รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร - PDF Flipbook

โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร วันที่ ๑๓-๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ กศน.ตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จั

122 Views
44 Downloads
PDF 1,622,647 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA




รายงานผลการดำเนินกิจกรรม

โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร วันที่ ๑๓-๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ กศน.ตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

จัดทำโดย กศน.ตำบลหมื่นไวย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครราชสีมา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครราชสีมา



คำนำ

สมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตั้งแต่ โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี แต่ หลังจากที่ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจาก สารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพร ลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ใน ปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ ทางวิทยาศาสตร์ประกับในประเทศไทย เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็น สมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาด ก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น เท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร เพราะฉะนั้นทางโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพสมุนไพร จึงจัดอบรมและถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพร ให้กับกลุ่มประชาชน และคณะทำงานโดยให้วิทยากรเป็นคน ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้แก่กลุ่มประชาชนเพื่อให้ เห็นคุณค่าของสมุนไพร คณะผู้ดำเนินงาน จึงได้จัดทำสรุปรายงานผลการประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม กิจกรรมตามโครงการดังกล่าว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสรุปรายงานผลการประเมินความโครงการเล่มนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

คณะผู้ดำเนินงาน



สารบัญ บทที่ 1 บทนำ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรมและการดำเนินการโครงการ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมินโครงการ บทที่ 3 วิธีดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการ บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ผลสรุป อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ ภาคผนวก

หน้า 1 1 1 2 4 4 19 19 21 25 25 26 26



บทที่ ๑ บทนำ หลักการและเหตุผล สภาวะทางสั งคมปั จจุ บั น ประชาชนต้ องเผชิ ญ กับ ปั ญ หาสั งคมต่ าง ๆ เช่ น ปั ญ หาด้านเศรษฐกิ จ ปัญหาการทำงาน ปัญหาสุขภาพ การระบาดของโรคต่าง ๆ จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบให้ประชาชนเกิด ความเครียด ความวิตกกังวลจนทำให้ขาดความสมดุลไม่สามารถรักษาไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ หากประชาชนมี ความรู้ เรื่องการดูแลสุ ขภาพ ก็จะทำให้ ร่างกายแข็งแรง เกิด ความสุ ขในการทำงานและการ ดำรงชีวิต ของประชาชนทุ กเพศทุ ก วัย เพื่ อ นำพาชี วิต ไปสู่ ก ารมี ภ าวะสุ ขภาพที่ ดี โดยการสร้ างภู มิ คุ้ ม กั น ธรรมชาติ อันจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของการดูแลสุขภาพ โดยสมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยมา เป็นเวลานาน เนื่องจากคนไทยสมัยก่อนเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นก็มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้นหรือ รักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยโดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกัน มาหลายชั่วอายุ ในปัจจุบันสมุนไพรก็มีความจำเป็นในการแพทย์ และสามารถใช้ รักษาโรคต่างๆได้โดยสมุนไพร นั้นมีความปลอดภัยจากสารเคมี และสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ประโยชน์ของพืชสมุนไพร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครราชสีมา โดย กศน.ตำบลหมื่นไวย จึงได้จัดทำโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ สมุนไพรขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดูแลสุขภาพ และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับจุดเน้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้อที่ 4. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา สอดคล้องกับจุดเน้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา สอดคล้องกับจุดเน้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของสำนักงาน กศน. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้อที่ 5. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้ าหมายที่ 1: คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึ กรักษ์สิ่ งแวดล้ อม มีคุณ ธรรม จริ ยธรรม และนำแนวคิด ตามหลั ก ปรัชญาของเศรษฐกิ จพอเพียงสู่การปฏิบัติ ตัวชี้วัดที่ 1.ร้อยละของผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติ กรรมที่ แสดงออกถึ งความตระหนั ก ในความสำคั ญ ของการ ดำรงชีวิ ต ที่ เป็ น มิ ต รกั บ สิ่ งแวดล้ อ ม การมี คุ ณ ธรรม จริยธรรม และการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน การดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ๒.๓ เพื่อให้ประชาชนที่เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและเป็นตัวอย่างที่ดีในตำบล

เป้าหมาย

๓.๑ เชิงปริมาณ ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหมื่นไวย จำนวน 15 คน

๒ ๓.๒ เชิงคุณภาพ ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้สมุนไพรใน การดูแลสุขภาพ และประชาชนที่เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและเป็นตัวอย่างที่ดีใน ตำบล

กิจกรรมและการดำเนินการ

กิจกรรมหลัก

วัตถุประสงค์

กลุ่ม เป้าหมาย ๑. สำรวจความต้องการ เพื่อทราบความต้องการ ประชาชน - กรอกใบสมัคร ของประชาชนที่สนใจใน ตำบล - จัดตั้งกลุ่ม โครงการอบรมส่งเสริม หมื่นไวย - จัดทำโครงการเพื่อเสนอ สุขภาพโดยใช้สมุนไพร อนุมัติ - ทำหนังสือเชิญวิทยากร ๒. ประชุมวางแผน เพื่อประชุมวางแผนการ ครู กศน. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินงาน ตำบล และมอบหมายงาน ๓. ดำเนินการจัดกิจกรรม 1.เพื่อให้ประชาชนมี ประชาชน ๓.๑ วิทยากรให้ความรู้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ตำบล การดูแลสุขภาพ เรื่อง หมื่นไวย 2.เพื่อส่งเสริมให้ -การดูแลสุขภาพ -การตรวจสุขภาพขั้น ประชาชนสามารถใช้ พื้นฐาน สมุนไพรในการดูแล -การใช้สมุนไพรในการ สุขภาพ ดูแลสุขภาพ 3. เพื่อให้ประชาชนที่เข้า -ประโยชน์ของสมุนไพร อบรมสามารถนำความรู้ที่ ได้รับไปพัฒนาตนเองและ เป็นตัวอย่างที่ดีในตำบล 4.ดำเนินการวัดผล/ -เพื่อวัดผล ประเมินผล ครู กศน. การดำเนินงาน ประเมินผล ตำบล

เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินการ ๑๕ คน

ตำบล หมื่นไวย

ระยะ งบ เวลา ประมาณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 256๑

๑ คน กศน.อำเภอ เมือง นครราชสีมา ๑๕ คน กศน.ตำบล หมื่นไวย

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 วันที่ ๑๓ – ๑๔ ธันวาคม 25๖๑

๑ คน

กศน.ตำบล หมื่นไวย

5.กำกับ นิเทศ/ติดตามผล -เพื่อกำกับนิเทศติดตาม ครู การดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน อาสาสมัครฯ

๑ คน

6.สรุป/รายงานผล

๑ คน

กศน.อำเภอ เมือง นครราชสีมา - กศน. อำเภอเมือง นครราชสีมา

วันที่ ๑๓ – ๑๔ ธันวาคม 25๖๑ วันที่ 18 ธันวาคม 25๖๑ ปีงบ ประมาณ 256๒

-รายงานผลสำเร็จของ โครงการและนำผลไป พัฒนาต่อไป

ครู กศน. ตำบล

6,๐๐๐ บาท



ผู้รับผิดชอบโครงการ - นางกรแก้ว แบบกลาง - นางสาวจิฬติกาล พลบัติ

ผอ.กศน.อำเภอเมืองนครราชสีมา ครู กศน.ตำบลหมื่นไวย

ที่ปรึกษา เลขานุการ

เครือข่าย - ผู้นำชุมชน /อสม. - แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโพนสูง โครงการที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์(outcome) ประชาชนตำบลหมื่นไวย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถใช้สมุนไพรในการดูแล สุขภาพได้ ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ ตัวชี้วัดผลผลิต (output) - ร้อยละ ๘๗ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและสามารถใช้สมุนไพรในการ ดูแลสุขภาพ - ร้อยละ 13 ประชาชนที่เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเองและเป็นตัวอย่างที่ดี ในตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์(outcome) ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพ สามารถใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และ ประชาชนที่เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเองและเป็นตัวอย่างที่ดีในตำบล การติดตามและประเมินผลโครงการ สังเกต/แบบสำรวจความพึงพอใจ นิเทศ/ติดตามผลการดำเนินงาน



สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน ต้องมีการแข่งขันกันเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะต้องเจอกับมลพิษ มลภาวะที่ ไม่ดี สารพิษเข้ามารอบด้าน เกิดการสะสมพิษต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย อาหารการกินที่ไม่มีประโยชน์แถมให้โทษแก่ ร่างกาย บางอย่างเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว มีหลายรูปแบบที่เข้ามา สู่ร่ างกาย เช่น ทางอาหาร ทางการดื่ม ทางการสู ดอากาศบนท้องถนน แล้ ว เราจะทำอย่างไรกับ ชีวิตดี ล่ ะ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ใกล้ตัว ก็สามารถกำจัดพิษในร่างกาย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ในอนาคตอันใกล้ ชี วิ ต ของเรามี คุ ณ ค่ า ควรจะเก็ บ รั ก ษาไว้ น าน ๆ แล้ ว ยาวนานที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะทำได้ ถ้ า หากมี สิ่ ง แปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกาย แล้วระบบร่างกายสามารถที่จะกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือของเสียภายในออกมาได้ ก็คงไม่เกิดปัญหาให้กังวล แต่ถ้าหากวันนึง สารพิษที่เข้ามาสู่ร่างกาย และไม่สามารถกำจัดได้ หรือกำจัดไม่หมด ก็จะสะสมทีละนิด ทีละน้อยตามอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปอด ไต ตับ เส้นเลือด ลำไส้ กระเพาะอาหาร พอ สะสมนาน ๆ เข้า ก็จะเปรียบเสมือนสนิมเกาะ แบบนี้คงจะไม่ดีแน่นอน เพราะการเจ็บป่วยก็จะตามมา ไม่ว่าจะ เป็น กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรค NCDs หรือ non-communicable diseases คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและ ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติ กรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการ ดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ดังนั้น การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด การใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งที่สามาถตอบโจทย์ ความต้องการนี้ได้ เพราะการนำสารพิษออกจากร่างกาย โดยวิธีธรรมชาติ เพื่อให้ธรรมชาติรักษาสมดุลของ ธรรมชาติด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่ปลอดภัยและประหยัด สมุนไพรเพื่อสุขภาพ หากพูดถึง “ความงาม” แล้ว คุณผู้หญิงหรือท่านผู้ชายก็คงจะไม่ปฏิเสธว่าเป็น เรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ าปัจจัยอื่นในการดำรงชีวิต แต่ถ้าเราจะมองกันไปแล้ว “ความงาม” นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตัวของเรามีสุขภาพจิตและสุขภาพกายดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน โดยปกติสุขภาพจะดีมาก-น้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม การรับประทานอาหาร และการดำรงชีวิต อย่างปกติสุข เมือ่ ร่างกายกินได้ ถ่ายคล่อง ผิวพรรณดี และสุขภาพแจ่มใส ” ความงาม” ก็จะบังเกิดขึ้นได้อย่าง ไม่ต้องสงสัย สมุน ไพรเพื่ อความงามสำหรับผิวหน้า ใบหน้ า คือ ด่านแรกที่เป็ น เสน่ ห์ ดึงดูดใจของผู้ พบเห็ น แต่ หลายๆคนกำลังประสบปัญหาผิวหน้าไม่เรียบสวย เพราะเม็ดสิวและรอยแห้ งกร้านด้วยจุดด่างดำของกระและ ฝ้า จนต้องเสี ยเงิน ทองมากมายเพื่อเข้าสถานเสริมความงาม หรือหาซื้อยามารักษา จึงอยากแนะนำให้ ใช้ สมุนไพรพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไป แต่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารบำรุงผิวธรรมชาติที่ ช่วยดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นผ่องใสอ่อนไวอยู่เสมอ สมุนไพร หมายถึง พืช ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรือรักษาอาการการเจ็บป่วยต่าง ๆ จะต้องนำ สมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไปแล้วนำมาผสมกัน ซึ่งจะเรียกว่า “ยา” 1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ใช้ในการบำบัดโรค หรือยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแบบโบราณ ซึ่งมีปรากฏ อยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ หรือ เป็นยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ



2. ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนต่าง ๆของพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งยังมิได้แปรสภาพ อาจจะดัด แปรงรูปลักษณะของสมุนไพร ให้นำมาใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น การนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือ การนำมาบดเป็น ผง ยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่น ๆ ส่วนของจำพวกสัตว์ ได้แก่ หนัง กระดูก เขา หรือที่เป็นทั้งตัว ได้แก่ ไส้เดือน ม้าน้ำ ตุ๊กแก เป็นต้น

“พืชสมุนไพร” หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ 1. รูป ได้แก่ เปลือกไม้ แก่นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด 2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีแดง สีดำ 3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร 4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสหวาน รสเปรี้ยว รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสเย็น 5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

๖ การแปรรูปสมุนไพร การแปรรูปเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานๆ และปริมาณมาก ๆ รูปแบบในการแปรรูปสมุนไพร มี หลากหลายรูปแบบ ดังนี้ - การสกัดน้ำมันหอมระเหย ในบางสมุนไพรบางชนิดจะมีกลิ่นที่หอม นำมาต้มแล้วนำน้ำมันสมุนไพร มาปรุง เป็นยาทา ยาหอม ยาดม เป็นต้น - การบดปั่น เป็นผง ในสมัยโบราณ นำสมุนไพรมาตากแห้ง แล้วก็จะใช้ครกโขรกให้ละเอียด - นิยมใช้ ราก และ เปลือก นำไปตากแห้ง เพื่อให้ปริมาณน้ำของสมุนไพรลดลง ทำให้สมุนไพรมีขนาด เล็กลง - การตากแห้ง เป็นวิธีการที่ดีและได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด การปรุงยาสมุนไพร รู ป แบบในการใช้ ป ระโยชน์ ข องสมุ น ไพร เพื่ อ นำมาใช้ เป็ น รั บ ประทาน ประคบ หรื อ การทา ประกอบด้วย การทำยาพอก ใช้สมุนไพรรักษาภายนอก เช่น แผลติด เชื้อ แผลสด การคั้นน้ำ นิยมใช้สมุนไพรสดมาทำ โดยการคั้นจากผล หรือใช้ใบของสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ - การปั่ น เป็ น ยาลู ก กลอน นำสมุ น ไพรมาบดเป็ น ผงแล้ ว ผสมน้ ำ ผึ้ ง แล้ ว นำมาปั้ น เป็ น ก้ อ น ให้ รับประทานได้ง่ายขึ้น - การนำมาทำยาดอง บางสมุนไพรไม่เหมาะที่จะมาทำรับประทานแบบสด จึงนำมาดอง การดองเป็น รูปแบบหนึ่งที่รับประทานง่ายและได้ประโยชน์ - ยาชง การนำสมุนไพรมาทำรูปแบบเป็นผงหรือบดละเอียด หยาบ มาผสมกับน้ำร้อน เพื่อนำมาดื่ม - การต้ม นำสมุนไพรนำมาผ่านการแปรรูป ต้ม นำสารที่มีประโยชน์ มารักษาโรค ได้แก่ รักษาโรค ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง การเก็บรักษายาสมุนไพร การเก็บรักษายาสมุนไพร เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เพราะการเก็บรักษาโดยกรรมวิธีการแปรสภาพเป็นยา โดยการตากแห้ง การบด การอบ หรือการทำเป็นลูกกลอน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา และหนอน เป็นอย่างมาก เพราะต้องเก็บสมุนไพรในที่แห้ง และไม่อับชื้น จะได้คงความสภาพของยาไว้ได้นาน ยาสมุนไพรมักจะมีปัญหา ในการเก็บรักษาอย่างมาก หากเก็บรักษาไม่ได้คุณภาพ ก็จะเกิดสีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป และจะทำให้ยา เสื่อมคุณภาพ ไม่ออกฤทธิ์ อย่างเต็มที่ เนื่องจากตัวยาได้หมดคุณภาพไปแล้ว 1. ควรเป็ น สถานที่ ที่ ไม่ อั บ ชื้ น มี อ ากาศถ่ า ยเทสะดวก และเย็ น เพื่ อ ขั บ ไล่ ค วามชื้ น ที่ อ าจจะ ก่อให้เกิดเชื้อราในตัวสมุนไพรได้ 2. ยาสมุนไพรจะต้องแห้ง ไม่เปียกชื้น ควรจะนำยาสมุนไพรมาตากแดดสม่ำเสมอ ช่วยลดต่อการเกิด เชื้อรา 3. แบ่งตามประเภทของยา เพื่อที่จะหยิบใช้ ได้ง่ายและสะดวก 4. ควรตรวจความเรียบร้อยในการเก็บรักษา เพื่อป้องกันอย่าให้แมลงหรือสัตว์ ต่างๆ เพราะอาจจะ ทำให้เกิดความเสียหายได้



หลากสรรพคุณ... 20 สมุนไพรไทยที่ใคร ๆ ก็รู้จัก

ว่านหางจระเข้

ไม้ล้มลุกใบใหญ่หนาที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ถิ่นกำเนิดจะอยู่ไกลถึงฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกา แต่ ในประเทศไทยก็มีการปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ซึ่งในตำรับยาไทยก็ใช้ว่านหางจระเข้บำบัดอาการ ต่าง ๆ ได้มากมาย จนเป็นที่รู้จักว่า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณสารพัดประโยชน์ โดย "วุ้นในใบสด" สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็ คื อ นำมาพอกแผลน้ ำร้ อ นลวก ไฟไหม้ แก้ ป วดแสบปวดร้ อน แผลเรื้ อ รั ง รั ก ษาผิ ว ที่ ถู ก แดดเผา แผลใน กระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แต่มีข้อแนะนำว่า ก่อนใช้ ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ นอกจากส่วน วุ้นในใบสดแล้ว ส่วน "ยางในใบ" ก็สามารถนำมาทำเป็นยาระบายได้ และส่วน "เหง้า" ก็นำไปต้มน้ำรับประทาน แก้โรคหนองในได้



ขมิ้นชัน

เรียกกันทั่วไปว่า "ขมิ้น" เป็นไม้ล้มลุกมีสีเหลืองอมส้ ม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม คนนิยมนำ "เหง้า" ทั้งสดและแห้งมาใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รวมทั้งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง จุกเสียดแน่นท้อง และ สามารถนำขมิ้นชันมาทาภายนอก เพื่อใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด โรคผิวหนัง พุพอง รักษาชันนะตุ นอกจากนั้น "ขมิ้นชัน" ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ "คูเคอร์ มิน" ที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตับ อีกทั้งยังสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง หรือใครที่มีแผลอักเสบ "ขมิ้นชัน" ก็มี สรรพคุณช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะมีฤทธิ์ไปลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง และหาก รับประทานขมิ้นชันทุกวัน ตามเวลาจะช่วยให้ความจำดีขึ้น ไม่อ่อนเพลียยามตื่นนอน และช่วยให้ระบบขับถ่าย ดีขนึ้ ทองพันชั่ง

เป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าไม่ต่างไปจากชื่อ "ทองพันชั่ง" หลายพื้นที่อาจเรียกว่า "ทองคันชั่ง" หรือ "หญ้า มัน ไก่" เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกสีขาว ส่วนที่ใช้ทำยาคือ ใบและราก ที่หากนำปริมาณ 1 กำมือมาต้ม รั บ ประทานเช้ า เย็ น จะช่ ว ยดั บ พิ ษ ไข้ รั ก ษาโรคผิ ว หนั ง ริ ด สี ด วงทวารหนั ก แก้ ไอเป็ น เลื อ ด ฆ่ า พยาธิ นอกจากนั้น ยังสามารถนำใบและรากมาตำละเอียด เพื่อรักษาโรคกลาก เกลื้อน นอกจากสรรพคุณข้างต้นแล้ว มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมพบว่า "ทองพันชั่ง" มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเยื่อบุช่อง ปาก มะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูกได้ รวมทั้งช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว

๙ ฯลฯ แต่ข้อควรระวังคือ ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคหืด โรคความดันโลหิตต่ำ โรคมะเร็งในเม็ดเลือด ไม่ ควรรับประทาน กะเพรา

กะเพรา มีสรรพคุณอะไรบ้าง ที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ ใบกะเพรา มีฤทธิ์ขับลม ช่วยแก้จุดเสียด แน่นท้อง แก้ปวดท้องอุจจาระ ส่วนน้ำสกัดทั้งต้น สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สำหรับเมล็ดกะเพรา ก็ส ามารถ พอกตาให้ผงหรือฝุ่นที่เข้าตาหลุดออกมาได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้นแล้ว รากกะเพราแห้ง ๆ ยังนำมาชงกับ น้ำร้อนดื่มแก้โรคธาตุพิการได้ และสรรพคุณเด็ดของกะเพราอีกประการก็คือ ช่วยขับไขมันและน้ำตาล เคยสงสัยบ้างไหมล่ะ ทำไม อาหารตามสั่งต้องมีเมนูผัดกะเพราเนื้อ กะเพราไก่ กะเพราหมู นั่นก็เพราะนอกจากใบกะเพราจะช่วยดับกลิ่น คาวของเนื้อสัตว์ได้แล้ว ยังมีฤทธิ์ขับไขมัน และน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย อีกทั้ง กะเพราจะช่วยขับน้ำดี ในตับออกมาให้ช่วยย่อยไขมันได้ดีขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น หากบอกว่า รับประทานกะเพราแล้วจะช่วยป้อ งกัน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ กระชายดำ

สรรพคุณของกระชายดำที่ได้รับการกล่าวขานกันมากก็คือ สรรพคุณเพิ่มพลังทางเพศ หรือแก้โรคกาม ตายด้าน เนื่ องจากฤทธิ์ของกระชายดำจะไปบำรุงกำลั ง เพิ่มฮอร์โมนให้ หนุ่ ม ๆ ทำให้ สมรรถภาพทางเพศ เพิ่มขึ้น แต่ใช่ว่า กระชายดำ จะมีประโยชน์แค่เรื่องเพิ่มพลังทางเพศเท่านั้นนะ เพราะกระชายดำยังสรรพคุณ มากมาย ทั้งบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง เป็ นยาเจริญอาหาร และบำรุงธาตุ แก้หัวใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียนแน่ น

๑๐ หน้าอก แผลในปาก ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผ่อ งใส ขับปัสสาวะ แก้โรคกระเพาะ ฯลฯ และด้วย สรรพคุณอันแสนมหัศจรรย์มากมายขนาดนี้ กระชายดำ เลยถูกขนานนามว่าเป็น "โสมไทย" ซึ่งนิยมปลูกมาก จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเลยทีเดียว ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลู กเป็ น พื ช สมุน ไพรที่เหมาะกับ คุณ สุ ภ าพสตรีเป็ น ที่สุ ด เพราะเหง้ าของว่า นชักมดลู กมี สรรพคุณช่วยขับประจำเดือนในสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ส่วนผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร ว่านชักมดลูกก็จะ ช่วยบีบมดลูกให้เข้าอู่เร็วขึ้น ขับน้ำคาวปลา และรักษาโรคมดลูกพิการปวดบวมได้ นอกจากนั้ น ว่านชักมดลู ก ยังแก้ริดสี ดวงทวาร แก้ไส้เลื่ อ น แก้ โรคลม รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ขณะที่รากของว่านชักมดลูกสามารถใช้แก้ท้องอืดเฟ้อได้อีกต่างหาก กระเจี๊ยบแดง

หลายคนนำใบและยอดของกระเจี๊ยบแดงไปใส่ในแกง ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรสเปรี้ยวในอาหารแล้ว ใบกระเจี๊ยบแดงยังแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด แก้ไอ ละลายเสมหะ ส่วนดอกใช้แก้โรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด แต่ส่วนที่มีสรรพคุณมากเป็นพิเศษก็คือ ส่วนกลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล สามารถช่วย ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต นำไปทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบดื่มช่วยให้ร่างกายสดชื่น ลดความ เหนียวข้นของเลือด ขับปัสสาวะ ป้องกันต่อมลูกหมากโตให้คุณผู้ชายได้ด้วย และมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

๑๑ พบว่า หากรับประทานกระเจี๊ยบแดงต่อเนื่อง 1 เดือน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลือด ทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว (LDL) ลดลง และยังเพิ่มไขมันชนิดดีคือ HDL ได้ด้วย มะขามป้อม

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลางที่จัดเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะมีสรรพคุณเพียบในแทบทุกส่วนของต้น แต่ ที่รู้จักกันดีก็คือ ผลของมะขามป้อมจะมีรสเปรี้ยวมาก ๆ แต่ก็ชุ่มคอ และให้วิตามินซีสูงมากเช่นกัน ดังนั้น จึงมี คนนำผลมะขามป้อมสดมาใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน นอกจากนั้ น แล้ ว ส่ วน "ราก" ยังแก้พิษตะขาบกัด แก้ร้อนใน ลดความดันโลหิ ต แก้โรคเรื้อน ส่ว น เปลือก แก้โรคบิด และฟกช้ำ ส่วนปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน "ผลแห้ง" ใช้รักษาอาการท้องเสี ยง หนองใน เยื่อบุตาอักเสบ แก้ตกเลือด และส่วน "เมล็ด" ก็สามารถนำไปเผาไฟผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้คัน แก้ หืด หรือจะตำเมล็ดให้เป็นผง ชงกับน้ำร้อนดื่มแก้โรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบก็ได้ ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคน รู้จักกันดีก็คือ ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้หวัดใหญ่ แก้ร้อนใน เพราะมีฤทธิ์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย หาก รับประทานบ่อย ๆ จะช่วยป้ องกัน ไม่ให้เป็นหวัดง่าย นอกจากเรื่องหวัดแล้ว ฟ้าทะลายโจรยังระงับอาการ อักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ขับเสมหะ รักษาอาการท้องเสีย ลำไส้อักเสบ รักษาโรคตับ เบาหวาน โรคงูสวัด ริดสีดวงทวาร และรสขมของฟ้าทะลายโจรยังช่วยให้เจริญอาหารขึ้น ข้อควรระวัง ก็คือ คนที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A, ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ รูห์มาติค, มีอาการเจ็บคอ เนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย , เป็นความดันต่ำ และสตรีมีครรภ์ ไม่ควรทานฟ้า

๑๒ ทะลายโจร และหากใครทานแล้ ว เกิ ดปวดท้ อง ปวดเอว วิงเวีย นศี รษะ ใจสั่ น ควรหยุ ด ใช้ ฟ้ าทะลายโจร นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกินไป เพราะอาจทำให้แขนขามีอาการชา หรืออ่อนแรงได้ ย่านาง

ย่านางเป็นสมุนไพรรสจืด เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ดับพิษร้อน คนจึงนำใบย่านางไปคั้นเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ เพื่อเพิ่มความสดชื่น ปรับอุณหภูมิในร่างกาย และยังนำใบย่านางไปช่วยดับพิษไข้ ดับพิษของอาหาร แก้อาการ ผิดสำแดง แก้พิษเมา แก้เลือดตก แก้กำเดา ลดความร้อนได้ด้ว ย นอกจากใบแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของย่านางก็มี ประโยชน์เช่นกัน ทั้ง "ราก" ที่ใช้แก้ไข้พิษ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู "เถาย่านาง" ใช้แก้ไข ลดความร้อน ในร่างกาย ขณะที่ข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุว่า ย่านาง ยังช่วยต้านมาลาเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ต้า นฮีสตา มีน ส่วนข้อมูลทางโภชนาการระบุว่า ย่านางมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วย ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย แถมยังอุดมไปด้วยเส้นในอาหาร แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส ย่านางจึง เป็นหนึ่งในจำนวนผักพื้นบ้านที่นักวิจัยแนะนำให้นำมาใช้ในรูปแบบอาหารเพื่อรักษาโรคมะเร็ง มะรุม

พืชสมุนไพรสุดแสนมหัศจรรย์ เพราะนอกจากจะนำมาปรุงอาหารรับประทานแล้วได้รับสารอาหาร อย่างวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม ใยอาหาร แล้ว มะรุม ยังเป็นยาวิเศษรักษาที่ทุกส่วนสามารถ ใช้รักษาได้สารพัดโรค

๑๓ เริ่ มจาก "ราก" ที่ จะช่ว ยบำรุงไฟธาตุ แก้อาการบวม "เปลื อก" ใช้ป ระคบแก้โรคปวดหลั ง ปวดข้อ รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ "กระพี้" ใช้แก้ไขสันนิบาด "ใบ" มีแคลเซียม วิตามินซี และสารต้านอนุมูล อิสระสูงมาก ใช้แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ "ดอก" ช่วยบำรุงร่างกา ย ขับ ปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย "ฝัก" ใช้แก้ไข้หัวลม "เมล็ด" นำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ รักษาโรคปวดข้อ โรคเกาท์ รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา และ "เนื้อในเมล็ดมะรุม" ใช้แก้ไอได้ดี รวมทั้งยังเพิ่ม ภู มิ ต้ านทานให้ ร่ างกายได้ ด้ ว ย หากรั บ ประทานเป็ น ประจำ แต่ ส ำหรั บ คนที่ เป็ น โรคเลื อ ด G6PD ไม่ ค วร รับประทานมะรุม ชุมเห็ดเทศ

ไม้พุ่มขนาดกลาง มีดอกสีเหลือง จัดเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามาก โดยชุมเห็ดเทศทั้งต้น มีฤทธิ์ขับพยาธิในลำไส้ รักษาซาง โรคผิวหนัง ถ่ายเสมหะ รักษาอาการฟกช้ำบวม รักษาริดสีดวง ดี ซ่าน และฝี ส่วนลำต้น จะใช้เป็นยารักษาคุดทะราด กลากเกลื้อน ช่วยขับพยาธิ ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องผูก นอกจากต้นแล้ว ใบชุมเห็ดเทศก็ได้รับความนิยมในคนที่มีอาการท้องผูกเช่นกัน เพราะสามารถนำใบซึ่ง มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ไปต้มน้ำกินได้ หรือจะใช้อมบ้วนปากก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ติดต่อกัน เป็ นเวลานาน เพราะจะทำให้ท้องเสีย ซึ่งส่ งผลให้ มีการสูญ เสียน้ำและเกลื อแร่มากโดยเฉพาะโพแทสเซียม รวมทั้งอาจทำให้ดื้อยาได้ บอระเพ็ด

บอระเพ็ด มีรสชาด "ขม" ขึ้นมาทันที แต่เพราะความที่เจ้าบอระเพ็ดมีรสขมนี่ล่ะ ถึงทำให้ตัวมันเต็ม เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณทางยามากมาย ดังสำนวนที่ว่า "หวานเป็นลม ขมเป็นยา"

๑๔ อย่างเช่น "ราก" สามารถนำไปดับพิษร้อน แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น ช่วยให้เจริญอาหาร "ต้น" ก็ช่วยแก้ไข้ได้ เช่นกัน และยังช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ร้อนใน แก้สะอึก แก้เลือดพิ การ ส่วน "ใบ" นอกจากจะช่วยแก้ไข้ ได้เหมือนส่วนอื่น ๆ แล้ว ยังช่วยแก้โลหิตคั่งในสมอง ขับพยาธิ แก้ปวดฝี ช่วยลดความร้อน ทำให้ผิวพรรณผ่อง ใส รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย มาถึง "ดอก" ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู "ผล" ใช้แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึ กได้ดี แต่ถ้านำทั้ง 5 ส่วน คือ ราก ต้น ใบ ดอก ผล มารวมกัน "บอระเพ็ด" จะกลายเป็นยาอายุวัฒนะเลยทีเดียว เพราะแก้อาการได้ สารพัดโรค รวมทั้งโรคริดสีดวงทวาร ฝีในมดลูก เบาหวาน ฯลฯ เสลดพังพอนตัวเมีย

ภาพจาก สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เสลดพังพอนตัวผู้

"เสลดพั งพอน" มี 2 ชนิ ด คื อ "เสลดพั งพอนตั ว ผู้ " และ "เสลดพั งพอนตั ว เมี ย" ซึ่ งทั้ งสองชนิ ด มี สรรพคุณเด่น ๆ คือ ใช้ถอนพิษ แต่ "เสลดพังพอนตัวผู้" จะมีฤทธิ์อ่อนกว่า และส่วนใบจะมีรสขมกว่า ลองไปดูสรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้" กันก่อน "ราก" ช่วยแก้ตาเหลือง ตัวเหลือง กินข้าวไม่ได้ ถอนพิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดฟัน ส่วน "ใบ" ก็ช่วยถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย และยังแก้ปวดแผล แผล

๑๕ จากของมีคมบาด แก้โรคฝี โรคคางทูม ไฟลามทุ่ง งูสวัด เริม ฝีดาษ แก้ฟกช้ำ น้ ำร้อนลวก ยุงกัด แก้ปวดฟัน เหงือกบวม ส่วน "เสลดพังพอนตัวเมีย" จะนำรากมาปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยที่เอว ส่วน "ใบ" ซึ่งมีรสจืดจะนำมาสกัดทำเป็นยาใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริม แผลร้อนในในปาก แผลน้ำร้อนลวกได้ นอกจากนั้ น ส่ วนทั้ง 5 คื อ ราก ต้ น ใบ ดอก ผล สามารถใช้ถอนพิ ษต่าง ๆ ได้ดี ทั้งพิษแมลงสั ตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก มะแว้ง

"มะแว้งต้น " และ "มะแว้งเครือ" ที่มีส รรพคุณ เด่น ๆ คือ ใช้เป็ น ยาแก้ไอ ขับ เสมหะ เราจึงมักเห็ น มะแว้งถูกนำมาผสมเป็นยาอมช่วยแก้ไอ ซึ่งตามตำรับยาแก้ไอแล้ว สามารถใช้ได้ทั้ง ราก ใบ ผล นอกจากนั้น ยั งช่ ว ยลดน้ ำลายเหนี ยว บำรุ งธาตุ รั กษาวัณ โรค แก้ค อแห้ ง ขับ ปั ส สาวะ รั กษาโรคทางไตและกระเพาะ ปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก และแก้โรคหอบหืด นอกจากนั้น ลูกมะแว้งเครือสามารถนำไปปรุงอาหาร ทานเป็นผักได้ ส่วนลูกมะแว้งต้นก็ใช้ปรุงอาหาร ได้เช่นกัน แต่คนนิยมน้อยกว่าลูกมะแว้งเครือ รางจืด

สมุนไพรถอนพิษ "รางจืด" หรือ "ว่านรางจืด" เพราะส่วนใบและรากของรางจืดสามารถปรุงเป็นยาถอน พิษยาฆ่าแมลงได้ มีประโยชน์ในเวลาที่หากใครเกิดเผลอทานยาฆ่าแมลง ยาพิษ หรือยาเบื่อเข้าไปโดยไม่ได้ ตั้งใจ และอยู่ไกลโรงพยาบาล การทานรากรางจืดก็จะช่วยบรรเทาพิษในเบื้องต้นได้

๑๖ นอกจากนั้นแล้ว รางจืด ยังสามารถปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ พิษแอลกอฮอล์ พิษสำแดง บรรเทาอาการ เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำได้ แล้วรู้ไหมว่า ยังมีงานวิจัยจากกลุ่มหมอพื้นบ้าน พบว่า การนำรางจืดไปต้มแล้วนำมาอาบจะช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และหากนำรากรางจืดมาฝนกับน้ำซาว ข้าวแล้วนำไปทาหน้า จะทำให้หน้าขาว ไม่มีสิวฝ้า กระวาน

เป็นสมุนไพรไทยที่มีชื่อเสียงมากในต่างประเทศ มักพบขึ้นอยู่ตามป่าที่ มีความชื้นสูง เช่น ป่าแถบเขา สอยดาว จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งแถบจังหวัดตราด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสรรพคุณหลัก ๆ คือ ใช้เป็นยาขับ ลม บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ผสมในยาถ่ายเป็นใช้ช่วยถ่ายท้องได้ นอกจากนั้น "ราก" ยังช่วยฟอกโลหิต แก้ลม รักษาโรครำมะนาด "เมล็ด" ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ "เหง้าอ่อน" ใช้รับประทานเป็นผัก "หัวและหน่อ" ช่วยขับพยาธิในเนื้ อให้ออกทางผิวหนัง "แก่น" ใช้ขับพิษร้าน รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ "กระพี้" รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิต ส่วน "ใบ" ใช้แก้ลมสันนิบาต ขับเสมหะ แก้ไข้ เซื่องซึม แก้จุกเสียด บำรุงกำลัง "ผลแก่" มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร มีฤทธิ์ขับลม ยับยั้งการ เจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด กานพลู

ใครที่ปวดฟัน นี่คือสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการปวดฟันได้เป็นอย่างดี โดยตามตำรับยา ให้นำดอกที่ตูม ไปแช่เหล้าขาว แล้วเอาสำลีไปชุบน้ำมาอุดรูฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ เพราะน้ำมันหอมระเหยใน

๑๗ กานพลูมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ หรือจะเคี้ยวทั้งดอกแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันก็ได้ นอกจากนั้น ยังนำไป ผสมน้ำเป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดกลิ่นปาก แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กานพลูยังมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ฉะนั้น ใครที่มีอาการปวดท้อง กานพลู ก็ช่วยลดอาการปวด ท้อง ขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุ กเสียดจากการย่อยอาหารได้ เพราะจะไปช่วยขับน้ำดีมาย่อยไขมันได้ มากขึ้น แถมยังกระตุ้นการหลั่งเมือก และลดภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหาร หญ้าหนวดแมว

ไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีสรรพคุณไม่น้อย โดย "ราก" สามารถใช้ขับปัสสาวะได้ "ใบ" ใช้รักษาโรคไต ช่วย ขับกรดยูริกออกจากไต รักษาโรคเบาหวาน อาการปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต "ต้น" ก็ใช้แก้โรคไต ขับปัสสาวะได้เช่นกัน และยังช่วยรักษาโรคนิ่ว โรคเยื่อจมูกอักเสบได้ โดยนำต้นสด หรือต้นแห้ง หรือใบอ่อน หรือใบตากแห้ง ไปชงกับน้ำ 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ห้ามนำไปต้ม และไม่ควรใช้ใบแก่ หรือใบสด เพราะมีฤทธิ์กดหัวใจ ทำให้ใจสั่นและคลื่นไส้ได้ ข้อควรระวังก็คือ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะในหญ้าหนวดแมวมีโพแทสเซียมสูงมาก และไม่ควรรับประทานหญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะจะยิ่งทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้ ามเนื้อ หัวใจมากขึ้น

บัวบก

น้ำใบบัวบก เมื่อดื่มเข้าไปแล้วช่วยแก้ร้อนใน แก้ช้ำใน ลดการกระหายน้ำได้ดี ซึ่งนอกจากใบบัวบกจะ นำมาคั้นน้ำดื่มได้แล้ว ยังสามารถนำไปทาแผล ช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำของแผลได้ด้วย เพราะในใบมีกรดมาดี

๑๘ คาสสิค (madecassic acid) และกรดเอเซียติก (asiatic acid) ที่มีฤทธิ์สมานแผน ไม่ว่าจะเป็นแผลสด แผล เรื้อรัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแผลหลังผ่าตัด ใบบัวบกจะช่วยการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วขึ้น นอกจากนั้น ใบบัวบกยังช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อเป็นหนองในได้ วิธีการใช้ก็ง่าย ๆ นำใบบัวบกสดทั้งต้น 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด เอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็นแผลเป็นบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ จะช่วยลดอาการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วขึ้น ส่วนต้นของใบบัวบก ก็มีสรรพคุณทางยามากมายไม่แพ้ใบ โดยสามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า แก้พิษงูกัด แก้ปวดศีรษะข้างเดียว ช่วยขับปัสสาวะ แก้เจ็บคอ ใช้เป็นยาห้ามเลือด ส่า แผลสด แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน แก้ช้ำในได้เช่นกั น และถ้าใครชอบทำอาหาร อย่าลืมใส่ใบบัวบกลงผสมลง ไปในเมนู ข องคุ ณ ด้ ว ย เพราะในใบบั ว บกมี ส ารอาหารเพี ย บ โดยเฉพาะวิ ต ามิ น เอที่ มี สู งมาก และยั งให้ คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามิน และไนอาซีน เรียกว่า คุณค่าครบ จะเห็ น ได้ว่าสมุ น ไพรใกล้ ตัวมากมายเหล่ านี้ มีป ระโยชน์ อย่างที่นึ กไม่ถึงมาก่อน แต่คำนึ งไว้ด้ว ยว่า สมุนไพรจะรักษาโรคได้ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการใช้สมุนไพรตามตำรับยาด้วย และที่สำคัญ คือสมุนไพรบางชนิดก็ไม่ เหมาะกับคนที่ป่วยด้วยโรคบางประเภท หรือสตรีมีครรภ์ ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูล และข้อควรระวังทุกครั้งก่อน จะใช้สมุนไพร

๑๙

บทที่ 3 วิธีการประเมินโครงการ การดำเนินโครงการครั้งนี้เป็นการประเมิน โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2561 ที่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น ซึ่งมีเนื้อหาและสาระสำคัญเกี่ยวกับวิธีการ ดำเนินการ ดังนี้คือ ประชาชน เครื่องมือที่ใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ผล ตามลำดับดังนี้ กลุ่มประชากร ประชากรในการดำเนิน โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร คือ ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหมื่นไวย จำนวน 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnair) ที่ผู้ดำเนินโครงการได้ สร้างขึ้น โดยศึกษาค้นคว้าจากการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระดับการศึกษา เพศ อายุ อาชีพ กลุ่มเป้าหมาย ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 ข้อ แบ่งได้ดังนี้ ด้านเนื้อหาหลักสูตร จำนวน 3 ข้อ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 2 ข้อ ด้านวิทยากร จำนวน 3 ข้อ ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 3 ข้อ ด้านผลที่ได้รับ จำนวน 2 ข้อ ลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิด มาตราส่วนประมาณค่า ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert’s Scale) มี 5 ระดับด้วยกัน คือ 1 หมายถึง ต้องปรับปรุง 2 หมายถึง ควรปรับปรุง 3 หมายถึง ปานกลาง 4 หมายถึง ดี 5 หมายถึง ดีมาก ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้พืช สมุนไพร

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือ โดยเก็บจากผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คน

๒๐

วิธีการวิเคราะห์ผล

การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพดำเนินการ 2 ขั้นตอนดังนี้ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม ดังนี้ 1.1 ข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยหาค่าเฉลี่ย (xˉ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) 1.2 ข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย (xˉ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ ป ระเมิ น ได้น ำข้อ มูล จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ ข้อ มูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ ย (xˉ ) ค่ าส่ ว นเบี่ ย งเบน มาตรฐาน (S.D.) 1) ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น X = x n เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดของกลุ่ม n แทน จำนวนของคะแนนในกลุ่ม 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S S.D.

=

(X - X)2 n–1

S.D.

=

nX2 - (X)2 n(n – 1)

S.D. X n 

แทน แทน แทน แทน

ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนน จำนวนคะแนนในแต่ละกลุ่ม ผลรวม

หรือ

เมื่อ

๒๑

บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการทดสอบก่อนและหลังอบรมโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ สมุนไพร ในระหว่างวันที่ ๑๓- ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ กศน.ตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๑5 คน สรุปได้ดังนี้ ๔.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้เรียน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ สมุนไพร ในระหว่างวันที่ ๑๓- ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ กศน.ตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๑5 คน ดังนี้ ๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ๒. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้พืช สมุนไพร ดังนี้ เกณฑ์การตัดสินและพิจารณาแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ โดยใช้ scale ๕ ระดับหรือที่ เรียกว่าวัดเจตคติตามเทคนิคของของลิเคิร์ท (Likert technique) หรือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับของลิเคิร์ทสเกล ถือเกณฑ์พิจารณาจากระดับคะแนนเฉลี่ยจากค่าคะแนนดังนี้ ๔.๒๑ – ๕.๐๐ หมายถึง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจระดับ มากที่สุด ๓.๔๑ – ๔.๒๐ หมายถึง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจระดับ มาก ๒.๖๑ – ๓.๔๐ หมายถึง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจระดับ ปานกลาง ๑.๘๑ – ๒.๖๐ หมายถึง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจระดับ น้อย ๑.๐๐ – ๑.๘๐ หมายถึง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจระดับ น้อยที่สุด ๓. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ๔.๒.๑ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ ๓ ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ - หญิง - ชาย

ประเภทของข้อมูล

จำนวน

ร้อยละ

รวม ประเภทของข้อมูล

1๒ ๓ ๑5 จำนวน

๘0 ๒0 ๑๐๐ ร้อยละ

รวม

2 ๘ ๕ ๑๕

๑๓.๓๓ ๕๓.๓๓ ๓๓.๓๔ ๑๐๐

2. อายุ - ต่ำกว่า 15 ปี - ๑๕-๓๙ ปี - ๔๐-๕๙ ปี - 60 ปีขึ้นไป

๒๒ 3. ระดับการศึกษา - ต่ำกว่า ป.๔ - ป.๔ - ป.6 - ม.3 - ม.6 - อนุปริญญา - ปริญญาตรี

รวม

๑ 8 ๑ ๒ ๒ 1 15

6.67 ๕๓.๓๓ 6.67 13.33 13.33 6.67 ๑๐๐

จากตารางที่ ๓ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร จำแนกตามเพศ พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘0 เพศชาย จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒0 ตามลำดับ จำแนกตามช่วงอายุ พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ ๔๐-๕๙ ปี จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อย ละ ๕๓.๓๓ อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๔ และอยู่ในช่วงอายุ ๑๕-๓๙ ปี จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 ตามลำดับ จำแนกตามระดับการศึกษา แสดงข้อมูลตามระดับการศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรม ส่วนใหญ่เป็นจบ ป.๔ จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓๓ จบ ม.3 และม.6 จำนวนละ ๒ คน คิดเป็นร้อย ละ 41.93 และต่ำกว่า ป.๔ ป.๖ และ อนุปริญญา จำนวนละ ๑ คนคิดเป็นร้อยละ 6.67 ตามลำดับ สมุนไพร

๔.๒.๒ ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจพบว่า ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้

ตารางที่ ๔ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้านเนื้อหา ด้านเนื้อหา 1. เนื้อหาโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการ 2. เนื้อหาโครงการตรงกับความต้องการของเข้าร่วมโครงการ 3. เนื้อหาส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรม ทำเป็น คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น รวม

ระดับความพึงพอใจ S.D. การแปลผล X. 4.92 0.28 มากที่สุด 4.92 0.28 มากที่สุด 4.77 ๐.๔๔ มากที่สุด 4.87

๐.๒๒

มากที่สุด

จากตารางที่ ๔ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจในด้านเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( X =4.87, S.D. = ๐.๒๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความพึงพอใจมากที่สุด คือเนื้อหาของ โครงการตรงกับความต้ องการของผู้เข้ารับ การอบรมและเนื้อหาโครงการตรงกับความต้องการของเข้าร่วม โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๒, S.D. = ๐.๒๘) รองลงมาคือ เนื้อหาส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรม ทำ เป็น คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๗๗, S.D. = ๐.๔๔)

๒๓

ตารางที่ ๕ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมหรือการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมหรือการเรียนรู้ ๔. กิจกรรมการอบรมเป็นไปตามลำดับขั้นตอนง่ายไปยาก ๕. กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ และนำไปปฏิบัติได้ รวม

ระดับความพึงพอใจ S.D. การแปลผล X. 4.92 ๐.๒๘ มากที่สุด 4.92 ๐.๒๘ มากที่สุด 4.92

๐.๑๙

มากทีส่ ดุ

จากตารางที่ ๕ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมหรือการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๙๒, S.D. = ๐.๑๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความพึงพอใจมากที่สุด ทั้งสอง ด้านคือกิจกรรมการอบรมเป็นไปตามลำดับขั้นตอนง่ายไปยากและกิจกรรมส่งเสริมให้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับ ความรู้และนำไปปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๙๒, S.D. = ๐.๒๘) ตารางที่ ๖ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้านวิทยากร ด้านวิทยากร ๖. วิทยากรมีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่พูด ๗. วิทยากรมีการเตรียมตัวก่อน ๘. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจนและ เข้าใจง่าย รวม

X.

4.92 4.77 4.92 4.87

ระดับความพึงพอใจ S.D. การแปลผล ๐.๒๘ มากที่สุด ๐.๔๔ มากที่สุด ๐.๒๘ มากที่สุด ๐.22

มากที่สุด

จากตารางที่ ๖ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้านวิทยากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( X =๔.๘๗, S.D. =๐.๒๒) เมื่อพิ จารณาเป็ นรายข้อพบว่า ความพึงพอใจอยู่ ในระดับ มากที่สุด คือ วิทยากรมีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่พูดและการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ( X =๔.๙๒, S.D. =๐.๒๘ ) รองลงมา คือ วิทยากรมีการเตรียมตัวก่อน อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๗๗, S.D. =๐.๔๔) ตามลำดับ ตารางที่ ๗ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้าน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ ระดับความพึงพอใจ ด้าน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ S.D. การแปลผล X. ๙. สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีความทันสมัย 5.00 ๐.๐๐ มากที่สุด ๑๐. สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีจำนวนเพียงพอกับผู้เข้าร่วมโครงการ 4.92 ๐.๒๘ มากทีส่ ุด ๑๑. แหล่งเรียนรู้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ๔.๙๒ ๐.๒๘ มากที่สุด รวม 4.95 ๐.๑๓ มากที่สุด จากตารางที่ ๗ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้าน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่

๒๔ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๕, S.D. =๐.๑๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความพึงพอใจ มากที่สุด คือ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีความทันสมัย อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๕.๐๐, S.D. =๐.๐๐) รองลงมา คือ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีจำนวนเพียงพอกับผู้เข้าร่วมโครงการและแหล่งเรียนรู้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๒ , S.D. =๐.๒๘) ตามลำดับ ตารางที่ ๘ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้านผลที่ได้รับจากการอบรม ด้านผลที่ได้รับจากการอบรม ๑๒. ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ๑๓. ความมั่นใจในการนำผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ไป ประยุกต์ใช้ รวม

ระดับความพึงพอใจ S.D. การแปลผล X. 4.85 ๐.38 มากที่สุด 4.92 ๐.2๘ มากที่สุด 4.88

๐.22

มากที่สุด

จากตารางที่ ๘ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้านผลที่ได้รับจากการอบรม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( X =๔.๒๖ , S.D. =๐.๐๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความมั่นใจ ในการนำผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๒, S.D. =๐.๒๘) รองลงมา คือความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๘๕, S.D. =๐.๓๘) ตามลำดับ

๒๕

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการดำเนินงานและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมผลการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการอบรม โครงการอบรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพโดยใช้ ส มุ น ไพร ในระหว่ า งวั น ที่ ๑๓ – ๑๔ ธั น วาคม พ.ศ. 256๑ ณ กศน.ตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สรุปได้ดังนี้ สรุปผล ผู้ที่เข้าร่วมโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร จำแนกตามเพศ พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘0 เพศชาย จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒0 ตามลำดับ จำแนกตามช่วงอายุ พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ ๔๐-๕๙ ปี จำนวน ๘ คน คิด เป็นร้อยละ ๕๓.๓๓ อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๔ และอยู่ในช่วงอายุ ๑๕-๓๙ ปีจำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 ตามลำดับ จำแนกตามระดับการศึกษา แสดงข้อมูลตามระดับการศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วม กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นจบ ป.๔ จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓๓ จบ ม.3 และม.6 จำนวนละ ๒ คน คิด เป็นร้อยละ 41.93 และต่ำกว่า ป.๔ ป.๖ และ อนุปริญญา จำนวนละ ๑ คนคิดเป็นร้อยละ 6.67 ตามลำดับ เมื่อศึกษาเป็นด้านพบว่า ผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการมีความพึงพอใจ ๑. ด้านเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.87, S.D. = ๐.๒๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความพึงพอใจมากที่สุด คือเนื้อหาของโครงการตรงกับความต้องการ ของผู้เข้ารับ การอบรมและเนื้ อหาโครงการตรงกับ ความต้องการของเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุ ด ( X =๔.๙๒, S.D. = ๐.๒๘) รองลงมาคือ เนื้ อหาส่งเสริมให้ ผู้เข้าร่วมอบรม ทำเป็ น คิดเป็ น แก้ปั ญ หาเป็ น อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๗๗, S.D. = ๐.๔๔) ๒. ด้านการจัดกิจกรรมหรือการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = ๔.๙๒, S.D. = ๐.๑๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความพึงพอใจมากที่สุด คือ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีความทันสมัย อยู่ใน ระดับมากที่สุด ( X =๕.๐๐, S.D. =๐.๐๐) รองลงมา คือ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีจำนวนเพียงพอกับผู้เข้าร่วม โครงการและแหล่งเรียนรู้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๒ , S.D. =๐.๒๘) ตามลำดับ ๓. ด้าน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๕, S.D. =๐.๑๓) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๕, S.D. =๐.๑๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความพึง พอใจมากที่สุด คือ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีความทันสมัย อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๕.๐๐, S.D. =๐.๐๐) รองลงมา คือ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีจำนวนเพียงพอกับผู้เข้าร่วมโครงการและแหล่งเรียนรู้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๙๒ , S.D. =๐.๒๘) ตามลำดับ ๔. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจด้านผลที่ได้รับจากการอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =๔.๒๖, S.D.= ๐.๐๓)

๒๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความมั่นใจในการนำผลที่ได้รับจากการ เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =๔.๙๒, S.D. =๐.๒๘) รองลงมาคือความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ อยู่ ในระดับมากที่สุด ( =๔.๘๕, S.D. =๐.๓๘) ตามลำดับ อภิปรายผล ตัว ชี้ วัด ผลผลิ ต ผู้ เข้าร่ ว มกิ จกรรมโครงการอบรมส่ งเสริ ม สุ ข ภาพโดยใช้ ส มุน ไพร ระหว่างวัน ที่ ๑๓- ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ สถานที่ดำเนินงาน ณ กศน.ตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา - ร้อยละ ๘๗ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและสามารถใช้สมุนไพรในการ ดูแลสุขภาพ - ร้อยละ 13 ประชาชนที่เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเองและเป็นตัวอย่างที่ ดีในตำบล ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการประเมินโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร ระหว่างวันที่ ๑๓- ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ ไปปรับใช้ในโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป

๒๗ บรรณานุกรม https://alpacateas.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%8 4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B 8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/ https://health.kapook.com/view37827.html

๒๘

ภาคผนวก

๒๙ แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจ โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร วันที่ 13 - 14 ธันวาคม 2561 ณ กศน.ตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครราชสีมา คำชี้แจง ใส่เครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับข้อมูลของท่านเพียงช่องเดียว ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป ชาย หญิง เพศ อายุ ต่ำกว่า 15 ปี ๑๕-๓๙ ปี ๔๐-๕๙ ปี ๖๐ ปีขึ้นไป ป.4 ป.6 ม.3 ม.6 อนุปริญญา ปริญญาตรี ระดับการศึกษา ต่ำกว่า ป.๔ อาชีพ

เกษตรกร

รับจ้างทั่วไป

ธุรกิจส่วนตัว

ค้าขาย

อื่นๆ...................................

ส่วนที่ ๒ ความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คำชี้แจง ใส่เครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านเพียงช่องเดียว ระดับการประเมิน ที่ รายการ ดีมาก ดี ปาน ควร ต้อง กลาง ปรับปรุง ปรับปรุง เนื้อหา ๑ เนื้อหาโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วม โครงการ ๒ เนื้อหาโครงการตรงกับความต้องการของเข้าร่วมโครงการ ๓ เนื้อหาส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรม ทำเป็น คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น การจัดกิจกรรมหรือการเรียนรู้ ๔ กิจกรรมการอบรมเป็นไปตามลำดับขั้นตอนง่ายไปยาก ๕ กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ และนำไปปฏิบัติได้ ด้านวิทยากร ๖ วิทยากรมีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่พูด ๗ วิทยากรมีการเตรียมตัวก่อน ๘ การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ ๙ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีความทันสมัย ๑๐ สื่อและวัสดุอุปกรณ์มีจำนวนเพียงพอกับผู้เข้าร่วมโครงการ ๑๑ แหล่งเรียนรู้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

๓๐

ที่

รายการ

ดีมาก

ระดับการประเมิน ดี ปาน ควร ต้อง กลาง ปรับปรุง ปรับปรุง

เนื้อหา ผลที่ได้รับจากการอบรม ๑๒ ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ๑๓ ความมั่นใจในการนำผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ ส่วนที่ ๓ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม…………………………………………………………………………………………………………………

๓๑ รายงานผลการดำเนินงาน โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร จำนวน ๑๐ ชั่วโมง ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ - โครงการ : โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพร - วัน เดือน ปี : วันที่ ๑๓ – ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ - สถานที่ : กศน.ตำบลหมื่นไวย หมู่ 4 ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา - วัตถุประสงค์ : 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ 3 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและเป็นตัวอย่างที่ดีในตำบล - วิทยากร : นายอรุณ ขันโคกสูง - เป้าหมาย : เชิงปริมาณ ประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๑๕ คน เชิงคุณภาพ ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรใน การดูแลสุขภาพ และประชาชนที่เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและเป็นตัวอย่างที่ดีใน ตำบล

Data Loading...