Drone - PDF Flipbook

อากาศยานไร้คนขับ

177 Views
33 Downloads
PDF 570,134 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


Drone อากาศยานแห่งโลกอนาคต!!

จัดทำโดย นายสุกฤษฏิ์ พงศวัฒน์ภาคิณ นายอนุชา สุดาจันทร์ นายธนาพร โพธิ์ภักดี

6590051005 6590051007 6590051021

สาขาวิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเชียงใหม่



คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ TLR202 มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความหมาย และประเด็นความสำคัญต่างๆเกี่ยวกับโดรน (DRONE) โดยได้ ศึกษาผ่านแหล่งเว็บไซต์ต่างๆ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำรายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา หาความรู้ เกี่ยวกับโดรน (DRONE) เป็นอย่างดี

คณะผู้จัดทำ

ข สารบัญ คำนำ



สารบัญ



โดรน คืออะไร

1

โดรนทำงานอย่างไร

1

ประโยชน์ของโดรน

1-3

การขึ้นทะเบียนโดรน และบังคับโดรน

3

ข้อจำกัดในการบินโดรน

3

รายละเอียดการขึ้นทะเบียนโดรน

4

หน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนโดรน

4

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนโดรน

4

โดรนกับการศึกษาในประเทศไทย

3-5

สรุป

6

บรรณานุกรม

7

1

โดรน คืออะไร โดรน (Drone) คื อ อากาศยานไร้ ค นขั บ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) ถู ก พั ฒ นาขึ้ น เพื่อประโยชน์ทางการทหาร มีรูปทรงแตกต่างกันไป ในยุคแรกจะเหมือนเครื่องบิน ถูกส่งไปสอดแนมในพื้นที่ ฝ่ายตรงข้าม หรือข้าศึก ต่อมาพัฒนาให้ติดอาวุธ และส่งไปทำลายข้าศึกโดยไม่มีมนุษย์ติด ไปกับโดรน แม้ถูก โจมตีจนตก ก็ไม่มีใครต้องเสี่ยงชีวิต ถูกใช้งานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1918 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อสนับสนุน การทำสงครามของกองทัพสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตร ปัจจุบันมีการพัฒนาโดรนอย่างต่อเนื่อง ทั้งทาง ธุรกิจและการศึกษา กฎหมายเริ่มเปิดช่องและควบคุมการใช้โดรนโดยประชาชน เปิดให้ปล่อยโดรนขึ้นไปใน อากาศได้ เริ่มมีการพัฒนาโดรนเพื่อความบันเทิง และการขนส่งอย่างกว้างขวาง

โดรนทำงานได้อย่างไร โดรนต่างๆถูกติดตั้งสถานะทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไปอย่างเช่นกล้องอินฟาเรด (อากาศยานไร้ คนขับทางด้านการทหาร) ระบบบอกพิกัดและเลเซอร์ (อากาศยานไร้คนขับทางการทหาร) โดรนถูกควบคุม ด้วยระบบเครื่องควบคุมระยะไกลมี มีพวกเซ็นเซอร์ต่างๆทั้งหมดและระบบการบิน และบางครั้งก็ควบคุมด้วย ห้องนักบินภาคพื้นดิน

ประโยชน์ของโดรน 1. ใช้ในการถ่ายภาพมุมสูง โดยการนำกล้องมาติดที่ตัวโดรนเพื่อถ่ายรูปจากมุมมองแปลกๆ ใหม่ๆ และในมุมที่เราไม่สามารถถ่ายได้ด้วยตัวเอง ทำให้เห็นภาพมุมกว้างที่สวยงามแปลกตาและมีรายละเอียดครบ ครันยิ่งขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิว

2 2. ใช้ในการถ่ายทอดสดต่างๆ มีลักษณะการใช้งานคล้ายการติดกล้อ งเพื่อถ่ายรูป แต่เปลี่ยนมาเป็น กล้องวีดิโอเพื่อบันทึกภาพเคลื่อนไหวจากมุมต่างๆ แทน การใช้โดรนในลักษณะนี้ส่วนมากเราพบได้ในการ ถ่ายทอดกีฬาหรือคอนเสิร์ต เป็นต้น 3. การใช้โดรนเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้า โดยมีบริษัทใหญ่เริ่มนำร่องการใช้งานโดรนเพื่อ โลจิสติกส์คือ google และ amazon ซึ่งเทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4. ใช้โดรนเพื่อฉีดพ่นปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ ในด้านการเกษตร เป็นการลดความเสี่ยงต่อการสัมผัส สารเคมีโดยตรงของมนุษย์

3 5. การใช้โดรนติดกล้องเพื่อสำรวจ สภาพการจราจรและลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศต่างๆ 6. การใช้โดรนในด้านความปลอดภัยและความมั่นคง โดยในระยะหลังโดรนสามารถใช้ร่วมกับการ ค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น ดินถล่ม หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การขึ้นทะเบียนโดรน และคนบังคับโดรน โดรนจะต้องมีการขึ้นเบียนโดรนกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุความเป็นเจ้าของ และคลื่นความถี่ ในขณะเดียวกันก็จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ บังคับโดรนกับทางกรมการบินพลเรือนด้วย บุคคลนั้นๆจึงจะมีคุณสมบัติสามารถนำโดรนขึ้นบินได้ ส่วนโดรน ของเล่นหากมีน้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม และไม่มีกล้อง ถือเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนแต่อย่างใด

ข้อจำกัดในการบินโดรน – ห้ามทำการบินโดรนในสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล – ห้ามทำการบินสูงเกิน 90 เมตร หรือ 300 ฟุต เหนือพื้นดิน – ให้ทำการบินในช่วงในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และต้องมองเห็นโดรนของตัวเอง ตลอดเวลา – ห้ามบินเหนือหมู่บ้าน ชุมชน เมือง หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่ หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีคำสั่งในเขตกทม.ห้ามทำการบิน ภายในรัศมี 19 กิโลเมตร นับจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นั่น เท่ากับว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตกทม.เป็นพื้นที่ห้ามทำการบินแทบทั้งสิ้น ยกเว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจาก หน่วยงานเจ้าของพื้นที่

4

โดรนที่ต้องนำไปขึ้นทะเบียนนั้นมีรายละเอียดดังนี้ - โดรนน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และ ไม่มีกล้อง ไม่ต้องขึ้นทะเบียน - โดรนมีกล้องต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี - โดรนที่มีน้ำหนัก 2-25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน - ส่วนโดรนที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไปจะต้องได้รับอนุญาตจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรายกรณี โดยที่ ใบอนุญาตผู้บังคับโดรนที่ออกให้โดยกรมการบินพลเรือน มีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ ออกหนังสือ และ จะแจ้งผลการพิจรณาภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน

ผู้ครอบครองโดรนจำเป็นจะต้องขึ้นทะเบียนโดรนกับ 2 หน่วยงานที่ ได้แก่ 1. กรมการบินพลเรือน (ผู้ดูแลการจราจรบนท้องฟ้าของประเทศไทย) 2. กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (ผู้ดูแลการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งโดรนของเราใช้คลื่นความถี่วิทยุนั้นๆในการบังคับ รับ ส่ง สัญญานนั่นเอง)

ผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนโดรน จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้

- ผู้ใช้โดรนที่มีกล้องต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี หรือมิเช่นนั้นต้องมีผู้แทน / ผู้ปกครอง ที่มีคุณสมบัติตรง ตามที่กำหนดเป็นผู้ดูแล - ไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความั่นคงของประเทศ - ไม่เคยได้รับโทษจำคุก จากคดียาเสพติด หรือ คดีศุลกากร

โดรนกับการศึกษาในประเทศไทย สำหรับวงการการศึกษา โดรนเริ่มถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนและ นักศึกษาเพิ่มมากขึ้น เริ่มมีการนำโดรนมาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ปฏิบัติการโครงการเชิงวิชาการต่างๆ อาทิ

วิชาสังคม ใช้โดรนในการถ่ายภาพพื้นที่ๆต้องการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์

วิชาศิลปะ ใช้โดรนในการถ่ายภาพเพื่อดูองค์ประกอบทางทัศนศิลป์

วิชาพละศึกษา นำโดรนบินบันทึกภาพระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้นักเรียนได้ ทราบถึงลักษณะการเล่นกีฬาของตนเอง

5

สรุป จะเห็นได้ว่า โดรนเป็นหนึ่งเครื่องมือสำคัญสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาคนให้มีทักษะที่เหมาะสมต่อ ความต้องการในอนาคต ทั้งในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเติบโตทางธุรกิจและอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ดี แม้การนำโดรนมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาการ เรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษามีความน่าสนใจ แต่การเรียนรู้เป็นพลวัตเช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ โดรน หรือเทคโนโลยีอื่น ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของ ผู้เรียนจึงมีความสำคัญมากกว่าตัวเทคโนโลยีเอง

https://heyzine.com/flip-book/a4c05b73c4.html

6

แหล่งที่มา ดร.จอมหทยาสนิท พงษ์เสถียร. (ม.ป.ป.). โดรนกับการศึกษา.ค้นจาก http://www.onec.go.th/th.php/page/view/Outstand/2737 นักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้. (ม.ป.ป.). โดรนทำงานอย่างไรและอะไรคือโดรนเทคโนโลยี.ค้นจาก http://learn.gistda.or.th/2018/09/24/how-do-drones-work-and-what-is-dronetechnology ThaiDrone. (ม.ป.ป.). ประโยชน์ของโดรน. ค้นจาก https://sites.google.com/site/thaidrone00/prayochn-khxng-do-rn Krcshop. (ม.ป.ป.).บินโดรนอย่างไรไม่ให้โดนจับ.ค้นจาก http://www.krcshop.net/main/blog-detail.asp?blogid=144 Tonkit360. (ม.ป.ป.).รู้จักกฎหมายโดรนก่อนบิน.ค้นจากhttps://tonkit360.com/69684

7

Data Loading...