งานปอ99 - PDF Flipbook

งานปอ99

215 Views
29 Downloads
PDF 651,283 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


1.หน้าที่ครู และการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1. การสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจ ของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพ อนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน 2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่นักเรียนเพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชา เรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญาความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของ นักเรียนด้วย 3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนโดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียน การสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร 4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนเพื่อจะได้ทราบว่า นักเรียนได้พัฒนาและมีความ เจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ 5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อนักเรียนจะได้ เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า 6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและ จรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน 7. ตรงต่อเวลา โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย 8. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคน โดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ

การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ทั้งหมด 5 หมวด 9 ข้อ ดังนี้ # หมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ปฏิบัติตนตามระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชกาโดยระลึกอยู่เสมอว่าการเป็น ข้าราชการต้องยึดระเบียบการปฏิบัติราชการ พร้อมทั้งปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาอย่าง เคร่งครัด - การลงเวลาปฏิบัติราชการตามเวลาที่กำหนด - การปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประตู - ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่เวร-ยามรักษาการณ์ บันทึกรายงานผลปฏิบัติงาน - การเข้าร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติ - การเข้าสอนตรงเวลาและดูแลห้องเรียน - แต่งกายตามแบบที่สถานศึกษากำหนด - ปฏิบัติตามคำสั่ง ของวิทยาลัย ฯ ให้เกิดประโยชน์ต่อทางราชการตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย - ปฏิบัติตามวินัยของข้าราชการ - ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เครื่องดื่มของมึนเมา และอบายมุข - เป็นผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครูและติดตามข้อมูลข่าวสารจาก ครุสภาอยู่เป็นประจำ # หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ข้อ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์กรวิชาชีพ เห็นคุณค่าและความสำคัญของการเป็นครูที่ดีอยู่เสมอ โดยมีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู พึงกระทำตนให้ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ - เห็นคุณค่าและความสำคัญของการเป็นครูที่ดีอยู่เสมอ โดยมีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู พึง กระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ - ไม่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่ทางราชการและชื่อเสียงของครู เช่น ไม่นำความลับของทางราชการไป เปิดเผยในสถานที่ต่างๆ - ปฏิบัติหน้าที่ด้านการสอนตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ และยังรับผิดชอบงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จากผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติงานเต็มเวลาเต็มศักยภาพ

- พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองอยู่เสมอ - ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยมีความรัก ศรัทธาและความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งความรับผิดชอบ ต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนเองและองค์กร # หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และ ผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และ ผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับ ผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ - รักเมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่ของ ตนอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ - ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ให้กำลังใจแก่ศิษย์ โดยการไปเยี่ยมบ้าน นักเรียนที่ปรึกษาที่มีปัญหาเรื่องการขาดเรียน นักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อพูดคุยกับผู้ปกครองในการหาทาง ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหานักเรียนกลุ่มเหล่านี้ร่วมกับสถานศึกษา - ให้ความช่วยเหลือนักเรียนโดยการให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง - ติดตามผู้เรียน แก้ปัญหาให้ผู้เรียนที่มีปัญหาเรื่องของการเรียนและพฤติกรรมผู้เรียน เช่น การเยี่ยมบ้านนักเรียน - คอยช่วยเหลือ ติดตาม แจ้งเวลาขาดเรียนของผู้เรียนแต่ละวิชา เช่น บันทึกแจ้งครูที่ปรึกษา - ดูแล ติดตาม ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในชั่วโมงโฮมรูม # หมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบ คุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ดำเนินงานในลักษณะกลุ่มกัลยาณมิตร เช่น การทำงานเป็นทีม - ปฏิบัติงานในหน้าที่ ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม วางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูผู้สอนและ หน้าที่พิเศษตามที่ได้รับมอบหมาย - ศึกษาพฤติกรรมการขัดแย้งในการทำงานเพื่อนำความรู้นั้นมาใช้ในการควบคุมอารมณ์ในการปฏิบัติงาน ทุกสภาวะ ไม่ว่าเป็นผู้นำหรือผู้ตาม ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

- สามารถทำงานร่วมกับผู้บริหาร คณะครูบุคลากร ภายใต้สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี- มีความมุ่งมั่น ในเป้าหมายของงานเป็นสำคัญ - สุภาพอ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ การกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก - มีความมุ่งมั่น มั่นใจ เชื่อมั่นในตนเอง และมีความ รับผิดชอบ - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนางาน พัฒนาองค์กรอย่างเต็มศักยภาพ # หมวด 5 จรรยาบรรณต่อสังคม ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ - ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข - ประพฤติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและมีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคม - ปรับตัวเองเข้าสู่ระบบงานของสถานศึกษา โดยยึดความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ - มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของ เพื่อนร่วมงาน ช่วยเพื่อนร่วมงานโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น - ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย และมีน้ำใจต่อผู้อื่น

แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ดี โดยศึกษาครูต้นแบบ การจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 1. ขั้นสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ครูผู้สอนร่วมมือกับผู้เรียนในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแผนที่ยึดโยงกับหลักสูตร เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดหมายและมีแรงจูงใจ ในการเรียนรู้บทเรียน ผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการน่าเข้าสู่บทเรียนและการเรียนรู้ เช่น การเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้เรียนซักถาม หรือตั้งค่าถาม การฉายภาพนิ่งให้ผู้เรียนชมและติดตามการชวนสนทนา เพื่อให้ผ ู้เรียนตั้งประเด็น ที่ต้องการรู้การกระตุ้น ความสนใจด้วยเกม เพลงภาพ การอ่าน / ฟังข่าวจาก หนังสือพิมพ์การยกตัวอย่างประโยค ค่าพังเพย บทกวีฯลฯจุดที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือการตั้งประเด็นอภิปราย การใช้ค่าถามสร้างพลังความคิด การก่าหนด หรือการตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ใน ขั้นตอนต่อไป และให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนรู้หรือเกิดแรงบันดาลใจ 2. ขั้นการเรียนรู้โดยตรง (Active Learning) ในการสอนครั้งแรก ครูควรให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การสร้างองค์ความรู้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แนวทางการสืบค้นความรู้เพื่อให้ได้ความรู้ที่ต้องการ ส่วนที่ 2 ศาสตร์ สาขา แขนงความรู้และแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิด ความคิดเห็น การให้เหตุผลโต้แย้ง และสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ใน การจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง ครูผู้สอนควรมีเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายได้แก่ การอภิปรายกลุ่มเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การระดมพลังความคิด การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จ่าลอง โดยเน้นกระบวนการคิด ซึ่งเป็นหัวใจของขั้นตอนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าตามประเด็นความรู้ หรือหัวข้อที่ตกลงกัน ครูผู้สอน จะกระตุ้นให้ผู้เรียนด่าเนินกิจกรรมเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ ค้นคว้าจากแหล่ง เรียนรู้ต่าง ๆ สัมภาษณ์ผู้รู้ ปฏิบัติการค้นหา (ทดลอง สืบเสาะ สังเกต ส่ารวจ) ร่วมมือเพื่อเขียนค่าอธิบาย แบ่งงานความรับผิดชอบภายในกลุ่ม โดยแหล่งความรู้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ฯลฯ 3.ขั ้ น สรุ ป องค์ ค วามรู ้ (Conclusion) ผู ้ เ รี ย นน่ า ผลการอภิ ป รายและสาธิ ต ที ่ เ ป็ น ผลจากการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมาก่าหนดเป็นความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการเขียนด้วยแผนผัง ความคิดเขียนโครงงาน / โครงการ เขียนบรรยาย / เขียนรายงาน จดบันทึกวาดภาพ แต่งค าประพันธ์ โดยสรุปเป็นภาษาไทยหรือภาษาอั งกฤษ ฯลฯในขั้นตอนนี้ผู้สอนสามารถประเมินความรู้และความคิดใหม่ ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการอภิปราย ตรวจสอบผลงาน สอบถามความคิดของกลุ่ม ทดสอบความรู้ฯลฯ 4. ขั้นรายงานและนำเสนอ (Reporting) ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้าง ความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้่าหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริม ให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการ แสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย ในขั้นนี้ผู้เรียนสามารถแสดงผลงานด้วยวิธีการต่า ง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การอภิปราย การแสดงบทบาทสมมติ เรียงความ วาดภาพ การน่าเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการน่า เสนออาจเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามความเหมาะสมฯลฯและอาจจัดให้มีการประเมินผลงานโดยมี เกณฑ์ทเี่ หมาะสม

5. ขั้นการเผยแพร่ความรู้(Obtain) เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการน่าความรู้ความ เข้าใจของตนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพิ่มความช่านาญ ความเข้าใจ ความสามารถใน การแก้ปัญหาและความจ่าในเรื่องนั้น ๆ เป็นการให้โอกาสให้ผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค

แนวทางการประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ http://ea.grad.ssru.ac.th/useruploads/files/20200718/ee6cca74f7ebcf94a927b0c43184f3f2e64 5a077.pdf

รายการอื่นใด ตามที่ครูพี่เลี้ยงและสถานศึกษาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครู

Data Loading...