ แนวทางเวชปฏิบตั กิ ารใชย้ าสมนุ ไพรและการรกั ษา 12 โรค จงั หวัดอตุ รดติ ถ์

20

ขอ้ มูล เหตุผล

ธาตเุ จา้ เรือน -โรคภูมแิ พอ้ ากาศ มักเกดิ ในกลุม่ ของผู้ป่วยที่เปน็ คนธาตนุ ้ำ เป็นเจ้าเรือน
ธาตุสมุฏฐาน ซึง่ จะทำให้อาการรุนแรงกวา่ ธาตุเจ้าเรือนอืน่ ๆ
อุตสุ มฏุ ฐาน
อายุสมฏุ ฐาน สมุฏฐานอาโป
กาลสมฏุ ฐาน เหมนั ตฤดู คือ ฤดหู นาว เริม่ ต้ังแต่วนั แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึง วนั ข้นึ ๑๕
คำ่ เดือน ๔ สมฏุ ฐานอาโป พิกัดเสมหะโลหติ
ประเทศสมฏุ ฐาน
มูลเหตกุ ารณเ์ กดิ โรค 8 ประการ ปฐมวัย แรกเกิดถึงอายุ ๑๖ ปี สมุฏฐานเสมหะ

กาลกลางวัน
เวลา ๐๖.๐๐ น. ถงึ ๑๐.๐๐ น. โรคเกดิ เพื่อเสมหะ
กาลกลางคืน
เวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น. โรคเกิดเพื่อเสมหะ

คนเกิดในประเทศท่เี ป็นน้ำกรวดทราย เรยี กวา่ “ประเทศอุ่น” เป็น
สมุฏฐานอาโปดี โลหติ (ภาคกลาง)

ความร้อนและเย็น เม่ือถูกความรอ้ นความเยน็ มากเกินไป ทำให้ธาตุวิปรติ
แปรปรวนไป
ทำการเกนิ กำลงั การหกั โหมทำงาน หรือใช้ร่างกายมากหรือนานเกินควร
ขาดการพกั ผ่อนอยา่ งเพยี งพอ ทำรา่ งกายออ่ นแอง่ายตอ่ การเกดิ โรค

5.2 การตรวจรา่ งกาย
5.2.1 ตรวจตา มีอาการแพ้ที่แสดงออกทางดวงตา เช่น คันหรือระคายเคืองบริเวณดวงตา แสบตา

ตาแดง ตาบวม เปลือกตาอักเสบบวม มีน้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีก้อนหรือสะเก็ดเม็ดทรายติดอยู่ในดวงตา
ตามีความอ่อนแอ ไวตอ่ แสง แสงจ้าหรอื แม้แต่แสงสว่างปกติกอ็ าจสรา้ งความลำบากในการมองเห็น สร้างความ
รำคาญใจและรบกวนทัศนวสิ ยั ในการมองเหน็

5.2.2 จมกู ตรวจพบเยื่อจมูกอักเสบ คนั จมูก จาม คัดจมูก น้ำมกู ไหลจมูกไม่ได้กล่ิน มกี ลิ่นผิดปกติ
ในจมกู

5.2.3 ลำคอ พบการอักเสบคอแดง คนั คอ เจบ็ คอบ่อย ไอเร้อื รงั ไอบอ่ ย เป็นๆ หายๆ และมีเสมหะ
5.2.4 ช่วงอกฟังเสียงการหายใจหายใจเสยี งดัง
แนวทางการตรวจและสิ่งทต่ี รวจพบ
1) การสังเกตทั่วไป ผู้ป่วยจะมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก ชอบขยี้จมูกจนเกิดรอยบริเวณ
สันจมกู
2) การสอบถาม พูดคุยเพ่ือได้ข้อมูลที่เป็นจริง แพทย์แผนไทยจึงควรพูดคุยในลักษณะท่ีเป็นกันเองก่อน
แล้วค่อยสอดแทรกคำถามเปน็ ระยะ ขณะเดียวกันก็คอยจับประเดน็ ว่าอาการทแ่ี ท้จริงเป็นอย่างไร และมีสาเหตุ
มาจากอะไร โดยบางเร่ืองถามโดยตรง เช่น มีเสมหะในคอ เลือดกำเดาไหลบ่อย และมีอาการคันตา แสบตา
น้ำมูกไหล คันหู หูอ้ือหรือไม่เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการดังกล่าวเวลาสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ การเปล่ียนแปลง
อุณหภมู ิ และความชนื้ ในอากาศ
3) การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายภายนอกว่ามีอาการแสดงใดบ้างท่ีบ่งช้ีถึงโรคภูมิแพ้ ได้แก่
ตรวจตา จมูก ลำคอ ช่วงอก และผิวหนังทั่วไป ในบางรายอาจต้องตรวจการทำงานของปอดด้วยเคร่ืองเป่าลม
หรอื อาจต้องเอกซเรย์เพ่ือดูการทำงานของปอดร่วมด้วย

คู่มือ แนวทางเวชปฏบิ ตั กิ ารใชย้ าสมนุ ไพรและการรกั ษา 12 โรค จงั หวดั อุตรดติ ถ์

21

พยาธิสภาพ / สภาพความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซอ้ นของโรคภูมิแพ้
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาจต้องเผชิญกับอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือมีความเส่ียงในการป่วยด้วยโรคอื่น
เพ่ิมมากขึ้น เช่น
โรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรง (Anaphylaxis) ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ที่รุนแรงข้ึน เช่น มีผ่ืนขึ้นเต็มตัวและมีอาการ
คันตลอดเวลา เป็นลมพิษ หน้าซีดหรือหน้าแดง คอบวม แน่นหน้าอก หายใจติดขัด อาเจียน ท้องร่วง
หากมอี าการเหล่าน้คี วรรบี ไปพบแพทย์ทนั ที สว่ นใหญพ่ บในผู้ป่วยทแ่ี พอ้ าหาร แพแ้ มลง และแพ้ยา
โรคหอบหืด ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้จะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากกว่าคนทั่วไป โดยมีอาการหายใจลำบาก
หอบเหน่ือย หายใจเสียงดัง ไอ แน่นหน้าอกหรือเจ็บท่ีหน้าอก มีปัญหาในการนอนเนื่องจากการหายใจ
ท่ีผิดปกติ ทำให้นอนยากหรือนอนแล้วรู้สึกตัวข้ึนกลางดึก หอบหืดเกิดจากมีสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในปอด ทำให้
เกดิ การอกั เสบของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิง่ คือ หลอดลมอักเสบ พบมากในผูป้ ่วยภมู แิ พ้อากาศ
ซ่ึงเปน็ การป่วยเกยี่ วกบั ระบบทางเดนิ หายใจโดยตรง
อีกหนึ่งอาการท่ีพบมากในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศ คือ ไซนัสอักเสบ โดยมีอาการคือ ปวดศีรษะ โดยเฉพาะ
บริเวณหน้าผาก รอบตา หวั คิว้ ขา้ งจมูก คัดจมกู มนี ้ำมกู และเสมหะสเี ขยี วข้น ไอ มไี ข้ หายใจลำบาก
นอกจากน้ี ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาจมีอาการป่วยและโรคแทรกซ้อนอย่างอ่ืนอีก เช่น ผิวหนังอักเสบ กลาก
การติดเชือ้ ในหชู น้ั กลาง การตดิ เชือ้ ในปอด เปน็ ตน้
โอกาสความสำเร็จของการรักษา
ข้อมูลการส่ังใช้ยาและรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาปราบชมพูทวีป จากการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน ไม่พบประวัติการแพ้ยา และได้ผลการรักษาท่ีดีขึ้นจากการใช้ยาปราบชมพูทวีป
จำนวน 30 คน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน 2 คน และผ้ปู ่วยมีความพึงพอใจทจี่ ะกลับมาใช้ยาปราบชมพูทวีป
จำนวน 29 คน

6. การรักษาและฟ้นื ฟูสภาพ
6.1 พยายามหลกี เลีย่ งส่ิงท่ีแพ้
6.2 อบสมนุ ไพร
6.3 จา่ ยยาปราบชมพทู วปี
ยาปราบชมพูทวีป เป็นตำรับยาโบราณท่ีบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ เหมาะสำหรับผู้ป่วยท่ีเป็นหวัด

คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่ไม่มีไข้ หรือผู้ป่วยท่ีเป็นภูมิแพ้อากาศ ยกเว้นภูมิแพ้ที่แสดงออกทางผิวหนัง ซ่ึงหากมีไข้
อาจต้องมีการจ่ายยาสมุนไพรแก้ไข้ร่วมด้วย ซึ่งทางการแพทย์แผนไทย หมายถึง เหมาะกับภาวะเสมหะ
และวาตะกำเริบ ปติ ตะหย่อนหรือปกติ

ขอ้ บ่งใช้ : บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการเนอ่ื งจากการแพ้อากาศ
ขนาดและวิธีใช้ : 3 แคปซูล (แคปซูลละ 500 มิลลิกรัม) วันละ 4 คร้ัง ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
และกอ่ นนอน (ตารางการเลือกใช้ยาสมนุ ไพรในโรคติดเช้ือทางเดินหายใจ ยาปราบชมพูทวปี หน้า10)
ข้อควรระวัง : ห้ามใช้เมื่อพบภาวะแทรกซ้อนจากภาวะการแพ้อากาศ เช่น ไซนัสอักเสบ หรือติดเช้ือ
จากแบคทีเรีย ซึ่งจะมีอาการเจ็บบริเวณไซนัส ไข้สูง น้ำมูกและเสมหะเขียว ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้
เดก็ ควรระวงั การบริโภคในผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูงโรคหัวใจ ผปู้ ่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก และกรดไหลย้อน
เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน ควรระวังการใช้ยาเกินขนา ดในผู้ป่วยท่ีมีความผิดปกติของตับ ไต
และทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากอาจเกิดพิษจากการบูร ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol,
theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรบั นมี้ พี ริกไทยในปริมาณสูง

คู่มือ แนวทางเวชปฏิบัติการใชย้ าสมนุ ไพรและการรกั ษา 12 โรค จงั หวัดอุตรดติ ถ์

22
อาการไม่พึงประสงค์ : แสบร้อนยอดอกเมื่อรับประทานยานั้น มีแนวทางในการป้องกันและรักษา
โดยแนะนำว่าไม่ควรกินยาแก้ไข้ แก้ปวด แก้อักเสบพร่ำเพร่ือเม่ือมีไข้ ให้ถ่ายพิษไข้ออก ด้วยการลดความร้อน
ของโลหิต ดื่มน้ำอุ่นมากๆ ขับอุจจาระ ปัสสาวะให้ออก หลีกเลี่ยงพฤติกรรมอาหารแสลง และอากาศแออัด
ออกกำลังกาย นอกจากน้ียังควรงดอาหารแสลง เช่น อาหารทอดด้วยไขมัน อาหารถุงขบเค้ียว อาหารรสจัด
อาหารมสี ารกนั บดู น้ำประสานทอง ผงชูรส อาหารบรรจุถุงพลาสตกิ กล่องโฟม
7. คำแนะนำในการปฏบิ ัตติ วั เพอ่ื การสง่ เสรมิ ป้องกัน และฟน้ื ฟูสภาพ
7.1. หลกี เลยี่ งสงิ่ ทแี่ พ้ เช่น ขนสุนัข, ควนั บุหร่ี, เกสรดอกไม,้ ฝนุ่ ในบ้าน , นมวัวและผลิตภัณฑจ์ ากวัว
7.2 ปรับอาหาร โดยการกินอาหารที่ต้านอนมุ ูลอิสระ เช่น วิตามินซี ซึ่งวิตามนิ ซจี ะอยู่ในอาหารประเภท
เปร้ียว , ฝาด, คือ ผัก ผลไม้ที่สดๆ อนุมูลอิสระอีกกลุ่มหนึ่ง คือ วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ซ่ึงอยู่ในผักผลไม้
ท่ีมีสีเขียวจัด , สีเหลือง, สีแดง,สีม่วง, แครอทมีเบต้าแคโรทีน แต่มีไม่มาก แต่ท่ีมีเบต้าแคโรทีนมาก
คือ ผักเหลียง ,ผักปัง,ผักข้ีเหล็ก วิตามินอีกตัวที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินอี ซึ่งมีอยู่ในเมล็ดธัญพืช
เช่น เมล็ดทานตะวัน,เมล็ดฟักทอง,จมูกข้าว ฉะน้ันควรกินข้าวกล้องจะมีจมูกข้าวมาก คนที่เป็นภูมิแพ้
ถ้าอยากหายควรกนิ ขา้ วกลอ้ ง นำ้ ผลไม้สดวนั ละ 2 แกว้
7.3 การออกกำลงั กาย สปั ดาหล์ ะ 3 วนั ๆละ ½ ชั่วโมง ทำให้ภูมิแพด้ ีขน้ึ
7.4 เพ่ิมภูมิต้านทาน เช่น อบสมุนไพร ,ซาวน่า .อาบแสงตะวัน ภูมิต้านทานจะออกมาทำงาน แสงแดด
ควรเป็นช่วงบา่ ย หนั หนา้ -หลัง ข้างละ 10 นาที หรอื อาบน้ำอุ่นสลบั นำ้ เยน็ อย่างละ 1 นาที สกั 2-3 รอบ
8. การประเมนิ ผลและติดตามผลการรักษา
8.1 กลมุ่ ผู้ปว่ ยท่ีตอบสนองดมี ากตอ่ การรกั ษามีอาการดีข้นึ โดยไมต่ ้องกินยาภมู แิ พ้อีกเลย
8.2 กลุ่มผปู้ ว่ ยทต่ี อบสนองดตี อ่ การรักษามีอาการดีขึน้ อาจกนิ ยาภูมแิ พอ้ ยบู่ า้ ง แต่อาการดขี ึน้
8.3 กลมุ่ ผูป้ ว่ ยท่ีตอบสนองตอ่ การรกั ษาพอใช้ มอี าการดขี นึ้
8.4 กลมุ่ ผปู้ ่วยทีไ่ ม่ตอบสนองตอ่ การรกั ษามีอาการคงเดิม ส่งตอ่ แผนปัจจบุ ัน

คมู่ อื แนวทางเวชปฏบิ ตั ิการใชย้ าสมุนไพรและการรักษา 12 โรค จงั หวัดอตุ รดติ ถ์


Data Loading...