วันพืชมงคล - PDF Flipbook

วันพืชมงคล

113 Views
7 Downloads
PDF 321,035 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


่ เสริมการอ่านออนไลน์ กิจกรรมสง

วันพืชมงคล

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดยโสธร

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอเมืองยโสธร

สาน ักงาน กศน.จ ังหว ัดยโสธร

วันพืชมงคล คือ วันที่กาหนดให้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นับว่าเป็นพระราชพิธีที่มี

ความเก่าแก่สืบต่อมาตั้งแต่โบราณเพื่อเสริมสร้างขวัญและกาลังใจให้กับเกษตรกรของชาติ อีกทั้ง ยังเป็นการระลึกถึงความสาคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งการจัดพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้มีสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย การประกอบพระ ราชพิธีจะกระทาขึ้นที่ท้องสนามหลวง อันประกอบด้วย 2 พระราชพิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่มีความแตกต่างกันดังนี้ พิธีพชื มงคล เป็นพิธีทาขวัญเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ อาทิ ข้าวเปลือกจ้าว ข้าวเหนียว ข้างฟ่าง ข้าวโพก ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น การประกอบพิธีพืชมงคลก็เพื่อให้พันุเหล่ ธ์ านั้นปราศจากโรคภัย และ อุดมสมบูรณ์ มีความเจริญงอกงามดี พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีที่เริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว ซึ่งการประกอบพิธีแรกนาขวัญนี้ก็ เพื่อให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ ฤดูกาลแห่งการทานา ทาไร่ และเพาะปลูกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ประวัตวิ ันพืชมงคล พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือพิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีท่มี ีมาตั้งแต่โบราณเมื่อครั้ง ที่สุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์มิได้ลงมือไถนาเอง เพียงแต่เสด็จฯ ไปเป็นองค์ ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น เมื่อครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จฯ ไปเป็น องค์ประธาน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทาเหมือนอย่างออกอานาจกษัตริย์และจะทรงจาศีล เป็นเวลา 3 วัน โดยวิธีการเช่นนี้ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้ข้าราชการชัน้ ผู้ใหญ่เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญแทน พระองค์ และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง จะยกเว้นก็ต่อเมื่อมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร ในตอนแรกๆ มีสถานที่ประกอบพิธีที่ไม่ตายตัว แล้วแต่จะทรงกาหนดให้ ครั้นมาถึงในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้น ในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ฉะนั้น พระราชพิธีพชื มงคล จึงได้เริ่มมีขึ้นเป็นครัง้ แรกนับแต่นั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทาให้มีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืช มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทาเป็นตัวอย่างที่ทรงจาแนกไว้ 3 อย่าง 2 อย่างแรกที่ว่า “อาศัยคาอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทาการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็น การสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง” ทรงหมายถึง พิธีพชื มงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ท่ี กระทา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า “บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสย ศาสตร์บ้าง” ทรงหมายถึง พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีทางพราหมณ์ ฉะนั้น พอสรุปความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุการเกิด พระราชพิธีพชื มงคลจรดพระนังคัลแรกนา ขวัญ ได้ว่า พระราชพิธีนี้มุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร หวังเพื่อชักนาให้มคี วามมั่นใจใน การทานา อันเป็นอาชีพหลักที่สาคัญของคนไทยที่มีมาช้านานและสืบต่อมาจนปัจจุบันยังคง เป็นอยู่เช่นนั้น เพราะด้วยการเกษตรที่มีการทานาเป็นอาชีหลัก นับเป็นสิ่งที่มีความสาคัญต่อชีวติ ความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของประเทศในทุกสมัย

วันที่เหมาะแก่การประกอบพิธพ ี ืชมงคล

วันประกอบพิธีพืชมงคลนั้นต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม และฤกษ์ ยาม ประกอบกันให้ได้วันอันอุดมฤกษ์ตามตาราโหราศาสตร์ แต่จะต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะช่วงเดือนนี้กาลังจะเริ่มเข้าฤดูฝน อันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสาหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทานา เมื่อโหรหลวงได้คานวณวันอันอุดมมงคลพระฤกษ์ท่จี ะ ประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สานักพระราชก็จะบันทึกลงไว้ในปฏิทินหลวงที่ พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี รวมถึงได้กาหนดว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล และวันใดเป็นวัน จรดพระนังคัลแรกนาขวัญไว้อย่างชัดเจน

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เดิมทีจะกระทาที่ทุ่งพญาไท แต่เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระ ราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงได้เปลี่ยนแปลงสถานที่โดยจัดให้มีขึ้นที่ท้อง สนามหลวง ทั้งนี้ วันแรกนาขวัญ นับเป็นอีกหนึ่งวันสาคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ ในวันนี้เป็นวันหยุดราชการ 1 วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบราชการ อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษากันโดยลงมติให้วัน พระราชพิธีพชื มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นวันเกษตรกรประจาปีอกี ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่มีอาชีพทางเกษตรพึงระลึกถึงความสาคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบ พระราชพิธีพชื มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน

การประกอบพระราชพิธีวันพืชมงคล

พระราชพิธีพชื มงคล เป็นพิธีทาขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง อธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย โดยข้าวที่นามาเข้าพิธีพชื มงคลนั้นเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว อีกทั้งยังมีเมล็ดพืชชนิดต่างๆ รวมกว่า 40 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะถูกบรรจุอยู่ในถุงผ้าขาว นอกจากนี้ก็ยังมีข้าวเปลือกที่ใช้สาหรับ หว่านในพิธีแรกนาบรรจุเข้ากระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินอีกคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ ปลูกในสวนจิตรลดาและพระราชทานมาเข้าพิธีพชื มงคล ซึ่งพันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้ หวานในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ ชาวนานและประชาชนในจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะ เพาะปลูกในปีนี้

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบนั ได้ดาเนินไปตามแบบอย่างโบราณ ราชประเพณี ยกเว้นแต่บางอย่างที่ได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย อาทิ พิธี ของพราหมณ์ ก็มีการตัดทอนให้ลดเหลือน้อยลง พระยาแรกนา ก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับ 3 – 4 คือ ขั้นโทขึ้นไป อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จ พระราชดาเนินไปทรงทอดพระเนตรพระราชพิธีเป็นประจาทุกปี รวมถึงมีข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูต และประชาชนที่สนใจได้เดินทางมาชมการแรกนาเป็นจานวนมาก สาหรับการประกอบพิธีนั้นจะถูกกาหนดขึ้นโดยโหรหลวง ซึ่งในระหว่างพิธีอันสวยงาม นี้ ก็จะมีการทานายปริมาณน้าฝนในช่วงฤดูฝนที่กาลังจะมาถึง โดยพระยาแรกนาจะ ทาการเลือกผ้า 3 ผืนที่มีความยาวต่างกันตามชอบใจ ซึ่งผ้าทั้ง 3 ผืนนี้มีความ คล้ายคลึงกัน หากพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้าฝนจะมี น้อย แต่ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุด ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้าฝนมาก หรือหากเลือกผืนที่มี ความยาวปานกลาง ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้าฝนพอประมาณ ต่อมา หลังจากที่สวม เสื้อผ้าที่เรียกว่า ผ้านุ่ง เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้อง สนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง มีพระโคเพศผู้ลาตัวสีขาวทาหน้าที่ลาก แล้วตามด้วยเทพีทั้ง 4 ทาหน้าที่หาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุเมล็ด ข้าวเปลือก นอกจากนี้ยังจะมีคณะพราหมณ์ที่เดินคู่ไปกับขบวน พร้อมทั้งสวดและเป่า สังข์ไปในขณะเดียวกัน

เมื่อเสร็จจากการไถแล้ว พระโคจะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่มทั้งสิ้น 7 ชนิด ได้แก่ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้า และเหล้า ไม่ว่าพระโคจะเลือก กิน หรือดื่มสิ่งใดก็ทายว่าในปีนั้นๆ จะสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเป็นผู้เลือก ขั้นตอน ต่อมา พระยาแรกนาจะทาการหว่านเมล็ดข้าว ประชาชนจะพากันมาแย่งเก็บ เพราะ ถือกันว่าเมล็ดข้าวนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนามาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และก่อให้เกิด ความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง เมื่อเก็บเมล็ดข้าวกลับไปแล้ว ชาวนาก็จะ ใช้เมล็ดข้าวที่เก็บได้มาผสมกับเมล็ดข้าวของตัว เพื่อให้พืชที่ลงแรงลงกายปลูกในปีท่ี จะมาถึงนี้มีความอุดมสมบูรณ์ สาหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีท่จี ังหวัดราชบุรี โดยพระโคที่ใช้ในพระราชพิธีจะต้องมีลักษณะที่ดี ขาด หรือเกินไม่ได้ อันประกอบด้วย หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่จะต้องมีสเี หมือนกัน อีกทั้ง จะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสี คือ สีขาวสาลีและสีน้าตาลแดง เจาะจงว่าเป็น เฉพาะเพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ ตอน เสียก่อนด้วย

คณะผู้จัดทา ที่ปรึกษา นายเจียม ขันเงิน นายบรรลุ ทองเข็ม คณะทางาน นางอรวรรณ ยลพันธ์ นายสุพล เจริญศรี รวบรวม/จัดเรียงรูปเล่ม นางอรวรรณ ยลพันธ์

ผู้อานวยการ กศน.อาเภอเมืองยโสธร ครู บรรณารักษ์ชานาญการ พนักงานพิมพ์ ส.4 บรรณารักษ์ชานาญการ

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดยโสธร

ั ึ ษานอกระบบและการศก ึ ษาตามอ ัธยาศย ศูนย์การศก อาเภอเมืองยโสธร

สาน ักงาน กศน.จ ังหว ัดยโสธร

Data Loading...