แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จัดทําขึ้นเพื่อ พัฒนาทักษะชีวิต อันประกอบด้ว - PDF Flipbook

แบบรายงานผลสะท้อนการปฏิบัติงานครูปริชญา ผลบุญ

191 Views
33 Downloads
PDF 4,469,275 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


คํานํา แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จัดทําขึ้นเพื่อ พัฒนาทักษะชีวิต อันประกอบด้วยทักษะการสืบค้น ทักษะการนําเสนอแบบส่งคลิป VDO. แบบสั้นๆในช่วง สถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา (Covid-19) ระบาดหนัก จึงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) ขึ้ น ซึ่ งข้ า พเจ้ า ได้ จั ด กิ จ กรรมการเรี ย นการสอนกั บ ผู้ เ รี ย น ระดั บชั้ น ประถมศึ กษาปี ที่ ๓ จํ า นวน ๓๑ คน โรงเรียนบ้านย่านตาขาว โดยมีการวัดการประเมินผลอย่างรอบด้าน เพื่อนําทักษะที่ได้นําไปใช้บูรณาการใน กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และประกอบรายงานผลปฏิบัติงานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการทักษะ ชี วิ ต ที่ มี อ งค์ ป ระกอบที่ สํ า คั ญ คื อ องค์ ป ระกอบที่ ๑ การตระหนั ก รู้ แ ละเห็ น คุ ณ ค่ า ในตนเองและผู้ อื่ น องค์ประกอบที่ ๒ การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ องค์ประกอบที่ ๓ การจัดการกับ อารมณ์ แ ละความเครี ย ด และองค์ ป ระกอบที่ ๔ การสร้ า งสั ม พั น ธภาพที่ ดี กั บ ผู้ อื่ น ตามที่ สํ า นั ก งาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กําหนดไว้ ข้าพเจ้าได้นําชั่วโมงเรียนของวิชาศิลปะมาทํากิจกรรมนี้เพื่อบูรณาการทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน โดย คํานึงถึงความสนใจของผู้เรียนและปรับใช้ตามวัยของผู้เรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น การแสดงออก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เปิดใจ เปิดความรู้สึกให้กัน สร้างบรรยากาศแห่งความอบอุ่น เสมือนเป็นหนึ่งในครอบครัวผู้เรียน และให้ความอิสระกับผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข นางปริชญา ผลบุญ ผู้รายงาน

สารบัญ

เรื่อง คํานํา สารบัญ เรื่อง รายงานที่สะท้อนการปฏิบัติงาน ด้านที่ ๑ คุณลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๑ พฤติกรรมประจําตัว ตัวชี้วัดที่ ๒ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านปัญญา ตัวชี้วัดที่ ๓ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านอารมณ์ ตัวชี้วัดที่ ๔ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถในการดูแลนักเรียน ตัวชี้วัดที่ ๕ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านสังคมและสัมพันธภาพ

หน้า ก ข ๑ ๑ ๒ ๔ ๕ ๖

ด้านที่ ๒ การจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๑ การวางแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๒ กระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๓ การใช้สื่อ นวัตกรรม ตัวชี้วัดที่ ๔ การวัดและประเมินพฤติกรรมทักษะชีวิตนักเรียน

๗ ๗ ๘ ๘

ด้านที่ ๓ ผลที่เกิดกับนักเรียน ตัวชี้วัดที่ ๑ ข้อมูลสารสนเทศความก้าวหน้าของการพัฒนาและพฤติกรรมที่แสดง ถึงการมีทักษะชีวิตของนักเรียน ตัวชี้วัดที่ ๒ รางวัลหรือผลงานนักเรียนและครูที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทักษะชีวิต

๙ ๑๐

เอกสารอ้างอิง - ภาพการปฏิบัติกิจกรรม

๑๓

รายงานสะท้อนการปฏิบัติงาน ด้านที่ ๑ คุณลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๑ พฤติกรรมประจําตัว ข้าพเจ้ามีพฤติกรรมประจําตัวที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นพฤติกรรม ประจําตัว ได้แก่ การพูดเสียงดังฟังชัด มีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนานเฮฮา เป็นกันเองกับนักเรียนใน ช่วงเวลาที่เหมาะสม ถูกต้องตามกาลเทศะ ทักทายนักเรียนด้วยกัลยาณมิตรด้วยวาจาอันสุภาพและไพเราะ อย่ า งสม่ํ า เสมอ มี ก ารแต่ ง กายที่ เ หมาะสมถู ก กาลเทศะ ถู ก ระเบี ย บของทางราชการ มี กิ ริ ย าอาการ ลักษณะท่าทางที่สง่างาม มีกิริยามารยาท สุภาพอ่อนโยน นุ่มนวล ด้านวาจา การแสดงออกทางวาจา การ พูดด้วยน้ําเสียงที่แฝงด้วยความเมตตา ปรารถนาดี มีสัจจะในทุกคําพูดที่ได้กล่าวออกไป น้ําเสียงและการพูด ของข้าพเจ้า มีเสียงสูงต่ํา หนักเบา ตามความสําคัญของเนื้อหาที่พูด หรือเป็นการเน้นย้ําในส่วนที่สําคัญของ เรื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูด ได้คิดวิเคราะห์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าครูให้ความสนใจกับนักเรียน ด้านการ วางตัว ข้าพเจ้ามีพฤติกรรมในการวางตัวให้เหมาะสมกับฐานะ ตําแหน่งหน้าที่ คุณวุฒิและวัยวุฒิของตน โดย มีการแสดงออกอย่างสุภาพและจริงใจ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่สามารถผูกมัดน้ําใจของบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด หรือ บุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนเข้ามารู้จักและสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย และที่สําคัญข้าพเจ้ามีความเมตตาต่อผู้เรียน โดยใช้ หลักพรหมวิหาร 4 เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีความยุติธรรม ไม่ลําเอียง (อคติ) สร้างความยุติธรรมให้กับผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้เข้าใจว่าผู้เรียนมีความเท่าเทียมทางสังคมเท่ากัน และครูรัก และห่วงใยผู้เรียนเท่าเทียมกัน เป็นแบบอย่างในด้านคุณธรรม จริยธรรมในการใช้ชีวิตพร้อมทั้งสอดแทรกการ สอนคุณธรรม จริยธรรมให้กับผู้เรียนในทุกกิจกรรมที่จัดการเรียนการสอนเต็มตามศักยภาพของตนเองในทุกๆ ด้าน พัฒนาด้วยไอเดียร์ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษาได้ หลากหลาย และสามารถชี้ให้เด็กเห็น ถึงข้อดีข้อเสีย และการใช้เทคโนโลยีต่า งๆอย่างเหมาะสม สู่สังคม การศึกษาศตวรรษที่ ๒๑ (เอกสารอ้างอิง หน้า ๑๔ – ๑๖) ข้าพเจ้าสอนผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีป ฏิสัมพัน ธ์กับ ทุกกิจกรรมการเรีย นรู้ และเรีย นรู้อย่างมีความสุข ผู้ส อนเรีย นรู้ไปพร้อมกับ ผู้เ รีย น มุ่งเน้นการเท่าทันสื่อ การช่วยเหลือผู้อื่น การเห็นใจ และการเห็นคุณค่าของผู้อื่น ให้เป็นคนดีขอพลโลก โดย เริ่มจากตนเอง ครอบครัว และชุมชน จะสามารถพัฒนาได้ตรงจุด ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนนํามาใช้โดย ไม่รู้ตัวเนื่องจากมีอยู่ในความคิดและธรรมชาติของทุกคน สามารถเข้าถึงความรู้คู่คุณธรรมได้อย่างชัดเจน (เอกสารอ้างอิง หน้า ๑๗ – ๑๘) ๑

ตัวชี้วัดที่ ๒ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านปัญญา ข้าพเจ้ามีความรู้ในเรื่องการบูรณาการความรู้เข้าสู่ทักษะชีวิต และเป็นความตั้งใจเพื่อการพัฒนา ผู้เรียนสามารถนําทักษะความรู้ที่คงที่ไปบูรณาการปรับการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ในปัจจุบันอย่างมีความสุข และเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคทุกรูปแบบสู่อนาคตที่ดีในวันข้างหน้า จากการเรียนรู้ของตัวข้าพเจ้าเองจากโรงเรียน และประสบการณ์ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ เกิดทักษะการใช้ชีวิตในวันข้างหน้าให้กับผู้เรียน ตามแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการจัดการ เรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และ หลักสูตรอื่นๆ ที่มีการปรับปรุงและแก้ไข (๒๕๖๐) ซึ่งบูรณาการและจัดการเรียนรู้สอดแทรกทักษะชีวิต ให้ ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การมีปฏิภาณไหวพริบที่ดี มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมาะสม มีการตัดสินใจที่ดีโดย พิจารณาถึงเหตุและผลของผู้เรียนเป็นสําคัญ ข้าพเจ้ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการบูรณาการทักษะชีวิตให้เข้ากับการพัฒนาการเรียนการสอน ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีความสุข กับการเรียนรู้ไปพร้อมๆกันและเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามตัวชี้วัดการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียนให้มี ทั ก ษะชี วิ ต โดยยึ ด หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาสอดคล้ องกั บ การสอนในทุ ก แผนการจั ด การเรี ย นรู้ ข้าพเจ้ามักจะหาความรู้รอบตัวอยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ต่อโลกที่หมุนไปในทุกๆวินาที ข้าพเจ้าเน้นการฝึกความจําดี และเป็นคนช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ มีความรู้ในรายวิชาที่สอน อย่างแท้จริง ซึ่งข้าพเจ้าสามารถจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี-นาฎศิลป์ ระดับชั้น ป.๓ โดยเน้นการบูรณาการทักษะชีวิตจากบทเพลงที่สอดแทรกคุณธรรมในการดํารงชีวิตของผู้เรียน เป็นที่ตั้ง เพื่อให้ผู้เรียนนําทักษะชีวิตมาใช้ในชีวิตประจําวันได้จริง ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดเด็กดี เด็กเก่ง และมีความสุข จากการสังเคราะห์โดยใช้ปัญญาจากการทํากิจกรรมแบบ Online ถ่ายคลิป VDO. การใช้ ทักษะชีวิตประจําวันภายในครอบครัว ช่วงเรียน Online อยู่ที่บ้านส่งให้ครูในไลน์กลุ่มห้องเรียนชั้น ป.๓ ของ แต่ละห้องเรียน ข้าพเจ้าสามารถถ่ายทอดความรู้ เช่น ประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่างๆ สามารถอบรมบ่ม นิสัยผู้เรียนให้มีศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัยที่ดี สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียน และก้าวทันเทคโนโลยี สามารถพัฒนาผู้เรียนให้คิดกว้าง คิดไกล และมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์ข่าวสาร ต่างๆ ได้ดี (เอกสารอ้างอิง หน้า ๑๙ – ๒๑) ๒

องค์ประกอบของทักษะชีวิต สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กําหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตที่สําคัญที่จะสร้าง ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีภูมิคุ้มกันในชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมปัจจุบัน และเตรียมความ พร้อมสําหรับอนาคต ประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบ พร้อมทั้งพฤติกรรมที่คาดหวังและตัวชี้วัดทักษะชีวิตใน แต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบของทักษะชีวิต พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง และตัวชี้วัดระดับประถมศึกษา องค์ประกอบที่ ๑ การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น พบว่าหลังจากนักเรียนได้รับคําแนะนําจากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี – นาฏศิลป์บูรณาการทักษะชีวิตกับรายวิชาสังคมด้วยการสอกแทรกด้านคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มองตนเองและผู้อื่นในแง่บวก รู้จักตนเอง ยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีคุณค่า และมีความสุข องค์ประกอบที่ ๒ การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เมื่อครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี – นาฎศิลป์ ได้ สอดแทรกการเรียนการสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนแล้วพบว่านักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓ สามารถประเมินสถานการณ์รอบตัว คิดวิเคราะห์เป็น ตัดสินใจ และแก้ปัญหา ได้อย่างสร้างสรรค์พร้อมทั้งนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้ องค์ประกอบที่ ๓ การจัดการกับอารมณ์และความเครียด พบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเอง รู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคล รู้วิธีการผ่อนคลายด้วยวิธีการที่เหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรม หรือหลีกเลี่ยงที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี เมื่อครูได้ให้คําแนะนํา ให้คําปรึกษากับนักเรียนที่มีปัญหากับอารมณ์และความเครียดของตัวเอง องค์ประกอบที่ ๔ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น จากการที่ครูผู้สอนเป็นแบบอย่างทางด้านแสดงออกทางด้านพฤติกรรมการสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นให้นักเรียนได้เห็นอยู่บ่อยๆ พบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ รู้จัก การให้อภัยเมื่อมีเหตุทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อน ยอมรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ รู้จักเอาใจเขามา ใส่ใจเรา ๓

ตัวชี้วัดที่ ๓ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านอารมณ์ ข้าพเจ้ามีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์ได้ทุกสถานการณ์ มีอารมณ์มั่นคงเสมอ ต้นเสมอปลาย มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในทุกๆด้าน ไม่เฉพาะเจาะจงแค่นักเรียนระดับชั้น ป.๓ เท่านั้น แต่นักเรียนทุกคนในโรงเรียนบ้านย่านตาขาว คือนักเรียนของข้าพเจ้าทุกคน ข้าพเจ้าพัฒนา ทักษะชีวิตนักเรียน ด้วยความฉับไวต่อการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนทั้งด้านดี และความเสี่ยงในปัญหาต่างๆ ของผู้เรียน เป็นแบบอย่างด้า นใช้สติในการฟัง การพูด และการสื่อสารเชิงบวกพร้อมแก้ไขปัญหาให้กับ ผู้เรียน ข้าพเจ้ามีความเสียสละ มีความเมตตากรุณา มีความอดทนอดกลั้น มีอารมณ์ขัน ไม่เคร่งเครียดหรือ จริงจังจนเกินไป มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน ยิ้มแย้ม และร่าเริงอยู่เสมอมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีความภาคภูมิใจในอาชีพของตน มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก รักและเอ็นดูเด็ก ให้อภัยและช่วยเหลือเด็กอยู่เสมอ ข้าพเจ้ามีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถทํางานภายใต้สภาวะความกดดันและความอดกลั้น เมื่อ ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดและอดทน อดกลั้นต่อพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียน ควบคุม อารมณ์ให้มีความสุขต่อตนเองและคนรอบข้างอย่างเป็นธรรมชาติ ข้าพเจ้าให้ความสําคัญกับความรับผิดชอบต่องานสูงมีความซื่อสัตย์ จริงใจ มีทัศนคติและค่านิยมที่ดี งาม มี ค วามมั่ น ใจในตนเอง เป็ น ตั ว ของตั ว เอง มี จิ ต ใจกว้ า งขวาง ยอมรั บ ความคิ ด เห็ น ที่ แ ตกต่ า งกั น ขยันหมั่นเพียร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ หนักแน่น อดทนอดกลั้น และข่มใจตนเองได้ มีความกล้า แสดงออกที่เหมาะสม กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลมีความสํานึกในหน้าที่การงาน โดยนําหลักธรรม คําสอนของศาสนาพุทธมาช่วยในการเจริญสติให้มีการข่มใจ รู้จักให้อภัย อีกทั้งรู้จักกล่าวคําขอโทษ เสียใจต่อ นักเรียน ผู้ร่วมงาน และผู้ปกครอง ในสถานการณ์ที่กระทําผิดพลาด ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเป็นที่รักและยอมรับต่อ สังคมในเรื่องการวางตัวและความสามารถในการควบคุมอารมณ์ นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังนําพฤติกรรมที่มีความสามารถทางด้านอารมณ์ไปถ่ายทอดและปลูกฝังกับ ผู้เ รียนให้เ กิด การเรีย นรู้อย่างมีความสุข สามารถทํา กิจ กรรมการเรีย นการสอนได้อย่า งมีประสิทธิภาพ เรียนรู้การดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและอยู่รอดปลอดภัย เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ พ่อแม่ ครู และเพื่อน ๆ วิธีการควบคุมอารมณ์ของตนเอง รู้จักการปรับตัวเข้ากับปัญหาความขัดแย้ง ความ โกรธ และความเครียดต่าง ๆ โดยควรมีเทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สอดแทรกในเนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมที่ข้าพเจ้าได้จัดการเรียนการสอน โดยฝึกให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของ



บุคคล รู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงและ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี ข้าพเจ้ามีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน ข้าพเจ้าศรัทธาและเชื่อมั่นเสมอว่า การจะ พัฒ นาให้ผู้เรียนเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่า งกาย จิตใจ สติปัญ ญานั้นจําเป็นอย่า งยิ่งที่จะต้องสร้า งความ เข้มแข็งให้กับผู้เรียนรอบด้านให้ผู้เรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพราะถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานด้านความรู้ และ ทักษะที่ดีก็จะส่งผลการนําความรู้ และทักษะชีวิตให้ไปต่อยอดพัฒนาในการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ให้ผู้เรียน ได้ และที่สําคัญจะพัฒนาทักษะชีวิตให้ผู้เรียน ตัวครูเองก็ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีทักษะชีวิตที่ดี (เอกสารอ้างอิง หน้า ๒๒ – ๒๔) ตัวชี้วัดที่ ๔ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถในการดูแลนักเรียน ข้าพเจ้ามีความรู้เรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความสามารถในการวางแผนพัฒนาทักษะ ชีวิตนักเรียน ให้คํา ปรึกษาการดําเนินชีวิตให้แก่นักเรียนได้ มีความสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ นักเรียนทุกคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ สามารถดํารงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคม ข้าพเจ้ามีการจัดเก็บข้อมูล ศึกษา รวบรวมข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคลและสังเกตถึงความ ถนัด ความสามารถของนักเรียนที่แตกต่างกัน มีความชอบในรายวิชาที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านการเรียน ด้าน ความสามารถพิเศษ ความอัจฉริยะ ด้านสุขภาพ ได้แก่ ด้านร่างกาย/ความพิการ ด้านจิตใจ พฤติกรรม ด้ า นครอบครั ว ได้ แ ก่ ด้ า นเศรษฐกิ จ ด้ า นคุ้ มครองสวั ส ดิ ภ าพด้ า นสารเสพติ ด ด้ า นความปลอดภั ย ด้ า น พฤติกรรมทางเพศด้านอื่น ๆ ที่ข้าพเจ้าพบเพิ่มเติม ซึ่งมีความสําคัญหรือเกี่ยวข้องกับการดูแล ดังนั้นข้าพเจ้า จึงพัฒนานักเรียนตามศักยภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคล อาทิเช่น เด็กหญิงนาตาลี รัตน์พัฒน์ เป็นเด็กมี ความบกพร่องทางด้านสติปัญญา มีความชอบด้านการขับร้องเพลง เต้นรํา ข้าพเจ้าจึงผลักดัน ฝึกซ้อมและ สนับสนุนให้เข้าร่วมการประกวดการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖ ประเภทความบกพร่อง ทางด้านสติปัญญา ชนะเลิศ เหรียญทอง ระดับเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต ๑ ได้เป็นตัวแทนระดับเขต พื้นที่การศึกษา แข่งขันระดับชาติ ภาคใต้ ได้รับรางวัลเหรียญทอง เป็นต้น ข้าพเจ้าทราบดีว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างและความถนัดที่ไม่เหมือนกัน จึงได้สนับสนุนและ ส่งเสริมนักเรียนให้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียน และดูแลนักเรียนพิเศษให้อยู่ร่วมกับเพื่อนๆได้อย่างมีความสุข และสนับสนุนให้ได้รับทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (เอกสารอ้างอิง หน้า ๒๕ – ๒๗)



ตัวชี้วัดที่ ๕ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านสังคมและสัมพันธภาพ ข้าพเจ้าเป็นแบบอย่างที่ดีของครู และเพื่อนร่วมงานในสถานศึกษา มีความสามารถในการเข้าสังคม และสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น โดย มีการเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น ใช้ภาษาพูด ภาษา กายเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิด ของตนเอง รับ รู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น วางตัวได้ ถูกต้องเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ใช้การสื่อสารที่สร้างสัมพันธ์ที่ดี ข้าพเจ้ามีความสามารถในการสื่อสาร ได้ เ ป็ น อย่ า งดี ทั้ งต่ อ เพื่ อ นร่ ว มงานและต่ อ ผู้ เ รี ย น เป็ น การสื่ อ สารที่ ต้ อ งใช้ ความสามารถในการเข้ า ถึ ง ความรู้สึก เพราะถ้าการสื่อสารผิดพลาดหรือเกิดความไม่เข้าใจแล้ว ผลสัมฤทธิ์ที่ได้ออกมาจะมีแต่ความ ผิดพลาด และได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม ข้ า พเจ้ า ให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ ผู้ ป กครอง ชุ มชน โดยให้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด กิ จ กรรมกั บ ทาง โรงเรียนโดยการ Online ให้ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจว่าเป็น ส่วนหนึ่งในการช่วยจัดการเรียนรู้ให้กับ นั ก เรี ย น เช่ น กิ จ กรรมขนมวั น สารทเดื อ นสิ บ ทางภาคใต้ การประดิ ษ ฐ์ ก ระทง ข้ า พเจ้ า เปิ ด โอกาสให้ ผู้ปกครองมาเป็นวิทยากรในการทําขนมวันสารทเดือนสิบ และการประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติให้กับ นักเรียน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่ให้สังคม และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในสถานศึกษาได้แก่ กิจกรรม กีฬาสี การประชุมผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้านนักเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ข้าพเจ้า ได้ใช้สื่อเทคโนโลยี โซเชีย ล (Social media) เฟสบุค (Face book) ยูทูป (YouTube) ติ๊กต๊อก (TikTok) มาประชาสัมพันธ์ในด้านการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมต่างๆ ของทางโรงเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับข่าวสารของทางโรงเรียนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ข้าพเจ้ามีการไปเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน และเยี่ยมบ้านออนไลน์ในช่วงโรคระบาดโคโร นาไวรัส Covid – 19 ระบาดหนัก เพื่อสอบถามความเข้าใจและสร้างความคุ้นเคยกับผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งถือเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับตัวข้าพเจ้าและสังคมเช่นกัน (เอกสาร หน้า ๒๘ – ๒๙)



รายงานสะท้อนการปฏิบัติงาน ด้านที่ ๒ การจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๑ การวางแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจวิธีการบูรณาการสาระสําคัญทักษะชิวิตกับเนื้อหาสาระที่จัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ในรายวิชาศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี – นาฎศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยข้าพเจ้าได้จัดทํา หน่วยการเรียนรู้ครอบคลุมองค์ประกอบทักษะชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่ง ข้า พเจ้า กําหนดวัตถุประสงค์ / พฤติกรรมทักษะชีวิต ได้เหมาะสมกับหน่วยการเรียนรู้ และออกแบบการ จั ด การเรี ย นรู้ ที่ บู ร ณาการทั ก ษะชี วิ ต ร่ ว มกลั บ กลุ่ ม สาระการเรี ย นภาษาไทย สั ง คมศึ ก ษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ศิลปะ สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยกําหนด ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดบูรณาการ ทักษะชีวิต ข้าพเจ้าใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับจุดประสงค์การพัฒนาทักษะชีวิตตามแผนการจัดการเรียนรู้ และมีการใช้สื่อเครื่องมือการวัดและประเมินผล ได้ต รงตามวัต ถุป ระสงค์พัฒ นาทักษะชีวิตตามแผนการ จัดการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี – นาฎศิลป์ ได้อย่างเหมาะสม (อ้างอิง หน้า ๓๐) ตัวชี้วัดที่ ๒ กระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ข้าพเจ้าจัดการเรียนการสอนโดยการสร้างบรรยากาศเชิงบวก ผ่านสื่อทางไลน์กลุ่มห้องเรียน การ Zoom Meeting ช่องทาง ยูทูป (You Tube) และ Application TikTok ด้วยการให้กํา ลังใจในการพูด หรือแสดงความชื่นชม จัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด แสดงออกอย่างอิสระ เล่น ทําตามแบบ และสร้ า งสรรค์ ผ ลงาน ใช้ เ ทคนิ ค การตั้ ง คํ า ถาม สนทนา ให้ นั ก เรี ย นค้ น หาคํ า ตอบสะท้ อ นความคิ ด ความรู้ สึ ก เชื่ อ มโยงสอดแทรกคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม และนํ า ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ น ชีวิตประจําวัน ฝึกให้นักเรียนสํารวจ สังเกตอารมณ์ของตนเองที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ สอดแทรก



องค์ประกอบทักษะชีวิตเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวัน เพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี กับผู้อื่น โดยการใช้เพลงเป็นสื่อ การใช้ภาษาพูดกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนได้คิด ได้ฝึกปฏิบัติแสดง ความสามารถที่ตนเองมีอยูอ่ ย่างเต็มศักยภาพ (อ้างอิง หน้า ๓๑) ตัวชี้วัดที่ ๓ การใช้สื่อ นวัตกรรม ข้าพเจ้าศึกษาค้นคว้า หาความรู้ให้ตนเองอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันต่อการเรียนรู้บูรณา การทักษะชีวิต โดยการใช้สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีที่เ หมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สําคัญให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ นักเรียนสามารถเลือกใช้สื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ข้าพเจ้า ใช้สื่อ นวัตกรรมพัฒนาการเรียนรู้และทักษะชีวิตให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน และเรียนรู้อย่างมีความสุข ส่งผลให้เกิดเด็กดี เด็กเก่ง อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข (อ้างอิง หน้า ๓๒ -๓๓) ตัวชี้วัดที่ ๔ การวัดและประเมินพฤติกรรมทักษะชีวิตนักเรียน ข้าพเจ้ามีการวัดและประเมินผลได้สอดคล้องกับพฤติกรรมทักษะชีวิตที่กําหนดในวัตถุประสงค์ของ แผนการจัดการเรียนรู้ ในช่วงการสอนแบบ Online และมีวิธีการวิเคราะห์ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมและรายบุคคล โดยข้าพเจ้านําข้อมูลผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อ ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะชีวิตอย่างต่อเนื่อง (อ้างอิง หน้า ๓๔)



รายงานสะท้อนการปฏิบัติงาน ด้านที่ ๓ ผลที่เกิดกับนักเรียน ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี – นาฎศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ แบบ Online มีผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๓ จํานวนทั้งหมด ๓๑ คน ตัวชี้วัดที่ ๑ ข้อมูลสารสนเทศความก้าวหน้าของการพัฒนาและพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีทักษะ ชีวิตของนักเรียน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กําหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตที่สําคัญที่จะสร้าง และพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสําหรับอนาคตไว้ ๔ องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบทักษะชีวิต ๑. การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าใน ตนเองและผู้อื่น ๒. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ๓. การจัดการกับอารมณ์และ ความเครียด ๔. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

จํานวน นักเรียน

ดี

ร้อยละ พอใช้ ร้อยละ ปรับปรุง ร้อยละ

๓๑

๓๐

๙๖.๗๗



๓.๒๒

-

-

๓๑

๓๐

๙๖.๗๗



๓.๒๒

-

-

๓๑

๓๐

๙๖.๗๗



๓.๒๒

-

-

๓๑

๓๐

๙๖.๗๗



๓.๒๒

-

-

หมายเหตุ : ผลการประเมินกิจกรรมทักษะชีวิต มีผู้ผ่านกิจกรรมทั้งหมด ๓๑ คน ไม่ผ่าน ๐ คน ผ่าน คือ ผู้ที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี หรือ พอใช้ ไม่ผ่าน คือ ผู้ที่มีผลการประเมินอยู่ในต้องการพัฒนาเพิ่มเติม (อ้างอิง หน้า ๓๕ – ๓๖)



ตัวชี้วัดที่ ๒ รางวัลหรือผลงานนักเรียนและครูที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทักษะชีวิต สิ่งที่ข้าพเจ้าได้มุ่งมั่นพัฒนาด้านทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ ผู้เรียนพัฒนาตนเองในด้านความรู้ทักษะการสืบค้นทักษะชีวิตช่วงการเรียน Online เป็นสิ่งที่ผู้เรียน จําเป็นต้องใช้บูรณาการกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไป ใช้ได้ตลอดชีวิต สิ่งที่สําคัญคือการมีคุณธรรมจริยธรรม การเห็นคุณค่ากับตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การจัดการกับอารมณ์และความเครียด การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับ ผู้อื่น อันเป็นองค์ประกอบที่มีครบจะดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข (อ้างอิง หน้า ๓๗ – ๓๙) รางวัลหรือผลงานนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนทักษะชีวิต ปีการศึกษา

รายการแข่งขัน

๒๕๖๑

การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทนักเรียนที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖ การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทนักเรียนที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖ วาดภาพระบายสี ประเภท ออทิสติก ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖

๒๕๖๑

๒๕๖๑

ชื่อ-สกุล ผู้เข้าแข่งขัน เด็กหญิงนาตาลี รัตนพัฒน์

ผลการ แข่งขัน เกียรติบัตร เหรียญทอง

เด็กหญิงนาตาลี รัตนพัฒน์

เกียรติบัตร เหรียญทอง ชนะเลิศ

เขตพื้นที่ ฯ

เด็กชายพัชรพล ตั้งใจมั่น

เหรียญเงิน

เขตพื้นที่ ฯ

ระดับ ระดับชาติ

รางวัลหรือผลงานครูที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตหรือเทียบเคียง ปี พ.ศ. รางวัลหรือผลงานที่เกิดกับตนเอง ๒๕๖๔ โครงการประกวดร้องเพลงพร้อมจัดทํามิวสิกวิดีโอ “เพลงครู ไทยยิ้มได้ เมื่อภัยมา” ระดับยอดเยี่ยม ๒๕๖๓ วิทยากร โครงการส่งเสริมและสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีคน พิการและผู้ดูแลคนพิการ ๒๕๖๕ คณะทํางาน Influencer อาสาของแผ่นดิน สาขาสื่อสาร สังคมออนไลน์ มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

ได้รับจาก จากกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานเทศบาลตําบลย่านตาขาว ห้องประชุมหม่อมหลวงปิ่นมาลากุล ผ่านระบบ Zoom ๑๐

ปี พ.ศ. รางวัลหรือผลงานที่เกิดกับตนเอง ๒๕๖๔ รางวัลครูดีของแผ่นดิน ขั้นพื้นฐาน โครงการเครือข่ายครูดี ของแผ่นดิน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ๒๕๖๒ ครูผู้สอนดีเด่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ งานวันครู ครั้งที่ ๖๓ ๒๕๖๒ รางวัลครูดีไม่มีอบายมุข

ได้รับจาก มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์ วังจันทรเกษม เฟส ๒

๒๕๖๕ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการ Active Learning ผ่านระบบออนไลน์ กิจกรรมที่ ๔ ค่านิยมที่ดีงาม ของเด็กและเยาวชน ๒๕๖๕ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพข้าราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการ Active ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์ Learning ผ่านระบบออนไลน์ กิจกรรมที่ ๖ จําอวดหน้าวัง วังจันทรเกษม เฟส ๒ (จันทรเกษม) “ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน รากฐานการศึกษา สุนทรียภาพทางปัญญา คุณค่ามรดกแผ่นดิน” ๒๕๖๕ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพข้าราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการ Active ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์ Learning ผ่านระบบออนไลน์ กิจกรรมที่ ๗ สื่อยุคใหม่ วังจันทรเกษม เฟส ๒ การศึกษาออนไลน์ ๒๕๖๕ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพข้าราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการ Active และสสวท. Learning ผ่านระบบออนไลน์ สถาบันส่งเสริมการสอน ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกิจกรรมที่ ๗ สื่อยุคใหม่ วังจันทรเกษม เฟส ๒ การศึกษาออนไลน์ ๒๕๖๕ การอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศตวรรษที่ ๒๑ โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active ประถมศึกษาตรัง เขต ๑ Learning เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนที่ตอบสนอง การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑

๑๑

ปี พ.ศ. รางวัลหรือผลงานที่เกิดกับตนเอง ๒๕๖๑ ครูผู้ฝึกซ้อม การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖ การขับ ร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖ ระดับชาติ เหรียญทอง ๒๕๖๑ ครูผ็ฝึกซ้อม การแข่งขันวาดภาพระบายสีนักเรียน ประเภทออทิสติก ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖ ระดับเขตพื้นที่ การศึกษา เหรียญเงิน

ได้รับจาก สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตรัง เขต ๑

ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีและมีชีวิตที่ดี ในอนาคต ข้าพเจ้าอบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยความรักและศรัทธาให้ผู้เรียนได้เติบโตเป็นคนดีของครอบครัว ชุมชน และสังคมโลก สิ่งที่ข้าพเจ้าหวังด้วยปณิธานในการเป็นข้าราชการครู โดยเฉพาะการสอนคุณธรรมจริยธรรม การ พัฒนาทักษะชีวิตแก่ผู้เรียนที่สามารถติดตัวไปใช้ในชีวิตจริงได้ มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองมีการตระหนัก มีเจต คติที่ดี รู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การ จัดการกับอารมณ์และความเครียด การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เพื่อการปรับตัว การป้องกันตนเองใน สถานการณ์ต่าง ๆ จัดการกับชีวิตตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้าพเจ้าขอรับรองว่าผลการปฏิบัติงานในเอกสารเล่มนี้เป็นความจริงทุกประการ

ลงเชื่อ ( นางปริชญา ผลบุญ ) ตําแหน่ง ครู คศ.๓

ลงเชื่อ ( นายวิรัตน์ สังขมณี ) ตําแหน่ง ผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านย่านตาขาว ๑๒

๑๓

ด้านที่ ๑ คุณลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๑ พฤติกรรมประจําตัว พฤติกรรมประจําตัวของข้าพเจ้าเป็นคนที่อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีกิริยาวาจาที่สุภาพ เสียงดังฟัง ชัด แต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ มีความเมตตากรุณาและยุติธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน และเป็นผู้ มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

อารมณ์ดีร่าเริง แจ่มใส มีความเมตตา และมียุติธรรมโปร่งใสแบบชัดเจน ๑๔

เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน และเป็นผู้มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ แต่งกายเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ

๑๕

เป็นแบบอย่างทางด้านอารมณ์ให้แก่นักเรียน มีอารมณ์ยิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนานเฮฮา เป็นกันเองกับนักเรียนในช่วงเวลาที่เหมาะสม

๑๖

ผ่านการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจการเรียนรู้แบบ Active Learning

๑๗

๑๘

ด้านที่ ๑ คุณลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๒ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านปัญญา ข้าพเจ้ามีความรู้ในเรื่องการบูรณาการความรู้เข้าสู่ทักษะชีวิตด้วยเรื่องของบทเพลงที่ข้าพเจ้าสอนใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี – นาฎศิลป์ โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม น้อมนําหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียนในภาพรวม และรายบุคคล ให้คําแนะนํา ให้คําปรึกษาปรับการใช้ชีวิต และการเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีความสุขกับการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน มีเหตุผล เชิงบวกในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยความคิดสร้างสรรค์ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี

ครูให้คําปรึกษา ซักถามปัญหา หาสาเหตุการขาดเรียนบ่อยครั้งของนักเรียน เหตุผลเชิงบวกในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นเรียน

คลิปหนังสั้น เรื่อง “เพื่อนไม่ทิ้งกัน” น้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับผู้เรียนในภาพรวม และรายบุคคล การเรียนรู้แบบ Active Learning มีเหตุผลเชิงบวกในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยความคิดสร้างสรรค์

๑๙

ครูบูรณาการวิชาดนตรีกับวิชาการงานอาชีพ แนะนําการใช้ทักษะชีวิตการปลูกผักหารายได้ ให้ตนเองและครอบครัว กับการทําน้ําจุลินทรีย์เพิ่มปุ๋ยให้กับผลผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทําให้นักเรียนมีรายได้จากการปลูกผักขาย และไม่ต้องขาดเรียนอีกต่อไป

การเรียนรู้แบบ Active Learning ช่วงเรียน Online สอดแทรกการใช้ทักษะชีวิตการช่วยเหลืองานในครอบครัว ทําให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และนําไปใช้ได้จริงในชีวิตประจําวัน

๒๐

การเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้เรียนเกิดความสนใจ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี

๒๑

ด้านที่ ๑ คุณลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๓ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านอารมณ์ ข้าพเจ้ามีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์ได้ทุกสถานการณ์ มีทัศนคติที่ดีต่อการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนและพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน มีความฉับไวต่อการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนทั้งด้านดี และความเสี่ยงในปัญหาต่างๆ ของผู้เรียน เป็นแบบอย่างด้านใช้สติในการฟัง การพูด และการสื่อสารเชิงบวก

๒๒

เป็นวิทยากรการใช้ดนตรีบําบัด นักเรียน คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ

การใช้สื่อ Application TikTok สื่อสารเชิงบวกผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข

มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความฉับไวต่อการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนทั้งด้านดี และความเสี่ยงในปัญหาต่างๆ ของผู้เรียน

๒๓

การสื่อสารเชิงบวกให้ผู้เรียนมีการผ่อนคลายในการเรียนรู้ แบบ Active Learning จากกิจกรรม “ขนมวันสารทเดือนสิบ”

๒๔

ด้านที่ ๑ คุณลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๔ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถในการดูแลนักเรียน ข้าพเจ้ามีความรู้เรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถวางแผนพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน ให้คําปรึกษาในการดําเนินชีวิตแก่นักเรียน และแก้ไขปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคล

การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและพัฒนาทักษะชีวิต นักเรียน ทางด้านดี และความเสี่ยง ในปัญหาต่างๆ ของผู้เรียน ในกิจกรรม “ปันน้ําใจสู้ภัยโควิด” เพื่อนักเรียนโรงเรียนบ้านย่านตาขาว

๒๕

การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน ทางด้านดี และความเสี่ยง ในปัญหาต่างๆ ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ป.๑ – ป.๖ ประเภทการบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชาติ

๒๖

ให้คําปรึกษา วางแผนพัฒนาทักษะชีวิตในการดําเนินชีวิตแก่นักเรียน และแก้ไขปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคล ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๒๗

ด้านที่ ๑ คุณลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๕ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถด้านสังคมและสัมพันธภาพ ข้าพเจ้าเป็นแบบอย่างที่ดีของครู และเพื่อนร่วมงานในสถานศึกษา มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับ การยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม

ผลงานเชิงประจักษ์ และได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม

เป็นแบบอย่างที่ดีของครู และเพื่อนร่วมงานในสถานศึกษา ๒๘

นายศิริพัฒน์ พัฒกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง มาเยี่ยมชมให้กําลังใจครูผู้มีความขยันของโรงเรียนบ้านย่านตาขาว

มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม สร้างชื่อเสียงให้กับครอบครัว โรงเรียน ในด้านความขยัน และการใช้ทักษะชีวิตของตนเอง ให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน

๒๙

ด้านที่ ๒ การจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๑ การวางแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ข้าพเจ้ามีการวางแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิตแบบ Online ที่สอดคล้องกับ องค์ประกอบ มีการใช้สื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีการวัดและประเมินพฤติกรรมทักษะชีวิต นักเรียนอย่างเหมาะสม

การใช้สื่อนวัตกรรมที่เป็นจริงในการจัดการเรียนการสอนใน “วันสุนทรภู่” ๓๐

ด้านที่ ๒ การจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๒ กระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ข้าพเจ้าสร้างกิจกรรมเชิงบวกโดยให้ฟังเพลงที่นักเรียนชื่นชอบเพื่อเชื่อมโยงสู่การบูรณาการทักษะ ชี วิ ต ให้ กํ า ลั ง ใจในการพู ด หรื อ แสดงความชื่ น ชมกั บ นั ก เรี ย นแบบ Online อย่ า งสม่ํ า เสมอ เน้ น การ แสดงออกอย่างอิสระ ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริง ได้คิดและสร้างสรรค์ผลงานนําประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจําวันได้ โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดี

การใช้บทเพลงที่นักเรียนชื่นชอบในการ เรียน Online เพื่อเชื่อมโยงการบูรณา การการเรียนรู้สู่ทักษะชีวิตที่ประยุกต์ใช้ได้ จริง แบบ Active Learning การเรียนรู้ อย่างมีความสุข

๓๑

ด้านที่ ๒ การจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๓ การใช้สื่อ นวัตกรรม ข้าพเจ้าบูรณาการการเรียนรู้ทักษะชีวิตที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในช่วงปีการศึกษา ๒๕๖๔ สถานการณ์ โรคโควิด – ๑๙ ระบาดหนักในอําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยข้าพเจ้าได้ใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่หลากหลาย ทุกช่องทาง ในการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัย แบบ Active Learning

๓๒

การเรียนรู้ แบบ Active Learning สามารถเรียนรู้จากตรงไหน ที่ไหนก็ได้ ครู เรียนรู้ไปกับผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข

๓๓

ด้านที่ ๒ การจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ ๔ การวัดและประเมินพฤติกรรมทักษะชีวิตนักเรียน ข้า พเจ้าวัด และประเมิน ผลการบูรณาการทักษะชีวิต จากการส่งคลิป VDO. และภาพถ่าย ตาม ชิ้นงานที่ครูสั่ง ซึ่งมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมทักษะชีวิตที่กําหนดทั้งในภาพรวม และเป็นรายบุคคลอย่าง ต่อเนื่อง จํานวน องค์ประกอบทักษะชีวิต ดี ร้อยละ พอใช้ ร้อยละ ปรับปรุง ร้อยละ นักเรียน ๑. การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าใน ๓๑ ๓๐ ๙๖.๗๗ ๑ ๓.๒๒ ตนเองและผู้อื่น ๒. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและ ๓๑ ๓๐ ๙๖.๗๗ ๑ ๓.๒๒ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ๓. การจัดการกับอารมณ์และ ๓๑ ๓๐ ๙๖.๗๗ ๑ ๓.๒๒ ความเครียด ๔. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ๓๑ ๓๐ ๙๖.๗๗ ๑ ๓.๒๒ -

การวัดผลและประเมินผลจากภาพถ่าย และคลิป VDO. จะเห็นถึงการสร้าง สัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว และผู้อื่น ซึ่งสามารถจัดการกับอารมณ์ ความเครียด ของตนเองได้ รู้จักคุณค่าของตนเอง กล้า ตัดสินใจและแก้ปัญหา หาทางออกได้ อย่างสร้างสรรค์

๓๔

ด้านที่ ๓ ผลที่เกิดกับนักเรียน ตัวชี้วัดที่ ๑ ข้อมูลสารสนเทศความก้าวหน้าของการพัฒนาและพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีทักษะชีวิตของ นักเรียน แบบสรุปพฤติกรรมทักษะชีวิตผู้เรียน จากการสังเกตในคลิป VDO. หรือภาพถ่ายที่นักเรียนส่งมาขณะปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆ ที่กําหนดเฉพาะเจาะจง ทุกตัวชี้วัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๓ จํานวน ๓๑ คน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี โรงเรียนบ้านย่านตาขาว องค์ประกอบ องค์ประกอบ องค์ประกอบ องค์ประกอบ สรุป ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ พฤติกรรม ชื่อ – สกุล รวม ๒๐ ๕ คะแนน ๕ คะแนน ๕ คะแนน ๕ คะแนน คะแนน ด.ช. ทินภัทร อินทร์ทอง ๔ ๓ ๔ ๕ ๑๖ ด.ช. ฤชากร สุนทรนนท์ ๓ ๓ ๔ ๕ ๑๕ ด.ช. วีรวัฒน์ นิลพัน ๕ ๓ ๔ ๕ ๑๗ ด.ช. ก้องภพ จําปาทิพย์ ๓ ๓ ๕ ๕ ๑๖ ด.ช. กรวิชญ์ นาคช่วย ๒ ๓ ๓ ๓ ๑๑ ด.ช. รฐนนท์ วัฒนะจํานงค์ ๕ ๔ ๔ ๕ ๑๘ ด.ช. ประกาศิต ขัติยะ ๔ ๓ ๔ ๕ ๑๖ ด.ช. ธนชาต จันทรเกตุ ๔ ๔ ๕ ๕ ๑๘ ด.ช. อติเทพ เตะหนอน ๔ ๔ ๕ ๕ ๑๘ ด.ช. พิชญุตม์ กังแฮ ๓ ๓ ๔ ๕ ๑๕ ด.ช. วีรภัทร แก้วชู ๔ ๓ ๔ ๕ ๑๖ ด.ช. ธนวิชญ์ เต็มเปี่ยม ๕ ๔ ๔ ๕ ๑๘ ด.ช. วชิรวิทย์ พรมสังข์ ๓ ๓ ๔ ๕ ๑๕ ด.ช. วีรภัทร์ นิลปัทม์ ๕ ๕ ๔ ๕ ๑๙ ด.ช. สันติภาพ เศษคง ๓ ๓ ๔ ๕ ๑๕ ด.ช. ณภัทร อิดทิ้ง ๔ ๔ ๔ ๕ ๑๗ ด.ช. ฑีฆายุ ศรีดาราช ๓ ๓ ๔ ๕ ๑๕ ด.ญ. ขวัญนภา พลประสิทธิ์ ๓ ๔ ๔ ๕ ๑๖ ด.ญ. ณัฐนพิน จิตบุญ ๒ ๓ ๓ ๕ ๑๓ ๓๕

ด.ญ. จันทิมา ไชยมณี ด.ญ. กัญญาภัค นะวะกะ ด.ญ. ศศิวรรณ จัตุรงค์ ด.ญ. พลอยปภัสร์ ปานแป้นน้อย

ด.ญ. ธนัชชา ขวัญดํา ด.ญ. สุกฤตา วิเศษ ด.ญ. สุภาวดี คําขาว ด.ญ. ภทรพร ยิ่งกิจ ด.ญ. ภัคญภา ทองเที่ยง ด.ญ. สุวพิชญ์ เหลาอ่อน ด.ญ. วรรณวิษา จันทร์เกตุ ด.ญ. ณัฐวรรณ เศษศุก คะแนนเฉลี่ย รวมคะแนน

๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๓ ๓ ๔ ๓ ๓ ๓ ๓ ๓.๕๘ ๑๑๑

๕ ๔ ๓ ๔ ๕ ๔ ๔ ๔ ๔ ๓ ๓ ๓ ๓.๕๘ ๑๑๑

๕ ๔ ๔ ๔ ๕ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔.๐๙ ๑๒๗

๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๕ ๔.๘๗ ๑๕๓

๑๙ ๑๗ ๑๖ ๑๗ ๑๙ ๑๖ ๑๖ ๑๗ ๑๖ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๖.๑๙ ๕๐๒

จากตารางแบบสรุปพฤติกรรมทักษะชีวิตผู้เรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๓ จํานวน ๓๑ คน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี โรงเรียนบ้านย่านตาขาว คะแนนรวมของผู้เรียนรายบุคคลอยู่ในระดับ ดีมาก จํานวน ๒๑ คน และอยู่ในระดับ ดี จํานวน ๑๐ คน เกณฑ์การพิจารณาให้ระดับพฤติกรรมทักษะชีวิต ค่าคะแนน ระดับคุณภาพ ๑๖ – ๒๐ หมายถึง พฤติกรรมทักษะชีวิตผู้เรียนในระดับ ดีมาก ๑๑- ๑๕ หมายถึง พฤติกรรมทักษะชีวิตผู้เรียนในระดับ ดี ๖-๑๐ หมายถึง พฤติกรรมทักษะชีวิตผู้เรียนในระดับ พอใช้ ๑-๕ หมายถึง พฤติกรรมทักษะชีวิตผู้เรียนในระดับ ปรับปรุง

๓๖

ด้านที่ ๓ ผลที่เกิดกับนักเรียน ตัวชี้วัดที่ ๒ รางวัลหรือผลงานนักเรียนและครูที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทักษะชีวิต จากที่ข้าพเจ้าได้บูรณาการทักษะชีวิตลงสู่แผนการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ ๒ ดนตรี – นาฎศิลป์ ชั้น ป.๓ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน งาน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด งานประจําชั้น ป.๓/๓ ควบคู่กับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจนจบตลอด ช่วงชั้น ทําให้ข้าพเจ้าได้รับรางวัลเป็นที่ประจักษ์ ดังนี้

การพัฒนาตนเองส่งคลิปเข้าประกวด โครงการประกวดร้องเพลงพร้อมจัดทํามิวสิกวิดีโอเพลง “ครูไทยยิ้มได้ เมื่อภัยมา” ได้รับการประเมินในระดับ “ยอดเยี่ยม” จากกระทรวงศึกษาธิการ ๓๗

เป็นครูผู้ฝึกซ้อมการขับร้องเพลงไทยลูกกรุง ประเภทหญิง ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ระดับชาติ

๓๘

เป็นครูผู้ฝึกซ้อมการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้น ป.๑ – ป.๖ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ระดับชาติ

๓๙

Data Loading...