แผนปฏิบัติการ-2565-โรงเรียนบ้านกลาง - PDF Flipbook

แผนปฏิบัติการ-2565-โรงเรียนบ้านกลาง

116 Views
32 Downloads
PDF 3,212,304 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมำณ ๒๕๖๕

โรงเรียนบ้านกลาง

อำเภอเมืองสงขลำ จังหวัดสงขลำ สำนักงำนเขตพืน ้ ทีก ่ ำรศึกษำประถมศึกษำสงขลำ เขต ๑

~ก~

การให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 โรงเรียนบ้านกลาง ตาบลพะวง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 --------------------------------------------------------ที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านกลาง ครั้งที่ 5 / 2564 เมื่อวันพฤหัสที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 ของโรงเรียนบ้านกลาง ตาบลพะวง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 แล้ว 1. มีมติเห็นชอบในการแบ่งสัดส่วนงบประมาณ ดังนี้ งบประมาณคงเหลือ ปี 2564 จานวน 41,163.49 บาท งบประมาณ ปี 2565 จานวน 396,600.00 บาท งบประมาณทั้งสิ้น จานวน 437,763.49 บาท คิดเป็นร้อยละ 100.00 นามาจัดสรรเป็น งบรายจ่ายประจา จานวน 60,000.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.70 งบพัฒนา จานวน 377,763.49 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.30 2. มีมติเห็นชอบให้ดาเนินการตามแผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 ได้ (ลงชื่อ)

(นายร่อโฉน บินบ่อสอ) ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ข~

คณะกรรมการบริหารโรงเรียนบ้านกลาง ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า แผนปฏิบัติราชการ ประจาปีงบประมาณ 2565 ฉบับนี้แล้ว สมควรอนุมัติให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จึงเรียนเสนอมาเพือ่ ให้ความเห็นชอบต่อไป (ลงชื่อ).......................................................ประธานกรรมการ (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง (ลงชื่อ).......................................................รองประธานกรรมการ (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) ครูชานาญการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารบุคคล (ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นางอุไรวรรณ ประนอม) ครูชานาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารงบประมาณ (ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นางฏยา เพ็งมาก) ครูชานาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ ระดับก่อนประถม (ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นางสาวมีนา บิลหลี) พนักงานราชการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ ระดับประถมศึกษา (ลงชื่อ).......................................................กรรมการและเลขานุการ (นายสนั่น เหมชะรา) พนักงานราชการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ค~

ผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านกลาง ตาบลพะวง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 ฉบับนี้แล้ว มีมติเห็นชอบให้ใช้แผนฯ ฉบับนี้ได้ จึงได้ลงนามให้ไว้ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2564 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564

(ลงชื่อ).......................................................ประธานกรรมการสถานศึกษาฯ (นายรอโฉน บินบ่อสอ) (ลงชื่อ).......................................................รองประธานกรรมการ (นายศราวุธ บินหมัดหนี) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) ผู้แทนครู

(ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นายไพศาล บินหมัดหนี) ผู้แทนองค์กรทางศาสนา

(ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นายอานนท์ หมัดอาหลี) ผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ

(ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นางสาวสนธิยา อุมาจิ) ผู้แทนผู้ปกครอง

(ลงชื่อ).......................................................กรรมการ (นางสาววันดี บินสหัส ) ผู้แทนองค์กรชุมชน

(ลงชื่อ).................................. .....................กรรมการ (นายนิรุช โต๊ะหวัง) ผู้แทนศิษย์เก่า

(ลงชื่อ).......................................................กรรมการและเลขานุการ (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ง~

คำนำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 76 รวมทั้งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 14 กาหนดให้คณะรัฐมนตรี ต้อง จั ด ท าแผนการบริ หารราชการแผ่ น ดิ น เพื่ อ เป็ น กรอบและแนวทางในการบริห ารราชการแผ่ นดิ น ตลอด ระยะเวลา 4 ปี โดยให้นานโยบายของรั ฐ บาลที่ แถลงต่อ รัฐ สภา มาพิจารณาด าเนิน การให้ สอดคล้ อ งกั บ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยทุกส่วนราชการจะต้องไปดาเนินการจัดทาแผนปฏิบัติราชการ ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และแผนปฏิบัติราชการประจาปีต่อไป โรงเรี ย นบ้ า นกลาง จึ ง ได้ จั ด ท าแผนปฏิ บั ติ ก าร ประจ าปี ง บประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่ อ เสนอ ของบประมาณ ให้สอดคล้องกับนโยบายรั ฐบาลทั้งในส่วนที่ เป็นนโยบายเร่งด่วน และนโยบายสังคมและ คุณภาพชีวิต นโยบายการศึกษา นโยบายของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศ ทางการดาเนินงาน โดยมีสาระสาคัญเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายการให้บริการ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ ผลผลิต และโครงการ รวมทั้งกิจกรรมที่ต้องดาเนินการ งบประมาณ ระยะเวลาดาเนินการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ฉบับนี้ จะเป็นเครื่องมือสาคัญ ในการบริหารงานการศึกษา มีความชัดเจนในการดาเนินงาน สามารถบูรณาการและผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้ อย่ า งถู ก ต้ อ ง เป็ น รูป ธรรม สามารถติ ด ตามประเมิ นผลความส าเร็ จ ได้ ต ามเป้ า หมาย ตั ว ชี้ วั ด เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เยาวชนของชาติได้ตามที่มุ่งหวัง ขอขอบพระคุ ณ คณะกรรมการ ตลอดจนผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งที่ มี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด ท าแผนปฏิ บั ติ ก าร ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สาเร็จลุล่วงไปด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้

(นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~จ~

สำรบัญ การให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการ ประจาปีงบประมาณ 2565 คานา สารบัญ ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพืน้ ฐาน 2

ทิศทางการพัฒนาของสถานศึกษา

3

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม รายละเอียด แผนงานโครงการ/กิจกรรม ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ ฝ่ายบริหารบุคคล ฝ่ายบริหารทั่วไป

ภาคผนวก

คาสั่งโรงเรียนบ้านกลาง ที่ 68/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทาแผนปฏิบัติการ ประจาปีปีงบประมาณ 2565 สั่ง ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หน้า ก ง จ 1 14

57 58 89 93 117

139

ส่วนที่ 1 : สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน สภาพทั่วไป โรงเรียนบ้านกลาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตาบลพะวง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90100 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขโทรศัพท์ (074) 414791 มีเนื้อที่ 12 ไร่ เขตพื้นที่บริการทางการศึกษา หมู่ที่ 5 บ้านดอนขี้เหล็ก ตาบลพะวง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา เปิดทาการสอน 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และระดับชั้นประถมศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา มี 3 หลักสูตร ประกอบด้วย 1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) 3. หลักสูตรอิสลามศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม ปรัชญาของโรงเรียน เป็นคนดี มีปัญญา พัฒนาสังคม คาขวัญ คุณธรรมเด่น เน้นวิชาการ สืบสานภูมิปัญญา งามสง่ากายใจ สีประจาโรงเรียน น้าเงิน-ขาว อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับ มัสยิดฮิดาญาตุ้ลญันนะฮ์ และวัดห้วยขัน ทิศใต้ ติดกับ มัสยิดดอนขี้เหล็ก ทิศตะวันออก ติดกับ โรงเรียนบ้านดอนขี้เหล็ก ทิศตะวันตก ติดกับ โรงเรียนภักดีศึกษามูลนิธิ วัน-เดือน-ปี ก่อตั้ง พ.ศ. 2516 [email protected] อีเมล์ เพจ โรงเรียนบ้านกลาง สงขลา Baan Klang School Songkhla เอกลักษณ์ ไหว้งาม สลามสวย อัตลักษณ์ วิถีอิสลาม

แผนปฏิบัตริ าชการ ปี งบประมาณ 2565: โรงเรียนบ้ านกลาง จังหวัดสงขลา

~๒~

แผนที่ตั้งโรงเรียน

โครงสร้างการบริหารงาน โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานตามกฎกระทรวงกาหนด หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอานาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ดังนี้ ผู้อานวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะกรรมการบริหารโรงเรียน

ฝ่ายบริหารวิชาการ

ชมรมศิษย์เก่า

ฝ่ายบริหารงบประมาณ

ฝ่ายบริหารบุคคล

นักเรียน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

ฝ่ายบริหารทั่วไป

~๓~ สถานศึกษามีอานาจหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. อานาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม 1) จัดรูปแบบการศึกษา ม.15 2) จัดกระบวนการศึกษา ม. 24-30 3) บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ม.39 4) เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ม.40 5) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ม.48 – 50 6) ปกครองดูแลบารุงรักษาทรัพย์สินฯ ม.59 7) พัฒนาบุคลากร นักเรียนด้านเทคโนโลยีฯ ม.65 – 66 2. อานาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 1) ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ม.6 2) เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ 3) จัดการศึกษาเด็กบกพร่อง พิการ ด้อยโอกาสในรูปแบบเหมาะสม ม.12 4) ดาเนินการอื่น ๆ ตามกฎหมายกาหนด 3. อานาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 (ม.39) 1) เป็นผู้บงั คับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรในสถานศึกษา 2) บริหารกิจการสถานศึกษา 3) ประสานระดมทรัพยากร 4) เป็นผู้แทนสถานศึกษา 5) จัดทารายงานประจาปีต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา 6) อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร 7) อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย 8) ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอานาจ (ปฏิบัติราชการแทน) ม.44-45 - ปลัด ศธ. เลขาฯ ถึง ผอ.สถานศึกษา - ผอ.สานักฯ ในกรม ถึง ผอ.สถานศึกษา - ผอ.สพท. ถึง ผอ.สถานศึกษา 4. อานาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการใน สถานศึกษา พ.ศ.2546 1) วิเคราะห์ จัดทานโยบาย แผนสถานศึกษา 2) วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ 3) เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป 4) แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทางานต่าง ๆ 5. อานาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ.2547 1) ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ม.27(1) 2) พิจารณาความดีความชอบ ม.27(2) แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~๔~ 3) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากร ม.27(3) 4) จัดทามาตรฐานภาระงานครู ม.27(4) 5) ประเมินผลการปฏิบัติงานครู ม.27(5) 6) ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ. กก.รร.มอบหมาย ม.27(6) 7) สั่งให้ครูฯ ออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติ ม.49 8) สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู บุคลากร ม.53(4) 9) สั่งครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก ม.56 วรรคสอง 10) สั่งให้ครูพ้นทดลองทางานต่อไป ม.56 วรรคสอง 11) สั่งครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ ม.64 12) สั่งให้ครูรักษาการในตาแหน่ง (ตาแหน่งว่าง) ม.68 13) สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครู ม.73 14) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ม.75 15) แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ ม.78 16) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ม.79 17) ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน ม.81 18) รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ม.82 19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ม.95-98 20) อนุญาต ยับยั้ง อนุญาตการลาออก ม.108 21) สั่งแต่งตั้ง กก.สอบสวน กรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสปกครองฯ ม.110 (4) 22) สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่าง ๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตาแหน่ง ไร้ประสิทธิภาพ จาคุก 6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล สังกัด สพท. พ.ศ.2546 ได้กาหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ 1) ผู้อานวยการฯ เป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา 2) นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงาน สพท. แจ้งสพฐ. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดาเนินคดี 3) การบริหารบุคคลตามกฎหมาย พรบ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 4) ยุบ รวม เลิกล้มโรงเรียน สพท. ตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สิน โอน จาหน่ายตามหลักเกณฑ์ สพฐ. กาหนด 5) โรงเรียนมีอานาจปกครอง ดูแล บารุง รักษา ใช้ จัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ แต่จาหน่ายอสังหาริมทรัพย์ คณะกรรมการสถานศึกษาฯ ต้องเห็นชอบ รายงาน สพท. 6) โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ พัสดุตามวงเงิน อานาจที่เลขา กพฐ.มอบ หรือ ผอ.สพท. มอบตามหลักเกณฑ์ที่ สพฐ. กาหนดยกเว้นเงินเดือน 7) จัดทาระบบการเงิน บัญชี ตามระเบียบที่ สพฐ. กาหนด และทรัพย์สินฯ ผู้อุทิศทาหลักฐาน การรับบัญชีรับ – จ่ายฯ รายงาน ผอ.สพท. ทุกสิ้นปีงบประมาณ ผอ.สพท.ตรวจสอบและ รายงาน เลขา กพฐ. โดยเร็ว

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~๕~ 7. อานาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548 - กฎกระทรวง ศธ. ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการกาหนดเวลาทางานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการยกเลิกเงินบารุงการศึกษา พ.ศ.2534 พ.ศ.2547 - ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ (ฉ.2) พ.ศ.2547 - กฎกระทรวง ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีการปรับปรุงใหม่

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~๖~

ข้อมูลพื้นฐาน รหัสโรงเรียน 10 หลัก : รหัส Smis 8 หลัก : รหัส Obec 6 หลัก : ชื่อสถานศึกษา(ไทย) : ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) : ที่อยู่ : ตาบล : อาเภอ : จังหวัด : รหัสไปรษณีย์ : โทรศัพท์ : โทรสาร :

1090550016 90010020 550016 บ้านกลาง Baanklang หมู่ที่ 5 บ้านบ้านดอนขี้เหล็ก พะวง เมืองสงขลา สงขลา 90100 074414791 074414791

ข้อมูลนักเรียน ที่มา: ข้อมูล ณ วันท่ 10 กันยายน พ.ศ.2563 ชั้น/เพศ ชาย หญิง อบ.1 0 0 อบ.2 3 6 อบ.3 9 13 รวม อบ. 12 19 ป.1 16 15 ป.2 9 22 ป.3 18 18 ป.4 14 17 ป.5 11 13 ป.6 18 10 รวมประถม 86 95 รวมทั้งหมด 98 114

รวม 0 9 22 31 31 31 36 31 24 28 181 212

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

ห้องเรียน 0 1 1 2 1 1 1 1 1 1 6 8

~๗~

ข้อมูลครูและบุคลากร

ตาแหน่ง 1. ผู้อานวยการโรงเรียน

วิทยฐานะ

4. ครูผู้ช่วย 5. ลูกจ้างประจา 6. พนักงานราชการ 7. ลูกจ้างชั่วคราว 8. พี่เลี้ยงเด็กพิการ

ตาแหน่ง

ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา (คน) ชาย หญิง รวม

คศ.1 คศ.2 คศ.3

0 1 0

0 0 0

0 1 0

คศ.4 คศ.5 คศ.1 คศ.2

0 0 1 0 0

0 0 0 0 0

0 0 1 0 0

ชานาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ รวม ชานาญการ

คศ.3 คศ.4 คศ.1 คศ.2

0 0 0 0 1

0 0 0 1 0

0 0 0 0 2

ชานาญการพิเศษ

คศ.3

0

5

7

เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ รวม -

คศ.4 คศ.5 ครูผู้ช่วย

0 0 1 0

0 0 6 0

0 0 7 0

-

0 1 1 0 4

0 2 1 1 10

0 3 2 1 14

ชานาญการ ชานาญการพิเศษ

เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ รวม 2. รองผู้อานวยการโรงเรียน ชานาญการ

3. ครู

ระดับ

รวมทั้งหมด

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~๘~

ระดับการศึกษา ที่ 1

ชื่อ-สกุล นายธราเดช มหปุญญานนท์

2

นางอุไรวรรณ ประนอม

การศึกษา ศษ.ด. การบริหารการศึกษา คบ. คหกรรมศาสตร์

3

นางวนิดา สุขเกิด

กศ.บ. การประถมศึกษา

4

นางสาวอภิญญา คงสุวรรณ

กศ.บ. การประถมศึกษา

5

นางนาฏยา เพ็งมาก

คบ. การศึกษาปฐมวัย

6

นางนิธิกาญจน์ ชาตโร

ศศ.บ. ภาษาอังกฤษ

7

นายมูฮัมหมัด หมาดอี

คบ. สังคมศึกษา

8

นางสาวศิราณี ชูมี

กศ.บ. การประถมศึกษา

9

นางสาวมีนา บินหลี

คบ. วิทยาศาสตร์ทั่วไป

10

นางสาวนู่รี่หย๊ะ เบ็ญหมัด

ศศ.บ.อิสลามศึกษา/กศม. วิจัยและประเมินผล

11

นายสนั่น เหมชะรา

ศษ.บ. การแนะแนว

12

นางสาวสุไบด๊ะ สายสลา

ศศ.บ. ภาษาอังกฤษเพื่องานบริการ

13

นางสาวณัฐนรี เส้งบรรทึก

วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า

14

นายเจน เกปัน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~๙~

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (คะแนนเฉลี่ยร้อยละการสอบ NT และ ONET)  ผลการสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561-2563

ความสามารถด้านภาษา

2561 59.87

ปีการศึกษา 2562 39.69

ความสามารถด้านคานวณ

38.31

37.05

ความสามารถด้านเหตุผล

49.22

-

วิชา

2563

 คะแนนเฉลี่ยร้อยละผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561-2563 2561 46.75

ปีการศึกษา 2562 45.28

-

-

ภาษาอังกฤษ

25.75

25.38

คณิตศาสตร์

34.25

24.00

วิทยาศาสตร์

39.90

30.63

วิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

2563

 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 เปรียบเทียบกับ ระดับประเทศ ระดับ สพฐ. ระดับภาคใต้ และระดับจังหวัด ระดับ จังหวัด 50.05

สพป.

โรงเรียน

47.95

ระดับ ภาค 47.08

52.72

45.28

-

-

-

-

-

-

ภาษาอังกฤษ

43.42

30.86

32.61

35.58

35.11

25.38

คณิตศาสตร์

32.90

31.60

31.57

34.10

35.18

24.00

วิทยาศาสตร์

35.55

34.30

34.37

36.47

37.15

30.63

วิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ประเทศ

สพฐ.

49.07

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๐ ~

ผลการประเมิน สมศ. รอบที่สาม (2554-2558)  การศึกษาขั้นพื้นฐาน: ระดับการศึกษาปฐมวัย (2-5 ปี) ตัวบ่งชี้ที่มีระดับดีขึ้นไป ได้แก่ ลาดับที่ ตัวบ่งชี้ที่ ชื่อตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ

1

1

เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย

ดีมาก

2

2

เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจสมวัย

ดีมาก

3

3

เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย

ดีมาก

4

5

เด็กมีความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป

ดีมาก

5

6

ประสิทธิผลการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสาคัญ

ดีมาก

6

7

ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา

ดีมาก

7

8

ประสิทธิผลของระบบประกันคุณภาพภายใน

ดีมาก

8

9

ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา

ดีมาก

9

10

ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็น เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

ดีมาก

10

11

ผลการดาเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของ สถานศึกษา

ดีมาก

11

12

ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษา มาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการ ปฏิรูปการศึกษา

ดีมาก

12

4

เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

ดี

~ ๑๑ ~  การศึกษาขั้นพื้นฐาน: ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตัวบ่งชี้ที่มีระดับดีขึ้นไป ได้แก่ ลาดับที่

ตัวบ่งชี้ที่

ชื่อตัวบ่งชี้

1

1

ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

ดีมาก

2

2

ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

ดีมาก

3

3

ผู้เรียนคิดเป็น ทาเป็น

ดีมาก

4

5

ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา

ดีมาก

5

6

พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและ ต้นสังกัด

ดีมาก

6

7

ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา

ดีมาก

7

8

ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็น เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

ดีมาก

8

9

ผลการดาเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของ สถานศึกษา

ดีมาก

9

10

ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษา มาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการ ปฏิรูปการศึกษา

ดีมาก

10

11

ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ดี

11

12

ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ

ดี

12

4

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

ดี

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

ระดับคุณภาพ

~ ๑๒ ~

ผลการวิเคราะห์ SWOT สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส (Opportunity) 1. นโยบายรัฐให้ความสาคัญในการดาเนินงาน ติดตาม ตรวจสอบและประเมินในการบริหารจัด การศึกษา 2. มีระบบเทคโนโลยีและการสื่อสารหลากหลายและครอบคลุมทุกพื้นที่ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพใน การบริหารจัดการศึกษา 3. การคมนาคมมีความสะดวกเอื้อต่อการจัดการศึกษาไดเป็นอย่างดี อุปสรรค (Threat) 1. หน่วยงานต้นสังกัดมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเพิ่มขึ้น ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผล ให้การปฏิบัติงานล่าช้า 2. ประชาชนในพื้นที่มีฐานะยากจน ผู้ปกครองมีรายได้น้อย และขาดการเอาใจใส่ดูแลบุตรหลาน 3. มีการนาโปรแกรมสาเร็จรูปมาใช้ในการจัดการข้อมูลต่าง ๆ มากเกินไป ส่งผลให้เกิดความซับซ้อน และยุ่งยากในการเชื่อมโยงข้อมูลเดิมกับข้อมูลใหม่ 3. นโยบายทางการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงขาดความต่อเนื่อง 4. หน่วยงานต้นสังกัดต้องการข้อมูลเร่งดวน/ซ้าซ้อน ทาให้ผู้ปฏิบัติงานมีภาระงานอื่น ๆ มากเกินไป ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนเอง 5. การไดรับความร่วมมือ/สนับสนุน จากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมีน้อย 5. ผู้ปกครอง ชุมชน ให้การส่งเสริมสนับสนุน ร่วมมือในการพัฒนาการจัดการศึกษาน้อย สภาพแวดล้อมภายใน จุดแข็ง (Strength) 1. มีโครงสร้างการบริหารงาน และแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน 2. มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลสารสนเทศให้แก่ผู้สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สม่าเสมอ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และช่องทางอื่น ๆ 3. มีการจัดทาฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการในระบบต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้องและ เป็นปัจจุบัน เช่น DMC EMIS B-OBEC M-OBEC 4. มีการบริหารจัดการที่ดี สงผลใหเกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ 5. บุคลากรมีความรู ความสามารถ และประสบการณ มีความเสียสละ มีความสามัคคี ทางานเป็น ทีม 6. ผู้เรียนมีความรูและทักษะที่จาเป็นตามหลักสูตร มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึง ประสงค์

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๓ ~ จุดอ่อน (Weakness) 1. ขาดบุคลากรที่มีความรูความสามารถเฉพาะด้าน เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ คอมพิวเตอร์ ICT ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คะแนนผลการสอบ O-NET ต่า 3. เด็กที่มีความต้องการพิเศษ/เด็กด้อยโอกาส บางส่วนยังไมไดรับการพัฒนาตรงตามความต้องการ และศักยภาพของผู้เรียน 4. การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขาดความเข้มแข็ง 5. งบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ 6. สื่อ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี สาหรับการเรียนรู้และการบริหารจัดการไม่เพียงพอและเหมาะสม 7. อาคารสถานที่และสิ่ งแวดล้อมยังไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ไม่สวยงามและไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย ขาดความปลอดภัย บางส่วนไม่พร้อมใช้งาน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2565 : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

ส่วนที่ ๒ : ทิศทางการพัฒนาของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านกลาง สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ได้นากรอบยุทธศาสตร์ ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 25602564) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิ จ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายรัฐบาล นโยบายความ มั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2558-2564 จุดเน้นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงกับอานาจหน้ าที่ของโรงเรียน และกาหนดเป็นกรอบแนวทางในการจัดทาแผนพัฒนา การศึ ก ษาโรงเรียนบ้า นกลาง พ.ศ.2562–2564 และน ามาก าหนดทิ ศ ทางการพัฒนาการศึ กษาในแผน ปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ 2564 ดังนี้

1. กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) คณะกรรมการจัดทายุทธศาสตร์ชาติได้กาหนดกรอบยุทธศาสตร์แห่งชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.25602579) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี โดยกาหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ดังนี้ วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” และเป็นคติพจน์ประจาชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เป้าหมาย 1. ความมั่นคง 1.1 การมีความมั่นคงปลอดภัย จากภัย และการเปลี่ ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอก ประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง 1.2 ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่ เข้มแข็ง เป็นศูนย์กลางและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองมีความมั่นคงเป็นกลไกที่น าไปสู่ การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล 1.3 สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกาลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความ เข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น 1.4 ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดารงชีวิต มีที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน 1.5 ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้า แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๕ ~ 2. ความมั่งคั่ง 2.1 ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มรายได้สูง ความเหลื่อมล้าของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น 2.2 เศรษฐกิ จ มี ค วามสามารถในการแข่ งขั นสู ง สามารถสร้ า งรายได้ ทั้ งภายในและภายนอก ประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็นจุดสาคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการ คมนาคมขนส่ง การผลิต การค้าการลงทุนและการทาธุรกิจ มีบทบาทสาคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิด สายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างมีพลัง 2.3 ความสมบู ร ณ์ ใ นทุ น ที่ จ ะสามารถสร้ า งการพั ฒ นาคนอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ได้ แ ก่ ทุ น มนุ ษ ย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือ เครื่องจัก ร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3. ความยั่งยืน 3.1 การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง เป็ น การเจริ ญ เติ บ โตของเศรษฐกิ จ ที่ ไ ม่ ใ ช้ ท รั พ ยากรธรรมชาติ เ กิ น พอดี ไ ม่ ส ร้ า งมลภาวะต่ อ สิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์ 3.2 การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคม โลก ซึ่ ง เป็ น ที่ ย อมรั บ ร่ว มกั น ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องทรั พยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ งแวดล้ อมมี คุ ณ ภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม 3.3 ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ 2. เพื่อเพิ่ม กระจายโอกาสและคุณภาพการให้บริการของรัฐอย่างทั่วถึง เท่าเทียม เป็นธรรม 3. เพื่อลดต้นทุนให้ภาคการผลิตและบริการ 4. เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบริการด้วยนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 1.1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.2 การปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศ 1.3 การป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.4 การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๖ ~ 2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 2.1 สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริม การค้าและการลงทุน ส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน 2.2 พั ฒ นาผู้ ป ระกอบการและเศรษฐกิ จ ชุ ม ชน ได้ แ ก่ พั ฒ นาทั ก ษะและองค์ ค วามรู้ ข อง ผู้ประกอบการไทย พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและสถาบัน เกษตรกร 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 3.1 พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ 3.2 สร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี 3.3 สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยให้เอื้อต่อการพัฒนาคน 4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 4.1 สร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้าทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 4.2 สร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน 5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.1 การจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทาลายทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น 6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 6.1 การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ 6.2 การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม 6.3 การวางระบบบริหารงานราชการแบบบูรณาการ 6.4 การพัฒนาระบบบริหารจัดการกาลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐในการปฏิบัติราชการ 6.5 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 6.6 การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้มีความชัดเจน ทันสมัย เป็นธรรมและ สอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจน พัฒนาหน่วยงานภาครัฐและบุคลากรที่มี หน้าที่เสนอความเห็นทางกฎหมายให้มีศักยภาพ

2. นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 โดย ได้ ก าหนดนโยบายไว้ 11 ด้ า น เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย (ฉบั บ ชั่ ว คราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 ที่ระบุให้รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ดาเนินการให้มีการ ปฏิ รู ป ด้ า นต่ า ง ๆ และส่ ง เสริ ม ความสามั ค คี แ ละความสมานฉั น ท์ ข องประชาชนในชาติ โดยมี น โยบายที่ เกี่ยวข้องกับภารกิจสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 1. นโยบายที่ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นองค์ประกอบสาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรัฐบาล จึงถือเป็นหน้าที่สาคัญยิ่งยวด ในอันที่จะเชิดชูสถาบันนี้ไว้ด้วยความจงรักภักดี และปกป้องรักษาพระบรมเดชานุภาพ เผยแพร่ความรู้ความ เข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งและเป็ น จริ ง เกี่ ย วกั บ สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ แ ละพระราชกรณี ย กิ จ เพื่ อ ประชาชน ทั้ง จะสนับสนุนโครงการทั้งหลายอันเนื่องมาจากพระราชดาริ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สถานศึกษา ตลอดจน แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๗ ~ หน่วยงานทั้งหลายของรัฐเรียนรู้เข้าใจหลักการทรงงาน สามารถนาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบั ติ ราชการและการพัฒนา ตลอดจนเร่งขยายผลตามโครงการและแบบอย่างที่ทรงวางรากฐานไว้ให้แพร่หลาย 2. นโยบายที่ 2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ โดยเร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายุทธศาสตร์เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุย สันติสุขกับผู้มีความคิดเห็นต่างจาก รัฐ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้ นที่ซึ่งเป็นพหุสัง คม ขจัดการฉวยโอกาสก่อความรุนแรงแทรกซ้อนเพื่อซ้าเติมปัญหาไม่ว่าจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบ้านเมือง ทั้งจะเพิ่มระดับปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่อาจช่วยคลี่ ค ลาย ปัญหาได้ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ เช่น การคุ้มครองดูแลคนไทยและผลประโยชน์ ของคนไทยในต่ า งแดน การแลกเปลี่ ย นทางการศึ ก ษา วั ฒ นธรรม การค้ า การพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ และการเปิดโลกทัศน์ให้มีลักษณะสากล เป็นต้น 3. นโยบายที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายที่ 4.1 การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสาคัญทั้งการศึกษาในระบบและ การศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดารงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ การเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้า และพัฒนากาลังคนให้เป็นที่ ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ นโยบายที่ 4.2 ในระยะเฉพาะหน้ า จะปรั บ เปลี่ ย นการจั ด สรรงบประมาณสนั บ สนุ น การศึ กษา ให้สอดคล้องกับความจาเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา และปรับปรุง และบูรณาการระบบ การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุน ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียนโดยจะ พิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง นโยบายที่ 4.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน ทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษา การเรียนรู้ กระจายอานาจ การบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามศักยภาพและ ความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล และบริหารจัดการได้อย่างอิสระและคล่องตัวขึ้น นโยบายที่ 4.4 พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้มีความรู้และทักษะใหม่ที่ สามารถประกอบอาชี พ ได้ ห ลากหลายตามแนวโน้ ม การจ้ า งงานในอนาคต ปรั บ กระบวนการเรี ย นรู้ และหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และคุณธรรมเข้าด้วยกันเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนา ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปัญหา การรับฟังความเห็นผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน นโยบายที่ 4.6 พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นาเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียน การสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนการ สอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสาคัญ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๘ ~ 4. นโยบายที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน นโยบายที่ 7.3 พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทั้งแรงงาน วิชาชีพ แรงงานมีทักษะ และแรงงานไม่มีทักษะ โดยการเร่งรัดและขยายผลการใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้ เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยคานึงถึงความเป็นเอกภาพกับระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานและมาตรฐานวิชาชีพใน 8 กลุ่มที่มีข้อตกลงการเปิดเสรีในอาเซียนควบคู่ไปกับการวางแผนด้านการผลิตให้เพียงพอการยกระดับฝีมือ แรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น การส่งเสริมการพัฒนาระบบ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อใช้ในการประเมินค่าจ้างแรงงาน 5. นโยบายที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ นโยบายที่ 10.5 ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และจิตสานึกใน การรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการบริหารจัดการภาครั ฐ ที่ มี ประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่าง เคร่งครัด ยกเลิก หรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ไม่จาเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกิน ควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อ จัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาวใช้เวลานาน ซ้าซ้อน และเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน

3. นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564 นโยบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีดังนี้ 1. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการ โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและ บุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ฯลฯ ที่ สามารถลดการใช้ทรัพยากรทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการนา เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยทั้งการบริหารงานและการจัดการศึกษารองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล 2. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากร โดยมุ่งปฏิรูปกระบวนการวางแผน/โครงการ แบบร่วมมือและบูรณาการ ที่สามารถตอบโจทย์ของสังคมและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้ง กระบวนการจัดทางบประมาณที่มีประสิทธิภาพและใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และนานาชาติ เชื่อมั่นและร่วมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาก ยิ่งขึ้น 3. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการและพัฒนากาลังคนของกระทรวงศึกษาธิก าร โดยมุ่งบริหารอัตรากาลังให้สอดคล้องกับการปฏิรูปองค์การ รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะและความรู้ ความสามารถของบุคลากรภาครัฐ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานและรองรับความเป็นรัฐบาล ดิจิทัล 4. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจั ด การศึกษาเพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ ที่ 21

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๙ ~ จุดเน้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีดังนี้ 1. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 1.1 การจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ - จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งแนวทางการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก และการวัดผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา แห่งชาติ - ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลัก สูตรระดับท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษาตามความ ต้องการจาเป็นของกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลายตามบริบทของพื้นที่ - พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากประสบการณ์ จริงหรือ จากสถานการณ์จาลองผ่านการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดง ความคิดเห็นเพื่อเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครูให้มากขึ้น - พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดารงชีวิติและสร้าง อาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ 1.2 การเรียนรู้ตลอดชีวิต - จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะ ภาษาอังกฤษ (English for All) - ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสาหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ อาชีพที่เหมาะสม รองรั บ สั ง คมสู ง วัย หลั ก สู ต รการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิต และหลั ก สู ต รการดู แลผู้ สูงวัย หลักสูตร BUDDY โดยเน้นการมีส่ วนร่วมในการพัฒนาชุ ม ชน โรงเรียน และผู้เ รี ย น หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้าออนไลน์ระดับตาบล - ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทา ในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บ ชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงานต่างด้าว) - พั ฒ นาครู ใ ห้ มี ทั ก ษะ ความรู้ และความช านาญในการใช้ เ ทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน - พั ฒ นาครู อ าชี ว ศึ ก ษาที่ มี ค วามรู้ แ ละความสามารถในทางปฏิ บั ติ ( Hand-on Experience) เพื่ อ ให้ มี ทั ก ษะและความเชี่ ย วชาญทางวิ ช าการ โดยร่ ว มมื อ กั บ สถาบันอุดมศึกษาชั้นนาของประเทศจัดหลักสูตรการพัฒนาแบบเข้มข้นระยะเวลาอย่าง น้อย 1 ปี - พัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการให้มีความ พร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี ศูนย์พัฒนาสมรรถนะบุคลากรระดับจังหวัดทั่วประเทศ 2. การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง - พั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ โดยน้ อ มน ายุ ท ธศาสตร์ พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดาเนินการ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๐ ~

3.

4.

5.

6.

- เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพ ติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ - ส่งเสริมการใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้ น ที่ที่ ใ ช้ ภาษาอย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้ านการคิดวิเ คราะห์ รวมทั้ ง มี ทั ก ษะการสื่ อ สารและใช้ ภ าษาที่ ส ามในการต่ อ ยอดการเรี ย นรู้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ - ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด การสร้างความสามารถในการแข่งขัน - สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาผลิตกาลังแรงงานที่มีคุณภาพ ตามความเป็นเลิศของ แต่ละสถานศึก ษาและตามบริ บ ทขอบพื้น ที่ รวมทั้งสอดคล้ องกั บ ความต้องการของ ประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต - สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียนการ สอนด้วยเครื่องมือปฏิบัติที่ทันสมั ยและสอดคล้องกับเทคโนโลยี โดยเน้นให้ผู้เรีย นมี ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา - พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ - ศึกษาและปรับปรุงอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ - ระดมสรรพกาลังเพื่อส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนาร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อลด ความเหลื่อมล้าทางการศึกษาให้สอดคล้องพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม - เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่ พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม - ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็น อาชีพ และสร้างรายได้ การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ - ปฏิ รู ป องค์ ก ารเพื่ อ ลดความทั บ ซ้ อ น เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและความเป็ น เอกภาพของ หน่ ว ยงานที่ มี ภ ารกิ จ ใกล้ เ คี ย งกั น เช่ น ด้ า นประชาสั ม พั น ธ์ ด้ า นต่ า งประเทศ ด้ า น เทคโนโลยี ด้านกฎหมาย เป็นต้น - ปรั บ ปรุ ง กฎหมายและระเบี ย บที่ เ ป็ น อุ ป สรรคและข้ อ จ ากั ด ในการด าเนิ น งาน โดยคานึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการโดยรวม - สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ - พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data) - พัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนากาลังคนของกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้อง กับการปฏิรูปองค์การ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๑ ~ - สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ - จัดตั้งหน่วยงานวางแผนทางการเงิน (Financial Plan) ระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ - ส่งเสริมโครงการ 1 ตาบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นปรับสภาพแวดล้อมทั้ งภายใน และภายนอกบริ เ วณโรงเรี ย นให้ เ อื้ อ ต่ อ การเสริ ม สร้ า งคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม และ จิตสาธารณะ

4. นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ปีงบประมาณ 2564-2565 ส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ นพื้ นฐาน มุ่ ง มั่ น ในการพั ฒนาการศึ ก ษาขั้ น พื้น ฐานให้เป็น “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกาหนดนโยบาย ดังนี้ 1. ด้านความปลอดภัย พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาและ สถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมี สุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้า 2. ด้านโอกาส 2.1 สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยได้ เข้ าเรี ยนทุก คน มีพัฒนาการที่ดี ทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สมกับวัย 2.2 ดาเนินการ ให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐาน วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ สามารถวิเคราะห์ตนเองเพื่อการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพตรงตามศักยภาพและความถนัดของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนา ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ 2.3 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้ ออกจากระบบการศึ ก ษา รวมทั้ ง ช่ ว ยเหลื อ เด็ ก ตกหล่ น และเด็ ก ออกกลางคั น ให้ ไ ด้ รั บ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม 2.4 ส่งเสริมให้เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีทักษะใน การดาเนินชีวิต มีพื้นฐานในการประกอบอาชีพ พึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. ด้านคุณภาพ 3.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะการเรียนรู้และทักษะที่จาเป็นของโลกใน ศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน เป็นคนดี มีวินัย มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อ บ้านเมือง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๒ ~ 3.2 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ การคิดขั้นสูง นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน และการเลือกการศึกษาต่อเพื่อการมีงานทา 3.3 ปรับหลักสูตรเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จาเป็นในแต่ละ ระดับ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สร้าง สมดุลทุกด้ าน ส่งเสริมการจั ดการศึก ษาเพื่ อพัฒนาพหุ ปัญญา พัฒนาระบบการวั ด และ ประเมินผลผู้เรียนทุกระดับ 3.4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพในการจัดการเรียนการ สอนตามหลักสูตรสมรรถนะ มีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดี มีความรู้ความสามารถในการ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีจิตวิญญาณความ เป็นครู 4. ด้านประสิทธิภาพ 4.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน มี นวัตกรรมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน บนฐานข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ทันสมัย และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 4.2 พั ฒ นาโรงเรี ย นมั ธ ยมดี สี่ มุ ม เมื อง โรงเรี ย นคุ ณ ภาพของชุ ม ชน โรงเรี ย นขนาดเล็ ก และ โรงเรี ย นที่ ส ามารถด ารงอยู่ ได้ อย่ า งมี คุ ณ ภาพ (Stand Alone) ให้ มี คุ ณ ภาพอย่ างยั่งยืน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 4.3 บริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่มีจานวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 น้อยกว่า 20 คน ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายโรงเรี ยน คุณภาพของชุมชน 4.4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ และสถานศึกษา ที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ 4.5 สนับสนุนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้เป็นต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา และการ เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.6 เพิ่มประสิทธิภาพการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิสัยทัศน์ สร้างคุณภาพทุนมนุษย์สู่สังคมอนาคตที่ยั่งยืน พันธกิจ 1. จัดการศึกษาเพื่อเสริม สร้างความมั่น คงของสถาบันหลักของชาติแ ละการปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะ ในศตวรรษที่ 21 4. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้าให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่าง ทั่วถึงและเท่าเทียม 5. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ 6. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุ ณภาพชีวิต ที่ เป็น มิ ตรกั บสิ่ง แวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๓ ~ 7. ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษาโดยใช้ เทคโนโลยี ดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 นโยบาย นโยบายที่ 1 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของมนุษย์และของชาติ นโยบายที่ 2 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นโยบายที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ นโยบายที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความ เหลื่อมล้าทางการศึกษา นโยบายที่ 5 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นโยบายที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา จากนโยบายของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กาหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนสู่ การปฏิบัติ เป็น 6 กลยุทธ์ที่สอดคล้องกัน ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของมนุษย์และของชาติ กลยุทธ์ที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์ที่ 4 สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน และลดความเหลื่อมล้า ทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่ 6 ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา แผนปฏิบัติราชการ 1. จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของมนุษย์และของชาติ 1.1 เป้าหมาย ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม มี ค่านิยมที่พึงประสงค์ มี จิตสาธารณะ รับ ผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม 1.2 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ 1 2

ค่าเป้าหมาย 2563 2564 2565 ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนในการ 80 80 85 สร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ในทุกรูปแบบ ร้อยละของผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน 80 80 85 ภาคใต้ที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อการมีงานทาหรือ นาไปประกอบอาชีพในท้องถิ่น ตัวชี้วัด

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๔ ~ 1.3 แนวทางการพัฒนา 1.3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความจงรักภักดี ต่อสถาบันหลัก ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามรูปแบบ ใหม่ 1.3.3 ยกระดับคุณภาพการศึก ษาและสร้ างเสริ มโอกาสในการเข้ าถึง บริก ารการศึ ก ษา การพัฒนาทักษะการสร้างอาชีพ และการใช้ชีวิต ในสังคมพหุวัฒนธรรมในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวั ด ชายแดนภาคใต้ 1.3.4 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตให้กับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน ความเสี่ย งใน การดาเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต 1.4 แผนงาน/โครงการสาคัญ 1.4.1 โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.4.2 โครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.4.3 โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.4.4 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 1.4.5 โครงการสร้างผู้นาด้วยกระบวนการลูกเสือและสภานักเรียน 1.4.6 โครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2. การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2.1 เป้าหมาย ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภาษา และ อื่น ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ สร้างความสามารถในการแข่งขัน 2.2 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ 1 2 3

ค่าเป้าหมาย 2563 2564 2565 ร้อยละของหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นที่ตอบสนองต่อ 10 10 10 การพัฒนากาลังคนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้น ร้ อ ยละของผลงานวิ จั ย นวั ต กรรม เทคโนโลยี อ งค์ ความรู้ 75 75 80 และสิ่ง ประดิษฐ์ที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ หรือต่อยอดเชิง พาณิชย์ ร้อยละของสถานศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้รับการ 75 80 85 พัฒนาการจัดการศึกษาตามบริบท ตัวชี้วัด

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๕ ~ 2.3 แนวทางการพัฒนา 2.3.1 ผลิตและพัฒนากาลังคนให้ มีทักษะ สมรรถนะตรงตมความต้องการของตลาดงาน และการพัฒนาประเทศ 2.3.2 ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น และพั ฒ นาการวิจั ย นวั ต กรรม เทคโนโลยี องค์ ค วามรู้ และ สิ่งประดิษฐ์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ 2.4 แผนงาน/โครงการสาคัญ 2.4.1 โครงการพัฒนากาลังคน ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับ สนุน การลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (การจัดตั้งสถาบันโคเซ็น) 2.4.2 โครงการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก ด้านภาษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม 2.4.3 โครงการส่งเสริมทักษะวิชาการวิชาชีพ เชิงนวัตกรรม 3. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 3.1 เป้าหมาย 3.1.1 ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะ มี ส มรรถนะตามหลั ก สู ต ร และคุ ณ ลั ก ษณะของผู้ เ รี ย นในศตวรรษที่ 21 มี สุ ข ภาวะที่ เ หมาะสมตามวั ย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมือง พลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นาไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3.1.2 ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนา ศักยภาพตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งมีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ 3.2 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ 1 2 3 4 5 6

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย 2563 2564 2565 80 80 80

ร้อยละของผู้เรี ยนปฐมวั ยมี พัฒนาการด้ านร่ างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษา 3 3 3 ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ร้อยละ 50 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น จานวนผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความถนัด 27,055 29,125 30,306 และความสามารถ (วิ ท ยาศาสตร์ คณิ ต ศาสตร์ ทั ศ นศิ ล ป์ นาฏศิลป์ ดนตรี กีฬา) ร้ อ ยละของนั ก เรี ย นที่ ผ่ า นการประเมิ น คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง 80 81 82 ประสงค์ตามหลักสูตรระดับดีขึ้นไป ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการส่งเสริมและ 85 90 95 พัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพครู จ านวนสถานศึ ก ษาที่ ได้ รับ การส่ ง เสริ ม สนับ สนุ นการพัฒนา 200 200 250 ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๖ ~ 3.2 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย (ต่อ) ที่ 7

8 9 10 11

12

ค่าเป้าหมาย 2563 2564 2565 ร้อยละของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาและ 100 100 100 มัธยมศึกษาได้รับการพัฒนาและยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ ร ะดั บ การพั ฒนาทางด้ า นภาษา (CEFR) ตามเกณฑ์ ที่ กาหนด ร้อยละของสถานศึกษาที่สอนในระดับ ม.ต้น ที่ได้รับการเตรียม 100 100 100 ความพร้อม ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในการ ประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA ร้ อ ยละของสถานศึ กษาที่ จั ดการเรี ยนการสอนที่ ส ร้า งสมดุล 8 ทุกด้านและมีการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพหุปัญญารายบุคคล ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการคัดกรองเพื่อพัฒนาพหุปัญญา 8 รายบุคคลเพิ่มขึ้น ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ สมรรถนะ หรือ 80 80 80 ทั ก ษะ อ าชี พ ใน ด้ า น ต่ า ง ๆ เพื่ อ ก าร ปร ะกอ บอา ชี พ การดารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสอดคล้อง ตามสภาพ ความต้องการและบริบทของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนความท้าทาย ที่เป็นพลวัตรของโลกในศตวรรษที่ 21 ร้ อ ยละของสถานศึ ก ษาที่ มี ผ ลการประเมิ น ตนเองในแต่ ล ะ 80 มาตรฐาน ตามระบบการประกันคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป ตัวชี้วัด

3.3 แนวทางการพัฒนา 3.3.1 พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา (แตกเป็นปฐมวัย ONET PISA พัฒนาวิทยาศาสตร์) 3.3.2 พัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีความรู้ และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 และพัฒนา ศักยภาพตามพหุปัญญา 3.3.3 พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา (การบริหารและจัดการศึกษาด้ วย ระบบคุณภาพ การนิเทศติดตาม) 3.3.4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เสริมสร้าง ความเข้มแข็งในการวิเคราะห์ ข้อมูลสารสนเทศด้านการจบการศึกษาสาหรับสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ สถานศึกษา 3.3.5 พัฒนาระบบการดาเนินงานทะเบียน - วัดผลการจัดทาจัดเก็บเอกสารหลักฐานการจบ การศึกษา การออกเอกสารสาคัญทางการศึกษา และการให้บริการข้อมูลทางการศึกษาของสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและสถานศึกษา

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๗ ~

ตลอดชีวิต

3.4 แผนงาน/โครงการสาคัญ 3.4.1 โครงการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เอื้อ ต่อการเรียนรู้

3.4.2 โครงการพัฒนาระบบการวัด และประเมินผลส่งเสริมเครือข่ ายความร่วมมือในการ ประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.4.3 โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษา 3.4.4 โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมิน PISA 2021 3.4.5 โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3.4.6 โครงการพัฒนาคลังเครื่องมือมาตรฐานเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3.4.7 โครงการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ 3.4.8 โครงการพัฒนาการเรียนการสอนปฐมวัย 3.4.9 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับปฐมวัย 3.4.10 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับประถมศึกษา 3.4.11 โครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมมอนเตสซอรี เพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน (The Education for Sustainable Development) 3.4.12 โครงการพัฒนามาตรฐานระบบการประเมินมาตรฐานและการประกันคุ ณ ภาพ การศึกษา 3.4.13 โครงการพั ฒ นาคุ ณ ภาพการเรี ย นการสอนภาษาต่ า งประเทศ และเสริ ม สร้ า ง ศักยภาพครู 3.4.14 โครงการเสริมสร้างระเบียบวินัย คุณธรรม และจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ 3.4.15 โครงการจัดการศึกษาให้เด็ก ผู้ที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาศักยภาพ 3.4.16 โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 3.4.17 โครงการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3.4.18 โครงการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ ดนตรีและกีฬา 3.4.19 โครงการส่งเสริม การเรียนรู้ดิจิตอลเทคโนโลยี และระบบอัจฉริยะในสถานศึกษา เพื่อความเป็นเลิศ 3.4.20 โครงการครูคลังสมอง 3.4.21 โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นา 3.4.22 โครงการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทา 3.4.23 โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านศักยภาพการเรียนรู้เชิงกระบวนการ สู่ความ ทัดเทียมนานาชาติ 3.4.24 โครงการครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน 3.4.25 โครงการคืนครูให้นักเรียน 3.4.26 โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ภาษาไทย 3.4.27 โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคานวณและการออกแบบเทคโนโลยี 3.4.28 โครงการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายทางสังคม แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๘ ~ 3.4.29 โครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลายเพื่อเอื้อต่อการศึกษา และการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 3.4.30 โครงการส่งเสริมภาษาต่างประเทศที่สอง ความเป็นพลเมืองในการพัฒนาสู่โรงเรียน ในประชาคมอาเซียน 3.4.31 โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 3.4.32 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามพหุปัญญา 3.4.33 โครงการส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้านสุขภาพพลานามัย 3.4.34 โครงการพัฒนาเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ 3.4.35 โครงการพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาสู่สมรรถนะแข่งขัน ในศตวรรษที่ 21 มาตรฐานสากล 3.4.36 โครงการยกระดับคุณภาพการจัดการมัธยมศึกษา 3.4.37 โครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) 3.4.38 โครงการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการศึกษามัธยมศึกษาสู่สากล 3.4.39 โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมของชาติ 3.4.40 โครงการวิจัยนวัตกรรมการจัดการศึกษา 3.4.41 โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3.4.42 โครงการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และหุ่นยนต์ สพฐ. 3.4.43 โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ 3.4.44 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้ านการจบการศึกษาและการเที ย บวุ ฒิ การศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.4.45 โครงการการพั ฒ นาศั ก ยภาพของข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาสู่ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรด้วยการพัฒนาสมรรถนะ 3.4.46 โครงการการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน 3.4.47 โครงการฝึกอบรมหลักสูตรที่สานักงาน ก.พ. กาหนดและหน่วยงานภายนอกเป็นผู้จัด 3.4.48 โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบในการยกย่องเชิดชูเกียรติ 3.4.49 โครงการศูนย์โรงเรียนโอลิมปิกวิชาการ 3.4.50 โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขัน ใน ประชาคมอาเซียน 3.4.51 โครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 3.4.52 โครงการจ้างครูต่างชาติโครงการ English for All 3.4.53 โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างมีคุณภาพ 3.4.54 โครงการการพัฒนาบุคลากรโรงเรียนกลุ่มพิเศษ 3.4.55 โครงการ พัฒนาครูแกนนาภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) 3.4.56 โครงการพัฒนาการจัดการเรียนสอนภาษาอังกฤษ 3.4.57 โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาจีน (โรงเรียนคุณภาพประจาตาบล) 3.4.58 โครงการส่ ง เสริ ม โรงเรี ย นเป็ น ชุ ม ชนแห่ ง การเรี ย นรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาพลเมืองรุ่นใหม่ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๒๙ ~ 3.4.59 โครงการเสริ ม สร้ า งระบบและกลไกการบริ ห ารจั ด การคุ ณ ภาพและมาตรฐาน การศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน 4. การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้าทาง การศึกษา 4.1 เป้าหมาย ผู้เรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ ห่างไกลทุรกันดาร ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ 4.2 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่

ตัวชี้วัด

1

อัตราการเข้าเรียนของผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษาต่อ ประชากรกลุ่มอายุ - ระดับปฐมวัย - ระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สามัญ - อาชีวศึกษา) จ านวนผู้ เ รี ย นที่ เ ป็ น ผู้ พิ ก าร ผู้ ด้ อ ยโอกาสเข้ า ถึ ง บริ ก าร การศึกษาและการพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษา ที่เหมาะสมตามความจาเป็น ร้ อ ยละของสถานศึ ก ษาในพื้ น ที่ ลั ก ษณะพิ เ ศษได้ รั บ การ พัฒนาการจัดการศึกษาตามบริบท ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสาหรั บ นักเรียนยากจน

2 3 4

ค่าเป้าหมาย 2563 2564 2565 100 100 100 78

100 100 100 78

100 100 100 78

3,630,000

3,630,000

3,630,000

75

80

85

20

20

20

4.3 แนวทางการพัฒนา 4.3.1 เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค 4.3.2 พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสาหรับคนทุกช่วงวัย 4.3.3 พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 4.3.4 พัฒนาเทคโนโลยีดิ จ ทั ล เพื่อ การจัด เก็ บ เอกสาร และการแปลงข้อมู ล สารสนเทศ ผู้สาเร็จการศึกษา ปพ. 3 4.4 แผนงาน/โครงการสาคัญ 4.4.1 โครงการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 4.4.2 โครงการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้าทางการศึกษาในระดับพื้นที่ 4.4.3 โครงการสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษา 4.4.4 โครงการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาสาหรับ เด็กที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๐ ~ 4.4.5 โครงการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 4.4.6 โครงการโรงเรียนคุณภาพประจาตาบล 4.4.7 โครงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก 4.4.8 โครงการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้างประกอบ 4.4.9 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.4.10 โครงการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.4.11 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา 5. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.1 เป้าหมาย สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้ามายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และสร้ างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 5.2 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ 1

ค่าเป้าหมาย 2563 2564 2565 ร้ อ ยละของนั ก เรี ย นได้ รั บ การส่ ง เสริ ม ให้ มี ค วามรู้ ค วามเข้ า 75 80 85 ใจความตระหนั ก ในการอนุ รัก ษ์ ทรั พ ยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด

5.3 แนวทางการพัฒนา สร้างจิตสานึกในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5.4 แผนงาน/โครงการสาคัญ 5.4.1 โครงการค่ายเยาวชนรักษ์พงไพร 5.4.2 โครงการการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ด้วยการดาเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.4.3 โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา “สืบสานศาสตร์พระราชาสู่ก ารพัฒนาที่ ยั่งยืน ” ตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 5.4.4 โครงการรั ก ษ์ ป่ า น้ า ตามโครงการพระราชด าริ สมเด็ จ พระกนิ ษ ฐาธิ ร าชเจ้ า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 5.4.5 โครงการโรงเรียนสีเขียว

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๑ ~ 6. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา 6.1 เป้าหมาย สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานเขตพื้นที่ก ารศึกษาสถานศึ ก ษา มีสมดุลในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ และการรายงานผลอย่ างเป็นระบบใช้งานวิจัย เทคโนโลยี และ นวัตกรรมในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา 6.2 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ 1 2 3 4 5

ค่าเป้าหมาย 2563 2564 2565 จานวนกระบวนงานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลเพิ่มขึ้น 2 2 2 โครงการของสพฐ.ที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติเพิ่มขึ้น 15 20 25 ร้ อ ยละของส านัก งานเขตพื้น ที่ การศึ ก ษามีค่ า คะแนนเฉลี่ย 80 90 95 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน (ITA) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ร้ อ ยละของนั ก เรี ย นสั ง กั ด สพฐ. มี พ ฤติ ก รรมที่ ยึ ด มั่ น ความ 50 50 50 ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละของสถานศึกษานาร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีความ 60 80 100 อิสระและความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึ ก ษา เพิ่มขึ้น ตัวชี้วัด

6.3 แนวทางการพัฒนา 6.3.1 สนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลเพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัด การศึกษาพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาและองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ 6.3.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา 6.3.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียนนิติบุคคลมีก ารบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอานาจ 6.3.4 พัฒนาสถานศึกษานาร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยใช้พื้นที่และสถานศึกษาเป็น ฐาน เพื่อให้สามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีอิสระและคล่องตัว เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการ จัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6.4 แผนงาน/โครงการสาคัญ 6.4.1 โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6.4.2 โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา 6.4.3 โครงการติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม 6.4.4 โครงการติดตามและประเมินผลการดาเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติ การของ สพฐ. และหน่วยงานในสังกัด โดยใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) 6.4.5 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการรายงานผลการติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระบบ (e-MES) แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๒ ~ 6.4.6 โครงการส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอานาจในการบริหารและการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานให้โรงเรียนนิติบุคคล 6.4.7 โครงการวิจัย เพื่อพัฒนาประสิทธิผลการบริหารและการจัดการศึกษาของสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษา 6.4.8 โครงการติดตามนักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. (มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร) 6.4.9 โครงการติดตาม ประเมินผลและพัฒนาคุณภาพกลุ่มโรงเรียนที่มีลักษณะพิเศษ 6.4.10 โครงการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศผู้สาเร็จการศึกษา ปพ.3

5. ยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) วิสัยทัศน์ (Vision) “ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดารงชีวิต อย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกในศตวรรษที่ 21” พันธกิจ (Mission) 1. เสริมสร้างความมั่นคงแก่สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในสังคมพหุวัฒนธรรมบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับสู่มาตรฐานสากลและพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 3. พั ฒ นาระบบการบริ ห ารจั ด การศึ ก ษาแบบบู ร ณาการในพื้ น ที่ ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพตามหลั ก ธรรมาภิบาล เป้าประสงค์หลัก มั่นคง 1. ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีจิตสานึกใน ความเป็นพลเมือง มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในสังคมพหุวัฒนธรรม มั่งคั่ง 2. ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทักษะการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะการ เรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทางาน รวมทั้งทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยี สามารถพึ่งพาตนเองได้ 3. กาลังคนมีคุณภาพมีทักษะที่สาคัญและมีสมรรถนะตรงความต้องการของตลาดงาน เป็นฐานรองรับ การขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ยั่งยืน 4. หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษามีระบบบริห ารจั ดการที่มีประสิทธิ ภาพ ทันสมัย โปร่งใส มีการบูรณาการการทางานทุกระดับในพื้นที่และมีส่วนร่วมจากประชาชน 5. ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม 6. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๓ ~ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแนวทางปฏิบัติของกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 1. ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความภาคภูมิใจและความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักและ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม 3. ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก สามารถดารงตนได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติของกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความภาคภูมิใจ และความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 1) พัฒนาหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความภาคภูมิใจ ความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 2) ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ส ถานศึ ก ษาจั ด กิ จ กรรมที่ เ สริ ม สร้ า งความภาคภู มิ ใ จและความ จงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 3) ผลิตสือ่ สร้างสรรค์ในทุกช่องทางการสื่อสารที่เสริมสร้างความมั่นคงแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 4) ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผ่าน กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมสภานักเรียนและการจัดกิจกรรมเสริมในรูปแบบต่าง ๆ กลยุทธ์ที่ 2 เสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม 1) ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม 2) ส่งเสริมให้สถานศึกษานากระบวนการสันติศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุขผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จัดตั้งพัฒนาศูนย์การเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้พหุวัฒนธรรม จังหวัด ชายแดนภาคใต้ในสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 3 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่เน้นความมีวินัยในตนเอง ความเป็นพลเมืองไทย พลโลก และการดารงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 1) พั ฒ นาผู้ น า ผู้ บ ริ ห ารการศึ ก ษา และผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชนผ่ าน หลักสูตร และกิจกรรมการพัฒนาที่หลากหลายเข้มข้น ให้มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของแต่ละ พื้นที่อย่างต่อเนื่องยั่งยืน 2) ส่งเสริมการจัดทาและพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ 3) ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการ คุณธรรม จริยธรรม ความเป็น พลเมืองไทยและพลโลกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใน อนาคต 4) ปลูกฝังความมีวินัยในตนเองผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น ลูกเสือ -เนตรนารี ยุวกาชาด กิจกรรมกีฬาค่ายเยาวชนกลุ่มเยาวชนจิตอาสาอย่างหลากหลาย ภายใต้ความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และผลิตสื่อสร้างสรรค์ในการส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๔ ~ 5) ส่งเสริมการน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยการ พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงที่ยั่งยืน พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา และชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 1. ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถตามช่วงวัย และมีศักยภาพ รองรับการพัฒนาพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. ประชาชนในจั ง หวัด ชายแดนภาคใต้ มี ก ารเรี ยนรู้ต ลอดชี วิต พร้อ มรั บ บริบ ทการเปลี่ ย นแปลง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติของกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมีทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 1) ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยการพัฒนา ศักยภาพของครูและผู้สอนการพัฒนาคุณภาพสภาพแวดล้อมและห้องเรียนปฐมวัย การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน และการพัฒนาการสร้างองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองและการจัดหาผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ โดยการบูรณาการร่วมกันของทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งภาครัฐ ส่วนท้องถิ่นและเอกชน 2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและ บริบทของพื้นที่ 3) จั ด ท าและพั ฒ นาหลั ก สู ต รด้ า นอาชี พ เชื่ อ มโยงกั น ตั้ ง แต่ ร ะดั บ ประถม มั ธ ยมศึ ก ษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษาการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย ตามบริบทของพื้นที่ 4) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่จาเป็นสาหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ คิดวิเคราะห์ การสร้างและพัฒนานวัตกรรม อาทิ การเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา การสอนแบบโครงงาน 5) ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเน้นการพัฒนาศู นย์ การเรียนรู้ระดับตาบลให้มีความพร้อมและได้มาตรฐาน 6) พัฒนาทักษะการใช้ภาษาแม่ และภาษาที่ 2 เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู กลาง ภาษาจีน ภาษาอาหรับ 7) การใช้ ICT เพื่อการสื่อสาร การประกอบอาชีพ และการจัดตั้งศูนย์ภาษาและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยให้ครอบคลุมพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 2 ผลิตและพัฒนาครู ให้มีศักยภาพ และขีดความสามารถในการจัดการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 1) ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา กาหนดคุณลักษณะและผลิตครูให้สอดคล้องกับบริบทของ พื้นที่ 2) จัดตั้งศูนย์พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้สอนสาหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย เน้นอุดมการณ์ของการเป็นครู 3) ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาครู ผู้ ส อน และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา ในรู ป แบบที่ ห ลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง เน้นการสร้างเครือข่ายการพัฒนาในรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ท าง วิชาชีพ (PLC) และสนับสนุ นงบประมาณในการพัฒนาครู ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและ เอกชน 4) จัดให้มีการนาผลการพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงาน พัฒนาประเมินผลการปฏิบัติงานอย่าง เป็นระบบครบวงจร แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๕ ~ กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนา สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ แหล่งเรียนรู้ให้มีมาตรฐาน เปิดโอกาสให้ ประชากรทุกช่วงวัยได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 1) จัดทา จัดหา พัฒนา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่สอดคล้องกับความ ต้องการจาเป็นและบริบทของพื้นที่โดยจัดตั้ง “ศูนย์ผลิตพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา” ที่เหมาะกับสภาพ สังคมโดยความร่วมมือของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์กรเอกชน เพื่อสาธารณประโยชน์ (NGO) 2) สร้ า งและพั ฒ นาแหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ ทั น สมั ย ได้ แ ก่ อุ ท ยานการเรี ย นรู้ แหล่ ง เรี ย นรู้ ท าง ประวัติศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ห้องสมุดชุมชน 3) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีก ารรวบรวม อนุรั กษ์ และใช้ ปราชญ์ชาวบ้ านและภู มิ ปั ญ ญา ท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ 4) ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและเครือข่ายสังคมรูปแบบต่าง ๆ เพื่อ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลยุ ท ธ์ ที่ 4 พั ฒ นาศั ก ยภาพกลุ่ ม ผู้ สู ง วั ย ให้ ส ามารถประกอบอาชี พ ที่ เ หมาะสมกั บ วั ย และ การดารงชีวิตอย่างมีความสุข 1) ส่งเสริมการรวมกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกันของผู้สูงวัย โดยการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพผู้สูงวัยใน ชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่ 2) ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของผู้สูงวัยในชุ มชน ส่งเสริม ให้ผู้สูงวัยที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ครูผู้ทรงคุณค่าที่มีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการ สอน ในสถานศึกษาตามความสมัครใจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนากาลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 1. ประชากรวัยแรงงานมีทักษะและสมรรถนะทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะด้านอาชีพ สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดงาน และได้รับการส่งเสริมสนับสนุนสู่ความเป็นเลิศ 2. ประชากรวัยทางานมีความเชี่ยวชาญ และมีความเป็นเลิศเฉพาะด้าน กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติของกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 1 ผลิตและพัฒนากาลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณให้สัมพันธ์กับความต้องการของ ตลาดแรงงานในพื้นที่ระดับประเทศและระดับสากล 1) ศึกษาและจัดทาข้อมูลความต้องการการผลิตและพัฒนากาลังคน ทั้งด้านปริมาณและ คุ ณ ภาพ ตามนโยบายเมื องต้น แบบสามเหลี่ ย มมั่ นคง มั่ ง คั่ ง และยั่ ง ยืน และตามกรอบความร่ว มมือ กลุ่ม ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและสากล 2) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ฝีมือ แรงงานผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล 3) พั ฒ นาครู ผู้ ส อนและบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาให้ ส ามารถจั ด การเรี ย นรู้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักสูตรด้านอาชีพ 4) พัฒนาระบบการแนะแนวให้มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาครูที่ปรึกษาให้เป็น ครูแนะแนว และเพิ่มประสิทธิภาพการแนะแนวอาชีพ เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพให้สูงขึ้น 5) เพิ่มปริมาณผู้เรียนหลักสูตรทวิศึกษา/ทวิภาคี ภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๖ ~

ประเทศ

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากาลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 1) พั ฒ นาหลั ก สู ต รสมรรถนะในสาขาที่ ต รงกั บ ความต้ อ งการของตลาดและการพั ฒ นา

2) ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะ และมีความพร้อมสู่ ความ ต้องการของตลาดงาน เช่น อุตสาหกรรมฮาลาล อาหารทะเลแปรรูป 3) พัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ แบบครบวงจร ทั้งกระบวนการ ผลิต แปรรูปการจัดจาหน่าย การตลาดและการดาเนินการในเชิงธุรกิจ 4) ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยการใช้งานวิจัยท้องถิ่นและ การสร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ 5) สานฝันกีฬาสู่ความเป็นเลิศและอาชีพ พร้อมร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ผลักดันให้มี การ สร้างความพร้อมรองรับการแข่งขันกีฬาระดับภาค ระดับชาติและระดับนานาชาติ 6) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดห้องเรียนพิเศษ (ห้องเรียนกีฬา ห้องเรียนศิลปะ ห้องเรียนดนตรี ห้องเรียนอาชีพ) แผนการเรียนเฉพาะด้าน (แผนการเรียนวิทย์ –กีฬา แผนการเรียนศิลป์ภาษา–กีฬา แผนการ เรียนศิลป์ –อาชีพ) 7) พัฒนาสถานศึกษาที่เน้นการเรียนการสอน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างน้อย จังหวัดละ 1 แห่ง 8) พัฒนาระบบการจัดกิจกรรมการแข่งขันวิ ชาการให้มีประสิทธิภาพเน้นการดาเนินงานที่ เป็นระบบครบวงจรและการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงของทุกภาค และส่งเสริมการจัดประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในประเทศและระหว่างประเทศ 9) พัฒนาสถานศึกษาที่มีความโดดเด่นในด้ านต่าง ๆ ให้มีความพร้อม เพื่อยกระดับเป็ น โรงเรียน ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษด้านต่าง ๆ และพัฒนาสู่การศึกษาระดับนานาชาติ และการจัดการศึกษาใน รูปแบบ โรงเรียนพักนอนตามความเหมาะสมตามบริบทพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 3 การเพิ่มโอกาสการเรียน และการฝึกอบรมวิชาชีพให้กับกลุ่มผู้อยู่นอกระบบ 1) พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐานเพื่อยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของ ชุมชน 2) ฝึกอาชีพระยะสั้นตามความต้องการของตลาดงาน 3) จัดการเทียบโอนประสบการณ์ในการทางานเพื่อให้คุณวุฒิทางการศึกษา 4) ส่งเสริม สนับสนุนอบรมวิชาชีพเพื่อการพัฒนาต่อยอดอาชีพเดิมหรือ สร้างอาชี พ ใหม่ สาหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๗ ~ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษา เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 1. ประชาชนกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับการช่วยเหลือให้มีความพร้อมในการเข้าถึงบริการ การศึกษา 2. ประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องตลอดชีวิต กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติของกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ที่ 4 กลยุทธ์ที่ 1 ลดความเหลื่อมล้าทางการศึกษา 1) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสทุกกลุ่มมีความพร้อมในการศึกษา อาทิ การสนับสนุน ทุนการศึกษาสาหรับผู้ด้อยโอกาส คนพิการ หรือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ทุนการศึกษา สาหรับผู้เรียนในการศึกษาต่อ 2) ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาส คนพิการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเสมอภาค 3) การจัดการศึกษาทางไกลโดยใช้ เทคโนโลยี ทางการศึกษาและการสื่อ สาร อาทิ DLIT, DLTV, ETV อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ขยายเครือข่ายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทุกพื้นพื้นที่ เพียงพอกับผู้เรีย น และจัดให้มีศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการให้การบริการชุมชน กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง 1) พัฒนาระบบข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐานเชื่อมโยงและเข้าถึงได้ระหว่างหน่วยงาน การศึ ก ษาและหน่วยภายนอกที่ เ กี่ย วข้ องโดยการจั ดท าแผนที่ ก ารศึ กษา (Education Mapping) และนา SMART Card มาใช้ในการให้บริการการศึกษา 2) รณรงค์ ใ ห้ ป ระชากรวั ย เรี ย นได้ เ ข้ า ถึ ง บริ ก ารระดั บ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ผ่ า นการ ประชาสัมพันธ์ เชิงรุกและความร่วมมือของเครือข่ายชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ 3) เร่งพัฒนาสถานศึกษาให้มีมาตรฐานการศึกษาที่ทัดเทียมและใกล้เคียงกัน 4) พัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียนรู้ระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และประสบการณ์จากการทางาน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายยุทธศาสตร์ 1. ประชาชนมีองค์ความรู้จิตสานึกในการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. สถานศึกษาชุมชนมีความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติของกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างจิตสานึกรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1) จัดทาหลักสูตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ 2) ปลูกฝัง และส่งเสริมการสร้างสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) พัฒนาครู ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม 4) กาหนดมาตรฐานสถานศึ กษาน่ าอยู่น่า เรียนรู้ และพัฒนาสถานศึกษาเข้า สู่ม าตรฐาน พร้อมทั้งยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๘ ~ 5) สร้ า งเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ในการพั ฒ นา อนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู ท รั พ ยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษาและชุมชน กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาองค์ความรู้การคิ ด ค้นนวั ตกรรมเพื่อเสริม สร้า งคุณภาพชี วิต ที่เป็นมิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อม 1) พัฒนาฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2) สร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ส่งเสริมให้สถานศึกษา ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา เป้าหมายยุทธศาสตร์ 1. ผู้เรียน ครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา มีความปลอดภัยในชีวิต และ ทรัพย์สิน มีขวัญกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ 2. หน่วยงาน/สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการและมีการทางานเชิงการบูรณาการกับทุกหน่วยงาน ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ 3. ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษาในรูปแบบการสานพลังประชารัฐ กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติของกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ที่ 6 กลยุทธ์ที่ 1 รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เรียน ครู คณาจารย์ บุคลากรทางการ ศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา 1) สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังเหตุการณ์ความไม่สงบ 2) ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ข่าวสารและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ จริง 3) ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันกาหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ตนเอง ในการดูแลชีวิตและทรัพย์สินของผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา 4) นาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเฝ้าระวังเหตุการณ์ความไม่สงบในสถานศึกษาและ หน่วยงานทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 การเสริมสร้างขวัญและกาลังใจแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) สร้างขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดับ โดยการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นกรณีพิเศษสาหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ส่งเสริมให้มีค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการครูและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ และส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีโอกาสบรรจุเข้ารับราชการเป็น กรณีพิเศษ 3) ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย 4) ผลั ก ดั น ให้ มี ก ารก าหนดเกณฑ์ ก ารประเมิ น วิ ท ยฐานะ หรื อ เกณฑ์ ก ารประเมิ น ความก้าวหน้า ในวิชาชีพ ของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น กรณีพิเศษ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๓๙ ~ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 1) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาแต่ ละ ระดับ ที่ครอบคลุมทั้งมาตรฐาน รูปแบบการประเมินรูปแบบการพัฒนาตามผลการประเมิน และการรับรอง ผลการประเมิน 2) สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ของสถานศึ ก ษาอย่ า งเป็ น ระบบทุ ก ระดั บ ทั้ ง ภาครั ฐ เอกชน ให้ สอดคล้องกับเจตนารมณ์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) พั ฒ นาระบบการบริ ห ารจั ด การของหน่ ว ยงานทางการศึ ก ษาสู่ ค วามเป็ น องค์ ก รที่ มี ขีดสมรรถนะสูง โดยใช้รูปแบบการบริหารสมัยใหม่และนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่ม ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการศึกษาทั้งระบบทุกระดับสู่ SMART Office 4) ปรับปรุงประสิทธิภาพการติดตาม ประเมินผลการดาเนินงานของหน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา ให้เป็นระบบครบวงจร 5) สร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ ด้วยการสื่อสาร องค์กร การประชาสัมพันธ์ และการตลาดเชิงรุกแบบมืออาชีพ กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการทางานเชิงบูรณาการการศึกษากับหน่วยงานทุกระดับและการมีส่วนร่วม การจัดการศึกษา 1) ส่งเสริมให้มีการบูรณาการการจัดการศึกษาระหว่างหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานอื่น ในพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 2) สร้างความเข้มแข็งขององค์คณะบุคคลทางการศึกษาและภาคีเครือข่ายในการบูรณาการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ 3) เสริมสร้างความเข้ม แข็ง ของศูน ย์ประสานงานและบริ หารการศึก ษาจังหวั ด ชายแดน ภาคใต้ (ศปบ.จชต.) ให้เป็นองค์กรในการบูรณาการการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภทในพื้นที่ได้อย่ างมี ประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วนในการ “สานพลังประชารัฐ” 5) แสวงหาความร่วมมือ กับ ต่ างประเทศเพื่อ การแลกเปลี่ ยนเรี ยนรู้ ในการจั ด การศึ กษา ระหว่างกัน และให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อการเชื่อมความสัมพันธ์และการพัฒนาร่วมกัน ทั้งนี้เน้นการมี พันธสัญญาที่เป็นรูปธรรมต่อเนื่องและเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

6. แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จงั หวัดสงขลา มูลนิธิ “เรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ” และจังหวัดสงขลาได้จัดทา “แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ” เพื่อรองรับวิสัยทัศน์สงขลา 2555-2570 ตามโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของจังหวัดสงขลา 5 ช่วงวัย โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัย 5 แห่งและองค์กร 15 ภาคีในจังหวัดสงขลาซึ่งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ ดาเนินการวิจัยในแต่ละช่วงวัย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ช่วงวัยก่อนเกิดถึง 6 ปี มหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา ช่วงวัย 7-14 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ ช่วงวัย 15-21 ปี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ช่วงวัย 15-59 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผลจากการวิจัยในแต่ละช่วงวัยสามารถ นามาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์แต่ละช่วงวัยให้เหมาะสม เช่น

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๐ ~ - ช่ ว งวั ย ก่ อ นเกิ ด ถึ ง 6 ปี พบว่ า คุ ณ ลั ก ษณะปั จ จุ บั น ของเด็ ก ช่ ว งวั ย 0-6 ปี มี ทั้ ง น้ าหนั ก น้ อ ย น้าหนักเกิน เตี้ย อ้วนและผอมอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าระดับประเทศ ขณะที่คุณลักษณะในอนาคตที่ต้องการ คือ เด็กเป็นคนดี รู้รักสามัคคี พึ่งพาตนเองได้ทุกเรื่อง มีทักษะชีวิต รู้จักคิด รู้จักทา ฉลาด เรียนรู้โลกกว้าง สามารถ แข่งขันกับคนอื่นได้ พูดภาษาอังกฤษ จีนและมลายูได้ มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยมีความสุขในการ ใช้ชีวิตและการอยู่ในสังคม - ช่ ว งวั ย 7-14 ปี พบว่ า พั ฒ นาการของเด็ ก ช่ ว งวัย นี้ มี ทั้ ง 4 ด้ า น คื อ ด้ า นร่ า งกาย ด้ า นอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาได้แก่ปัจจัยโรงเรียน ปัจจัยครอบครัว ปัจจัยสังคม และปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการในช่วงนี้คือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการเรียน ปัจจัยด้านผู้เกี่ยวข้อง และปัจจัยด้านครู โดยผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดให้เด็กสามารถเข้าถึงการศึกษา อย่างเพียงพอ มีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ควรมีนโยบายให้จัดทายุทธศาสตร์ในการพัฒนาเด็กด้าน สติ ปั ญ ญา และมี น โยบายให้ ทุ กคนตระหนัก ถึ งความส าคั ญ ของสถาบั นครอบครั ว สร้ า งครอบครัวอบอุ่น ลดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พัฒนาทักษะการเป็นพ่อแม่ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับเด็ก ส่งเสริมเรื่องสุขภาพ ทักษะชีวิต ทักษะเรื่องเพศศึกษา และให้โอกาสทางการศึกษา การรับบริการพื้นฐานทาง สังคมแก่เด็กต่างด้าว ฯลฯ - ช่วงวัย 15-21 ปี มีข้อเสนอแนะว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของจังหวัดสงขลา จะต้องพัฒนา หลั ก สู ต รการศึ ก ษาที่ มุ่ ง เน้ น ทั ก ษะทางความคิ ด ทั ก ษะทางวิ ช าชี พ ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาทั ก ษะทางภาษา และการมุ่ ง เน้ น ความเป็ น มื อ อาชี พ ด้ า นสุ ข ภาพควรจั ด ให้ มี ส ถานที่ อ อกก าลั ง กายและสนามกี ฬ าชุ ม ชน ด้ า นสั ง คมเสริ ม สร้ า งทั ก ษะทางด้ า นสั ง คมที่ จ ะต้ อ งยึ ด ถื อ การเคารพสิ ท ธิ ผู้ อื่ น และยึ ด ถื อ หลั ก ศาสนา ด้านการประกอบอาชีพจะต้องมุ่งเน้นความเป็นมืออาชีพและมุ่งเน้นทักษะทางวิ ชาชีพ และด้านทักษะจาเป็นที่ ต้องพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ (อย่างน้อย 3 ภาษา) ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะความเป็นวิชาชีพ เฉพาะด้าน และทักษะทางด้านสังคมเพื่อให้ตรงตามความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน

7. สานักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา สานักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ได้จัดทาแผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2562–2565) จังหวัด สงขลา โดยกาหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ ดังนี้ วิสัยทัศน์ (Vision) สังคมแห่งการเรียนรูคู่คุณธรรม นาคุณภาพ สู่ความสุขที่ยั่งยืน พันธกิจ (Mission) 1. ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษ์สิ่งแวดล้อม และพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเรียนรู้สู่อาชีพ ในภูมิภาคอาเซียน 3. ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาของประชาชนอย่างทั่วถึงและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. ยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาสู่สากล 5. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๑ ~ 6. พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของบริบทเชิงพื้นที่ สอด รับกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา 7. พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของบริบทเชิงพื้นที่ สอด รับกับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากาลังคน การวิจัย เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพคนให้มีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ 1. ประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น รักษ์สิ่งแวดล้อม และพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ผู้เรียนมีความรู้ คู่คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเรียนรู้ สู่อาชีพในภูมิภาค อาเซียน 3. ประชาชนมีโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาอย่างทั่วถึง และเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. หน่วยงานทางการศึกษายกระดับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติสู่ไทยแลนด์ 4.0 5. หน่ ว ยงานทางการศึ ก ษามี ระบบบริ หารจั ด การศึ กษาตามหลั ก ธรรมาภิ บาลภายใต้ ห ลั กการมี ส่วนร่วม และบูรณาการการทางานเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า 6. หน่ ว ยงานทางการศึ ก ษาจั ด การศึ ก ษาให้ ผู้ เ รี ย นมี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะด้ า นวิ ช าชี พ พร้ อ มเข้ า สู่ ตลาดแรงงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา 7. หน่วยงานทางการศึกษาพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 8. หน่วยงานทางการศึกษามีการบริหารและการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ในเขต พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวชี้วัดและกลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีค่านิยม “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” 2. ร้อยละของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถพัฒนา คุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ระดับความพึงพอใจของผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ในการรักษาความปลอดภัยและมั่นคง กลยุทธ์ 1. พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก ของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ภาคใต้ 3. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๒ ~ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากาลังคน การวิจัย เพือ่ สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวทาง STEMศึกษา 2. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาได้เหมาะสมกับบริบทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา 3. ร้อยละของผู้จบการศึกษาเข้าทางานในสถานประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา 4. ร้อยละของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขึ้นไปได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาชีพ 5. จานวนศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้านอาชีพ กลยุทธ์ 1. ผลิตและพัฒนากาลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความต้องการของตลาดงานและ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากาลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพคนให้มีคุณภาพ ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning 2. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้มาตรฐานการศึกษา 3. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ ตามมาตรฐานหลักสูตร 4. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 5. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดสอนภาษาในกลุ่มอาเซียนเป็นภาษาที่สาม 6. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผลการสอบ O-NET, V-NET, I-NET, N-NET, B-NET เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ ที่กาหนด 7. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมสนับสนุนให้คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ ความสามารถและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง เหมาะสมเต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย 2. ส่งเสริมและบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นพลเมือง 3. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษานาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้ 2. ร้อยละของผู้เรียนออกกลางคันที่ได้รับการดูแลและส่งต่อไปยังหน่วยงานทางการศึกษาอื่น 3. ร้อยละของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม 4. จานวนหน่วยงาน องค์กรที่สนับสนุนการศึกษาของผู้เรียน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๓ ~ กลยุทธ์ 1. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 2. พัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสาหรับคนทุกช่วงวัย 3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงกันได้ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีนวัตกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.ร้อยละของสถานศึกษาที่มีข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ 3. ร้อยละของสถานศึกษาที่นาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา 4. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 5. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะด้านอาชีพภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ การเป็นผู้ประกอบการ และส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ 1. ส่งเสริม สนับสนุน และจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างจิตสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและนาแนวคิดตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยด้านการสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและการพัฒนา การศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล 2. ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษามีระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการบริหาร จัดการ กลยุทธ์ 1. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 2. ส่งเสริม การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา 3. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคล ของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๔ ~

8. แผนพัฒนาการศึกษาสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 พ.ศ.2565 วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรคุณภาพการศึกษาวิถีใหม่ น้อมนาศาสตร์พระราชา พัฒนาการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 บน พื้นฐานความเป็นไทยอย่างปลอดภัยและยั่งยืน” พันธกิจ 1. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน การดารงชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีความสามารถเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย 3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานวิชาชีพและการศึกษาวิถี ใหม่บนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม 5. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนววิถีใหม่ อย่างมีประสิทธิภาบนพื้นฐานความเป็นไทย 6. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมตามหลักธรรมภิบาลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป้าประสงค์ 1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน การดารงชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ผู้เรียนผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ ประยุกต์ ภูมิปัญญา ผสมผสานเทคโนโลยี และ นวัตกรรมให้สอดรับกับบริบทการเปลี่ยนแปลงตามวิถีใหม่และมีความสามารถในการแข่งขัน 3. ผู้เรียนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีความสามารถเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณภาพและทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูแลบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาเป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพใน การจัดการเรียนรู้ตามหลักฐานสมรรถนะ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5. ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 6. ผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนววิถีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐาน ความเป็นไทย 7. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการที่เน้นการ มีส่วนร่วมตาม หลักธรรมภิบาล โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีคุณภาพ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๕ ~ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการศึกษาวิถีใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป้าหมายความสาเร็จ กลยุทธ์ และตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง เป้าหมายความสาเร็จ 1. สถานศึกษาเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. สถานศึกษาปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ กลยุทธ์ 1. พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีค่านิยม" เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” 2. ร้อยละของสถานศึกษาน้อมนาแนวพระราชดาริฯ สืบสานพระราชปณิธานและพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาหรือ"ศาสตร์พระราชา" มาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน 3. ร้อยละของสถานศึกษาปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี ความสมานฉันท์ สันติวิธี ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข 4. ร้ อ ยละของสถานศึ ก ษาเสริ ม สร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งเกี่ ย วกั บ สถาบั น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผ่านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 5. ร้อยละของสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งในนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมคุณลักษณะอันพึงปะสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ 6. ร้ อ ยละของสถานศึ ก ษาเสริม สร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ภั ยคุ ก คามในรูป แบบใหม่ เช่ น อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ สิ่งเสพติด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจาก ไซเบอร์ ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน เป้าหมายความสาเร็จ 1. ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพตามความถนัดสู่ความเป็นเลิศ 3. ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมสอดคล้องกับ Thailand 4.0 4. ผู้เรียนเป็นพลเมืองดี แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๖ ~

ทางาน

5. สถานศึกษาใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน กลยุทธ์ 1. สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่ม 3. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 4. ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย และพั ฒ นาเพื่ อ สร้ า งองค์ ค วามรู้ แ ละนวั ต กรรมไปใช้ ใ นการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ การบริหารจัดการศึกษา ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2. ร้อยละของผู้เรียนที่สามารถพัฒนาศักยภาพตามความถนัดสู่ความเป็นเลิศ 3. ร้อยละของสถานศึกษาที่ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมสอดคล้องกับ Thailand 4.0 4. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินการเป็นพลเมืองดีที่กาหนด 5. ร้อยละของสถานศึกษาใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เป้าหมายความสาเร็จ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถน้อมนาศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการศึกษา 2. ครูมีองค์ความรู้และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3. ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษามี คุ ณ ลั ก ษณะและสมรรถนะความเป็ น ผู้ น าในการบริ ห ารสถานศึ ก ษา สู่ศตวรรษที่ 21 4. บุคลากรทางการศึกษา มีองค์ความรู้สมรรถนะ และมีวัฒนธรรมการทางานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ 1. พั ฒ นาครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาในการน้อ มนาศาสตร์ พระราชามาใช้ จั ด การศึ ก ษาและ การประพฤติปฏิบัติตน 2. พัฒนาครูผู้สอนให้มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC, TEPE Online, พัฒนาครูครบวงจร (OBEC TRAINING) โดยผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง (Active Learning) และกระบวนการวิจัยพัฒนา 3. เสริมสร้างแรงจูงใจในการพัฒนางานให้เป็นครูต้นแบบของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา 4. ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 5. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีองค์ความรู้และสมรรถนะในการทางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง 6. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างบรรยากาศและจิตสานึกร่วมในการ

ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สามารถน้อมนาศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัด การศึกษา 2. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่น้อมนาศาสตร์พระราชามาใช้ในการปฏิบัติตน และปฏิบัติงานในหน้าที่ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๗ ~ 3. ร้อยละของครูที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวทาง STEM ศึกษา 4. ร้อยละของครูที่จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning 5. ร้อยละของครูที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและเทคนิคการสอนเพื่อการสื่อสาร 6. ร้อยละของครูที่มีการพัฒนาตนเองได้ตรงตามศักยภาพ 7. ครู เ กิ ด ความตระหนั ก และมี วิ ถี ชี วิ ต ในการปฏิ บั ติ ต นตามหลั ก คุ ณ ธรรม 5 ประการ คื อ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ อุดมการณ์ คุณธรรม 8. ร้อยละของครูที่มีระบบการวัดและประเมินในชั้นเรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตามแนวทางการ ทดสอบระดับชาติ 9. ร้อยละของครูที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในการจัดการเรียนรู้ 10. ร้ อ ยละของผู้ บ ริห ารสถานศึ ก ษาที่ มี คุ ณลั ก ษณะและสมรรถนะความเป็ นผู้ นาในการบริหาร สถานศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 11. ผู้บริหารสถานศึกษาเกิดความตระหนัก และมีวิถีชีวิตในการปฏิบัติงานตามหลักคุณธรรม 5 ประการ คือ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ อุดมการณ์ คุณธรรม 12. ร้อยละของบุคลากรทางการศึกษามีองค์ความรู้ สมรรถนะ และมีวัฒนธรรมการทางานที่มุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง 13. ระดับความพึงพอใจต่อวัฒนธรรมการทางานในองค์กร ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เป้าหมายความสาเร็จ 1. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ กลยุทธ์ 1. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 2. ลดความเหลื่อมล้าทางการศึกษา ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของประชากรวั ย เรียนได้รั บโอกาสในการเข้ ารั บบริก ารทางการศึกษาอย่ างทั่วถึ ง และ มีคุณภาพ 2. ร้อยละของสถานศึกษานาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้ 3. ร้อยละของผู้เรียนออกกลางคันที่ได้รับการดูแลและส่งต่อไปยังหน่วยงานทางการศึกษาอื่น 4. ร้อยละของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม 5. ร้อยละของสถานศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายความสาเร็จ 1. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีจิตสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนาแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2. สถานศึกษามีหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม บูรณาการคุณธรรมจริยธรรมและนาแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 3. สถานศึกษามีการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม ด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๘ ~ กลยุทธ์ 1. ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น การจั ด การเรี ย นการสอน เพื่ อ สร้ า งจิ ต ส านึ ก รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม และน า แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2. ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาหลั ก สู ต รกระบวนการเรี ย นรู้ แหล่ ง เรี ย นรู้ และสื่ อ การเรี ย นรู้ ต่ า ง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของผู้เรียนที่มีพฤติกรรมการดารงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. ร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณธรรมจริยธรรม ในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน การดาเนินชีวิต 3. ร้อยละของครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้รับการอบรม/พัฒนาในเรื่องการสร้างเสริมคุณภาพ ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีหลักสูตรแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริม คุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและ แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีสื่อในการจัดการเรียนรู้ ที่เผยแพร่หรือให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริม คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 7. ร้อยละของสถานศึกษามีงานวิจัย หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม 8. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรอื่น ๆ ด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 9. ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับการเชิดชูเกียรติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 6 พั ฒ นาระบบบริ ห ารจั ด การและส่ ง เสริ ม ให้ทุ ก ภาคส่ว นมี ส่ ว นร่ ว มในการจัด การศึกษา เป้าหมายความสาเร็จ 1. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 2. สถานศึกษาส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา กลยุทธ์ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ 2. สร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่ได้รับการ กากับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การวางแผน และการนาแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๔๙ ~ 2. ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่ได้รับการพัฒนา สนับสนุน ตรวจสอบ กากับ ติดตาม การบริหาร จัดการด้านงบประมาณอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3. ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ 4. ร้อยละของโรงเรี ยนที่ เข้ าร่ วมโครงการพิ เ ศษตามนโยบายของ สพฐ. เช่น โรงเรียนประชารั ฐ (ดีใกล้บ้าน), โรงเรียนคุณธรรม ฯลฯ ได้รับการพัฒนา และยกระดับคุณภาพ 5. ร้อยละของสถานศึก ษาในสัง กั ด ได้รับการส่งเสริม ระบบประกั นคุ ณ ภาพให้ เ ข้ม แข็งพร้ อ มรั บ การประเมินจากภายนอก 6. ร้อยละของสถานศึกษาและบุคลากรในสังกัด ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ 7. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาโดยบูรณาการกับแผนพัฒนาการศึกษา แห่งชาติ แผนการจัดการศึกษาของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแผนพัฒนาการจัด การศึกษาของสานักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา 8. ร้อยละของศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา ได้รับการส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา 9. ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 มีการส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนด้วยพลังประชารัฐ 10. ร้อยละของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน

9. OKRs (Objectives and Key Results) ประจาปีงบประมาณ 2565 ของ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1

1. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ ตาม หลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง KR 1.1 : ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 950 คน จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐาน สมรรถนะ ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 1.2 : ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 950 คน ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการ เรียนการสอน ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 1.3 : ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 950 คน พัฒนาวิชาชีพ อย่างน้อยคนละ 20 ชั่วโมง ภายในปีงบประมาณ 2565 2. พัฒนาระบบบริหารจัดการของสา นักงาน เขตพื้นที่การศึกษาฯ โดยใช้เทคโนโลยีจิดิทัล KR 2.1 : บุคลากร ใน สพป.สงขลา เขต 1 ทุกคน ใช้ระบบจองห้องประชุม อิเล็กทรอนิกส์ได้ ภายใน ไตรมาสที่ 1 KR 2.2 : กลุ่ม/หน่วย ใน สพป.สงขลา เขต 1 ทุกทุ กลุ่มมี มีแพลตฟอร์มดิจิทัล ในการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 1 เรื่อง ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 KR 2.3 : มีผู้มี เข้าเยี่ยมชมเว็ บไซต์ระบบติ ด ตามและรายงานงบประมาณ อย่างน้อย 200 ครั้ง ต่อเดือน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๕๐ ~ 3. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร การศึกษาสู่ความเป็นเลิศ KR 3.1 : กลุ่ม /หน่วย ใน สพป.สงขลา เขต 1 มีสารสนเทศเผยแพร่บนเว็บไซต์ อย่างน้อย 1 เรื่อง ภายในไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 KR 3.2 : หนั ง สื อ ส่ ง จ านวน 8,857 เรื่ อ ง และค าสั่ ง จ านวน 710 เรื่ อ ง จั ด เก็ บ เป็ น เอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ภายในไตรมาสที่ 2 KR 3.3 : มีผู้มี เยี่ยมชมเว็บไซต์ข้อมูลสารสนเทศ 36,000 คน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 KR 3.4 : โรงเรียน 137 โรง มีเว็บไซต์ตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐภายในไตรมาสที่ 3 KR 3.5 มีสารสนเทศครบถ้วน จานวน 20 เรื่อง ในเว็บไซต์ สพป.สงขลา เขต 1 ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 4. สร้างวัฒนธรรมการทา งานแบบ ร่วมคิดร่วมปฏิบัติเป็นองค์รวม KR 4.1 : บุคลากร ใน สพป.สงขลา เขต 1 มีพฤติกรรม ในการต้อนรับให้บริการ ผู้มาติดต่อทุกคน ระดับดีเยี่ยม KR 4.2 บุคลากร ใน สพป.สงขลา เขต 1 จานวน 55 คน ร่วมกิจกรรมส่วนรวมของ สพป. สงขลา เขต 1 ทุกครั้งที่จัดกิจกรรมระดับเขต KR 4.3 : บุคลากร ใน สพป.สงขลา เขต 1 ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การปฏิบัติงาน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 5. บริหารจัดการศึกษาของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาม มาตรฐานสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับคุณคุ ภาพดีเยี่ยม KR 5.1 : สพป.สงขลา เขต 1 มีคู่มือการให้บริการประชาชน จานวน 20 เรื่อง ภายในไตรมาสที่ 2 KR 5.2 : มาตรฐานสา นักงานเขตพื้นที่การศึกษา 56 ประเด็นพิจารณา อยู่ในระดับดีเยี่ยม ภายใน ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 KR 5.3 : โรงเรียน จานวน 137 โรง มีแผนปฏิบัติการประจา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เผยแพร่บน เว็บไซต์ ภายในไตรมาสแรก KR 5.4 : ผู้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จานวน 1,000 คน ได้รับ การเสริมสร้าง วินัย คุณธรรม จริยธรรม ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 KR 5.5 มีการประชาสัมพันธ์ งานของ สพป.สงขลา เขต 1 อย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้มี เข้ารับชม รายการ จานวน 50,000 คน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๕๑ ~

10. ทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านกลาง ปีงบประมาณ 2565 โรงเรียนบ้านกลาง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ได้กาหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการศึกษา ปีงบประมาณ 2564 ดังนี้ วิสัยทัศน์ โรงเรียนบ้านกลาง เป็นโรงเรียนแหล่งการเรียนรู้ที่การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตามสังคมโลก และเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาอย่างหลากหลาย และมีคุณภาพสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ พันธกิจ 1. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยรูปแบบที่หลากหลายและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2. พัฒนาระบบการบริหารจัดและการศึกษาศึกษาให้มีประสิทธิผลและได้มาตรฐาน 3. ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เป้าประสงค์ 1. นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ 2. ครู บุคลากรทางการศึกษา จัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานและสอดคล้องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เหมาะสมกับบริบทและสภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง 3. สถานศึกษาจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผลและได้มาตรฐาน 4. ภาคีเครือข่ายให้ความร่ว มมือ ในการจั ดการศึก ษา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ การบูรณาการ วิถีชุมชมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก กลยุทธ์การพัฒนา กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ กลยุทธ์ที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์ที่ 4 สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้า ทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่ 6 ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๕๒ ~

11. OKRs (Objectives and Key Results) ประจาปีงบประมาณ 2565 ของโรงเรียนบ้านกลาง Objective 1: พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพในการจัดการ เรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง KR 1.1 : ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐาน สมรรถนะ ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 1.2 : ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการ เรียนการสอน ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 1.3 : ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน พัฒนาวิชาชีพ อย่างน้อยคนละ 20 ชั่วโมง ภายในปีงบประมาณ 2565 Objective 2: พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศ KR 2.1: มีเว็บไซต์ตามาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ภายในไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2565 KR 2.2: กลุ่มบริหารงาน 4 ฝ่ายงาน มีสารสนเทศเผยแพร่บนเว็บไซต์อย่างน้อย 1 เรื่อง ภายใน ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2565 Objective 3: พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา KR 3.1: มีหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษา ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 3.2: นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะตามหลักสู ตรสถานศึก ษา ภายในปีงบประมาณ 2565 Objective 4: น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ KR 4.1: โรงเรี ย นผ่ า นการประเมิ น เป็ น ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ ต ามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ด้านการศึกษา ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 4.2: โรงเรียนผ่านการประเมินการคัดเลือกเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ระดับก่อน ประถมศึกษา ขนาดเล็ก ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 4.3: โรงเรียนผ่านการประเมินการประกันคุณภาพภายใน ระดับดีเลิศขึ้นไป ภายในปีงบประมาณ 2565 KR 4.4: ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีพฤติ กรรมแบบกัลยาณมิตรต่อผู้รับบริการทาง การศึกษาทุกคน ระดับยอดเยี่ยม

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

ส่วนที่ ๓ : แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม การประมาณการ รายรับ โรงเรี ยนได้รั บ การจั ด สรรงบประมาณเงินอุ ด หนุน ค่ าใช้ จ่ า ยในการจั ด การศึ ก ษาขั้ นพื้นฐาน ตาม นโยบายการสนั บ สนุ น ค่ า ใช้ จ่ า ยในการจั ด การศึ ก ษาตั้ ง แต่ ร ะดั บ อนุ บ าลจนจบการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ปีง บประมาณ 2564 ตามยอดนักเรียน ณ วันที่ 1 กันยายน 2564 และการคาดการณ์ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ดังต่อไปนี้ 1. เงินอุดหนุนเหลือจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้ว จานวน 41,163.49 บาท 2. ประมาณการเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ 2565 จานวน 437,763.49 บาท รวมทั้งสิ้น 437,763.49 บาท

การประมาณการรายจ่าย 1. จาแนกตามหมวดงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในโรงเรียน ดังนี้ ประเภทงบ งบประมาณ คิดเป็นร้อยละ

งบรายจ่ายประจา 60,000.00 13.70

งบพัฒนา 377,763.49 86.30

รวม 437,763.49 100.00

แผนภูมิแสดงการจัดสรรงบประมาณโรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2565

งบประมาณ 14%

86%

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

งบประจำ งบพัฒนำ

~ ๕๔ ~ 2. จาแนกตาม งาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้ 2.1 งบรายจ่ายประจา ที่ 1 2 3 4 5 6

ที่ 1 2 3 4 5

รายการ

ค่าไฟฟ้า ค่าน้า ค่าน้ามันเชื้อเพลิง ค่าโทรศัพท์ รายจ่ายอื่น ๆ (ค่าซ่อมแซม อากร แสตมป์ ฯลฯ) สารองจ่าย

2.2 งบพัฒนา ดังนี้ 2.2.1 งบพัฒนา โดยรวม แผนงาน ฝ่ายบริหารวิชาการ ระดับก่อนประถมศึกษา ฝ่ายบริหารวิชาการ ระดับประถมศึกษา ฝ่ายบริหารงบประมาณ ฝ่ายบริหารบุคคล ฝ่ายบริหารทั่วไป

งบประมาณ

หมายเหตุ

60,000.00

รวมทั้งสิ้น 60,000.00

รวมทั้งสิ้น

งบประมาณ 112,500.00 21,500.00 4,000.00 133,000.00 106,763.49 437,763.49

2.2.2 งบพัฒนา แยกตามฝ่าย/งาน 1) ฝ่ายบริหารวิชาการ ระดับก่อนประถมศึกษา จานวน 1 โครงการ ที่

งาน/โครงการ/ กิจกรรม

1 พัฒนาการเรียนรู้ปฐมวัย

ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ ดาเนินการ 119,500.00 ตลอดปีการศึกษา นางนาฏยา เพ็งมาก รวมทั้งสิ้น 119,500.00 งบประมาณ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๕๕ ~ 2) ฝ่ายบริหารวิชาการ ระดับประถมศึกษา จานวน 7 โครงการ ที่

งาน/โครงการ/ กิจกรรม

งบประมาณ

ระยะเวลา ดาเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

พัฒนาการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษา พัฒนาการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ พัฒนาห้องสมุด พัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วยทักษะของโลกใน ศตวรรษที่ 21 5 ยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ

2,000.00 3,000.00 1,000.00 10,000.00

ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา

นายสนั่น เหมชะรา นางวนิดา สุขเกิด นางสาวนู่รี่หย๊ะ เบ็ญหมัด นางสาวมีนา บิลหลี

3,000.00

นางสาวมีนา บิลหลี

6 Merry English room 7 พัฒนาการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น

2,000.00 500.00

ต.ต 64เม.ย.65 ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา

1 2 3 4

134,000.00

3) ฝ่ายบริหารงบประมาณ ที่

งาน/โครงการ/ กิจกรรม

นางนิธิกาญจน์ ชาตโร นางสาวสุไบด๊ะ สายสลา

จานวน 1 โครงการ งบประมาณ

ระยะเวลา ดาเนินการ

1 พัฒนางานบริหารงบประมาณ การเงิน 4,000.00 ตลอดปีการศึกษา และพัสดุ รวมทั้งสิ้น 4,000.00

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

ผู้รับผิดชอบ นางอุไรวรรณ ประนอม

~ ๕๖ ~ 4) ฝ่ายบริหารบุคคล จานวน 7 โครงการ ที่

งาน/โครงการ/ กิจกรรม

1 ทัศนศึกษาและศึกษาดูงานของครูและ บุคลากรทางการศึกษา 2 พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของครูและ บุคลากรทางการศึกษา 3 พัฒนางานธุรการและประชาสัมพันธ์ 4 พัฒนางานกิจการนักเรียน 5 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 6 โรงเรียนสุจริต 7 ปรับปรุงแผนกลยุทธ์และจัดทา แผนปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น

งบประมาณ

ระยะเวลา ดาเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

301,100.00 ตลอดปีการศึกษา นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี 14,000.00 ตลอดปีการศึกษา นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี 77,900.00 500.00 500.00 1,000.00 2,000.00

ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา

นางสาวณัฐนรี เส้งบรรทึก นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี นายสนั่น เหมชะรา นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี

ระยะเวลา ดาเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา ตลอดปีการศึกษา

นางสาวอภิญญา คงสุวรรณ นางนิธิกาญจน์ ชาตโร นายสนั่น เหมชะรา นายสนั่น เหมชะรา นายสนั่น เหมชะรา

133,000.00

5) ฝ่ายบริหารทั่วไป จานวน 6 โครงการ ที่

งาน/โครงการ/ กิจกรรม

1 ปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อม 2 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 3 วันสาคัญของชาติ 4 สัมพันธ์ชุมชน 5 วิถีบ้านกลางวิถีพอเพียง 6 สถานศึกษาปลอดภัย รวมทั้งสิ้น

งบประมาณ

90,000.00 ตลอดปีการศึกษา นายสนั่น เหมชะรา 2,000.00 5,000.00 763.49 8,000.00 1,000.00 106,763.49

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๕๗ ~

รายละเอียดแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ฝ่ายบริหารวิชาการ

ระดับก่อนประถมศึกษา  โครงการพัฒนาการเรียนรู้ปฐมวัย ระดับประถมศึกษา  โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษา  โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ  โครงการพัฒนาห้องสมุด  โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วยทักษะของโลกในศตวรรษที่ 21  โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ  โครงการยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ  โครงการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะ  โครงการ Merry English Room  พัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

~ 59 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: พัฒนาการเรียนรู้ปฐมวัย : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นางนาฏยา เพ็งมาก และคณะ : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๒ (๑) มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ ข้อ ๓.๑ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและการศึกษาวิถีใหม่ สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๕ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 4: น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหาร จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (4.1) _______________________________________________________________________________

หลักการและเหตุผล รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กาหนดในมาตรา 54 ระบุว่า รัฐต้องดาเนินการให้ เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดย ไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดาเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อ พัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปั ญญาให้สมกั บวัย การจัดระบบการศึกษาเพื่อ พั ฒ นา ศักยภาพของเด็ก ให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อการเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพนั้น ควรเริ่มต้นจาก การเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยทองของสมองในการเรียนรู้ จากผลการวิจัยของนักการศึกษา นักจิตวิทยา และ นักวิชาการ พบว่า มนุษย์จะมีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุดในช่วงอายุ ๒-๖ ปี ประมาณร้อยละ ๘๐ ฉะนั้น การเตรียมความพร้อม การเสริมประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับเด็กวัยนี้ จึงมี ความสาคัญมาก เพราะการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทางสมองของเด็กปฐมวัย จะทาให้เด็กได้รับ การพัฒนาในทุกด้านอย่างเต็มตามศักยภาพ เกิดทักษะและสร้างความเข้มแข็งทางด้านสติปัญญา ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนบ้านกลางจึงได้ดาเนินปรับปรุง หลักสูตรสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน โดยจัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลายสอดคล้องบริบทของชุ มชนและเหมาะสมกับพัฒนาการของ เด็ก โดยมีบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปลอดภัยและเพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยช่วย สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กให้มีความสุขยิ่งขึ้น อันนาไปสู่การพัฒนาศักยภาพของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อไป โรงเรียนจึงจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยทุกด้านอย่างมีคุณภาพ ๒. เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความรู้และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ๓. เพื่อปลูกฝังเด็กปฐมวัยให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 60 ~ ๔. เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสาคัญได้ ๕. เพือ่ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐ และ บริบทของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ๖. เพื่อปรับปรุงพัฒนาอาคารเรียนปฐมวัยและปรับภูมิทัศน์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกให้สวยงาม ปลอดภัย มั่นคง เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน จานวน 31 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 3 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้และทักษะที่จาเป็นใน ศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศึกษา ขั้นตอนการดาเนินการ ระยะเวลา ดาเนินงาน 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน ต.ค. 6๔ 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและ ต.ค. 6๔ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ดังนี้ ต.ค. 6๔ –  ขยับกาย สบายชีวิต ส.ค. 6๕  ค่ายคุณธรรมปฐมวัย  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับปฐมวัย  ต้นบุญ  ไหว้งาม สลามสวย  สารนิทัศน์สาหรับเด็กปฐมวัย  จัดทาแบบฝึกความพร้อมสาหรับเด็กปฐมวัย  โรงเรียนน่าอยู่  ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาเพิ่มเติม  ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง อาทิ สวนอนุบาลปันสุข การงานอาชีพ อื่น ๆ  ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิตอลเทคโนโลยีสาหรับเด็กปฐมวัย 4. พัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรในการจัดประสบการณ์ที่ เน้นเด็กเป็นสาคัญ 5. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ นางนาฏยา เพ็งมาก นางนาฏยา เพ็งมาก

นางสาวนู่รีหย๊ะ เบ็ญหมัด นางนาฏยา เพ็งมาก นางสาวศิราณี ชูมี

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 61 ~ เม.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 2/256๔ ก.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 6. รายงานผลการดาเนินงาน เม.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 2/256๔ ก.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 1/256๕ สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๑๑9,๕๐๐ บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุฝึก 2. ตู้เก็บของ ชั้นวางของ 3. ป้ายนิเทศ 4. ปรับพื้นที่ รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน

ใช้สอย

วัสดุ

- ๓3,000 - ๑3,000 - ๓3,๕00 - ๔6,๕00 ๓3,000

รายจ่ายอื่น (ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

40,000 ๔๐,000

รวมทั้งสิ้น ๓3,000 40,000 ๑3,000 ๓3,๕00 ๑๑9,๕00

การวัดและประเมินผลโครงการ 1. 2. 3. 4. 5.

ตัวชี้วัดความสาเร็จ เด็กปฐมวัยเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ร้อยละ 95 ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสาคัญได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ ร้อยละ 95 โรงเรียนมีกระบวนการบริหารและ การจัดการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ร้อยละ 95 ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ  ประเมินพฤติกรรม  ประเมินพฤติกรรม  ประเมินพฤติกรรม

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา  แบบประเมิน พฤติกรรม  แบบประเมิน พฤติกรรม  แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 62 ~ ๑. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยทุกด้านอย่างมีคุณภาพ ๒. เด็กปฐมวัยมีความรู้และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ๓. เด็กปฐมวัยเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๔. ครูปฐมวัยจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสาคัญได้ ๕. หลักสูตรสถานศึกษามีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐ และบริบทของ ชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ๖. อาคารเรียนปฐมวัยและปรับภูมิทัศน์ต่าง ๆ มีความสวยงาม ปลอดภัย มั่นคง เอื้อต่อการจัดการ เรียนรู้ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ).............. ............................................... (นางนาฏยา เพ็งมาก) ครูชานาญการพิเศษ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 63 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: พัฒนาการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษา : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นายสนัน่ เหมชะรา : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๒ (๑) มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ ข้อ ๓.๑ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง (1) สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 3 : พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (3.2) _______________________________________________________________________________

หลักการและเหตุผล การจัดการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สาคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพของประชากรของประเทศ ให้เป็นคนดี มีประสิทธิภาพอย่างครบถ้วน การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมมีส่วน สาคัญใน การขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่ งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะพิเศษอัน เนื่องมาจากบริบทของสภาพทางสังคมและวัฒนธรรม การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นแนวทางสาคัญในการบูรณา การทั้งหลักการของสังคมและวัฒนธรรม การยอมรับในความหลากหลายของอัตลักษณ์ภาษาศาสนาและ วั ฒ นธรรม เป็ น การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาและเครื่ อ งบ่ ง ชี้ ค วามเจริ ญ ของประเทศ สอดคล้ อ งกั บ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา ๘ การจัดการศึกษายึดหลัก ดังนี้ (1) เป็นการศึกษา ตลอดชีวิต (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (3) การพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการเรียนรู้วิชาอิสลามศึกษาสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดให้มีนโยบายการจัดการศึกษาเป็นไปตามความต้องการของประชาชน โดยเน้นให้ ผู้เรียนในโรงเรียนรัฐระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้เรียนรู้วิชาอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 ดังนั้นโรงเรียนบ้านกลางเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลาม 100 เปอร์เซ็นต์ จึงได้มี การนาหลักสูตรอิสลามศึกษามาใช้เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ตามศาสนวิถีที่ทางชุมชนนับถือและสอดคล้อง กับบริบทชุมชน ซึ่งมี ๘ กลุ่มสาระ ได้แก่ หลักศรัทธา หลักศาสนบัญญัติ ประวัติศาสตร์อิสลาม จริยธรรมศึกษา อัลกรุอ่าน อัลหะดิษ ภาษาอาหรับ และภาษามาลายู วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือและสอดคล้องตามบริบทของชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมให้ครูได้ใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ หลากหลายและทันสมัย 3. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิชาอิสลามศึกษา

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 64 ~ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน จานวน 212 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์ สามารถนาหลักปฏิบัติศาสนาที่ตนนับถือไปปฏิบัติใน ชีวิตประจาวันได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้แก่  จัดทาสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ  การฝึกอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน  จัดการแข่งขันทักษะและงานเมาลิดวิชาการ  การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. มัสยิด และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๒,๐๐๐ บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 65 ~

กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุสานักงาน 2. ค่าตอบแทนวิทยากร รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน ๕00 ๕๐๐

ใช้สอย -

วัสดุ

รายจ่ายอื่น

รวมทั้งสิ้น

1,๕00 1,๕00

-

1,๕00 ๕00 2,๐๐๐

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

การวัดและประเมินผลโครงการ 1. 2. 3.

4. 5. 6.

ตัวชี้วัดความสาเร็จ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี เป็นแบบอย่างดี ร้อยละ 95 นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่า ของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาไทย ร้อยละ 95 นักเรียนสามารถอยู่ร่วมกันบนความ แตกต่างและหลากหลาย ร้อยละ 95 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา อิสลามศึกษา ร้อยละ 95 ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ  ประเมินพฤติกรรม  ประเมินพฤติกรรม

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา  แบบประเมิน พฤติกรรม  แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินพฤติกรรม

 แบบประเมิน พฤติกรรม  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนสามารถเรียนรู้ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือและสอดคล้องตามบริบทของชุมชนได้เป็น อย่างดี 2. ครูใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ หลากหลายและทันสมัย 3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิชาอิสลามศึกษา

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 66 ~ ผู้เสนอโครงการ

ผูเ้ ห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) พนักงานราชการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 67 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: พัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่งานอาชีพเชิงนวัตกรรม : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นางวนิดา สุขเกิด : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.1 (6) มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ ข้อ ๓.๑ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน(1) สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 3 : พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา(3.2) _______________________________________________________________________________

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการจัดการศึกษามุ่งพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในโลกกว้าง สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของโลกปัจจุบัน ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจากผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ จะส่งผลให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ ตลอดจนมีความสามารถในการคิด การจัดการ และการแก้ปัญหาได้ อย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับตนเอง งานอาชีพ และการพัฒนาสังคม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม หลักสูตรสถานศึกษา ๒๕๖๑ กาหนดให้โรงเรียนจัดกิจกรรมการสอนที่หลากหลายให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งใน และนอกห้องเรียน เรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างมีศักยภาพ มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติงาน เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง รักการทางานร่วมกับผู้อื่นได้ และ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต สามารถนาความรู้ไปสู่งานอาชีพและนาความรู้ใช้ในชีวิตประจาวันได้ ดังนั้น กลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านกลาง ได้ตระหนักถึงความจาเป็นและความสาคัญ ดังกล่าว จึงได้จัดโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่งานอาชีพของผู้เรียน เพื่อเตรียมผู้เรียนไปสู่อาชีพโดยนา ความรู้ไปใช้พัฒนา ทักษะชีวิตได้อย่างมีคุณค่า ให้ผู้เรียนได้เผยแพร่ความรู้และแสดงผลงานของตนเองสู่ สาธารณชน และเป็นการส่งเสริม การดารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริ ด้วย วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะ สมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนา ประเทศ ๒. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีจิตสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนาแนวคิดตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ๓. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง สามารถนาไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตได้ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 68 ~ ๔. เพื่อให้ครูสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ใน การใช้ชีวิตได้ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน จานวน 212 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมี ทักษะและสมรรถนะ มีความสามารถในการแข่งขัน มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมือง พลโลกที่ ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นาไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้งานอาชีพเชิงนวัตกรรม โดยบูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้  ฝึกปฏิบัติงานบ้านและงานครัว ได้แก่ จัดทาผลิตภัณฑ์ ของใช้ที่จาเป็นในชีวิตประจาวัน อาทิ น้ายาล้างจาน สบู่เหลว สบู่ก้อน น้ายาเอนกประสงค์  ฝึกปฏิบัติงานเกษตร เช่น ปลูกผักสวนครัว  ฝึกปฏิบัติงานเทคโนโลยีดิจิตอล 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 69 ~ งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน 3,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุฝึก

รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน -

ใช้สอย -

วัสดุ

รายจ่ายอื่น

รวมทั้งสิ้น

3,000 3,000

-

3,000 3,000

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

การวัดและประเมินผลโครงการ 1. 2. 3.

4. 5. 6.

ตัวชี้วัดความสาเร็จ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 นักเรียนมีทักษะ สมรรถนะตรงตามความ ต้องการของตลาดงานและการพัฒนา ประเทศ ร้อยละ 95 นักเรียนมีจิตสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนาแนวคิดตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ ปฏิบัติ ร้อยละ 9๕ ให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการ คิดและปฏิบัติจริง สามารถนาไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ร้อยละ 9๕ ครูจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ใน การใช้ชีวิตได้ ร้อยละ 9๕ ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ  ประเมินพฤติกรรม

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา  แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินพฤติกรรม

 แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินพฤติกรรม

 แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินพฤติกรรม

 แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. นักเรียนมีทักษะ สมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ ๒. นักเรียนให้มีจิตสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนาแนวคิดตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ๓. นักเรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ๔. ครูจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการใช้ชีวิตได้

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 70 ~ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางวนิดา สุขเกิด) ครูชานาญการพิเศษ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 71 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: พัฒนาห้องสมุด : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นางสาวนู่รี่หย๊ะ เบ็ญหมัด : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๑ (๑) สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 3 : พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่ง เรียนรู้ เพื่อศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียน ครูและบุคลากร มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตจะเกิดขึ้นได้ นักเรียนต้องมีนิสัย รักการอ่านจะทาให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียน สาคัญที่สุด กระบวนการเรียนการสอนต้องส่งเสริ มให้ ผู้เรี ยนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็ม ตาม ศักยภาพ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน คานึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มา ใช้แก้ปัญหา การเรียนจากประสบการณ์จริง สถานศึกษาต้องจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมบูรณาการ องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการอ่านในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง ประสิทธิภาพในการเรียน การจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน โดยเฉพาะห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ หลากหลายด้วยหนังสือ สื่อ และกิจกรรม จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภายในโรงเรี ยนขึ้นได้ ด้วย เหตุ นี้ โ รงเรี ย นบ้ า นกลางจึ งเล็ ง เห็ น ความส าคั ญ ในการพั ฒนาห้ อ งสมุ ด อั น จะเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ มี ค วาม หลากหลายเพื่อเอื้อต่อการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพต่อไป วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย เอื้อต่อการศึกษาและการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ ๒. เพื่อส่งเสริมให้บริการทางการศึกษาด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิตอล ๓. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากร เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 72 ~ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน จานวน 212 คน ครู จานวน 12 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ ห้องสมุดของโรงเรียนสามารถให้บริการทางการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เป็นแหล่ง เรียนรู้ที่มีความหลากหลาย เอื้อต่อการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม

          

1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดบริการงานห้องสมุดให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมทุก กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ บริการการอ่าน บริการให้ยืม – คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ บริการหนังสือจอง บริการแนะนาการใช้ห้องสมุด บริการตอบคาถามและช่วยการค้นคว้า บริการแนะแนวการอ่าน บริการสอนการใช้ห้องสมุด บริการสืบค้นฐานข้อมูล บริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการข่าวสารทันสมัย บริการอินเทอร์เน็ต บริการอื่น ๆ อาทิ บริการโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการห้องสมุด เคลื่อนที่ บริการชุมชน บริการขอใช้สถานที่ประชุม เป็นต้น 4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้  กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด  กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน  กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป  กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔

ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 73 ~  กิจกรรมฐานการเรียนรู้กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ/ศาสตร์ พระราชา ฯลฯ 5. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 6. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

ก.ย. 6๕

งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๑,๐00 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุฝึก

รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน -

ใช้สอย

วัสดุ -

๑,๐00 ๑,๐00

รายจ่ายอื่น (ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

-

รวมทั้งสิ้น ๑,๐00 ๑,๐00

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ 1. การให้บริการงานห้องสมุดมีประสิทธิภาพ  ประเมินผลการ  แบบประเมินผลการ ทันสมัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ปฏิบัติงาน ปฏิบัติงาน ร้อยละ 95 2. กิจกรรมการให้บริการงานห้องสมุดมีความ  ประเมินพฤติกรรม  แบบประเมิน หลากหลาย เอื้อต่อการศึกษาและการ พฤติกรรม เรียนรู้ ร้อยละ 95 3. ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 74 ~ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย เอื้อต่อการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ๒. ห้องสมุดสามารถให้บริการทางการศึกษาด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิตอล ๓. นักเรียน ครูและบุคลากร เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวนู่รี่หย๊ะ เบ็ญหมัด) พนักงานราชการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 75 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: พัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วยทักษะของโลกในศตวรรษที่ 21 : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นางสาวมีนา บิลหลี : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๑ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ ข้อ ๓.๔ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 3 : พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ______________________________________________________________________________

หลักการและเหตุผล ยุ ค ศตวรรษที่ 21 สั ง คมโลกมี ก ารเปลี่ ย นแปลงอย่า งรวดเร็ ว ทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิจ สั ง คม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ในมุมมองทางด้านการศึกษานั้น ถือได้ว่า เป็นยุคของโลกใหม่แห่งการเรี ย นรู้ เนื่องจากโลกแห่งการศึกษาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จะเห็นได้ว่า การศึกษาในช่วงก่อนช่วงศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น จะขึ้นอยู่กับผู้สอนเป็นสาคัญ ถ้าผู้สอนหรือครูไม่สอนผู้เรียนก็จะไม่รู้ เนื่องจาก ความรู้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ห ายาก แต่ ใ นยุ ค ของศตวรรษที่ 21 นี้ ความรู้ ห าได้ ง่ า ย แหล่ ง ของความรู้ มี อ ยู่ ม ากมาย หลากหลาย ผู้เรียนสามารถค้นคว้าและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยการจัดการศึกษาเพื่อการพั ฒนาศักยภาพ ผู้เรียนมีตัวบ่งชี้สาคัญที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นสมรรถนะสาคัญ 5 ประการ คื อ ความสามารถในการสื่ อ สาร ความสามารถในการคิ ด ความสามารถในการแก้ ปั ญ หา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และตัว บ่งชี้สาคัญจากบริบ ทและ ความต้องการของสังคมยุคดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 มีทั้งความรู้ ทักษะวิชาการโดยมีทักษะการเรียนรู้ที่จาเป็น เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ คือ 3Rs x 7Cs ดังนี้ ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะ คณิตศาสตร์ ทักษะ ความคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา ทักษะการสื่อสาร ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการ ร่วมมือ ทักษะทางสังคมและเรียนรู้ ข้ามวัฒนธรรม ทักษะชีวิตและการทางาน และทักษะด้านสารสนเทศสื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายที่นักการศึกษาและผู้สอนต้องตระหนักรู้และเตรียมความพร้อม ในการสอน เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21 century skill) ให้ได้อย่างเท่าทัน ผู้เรียนจะ สามารถนาทักษะความรู้ ไปปรับใช้ในสังคม เพื่อให้ชีวิตดารงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านกลาง จึงได้เล็งความสาคัญในการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้มีความสามารถและมี ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง ดารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 76 ~ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ ๒. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสุขภาวะเหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน จานวน 212 คน ครู จานวน 12 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะเหมาะสมตามวัย มีความสามารถใน การพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์ นวัตกรรม สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔

1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 3. จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลายและทันสมัย อาทิ ต.ค. 6๔ –  การอ่านออกเขียนได้ การอ่านคล่องเขียนคล่อง ส.ค. 6๕  สะเต็มศึกษา  วิทยาการคานวณและการออกแบบเทคโนโลยี  พหุปัญญา  ความเป็นพลเมือง  ทักษะพื้นฐานด้านสุขภาพพลานามัย  การบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง  ฯลฯ ๔. ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทาง ต.ค. 6๔ – วิชาการในระดับต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ส.ค. 6๕ 5. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล เม.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 2/256๔ ก.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 1/256๕ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมาย เหตุ

~ 77 ~ 6. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน 1๐,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุฝึก

รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน

ใช้สอย

-

วัสดุ - 1๐,000 - 1๐,000

รายจ่ายอื่น

รวมทั้งสิ้น

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

-

1๐,000 1๐,000

การวัดและประเมินผลโครงการ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

ตัวชี้วัดความสาเร็จ นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคานวณ ร้อยละ 82 นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา ร้อยละ 80 นักเรียนมีความสามารถในการสร้าง นวัตกรรม ร้อยละ 80 นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ร้อยละ 90 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตาม หลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละ 85 นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์จากการ แข่งขันทักษะทางวิชาการ ร้อยละ 80 ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 95

วิธีวัดและประเมินผล  ทดสอบ

เครื่องมือ  แบบทดสอบ

 ประเมินพฤติกรรม

 แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินพฤติกรรม    

 แบบประเมิน พฤติกรรม ประเมินพฤติกรรม  แบบประเมิน พฤติกรรม ผลสัมฤทธิ์ทางการ  รายงานผลสัมฤทธิ์ เรียน ทางการเรียน แบบประเมิน ประเมินพฤติกรรม พฤติกรรม ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 78 ~ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ ๒. นักเรียนมีสุขภาวะเหมาะสมตามวัย สามารถพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓. นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม

ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) พนักงานราชการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 79 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: ยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นางสาวมีนา บิลหลี : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๑ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ ข้อ ๓.๔ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 3 : พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ______________________________________________________________________________

หลักการและเหตุผล การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT: National Test) และการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนแต่ละโรงเรียน และ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น นอกจากนี้ผลคะแนนสอบที่นักเรียนได้รับ จะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับนักเรียนเอง เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานสาคัญในการศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป ส่วน ผู้ปกครองก็จะได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไข และสนับสนุนบุตรหลานให้กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น เพื่อให้เกิด การพัฒนาไปในแนวทางที่ดี และทางโรงเรียนยังสามารถนาผลการสอบของนักเรียนแต่ละคนไปใช้เป็นข้อมูลใน การจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องต่อความสนใจ ความต้องการเรียนรู้ เพื่อพัฒนา ความรู้ความสามารถของนักเรียนต่อไปในอนาคต ดังนั้นโรงเรียนบ้านกลางจึงได้ตระหนักถึงการเตรียมความ พร้อมให้กับนักเรียนจึงได้จัดให้มีโครงการนี้ขึ้น วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อยกระดับผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT: National Test) การทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอิสลาม ศึกษา (Islamic National Educational Test: I-NET ) ให้สูงขึ้น เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 80 ~ 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมีผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT: National Test) ผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลการทดสอบทางการศึกษาระดั บชาติ ด้านอิสลามศึ ก ษา (Islamic National Educational Test: I-NET) สูงขึ้น ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ดาเนินการวิเคราะห์ผู้เรียน/วิเคราะห์ข้อสอบ 4. จัดสอนพิเศษให้กับนักเรียน 5. จัดสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนกลุ่มอ่อน 6. จัดค่ายบูรณาการการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติ O-Net ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการศึกษา 7. การจัดสอบ Pre O-NET/I-NET 8. ทบทวน เตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน 9. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 10. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียน หน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ 2. ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๓,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 81 ~ ประเภทรายจ่าย

กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุฝึก

ตอบแทน -

รวม

ใช้สอย

วัสดุ -

๓,000 ๓,000

รายจ่ายอื่น (ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

-

รวมทั้งสิ้น ๓,000 ๓,000

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ 1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 90 2. นักเรียนมีผลการทดสอบสูงขึ้น ร้อยละ 3

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ  ผลการทดสอบ

เครื่องมือ  แบบสารวจรายชื่อ  แบบรายงานผลการ ทดสอบ 3. ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 95  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. โรงเรียนมีผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT: National Test) การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ ด้านอิสลามศึกษา (Islamic National Educational Test: I-NET ) สูงขึ้น

ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) พนักงานราชการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 82 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: Merry English Room : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นางนิธิกาญจน์ ชาตโร : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๑ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ ข้อ ๓.๔ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 2 จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 3 : พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ______________________________________________________________________________

หลักการและเหตุผล ในสังคมปัจจุบันและสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีมีบทบาทสาคัญในการเรียนรู้ม ากขึ้ น ภาษาอังกฤษซึ่งเป็น ภาษาสากลได้กลายเป็นเครื่องมือสาคัญในการติดต่อสื่อสารผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆ ทั้ง ทางด้านการพูดและการเขียน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษสามารถหา ความรู้เพิ่มเติม โดยเข้าถึงแหล่งความรู้ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จากัดทั่วโลกด้วยความสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งใน ปัจจุบัน เป็นยุคที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กล่าวคือ ผู้ที่มีความรู้ ภาษาอังกฤษดี และสามารถใช้เทคโนโลยีได้ด้วยนั้นจะช่วยส่งเสริมให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น การใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศ และการสื่ อ สารในการจั ด การศึ ก ษาด้ า น ภาษาอังกฤษนั้น ผู้สอนหากลวิธีที่จะสามารถพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาของผู้เรียน เช่น ด้านการอ่าน และการเขียนให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และพยายามให้มีการเรียนรู้อย่า งต่อ เนื่อง ตลอดชีวิต ( Life-Long Learning) อนึ่ง เมื่อประชาคมอาเซียนกาหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของ ประชาคมอาเซียนด้วย จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่ประชากรในชาติต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน เพื่อใช้ภาษา เป็นเครื่องมือในการรับรู้ติดต่อสื่อสาร การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการดารงชีพในสังคมของเยาวชน ตลอดจนคนในชาติเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และกระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดนโยบายการปฏิรูป การเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้งระบบ กาหนดกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ใช้ เป็นกรอบความคิดหลักในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศ ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านกลาง ได้มีความตระหนักถึงความสาคัญและความจาเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจัดทาโครงการนี้ขึ้น

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 83 ~ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อยกระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ๒. เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน ๓. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออกและเรียนรู้วฒ ั นธรรมของเจ้าของภาษา เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน จานวน 212 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออก และสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการ สื่อสารในชีวิตประจาวันได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาคู่มือการจัดการเรียนการสอน เอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนา การศึกษา 3. จัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning)  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  การจัดการเรียนการสอนแบบภาษาที่เน้นเนื้อหา (Content-Based Instruction)  การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)  การเรียนรู้จากการทาโครงงาน (Project-Based Learning)  การเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (Task-Based Language)  การสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)  วิธีการสอนด้วยการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response)  การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบไฟร์แม็ทซิสเต็ม (4 MATS Language System)  ฯลฯ 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมาย เหตุ

~ 84 ~ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียน หน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ 2. ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๒,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน -

ใช้สอย

รายจ่ายอื่น

วัสดุ -

-

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

๒,000 ๒,000

รวมทั้งสิ้น ๒,000 ๒,000

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา  ผลสัมฤทธิ์ทางการ  รายงานผลสัมฤทธิ์ ภาษาอังกฤษสูงขึ้นจากเดิม ร้อยละ 3 เรียน ทางการเรียน 2. นักเรียนมีความสามารถในการใช้  ประเมินพฤติกรรม  แบบประเมิน ภาษาอังกฤษในชีวิตประจาวัน ร้อยละ 80 พฤติกรรม 3. ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 95  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. นักเรียนสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ ๒. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ๓. นักเรียนกล้าแสดงออกและเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 85 ~ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางนิธิกาญจน์ ชาตโร) ครูชานาญการพิเศษ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 86 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: Merry English Room : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นางนิธิกาญจน์ ชาตโร : ฝ่ายบริหารวิชาการ : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๑ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ ข้อ ๓.๔ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่าง มีคุณภาพ สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 3 : พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล ด้วยสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เห็นความสาคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งมีนักเรียนกลุ่มหนึ่งจะมีปัญหาทางการเรียนรู้ ทาให้เรียนรู้ ช้า เป็นเด็กสมาธิสั้น บกพร่องทางด้านการเรียนรู้ การอ่าน การเขียน การคิดคานวณ และมีภาวะออทิสซึม จึง มีนโยบายในการแก้ปัญหานักเรียนดังกล่าว ซึ่งสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับนโยบายให้โรงเรียนได้คัด กรองนักเรียน เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือโรงเรียนบ้านกลาง ได้ดาเนินการคัดกรองนักเรียนเมื่อปีการศึกษา 2554 ซึ่งมีนักเรียนที่ปัญหาทางการเรียนรู้ จานวน 22 คน จึงได้มีการวางแผนและพัฒนานักเรียนกลุ่ม ดังกล่าว โดยการใช้สื่อนวัตกรรม และเทคนิคการสอนที่หลากหลาย วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสม ๒. เพื่อจัดสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษาแก่นักเรียนที่ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ๓. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง องค์กร และชุมชนในการจัดการศึกษาสาหรับ นักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทุกระดับชั้น 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 87 ~ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถเรียนรู้ มีพัฒนาการที่ดี และดารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้เป็นอย่างมีความสุข ขั้นตอนการดาเนินการ ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

กิจกรรม

1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. สารวจนักเรียน และคัดแยกนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3. จัดทาเครื่องมือคัดแยกนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 4. ออกแบบการจัดการเรียนรู้สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 4. จัดทาสื่อการเรียนรู้สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 5. จัดกิจกรรมด้วยรูปแบบและวิธีที่เหมาะสม รวมทั้งสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ อาทิ 1) ด้านการอ่าน (reading) 2) ด้านการเขียน (written expression) 3) ด้านคณิตศาสตร์ (mathematics) รูปแบบอาร์ ที ไอ ฯลฯ 6. ติดตามความก้าวหน้าและการประเมินเพื่อการส่งต่อ 7. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล เม.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 2/256๔ ก.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 8. รายงานผลการดาเนินงาน เม.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 2/256๔ ก.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 1/256๕

หมาย เหตุ

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียน หน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ 2. ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๕00 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. วัสดุฝึก

รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน -

ใช้สอย

วัสดุ -

๕00 ๕00

รายจ่ายอื่น (ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

-

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

รวมทั้งสิ้น ๕00 ๕00

~ 88 ~ การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ 1. จานวนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ  ผลการประเมิน  รายงานผลการ เรียนรู้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี ร้อยละ 80 ประเมิน 2. ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 95  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมิน ความพึงพอใจ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรูไ้ ด้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสม ๒. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรูไ้ ด้รับสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความ ช่วยเหลืออื่นทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ ๓. โรงเรียน ผู้ปกครอง องค์กร และชุมชน ให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มี ความต้องการจาเป็นพิเศษ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางนิธิกาญจน์ ชาตโร) ครูชานาญการพิเศษ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวมีนา บิลหลี) หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ฝ่ายบริหารงบประมาณ

 โครงการพัฒนางานบริหารงบประมาณ การเงินและพัสดุ

~ 90 ~ ชื่อโครงการ : พัฒนางานบริหารงบประมาณ การเงินและพัสดุ แผนงาน : ด้านประสิทธิภาพ ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นางอุไรวรรณ ประนอม ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารงบประมาณ สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๒ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและการศึกษาวิถีใหม่ สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๕ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective 4: น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหาร จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (4.1) _______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล บริหารจัดการ งบประมาณและพัสดุ ตามความ เหมาะสมของโรงเรียน ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้ สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านการบริหารงบประมาณการเงิน การรับ- จ่าย การทาบัญชี การจัดซื้อ จัดจ้างและงานพัสดุลงทะเบียนต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ จึง ควรมีการพัฒนาคุณภาพงานการเงินและพัสดุของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนางานการเงิน การบัญชีและพัสดุให้เกิดความคล่องตัว ทันสมัย ถูกต้อง เกิดประโยชน์ สูงสุด 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพในด้านการบริหารงานการเงิน การบัญชีและพัสดุ 3. เพื่อจัดทาและจัดเก็บเอกสารทางการเงิน การบัญชีและพัสดุให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถ ตรวจสอบได้ ง่ายต่อการตรวจสอบค้นหา และนาข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวก ถูกต้องทันต่อ เหตุการณ์ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง เอกสารการเงิน การบัญชีและพัสดุ

จานวน 14 คน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 91 ~ 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ โรงเรียนมีการบริหารงานการเงิน การบัญชีและพัสดุ ที่ถูกต้อง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ประชุมคณะทางาน ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานการเงิน การบัญชีและ พัสดุ 3. จัดประชุมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4. ประเมินผล สรุป ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานทาง การเงิน การบัญชีและพัสดุ 5. รายงานผลการตรวจสอบประจาปี

ระยะเวลาดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔

หมายเหตุ

พ.ย. 6๔ – ส.ค. 6๕ ก.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๔,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุสานักงาน รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน

ใช้สอย

วัสดุ

รายจ่ายอื่น

รวมทั้งสิ้น

-

-

๔,000 ๔,000

-

๔,000 ๔,000

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วม กิจกรรม ร้อยละ 100 2. โรงเรียนมีเอกสารเกี่ยวกับการบริหารงาน การเงิน การบัญชีและพัสดุ ที่ถูกต้อง เป็น ระบบ ตรวจสอบได้

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา

 สารวจรายการ

 แบบสารวจรายการ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 92 ~ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. การบริหารงานการเงิน การบัญชีและพัสดุมีความคล่องตัว ทันสมัย ถูกต้อง เกิดประโยชน์สูงสุด 2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านการ บริหารงานการเงิน การบัญชีและพัสดุได้เป็นอย่างดี 3. โรงเรียนสามารถจัดทาและจัดเก็บเอกสารทางการเงิน การบัญชีและพัสดุให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ ง่ายต่อการตรวจสอบค้นหา และนาข้อมูลมาใช้ได้อย่างสะดวก ถูกต้องทัน ต่อเหตุการณ์ได้ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางอุไรวรรณ ประนอม) ครูชานาญการพิเศษ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางอุไรวรรณ ประนอม) หัวหน้าฝ่ายบริหารงบประมาณ

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 93 ~

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ฝ่ายบริหารบุคคล

      

โครงการทัศนศึกษาและศึกษาดูงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการพัฒนางานธุรการและประชาสัมพันธ์ โครงการพัฒนางานกิจการนักเรียน โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการโรงเรียนสุจริต โครงการปรับปรุงแผนกลยุทธ์และจัดทาแผนปฏิบัติการ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 94 ~ ชื่อโครงการ : ทัศนศึกษาและศึกษาดูงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารบุคคล สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๔ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ ๓ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และบุคลากรทางการศึกษา สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๓ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และบุคลากรทางการศึกษา สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 1 พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็น ครูยุคใหม่มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง _______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล จากการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคศตวรรษที่ 21 ครูต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและพัฒนาสมรรถนะ กลายเป็น ครู 4.0 เพื่อทาให้ นักเรียนกลายเป็นนักเรียน 4.0 ด้วยการเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะท าให้ นักเรียนได้รับทักษะที่จาเป็นสาหรับ ศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิด สร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทางานร่วมกันเป็นทีม การมีภาวะผู้นา การสื่อสาร การใช้ ข้อมูลและสารสนเทศ การติดต่อสื่อสารทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ การคิดคานวณ การ สร้างอาชีพและการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้น ต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการการพัฒนาทักษะทาง สังคม คุณธรรม จริยธรรม คารวธรรม การสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศและของ โลก การจัดการเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว การเป็นผู้ประกอบการใหม่ การรักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันภาวะโลกร้อน การยึดมั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณี และจรรยาบรรณวิชาชีพเข้าไปในทุกวิชาที่สอนด้วย ครู 4.0 จึงต้องรวมตัวกันทางานเพื่อพัฒนาทักษะและ การเรี ย นรู้ เ พื่ อ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ค รู เ พื่ อ ศิ ษ ย์ ไป โดยรวมตั ว กั น แลกเป ลี่ ย นเรี ย นรู้ จ ากประสบการณ์ ต รง ผ่านกิจกรรมการศึกษาดูงาน การทัศนศึกษายังแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การ จัดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกัลยาณมิตรทางการศึกษา เพื่อให้มีมุมมองใหม่มาปรับใช้ในการจัด การศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 7 ในมาตรา 52 บัญญัติไว้ว่า ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกากับและประสานให้สถาบันที่ทาหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจาการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โรงเรียนบ้านกลางเล็งเห็นความสาคัญในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความทันสมัย ก้าวทันต่อโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง จึง ได้กาหนดให้มีโครงการนี้ขึ้น อันจะส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการ ศึกษามีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีการพัฒนาตนเองให้มปี ระสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 95 ~ หน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ เพื่อนามาปรับปรุงการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาสมรรถนะและเปิดโลกทัศน์ทางการศึกษาให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนกับโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาและมีผลงาน เป็นเลิศได้ 3. เพื่อสร้างขวัญกาลังใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง จานวน 14 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง ได้รับการพัฒนาและมีสมรรถนะสอดคล้องกับ การศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 อันจะส่งให้โรงเรียนมีคุณภาพและมาตรฐานต่อไป ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อวางแผนจัดกิจกรรม 2. ประสานงานยังบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมทัศนศึกษาและศึกษาดูงานยังแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆ 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลาดาเนินงาน ต.ค. 6๔ – ธ.ค. 6๕ ม.ค. ๖๕ – ก.พ. 6๕ ก.พ. ๖๕ – ส.ค. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 96 ~ งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๓0,๑00 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ ประเภทรายจ่าย

กิจกรรม/รายการ

ตอบแทน

ใช้สอย

-

๒0,000 ๑๐,000

1. ค่าที่พัก 2. ค่าเบี้ยเลี้ยง 3. ค่าวัสดุสานักงาน รวม

๓๐,000

วัสดุ ๑00 ๑๐๐

รายจ่ายอื่น

รวมทั้งสิ้น

-

๒0,000 ๑๐,000 ๑00 ๓0,๑00

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วม กิจกรรม ร้อยละ 100 2. ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 90

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา

 ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะและเปิดโลกทัศน์ทางการศึกษา 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถนาแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนกับโรงเรียนต้นแบบ การจัดการศึกษาและมีผลงานเป็นเลิศมาปรับใช้ได้ 3. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญกาลังใจและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) ครูชานาญการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) หัวหน้าฝ่ายบริหารบุคคล

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 97 ~ ชื่อโครงการ : พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารบุคคล สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๔ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ ๓ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และบุคลากรทางการศึกษา สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๓ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และบุคลากรทางการศึกษา สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 1 พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็น ครูยุคใหม่มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง _______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ก า ร ศึ ก ษ า แ ห่ ง ช า ติ พ . ศ . 2542 แ ล ะ ที่ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม ( ฉ บั บ ที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 7 ในมาตรา 52 บัญญัติไว้ว่า ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกากับและประสานให้สถาบันที่ทาหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจาการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โรงเรียนบ้านกลางเล็งเห็นความสาคัญในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการ ศึกษาให้มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะ น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมือง พลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นาไปสู่การสร้างความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาครูให้มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะ น้อมนาหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมือง พลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นาไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ 2. เพื่อพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุค ลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้รับ การพัฒนา ศั ก ยภาพตามสมรรถนะวิ ช าชี พ และสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 รวมทั้ ง มี จ รรยาบรรณตาม มาตรฐานวิชาชีพได้ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง

จานวน 14 คน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 98 ~ 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง ได้รับการพัฒนาให้เป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพในการ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสมรรถนะ มีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดี มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพ ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อวางแผนจัดกิจกรรม 2. ประสานงานยังบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร  สมรรถนะ  เทคโนโลยีดิจิทัล  หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ทักษะของโลกในศตวรรษที่ 21  Active Learning  Professional Learning Community: PLC  Lesson Study  ฯลฯ 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลาดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ พ.ย. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๑๔,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 99 ~ ประเภทรายจ่าย

กิจกรรม/รายการ 1. ค่าตอบแทนวิทยากร 2. ค่าวัสดุการศึกษา รวม

ตอบแทน

ใช้สอย

วัสดุ

รายจ่ายอื่น

รวมทั้งสิ้น

-

๑๐,000 ๑0,000

๔,000 ๔,000

-

๑0,000 ๔,000 ๑๔,000

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา  สารวจรายชื่อ เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะ  ประเมินสมรรถนะ วิชาชีพสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 และ จรรยาบรรณวิชาชีพ  ประเมินผลการ ปฏิบัติงาน 3. ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม  ประเมินความพึงพอใจ ร้อยละ 90

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา  แบบประเมิน สมรรถนะ  แบบประเมินผลการ ปฏิบัติงาน  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ครูสามารถมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะ น้อมนาหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมือง พลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นาไปสู่ การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ 2. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาศักยภาพตาม สมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งมีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพได้ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ).......................... ................................... (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) ครูชานาญการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) หัวหน้าฝ่ายบริหารบุคคล

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 100 ~

ชื่อโครงการ : พัฒนางานธุรการและประชาสัมพันธ์ แผนงาน : ด้านคุณภาพ ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นางสาวณัฐนรี เส้งบรรทึก ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารบุคคล สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๔ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ ๓ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และบุคลากรทางการศึกษา สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๓ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และบุคลากรทางการศึกษา สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 1 พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็น ครูยุคใหม่มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง : Objective : 2 พั ฒ นาระบบข้ อ มู ล สารสนเทศเพื ่ อ การบริ ห ารสู่ ความเป็นเลิศ ______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล การบริหารงานธุรการและงานประชาสัมพันธ์ นับได้ว่าเป็นบันไดขั้นแรกในการทางานของหน่วยงาน ต่าง ๆ ในทุกระดับที่ต้องใช้การสื่อสารเป็น เครื่องมือ ในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย สาร ผู้ส่งสารและผู้รั บ สาร เจ้าหน้าที่ธุรการจะต้องเป็น สื่ อ ในการน าสารจากผู้ ส่ง สารไปยัง ผู้ รับ สาร เพื่อเข้ า สู่ กระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่การทางานตามภารกิจต่อไป เจ้าหน้าที่ธุรการต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถใน การปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างดีและมีคุณภาพ ดังนั้นโรงเรียนซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางการศึกษาจะต้องมีการ พัฒนาระบบการให้บริการที่ดีมีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้ าหมายได้อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการสานักงานทั้ง 4 ฝ่าย ให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้บริการทางการศึกษาได้คลอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวดเร็ว ทันสมัย 3. เพื่อพัฒนาระบบงานประชาสัมพันธ์ทางการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ สานักงานของโรงเรียน จานวน 1 ห้อง 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ โรงเรียนสามารถให้บริการทางการศึกษา สื่อสารประชาสัมพันธ์ และปฏิบัติงานได้อย่างเป็น ระบบและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 101 ~ ขั้นตอนการดาเนินการ ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔

กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ให้บริการทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ  งานสารบรรณ  งานประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา  งานปฏิคม  อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

หมายเหตุ

ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๗๗,๙00 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. คอมพิวเตอร์สานักงาน 2. วัสดุสานักงาน รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน -

ใช้สอย

วัสดุ - ๓๐,000 - ๓๐,000

รายจ่ายอื่น (ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

๔๗,๙00 ๔๗,๙00

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

รวมทั้งสิ้น ๔๗,๙00 ๓๐,000 ๗๗,๙00

~ 102 ~ การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ 1. โรงเรียนสามารถให้บริการทางการศึกษา สื่อสารประชาสัมพันธ์ และปฏิบัติงานได้ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 90

วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ระบบการบริหารจัดการสานักงานทั้ง 4 ฝ่าย มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ 2. โรงเรียนสามารถให้บริการทางการศึกษาได้คลอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวดเร็ว ทันสมัย 3. ระบบงานประชาสัมพันธ์ทางการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวณัฐนรี เส้งบรรทึก) เจ้าหน้าที่ธุรการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 103 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: พัฒนางานกิจการนักเรียน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี : ฝ่ายบริหารบุคคล : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก ข้อ ๑.๒ (2-3) มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสาคัญ ข้อ ๓.๑,๓.๒ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 3 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา _______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล การบริหารกิจการนักเรียน เป็นงานที่มีความสาคัญสาหรับการบริหารโรงเรียน เพราะการบริ หาร กิจการนักเรียนจะช่วยเสริมสร้ างคุณค่าให้กับนักเรียนนอกเหนือจากงานวิชาการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทาให้ นักเรียนที่เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนได้มีชีวิตที่ดีและมีความสุขในบรรยากาศที่เอื้ออานวยให้นักเรียนสามารถ เรียนรู้วิชาการต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และมีความเจริญงอกงามในบุคลิกภาพ ทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นการส่งเสริมเติมเต็ม คุณภาพของผู้เรียน สามารถนาความรู้ ความสามารถที่ได้ไปใช้จริง สามารถถ่ายโยงการเรียนรู้สู่การปฏิบัติได้จริง มีทักษะชีวิต ดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข ดังนั้นจึงถือเป็นภารกิจสาคัญในการพัฒนางานกิจการนักเรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดกิจกรรมนักเรียนที่มุ่งเน้นภาวะผู้นา ประชาธิปไตย และการกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ 2. เพื่อจัดระบบการปกครอง คุ้มครอง ดูแลช่วยเหลือ และแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน ให้สามารถ ดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 3. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่ดี และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ กั บ นักเรียนอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน จานวน 212 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 104 ~ ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมนักเรียน ได้แก่  สภานักเรียน/ประชาธิปไตยในสถานศึกษา  พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ชุมนุมทางวิชาการต่าง ๆ  รักษาความสะอาดและพัฒนาเขตพื้นที่บริเวณโรงเรียน  การอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาไทย  การแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์  จิตอาสาพัฒนา/โครงการพิเศษต่าง ๆ  ปฐมนิเทศนิเทศ/ปัจฉิมนิเทศนักเรียน  โรงเรียนปลอดขยะ ฯลฯ 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๕ ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6 ๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน 500 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 105 ~

กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุการศึกษา รวม การวัดและประเมินผลโครงการ 1. 2.

3.

4. 5.

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน

ใช้สอย

-

-

ตัวชี้วัดความสาเร็จ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร้อยละ 90 นักเรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและ จิตสานึก ตามที่สถานศึกษากาหนดโดยไม่ ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของ สังคม ร้อยละ 95 นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่า ของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาไทย ร้อยละ 95 นักเรียนสามารถอยู่ร่วมกันบนความ แตกต่างและหลากหลาย ร้อยละ 95 นักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วม กิจกรรม ร้อยละ 90

วัสดุ ๕00 ๕00

รายจ่ายอื่น

รวมทั้งสิ้น

-

๕00 ๕00

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ  ประเมินพฤติกรรม

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา  แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินพฤติกรรม

 แบบประเมิน พฤติกรรม

 ประเมินพฤติกรรม

 แบบประเมิน พฤติกรรม  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีภาวะผู้นา รู้จักการใช้ชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย และการกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ได้ 2. โรงเรียนสามารถจัดระบบการปกครอง คุ้มครอง ดูแลช่วยเหลือ และแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน ให้สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขได้ 3. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่ดี และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 106 ~

ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) ครูชานาญการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 107 ~ ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการต่อเนื่อง : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี : ฝ่ายบริหารบุคคล : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก ข้อ ๑.๒ (2-3) มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสาคัญ ข้อ ๓.๑,๓.๒ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 3 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะพร้อมปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา _______________________________________________________________________________

หลักการและเหตุผล สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่เด็กนักเรียนมีความใกล้ชิดมากที่สุด รองลงมาจากครอบครัว ผู้ปกครองให้ การยอมรั บ นั บ ถื อ ยกย่ อ งและ คาดหวั ง ว่ า จะได้ รั บ ความรู้ ก ารอบรมสั่ ง สอน การดู แ ลด้ ว ยการเอาใจใส่ สถานศึกษาจะต้องคานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กนักเรียนเป็นหลัก ให้เด็กนักเรียนได้อยู่ในสภาพแวดล้อม ทางการศึกษาที่มีความปลอดภัย การจัดการเรียนการสอนต้องครอบคลุม ทั้งด้านความรู้ทักษะ สมรรถนะ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทั้งสอนทักษะชีวิตที่จาเป็นสาหรับ การใช้ชีวิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ตรง ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือ มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้เป็น คนดีมีปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ นั่นคือเด็กนักเรียนได้รับการ พัฒนาให้เป็น “คนดีคนเก่ง มีความสุข” นอกจากนี้ครูจะต้องบูรณาการเนื้อหาความรู้และพัฒนา คุณภาพเด็ก นักเรียนให้มีความพร้อมอย่างเป็นองค์รวม โดยการเสริมสร้าง คุณภาพชีวิตเด็กนักเรียน และแก้วิกฤติทาง สังคม สถานศึกษาต้องจัดระบบงาน และกิจกรรมที่ส่งเสริมความประพฤติให้เหมาะสม ความรับผิดชอบ ต่อ สังคม และความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียน และนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเด็กนักเรียน โดยการนากระบวนการ ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอนได้แก่ การรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกัน และแก้ไขปัญหา และการส่งต่อไปใช้ใน ชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมและเด็กนักเรียนจะต้องได้รับการพิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง และดูแล โดยมี ผู้บริหาร สถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีในการดาเนินชีวิต การสร้างความ ปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียน เป็นบทบาทหน้าที่ ที่สาคัญที่สุดที่สถานศึกษาจะต้องดาเนินการ โดยต้องจัดให้ เหมาะกับ บริบทของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูเป็นผู้มีความสาคัญ ที่สุดในการขับเคลื่อนเพื่อ คุ้มครองดูแลเด็กนักเรียน และสถานศึก ษา เป็นสถานที่ที่มีความใกล้ชิดกับเด็กนักเรียน ดังนั้นในการสร้าง ความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียนจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับเด็ก นักเรียนอย่างแท้จริง สถานศึกษาต้อง ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กนักเรียนเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ด้วยการ สร้าง ความปลอดภัยในชีวิตของเด็กนักเรียน รวมทั้งการปกป้อง คุ้มครอง และช่วยเหลือเด็กนักเรียนจาก อันตรายต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้น โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลาในฐานะหน่วยงานทาง การศึกษาที่มีความใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุดจึงมีความตระหนักถึงการสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียน แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 108 ~ อันจะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนของเด็กนักเรียน สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ซึ่งจะนาไปสู่ การพัฒนาชีวิตที่ดีและเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการและ เครื่องมือที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานสามารถตรวจสอบได 2. เพื่อส่งเสริมให้ครูประจาชั้น ครูและบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน หน่วยงานและ องค์กรภายนอก มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3. เพื่อให้นักเรียนไดรับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นคนที่สมบูรณทั้ง ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปญ ั ญา เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน นักเรียน จานวน 212 คน ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและเอกชน จานวน 300 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ โรงเรียนมีกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วน สามารถดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนา นักเรียนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64

1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ดาเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ใน 5 องค์ประกอบ ดังนี้ ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕  การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  การคัดกรองนักเรียน  การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน  การป้องกันและแกไขนักเรียน  การส่งต่อ 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล เม.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 2/256๔ ก.ย. 6๕  ภาคเรียนที่ 1/256๕ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 109 ~ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๕00 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ

ตอบแทน

1. วัสดุสานักงาน รวม

-

ประเภทรายจ่าย วัสดุ/ รายจ่ายอื่น ใช้สอย ครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ฯลฯ) ๕00 ๕00 -

รวมทั้งสิ้น ๕00 ๕00

การวัดและประเมินผลโครงการ 1. 2.

3. 4.

ตัวชี้วัดความสาเร็จ บริหารจัดการให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของสถานศึกษาให้ชัดเจนและ มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90 มีการประสานงานความร่วมมือระหว่าง สถานศึกษากับหน่วยงานและ บุคคลภายนอก เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือ นักเรียน ร้อยละ 90 โรงเรียนผ่านการคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อ รับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90

วิธีวัดและประเมินผล  ประเมินการ ปฏิบัติงาน

เครื่องมือ  แบบประเมินการ ปฏิบัติงาน

 สารวจรายการ/ หนังสือขอความ อนุเคราะห์

 แบบสารวจรายการ/ หนังสือราชการ

 ผลการประเมิน

 แบบรายงานผลการ ประเมิน  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการและ เครื่องมือที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานสามารถตรวจสอบได แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 110 ~ 2. ครู ป ระจ าชั้ น ครู แ ละบุ ค ลากรในโรงเรี ยน ผู้ ป กครองนั ก เรีย น ชุ ม ชน หน่ ว ยงานและองค์ กร ภายนอก มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3. นักเรียนไดรับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็ นคนที่สมบูรณทั้งด้ าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปญ ั ญา ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) ครูชานาญการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 111 ~

ชื่อโครงการ แผนงาน ลักษณะโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ ผู้รับผิดชอบ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ สนองมาตรฐาน

: โรงเรียนสุจริต : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โครงการใหม่ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ : นายสนัน่ เหมชะรา : ฝ่ายบริหารบุคคล : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก ข้อ ๑.๒ (1-4) มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสาคัญ ข้อ ๓ (๑-4) สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 3 พั ฒ นาผู้ เ รี ย นให้ มี ส มรรถนะพร้ อ มปรั บ ตั ว ต่ อ การเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา : Objective : 4 น้ อ มน าหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู่ การบริหารจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ _______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล ตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 – 2564) โรงเรียนบ้านกลาง ได้ขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” ได้ดาเนินการตรมยุทธศาสตร์ว่าด้วย การป้องกันปราบปรามการทุจริต สร้างสังคมไม่ทน ต่อการทุจริต พัฒนาระบบ ป้องกันการทุจริตเชิงรุก เพื่อพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหารและนักการของโรงเรียน บ้านกลาง ให้เกิดคุณลักษณะ5 ประการ ของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงและจิต สาธารณะ โดยการดาเนินการตามแนวท่งของปฏิญญาโรงเรียนสุจริตทั้ง 3 ด้าน ด้าน การป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนบูรณาการ การป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดาเนินกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุจริต 2. เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนสุจริต ประยุกต์ใช้หลักทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมในการดาเนินชีวิตและ ต่อต้าน การทุจริต เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน นักเรียน จานวน 212 คน ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและเอกชน จานวน 300 คน แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 112 ~ 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง นักเรียนและผู้ปกครอง มีความสุจริตทุกคน มีทัศนคติและค่านิยม ไม่ยอมรับการทุจริต ตระหนัก เข้าใจ คิดอย่างมีเหตุผล มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีมีค่านิยมที่ ถูกต้อง รังเกียจคนโกงพร้อมเป็นคนดีที่ไม่โกง ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ดาเนินกิจกรรม -กิจกรรมบริษัทสร้างการดี -กิจกรรม “ค่ายคนดีของแผ่นดิน” -กิจกรรมป.ป.ช.น้อยและป.ป.ช.ชุมชน -กิจกรรมนิเทศ ติดตาม -การประเมิน ITA ของโรงเรียนสุจริต -การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน อนุบาล2 –ป.6 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64 ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน 1,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 113 ~

กิจกรรม/รายการ

ตอบแทน

1. วัสดุสานักงาน รวม

-

ประเภทรายจ่าย วัสดุ/ รายจ่ายอื่น ใช้สอย ครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ฯลฯ) 1,000 1,000 -

รวมทั้งสิ้น 1,000 1,000

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ 1. ร้อยละ 90 ร้อยละของบุคลากรที่เข้าร่วม  สอบถาม/ประเมินการ  แบบสอบถาม/แบบ กิจกรรมมีทัศนคติและค่านิยม ไม่ยอมรับ ปฏิบัติงาน ประเมินการ การทุจริต ปฏิบัติงาน 2. ร้อยละ 90 พัฒนาการดาเนินกิจกรรมตาม  ประเมินการ  แบบสอบถาม/แบบ เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุจริต ปฏิบัติงาน ประเมินการ ปฏิบัติงาน 3. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนวัดโคกม่วง สามารถประยุกต์ใช้หลักทักษะกระบวนการคิด มี วินัย ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมในการดาเนินชีวิตและต่อต้านการ ทุจริตตาม เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุจริต 2. เกิดเครือข่ายชุมชน การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................... .............................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 114 ~ ชื่อโครงการ : ปรับปรุงแผนกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติกำร แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารบุคคล สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.๒ สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ ๖ พัฒนาระบบบริหารและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๖ พัฒนาระบบบริหารและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 1 พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็น ครูยุคใหม่มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง : Objective : 3 พั ฒ นาผู้ เ รี ย นให้ มี ส มรรถนะพร้ อ มปรั บ ตั ว ต่ อ การ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา _______________________________________________________________________________ หลักการและเหตุผล พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ. 2546 กาหนดให้ ส่วนราชการดาเนินการ หมวด 3 มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทาแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ โดย จัดทาแผนพัฒนาการศึกษาระยะปานกลาง ซึ่งจะต้องสอดคลองกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 13 ในแต่ละปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทาแผนปฏิบัติราชการประจาปี โดยให้ระบุสาระสาคัญเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานรวมทั้งประมาณการรายไดและ รายจ่าย และทรัพย์สินอื่นที่ต้องใช้ และหมวด 4 มาตรา 20 เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่ วนราชการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สวนราชการกาหนดป้าหมาย แผนการทางาน ระยะเวลาแล้วเสร็ จของงานหรือ โครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชน ทราบทั่ ว กั น ด้ ว ย อนึ่ ง แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจ าปี เ ป็ น แผนที่ เ กิ ด จากการน านโยบายของรั ฐ บาล กระทรวงศึกษาธิการ และสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาแปลงเป็นโครงการเพื่อนาไปสู่การ ปฏิบัติให้เกิดผลเป็น รูปธรรมมากที่สุด และเพื่อให้เห็นถึงกรอบทิศทางการทางานเชิงยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ว่าสามารถขับเคลื่อนไปสู สิ่งที่ต้องการไดมากน้อยเพียงใด โดยไดกาหนด ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิง ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย กลยุทธ์ หลักและผู้รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน โรงเรี ยนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกากับดูแลของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จึงไดจัดทาโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทาแผนพัฒนาการศึกษา เพื่อตอบสนองนโยบายการศึกษาทุกระดับได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 115 ~ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกาหนดทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาทุกระดับ 2. เพื่อกาหนดรายละเอียดแผนงาน โครงการ กิจกรรม ในการจัดทาพัฒนาการศึกษา 3. เพื่อนาแผนการพัฒนาการศึกษามาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษา เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง จานวน 14 คน แผนพัฒนาการศึกษา จานวน 5 เล่ม 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ โรงเรียนมีแผนพัฒนาการศึกษาที่สามารถตอบสนองนโยบายการศึกษาในทุกระดับได้ ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ประชุมคณะทางาน ยกร่างแผนพัฒนาการศึกษา 2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3. จัดทาแผนพัฒนาการศึกษา 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลาดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 6๔ ต.ค. ๖๔ – พ.ย. 6๔

หมายเหตุ

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน 5,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. ค่าวัสดุสานักงาน รวม

ประเภทรายจ่าย ตอบแทน

ใช้สอย

วัสดุ

รายจ่ายอื่น (ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

5,000 5,000 แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

รวมทั้งสิ้น 5,000 5,000

~ 116 ~

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วม กิจกรรม ร้อยละ 100 2. โรงเรียนมีแผนพัฒนาการศึกษาที่สามารถ สนองนโยบายการศึกษาทุกระดับ และ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

วิธีวัดและประเมินผล  สารวจรายชื่อ

เครื่องมือ  บัญชีลงเวลา

 สารวจรายการ

 แบบสารวจรายการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. โรงเรียนสามารถกาหนดทิศทางการจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาทุกระดับ 2. แผนการพัฒนาการศึกษามีรายละเอียดแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ชัดเจน วัดผลได้ 3. โรงเรียนสามารถนาแผนการพัฒนาการศึกษามาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) หัวหน้าฝ่ายบริหารบุคคล

(ลงชื่อ)............................................................. (นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี) หัวหน้าฝ่ายบริหารบุคคล

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ฝ่ายบริหารทั่วไป

     

โครงการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมสุขภาพ โครงการวันสาคัญของชาติ โครงการสัมพันธ์ชุมชน โครงการวิถีบ้านกลางวิถีพอเพียง โครงการสถานศึกษาปลอดภัย

~ 118 ~ ชื่อโครงการ : ปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นายสนัน่ เหมชะรา ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารทั่วไป สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.5 สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๕ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นสิ่งแวดล้อม สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 4 น้ อ มน ำหลั ก ปรั ช ญำของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ก ำร บริหำรจัดกำรศึกษำเพื่อควำมเป็นเลิศ หลักการและเหตุผล โรงเรียนบ้านกลาง เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง มีครู-บุคลากร จานวน 14 คน มีห้องเรียน 8 ห้องเรียน นักเรียนจานวน 212 คน โรงเรียนได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2516 ได้ดาเนินการจัดการเรียนการสอน มาถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2562 เป็นระยะเวลา 47 ปี ห้องเรียน อาคารเรียน ตลอดอาคารประกอบต่าง ๆ ต่างได้ มีความชารุด เสียหาย ไปตามกาลเวลาและตามการใช้งาน สภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่เป็นสิ่งสาคัญและ ช่วยส่งเสริมในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดสภาพแวดล้อม การซ่อมแซมอาคาร สถานและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การปรับภูมิทัศน์ และแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของ นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง และผู้ใช้บริการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หรือใช้อาคารสถานที่ต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมให้บริการแก่ชุมชน สภาพของอาคารเรียนต้องมีความแข็งแรงทนทาน และพร้อมใช้งาน จึง ต้องดาเนินการจัดทาโครงการดังกล่าว เพื่อให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข พร้อมทั้งมีแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่หลากหลาย มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอาคารเรียนที่มีความปลอดภัย ระบบสาธารณูปโภคที่สมบูรณ์ ดังนั้น งานอาคารสถานที่ จึงจาเป็นจะต้องซ่อมแซม พัฒนา ปรับปรุงให้พร้อมใช้งาน เกิดความปลอดภัยสูงสุด เพียงพอกับความต้องการ ของโรงเรียน และชุมชนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งผลให้โรงเรียนและนักเรียนมีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร สถานศึกษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานการศึกษา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้อาคารเรียน อาคารประกอบ และบริเวณโรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มั่นคง และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนได้ 2. เพื่อพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียนให้มีความสวยงาม ปลอดภัย มั่นคง พร้อมใช้งานอยู่เสมอ สามารถให้บริการทางการศึกษาแก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 119 ~ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ อาคาเรียน/อาคารเรียนประกอบ จานวน 7 หลัง สวนหย่อมและบริเวณโดยรอบโรงเรียน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ อาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีเหมาะสม ทันสมัย สามารถใช้งานได้อย่ างมี ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 อันจะส่งให้โรงเรียนมีคุณภาพและมาตรฐาน ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64 ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๙๐,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 120 ~ ประเภทรายจ่าย

กิจกรรม/รายการ

ตอบแทน

1. จัดทาประตูเหล็ก อาคารเรียน ปฐมวัย 2. กั้นผนัง ติดตั้งประตู ห้องประชุม สานักงาน 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม 4. ซ่อมบารุงอาคารเรียนและอาคาร ประกอบ ครุภัณฑ์การศึกษา รวม

ใช้สอย

รายจ่ายอื่น

วัสดุ

- 25,000

-

- 23,560

(ครุภัณฑ์ ฯลฯ)

รวมทั้งสิ้น

-

25,000

-

-

23,560

- ๓๕,000 -

๖,440

-

๓๕,000 ๖,440

- ๘๓,๕๖๐

๖,440

-

๙๐,000

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ 1. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่  สารวจรายการ  แบบสารวจรายการ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย ร้อยละ 90 2. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. อาคารเรียน อาคารประกอบ และบริเวณโรงเรียน มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มั่นคง และ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียน 2. พื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน มีความสวยงาม ปลอดภัย มั่นคง พร้อมใช้งานอยู่เสมอ สามารถให้บริการทางการศึกษาแก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 121 ~ ชื่อโครงการ : ส่งเสริมสุขภาพ แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นางสาวอภิญญา คงสุวรรณ ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารทั่วไป สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ ๑.๒ (๔) สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๕ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นสิ่งแวดล้อม สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 4 น้ อ มน ำหลั ก ปรั ช ญำของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ก ำร บริหำรจัดกำรศึกษำเพื่อควำมเป็นเลิศ หลักการและเหตุผล การพัฒนาเด็กและเยาวชน จาเป็นต้องกาหนดเป้าหมายให้ชัดเจนโดยเฉพาะด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นความ จาเป็นพื้นฐานสาคัญในการดารงชีวิต หากเด็กมีพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญา และจิตใจที่สมบูรณแข็งแรง มี ทั ก ษะสามารถดู แ ลสุ ข ภาพตนเองและมี พฤติ กรรมที่ เ หมาะสม และมี ค วามพรอมในการเรี ยนรู ย่ อมส่ง ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้นาแนวคิดและกลยุทธ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประเทศไทยโดย กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับสานักงาน ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEARO) ขององค์การอนามัยโลก จัดประชุม Intercountry Consultation on Health Promoting School เมือ่ วันที่ 2-5 ธันวาคม 2540 ณ กรุงเทพมหานคร โดยลักษณะการทางาน อยูบ่ นพื้นฐาน การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน องค์กร และประชาชนในชุมชน และได้มีการพัฒนา โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือ โรงเรียนที่มีความร่วมมือร่วม ใจกันพัฒนาพฤติกรรมและสิ่ ง แวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพอย่างสม่าเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดีของทุกคนใน โรงเรียน การดาเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นการพัฒนาที่มีความครอบคลุมทุกมิติด้ านสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม โดยสร้างกระบวนการเรียนรู ร่วมกันของทุกคนทั้งในโรงเรียนและชุมชนให้สามารถนาความรูและ ทักษะด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน ด้ วยการดูแลใสใจสุขภาพของตนเองและผู้ อื่น รวมทั้ ง สามารถตัดสินใจในการควบคุมสภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะนักเรียนจะไดรับการปลูกฝัง ทัศนคติ ฝึกทักษะและพฤติกรรมสุขภาพที่ เหมาะสม สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอยู่ ใน สิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย ดังนั้นโรงเรียนบ้านกลางตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนจึงได้ จัดทาโครงการนี้ อันจะส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสั งคมอย่างมี ความสุข วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 122 ~ 2. เพื่อดาเนินงานตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรี ยน ส่งเสริมสุขภาพ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน นักเรียน จานวน 212 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดอี ยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย มีคุณภาพชีวิต ที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 3. สร้างความสนับสนุนของชุมชนและท้องถิ่น 4. จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน 5. จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา 6. จัดทาแผนปฏิบัติการ และจัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 7. ดาเนินงานตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ ได้แก่  องค์ประกอบที่ 1 นโยบายของโรงเรียน  องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการในโรงเรียน  องค์ประกอบที่ 3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน  องค์ประกอบที่ 4 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ  องค์ประกอบที่ 5 บริการอนามัยโรงเรียน  องค์ประกอบที่ 6 สุขศึกษาในโรงเรียน  องค์ประกอบที่ 7 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย  องค์ประกอบที่ 8 การออกกาลังกาย กีฬา และนันทนาการ  องค์ประกอบที่ 9 การให้คาปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม  องค์ประกอบที่ 10 การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน 8. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64 ต.ค. 64

ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 123 ~ 9. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน/สถานพยาบาล 3. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๒,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ

ตอบแทน

1. วัสดุสานักงาน รวม

-

ประเภทรายจ่าย วัสดุ/ รายจ่ายอื่น ใช้สอย ครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ฯลฯ) - ๒,000 - ๒,000 -

รวมทั้งสิ้น ๒,000 ๒,000

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ 1. นักเรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิต สังคมที่ดี ร้อยละ 95 2. โรงเรียนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 3. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90

วิธีวัดและประเมินผล  ประเมินพฤติกรรม

เครื่องมือ  แบบประเมิน พฤติกรรม  ผลการประเมิน  รายงานผลการ ประเมิน  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี 2. โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 124 ~ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางสาวอภิญญา คงสุวรรณ) ครูชานาญการพิเศษ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 125 ~ ชื่อโครงการ : วันสาคัญของชาติ แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นางนิธิกาญจน์ ชาตโร ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารทั่วไป สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.5 สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ ๕ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นสิ่งแวดล้อม สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 4 น้ อ มน ำหลั ก ปรั ช ญำของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ก ำร บริหำรจัดกำรศึกษำเพื่อควำมเป็นเลิศ หลักการและเหตุผล ในแต่ละปีประเทศไทยจะมีวันสาคัญของชาติหลายวันด้วยกัน ทั้งที่เป็นวันสาคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวันสาคัญทางประเพณี ซึ่งในจานวนวันเหล่านี้ รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นหยุดราชการ อาทิ วันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันจักรี วันสงกรานต์ วันฉัตรมงคล เป็นต้น ซึ่ง วันสาคัญ หมายถึง วันที่เกิด เหตุการณ์สาคัญ ๆ ในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสาคัญของวันนั้น ๆ รัฐ /ชุมชน หรือหน่วยงาน จึงได้ จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชน หรือคนในสังคมได้ตระหนัก และ ระลึกถึงเหตุการณ์สาคัญในวันนั้น ด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม สืบทอดต่อกันมา และเพื่อให้เยาวชนของไทยได้รู้จักวันสาคัญของไทย โรงเรียนบ้านกลาง ได้ตระหนักถึงความ เป็นมาของชาติบ้านเมืองจึงได้จัดให้มีโครงการนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักและระลึกถึงความสาคัญของวันสาคัญต่าง ๆ ของชาติ 2. เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้นักเรียนได้เกิดความภาคภูมิใจ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงาม 3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย สมัครสมานสามัคคี มีความรักในสถาบัน หลั ก ของชาติ ยึ ด มั่ น การปกครองในระบอบประชาธิป ไตยอั นมี พ ระมหากษั ต ริ ย์เ ป็ นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ

จานวน 14 คน จานวน 212 คน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 126 ~ นักเรียนมีความตระหนัก รู้จักคุณค่าและประโยชน์ ตลอดจนการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความ ภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย สมัครสมานสามัคคี มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึ ดมั่นการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมวันสาคัญต่าง ๆ ของชาติ อาทิ วันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันจักรี เทศกาลวันสงกรานต์ วันฉัตรมงคล วันฮารีรายอ เป็นต้น 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/2564 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64

หมายเหตุ

ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๕,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. วัสดุสานักงาน รวม

ตอบแทน -

ประเภทรายจ่าย วัสดุ/ รายจ่ายอื่น ใช้สอย ครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ฯลฯ) - ๕,000 - ๕,000 -

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

รวมทั้งสิ้น ๕,000 ๕,000

~ 127 ~ การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ 1. การเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน  การเข้าร่วมกิจกรรม  บัญชีลงเวลาเข้าร่วม ร้อยละ 90 กิจกรรม 2. นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่า  สอบถามความคิดเห็น  แบบสอบถามความ ของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ คิดเห็น วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาไทย ร้อยละ 90 3. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีความตระหนักและระลึกถึงความสาคัญของวันสาคัญต่าง ๆ ของชาติ 2. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงาม 3. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย สมัครสมานสามัคคี มีความรักในสถาบันหลัก ของชาติ ยึ ด มั่ น การปกครองในระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย์ เ ป็ น ประมุ ข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นางนิธิกาญจน์ ชาตโร) ครูชานาญการพิเศษ

(ลงชื่อ).................................................. ........... (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 128 ~

ชื่อโครงการ : สัมพันธ์ชุมชน แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นายสนัน่ เหมชะรา ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารทั่วไป สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.5 สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 4 น้ อ มน ำหลั ก ปรั ช ญำของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ก ำร บริหำรจัดกำรศึกษำเพื่อควำมเป็นเลิศ หลักการและเหตุผล โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด โรงเรียนเป็นแหล่งให้ความรู้และ ประสบการณ์ชีวิตแก่เยาวชนและสมาชิกในชุมชน ในการศึกษาหาความรู้นั้น นอกจากโรงเรียนได้จัดการเรียน การสอนแล้ว นักเรียนยังสามารถเรียนรู้ได้จากสาระการเรียนรู้อื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม ความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีอยู่มากมายในชุมชน โรงเรียนจาเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนบ้านกลางจึงได้ดาริโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้การจัดการศึกษา เป็นไปตามความต้องการของชุมชน ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และเสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ให้แก่ชุมชน 2. เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ ชุ ม ชนมี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด การศึ ก ษาได้ อ ย่ า งหลากหลายและสร้ า งสรรค์ เอื้ออานวยให้โรงเรียนดาเนินกิจการต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี 3. เพื่อฟื้นฟูและรักษาวัฒนธรรมของชุมชน สร้างความกลมกลืนระหว่างบ้านกับโรงเรียน เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน นักเรียน จานวน 212 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 129 ~ บุคลากรภายในโรงเรียนกับประชาชนในพื้นที่มีการสานความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เกิดความรู้สึกหวง แหนและเกิ ด ความรู้สึ ก เป็ นเจ้ าของ ร่ ว มมื อ กั นพั ฒนาการศึ กษาของโรงเรีย นให้ ก้า วหน้า ทั นสมั ยต่ อการ เปลีย่ นแปลงของสังคมโลกต่อไป ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชม ได้แก่  จัดการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จัดตั้ง/จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง/ คณะกรรมการชมรมศิษย์เก่า/คณะกรรมการผู้ปกครองและครู อื่น ๆ ตามความเหมาะสม  ให้บริการทางการศึกษาแก่ชุมชนด้วยกิจกรรมที่หลากหลายและ สร้างสรรค์  ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน  ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร สร้างความเข้าใจ เสนอรายงานการจัด การศึกษาให้ประชาชนรับทราบในรูปแบบต่าง ๆ 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64 ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน 7๖๓.๔๙ บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 130 ~

กิจกรรม/รายการ

ตอบแทน

1. วัสดุสานักงาน รวม

-

ประเภทรายจ่าย วัสดุ/ รายจ่ายอื่น ใช้สอย ครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ฯลฯ) - 7๖๓.๔๙ - 7๖๓.๔๙ -

รวมทั้งสิ้น ๗๖๓.๔๙ 7๖๓.๔๙

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือ 1. การเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน  การเข้าร่วมกิจกรรม  บัญชีลงเวลาเข้าร่วม ร้อยละ 90 กิจกรรม 2. นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่า  สอบถามความคิดเห็น  แบบสอบถามความ ของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ คิดเห็น วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาไทย ร้อยละ 90 3. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90  ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. โรงเรียนกับชุมชนมีความสัมพันธภาพอันดีระหว่าง ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและร่วมกันจัด การศึกษาอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้อย่างหลากหลายและสร้างสรรค์ เอื้ออานวยให้โรงเรียน ดาเนินกิจการต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี 3. โรงเรี ย นสามารถฟื้น ฟูแ ละรั กษาวั ฒนธรรมของชุ ม ชน สร้ า งความกลมกลื น ระหว่า งบ้ านกับ โรงเรียน ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 131 ~ ชื่อโครงการ : วิถีบ้านกลางวิถีพอเพียง แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นายสนัน่ เหมชะรา ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารทั่วไป สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.5 สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ข้อที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ข้อที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 4 น้ อ มน ำหลั ก ปรั ช ญำของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ก ำร บริหำรจัดกำรศึกษำเพื่อควำมเป็นเลิศ หลักการและเหตุผล จากวิกฤตปัญหาของชาติทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลได้น้อมนาหลักปรัชญา พระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ พัฒนาประเทศ โดยกาหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 76 และมาตรา 83 (1) และกาหนดเป็นกลยุทธ์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดนโยบายในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา โดยมีขอบข่ายการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหาร จัดการ 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ 4) ด้าน พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้กาหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ข้อที่ 5 ในจานวน 8 ข้อ คือ “อยู่อย่างพอเพียง” โรงเรียนบ้าน กลาง ตระหนักเห็นความสาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ปลูกฝังการดาเนินชีวิตตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกลางจึงได้กาหนดเป็นจุดเน้นที่สาคัญเพื่ อปลูกฝังคุณธรรม ความสานึกในความเป็นชาติ ไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นกรอบแนวทาง และใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียง สามารถพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับ นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านกลางได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 132 ~ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2. เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกระดับชั้น 3. เพื่ อ ให้ นั ก เรี ย น ครู แ ละบุ ค ลากรน าความรู้ ห ลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งไปปรั บ ใช้ ใ น ชีวิตประจาวัน 4. เพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนโดยทั่วไป เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน นักเรียน จานวน 212 คน ประชาชนทั่วไป จานวน 300 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียน ครูและบุคลากร ประชาชน มีทักษะชีวิต เกิดกระบวนการคิด มีคุณธรรม ความสานึกในความ เป็นชาติไทย และดาเนินชีวิตโดยน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิ จพอเพียงมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและ ยั่งยืน ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64

1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ปรับปรุงหลักสูตรและการบริหารงานวิชาการ โดยนาหลักปรัชญาของ ต.ค. 6๔ – เศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น ส.ค. 6๕ 4. ครูจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5. ปรับปรุงพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้สามารถรองรับกิจกรรมการนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ ได้แก่  ฟาร์มตัวอย่างวิถีโรงเรียนบ้านกลางวิถีพอเพียง  ห้องเรียน อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในโรงเรียน  ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 133 ~ 6. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

7. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. เกษตรอาเภอเมือง ที่ว่าการอาเภอเมือง หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน ๘,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. ป้ายนิทรรศการ 2. วัสดุสานักงาน 3. จัดทาโครงเหล็กผักซุ้มโค้ง รวม

ตอบแทน -

ประเภทรายจ่าย วัสดุ/ รายจ่ายอื่น ใช้สอย ครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ฯลฯ) - 3,000 - ๒,000 ๓,000 ๓,000 ๕,000 -

รวมทั้งสิ้น 3,000 ๒,000 ๓,000 ๘,000

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล 1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบ  สารวจการเข้าร่วม บูรณาการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ กิจกรรม พอเพียงทุกระดับชั้น ร้อยละ ๑๐๐

เครื่องมือ  แบบสารวจการเข้า ร่วมกิจกรรม

2. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยใช้  ประเมินคุณลักษณะที่  แบบประเมิน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่าง พึงประสงค์ คุณลักษณะที่พึง มีประสิทธิภาพ ร้อยละ ๑๐๐ ประสงค์ 3. นักเรียน ครูและบุคลากร นาความรู้หลัก  สอบถามการนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ใน ความรู้ไปปรับใช้ ชีวิตประจาวัน ร้อยละ ๑๐๐

 แบบสอบถามการนา ความรู้ไปปรับใช้

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 134 ~ 4. โรงเรียนผ่านการประเมินขับเคลื่อน สถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การ เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงด้านการศึกษา 5. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90

 ผลการประเมิน

 รายงานการประเมิน

 ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุก ระดับชั้น 3. นักเรียน ครูและบุคลากรนาความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจาวัน 4. โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ให้บริการทาง การศึกษาแก่ประชาชนโดยทั่วไป ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 135 ~ ชื่อโครงการ : สถานศึกษาปลอดภัย แผนงาน : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะโครงการ : โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดาเนินการ : ตุลาคม 256๔ ถึง กันยายน 256๕ ผู้รับผิดชอบ : นายสนัน่ เหมชะรา ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบ : ฝ่ายบริหารทั่วไป สนองมาตรฐาน : มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อ ๒.5 สนองประเด็นกลยุทธ์ สพป.สข.๑ : ข้อที่ ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ข้อที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนองประเด็นกลยุทธ์ โรงเรียน : ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ข้อที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนอง OKRs ระดับสถานศึกษา : Objective : 4 น้ อ มน ำหลั ก ปรั ช ญำของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ก ำร บริหำรจัดกำรศึกษำเพื่อควำมเป็นเลิศ หลักการและเหตุผล จากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เ ป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลกระทบต่อเด็ก และ เยาวชนในสถานศึกษา การจัดระบบความปลอดภัยของสถานศึกษาถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อคุ ณภาพ การเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะประสบความส าเร็ จหรือไม่เพียงใดขึ้น อยู่ กั บ ความสุขในการเรียนรู้ และการมีชีวิตที่ได้รับการปกป้องคุ้ มครองให้มีความปลอดภัย มีความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ดังนั้นโรงเรียนบ้านกลางจึงตระหนักถึงการจัดระบบความปลอดภัยของ สถานศึกษาเพื่อ ให้ ส ามารถดู แ ลช่ว ยเหลือ ผู้เ รียนได้ อย่ างทั่ วถึง และมีประสิ ทธิภ าพ มีแนวปฏิบัติเกี่ ย วกั บ เกี่ยวกับระบบการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษาอย่างชัด เจน สามารถปฏิบัติได้จริงเป็นรูปธรรม ป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานให้ เกิดขึ้นภายในสถานศึกษา 2. เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้รู้ถึงความเสี่ยงภัยของตนโดยเฉพาะใน พื้นที่ และสามารถวางมาตรการ วิธีการที่เหมาะสมตลอดจนสามารถดูแลผลกระทบเมื่อเกิดภัย พิบัติจากธรรมชาติ 3. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เ ป็นต้น แบบการด าเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานศึ กษาให้ มี ประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ 136 ~ เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 14 คน นักเรียน จานวน 212 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นั ก เรี ย น ครู แ ละบุ ค ลากร มี ค วามปลอดภั ย มี ค วามรู้ สึ ก อบอุ่ น มั่ น ใจ ทั้ ง ภายในและภายนอก สถานศึกษา ขั้นตอนการดาเนินการ กิจกรรม 1. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ/ประชุมคณะทางานเพื่อวางแผนดาเนินงาน 2. กาหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา 3. จัดทาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ติดต่อประสานงานยังบุคคลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ดาเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ อุบัติภัย และปัญหาทางสังคม ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ  อุบัติเหตุจากอาคารเรียนอาคารประกอบ  อุบัติเหตุจากบริเวณสถานศึกษา  อุบัติเหตุจากสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา  อุบัติเหตุจากเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ  อุบัติเหตุจากการเดินทาง ไป-กลับ ระหว่างบ้านและสถานศึกษา  อุบัติเหตุจากยานพาหนะพานักเรียนไปทัศนศึกษานอก สถานศึกษา  อุบัติเหตุจากนานักเรียนร่วมกิจกรรมสาคัญ ด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัย  อัคคีภัย  วาตภัย ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม  การล่วงละเมินทางร่างกายและจิตใจ  การทาร้ายตัวเองและการฆ่าตัวตาย  สารเสพติด  การอุปโภคและบริโภค  การทะเลาวิวาท

ระยะเวลา ดาเนินงาน ต.ค. 6๔ ต.ค. 64 ต.ค. 6๔ – ส.ค. 6๕

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

หมายเหตุ

~ 137 ~  การถูกล่อลวงและลักพา  สื่อลามกอนาจาร  อบายมุข  พฤติกรรมชู้สาว  อินเตอร์เน็ตและเกม ด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน ด้านสัตว์มีพิษ 4. นิเทศ กากับ ติดตาม และประเมินผล  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕ 5. รายงานผลการดาเนินงาน  ภาคเรียนที่ 2/256๔  ภาคเรียนที่ 1/256๕

เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕ เม.ย. 6๕ ก.ย. 6๕

สถานที่ดาเนินโครงการ 1. โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา 2. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ 1. ใช้งบประมาณจาก เงินอุดหนุน จานวน 1,000 บาท (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 2. รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม/รายการ 1. วัสดุสานักงาน รวม

ตอบแทน -

ประเภทรายจ่าย วัสดุ/ รายจ่ายอื่น ใช้สอย ครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ฯลฯ) - 1,000 - 1,000 -

รวมทั้งสิ้น

การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสาเร็จ วิธีวัดและประเมินผล 1. นักเรียน ครูและบุคลากร มีความปลอดภัย  ประเมินพฤติกรรม อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมภายใน สถานศึกษา ร้อยละ ๑๐๐ 2 โรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินสถานศึกษา  ประเมินผลการ ปลอดภัย ร้อยละ 100 ดาเนินงาน

เครื่องมือ  แบบประเมิน พฤติกรรม  รายงานการ ประเมินผล

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

1,000 1,000

~ 138 ~ 3. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 90

 ประเมินความพึงพอใจ  แบบประเมินความพึง พอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นั ก เรี ย น ครู แ ละบุ ค ลากร เกิ ด ความตระหนั ก ด้ า นความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และ สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา 2. นักเรียน ครูและบุคลากร รู้ถึงความเสี่ยงภัยของตนโดยเฉพาะในพื้นที่ และสามารถวางมาตรการ วิธีการที่เหมาะสมตลอดจนสามารถดูแลผลกระทบเมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ 3. สถานศึกษาเป็นต้นแบบการดาเนินการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ผู้เสนอโครงการ

ผู้เห็นชอบโครงการ

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

(ลงชื่อ)............................................................. (นายสนั่น เหมชะรา) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๓๙ ~

ภาคผนวก

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๔๐ ~

คาสั่งโรงเรียนบ้านกลาง ที่ 68 /25๖4 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทาแผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖5 ----------------------------------------------------โรงเรียนบ้านกลาง สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 กาหนดประชุมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ จั ด ท าแผนพั ฒ นาการศึ ก ษาของโรงเรี ย นบ้ า นกลาง เพื่ อ จั ด ท าแผนปฏิ บั ติ ก าร ประจ าปี งบประมาณ 2565 ของโรงเรียนบ้านกลาง เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการการบริหารและจัดการของ โรงเรียน การปฏิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนเพื่อให้ฝ่าย/งาน/กลุ่มงานต่าง ๆ ใช้เป็นกรอบแนวทางในการ ขับเคลื่อนนโยบายสู การปฏิบัติให้ สอดคลองกับนโยบายการบริหารงานของสานักงานเขตพื้นที่การศึ ก ษา ประถมศึ ก ษาสงขลา เขต 1 ส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ นพื้ น ฐาน กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ นอกจากนี้ยังได้ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตาม มาตรฐานการศึกษาของชาติทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ สถานศึ ก ษาใช้ เ ป็ น หลั ก ในการเที ย บเคี ย งในการด าเนิ น การประกั น คุ ณ ภาพภาย ในสถานศึ ก ษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในมาตรา 48 โรงเรียนได้ทาการ ประชุมปฏิบัติการตรวจสอบ สรุป ทบทวน และประเมินผลการจัดการศึกษาที่ได้ดาเนินงานผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้การดาเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ จึงอาศัยอานาจตามความในมาตรา 39 (1) แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร พ.ศ. 2546 และมาตรา 27 แห่ ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา พ.ศ. 2547 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการ ดาเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1. คณะกรรมการอ านวยการ มี ห น้ า ที่ ให้ ค าปรึ ก ษา ให้ ก ารสนั บ สนุ น การด าเนิ น งานของ คณะกรรมการ และร่วมแก้ปัญหา ให้ข้อเสนอแนะ แนะนาแนวทางการดาเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และ ประสบความสาเร็จตามเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) นายธราเดช มหปุญญานนท์ ผู้อานวยการโรงเรียน ประธานกรรมการ ๒) นางอุไรวรรณ ประนอม ครูชานาญการพิเศษ กรรมการ 3) นางนาฏยา เพ็งมาก ครูชานาญการพิเศษ กรรมการ 4) นางสาวมีนา บินหลี พนักงานราชการ กรรมการ 5) นายสนั่น เหมชะรา พนักงานราชการ กรรมการ 6) นายมูฮัมหมัด หมาดอี ครูชานาญการ กรรมการและเลขานุการ

///... 2. คณะกรรมการ แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

~ ๑๔๑ ~ 2. คณะกรรมการดาเนินงานจัดทาแผนกลยุทธ์ มีหน้าที่ ประชุมปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ ทบทวน และประเมินคุณภาพการศึกษาในปี 25๖4 และได้ทาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา โดยใช้ เทคนิคระดมสมอง SWOT และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการบริหาร และการจัดการสถานศึกษา และนาผลการวิเคราะห์มากาหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ และจัดทารูปเล่มเอกสารตามแบบแผนของการจัดทาแผนปฏิบัติการ โดยขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป ประกอบด้วย นายร่อโฉน บินบ่อสอ ประธานกรรมการสถานศึกษาฯ ที่ปรึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน ที่ปรึกษา นายธราเดช มหปุญญานนท์ ผู้อานวยการโรงเรียน ที่ปรึกษา 1) นายมู่ฮัมหมัด หมาดอี ครูชานาญการ ประธานกรรมการ ๒) นางอุไรวรรณ ประนอม ครูชานาญการพิเศษ รองประธานกรรมการ ๓) นางวนิดา สุขเกิด ครูชานาญการพิเศษ กรรมการ 4) นางนาฏยา เพ็งมาก ครูชานาญการพิเศษ กรรมการ 5) นางสาวอภิญญา คงสุวรรณ ครูชานาญการพิเศษ กรรมการ ๖) นางนิธิกาญจน์ ชาตโร ครูชานาญการพิเศษ กรรมการ 7) นางสาวมีนา บิลหลี พนักงานราชการ กรรมการ 8) นายสนั่น เหมชะรา พนักงานราชการ กรรมการ 9) นางสาวนู่รี่หย๊ะ เบ็ญหมัด พนักงานราชการ กรรมการ 10) นางสาวสุไบด๊ะ สายสลา พี่เลี้ยงเด็กพิการ กรรมการ 11) นางสาวศิราณี ชูมี ครู กรรมการและเลขานุการ ๑2) นางสาวณัฐนรี เส้งบรรทึก เจ้าหน้าที่ธุรการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามคาสั่งนี้ร่วมมือปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกาลังความสามารถ เพื่อให้เกิดผลดีต่อทางราชการต่อไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 25๖4 (ลงชื่อ)

(นายธราเดช มหปุญญานนท์) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านกลาง

แผนปฏิบัติการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๕ : โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดสงขลา

โรงเรียนบ้านกลาง

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๑

Data Loading...