ถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม - PDF Flipbook

เผยแพร่ผลการดำเนินงานและยกย่องเชิดชูเกียรติของชุมชนต้นแบบด้านคุณธรรม

111 Views
66 Downloads
PDF 15,290,742 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


ถอดบทเรียน ชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม

ถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม

ผู้จัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ปีที่พิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๖๔ จำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๕๔๓-๗๕๔-๗ ที่ปรึกษา นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา นายสำรวย นักการเรียน รองอธิบดีกรมการศาสนา นางสาวฐิติมา สุภภัค ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม นางสุรีย์ เกาศล เลขานุการกรม นายมานัส ทารัตน์ใจ ที่ปรึกษากรมการศาสนา นายชวลิต ศิริภิรมย์ ที่ปรึกษากรมการศาสนา รวบรวม/เรียบเรียง นายสุริยงค์ สุวรรณภักดี นายกฤษดา นนทวงษ์ นายธนพล ทองเฟื่อง นางสาวภัควลัญชญ์ เกิดกระโทก

นักวิชาการศาสนาชำนาญการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ

พิสูจน์อักษร นางสาวเรณู รัตนชัยเดชา นายสุริยงค์ สุวรรณภักดี นางสาวนฤมล ดวงสุวรรณ นายมนัสวี วิภาสเจริญ นางสาวสุพิน มาไกล นายกฤษดา นนทวงษ์ นายธนพล ทองเฟื่อง นางสาวภัควลัญชญ์ เกิดกระโทก

นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ นักทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ

หน่วยงานรับผิดชอบ กลุ่มส่งเสริมวิชาการด้านคุณธรรมจริยธรรม สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โทร. ๐ ๒๒๐๙ ๓๗๒๙ โทรสาร ๐ ๒๒๐๒ ๙๖๓๔ E-mail : [email protected] พิมพ์ท ี่ บริษัท รำไทย เพรส จำกัด ๑๑๑ / ๙๓-๙๖ ซ.สามเสน ๒๘ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๖๖๙ ๐๓๐๐-๔, แฟกซ์ ๐ ๒๒๔๓ ๕๘๗๐

คำนำ ด้วยแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศ (Big Rock) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม โดยให้มีการถอดบทเรียนชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นต้นแบบด้านคุณธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนากลไกการเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง เพื่อขยายผลการดำเนินงานชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ กรมการศาสนา ได้ร่วมกับภาคคณะสงฆ์ องค์การทางศาสนา ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนและ ภาคประชาสังคมทั่วประเทศ ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพลังบวร : ชุมชนคุณธรรม ลานธรรม ลานวิถีไทย โดยส่งเสริมให้วัด/ศาสนสถาน เป็นพื้นที่สร้างสรรค์การจัดกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ บ่มเพาะด้านคุณธรรมจริยธรรม มีการส่งเสริม ให้ประชาชนน้อมนำศาสตร์พระราชา “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งร่วมกับชุมชนสืบสานวิถีวัฒนธรรมไทย ที่ดีงามและพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างรายได้ อาชีพแก่คนในชุมชน ในการนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงานและยกย่อง เชิดชูเกียรติของชุมชนคุณธรรมต้นแบบ กรมการศาสนาจึงได้จัดพิมพ์หนังสือถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรมขึ้น โดยหวังเป็น อย่ า งยิ่ ง ว่ า หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะให้ ค วามรู้ สารประโยชน์ ต่ อ เครื อ ข่ า ยชุ ม ชนคุ ณ ธรรม หน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสั ง คม ที่ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ หรือผู้ที่สนใจร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนคุณธรรมต่อไป

(นายเกรียงศักดิ์

บุญประสิทธิ์) อธิบดีกรมการศาสนา

สารบัญ หน้า

บทที่ ๑ บทนำ - การสร้างคุณธรรมในสังคมไทยภายใต้พีระมิด - กรอบแนวคิดการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมพลังบวร - ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของชุมชนคุณธรรม







๑ ๒ ๓

บทที่ ๒ การถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม - การถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม









บทที่ ๑ บทนำ การสร้างคุณธรรมในสังคมไทยภายใต้พีระมิด ด้ ว ยรั ฐ บาลได้ ก ำหนดยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ๒๐ ปี ด้านความมั่นคง : ให้มีการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก และการปกครองระบบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย์ ทรงเป็นพระประมุข ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน : ให้มีการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ปลูกฝัง ระเบี ย บวิ นั ย คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม จิ ต สาธารณะ ค่ า นิ ย มที่

ที่ ๒ ด้านท ที่ ๔ ด้านท ด้าน ี่ ๑ พึ่งประสงค์ ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ด้าน ี่ ๓ ทางสังคม : สร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทาง พีระมิดการสร้างสังคมคุณธรรม วั ฒ นธรรมและความเข้ ม แข็ ง ของชุ ม ชน รวมทั้ ง ด้ า นการปรั บ สมดุลและพัฒนาระบบการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ : ให้มีการพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผลประโยชน์เพื่อส่วนรวมและมีการบูรณการ เชิงพืน้ ที ่ ดังนัน้ กระทรวงวัฒนธรรม จึงกำหนดกรอบการใช้วฒ ั นธรรมเพือ่ พัฒนาประเทศใน ๓ มิต ิ คือ การสร้างคนดีสงั คมดีดว้ ยมิตทิ างวัฒนธรรม การสร้างรายได้ ความมั่งคั่งจากทุนทรัพยากรทางวัฒนธรรม ใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์ เกียรติภูมิและความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นประสานบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนนำทุนและมิติทางวัฒนธรรมร่วมสร้างให้ประเทศชาติเกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล กระทรวงวัฒนธรรม และดำเนินงานตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๔) กรมการศาสนาซึ่งมีภารกิจให้การอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นที่ทางราชการรับรอง รวมทั้งบ่มเพาะ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักธรรมทางศาสนาไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ จึงมีแนวคิดนำสถาบันหลักของชาติ ประกอบด้วย สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเป็นแกนกลางเสริมสร้างความมั่นคง ให้แก่ประเทศชาติ โดยใช้พลังบวร (บ้าน วัด/ศาสนสถาน โรงเรียน/ราชการ) เป็นกลไกสำคัญส่งเสริมให้ประชาชนตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับชุมชน ระดับสังคม ร่วมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทำนุบำรุงศาสนา ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนที่ตนเคารพนับถือ มีการน้อมนำศาสตร์ พระราชาตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม สืบสานประเพณี วิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ภูมิปัญญา ของท้องถิ่น และพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประชาชนมีอาชีพ เสริมสร้างรายได้แก่ชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น 1

2

3

บทที่ ๒

การถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม การถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม ด้วยแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศ (Big Rock) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๔ ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายเพือ่ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ทอ้ งถิน่ ขับเคลือ่ นการส่งเสริมคุณธรรม โดยให้มกี ารถอดบทเรียนชุมชนท้องถิน่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นต้นแบบด้านคุณธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนากลไกการเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง เพื่อขยาย ผลการดำเนินงานชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ ดังนั้น กรมการศาสนา ซึ่งมีบทบาทในการดำเนินงานชุมชนคุณธรรม ด้วยมิตทิ างศาสนา โดยการขับเคลือ่ นชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร (บ้าน วัด/ศาสนสถาน โรงเรียน/ราชการ) และเป็นคณะทำงานปฏิรปู ด้านคุณธรรม ดำเนินการคัดเลือกชุมชนคุณธรรมพลังบวรต้นแบบ เพื่อถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรม ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาชุมชนท้องถิ่น ต้นแบบด้านคุณธรรมของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ดังต่อไปนี้

4

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านร่าหมาด อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่



เรื่องราวชุมชน

๑) สโลแกนหรือคำขวัญ หมูบ่ า้ นเก่าแก่ กาแฟโบราณ จักสานเตยปาหนัน สวรรค์ทงุ่ ทะเล พืน้ เพคนดี ศรีขนุ เกาะกลาง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น บ้านร่าหมาด หรือ ขุนสมุทร เดิมชื่อว่า “หลาดตุ๊หยัง” สืบเนื่องมาจากการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นคนที่นี่ มักจะบนบานและสร้างศาลตามที่ตนนับถือ เช่น ศาลโต๊ะกุรน ศาลโต๊ะแหรบ ศาลโต๊ะกร้าหมาด เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า “ร่าหมาด” ในปัจจุบันประชาชน ในชุมชนมีวถิ ชี วี ติ ทีเ่ รียบง่าย ส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาอิสลาม เป็นชุมชนทีป่ ระสบผลสำเร็จในการนำหลักธรรมทางศาสนา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือ ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านร่าหมาดจะมีขนมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของคนในชุมชน คือ ขนมต้มใบมะพร้าว ข้าวเหนียวปิง้ ห่อใบคลุม้ รับประทานกับกาแฟโบราณร้อนๆ ซึง่ ชาวบ้านในชุมชนได้ผลิตขึน้ เองโดยไม่ใช้เครือ่ งจักร ดังนัน้ กาแฟโบราณของบ้านร่าหมาดจึงมีรสชาติ หอมกลมกล่อมและอร่อย นอกจากนี้ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านร่าหมาด ได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วย ศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อส่งเสริมการออม มีศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดบ้านร่าหมาดเพื่อถ่ายทอด องค์ ค วามรู้ ใ นหลักธรรมทางศาสนาแก่เยาวชนและประชาชนเป็นคนดีของสังคม นอกจากนี้ ศิลปินพื้นบ้านของชุมชนได้ถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู้ แ ก่ เ ด็ ก เยาวชนร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น เช่น ลิเกป่า กาหยง รองแง็ง

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ กระทรวงวัฒนธรรมได้สนับสนุนงบประมาณแก่ชมุ ชนคุณธรรมมัสยิดบ้านร่าหมาด อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ และส่งเสริมให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการดำเนินงาน เช่น มัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชนทีจ่ ะร่วมกัน วิเคราะห์สถานการณ์บริบทของชุมชน กำหนดปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ ร่วมกันกำหนด แผนงาน โครงการหรือกำหนดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้นำศาสนสถานกับ ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เน้น “การสร้างจิตสำนึก” และกระตุ้นให้เกิดเป็นพลังของคน ในชุมชน ให้คนในชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี และมีพลังที่จะสร้างความเข้มแข็ง ให้ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำมัสยิดบ้านร่าหมาด (ศอม.) ชุมชน คุณธรรมพลังบวร และบวร OnTour ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข และร่วมกัน แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ยาเสพติด หนี้สิน การพนัน เป็นต้น 5

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ผลการวิเคราะห์ศกั ยภาพของชุมชนคุณธรรมมิสยิดบ้านร่าหมาด ทำให้ ท ราบถึ ง สาเหตุ ก ารเกิ ด ปั ญ หา อุ ป สรรค ในการพั ฒ นาหมู่ บ้ า น ที่สำคัญๆ ดังนี้ ๑. การเมื อ ง ระดั บ ต่ า งๆ เข้ า ไปมี บ ทบาทในกลุ่ ม อาชี พ ต่างๆ ทำให้เกิดความแตกแยกขาดความสามัคคี ๒. การเงิ น การบริ ห ารของผู้ น ำชุ ม ชน ผู้ น ำกลุ่ ม อาชี พ ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ๓. ยาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติดในเยาวชน เป็ น ปั ญ หาและอุ ป สรรคที่ เ กิ ด ขึ้ น ในชุ ม ชนคุ ณ ธรรมมิ ส ยิ ด บ้ า นร่ า หมาด มีผลกระทบต่อขับเคลือ่ นการพัฒนาหมูบ่ า้ นตลอดมา แต่เนือ่ งจากชุมชนคุณธรรม มัสยิดบ้านร่าหมาดมีความเข้มแข็ง และเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในชุ ม ชน เน้ น การทำงานเป็ น ที ม ทำให้ ชุ ม ชนสามารถก้ า วข้ า มปั ญ หา อุปสรรคเหล่านั้นด้วยดี





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ในปัจจุบันนายประสิทธิ์ สัตย์จิตร ทำหน้าที่ประธานชุมชน คุณธรรมมัสยิดบ้านร่าหมาดและคณะทำงาน ฝ่ายต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อน การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีความรัก

ความสามัคคีและมีรายได้จากการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบตั อิ ย่างจริงจัง และได้บรู ณาการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพือ่ ผลักดัน ให้ชุมชนคุณธรรมบ้านร่าหมาด มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน รองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ในชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านร่าหมาดทำให้ปัญหาด้านอบายมุข ยาเสพติด การพนันลดลง และพบว่าประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัดก็กลับมาพัฒนาบ้านเกิด ของตนเองเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะคน หนุ่มสาวที่มีความรู้ ความสามารถและนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญา ของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งและวิ ถี วั ฒ นธรรมไทยไปปฏิ บั ติ ใ นชี วิ ต ประจำวั น ได้อย่างแท้จริงจนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนคุณธรรมพลังบวรต้นแบบ และมีหน่วยงานต่างๆ ไปศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านร่าหมาด

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายประสิทธิ์ สัตย์จิตร ตำแหน่ง ประธานชุมชนคุณธรรมบ้านร่าหมาด โทรศัพท์ ๐๘ ๓๑๐๓ ๔๗๕๓

6

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ นำศีลธรรมมาเป็นภูมิคุ้มกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน มี ๓ ชุมชนย่อย รวมกันอยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ขตเทศบาลตำบลทองผาภูม ิ แม้วา่ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน จะมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ แต่ก็มีสิ่งที่ยึดโยงทั้ง ๓ ชุมชนเข้าด้วยกัน คือ หลวงปู่สาย (พระครูสุวรรณเสลาภรณ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อดีตเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ ซึ่งสร้างคุณงามความดีไว้กับชุมชนเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมรณภาพไปนานถึง ๒๙ ปีแล้ว ก็ยังเป็นที่เคารพนับถือของทุกคน มาจนถึงปัจจุบนั เมือ่ ทุกคนมีหลักใจเดียวกัน การทำงานของชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุนจึงเป็นไปโดยง่าย เริม่ จากการตั้งเป็นชุมชนคุณธรรมขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ รับรางวัลชุมชนคุณธรรมต้นแบบที่มีผลงานโดดเด่นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ก็ล้วนแต่เกิดจากความร่วมมือของทุกคน ในชุมชน จนเป็นพลัง “บวร” ที่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ พึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง รวมพลังพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม สร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชน นำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นภูมิคุ้มกัน น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีของรัฐบาล และร่วมกันสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามให้อยู่คู่สังคมไทยตลอดไป ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุนเกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชนหลักๆ ๓ ชุมชน แล้วค่อยๆ พัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ทำอะไรที่เกินตัว ด้วยแนวคิดและความเชื่อที่จะ สร้างอาชีพและงานให้คนในชุมชน โดยที่เราเชื่อว่า “เมื่อคนมีงานมีเงิน ก็จะไม่เบียดเบียนซึ่งกัน และกัน พร้อมที่จะเสียสละเพื่อชุมชน” ดังนั้นกิจกรรมในช่วงแรกของชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน จะเน้นไปในเรื่องของการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนก่อน โดยใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่มีอยู่แล้ว เริ่มต้นด้วยการจัดประชุม เพื่อหาของดีที่เรามีอยู่แล้วมาเป็นจุดขายและสร้างอาชีพ เพื่อเป็นรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งจากการประชุมก็สามารถต่อยอดสิ่งที่เรามีได้หลายอย่าง เช่น ขนม อาหารพื้นบ้าน ผ้าทอมือ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด 7

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ด้วยความที่ต่างคนต่างที่มา มีพื้นฐานในด้านต่างๆ ไม่เหมือนกัน ทำให้เมื่ออยู่ หรือทำงานร่วมกันย่อมเกิดปัญหาและความขัดแย้งขึ้นเป็นธรรมดา แต่ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ วัดท่าขนุนนัน้ ก็ผา่ นเหตุการณ์ตา่ งๆ มาได้โดยการยึดหลักจิตสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ของชุมชน เป็นหลัก ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ทุกโครงการ ทุกนโยบาย ล้วนเป็นไปเพื่อการพัฒนาชุมชน อย่างมั่นคงและยั่งยืน กระทั่งปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านหลายๆ ปัญหามาได้แต่สิ่งที่เป็นปัญหาเสมอมาก็คือ เรื่ อ งความร่ ว มมื อ ของชาวบ้ า นเมื่ อ มี กิ จ กรรมต่ า งๆ ซึ่ ง ปั จ จุ บั น ทางชุ ม ชนใช้ วิ ธี ก ารทำให้ ดู เป็นการชีใ้ ห้ชาวบ้านเห็นประโยชน์สงิ่ ทีต่ นและชุมชนจะได้รบั ซึง่ ปัญหาต่างๆ ค่อยๆ เบาบางลงและ คาดว่าจะหมดไปในที่สุด





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน มีการจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมของชุมชนหลากหลายด้าน ได้แก่ ๑. การปลูกผักปลอดสารพิษ การจัดทำปุ๋ยชีวภาพ ตามแนวทฤษฎีศาสตร์พระราชาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒. องค์ความรู้วัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ ๓. องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ อาหารพื้นถิ่น ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน มีการพัฒนาเส้นทางท่องเทีย่ ว (Route) ของชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน มีการปรับเส้นทางเพิม่ เติม เพือ่ ให้เป็นจุดดึงดูดจำนวนนักท่องเทีย่ ว ให้มากขึ้น สร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมาก นอกจากนี้ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยได้รับความร่วมมือ จากเครือข่ายพลัง “บวร” อย่างสม่ำเสมอ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. นายประเทศ บุญยงค์ ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทองผาภูมิ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๔๙ ๙๓๑๖ ๒. นางมณี เทพวงษ์ ตำแหน่ง ประธานชุมชนคุณธรรมพัฒนาทองผาภูมิ โทรศัพท์ ๐๘ ๗๙๐๗ ๗๕๔๓ ๓. นายกัลธารวัจน์ อุษาวัฒนากูล ตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ โทรศัพท์ ๐๙ ๔๒๕๑ ๘๑๔๖ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสาวสุนทรีย์ พิทักษ์สาลี ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๐๙ ๒๒๙๘ 8

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ตองลองเมิงผี นาวีช้างย่ำ วัดวังคำศูนย์รวมจิตใจ ลำพะยังพ่อหลวงประทานให้ สืบสานวัฒนธรรมผู้ไท ไหว้สาพระบฎ พระบาตร พระธาตุเจ้ากู่ ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ เป็นชุมชนที่ยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของชาวภูไท มีวัดวังคำที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงาม และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน มีทิวทัศน์ภูเขาล้อมรอบ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ผืนป่าพื้นดินอุดมสมบูรณ์ ภูเขาเป็นแหล่งต้นน้ำลำพะยัง โดยน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวติ และเป็นชุมชนทีไ่ ด้รบั พระมหากรุณาธิคณ ุ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน เป็นแหล่งผลิตข้าวเหนียว ที่มีรสชาตินิ่ม หอม ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของข้าวเขาวง จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก แหล่งผลิตกระติบข้าวเหนียวที่สวยงามและคงทน การแต่งกายเป็นอัตลักษณ์ ของชุมชนชาวภูไท คือ ผู้หญิงนุ่งซิ่นมัดหมี่ ใส่เสื้อเย็บมือย้อมคราม แถบชายขอบแดง ห่มผ้าสไบพาดไหล่ซ้าย ผู้ชายนุ่งโสร่งไหม หรือฝ้ายและกางเกง ตามสมัยนิยม สวมเสื้อเย็บมือย้อมครามหรือใช้สีกรมท่าหรือดำ ปักลวดลายต่างๆ ด้วยมือแม่บ้านสวยงาม ใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าแพรวามัดเอว ทุกคนในชุมชน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เด็กๆ เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เส้นทางสู่ความสำเร็จของชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ เริ่มจากชุมชนมีการรวมกลุ่ม โดยใช้พลังบวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน/ราชการ) ในการพัฒนาชุมชน ดังนี้ ๓.๑ ด้านศาสนา มีพระครูสังวรสมาธิวัตร เจ้าอาวาสวัดวังคำ เป็นแกนนำหลัก ในการอนุรักษ์สืบสาน รักษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวภูไทบ้านนาวี พัฒนาวัดวังคำให้เป็นศูนย์กลาง ทางพระพุทธศาสนา สร้างเสนาสนะภายในวัด ๓.๒ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ นำโดย นายประจิตร คนซื่อ ผู้ใหญ่บ้านนาวี เป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อน เริ่มจากการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเฉพาะวิถีการทำนา ที่ทำให้ข้าวเขาวงมีคุณภาพนุ่มหอมอร่อย ได้รับการพัฒนาและได้รับขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) นอกจากนี้ ชาวบ้านมีการจัดตั้งกลุ่มจักสาน “กระติบข้าวเหนียว” จนสามารถ พัฒนาเป็นแหล่งผลิตและส่งออกในระดับประเทศ และกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองส่งออกผ้าห่ม สร้างรายได้ ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีคนดี สุขภาพดี รายได้ดี

9

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้

๓.๓ ด้านการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ชาวภูไทบ้านนาวียังคงรักษาวิถีชีวิตความเชื่อ และ ประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน เครื่องแต่งกาย อาหาร ไปจนถึง การทำการเกษตร ด้านศิลปะการแสดง คือ การฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนทีง่ ดงาม ถือว่าเป็นนาฏศิลป์ทขี่ นึ้ ชือ่ ของชาวภูไท ภาษาที่ใช้พูดในชุมชนคือ ภาษาภูไท ความเชื่อเรื่องการรักษาผู้ป่วย “เหยา” ยังคงมี การสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ บ้านนาวี หมู่ที่ ๖ และหมูที่ ๗ แม้จะมีจุดแข็งและจุดเด่น ด้านวัฒนธรรม สินค้าทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเทีย่ วโบราณคดี แต่ยงั มีจดุ ทีค่ วรพัฒนาและปรับปรุงเพือ่ สร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ประกอบด้วย ๑. ชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ ยังขาดความเป็นเอกภาพ เนื่องจากการรวมกลุ่มในชุมชนจะมีอยู่ในวงจำกัด เมื่อมีการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน จะมีผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มคนเดิมๆ ซึ่งทำให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปด้วยความล้าช้าและอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความสามัคคีของคนในชุมชน ๒. การมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ และเพิ่มปริมาณสินค้า ทำให้เวลาส่วนใหญ่ต้องอยู่กับการทำงานมากเกินไป การปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ลดน้อยลง ทำให้การมีส่วนร่วมทางกิจกรรมประเพณี กิจกรรมสาธารณะ กิจกรรมจิตอาสาในชุมชนลดน้อยลงด้วย





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

จากการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมพลังบวร : ชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ บ้านนาวี ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนในชุมชน ดังนี้ ๑. ด้านพอเพียง ชุมชนได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ทำการเกษตรปลูกข้าวพันธ์ทอ้ งถิน่ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ คือ “ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ”์ อีกทัง้ ยังมีรายได้จากการจักสานและมีการพัฒนาการผลิต สามารถเป็นแหล่งผลิต และส่งออกกระติบข้าวเหนียวในระดับประเทศ ๒. ด้านวินยั ชาวภูไทบ้านนาวี ยึดถือปฏิบตั ติ นตามฮีตคองของบรรพบุรษุ มีความเชือ่ ทีส่ บื ต่อกันมา คือ การเคารพเชือ่ ฟังพระสงฆ์ (เจ้าอาวาสวัด) เป็นอย่างยิ่ง ทำให้คนในชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของชุมชน ๓. ด้านสุจริต คนในชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ มีความซื่อสัตย์ สุจริต จะเห็นได้จากการที่ชาวบ้านปลูกผักสวนครัว ผัก ผลไม้ ตามท้องไร่ท้องนา จะไม่มีการลักขโมย แต่ถ้าหากอยากได้ก็จะขอ ๔. ด้านจิตอาสา ชาวบ้านนาวีเป็นชาวภูไทที่มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูล ในระบบเครือญาติ จึงทำให้ ชุมชนเป็นสังคมน่าอยู่อาศัย ร่วมแรงร่วมใจกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ของตนเองให้คงอยู่สืบไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดวังคำ

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสังวรสมาธิวัตร ตำแหน่ง เจ้าอาวาส โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๑ ๖๖๓๘ ๒. พระอธิการวิโรจน์ ปญญวุฑโฒ ตำแหน่ง ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาส โทรศัพท์ ๐๘ ๙๕๗๗ ๓๗๒๕ ๓. นายประจิต คนซือ่ ตำแหน่ง ผูใ้ หญ่บา้ นบ้านนาวี โทรศัพท์ ๐๘ ๘๓๐๘ ๖๐๑๔ ๔. นายอเนก แก้วคำแสน ตำแหน่ง ผูช้ ว่ ยผูใ้ หญ่บา้ น โทรศัพท์ ๐๙ ๗๓๐๘ ๙๔๗๙ 10

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ นครชุมเมืองโบราณ สมานสามัคคี อนุรกั ษ์วถิ ชี มุ ชน หลีกพ้นยาเสพติด คุณภาพชีวิตที่ดี ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น นครชุมเป็นเมืองที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมายในส่วนของกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยความเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการเป็น เส้นทางการค้าที่ทำให้ปากคลองใต้มีชาวบ้านหลากหลายเชื้อชาติ หลายเผ่าพันธุ์ ผสมผสานกัน เช่น จีน ลาว (ลาวเวียงจันทน์) ชาวมอญ และพม่า กะเหรี่ยง และชาวเขาเกือบทุกเผ่า นอกจากนี้ยังมีชาวไทยในต่างจังหวัดทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง และภาคใต้ มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปากคลองใต้มากพอสมควร เป็ น ผลให้ วั ฒ นธรรมในพื้ น ที่ มี ค วามหลากหลาย แต่ ส ามารถอยู่ ร่ ว มกั น ได้ อ ย่ า งลงตั ว โดยมี วั ด พระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็ น ศู น ย์ ก ลาง และมี แหล่งท่องเทีย่ วทางประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมหลายแหล่ง ทัง้ โบราณสถาน สถาปัตยกรรม วัด แหล่งเรียนรู ้ ตลาดย้อนยุค สามารถเชือ่ มโยงเป็นเส้นทางท่องเทีย่ ว ได้มีชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลนครชุม ดำเนินกิจกรรมด้านท่องเที่ยวของตำบลนครชุม โดยมีเทศบาลเมืองนครชุมและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้สนับสนุน

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ จากปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมและหลังจากทีเ่ ข้าร่วมโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลือ่ นด้วยพลังบวร พระราชวชิรเมธี ผศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ รักษาการเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างคุณธรรมในใจและพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยมีแนวคิดและขั้นตอนการปฏิบัติ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชาวบ้านในชุมชนโดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง และค่อยๆ ปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไปผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับวัด มีการทำกิจกรรมภายในวัดแล้ว ขยายสู่ชุมชน ปรับภูมิทัศน์วัดและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การเผยแผ่ ห ลั ก ธรรมคำสอนทางพระพุ ท ธศาสนาและสื่ อ สาร ประชาสั ม พั น ธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องต่างๆ ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน โดยใช้ช่องทางการสื่อสาร ที่ทันสมัย เข้าถึงง่าย และสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความภาคภูมิใจ และสืบทอด วิถีวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลนครชุม และแม่ค้า พ่อค้าได้มีรายได้จากการจำหน่ายอาหาร สินค้าภูมิปัญญา

11

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จากการปฏิบัติตามแนวคิดการใช้วัดเป็นศูนย์กลาง เป็นต้นแบบในการพัฒนาแล้วขยายไปสู่ชุมชน ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ การรวมตัว ในแต่ละกิจกรรมทำได้ค่อนข้างยาก เพราะนครชุมเป็นชุมชนกึ่งบ้านกึ่งเมือง มีประชากร ๓ กลุ่ม คือ ข้าราชการ กลุ่มพ่อค้า และกลุ่มชาวบ้าน ซึ่งคนทั้ง ๓ กลุ่ม มีวิถีชีวิตและแนวความคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจัดกิจกรรมที่ทุกคนจะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเดียวนั้นทำได้ยาก ทางวัดจึงจัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งภายในวัด ภายในชุมชนและสถานศึกษา





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนมีพฤติกรรมเปลีย่ นแปลงไปในทิศทางทีด่ ขี นึ้ กลับมาร่วมมือกันพัฒนาชุมชน เกิดการรวมพลังเพือ่ ส่วนรวม ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ คนในชุมชนได้ติดตามรับฟังคำสั่งสอนผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ที่ตนเองสะดวก โดยไม่ต้องเดินทางมาที่วัดก็สามารถฟังธรรมะหรือองค์ความรู้ รวมถึงข่าว ประชาสัมพันธ์ต่างๆ จนนำไปสู่การนำความรู้ที่ได้และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต มีการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นแก่เด็กและ เยาวชน เกิดการเรียนรู้ เกิดความภาคภูมิใจในถิ่นที่อยู่ของตน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เมื่อเกิดความร่วมมือร่วมใจของคนในพื้นที่ ทั้งวัด เจ้าของสถานที่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวบ้าน สถานศึกษา ก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ สร้างพลังแห่งศรัทธาและจิตอาสา พร้อมทั้งพัฒนาจิตใจของชาวบ้าน ให้เป็นผู้มีความรัก ในถิน่ กำเนิด มีความพอเพียง ใช้หลักศาสนาในการดำเนินชีวติ ร่วมกันสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและดูแลรักษาโบราณสถาน รวมถึงทรัพย์สนิ ส่วนรวมให้คงอยูต่ ลอดไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนวัดพระบรมธาตุ

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระราชวชิรเมธี ผศ.ดร. ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๕ ๓๘๒๖

12

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดไชยศรี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร เชิดชูประเพณี วิถีวัฒนธรรม ภาพจิตรกรรมล้ำค่า เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างมั่นคง ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนนีเ้ ป็นชุมชนทีม่ ปี ญ ั หาเรือ่ งการด้อยพัฒนาในหลายด้าน อันสืบเนือ่ งมาจากหลายสาเหตุ แต่ทสี่ ำคัญคือ ขาดความสามัคคี ไม่มศี นู ย์รวม สอดประสานการพัฒนา จึงทำให้ไร้ทิศทาง ขาดความภูมิใจในท้องถิ่นตนเอง ทำให้ชุมชนประสบปัญหาหลายด้าน วัดไชยศรีอันเคยเป็นแหล่งศูนย์กลางศาสนา ประเพณีและมีอิทธิพลต่อสำนึกและจิตใจของคนในชุมชน ต่อมาจึงเกิดแนวคิดการพัฒนาชุมชนด้วยมิติทางวัฒนธรรมขึ้น เนื่องจากเห็นว่า เป็นแนวทางที่ชุมชน มีต้นทุนมาก่อน แล้วยังเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ด้วย อีกทั้งยังจะทำให้วัดไชยศรีอันเป็นวัดคู่บ้านคู่ชุมชนมาอย่างยาวนาน สามารถกลับมาเป็นศูนย์รวมใจ และศูนย์กลางการพัฒนาได้อย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนามีทิศทางด้านคุณธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญ ด้วยการใช้แนวทางของประเพณี วัฒนธรรมอันมาจากพระพุทธศาสนาและเป็นต้นทุนที่สำคัญของชุมชน สร้างกระบวนการพัฒนาจากวัดเข้าสู่บ้านและเข้าสู่โรงเรียน จึงทำให้กลายเป็นชุมชนที่มี องค์ประกอบของคุณธรรมแบบบวร มาถึงปัจจุบัน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ แนวคิดการพัฒนาวัดและชุมชนไปพร้อมกันเกิดจากเจ้าอาวาสวัดไชยศรี ด้วยเห็นว่าวัด ชุมชน พระ และชาวบ้านอยู่ร่วมกันและเกื้อหนุน กันมาตลอด สำหรับแนวทางที่ชุมชนใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมในขณะนั้น คือ นำเอาประเพณีวัฒนธรรม โดยเฉพาะประเพณีฮีต ๑๒ อันเป็น เครื่ อ งมื อ เชื่ อ มโยงหลักธรรมระหว่างวัดเข้าหาชาวบ้านที่เข้มแข็ง ในอดีต มาปรับใช้ใ ห้เหมาะสมกับสภาพสัง คมชุม ชน ให้ เกิ ดพลั ง และมี ประสิ ท ธิ ภ าพ ซึง่ เป็นทีย่ อมรับของคนในชุมชน เพราะสามารถลดความขัดแย้ง สร้างความสามัคคี ได้ เ ป็ น อย่ า งดี ชุ ม ชนสร้ า งกระบวนการศึ ก ษาค้ น คว้ า ถอดองค์ ค วามรู ้ จนสามารถนำมาสู่การเรียนรู้และถ่ายทอดสร้างความภาคภูมิใจ และเมื่อนำ สิ่งเหล่านี้มาเป็นเชิงสัญลักษณ์ของกิจกรรมต่างๆ ก็ทำให้เกิดความร่วมมือรวมใจ กั น ของคนในชุ ม ชน ด้ ว ยความสามั ค คี แ ละมี พ ลั ง ในทุ ก กิ จ กรรม ทำให้ ประสบความสำเร็จในที่สุด 13

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้

และแหล่งอารยธรรมอื่น ชุมชนได้ดำเนินการจนประสบความสำเร็จ ได้รับ การสานต่อและพัฒนาให้ดยี งิ่ ขึน้ และยังต้องเพิม่ เสริมกิจกรรมให้หลากหลาย กระจายถึงทุกคน ทุกกลุ่มทุกวัย สร้างจิตสำนึกให้เกิดเป็นชุมชนวิถีคุณธรรม ให้ได้ ทำให้พลังบวร ดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนส่งเสริมคุณธรรมในรูปแบบ ที่ ส อดรั บ กั น ในทุ ก กิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ ง บ้ า น วั ด โรงเรี ย นหรื อ ราชการ ส่วนท้องถิ่น เปิดพื้นที่ให้แต่ละส่วนสามารถมีส่วนร่วม มีพื้นที่สร้างเสริม กิจกรรมซึ่งกันและกันอยู่เสมอ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนวัดไชยศรี





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนมีความแตกแยก ไม่มีศูนย์รวมทางจิตใจ และการทำ กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ร่วมกันเท่าที่ควร โดยเฉพาะบ้าน วัด โรงเรียน และ ราชการต่างไม่มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมและมีพลังที่จะขับเคลื่อนคุณธรรม ในชุมชนได้ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือกระแสสังคมที่เป็นไป ด้วยความรวดเร็ว ทัง้ ภายใน และนอกชุมชน ซึง่ ส่งผลกระทบต่องานหรือกิจกรรม ตลอดเวลา ถ้าชุมชนตั้งรับหรือปรับไม่สอดคล้องดีพอก็จะเกิดปัญหาและ ไม่บรรลุเป้าหมายได้





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนเกิดความภูมิใจในชุมชนตนเองมากขึ้น ทำให้เกิด การร่ ว มมื อ กั น สามั ค คี ที่ จ ะทำให้ ชุ ม ชนดี ขึ้ น ไม่ ส ร้ า งปั ญ หาแต่ ช่ ว ยกั น แก้ปัญหา อันเป็นคุณธรรมด้านความกตัญญูรู้คุณ ให้ความสำคัญปฏิบัติตาม จารีตประเพณีหรือศีลธรรมทางศาสนาที่ยึดถือสืบทอดกันมา ไม่ล่วงละเมิด แล้ ว ยั ง มี ก ารสร้ า งระเบี ย บกติ ก าในการการอยู่ ร่ ว มกั น ขึ้ น หลายอย่ า ง ลดปัญหาด้านยาเสพติดหรือการกระทำผิดกฎหมายอย่างมาก แสดงให้เห็นถึง ชุ ม ชนมี คุ ณ ธรรมด้ า นวิ นั ย มี ค วามเสี ย สละต่ อ ส่ ว นรวมหรื อ ในกิ จ กรรม ทางสังคม มีการตัง้ กลุม่ จิตอาสาขึน้ หลายกลุม่ มีการรวมกลุม่ สร้างผลิตภัณฑ์ชมุ ชน เพื่ อ จำหน่ า ยสร้ า งรายได้ เ สริ ม และการนำต้ น ทุ น ทางวั ฒ นธรรม คื อ อุโบสถ (สิม) ภาพจิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสาวะถี 14

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูบุญชยากร ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดไชยศรี โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๗๖ ๔๒๐๒ ๒. นายวิรัตน์ ศรศักดา ตำแหน่ง ประธานกลุ่มวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์ ชุมชนวัดไชยศรี โทรศัพท์ ๐๘ ๐๓๖๒ ๘๐๕๖ ๓. นางลันไดย์ บุญมี ตำแหน่ง ประธานกลุ่มมัคคุเทศก์ชุมชน โทรศัพท์ ๐๙ ๔๓๒๓ ๘๘๑๑ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางอาริตา โคบุตรี ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๗๐๘๖

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า ๔๐๐ ปี มีวดั ตะปอนใหญ่เป็นจุดศูนย์รวมของชุมชน เป็นชุมชนทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัวโดดเด่น โดยเฉพาะด้านความมีอธั ยาศัย น้ำใจไมตรี เอือ้ เฟือ้ ต่อกัน จุดเด่นของชุมชน มี ต ลาดสายวั ฒ นธรรมที่ เ กิ ด จากการร่ ว มแรงร่ ว มใจกั น ของคนในชุ ม ชน คื อ ตลาดโบราณ ๒๗๐ ปี ซึ่ ง เน้ น ขายเฉพาะพื ช ผั ก ขนม อาหารพื้ น บ้ า น มีประเพณีที่โดดเด่นจนได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา คือ งานประเพณีการชักพระบาท (วัดตะปอนใหญ่) เพื่อเป็นสิริมงคล และความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จะทำกันในช่วงหลังจากวันสงกรานต์ ๑ เดือน ๒) เส้นทางสู่ความสำเร็จ คนในชุมชนบ้านตะปอนใหญ่มีความเจริญด้านจิตใจและมีจิตสาธารณะ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และช่วยเหลือสังคมด้วยการร่วมกัน ทำกิจกรรมความดีในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำความสะอาดบริเวณต่างๆ ภายในหมูบ่ า้ น ซึง่ ทำให้หมูบ่ า้ นสะอาดน่าอยูม่ ากขึน้ เป็นเจ้าภาพจัดโรงทานในงานบุญต่างๆ ทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน นอกจากนี้ชุมชนบ้านตะปอนใหญ่ยังได้แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการร่วมกลุ่ม “จิตอาสา เฉพาะกิจ” ขึ้น เพื่อเป็นการรวมพลังความรักความสามัคคีของคนในชุมชน

15

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เนื่ อ งจากพื้ น ฐานของคนในชุ ม ชน มี ค วามเอื้ อ อาทรต่ อ กั น ประกอบกั บ มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีความเข้มแข็งทางด้านคุณธรรม รักษาวัฒนธรรม ประเพณี ที่โดดเด่น มีวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชุมชน และมีนักวิชาการหรือ ผู้ชำนาญเฉพาะสาขามาให้ความรู้หรือคำแนะนำทำการประเมินงานเป็นระยะๆ มีการ แลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั ชุมชนอืน่ อย่างต่อเนือ่ งและสม่ำเสมอ จึงส่งผลให้ชมุ ชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่ ประสบผลสำเร็จ เป็น ๑ ใน ๑๐ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบของจังหวัดจันทบุรี





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ระยะเวลาทีผ่ า่ นมาได้ดำเนินงานประสบความสำเร็จในระดับหนึง่ และมีเป้าหมาย การขยายผลไปสู่ชุมชนใกล้เคียงตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนมี ความพออยู ่ พอกิน และมีความยัง่ ยืนต่อตนเองและครอบครัว อันเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนา ในภาพรวม มีการดำเนินการติดตามประเมินผลเพื่อศึกษาการมีปัญหา อุปสรรคประการใด ตลอดจนศึกษา ถึงผลประโยชน์และผลการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพื่ อ นำผลการประเมิ น ผลไปใช้ ใ นการปรั บ ปรุ ง การดำเนิ น งานในระยะต่ อ ไปให้ มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสาราภินันท์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดตะปอนใหญ่ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๔๙ ๑๐๒๒ ๒. นางสาวสมบัติ ประทุม ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ โทรศัพท์ ๐๘ ๔๗๐๔ ๐๔๖๙ ๓. นางพรเพ็ญ กิจพิบูลย์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางสระเก้า (เศวตวิทยาคาร) โทรศัพท์ ๐๓ ๙๔๒ ๖๐๒๙

16

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา



เรื่องราวชุมชน

๑) สโลแกน หรือ คำขวัญ อุทยานพุทธประวัติเล่าขาน สถานที่ปฏิบัติจิต พืชสวนเศรษฐกิจพอเพียง รุ่งเรืองวัฒนธรรมประเพณี ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น

ชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ มีความโดดเด่นทั้งในด้านการดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม ประชาชนยึดถือหลักธรรม คำสอนทางศาสนามาประพฤติปฏิบัติ รวมถึงมีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน ให้เกิดพลังร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ทำหน้าที่ช่วยอบรมบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมให้กับคนในชุมชน จัดกิจกรรมทางศาสนา และมีอุทยานพุทธประวัติ เป็นแหล่งเรียนรู้พุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ภายในอุทยานมีการจำลองเหตุการณ์สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สำหรับพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป นอกจากนี้ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน มีความร่วมมือร่วมใจกันรักษาสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดทั้ง มีการจัดปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการพึ่งพาอาศัยและแบ่งปันน้ำใจยามวิกฤตสู้ภัยโควิด-19 ประชาชนในชุมชนรักษาศีล ๕ เข้าวัด ปฏิบัติธรรม และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ มีผู้นำพลังบวร ได้แก่ ชุมชนบ้านโกรกแก้ว วงพระจันทร์ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ โรงเรียนวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ส่วนราชการในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รว่ มกัน สนั บ สนุ น ได้ แ ก่ ที่ ว่ า การอำเภอแปลงยาว เกษตรอำเภอแปลงยาว พั ฒ นาการอำเภอแปลงยาว กศน.อำเภอแปลงยาว ท้องถิ่นอำเภอ การกีฬาและการท่องเที่ยวประจำอำเภอแปลงยาว ได้เข้ามามี ส่วนร่วมในการขับเคลือ่ นและส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม เพือ่ แก้ปญ ั หาและสร้างความดีงามให้เกิดขึน้ ในชุมชน มีการสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้นำพลังบวรและคนในชุมชนเพื่อใช้คุณธรรมนำการพัฒนา แก้ปัญหา และสร้างความดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน มีการจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมชุมชนบรรจุลง ในแผนพัฒนาตำบล และแผนชุมชนคุณธรรม โดยการจัดประชุมประชาคมกับผู้นำทางศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ผู้บริหารสถานศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ จัดทำแผนปฏิบัติการในภาพรวมจนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 17

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

อุปสรรคเริ่มแรก คือ ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญน้อยไม่ค่อยให้ ความร่วมมือ จึงเริม่ มีการพูดคุยและแลกเปลีย่ นเรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน นำมาซึง่ ความเข้าอกเข้าใจ ในชุมชน จึงทำให้มีประชาชนให้ความร่วมมือมากขึ้นเรื่อยๆ บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ เห็ น ความสำคั ญ และให้ ค วามร่ ว มมื อ ในการดำเนิ น จั ด กิ จ กรรมในพื้ น ที่ อ ย่ า งเข้ ม แข็ ง และเกิดรวมพลังสามัคคีมากยิ่งขึ้น อย่างต่อเนื่องทุกปี





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ผลลัพธ์ทเี่ กิดขึน้ ทำให้ประชาชนหันมาให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนมากขึน้ ประชาชนยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือเป็นหลักในการดำรงชีวิต น้อมนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำรงชีวิต และรักษา สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ซึ่งเกิดผลลัพธ์ กับชุมชน ได้แก่ ปัญหาลักขโมย ยาเสพติด การพนัน ทะเลาะวิวาท ทุจริต ดืม่ เหล้า เสพของมึนเมา ผูส้ งู อายุ ถูกทอดทิ้ง มีจำนวนลดลงตามลำดับ เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มจิตอาสา กลุ่มภูมิปัญญา และกลุ่มดนตรีไทย การจัดกิจกรรมและเข้าร่วมงานวันสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพิ่มมากขึ้น มีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสถาบันพระมหากษัตริย์ มากยิ่งขึ้น เกิดการฟื้นฟู พัฒนา ต่อยอด ถ่ายทอดงานเทศกาลประเพณีของชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่าน สื่อออนไลน์และช่องทางอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานระหว่างชุมชน เกิดการสร้างช่องทางสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ชมุ ชน เกิดการพัฒนาเส้นทางและจุดท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรมในชุมชน เกิดมัคคุเทศก์ทอ้ งถิน่ เพือ่ บริการแนะนำ เล่าเรือ่ ง อัตลักษณ์ของชุมชน รวมทัง้ เกิดความรัก สามัคคี เอือ้ อาทรแบ่งปันซึง่ กันและกัน ของคนในชุมชน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูปลัดธนกร เตชธฺมโม ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ โทรศัพท์ ๐๙ ๕๔๙๒ ๙๙๗๘ ๒. นายประวิทย์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๖๑ ๖๐๐๗ 18

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดช่องแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ถิ่นชาวประมง สักการะองค์หลวงพ่อดำ งามล้ำเกาะแก่ง แหล่งท่องเที่ยวไทย น้ำใสทะเลงาม สามนามแสมสาร ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น

เรื่องราวโดดเด่นของชุมชนคุณธรรมวัดช่องแสมสาร คือ วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบวิถีชีวิตชาวประมง มีหลวงพ่อดำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ วจิตใจ มีวดั ช่องแสมสารเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชุมชน มีทรัพยากรธรรมชาติทอี่ ดุ มสมบูรณ์ คือ ทะเล เกาะ แก่ง เป็นแหล่งอาหาร และการประกอบอาชีพประมงของคนในชุมชน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดช่องแสมสาร โดยการนำของพระครูวิสาทรสุตากร เจ้าอาวาสวัดช่องแสมสาร มีการนำหลักธรรมคำสอนของศาสนา มาใช้ในชีวติ ประจำวันและกิจกรรมทางศาสนาทีป่ ระชาชนให้ความสำคัญ มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวติ มีวถิ ชี วี ติ ของหมูบ่ า้ น ชาวประมง การรวมกลุม่ แม่บา้ น และมีความเข้มแข็งของบวร การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนด้วยคุณธรรม นำการพัฒนาตามกระบวนการขับเคลือ่ นชุมชนคุณธรรม โดยได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง กำลังขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงาน และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนให้อยู่ดีมีความสุขด้วย วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนมีกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาประกอบอาชีพและอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก ในช่วงแรกด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิต ของคนในชุมชนดัง้ เดิม ซึง่ หนึง่ ในปัญหานัน้ คือการขาดจิตสำนึกในการรักษาและอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ต่อมาได้มีการจัดตั้งกลุ่มชมรมอนุรักษ์ทะเลแสมสารขึ้นมา และได้มีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึก สร้างความรู้ความเข้าใจต่อคนในชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในการรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำมาซึ่ ง โครงการจิ ต อาสาเก็ บ ขยะเกาะแสมสาร ส่ ง ผลให้ ค นในชุ ม ชนและกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ อื่ น เกิดความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ทำให้ปัญหาและอุปสรรคได้รับการแก้ไขเป็นอย่างมาก 19

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดช่องแสมสาร ได้ดำเนินการรณรงค์ปลูกจิตสำนึก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ คนภายในชุมชนมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ชาวบ้านมีความสามัคคี ซือ่ สัตย์สจุ ริต กตัญญูตอ่ ผูม้ พี ระคุณ สำนึกรักบ้านเกิด ปัญหาความขัดแย้งในชาติพนั ธุล์ ดลง มีการสืบทอดวิถชี วี ติ ชาวประมงจากรุน่ สูร่ นุ่ เกิดองค์ความรู้ในการแปรรูปอาหารทะเลด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ชุมชนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมทำ ชาวบ้าน ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลมากขึ้น ชุมชนคุณธรรมวัดช่องแสมสารต้องการสร้างชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงของประเทศ ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือ ภายในชุมชุน โดยใช้พลังของ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน จัดตั้งจุดรับบริการรถสองแถวนำเที่ยว เพื่อรอรับนักท่องเที่ยว มีการอบรมพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพืน้ ทีใ่ ห้เป็นเจ้าบ้านทีด่ ี ผ่านโครงการ “มัคคุเทศก์นอ้ ย” จัดกิจกรรมโครงการจิตอาสาเก็บขยะบนเกาะแสมสารเป็นประจำทุกปี เพือ่ ให้ชาวบ้านและนักท่องเทีย่ ว ได้มสี ว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล พัฒนาต่อยอดอาหารทะเลเพือ่ การแปรรูปส่งออก ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเทีย่ วในชุมชนผ่านสือ่ ออนไลน์ตา่ งๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขและยั่งยืน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดช่องแสมสาร - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายณัฐพงศ์ พิทักษ์กรณ์ โทรศัพท์ ๐๙๑ ๘๗๔ ๑๑๒๙ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

นายณัฐทรงชัย ผโลทัยเลิศ โทรศัพท์ ๐๘๑ ๙๑๒ ๓๗๒๕

20

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท



เรื่องราวชุมชน มัดหมี่สวยงาม

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ไปไหนมาไหน อยากให้แวะชม สินค้าพื้นบ้าน หมอนขวานหลากสี ผ้าไหมชั้นดี

๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดเนินขาม มีความสงบสุขในชุมชนปัญหาต่างๆ ในชุมชนลงลง ได้แก่ ปัญหายาเสพติด การทะเลาะวิวาท การพนัน การลักขโมย เป็นต้น รวมทั้งเกิดสิ่งดีงามในชุมชน ได้แก่ คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยกัน มีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม มีความปรารถนาทีจ่ ะร่วมกันทำให้ชมุ ชนได้รบั พัฒนายิง่ ๆ ขึน้ ไป มีความพอประมาณ พึง่ พาตนเอง ประกอบอาชีพทีส่ จุ ริต สร้างรายได้ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ชมรมส่งเสริมการท่องเทีย่ วโดยชุมชนตำบลเนินขาม ศูนย์เรียนรูว้ ฒ ั นธรรม การทอผ้าพืน้ เมืองลาวเวียงบ้านเนินขาม กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอบ้านทุ่ง เป็นต้น รวมทั้งยังคงสืบทอดประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตและชาติพันธุ์ของตนเองไว้ได้หลายอย่างจนกลายเป็น เอกลักษณ์ของท้องถิน่ ได้แก่ การทอผ้า การแต่งกาย อาหารพืน้ เมือง ศิลปะการแสดงทางวัฒนธรรม (การฟ้อนรำ) ตลอดจนภูมปิ ญ ั ญาด้านสมุนไพร นำอัตลักษณ์ และภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน มีการรวมกลุ่มทอผ้าซิ่นตีน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดเนินขาม มีการดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินชุมชนคุณธรรม โดยทุกคนจะถือปฏิบตั ิ เป็นกติกาของชุมชน เพือ่ ให้คณ ุ ธรรม นำการพัฒนา เกิดสังคมคุณธรรมที ่ “มัน่ คง มัง่ คัง่ ยัง่ ยืน” ทุกคนในชุมชนมีคณ ุ ธรรม มีความจงรักภักดีตอ่ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย ์ มีความสมานฉันท์ ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยไปใช้ในการดำรงชีวิต ปัญหาหมดไป สิ่งดีงามเกิดขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป มีการดำเนินการจัดกิจกรรมในทุกมิติด้วยความ เข้มแข็งของชุมชน มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนชาวนา และศู น ย์ เรี ย นรู้ วั ฒ นธรรมการทอผ้ า พื้ น เมื อ งลาวเวี ย งบ้ า นเนิ น ขาม มีการจัดกิจกรรมเทิดทูสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย ์ รวมทัง้ ปฏิบตั ิ ตามคุ ณ ธรรม พอเพี ย ง วิ นั ย สุ จ ริ ต จิ ต อาสา จนทำให้ ชุ ม ชนประสบ ความสำเร็จ ไม่มีปัญหาทะเลาวิวาท ไม่มีปัญหายาเสพติด ไม่มีปัญหา การลักขโมย 21

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดเนินขามใช้หลักการมีผู้นำบวร บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ชุมชน ทุกภาคส่วนถือเป็นองค์ประกอบของชุมชน และทำให้ ชุมชน ก้าวข้ามผ่านปัญหา อุปสรรค โดยใช้กลไกการประชาคมร่วมกัน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาต่างๆ และร่วมกันปรับปรุง แก้ไข และประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน การดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงทำให้ปัญหาต่างๆ ลดลง





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดเนินขามมีความสงบสุขในชุมชนปัญหาต่างๆ ในชุมชนลดลง เกิดสิ่งดีงามในชุมชน คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือซึง่ กันและกัน มีความปรารถนาทีจ่ ะร่วมกันทำให้ชมุ ชนได้รบั การพัฒนายิง่ ๆ ขึน้ ไป มีความพอประมาณ พึง่ พาตนเอง ประกอบอาชีพทีส่ จุ ริต สร้างรายได้ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งยังคงสืบทอดประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตและชาติพันธุ์ของตนเองไว้ได้หลายอย่างจนกลายเป็น เอกลักษณ์ของท้องถิ่น นำอัตลักษณ์และภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เป้าหมายที่จะเดินต่อในอนาคต ได้แก่ การเป็นแบบอย่างให้กับพุทธศาสนิกชนในชุมชนในด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีการบูรณาการ ความร่วมมือกับผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส่วนราชการ และชุมชนในการพัฒนาวัด ปรับปรุงภูมิทัศน์ จัดระเบียบด้านความสะอาด สุขอนามัย และ การสาธารณกุศล มีการมอบทุนการศึกษาให้กบั เด็กนักเรียนทีม่ คี วามประพฤติ ปฏิบตั ดิ ี และเป็นแบบอย่างทีด่ ี เพือ่ เป็นขวัญและกำลังใจในการประพฤติปฏิบตั ดิ ี รวมทั้งเป็นจุดศูนย์กลางในการจัดงานประเพณีท้องถิ่นตามวิถีชุมชนลาวเวียง





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดเนินขาม

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูปลัดมงคลวรวัฒน์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเนินขาม โทรศัพท์ ๐๘ ๕๗๓๑ ๘๕๗๒ ๒. นายพงษ์ศักดิ์ เฉยทิม ตำแหน่ง กำนันตำบลเนินขาม โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๙๕ ๐๕๙๒

22

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเจดีย์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ



เรื่องราวชุมชน

๑)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดเจดีย์ มีโบราณสถานมหาเจดีย์ศรีชัยมุนี โบราณวัตถุ พระพุทธชัยสารมุนี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะ ประเพณีบุญเดือนสี่ที่งดงามและ วัฒนธรรมการแต่งกายชุดพื้นบ้านไทคอนสาร สำเนียงพูดเฉพาะถิ่น (คล้ายหล่มสักและจังหวัดเลย) อาหารพื้นบ้านคั่วเนื้อ คั่วปลา การละเล่นสะบ้ากีฬาพื้นบ้าน เปิดพืน้ ทีส่ ำหรับกิจกรรมจิตอาสา การสร้างสรรค์กจิ กรรมชุมชน ชุมชนปลอดขยะ ปลอดอบายมุข งานบุญประเพณีเป็นศูนย์รวมจิตใจทีช่ ว่ ยยกระดับคุณภาพจิตใจ ให้มีความตระหนักรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ๒)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เริม่ ต้นจากปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เมือ่ พระครูนนั ทเจติยาภิรกั ษ์ ได้รบั แต่งตัง้ เป็นเจ้าอาวาสวัดเจดียแ์ ละได้มกี ารปรับปรุงภูมทิ ศั น์ภายในวัดและรอบๆ วัดให้ มีความสะอาดร่มรื่น ซ่อมแซมปลูกสร้างศาสนสถานอย่างเป็นระบบระเบียบ มีการปฏิบัติกิจของพระสงฆ์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการริเริ่มจัดกิจกรรมต่างๆ เพือ่ เป็นการฟืน้ ฟูคณ ุ ธรรมจริยธรรมของคนในชุมชนอย่างต่อเนือ่ ง เช่น การกิจกรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูรอ้ น กิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเย็น โดยเชิญชวนเยาวชน ประชาชนเข้ามาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมงานบุญปลอดอบายมุข กิจกรรมจัดถุงยังชีพมอบแก่ประชาชนในชุมชน กิจกรรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม การจัดรายการวิทยุชุมชนคนรักษ์ธรรมะวัดเจดีย์ สวดมนต์ข้ามปี รวมทั้งเป็นศูนย์เผยแผ่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา ปัจจุบันชุมชนคุณธรรมวัดเจดีย์เป็นที่ ยอมรับของเยาวชนประชาชนในชุมชนและชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียง รวมทั้งหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถานศึกษาให้ความสำคัญและเข้ามาร่วมกิจกรรม ต่างๆ ที่ชุมชนคุณธรรมวัดเจดีย์จัดขึ้นเป็นประจำ ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในกิจวัตรของพระสงฆ์มีการเข้าร่วมกิจกรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตและมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

23

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น

ตัง้ แต่กอ่ นปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ชาวบ้านเข้าวัดน้อย วัดและพระสงฆ์ ไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้านและชุมชน พระสงฆ์ไม่ทำกิจกรรมหรือเป็น ผู้นำให้ชาวบ้านเดินตาม เมื่อพระครูนันทเจติยาภิรักษ์ มาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเจดีย์และประธานชุมชนคุณธรรมวัดเจดีย์จึงได้มีการกำหนด เป้าหมายในการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ไว้หลายประการ ขับเคลื่อนชุมชน ให้ เ ป็ น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมต้ น แบบ แต่ ต้ อ งอาศั ย ความอดทนในการริ เริ่ ม การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่ชุมชนไม่ยอมรับ นำชาวบ้านทำกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา เกิดความรักสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันในการขับเคลื่อนกิจกรรม ตลอดจนการใช้พื้นที่วัดเจดีย์ เป็ น ศู น ย์ ก ลางในการจั ด งานประเพณี วั ฒ นธรรมที่ ส ำคั ญ ของท้ อ งถิ่ น และจัดกิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ประชาชนมีความรักและความสามัคคีมศี ลี ธรรมและจงรักภักดี ต่อสถาบันสำคัญของชาติไทย น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ประชาชนในชุมชนมีโอกาส ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนรู้กับชุมชนอื่นๆ สามารถนํามาปรับใช้และพัฒนา ชุมชนของตนเองได้ การจัดกิจกรรมงานประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชน จะมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ชุมชนคุณธรรม

วัดเจดีย์ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ศึกษาดูงานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอ คอนสาร มีการเชิญชวนให้ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์สืบทอดวิถีวัฒนธรรมไทย คอนสารไว้อย่างเหนียวแน่น ในปัจจุบนั ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง ชุมชนมีรายได้ เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด เจดี ย์ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการส่ ง เสริ ม สนับสนุนกิจกรรมของชุมชนผลักดันกิจกรรมที่จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับ ชุมชน การสืบสานรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชุมชนคุณธรรมให้มี ความยั่ง ยืนโดยการสร้างจิตสานึกด้ว ยการจั ดกิ จ กรรมที่ ใ ห้ เด็ ก เยาวชน ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงมีเป้าหมายที่จะดำเนินการต่อไป คื อ การสร้ า งทายาทเพื่ อ การรั ก ษาสื บ ทอดศิ ล ปะ ด้ า นประเพณี แ ละ วัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่สืบต่อไป การยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลตัวอย่าง สร้างให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ครบวงจรที่สำคัญด้านศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรมของจังหวัดชัยภูมิ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดเจดีย์

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูนนั ทเจติยาภิรกั ษ์ ตำแหน่ง เจ้าอาสวัดเจดีย ์ เจ้าคณะอำเภอคอนสาร ประธานชุมชนคุณธรรมวัดเจดีย์ โทรศัพท์ ๐๓ ๕๔๗๘ ๕๕๕๖ ๒. พระปลัดสมพล กิตติเมธี ตำแหน่ง เลขานุการวัดเจดีย์ โทรศัพท์ ๐๖ ๕๕๕๕ ๕๕๕๘ ๓. นางสกุล ทรัพย์เรืองเจริญ ตำแหน่ง ประธานกลุม่ พัฒนาสตรีอำเภอคอนสาร โทรศัพท์ ๐๘ ๒๗๗๐ ๖๕๐๐ 24

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดดอนทรายแก้ว อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ แวะเที่ยวตำบลนาทุ่งสักนิดแล้วจะติดใจ แวะไหว้พระขอพร ชมวิถีชุมชน สัมผัสอาหารทะเลสดแวะชมเกษตรอินทรีย์ ซื้อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นติดไม้ติดมือ เลยไปทะเลน้ำใส นั่งแพตกหมึกตกปลาปิ้งย่าง ณ แหลมคอกวาง แวะถ้ำไทรย้อย ชมทิวทัศน์ป่าโกงกาง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดดอนทรายแก้ว ตั้งอยู่ ณ วัดดอนทรายแก้ว ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ดำเนินกิจกรรมที่ก่อประโยชน์ แก่ชุมชนและสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรม การศึกษา อาชีพ และเศรษฐกิจ ด้วยความสามัคคีและการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม มีความคิด เป็นอันเดียวกันในการพัฒนาให้เป็นชุมชนอยูเ่ ย็นเป็นสุข ศาสนสถานปลอดการพนัน อบายมุข และยาเสพติด มีการทำการเกษตรธรรมชาติยงั่ ยืนโดยภูมปิ ญั ญาชาวบ้าน เน้นวัสดุในท้องถิ่นการกระจายรายได้สู่ชุมชนโดยชุมชน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดิมคนในชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนา และมีพื้นที่น้ำกร่อยจึงมี ป่าต้นจาก ใช้สำหรับมุงหลังคาบ้าน เย็บจากขาย มีการทำประมงน้ำกร่อยและน้ำเค็ม สวนมะพร้าว การเพาะเลี้ยงกุ้ง ต่อมาได้เริ่มมีพันธุ์ปาล์มน้ำมันนำมาปลูก ปัจจุบันการดำรงชีวิตของคนในชุมชน มีการเปลี่ยนแปลง จึงเกิดแนวความคิดที่จะอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนชนบทไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ดู ความเป็นมาและสามารถนำวัสดุในท้องถิ่นมาสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน จึงจัดตั้งกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ตำบลนาทุง่ ขึน้ โดยการรวมตัวของชาวบ้านกลุม่ เล็กๆ ประกอบด้วย การทำผลิตภัณฑ์จากต้นจาก เช่น หมวกใบจากการทำกระถางต้นไม้ด้วยใยมะพร้าวและใบไม้ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ การผลิตเตาถ่าน และการผลิตจานจากวัสดุเหลือใช้

25

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด ดอนทรายแก้ ว ระยะแรกเริ่ ม ไม่ ไ ด้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากคนในชุมชน เนือ่ งจากแต่ละคนต่างมีหน้าทีป่ ระกอบอาชีพแตกต่างกัน ไม่มเี วลาให้กบั ชุมชน มากนัก ประกอบกับไม่กล้าแสดงออกทั้งการกระทำ ความคิดที่สร้างสรรค์ ตลอดจนไม่ทราบ แนวทางในการดำเนินการว่าควรเป็นอย่างไร ควรไปในทิศทางไหน บางคนขาดองค์ความรู้ ที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ประกอบกับไม่มีงบประมาณในการจัดตั้งกลุ่ม แต่ชาวบ้าน ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน นำวัสดุในท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้จนสามารถสร้างรายได้ ใช้พลังความรัก ความสามัคคี การยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหา ชาวบ้านสามารถ ขับเคลื่อนกลุ่มได้ด้วยตนเอง





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ความสำเร็จของชุมชนคุณธรรมวัดดอนทรายแก้ว ประเด็นหลักที่สำคัญ คือ ๔ รู้ ได้แก่ ๑. รู้ตัวเอง รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่บกพร่อง สิ่งที่ขาด พยายามเติมเต็มในสิ่งนั้น ๒. รู้สังคม รู้คน รู้ชุมชน รู้สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ๓. รู้บทบาทหน้าที่ ในการรักษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ของชุมชน ๔. รู้ความรับผิดชอบ รู้รับผิดชอบสังคมร่วมกัน จึงส่งผลให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดการรวม กลุ่มพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ลดขยะมูลฝอยใช้วัสดุใน ท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ สร้างความรัก ความสามัคคีและความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชน และส่งเสริมชุมชนให้มีคุณธรรมในทุกๆ ด้าน มุ่งมั่นที่จะทำความดีต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดดอนทรายแก้ว - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระมหาชัยศิลป์ ชยโชติ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดดอนทรายแก้ว โทรศัพท์ ๐๘ ๑๗๙๗ ๔๑๓๘

26

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดท่าข้ามศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ เชิญแอ่วบ้านลื้อ แวะซื้อผ้าทอ เจ้าบ่อคู่บ้าน ตระการหนองรงค์ มั่นคงสามัคคี ประเพณีงดงาม มาศรีดอนชัยเหมือนได้ไปสิบสองปันนา ๒)

วิสัยทัศน์ของชุมชนคุณธรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน บนพื้นฐานเชิงวัฒนธรรม นำสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ๓)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดท่าข้ามศรีดอนชัย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สายสัมพันธ์ของคนในชุมชนมีลักษณะเครือญาติกัน โดยมีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามศรีดอนชัยรูปปัจจุบัน มารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้มีแนวคิด ทีจ่ ะใช้มติ ทิ างศาสนาเป็นหลักในการปฏิบตั ิ ส่งเสริมสนับสนุนการใช้ตน้ ทุนทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ไทลือ้ สร้างสุขให้แก่คนในชุมชน อัตลักษณ์วถิ วี ฒ ั นธรรมไทลือ้ ศรีดอนชัยมีจุดเด่นด้านการรักษา สืบสาน ต่อยอด และพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม เช่น ผ้าทอไทลื้อโบราณ การแต่งกายของชาย-หญิง เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ สถาปัตยกรรม โบถส์ วิหาร ศาลา หอระฆัง กุฏิรับรองพระอาคันตุกะ เฮือนโบราณ ๑๐๐ ปี พิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทลื้ออุษาคเนย์ นิทรรศการภาพเก่าเล่าขาน ตำนานไทลื้อศรีดอนชัย พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำซังวาคาเฟ่ ข่วงวัฒนธรรมเฮือนคำแพง ศูนย์ทอผ้าไทลื้อศรีดอนชัย ร้านอาหารนาตักเต่า วิถีวัฒนธรรมชุมชนไทลื้อ ชุมชนศรีดอนชัยได้รับการยกย่องเป็นหมู่บ้าน OTOP Village และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ๔)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ จุดเริม่ ต้นของชุมชนคุณธรรมวัดท่าข้ามศรีดอนชัย เกิดจากการความเข้มแข็ง ของผู้ น ำทางศาสนา พระครู สุ จิ ณ วรคุ ณ เจ้ า อาวาสวั ด ท่ า ข้ า มศรี ด อนชั ย ได้ ส่ ง เสริ ม ให้ วั ด เป็นศูนย์กลางของชุมชนและมีพระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน โดยนำ โครงการ “สืบโมเดล” ที่มีการแกนหลักในการนำพลังบวรที่มีการบรูณาการการทำงานร่วมกัน ระหว่ า งวั ด /ชุ ม ชน/และส่ ว นราชการในพื้ น ที่ ขั บ เคลื่ อ นส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมประเพณี ใ นท้ อ งถิ่ น ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นประเพณีทเี่ กีย่ วกับการดำรงชีวติ ทางเกษตรกรรมและวิถชี วี ติ ชุมชน ตลอดถึงมีการ ปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรม ส่งผลให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความมุ่งมั่นและ ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้ชุมชนบ้านศรีดอนชัย เป็น “สังคมอุดมสุข” 27

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานกิจกรรมในชุมชนพบปัญหาอุปสรรคที่คนในชุมชน/คณะทำงานต่างๆ ยังไม่เข้าใจในกระบวนการ วิธีการทำงาน หรือรายละเอียดของงาน รวมทั้งมีคนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจประโยชน์ร่วม และไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม แต่อย่างไรก็ตามท่านพระครูสุจิณวรคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามศรีดอนชัย พร้อมด้วยผู้นำและคณะทำงานมองว่าทุกอุปสรรคปัญหาเป็นบทเรียนที่ดีในการพัฒนางานครั้งต่อไป การทำงาน เน้นความโปร่งใส ทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน ทำด้วยใจและจิตอาสา ผลของการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ล้วนเป็นไปตาม หลักธรรมชาติและเป็นไปตามหลักวิถ ี ส่งผลให้โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ เริม่ ประสบผลสำเร็จเพิม่ ขึน้ ตามลำดับ ตลอดจน อันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันก่อเกิดเป็นความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวของชุมชนในปัจจุบัน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนบ้านศรีดอนชัย เป็นชุมชนคุณธรรมที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยพลัง “บวร” บนวิถี วั ฒ นธรรมไทลื้ อ ที่ ยั ง คงอนุ รั ก ษ์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ทั้ ง ด้ า นการพู ด การแต่ ง กาย อาหารและอุ ป นิ สั ย ใจคอไว้ อย่างเหนีย่ วแน่นมาก อีกทัง้ ยังมีความโดดเด่นด้วยศิลปะด้านพุทธศิลป์แบบสิบสองปันนา มีบา้ นเรือนทีป่ ลูกสร้างแบบไทลือ้ ที่มีใต้ถุนสูง และยังมีวิถีชีวิตชาวบ้าน การทอผ้าไทลื้อด้วยกี่และวิธีการทอที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์และการทอ ด้วยความประณีตแบบดั้งเดิมสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าไทลื้อที่สำคัญของจังหวัด ที่สำคัญสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ อาหารที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน รวมถึง การแสดงต่างๆ จึงเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมเยือน ชุมชนอยู่เสมอ และยังเป็นชุมชนที่ได้รับรางวัล/ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์กลางการบูรณาการจัดกิจกรรมด้านศาสนา และวิถีวัฒนธรรม กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมบ้านศรีดอนชัย

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสุจิณวรคุณ (กมล สมาหิโต, บ่อแก้ว) ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดท่าข้าม ศรีดอนชัย เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย เขต ๑ โทรศัพท์ ๐๘ ๘๙๗๕ ๕๖๙๙ ๒. พระมหาอภิวรรณ อภิวณฺโณ (จำปาวรรณ) ตำแหน่ง ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดท่าข้าม ศรีดอนชัย โทรศัพท์ ๐๙ ๙๐๘๐ ๗๔๕๑ ๓. นายสมชาย วงค์ชัย ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านศรีดอนชัย หมู่ ๗ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๕๖๐ ๑๙๐๘

28

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสันทราย อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ดินเผาเป็นศรี มากมีน้ำใจ คงไว้วัฒนธรรม ๒)

วิสัยทัศน์ของชุมชนคุณธรรม ชุนชนบ้านสันทราย ชุมชนคนมีศีล ๓)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น

ชุมชนคุณธรรมวัดสันทราย เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ในตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ ห่างไกลจากตัวเมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำนา ทำสวน และรับจ้างทั่วไป โดยทางวัดสันทรายและคณะกรรมการได้ร่วมปรึกษาหารือแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้เกิดการจัดกิจกรรมโครงการ ค่ายครอบครัวอบอุ่นด้วยธรรมะ และโครงการปฏิบัติธรรมบวชชีพราหมณ์เฉลิมพระเกียรติฯ โดยกำหนดเป็นวันที่ ๒ - ๓ เมษายน ของทุกปี และทำติดต่อกันมา ๒๒ ปี เสริมด้วยกิจกรรมด้านสุขภาพและเสริมสร้างความสามัคคี คือ กิจกรรมรวมพลคนสามวัยใส่ใจศีล ๕ พร้อมทั้งรวมกลุ่มเยาวชนด้วยการตั้งสภาเยาวชน วัดสันทราย และโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ซึ่งได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายหลังก็ได้เข้าร่วมงานกับเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชนภาคเหนือ เครือข่าย องค์กรงดเหล้าจังหวัดเชียงใหม่ สสส. สภาพลเมืองเชียงใหม่ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ยิ่งทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย ๔)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ วั ด สั น ทรายและคณะกรรมการได้ ร่ ว มจั ด กิ จ กรรม ทีห่ ลากหลาย เพือ่ เป็นการหลอมรวมและกระตุน้ คนในชุมชนให้ออกมาร่วมกัน สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิตตามครรลองของศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม ตลอดจน วัฒนธรรม ประเพณี วิถชี วี ติ ระเบียบวินยั และค่านิยมทีด่ งี ามของไทย ส่งผลให้ ชุมชนมีความสงบร่มเย็นบนพื้นฐานของหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีอนั ดีงาม รวมทัง้ เพือ่ สร้างกระบวนการเรียนรูใ้ ห้เกิดแก่ พ่ อ แม่ ลู ก คนในครอบครั ว จนต่ อ มาได้ รั บ คั ด เลื อ กจากสำนั ก งาน วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมโครงการชุมชนคุณธรรม และทำกิจกรรม ต่างๆ โดยอาศัยทุนเดิมจากทีท่ ำกิจกรรมาต่อเนือ่ ง ประกอบกับมีภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ จนได้พัฒนามาเป็นชุมชน คุณธรรมต้นแบบ 29

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

อำเภอไชยปราการ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอฝาง ถือว่า เป็นอำเภอชายแดนติดพม่า มีความหลากหลายของชนเผ่า มีความเสี่ยงเรื่อง ยาเสพติด และการค้ามนุษย์ สภาพปัญหาเด็ก เยาวชนก็สนใจในเทคโนโลยี สมัยใหม่จนลืมรากฐานทางวัฒนธรรม ขาดความเคารพยำเกรง บ้างก็ติดยา เสพติด และปัญหาจากการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ผู้ใหญ่วัยทำงานก็มุ่งแต่ทำงาน เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัวจนละเลยเอาใจใส่ต่อลูก มีความเห็นแก่ตัว ละทิ้งประโยชน์ส่วนรวม ผู้สูงอายุก็ถูกละทิ้งให้อยู่เฝ้าบ้าน ขาดความดูแล เอาใจใส่ ระบบเศรษฐกิจชุมชน ความผูกพันในครอบครัวเริ่มห่างเหินกัน มากขึ้น อาชีพดั้งเดิมชุมชนที่กำลังขาดคนสนใจ วัดก็ขาดคนสนใจ เป็นต้น ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว พระครูวรสุตเขต ประธานชุมชนคุณธรรม ได้นำเอา ข้อมูลไปหารือร่วมกันกับชาวบ้านในเวทีประชาคมหมู่บ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายที่ จะทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ปัญหาลดลง เป็นชุมชนที่ปลอดเหล้าและหันมา ยึดหลักปฏิบัติตามหลักศีล ๕





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

จากเดิมศาลาวัดเคยว่างเปล่า ทุกวันจันทร์ชาวบ้านจะทยอย เข้ามานั่งอย่างเป็นระเบียบ นุ่งขาวห่มขาว โดยท่านพระครูวรสุตเขต ประธาน ชุ ม ชนคุ ณ ธรรม จะเป็ น ผู้ น ำสวดมนต์ ด้ ว ยตนเองทุ ก ครั้ ง จึ ง เกิ ด การปรั บ เปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดจากบุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่อาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย จึงเกิดการมีส่วนร่วมในการที่จะ 30

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เกิดความสามัคคี ที่เห็นได้ชัดมีหลายครอบครัว ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเลิกเหล้าได้ ส่วนร้านค้าในชุมชนไม่จำหน่ายสุราใน วั น พระ ผู้ น ำเป็ น แบบอย่ า งเป็ น ผู้ ที่ ด ำเนิ น ชี วิ ต แบบพอเพี ย งเคี ย งธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คนในชุมชนสามารถพึง่ ตนเองได้ สำหรับ เป้าหมายที่จะก้าวเดินต่อ คือ การสร้างสวัสดิการชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้ ชุมชนนี้ อยู่ดี กินดี มีสุข บนพื้นฐานพุทธธรรม เมื่อผู้คนลด ละ เลิก อบายมุข อีกไม่ชา้ ภาพแห่งความสงบสุข และเสียงสวดมนต์ดงั ก้อง จะขยายไปยังชุมชนอืน่ ที่อยู่ใกล้เคียง ได้รับความสงบสุขเกิดขึ้นเช่นกัน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสันทราย

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูวรสุตเขต ตำแหน่ง ประธานชุมชนคุณธรรม โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๕๒ ๓๔๙๘ ๒. นายสายชน จันทร์สม ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านสันทราย โทรศัพท์ ๐๘ ๘๔๐๐ ๗๔๑๕ และ ๐๖ ๕๐๑๗ ๔๒๓๖ ๓. นายบุญมา กิติใจ ตำแหน่ง ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านประวัติชุมชน โทรศัพท์ ๐๙ ๓๒๖๙ ๕๕๖๖ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๔. นางสาวปานรดา อุ่นจันทร์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๑๕๑๒

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านสิเหร่ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำชุมชนพัฒนา น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒)

วิสัยทัศน์ของชุมชนคุณธรรม ชุมชนมัสยิดบ้านสิเหร่ พัฒนาคน สู่สังคมและประเทศชาติ ๓)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น การพัฒนาชุมชนที่หล้าหลัง มีความแตกแยก อยู่กันเป็นกลุ่มๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่าย แต่ในชุมชนมัสยิดบ้านสิเหร่ มีประชากรที่นับถือศาสนา อิสลามร้อยเปอร์เซ็นต์บวกกับผู้นำมีความรู้ เสียสละ มีความรับผิดชอบ จึงมีแนวคิดที่จะรวมคนในชุมชนให้มีความรัก ความสามัคคี โดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง ในการจัดกิจกรรม ดังนี้ ๑. มีการเรียนการสอนด้านศาสนาอิสลามเน้นคุณธรรมจริยธรรมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ๒. มีการอบรมคุณธรรมจริยธรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์ ทุกเดือนและภาคฤดูร้อนเป็นประจำทุกๆ ปี ๓. สร้างความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ เช่น ค่ายทหารลำภูราและอื่นๆ ๔. จัดกิจกรรมทัศนะศึกษาแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้นำและเยาวชนในชุมชนเพี่อนำมาพัฒนาชุมชน ๕. จัดตั้งกลุ่มสตรีในการรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์น้ำพริกออกสู่ชุมชนและร่วมกันพัฒนาชุมชน ๖. ร่วมกันทำบุญในวันสำคัญต่างๆ

31

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้



๔)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ๑. ให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมกับเยาวชนและคนในชุมชน เพื่อสร้างความรัก ความเข้าใจ ผสานความแตกแยกให้เป็นหนึ่งเดียว ๒. มีการประชุมคณะกรรมการมัสยิดร่วมกับผูน้ ำท้องที/่ ท้องถิน่ เป็นประจำทุกเดือน เพือ่ ร่วมกันพัฒนาชุมชน ๓. จัดโครงการ/กิจกรรมในชุมชนเพื่อการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ และสร้างความรัก ความสามัคคี ๔. สร้างความสัมพันธ์กับศาสนาและองค์กรอื่นๆ เช่น โครงการสอนศาสน์สัมพันธ์ กิจกรรมร่วมกันกับค่ายทหารลำภูราและอื่นๆ เป็นต้น ๕. จัดตั้งกลุ่มสตรีในการรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกสู่ชุมชนและศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ๖. คนในชุมชนอยู่อย่างพอเพียง โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ









ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

๑. คนในชุมชนไม่เข้าใจในหลักธรรมคำสอนของศาสนา ๒. คนในชุมชนแบ่งกลุ่มแตกแยก ขาดความสามัคคี ๓. ชุมชนขาดการพัฒนาศาสนสถานและสภาพแวดล้อมในชุมชน ๔. คนในชุมชนมีความอิจฉาริษยา แข่งแย่งชิงดี ขาดความสามัคคี ๕. มีความแตกแยกในด้านการเมือง ๖. ขาดงบประมาณในการพัฒนาชุมชน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านสิเหร่ ดำเนินการพัฒนาคน พัฒนาชุมชนและจัดโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะนำหลักธรรม คำสอนของศาสนาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการในการพัฒนาชุมชนและจะนำคณะบริหารทั้งหมดออกศึกษาเรียนรู้ ดูงานจากแหล่ง เรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อจะได้นำมาพัฒนาชุมชนต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านสิเหร่

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายบรรลือ หมวดแดหวา ตำแหน่ง อิหม่ามมัสยิดบ้านสิเหร่ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๘๒๗ ๒๘๓๖ 32

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชน ๒ ศาสนา ๓ วัฒนธรรม ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดน้ำเชี่ยว เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยและชาวจีนที่ล่องเรือสำเภา มาทำการค้าขายทีเ่ มืองไทยแล้วไม่กลับเมืองจีน อยูท่ ำมาหากินต่อจนตัง้ รกรากถิน่ ฐานทีน่ ี่ จนกระทัง่ ในสมัยรัชกาลที ่ ๓ เหตุการณ์ในประเทศเพือ่ นบ้านเกิดสงคราม ในประเทศกัมพูชา รวมถึงการล่าอาณานิคมของฝรัง่ เศส ทำให้ชาวมุสลิมเชือ้ สายเขมร หรือแขกจาม ต้องอพยพหนีกระจัดกระจายกันไปตามทีต่ า่ งๆ ซึง่ หนึง่ ในนัน้ ก็คอื ชุมชนบ้านน้ำเชีย่ ว ด้วยเหตุนจี้ งึ เป็นทีร่ จู้ กั ในชือ่ ชุมชนทีม่ ี ๒ ศาสนา และ ๓ วัฒนธรรม แม้จะมาจากต่างความเชือ่ และต่างวัฒนธรรม แต่ทกุ คนก็อยูร่ ว่ มกัน ได้อย่างสงบสุข เมื่อกาลเวลาผ่านไปวัฒนธรรมต่างๆ ก็ผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัว แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ที่เป็นเสน่ห์เฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม ได้เป็นอย่างดี ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง ชาวสวน และเกษตรกร ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เนื่องจากชุมชนคุณธรรมวัดน้ำเชี่ยว เป็นชุมชนที่มี ๒ ศาสนา และ ๓ วัฒนธรรม คือ ศาสนาพุทธ และอิสลาม จากวัฒนธรรมชาวไทย ชาวจีน และชาวมุสลิม จะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างกัน ช่วงแรกๆ คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธอาจไม่เข้าใจธรรมเนียม ปฏิบัติของคนมุสลิม ในทางกลับกัน คนอิสลามอาจไม่เข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติ ของคนไทยทีน่ บั ถือศาสนาพุทธเฉดเช่นเดียวกัน พอมีการเรียนรูจ้ ากรุน่ สูร่ นุ่ ทีน่ บั ถือ ศาสนาอิสลามการจึงเกิดความกลมกลืนของทั้ง ๒ ศาสนา เช่น การแต่งงาน ระหว่างคนไทยพุทธและคนไทยมุสลิม จนมาถึงปัจจุบันในชุมชนแทบจะไม่มีความ ขัดแย้งทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม

33

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ข้อปฏิบตั หิ ลักเกณฑ์ทที่ างชุมชนได้กระทำร่วมกันเป็นแนวทางเดียวกัน โดยยึดถือ กั น มาตั้ ง แต่ รุ่ น บรรพบุ รุ ษ คื อ การแบ่ ง ปั น การเอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่ การช่ ว ยเหลื อ คนในชุ ม ชน โดยไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ความสามัคคี ช่วยกันทำกิจกรรม ในชุมชนด้วยความพร้อมเพรียง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืองานวันสำคัญ ทางศาสนา งานเทศกาลต่างๆ ที่ชุมชนได้จัดขึ้น





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ปัจจุบันชุมชนคุณธรรมวัดน้ำเชี่ยว เป็นชุมชนเมืองที่มีผู้คนอยู่กันหนาแน่น และเป็นชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม และศึกษาดูงานกันเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะมี ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ถ้ามองในแง่ดี คนในชุมชนยิ่งมีความสามัคคีและช่วยกันระมัดระวังมากขึ้น สมาชิกในชุมชน มีการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในช่วงมีการ ระบาดโรคติ ด เชื้ อ ไวรั ส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จากความเป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ของสมาชิกในชุมชน ความรักใคร่ปรองดอง ความเห็นฟ้องต้องกันไปในทิศทางเดียวกัน สามารถ เป็นหลักประกันที่จะชี้บ่งได้ว่าการรวมพลังของบุคลากรของชุมชน ๒ ศาสนา ๓ วัฒนธรรม จะเกิดพลังในการขับเคลือ่ นทีส่ ง่ ผลให้การประกอบกิจการต่างๆ สัมฤทธิผ์ ล ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้และประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและยั่งยืน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดน้ำเชี่ยว

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูโสภณสุตวัฒน์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดน้ำเชี่ยว โทรศัพท์ ๐๙ ๔๔๒๗ ๕๓๔๕ ๒. นายสุชาติ ถนอมวงษ์ ตำแหน่ง อิหม่ามประจำสัมยิดอัลกุบรอ โทรศัพท์ ๐๘ ๐๖๑๐ ๖๐๕๙ ๓. วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว โทรศัพท์ ๐๖ ๑๖๖๐ ๐๙๕๕ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด โทรศัพท์ ๐ ๓๙๕๒ ๓๙๗๐

34

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวัน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ถิ่นพำนักตำหนักพระเจ้าตาก เสาหลักเมืองประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ แม่น้ำปิงสะพานแขวนสวยลือไกล ทุ่งหลวงใหญ่นาข้าวไร้สารพิษ ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวันเป็นชุมชนที่ยังคงดำรงยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงามตามแนววิถีชาวพุทธ ที่สำคัญยังคง สืบทอดวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม ซึ่งมีวัดอัมพวันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านและมีผู้นำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นสถานที่ ในการจัดกิจกรรมสำคัญๆ ของชุมชน โดยมีการบูรณาการการดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลัง “บวร” เป็นแกนนำสำคัญในการขับเคลื่อน ยึดหลักปฏิบัติ ๓ ประการ คือ ปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมไทย ให้ความสำคัญกับสถาบันหลัก ๓ สถาบัน ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่เป็นพลังในการนำพาชาติก้าวสู่ความมั่นคงและยั่งยืน สร้างสังคมให้เป็นสังคมคุณธรรม ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวัน ได้มีกระบวนการขับเคลื่อนชุมชน ดังนี้ ๑. ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวันได้ประกาศเจตนารมณ์ข้อตกลงของชุมชน โดยผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้เป็น ชุมชนคุณธรรม ๒. กำหนดเป้าหมายของชุมชน เช่น การกำหนดเป้าหมายที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ ๓. ร่วมกันจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนเกี่ยวกับปัญหา ที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ ที่เป็นความต้องการของชุมชน และเป็นประโยชน์ สุขของชุมชน ๔. ดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้โดยการมีส่วนร่วมของคน ในชุมชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง) และประชารัฐในพื้นที่ ๕. ชุมชนมีการติดตามประเมินผลสำเร็จ เพื่อทบทวน ปรับปรุง แผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนให้มีคุณภาพและบรรลุผลในการประชุมประจำเดือน ของชุมชน 35

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้

๖. ชุมชนมีการยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดี หรือบุคคลผู้มีคุณธรรมในชุมชนและบุคคลอื่นที่ทำ ความดีให้กับชุมชน ผ่านทางการจัดรายการเสียงตามสายของชุมชน การมอบเกียรติบัตรในการประชุมประจำ เดือนของชุมชน ๗. ชุมชนมีการประเมินผลสำเร็จทีเ่ กิดขึน้ จากการดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรม ชุมชนได้มี การจัดกิจ กรรมแก้ไขปัญ หาของชุมชน ทำให้ปัญ หาของชุมชนได้รับการแก้ ไข มีการส่ ง เสริ ม การทำความดี เทิ ด ทู น สถาบั น ชาติ ศาสนา และพระมหากษั ต ริ ย์ ปฏิ บั ติ ต ามคุ ณ ธรรม พอเพี ย ง วิ นั ย สุ จ ริ ต จิ ต อาสา และคุณธรรมอื่นๆ ทำให้คนชุมชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ๘. ชุมชนมีการกำหนดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม โดยนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ปัญหาของชุมชน และบ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ ๙. ชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในชุมชน และชุมชนอื่นๆ สามารถเป็นแหล่ง เรียนรู้ให้การศึกษาดูงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่นและขยายเครือข่ายเพื่อให้เกิดสังคมคุณธรรม





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) ทำให้ไม่สามารถจัด กิจกรรมที่มีคนมารวมกันเป็นจำนวนมากได้ ทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของชุมชน อาจทำให้เกิดการ เลือนหาย อีกทั้งเนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ทำให้เยาวชน ในชุมชนส่วนใหญ่ หันเหไปมุง่ สนใจเกีย่ วกับเทคโนโลยีและสือ่ โซเชียลมีเดียเหล่านี ้ มากกว่าการให้ความสนใจวิถชี วี ติ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณีและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวัน ได้ขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมจนเป็นต้นแบบและมีผลลัพธ์เชิงประจักษ์ ส่งผลให้คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางทีดีขึ้น เช่น พฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อตนเอง ครอบครัว เพื่ อ นบ้ า น เพื่ อ นร่ ว มงานในกลุ่ ม องค์ ก ร หรื อ หน่ ว ยงานที่ ท ำงาน ชุ ม ชน ผู้ ม าเยื อ นหรื อ ประชาชนทั่ ว ไป ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ทัง้ นี ้ ชุมชนมีความตัง้ ใจจะพัฒนาให้เป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรูใ้ นด้านต่างๆ ให้ มี ค วามยั่ ง ยื น ไม่ ว่ า จะเป็ น ในด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว ด้ า นประเพณี วั ฒ นธรรม ด้ า นเศรษฐกิ จ ชุ ม ชน โดยที่ คนในชุมชนมีความสามัคคีและมีส่วนร่วมในกิจกรรม





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวัน

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายพีระมิตร น้อยบุญมา ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ โทรศัพท์ ๐๘ ๓๕๗๒ ๙๖๕๐ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสาวปรัชญ์ลินดา จินตจิรัฏฐ์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๒๕๕๗ 36

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลอง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก



เรื่องราวชุมชน

๑)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีคนไทยเชื้อสายพวนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความโดดเด่นในการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยพวน อันได้แก่ ภาษา การแต่งกาย อาหารพืน้ บ้าน ประเพณี และภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ไว้เป็นอย่างดี ตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั จนกลายเป็นชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง โดยอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ ความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน ในการพัฒนาขับเคลือ่ นด้วยพลังบวร (บ้าน-วัด-โรงเรียนหรือราชการ) รวมถึงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของคนในชุมชน เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มคนในชุมชนที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น เพื่อพัฒนาส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จนกลายชุมชนคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่นในการสืบสาน รักษา ต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมในชุมชน โดยการนำ ของท่านพระครูวิริยานุโยค เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลอง เจ้าคณะอำเภอปากพลี ในการริเริ่มจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมรากเหง้าของคน ในชุมชน ปัจจุบนั ได้พฒ ั นาเป็นพิพธิ ภัณฑ์ “มิวเซียมปะพวนทีป่ ากพลี” เพือ่ ส่งเสริมการเรียนรูใ้ ห้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนและนักท่องเทีย่ วทีส่ นใจเข้ามาศึกษา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมรวมถึงมรดกภูมิปัญญาของชาวไทยพวน มีการสนับสนุนส่งเสริมให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกันผลิตสินค้าและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ไข่เค็มใบเตยหอม ผ้าทอมือไทยพวน ปลาร้าปลาดู ข้าวกระยาคู โดยใช้เวลาที่เหลือหลังจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพื่อเป็นสินค้า ของที่ระลึก และยังมีกลุม่ บ้านพักโฮมสเตย์ของชุมชนทีม่ คี วามพร้อมในการต้อนรับนักท่องเทีย่ ว นับเป็นการเพิม่ รายได้ให้แก่คนในชุมชนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด ฝั่ ง คลอง เป็ น ศู น ย์ ก ลางวั ฒ นธรรมของชาวไทยพวน มีกจิ กรรมประเพณีทโี่ ดดเด่น ได้แก่ ประเพณีบญ ุ ทานข้าวจีว่ ถิ ไี ทยพวน ซึง่ เป็นการจัดกิจกรรมทีแ่ สดง ถึงวิถชี วี ติ ของชาวไทยพวน ฮีต ๑๒ ประเพณีสงกรานต์ไทยพวน พิธกี รรมสูตรเสือ้ สูตรผ้า และในชุมชน ยั ง มี ก ารอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมการทอผ้ า พื้ น ถิ่ น ผ้ า ฝ้ า ยทอมื อ ไทยพวน การอนุ รั ก ษ์ ก ารแต่ ง กาย ของชาวไทยพวน การจั ด แสดงอาหารพาแลงจั ด เลี้ ย งต้ อ นรั บ แก่ ผู้ ที่ ม าท่ อ งเที่ ย วในชุ ม ชน การแสดง ๓ ลำ ได้แก่ ลำตัด ลำโทน ลำพวน และได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมประเพณีของชาวไทยพวน อีกทัง้ เมือ่ มีกลุม่ ที่มาท่องเที่ยวศึกษาดูงานในชุมชน ทางชุมชนวัดฝั่งคลองยังมีการแสดงกลองยาวต้อนรับ และมีกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญและเพื่อเป็นการเสริมสร้างสิริมงคลให้แขกผู้มาเยือนในชุมชนอีกด้วย 37

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ในระยะเริ่มแรกได้มีการดำเนินงานโดยแต่งตั้งคณะกรรมการ สำรวจสภาพ ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมถึงการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน ของชุ ม ชน และจั ด ทำแผนการดำเนิ น งาน ทำให้ ไ ด้ ปั ญ หา อุ ป สรรคต่ า งๆ ของชุ ม ชน อย่างแท้จริง รวมถึงมีกระบวนการและขัน้ ตอนการดำเนินแก้ไขปัญญาหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ การมีผนู้ ำ แกนนำ หรือคณะกรรมการทีเ่ ข้มแข็งนับเป็นสิง่ สำคัญ โดยชุมชนคุณธรรมวัดฝัง่ คลอง ได้ผู้นำ “ว” (วัด) ที่เข้มแข็ง ได้แก่ ท่านพระครูวิริยานุโยค เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลองในการริเริ่ม พัฒนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนและเป็นผู้นำหลักในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด ฝั่ ง คลอง มี ก ารวางแผนและบู ร ณาการร่ ว มกั น ของ ศาสนสถาน ชุมชน สถานศึกษา โรงเรียน/ราชการในพื้นที่ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นครนายก เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะและอบรมให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชน และ คนในชุมชนในด้านต่างๆ เช่น กิจกรรมพัฒนาด้านทักษะความสามารถ กิจกรรมส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรม ประเพณีและวัฒนธรรม กิจกรรมด้านสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอ่ ยอด องค์ความรู้ต่างๆ เช่น ภาษา ศิลปะการแสดง ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม รวมถึงการเผยแพร่ ข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ และข่าวสารสาระอันเป็นประโยชน์ให้แก่คนในชุมชน ทั้งในรูปแบบ กิจกรรม สื่อวีดิทัศน์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เพจ facebook กลุ่มไลน์ เว็บไซต์ ฯลฯ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลอง

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูวิริยานุโยค ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลอง ๒. นายองอาจ เกินอาษา ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลเกาะหวาย ๓. นายสุรศักดิ์ สิงหวิบูลย์ ตำแหน่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

38

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ คุณธรรมนำการพัฒนา ชาวประชาอยู่เย็นเป็นสุข ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีความโดดเด่นด้านผู้นำศาสนาและประชาชน ในชุมชนมีการรวมตัวกัน มีการดำเนินงานแบบร่วมคิด ร่วมทำ และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีการเรียนรู้การจัดการและการแก้ไขปัญหาของชุมชน ซึง่ ทำให้ชมุ ชนมีการเปลีย่ นแปลง เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิง่ แวดล้อมภายในชุมชน ทำให้ชมุ ชนเกิดความเข้มแข็งเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community) ชุมชนที่มีการจัดการตนเอง (Community Management) ชุมชนที่มีจิตวิญญาณ (Spirituality) และชุมชนมีสันติภาพ (Peaceful) ตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชน นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในระยะยาว ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ หัวใจของ “ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ” คือ คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้จักดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้อง โดยมีศาสนา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รู้จักเรียนรู้และน้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสืบสานวิถีวัฒนธรรม ที่ ดี ง าม ตลอดจนคนในชุ ม ชนได้ ใช้ พื้ น ที่ ข องวั ด บางช้ า งเหนื อ ในการจั ด กิ จ กรรมต่ า งๆ มาโดยตลอด สถานศึ ก ษาและหน่ ว ยงานต่ า งๆ บริ เวณรอบวั ด เป็นแหล่งบ่มเพาะคนดีมีคุณธรรม นอกจากนี้ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนจะยึดหลักการ มีส่วนร่วมโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานที่จาก ทุกภาคส่วน ในการร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะความคิด เพือ่ พัฒนาพัฒนาชุมชนนำไปสูก่ ารพัฒนาชุมชนอย่างยัง่ ยืน จึงส่งผลให้ชมุ ชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ เป็นชุมชนต้นแบบด้านคุณธรรมสามารถเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนอื่นๆ

39

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ พบปัญหาเรื่องขาดการ มีส่วนร่วมของคนในชุมชน ปัญหาด้านบุคลากรไม่เพียงพอ และปัญหาด้าน การเผยแพร่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ กิ จ กรรมงานต่ า งๆ ไม่ ค รอบคลุ ม ทุ ก พื้ น ที่ สาเหตุ เ กิ ด จากการที่ ป ระชาชนไม่ ค่ อ ยมี เวลาหรื อ ว่ า งเวลาไม่ ต รงกั น เพราะต่างก็ตอ้ งทำงานหาเลีย้ งครอบครัว จึงเป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะทำให้คนในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพร้อมกัน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะ ทำงานเพื่อเป็นตัวแทนของคนในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน จึงก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ก่อให้เกิดระบบ การบริ ห ารแบบมี ส่ ว นร่ ว มที่ ใช้ อ ยู่ ใ นปั จ จุ บั น และเป็ น ยอมรั บ ว่ า ได้ ผ ล ในเชิงปฏิบัติที่ดีมาก





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ มีเป้าหมายที่จะส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน โดยได้มีการ ช่วยเหลือดูแลคนในชุมชนด้านสุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านส่งเสริมอาชีพ ตลอดจนสืบสานวิถีวัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีแผน ระยะ ๕ ปี โดยดำริของพระพิพัฒน์ศึกษากร เจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ

จะจั ด สร้ า งศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ธ รรม เพื่ อ เป็ น ที่ ป ลู ก ฝั ง คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม ด้วยการเจริญจิตภาวนาของเด็ก เยาวชน และประชาชน ซึง่ มีจำนวนเพิม่ ขึน้ ตลอดจนใช้ เ ป็ น ที่ ส งเคราะห์ แ ก่ ป ระชาชนตามโอกาสอั น สมควรต่ อ ไป ชุมชนแห่งนี ้ เป็นแหล่งศึกษาดูงานทัง้ ด้านศาสนา การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ด้านกลุม่ อาชีพ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการสงเคราะห์ประชาชน ทำให้ชุมชน สามารถเป็นต้นแบบแก่หน่วยงานภายในและภายนอกชุมชน เพื่อนำไป ปรับใช้ในชุมชนอื่นต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระพิพัฒน์ศึกษากร ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ ๒. พระปลัดการุณย์ ฐิตธมฺโม ตำแหน่ง รองประธานฝ่ายบรรพชิต โทรศัพท์ ๐๙ ๒๕๕๐ ๕๑๕๖ ๓. นางขวัญเรือน แก้วประเสริฐ ตำแหน่ง ครูสอนศีลธรรม ศพอ.วัดบางช้างเหนือ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๐๒ ๔๓๕๙ ๔. นายรัฐวิชญ์ แสงอิทธิวัสส์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อบต.คลองใหม่ โทรศัพท์ ๐๙ ๓๒๓๖ ๖๕๓๙ 40

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดห้วยไหล่ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ศาลาพระราชินีทรงเสด็จ แหล่งผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี มากมีอาหารป่า ปวงประชาสมัครสมาน งามตระการศาลาอุโบสถ สวยหมดจดสาวไทญ้อ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดห้วยไหล่ เป็นชุมชนเล็กๆ แต่ได้รบั ความเมตตาจากพระครูศรีธรรมากร เจ้าอาวาสวัดห้วยไหล่ ร่วมกับนายประจักร์จติ ร์ นานาไพร ผู้ใหญ่บ้านห้วยไหล่ และนางจิราภรณ์ อ้วนกันยา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยไหล่ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกัน และได้รับ ความร่วมมือจากชาวบ้านห้วยไหล่ จึงทำให้กจิ กรรมต่างๆ ลุลว่ งไปด้วยดี คนในชุมชนมีความสามัคคี มีนำ้ จิตน้ำใจเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ซงึ่ กันและกัน เห็นได้จากงานบุญ ของวัดหรือบุญของโรงเรียน และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน ที่สร้างความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชนอย่างมาก ชุมชนห้วยไหล่ มีวัดห้วยไหล่เป็นศูนย์รวม จิตใจของชุมชน ให้ความเคารพนับถือ จากเมื่อก่อนมีเพียงกุฏิไม้เก่าๆ และศาลาการเปรียญที่ชำรุดทรุดโทรม จนกระทั่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันนำพาชาวบ้าน ก่อสร้างศาลาอุโบสถเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ๖ ปี จึงสำเร็จสิน้ งบจำนวนเจ็ดล้านบาท นับเป็นความภาคภูมใิ จของชาวชุมชนห้วยไหล่เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ แต่เต็มเปี่ยมด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้จัดพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีเป็นประจำทุกปี เพื่อหาทุนทรัพย์ก่อสร้าง ศาลาอุโบสถจนสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ความเสียสละ คือ หัวใจของการทำงาน จากการทีช่ มุ ชนคุณธรรม วัดห้วยไหล่ โรงเรียนบ้านห้วยไหล่ วัดห้วยไหล่ ได้ประสานใจร่วมกันขับเคลื่อน กิจกรรมต่างๆ จนเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ ถ้าชุมชนไม่มีกิจกรรมทำร่วมกันจะขาด ความเป็นปึกแผ่น คนในชุมชนจะไม่เห็นความสำคัญของการเสียสละ สังคมจะไร้ซึ่ง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างทำงาน ต่างคนต่างทำ ไม่เป็นไปในทิศทาง เดี ย วกั น การพั ฒ นาก็ ย ากที่ จ ะสำเร็ จ ฉะนั้ น หลั ก ธรรมทางพระพุ ท ธศาสนา จึ ง มี ค วามจำเป็ น อย่ า งยิ่ ง ในการทำงานร่ ว มกั น โดยใช้ ธ รรมว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งหลั ก อปริหานิยธรรม ๗ ประการ (ธรรมที่ช่วยให้เกิดความเจริญในหมู่คณะ) 41

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ก่อนได้เข้าร่วมโครงการชุมชนคุณธรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน จากการทำงานแบบไร้จุดหมาย ไม่มีงบประมาณ ในดำเนินกิจกรรม หลังได้เข้าร่วมโครงการชุมชนคุณธรรมของกรมการศาสนาและกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานต่างๆ ของส่วนราชการ เริ่มเห็นศักยภาพของ พลังบวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) ได้มโี ครงการต่างๆ เข้ามาในชุมชนห้วยไหล่อย่างต่อเนือ่ ง เช่น โครงการอบรมการเป็นเจ้าบ้านทีด่ ี บวร On-Tour หมูบ่ า้ นศีล ๕ ต้นแบบ อุทยานการศึกษาในวัด เป็นต้น





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ผลลัพธ์จากการดำเนินการ จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาด้านวัตถุเจริญมากขึ้น สืบเนื่องมาจากได้รับแรงกระตุ้นจากส่วน ราชการต่างๆ ทีเ่ ข้ามาในพืน้ ที ่ หรือการมีกจิ กรรมบ่อยๆ ทำให้ตอ้ งกระตือรือร้นทีจ่ ะพัฒนาด้านวัตถุ เพือ่ รองรับกิจกรรมหรืองานมหกรรมต่างๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในชุมชน และคนในชุมชนเข้าใจวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น รวมทั้งพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นิยมส่งบุตรหลานให้ได้ศึกษาเล่าเรียน เพื่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตและเป็นความหวังของครอบครัวต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดห้วยไหล่

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูศรีธรรมากร ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดห้วยไหล่ โทรศัพท์ ๐๘ ๔๓๙๑ ๘๒๔๑ ๒. นายประจักร์จิตร์ นานาไพร ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านห้วยไหล่ โทรศัพท์ ๐๘ ๓๓๔๓ ๗๒๑๒ ๓. นางจิราภรณ์ อ้วนกันยา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยไหล่ โทรศัพท์ ๐๘ ๕๒๘๕ ๖๕๖๘ 42

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพรหมราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ พิพิธภัณฑ์ล้ำค่า โบสถ์งามตา ๓๐๐ ปี หลวงปู่มีเมตตามหานิยม ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนวัดพรหมราช ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และวิถชี วี ติ ของชุมชน มีความเป็นอยูแ่ บบเรียบง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ทงั้ ข้าวปลาอาหารและผลไม้ มีความสมัครสมานสามัคคี เสียสละ และเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ยั ง คงรั ก ษาความโดดเด่ น ทางประเพณี วั ฒ นธรรมของชุ ม ชนหรื อ ของท้ อ งถิ่ น ไว้ เ ป็ น อย่ า งดี เช่ น การอนุ รั ก ษ์ ป ระเพณี ส งกรานต์ แ บบโบราณดั้ ง เดิ ม ทั้งด้านการแต่งกาย การละเล่นพื้นบ้านที่สำคัญ การแสดงหมอลำกลอน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดพรหมราช ได้ดำเนินการกิจกรรมต่างๆ โดยอาศัยเครือข่ายของชุมชน ผู้นำในท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และที่สำคัญที่สุดได้แก่ พลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ) ประชาชนในชุมชนมีความสามัคคีให้ความร่วมมือกับผู้นำเป็นอย่างดี วัดก็ได้รับการสนับสนุนจากพุทธศาสนิกชน ให้ความร่วมมือ ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู นักเรียน มีกิจกรรมการเรียนรู้ภายในวัดพรหมราช เช่น การจักสานชะลอม เพื่อใช้ใส่ผลไม้เป็นของฝากให้กับ ผูม้ าเยือนหรือนำมาฝากซึง่ กันและกันโดยไม่ใช้ถงุ พลาสติก จนได้รบั รางวัลชนะเลิศระดับประเทศตามโครงการ “การส่งเสริมพัฒนาการจัดการสิง่ แวดล้อมในวัด” ประจำปี ๒๕๕๙ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

43

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนได้จัดกิจกรรมอบรมกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อการส่งเสริมการดำรงชีวิตบน พืน้ ฐานของความพอเพียง สร้างโอกาสในการหารายได้เสริมให้กบั คนในชุมชนในด้านสาขาต่างๆ ตามความต้องการของคนในชุมชน เช่น การอบรมกลุ่มอาชีพของใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือน ชุ ม ชนได้ น้ อ มนำเศรษฐกิ จ พอเพี ย งจั ด กิ จ กรรมของดี ชุ ม ชน ประเภทอาหารและประเภท จั ก สาน ส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ ก ารปลู ก พื ช ผั ก สวนครั ว กิ น เองในครั ว เรื อ น เมื่ อ เหลื อ จึ ง นำไป จำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด พรหมราช ได้ ส่ ง เสริ ม การจั ด กิ จ กรรมวิ ถี ถิ่ น วิ ถี ไ ทย ทัง้ ในกิจกรรมทีเ่ ป็นวันสำคัญของชุมชน ในวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญพิเศษในโอกาสต่างๆ ตลอดปี นโยบายต่างๆ ที่ทางราชการได้ส่งเสริมได้ถูกนำมาถ่ายทอดแก่ประชาชนในชุมชน มีการประยุกต์การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการดำเนินการด้าน สืบสานวิถวี ฒ ั นธรรม ประเพณีวฒ ั นธรรมไทยทีด่ งี าม การดำรงวิถวี ฒ ั นธรรมทีด่ งี าม ส่วนหนึง่ ได้ ถูกนำมารวบรวมไว้ และจัดแสดงเป็นนิทรรศการใน “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดพรหมราช”





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดพรหมราช

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูโกศลธรรมวิบูล ตำแหน่ง ผู้นำชุมชนคุณธรรมวัดพรหมราช โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๔๘ ๙๕๓๖ ๒. นายธงชัย เชยสระน้อย ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน โทรศัพท์ ๐๘ ๒๑๓๕ ๘๖๘๖ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

นางภัทธินันท์ สุราราช ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔๕๖๘๒

44

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนพรหมโลก โลกแห่งความสุข ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดพรหมโลก มีการประกาศเจตนารมณ์ของชุมชน ปัญหาที่อยากแก้ คือ ความมีระเบียบวินัยของชุมชน และการจัดการ ขยะโดยชุมชน มีเป้าหมายความดีที่อยากทำ คือ ต้องการให้ทุกครัวเรือนสะอาด ทุกคนมีสุขสภาพดี มีการวางแผนการดำเนินร่วมกันและในการดำเนินงาน มีการบูรณาการกับทุกภาคส่วน สามารถดำเนินการได้ ตามแผนทีก่ ำหนดไว้ ทัง้ มิตทิ างศาสนา มิตขิ องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง และวิถวี ฒ ั นธรรมประเพณีไทย คนในชุมชนมีพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น บ้านเรือนสะอาด ภูมิทัศน์ชุมชนสวยงาม หน้าบ้านน่ามอง ปัญหาต่างๆ ลดลง เกิดการรวมกลุ่มกันเพิ่มมากขึ้น เช่น เกิดกลุ่มรักสุขภาพ “คนพรหมโลกสุขภาพดี” มีการรวมกลุ่มกันเดินออกกำลังกายทุกๆ เช้า และมีกิจกรรมตลาดนัดสุขภาพเกิดขึ้นในวัดทุกเช้าวันเสาร์ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ มีความคาดหวังที่จะมุ่งมั่นตั้งใจสร้างสรรค์กิจกรรมหลากหลายต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอทั้ง ๓ มิติ เชื่อมโยงเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อการสร้างคนดี สังคมดี ด้วยวิถีวัฒนธรรม ตามแนวทางศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถ พัฒนาต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้อย่างดียิ่ง ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด พรหมโลก เข้ า มาทำกิ จ กรรมต่ า งๆ ภายในวั ด พรหมโลกอย่ า งสม่ ำ เสมอ โดยใช้ วั ด เป็ น ศู น ย์ ก ลางในการขั บ เคลื่ อ น กิจกรรมต่างๆ เช่น กลุม่ ญาติธรรม ส่วนราชการและสถาบันการศึกษา ปฏิบตั ติ ามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชีวิตประจำวันที่โดดเด่น คือ ทุกครัวเรือนมีการ สืบสานวิถีชีวิต “ชาวสวนสมรม” ปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูกกินได้ ตลอดทุกฤดูกาลทั้งปี มีมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีต ได้ร่วมกันพัฒนาและยกระดับชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีชมรมท่องเที่ยว โดยชุมชนพรหมโลก และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวพรหมโลกให้บริการ นักท่องเทีย่ วในชุมชน มีโฮมสเตย์ตอ้ นรับนักท่องเทีย่ วได้ทงั้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ มีรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวภายในชุมชน 45

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดพรหมโลก มีพลังบวรเข้มแข็ง ครบทั้ง บ้าน วัด และราชการ (โรงเรี ย นโรงพยาบาล เทศบาล ที่ ท ำการปกครองอำเภอ) โดยบู ร ณาการกั น ทุ ก ภาคส่ ว น และ “พลังบวร” ของชุมชนได้เป็นแกนนำ ในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ คณะทำงานและสมาชิก ในชุมชนมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของกิจกรรม ทุกคนได้ร่วมคิดร่วมทำตั้งแต่เริ่มต้น และมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจในการกำหนดทิศทาง และการเปลีย่ นแปลงต่างๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในชุมชน เช่น การเข้ามา มี บ ทบาทในการทำงาน ในนามกลุ่ ม “ญาติ ธ รรม” กลุ่ ม การท่ อ งเที่ ย ว กลุ่ ม สั ม มาชี พ กลุ่มชุมชนคุณธรรม กลุ่มสุขภาพดี เป็นตัวแทนของความคิดและดูแลผลประโยชน์ของตนเอง และชุมชนสมาชิกในชุมชนจะเกิดประสบการณ์และบทเรียนร่วมกัน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ผลลัพธ์ทเี่ กิดจากการเป็นชุมชนคุณธรรมวัดพรหมโลก ส่งผลให้ปญ ั หาต่างๆ ในชุมชน มี แ นวโน้ ม ของปั ญ หาลดลงจากเดิ ม เป้ า หมายที่ จ ะเดิ น ต่ อ ในอนาคต คื อ การนำองค์ ค วามรู้ จากการเป็ น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมต้ น แบบโดดเด่ น ไปขยายผลแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ สู่ ชุ ม ชนอื่ น ๆ โดยมี วัดพรหมโลกเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน ใช้มิติทางศาสนาและวัฒนธรรม ให้คนในพื้นที่ไ ด้ เรี ยนรู้ห ลักธรรมทางศาสนา เสริม สร้างคุณภาพชีวิตให้คนในชุมชนเป็นคนดี มีศีลธรรม มีความสามัคคี โดยคนในชุมชนร่วมกันขยายผลการพัฒนาตามแนวทางการพัฒนา ชุมชน ไปยังชุมชนหรือเครือข่ายอื่นๆ โดยมีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกิดขึ้นในชุมชน ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มวิสาหกิจผู้ประกอบการท่องเที่ยว และกลุ่มชมรมการท่องเที่ยว โดยชุมชน เป็นชุมชนที่ทุนทางวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยว จัดการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมคอย ต้อนรับอย่างดียิ่ง ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของการชุมชนคุณธรรมต้นแบบ เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง อย่างยั่งยืนจากการมีส่วนร่วม นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตลอดไป

ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดพรหมโลก

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. นางยุภาภรณ์ พันธุพล โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๙๑ ๓๑๔๒ ๒. พระปลัดบรรชา เตชปญโญ ตำแหน่ง เลขานุการเจ้าคณะอำเภอพรหมคีรี โทรศัพท์ ๐๖ ๔๖๔๒ ๘๖๗๘ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

นางสาวสุภาภรย์ วัฒนสงค์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๘๔๗๕ 46

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองกระดูกเนื้อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หลวงพ่อชนะรวมใจ สานสายใยชาติพันธุ์ สุขสันต์ลาวครั่งมอญไทย มีสุขใจด้วยความพอเพียง หล่อเลี้ยงชีพด้วยสุจริต ดำเนินชีวิตด้วยศีลห้า ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดหนองกระดูกเนื้อ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนชุมชน ในการรวมกลุ่มหรือทำกิจกรรมทางด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาล ฯลฯ มีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ได้แก่ ศาลาสัญญโตอนุสรณ์ ประดิษฐานหลวงพ่อชนะศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์ลาวครั่ง พิพิธภัณฑ์ชาวนา มณฑปบูรพาจารย์อดีตเจ้าอาวาส ศูนย์วัฒนธรรมลาวครั่ง มอญ ไทย มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เป็นเครือข่ายเชื่อมโยง ได้แก่ ตลาดลาดยาว ชุมชนไทดำตำบลหนองยาว และหลวงพ่อพวงวัดลาดยาว มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่สวนศิริจันทเวท (ผลไม้-พืชผัก) สวนครัวเรือนต้นแบบ ทุ่งนาข้าว ชุมชนคุณธรรมวัดหนองกระดูกเนือ้ มีการบริหารจัดการโดยใช้พลัง “บวร” บ้าน-วัด/ศาสนสถาน-โรงเรียน/ราชการ มาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลือ่ นดำเนินงาน ให้ เ ป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มี ก ารน้ อ มนำหลั ก ธรรมทางศาสนา หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง และวิ ถี วั ฒ นธรรมที่ ดี ง ามในทุ ก พื้ น ที่ เ ป็ น “สังคมคุณธรรม” มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด หนองกระดู ก เนื้ อ โดยการนำของ พระมหาสุภคั วิรโช ร่วมกับคณะทำงานชุมชนได้มกี ารวิเคราะห์สถานการณ์บริบท ของชุมชน กำหนดปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ ร่วมกันวางแผนงาน โครงการหรือกำหนดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างเจ้าอาวาสวัดกับผู้นำชุมชนและ ประชาชนในพื้นที่ เน้น “การสร้างจิตสำนึก” และกระตุ้นให้เกิดเป็นพลังของ คนในชุมชน ให้คนในชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี และมีพลังที่จะสร้าง ความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ปัญหาในชุมชนได้รับการแก้ไข ได้รับการยอมรับ และพัฒนาไปสู่ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ โดยการนำทุนทาง วัฒนธรรมที่มีสร้างรายได้ ให้กับความในชุมชน ผ่านเทศกาล งานประเพณี และวั ฒ นธรรมที่ ดี ง ามของกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ใ นพื้ น ที่ โดยยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรม “จิตอาสา และกตัญญู” 47

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด หนองกระดู ก เนื้ อ ได้ น ำหลั ก การ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ) เป็นพลังในการขับเคลื่อนชุมชนให้ เป็นสังคมคุณธรรม ที่คนในชุมชนมีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็ น เครื่ อ งยึ ด เหนี่ ย วจิ ต ใจ มี คุ ณ ธรรมด้ ว ยการปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ธรรม ทางศาสนา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ ดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ปัญหาต่างๆ ในชุมชนลดลงหรือหมดไป คนในชุมชนมีความรักสามัคคี เอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ เสียสละ ช่วยเหลือซึง่ กันและกัน เกิ ด การรวมตั ว รวมกลุ่ ม พั ฒ นาอาชี พ สร้ า งรายได้ สามารถพึ่ ง พา ตนเองและพึง่ พากันเองได้ มรดกทางวัฒนธรรมได้รบั การสืบสาน เกิดพลังบวร ที่ มี ค วามเข้ ม แข็ ง เป็ น แกนกลางในการบู ร ณาการงาน/โครงการ/ กิ จ กรรมของหน่ ว ยงานทุ ก ภาคส่ ว นในพื้ น ที่ เพื่ อ ให้ ป ระชาชนได้ รั บ ประโยชน์อย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน และเป็นแกนกลางในการกระจายข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องของรัฐบาลสู่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนพัฒนาต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ เชื่อมโยง การท่ อ งเที่ ย วชุ ม ชนคุ ณ ธรรม (บวร On Tour) เพื่ อ เป็ น การกระตุ้ น เศรษฐกิจท้องถิ่น หรือเศรษฐกิจชุมชน ให้มีความเข้มแข็งและมีความยั่งยืน ตามรอยศาสตร์พระราชาเป็นชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อม

48





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด หนองกระดู ก เนื้ อ เกิ ด ความ กระตือรือร้น มีความเชือ่ มัน่ ในตนเอง และมองเห็นคุณค่าของ “การร่วมคิด ร่วมทำ และระเบิดจากข้างใน” ด้วยชุมชนเอง และมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิด จากความรัก ความสามัคคี ทำให้ปัญหาที่เกิดในชุมชนลดน้อยลง/หมดไป งานบุญ งานประเพณีปลอดอบายมุข ชุมชนได้รับการยอมรับเป็นชุมชน คุณธรรมต้นแบบชุมชนคุณธรรมวัดหนองกระดูกเนื้อ มีเป้าหมายสร้างเด็ก เยาวชน และประชาชนของชุมชนให้ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย ์ มีคุณธรรมตามหลักศาสนา มีความพอเพียง มีวินัย ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต จิ ต อาสา และกตั ญ ญู น้ อ มนำหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ และดำรงชีวิต ตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้มีการขยายเครือข่ายชุมชนคุณธรรม เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทย ให้เป็นสังคมที่มีความสงบสุขร่มเย็น





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดหนองกระดูกเนื้อ

เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระมหาสุ ภั ค วิ ร โช ตำแหน่ ง ประธานชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด หนอง กระดูกเนื้อ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๑๗๖ ๔๕๙๕ ๒. นายสมบัติ บุญช่วย ตำแหน่ง คณะทำงานชุมชนคุณธรรมฯ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๖๖ ๖๕๐๑ ๓. นายญาณกร ช้อยนิยม ตำแหน่ง เลขานุการและคณะทำงาน ชุมชนคุณธรรมฯ โทรศัพท์ ๐๖ ๓๘๑๙ ๘๐๕๑ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางวาสนา สุขสีพันธ์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๒๓๐๓

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดทางหลวง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนเมือง วิถีท้องถิ่น สืบสานวัฒนธรรม สานก่อพลังบวร ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดทางหลวงถือได้ว่าเป็นชุมชนในเขตเมือง แต่ด้วยชาวบ้านยังมีความเป็นอยู่ในวิถีดั้งเดิม และยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นไว้อย่างเข้มแข็งรวมทั้งการทำการเกษตร เพาะปลูกและนำของในสวนมาวางจำหน่ายในชุมชน ด้วยความสามัคคีของชาวบ้านโรงเรียนและวัด รวมพลังขับเคลื่อนชุมชนและอนุรักษ์วัฒนธรรมด้วยพลังบวรด้วยดีเสมอมา ถึงแม้ว่าจะมีประชากรแฝง (ไม่ใช่คนท้องถิ่น) แต่ก็สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมและ อยู่ร่วมกันได้ดี โดยมีแกนนำหรือผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีความพร้อมที่จะร่วมขับเคลื่อนหมู่บ้าน และประชาชนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคีและ แสดงความพร้อมในการขับเคลื่อนกิจกรรมและเตรียมพร้อมกิจกรรมและโครงการในอนาคต ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ กระบวนการสร้างกลไกความร่วมมือกับวัด โรงเรียน และชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการ สำคัญที่ขับเคลื่อนงานต่าง ในระยะหลังวัดเป็นศูนย์กลางอย่างเต็มตัวในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม ได้มีขั้นตอนและแนวทางการปฏิบัติงานดังนี้ ๑. ลงมื อ ปฏิ บั ติ จ นเป็ น วิ ถี ชี วิ ต ชุ ม ชนปฏิ บั ติ ต ามข้ อ ตกลงอย่ า งสม่ ำ เสมอต่ อ เนื่ อ ง จนเป็นวิถีชีวิตของประชาชนและการพัฒนาชุมชน ๒. ถอดบทเรียนเพื่อสร้างความรู้ นำความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นมาสู่การถอดบทเรียน ประเมินผลสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคและขยายความสำเร็จไปสู่ชาวบ้าน และนำไปสู่การจัด การความรู้ ผลิตเป็นองค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ๓. ชื่นชมยกย่องให้ปรากฏแก่สาธารณชน เมื่อเห็นความสำเร็จก็จัดให้มีการชื่นชม ยกย่อง เพื่อให้กำลังใจ รวมทั้งสื่อสาร เผยแพร่ผลงานต่อสาธารณะให้เป็นที่ประจักษ์ ๔. สร้างและแสวงหาเครือข่ายคุณธรรม โดยมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชน คุณธรรมเพื่อให้กำลังใจ ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนานโยบายร่วมกัน

49

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้

๕. จัดทำแผนงานพัฒนาชุมชน และกำหนดกิจกรรม โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ และมอบหมายภารกิจ การลงมือปฏิบตั ติ ามภารกิจ ทีไ่ ด้กำหนดไว้ในแผนงาน ตลอดจนทำการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และการเตรียมพัฒนากลไก เชื่อมโยงความร่วมมือ ๖. ประเมินผลลัพธ์ผลกระทบ ต้องมีระบบและกลไกในการประเมินเพือ่ ให้เห็นผลลัพธ์มกี ารติดตามผลการปฏิบตั งิ าน มีทงั้ การประเมินภายใน และประเมินจากภายนอก มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีมีคุณภาพมากที่สุด





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ต้องยอมรับว่าการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเป็นเรื่องปกติ ในส่วนของชุมชนคุณธรรมวัดทางหลวงก็มีปัญหา แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะคนในชุมชนพร้อมให้ความร่วมมือทุกกิจกรรม และโครงการที่ได้กำหนดขึ้น จนไม่ได้เห็นถึงปัญหา โดยยึดหลัก พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา จึงทำให้ก้าวข้ามปัญหาเล็กน้อยต่างๆ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กำหนด





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดทางหลวง ขับเคลือ่ นด้วยพลังบวร โดยมีวดั เป็นศูนย์รวมกลางจิตใจของคนในชุมชนทัง้ ๓ องค์กรต่างมีหน้าทีเ่ พือ่ นำพาคนในชุมชน ได้พัฒนาทั้งทางกาย และทางจิตใจ รวมถึงการส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ คนในชุมชนมีความสุขและอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เสียสละ โดยยึดหลักคุณธรรมในการส่งเสริมคนในชุมชนคุณธรรมที่เป็นจุดเน้น คือ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” ทั้งนี้ ชุมชนคุณธรรมวัดทางหลวงมีความตั้งใจ อยากให้คนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ และระลึกถึงคุณค่าของชุมชนที่ถือว่าเป็นชุมชนดั้งเดิม ให้มีการท่องเที่ยว และอาชีพที่หลากหลาย เกิดการหมุนเวียนรายได้ภายในชุมชน มีการออม ลดหนี้สิน ยืนได้ด้วยกำลังตนเอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดทางหลวง

เลขที่ ๘ หมู่ ๖ ถนนกรุงเทพฯ-นนท์ ซอยกรุงเทพฯ-นนท์ ๒ ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระสมุห์ฐานปนพงษ์ ฐานมงฺคโล ตำแหน่ง รองประธานและเลขานุการ โทรศัพท์ ๐๘ ๘๙๑๐ ๙๐๔๕

50

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดไอร์เจี๊ยมังคลาราม อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส





เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ พหุวัฒนธรรมเด่น เน้นสืบสานประเพณี มีศูนย์การเรียนรู้ มุ่งสู่ชุมชนสันติสุข ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดไอร์เจี๊ยะมังคลาราม ชุมชนสองวัฒนธรรมไทยพุทธไทยมุสลิมเป็นหมู่บ้านมีประชากรนับถือศาสนาพุทธและศาสนา อิสลามอยู่ร่วมกันในชุมชนมาหลายสิบปี อย่างมีความสุข แต่ด้วยความที่ทั้งสองศาสนิกต่างเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักธรรม เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อ เผือ่ แผ่ดแู ลให้ความสำคัญต่อกันและกัน แต่กเ็ ป็นเรือ่ งธรรมดาทัว่ ไปทีช่ มุ ชนพหุวฒ ั นธรรมต้องมีความชัดทางความคิด ความไม่ไว้วางใจในผูน้ ำและคนต่างศาสนา แต่ถกู กลบฝังด้วยผูน้ ำชุมชนทีเ่ อาใจใส่ตอ่ ลูกบ้านอย่างเท่าเทียมกัน นำหลักธรรมของแต่ละศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวติ นำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ ในชุมชน ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง และด้วยความสามัคคีของคนในชุมชนที่ต้องการให้ชุมชนสงบสันติอย่างร่วมกันอย่างมีความสุข ก่อเกิดกลุม่ อาชีพ วิสาหกิจชุมชน ต่างๆ ทีบ่ ริหารงานโดยคนในชุมชนประสบผลสำเร็จดีงาม เป็นทีย่ อมรับและเป็นศูนย์เรียนรูใ้ นด้านต่างๆ ปัจจุบนั ชุมชนคุณธรรม วัดไอร์เจี๊ยะมังคลาราม เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหมู่บ้านดีเด่นคุณธรรม จริยธรรม หมู่บ้านต้นแบบด้านการอยู่ร่วมกันของสังคมสองศาสนา ต้นแบบด้านการดำเนินงานกลุ่มอาชีพ วิสาหกิจ ที่ประสบผลสำเร็จ เป็นต้น ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เส้ น ทางสู่ ค วามสำเร็ จ ของการเป็ น ชุ ม ชนต้ น แบบของชุ ม ชนคุ ณ ธรรม วัดไอร์เจีย๊ ะมังคลาราม อาจจะเหมือนชุมชนอืน่ ๆ ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดนราธิวาส เริม่ ด้วยด้วยความสมัคร สมานสามั ค คี ข องคนในชุ ม ชนและความเอาใจใส่ ดู แ ลของผู้ น ำชุ ม ชนไม่ ว่ า จะเป็ น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น ผู้นำศาสนาทุกศาสนา ทำหน้าที่ของตนเองอย่างขยันขันแข็ง ที่มีแนวคิดเชิงพัฒนาร่วมกันจัดตั้ง กลุม่ อาชีพ กลุ่มแม่บ้านฯ กลุ่มวิสาหกิจ กองทุนต่างๆ ตามความต้องการของชุมชนโดยมีหน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง ร่วมมือกันพัฒนาชุมชนให้เป็นไปตามคำขวัญหรือปณิธาน ของหมู่บ้านนั่นคือเป็นหมู่บ้านที่เด่นเรื่องพหุวัฒนธรรม มีการส่งเสริมสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่ดีงาม เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เพื่อไปสู่ชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสันติสุข กระทั้งปัจจุบันนี้ชุมชนบ้านไอร์เจี๊ยะเป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับต้นๆ ของจังหวัด เป็นต้นแบบการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้กับชุมชนอื่นๆ อย่างน่าภาคภูมิใจ 51

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จากคำกล่าวของผูน้ ำชุมชนทีว่ า่ “นอกจากคนในชุมชนต้องมีคณ ุ ธรรมจริยธรรมนำจิตใจแล้ว การมีวิถีชีวิตพอเพียง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม กระตือรือร้นในการแก้ไข ปัญหาและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เหล่านี้จะนำมาความสุขที่ยั่งยืน” นั่นหมายความว่าการที่จะ ให้ชาวบ้านมีความเข้าใจวิถีชีวิตพอเพียง ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม กระตือรือร้น ในการแก้ไขปัญหาและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นหน้าที่ที่ผู้นำชุมชนคุณธรรมวัดไอร์เจี๊ยะ มังคลารามยืนหยัดโดยตลอด สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคมาได้ สามารถสร้างสิ่งดีๆที่เป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน ร่วมกันกำหนดคุณธรรมชุมชน เช่น เป็นชุมชนคุณธรรมหมูบ่ า้ นรักษาศีลห้า การรวมกลุม่ จัดตัง้ กลุม่ ต่างๆ ทีก่ อ่ ประโยชน์ให้กบั สมาชิกกลุม่ มากมาย





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดไอร์เจี๊ยะมังคลารามมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้าน พฤติกรรมที่สะท้อนในเรื่องคุณธรรม การจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การรวมตัวจัดตั้ง กลุ่มต่างๆ เพื่อประโยชน์ของชุมชน อีกทั้งชุมชนคุณธรรมวัดไอร์เจี๊ยะมังคลารามยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น ชุมชนต้นแบบในหลายๆ ด้าน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีผลการ ดำเนิ น การดี เ ด่ น กลุ่ ม ออมทรั พ ย์ ที่ ส ร้ า งนิ สั ย รั ก การออม สร้ า งรายได้ ใ ห้ ชุ ม ชนเพิ่ ม มากขึ้ น ทุ ก ปี สะท้อนให้การยึดมั่นในหลักคุณธรรมพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสาของคนในชุมชน ชุมชนวัดไอร์เจี๊ยะมังคลาราม กำหนดเป้าหมายที่จะเดินต่อไปในอนาคตโดยการขยายผล คำขวัญของหมู่บ้าน ขยายผลความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องขององค์ความรู้การบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ วิถีพอเพียง ไปสู่ภายนอกสาธารณะโดยเฉพาะ ขยายผลให้ กั บ ผู้ ที่ อ ยู่ ใ นชุ ม ชนได้ รั ก ษา ต่ อ ยอด นำพาชุ ม ชนไปสู่ ชุ ม ชนสั ม มาชี พ อย่ า งยั่ ง ยื น ควบคู่ กั บ การนำหลักธรรมคำสอนของศาสนาขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนต้นแบบในอนาคตต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมบ้านไอร์เจี๊ยะ

เลขที่ ๔๒ หมู่ที่ ๕ ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ๙๖๒๑๐ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายไพศาล ไชยประเสริฐ ตำแหน่ง ประธานชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) โทรศัพท์ ๐๘ ๔๘๙๐ ๘๐๒๑ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นายอนุชา ลือแมะ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๒๔ ๕๓๒๔ 52

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ประเพณีกำเมือง เจ้าหลวงเมืองล้า ภาษาไทลื้อ เลื่องลือจิตกรรมฝาผนัง โด่งดังไกยี ของดีผ้าทอ ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น จากแคว้ น สิ บ สองปั น นาสู่ บ้ า นหนองบั ว ๑๙๙ ปี ได้ ด ำเนิ น วิ ถี ชี วิ ต ที่ เรี ย บง่ า ยรั ก ความสงบ ความสะอาด จากรุ่ น สู่ รุ่ น เพราะเรามี ๕ ภูมิวัฒนธรรมนำชุมชนหนองบัวเข้มแข็ง คือ ๑. ภูมิหลัง ชาวไทลื้อหนองบัวที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนาซึ่งมีเชื้อสายชาตินักรบมีความอดทน อดกลั้น และกล้าหาญ รักสามัคคีโดยได้อพยพมาตั้งรกรากที่จังหวัดน่าน ๒. ภูมิเมือง มีการบริหารจัดการแผนผังของหมู่บ้าน การวางผังเมืองที่ตั้งของชุมชนที่เหมาะสม เป็นระเบียบ สะอาด และมีความเป็นอยู่ แบบพอเพียง มีความพร้อมที่จะทำการท่องเที่ยววิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมได้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรม ๓. ภูมิวงศ์ ชุมชนคุณธรรมวัดหนองบัว มีระบบการสืบทอดเชื้อสาย การสืบทอดระบบเครือญาติ มานาน ระบบเครือญาติรู้จักกัน เกือบทั้งหมดในหมู่บ้าน การทะเลาะวิวาทจึงมีน้อย ๔. ภูมิธรรม (ประเพณี ศาสนา ความเชื่อ) ประเพณีที่ชาวไทลื้อปฏิบัติสืบทอดกันทุกๆ สามปีคือ “ประเพณีกำเมือง” ประเพณีนี้ จะเป็ น การรวมตั ว กั น ของลู ก หลานบ้ า นหนองบั ว ที่ ไ ปอาศั ย ต่ า งจั ง หวั ด หรื อ ต่ า งพื้ น ที่ จ ะเดิ น ทางกลั บ มาร่ ว มพิ ธี ก รรมทุ ก คน เพราะเจ้ า หลวงเมื อ งล้ า เป็นจุดศูนย์รวมใจและสิ่งยึดเหนี่ยวของคนในชุมชนตั้งแต่บรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ๕. ภูมิปัญญา ชุมชนคุณธรรมวัดหนองบัวมีภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในการ สื่อสารที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน คือ ภาษาไทลื้อด้านศิลปวัฒนธรรม มีจิตรกรรมฝาผนัง วัดหนองบัว ซึง่ เป็นภาพเขียนจันทรคราสชาดก เป็นภาพเกีย่ วกับพระพุทธศาสนา การแต่งกาย มี ก ารทอผ้ า ซึ่ ง เป็ น ศิ ล ปของชาวไทลื้ อ คื อ มี อ าหารที่ ห ลากหลาย และที่ ขึ้ น ชื่ อ คื อ สาหร่ า ยไก ซึ่ ง เป็ น สาหร่ า ยท้ อ งถิ่ น มี ด นตรี ซ ะล้ อ ซอ ปิ น เป็ น ดนตรี พื้ น เมื อ งล้ า น ฟ้อนไทลือ้ ฟ้อนปั่นฝ้าย รวมถึงการทำบายศรีสู่ขวัญและมีสมุนไพร สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย 53

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ จากวิถีชีวิต ๕ ภูมิวัฒนธรรม เราได้นำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาให้คนในชุมชนได้เรียนรู้จึงได้เข้า โครงการ “สร้างเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๔๙ เพื่อผูกสายใย ได้เรียนรู้ร่วมกันตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย พ่อ แม่ ลูกและหลาน ตลอด ๓ ปี ซึ่งได้ดำเนินการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ผังเครือญาติ เลี้ยงลูกให้ถูกทาง การทำบัญชีชีวิต (รายรับรายจ่าย) ลด ละ เลิก เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ ใ นชุ ม ชนตื่ น แต่ อ ย่ า เต้ น ได้ รั บ เป็ น หมู่ บ้ า นโอท็ อ ปท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม ร่วมใจกู้วิกฤติหลังน้ำท่วม





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เมือ่ วันที ่ ๑๙ - ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เกิดน้ำท่วมครัง้ ยิง่ ใหญ่ในรอบ ๖๐ ปี ซึง่ บ้านหนองบัว ได้ เ ปิ ด ตั ว เป็ น หมู่ บ้ า นโอท็ อ ปท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรมเพี ย ง ๓ เดื อ นกว่ า หมู่ บ้ า นได้ รั บ ความเสี ย หาย อย่างมากมาย แต่ดว้ ยความเป็นไทลือ้ ทีม่ คี วามอดทนและความสามัคคี จึงได้ ร่วมใจเรียนรูก้ ารกูว้ กิ ฤติหลังน้ำท่วม ด้ ว ยการพึ่ ง พาอาศั ย กั น และกั น อี ก ทั้ ง ได้ น ำกิ จ กรรมต่ า งๆ ในชุ ม ชนที่ ไ ด้ เรี ย นรู้ เช่ น การทำบั ญ ชี ชี วิ ต การงดเครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ แ ละของว่ า งในงานสี ด ำ รวมถึ ง การพนั น ทุ ก ชนิ ด มี ก ารจั ด ตั้ ง กองทุ น ต่ า งๆ เช่น กลุม่ ออมทรัพย์กลุม่ แม่บา้ น กองทุนหมูบ่ า้ น กองทุนเจ้าหลวงเมืองล้า กองทุนผูส้ งู อายุ กองทุนฌาปนกิจ ฯลฯ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเพื่อการผลิตด้านการเกษตรและการศึกษาบุตร





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและบ้านเกิด รวมถึงการให้ความร่วมมือในกิจกรรม ต่างๆ เช่น ๕ ภูมิวัฒนธรรม ที่ได้สืบทอดสิ่งเหล่านี้สู่รุ่นลูกหลานต่อไป ชุ ม ชนมี ก ารวางกฎระเบี ย บที่ ค นในชุ ม ชนยอมรั บ และปฏิ บั ติ ด้ ว ยกั น อย่ า งมี ค วามสุ ข อีกทั้งยอมรับกับผลที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนตามยุคสมัย แต่ไม่ละเลยวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมบ้านหนองบัว

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน -ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. นางนัทธมน คำครุฑ ตำแหน่ง ผู้ประสานงาน โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๕๔๕๔๙๐ ๒. นางคมคาย พรหมปัญญา ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน โทรศัพท์ ๐๙ ๒๒๖๒ ๐๖๘๗ ๓. นางทนาเพียร นิละนนท์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน โทรศัพท์ ๐๘ ๗๘๐๒ ๒๐๙๐ 54

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดอรัญญานี อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนวัดอรัญญานี มีคุณธรรม นำพาสามัคคี วิถีชีวิตพอเพียง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น วัดอรัญญานี มีพระครูบวรธรรมรักขิตเป็นเจ้าอาวาส ซึง่ อดีตเคยเป็นเจ้าคณะอำเภอพรเจริญ รูปแรก และเป็นพระภิกษุทปี่ ฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ ทำให้ญาติโยมศรัทธาเลื่อมใส ท่านได้อบรมพระภิกษุสงฆ์ สามเณรในวัดให้ประพฤติประพฤติชอบตามหลักพระธรรมวินัยของพระ ทำให้ชาวบ้านและคนใน ชุมชนหันมาเข้าวัดปฏิบัติธรรม ประพฤติตนเป็นคนดี มีศีลธรรมและชาวบ้านหรือคนในชุมชนจะให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของวัด ของชุมชน ตลอดทั้งของโรงเรียนหรือหน่วยงานของทางราชการเป็นอย่างดียิ่ง นั่นหมายถึงคนในชุมชนมีคุณธรรม มีความสามัคคีกัน และได้พร้อมใจกันนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มาเป็นหลักในการดำรงชีวิต ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ๑. สร้างความศรัทธา ศรัทธาคือความเชื่อ เชื่อว่าการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ปฏิบัติตามศีล ๕ ข้อ และประพฤติตนเป็นคนดีจะทำให้ตนเอง มีความสุขและสังคมก็จะอยู่อย่างสงบสุข ผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ตนในชุมชนเข้าวัดปฏิบัติธรรมนั้นก็คือหลวงตาเลิศ ๒. เมื่ อ คนในชุ ม ชนมี ค วามศรั ท ธา ก็ จ ะนำมาซึ่ ง ความสามั ค คี ความสามั ค คี จ ะก่ อ ให้ เ กิ ด พลั ง อั น ยิ่ ง ใหญ่ น ำสู่ ก ารปฏิ บั ติ ง านต่ า งๆ ประสบผลสำเร็จ ๓. เมื่อมีพลังอันยิ่งใหญ่ก็ต้องมีผู้นำหรือผู้ใหญ่บ้านที่มีคุณธรรมที่จะนำพาชาวบ้านพัฒนาชุมชนของตนเองให้เจริญก้าวหน้า ๔. คนในชุมชนได้นอ้ มนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น สิ่ ง ยึ ด เหนี่ ย วในการดำเนิ น ชี วิ ต เช่ น คนในชุ ม ชนส่ ว นมากจะประกอบอาชี พ ทำนา เมือ่ เก็บเกีย่ วข้าวแล้ว ทางวัดก็จะจัดกิจกรรมบุญข้าว ในวันขึน้ ปีใหม่ คนในชุมชนก็จะร่วมกัน นำข้าวเปลือกมารวมกันทุกบ้าน ส่วนข้าวเปลือกที่ชาวบ้านนำมาถวายทางวัดก็จะเก็บไว้ ใช้ เ มื่ อ ทางวั ด มี ก ารจั ด งานต่ า งๆ หรื อ มี ผู้ ข อรั บ บริ จ าคมาทางวั ด ก็ จ ะจั ด ให้ เช่ น กั น เป็นหลักการพัฒนาจิตใจ คนในชุมชนให้เป็นคนรู้จักทาน รู้จักเสียสละ

55

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

มีเกิดขึ้นทุกๆ เรื่องที่จะมีการจัดกิจกรรมหรือทำงานในชุมชนแต่เมื่อผู้นำชี้แจงเหตุผลแล้วทุกคนในชุมชนเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตาม ทำให้ลดความขัดแย้งของคนในชุมชน เช่น การมาก่อสร้างศูนย์พกั คอยทีศ่ าลา ๑๒ เดือน วัดอรัญญานี คนและในชุมชนเกิดความไม่พอใจ ว่าจะนำเชือ้ โรค โควิด-19 มาระบาดในบ้านเมืองเรา เกิดความไม่เข้าใจ พระครูบวรธรรมรักขิด หรือหลวงตาเลิศก็ได้ชี้แจง ให้กับญาติโยมที่มาวัดฟัง ตลอดทั้งพูดให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ทีม่ าคารวะท่านในวันเข้าพรรษาได้ฟงั ทำให้เกิดความเข้าใจ แล้วก็ชว่ ยกันสร้างศูนย์พกั คอยทีศ่ าลา ๑๒ เดือนจนสำเร็จ สามารถก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคนัน้ มาได้โดย การประชุมชี้แจงให้คนในชุมชนได้รับรู้ ได้เข้าใจ และทำประชาคม โดยเอาเสียงข้างมากเป็นหลัก จึงทำให้การดำเนินงานทุกอย่างประสบผลสำเร็จ





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนมีคุณธรรม ด้านความสามัคคี มีจิตอาสา มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จนทำให้ ชุมชนแห่งนี้มีความเข้มแข็ง สามาถทำกิจกรรมต่างๆ สำเร็จ สามารถรวมกลุ่มกัน ทำให้ชุมชนมีรายได้ โดยการจัดเป็นกลุ่มต่างๆ เป็นกลุ่มจำหน่ายสินค้า ในชุมชน OTOP และเมื่อคนในชุมชนทำความดี ผู้นำชุมชนก็จะประกาศชื่อออกตามหอกระจายข่าวหมู่บ้าน เป้าหมายชุมชน วัด และส่วนราชการ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน นั่นคือเมื่อคนในชุมชนไม่เข้าใจ ในเรือ่ งอะไรก็ตาม ผูน้ ำชุมชนต้องประชุมชีแ้ จงให้เกิดความเข้าใจจึงจะทำให้ชมุ ชนมีความสามัคคี และอยูร่ ว่ มกันอย่างมีความสุข หรือสมาชิกในชุมชนช่วยกันชีแ้ จง อธิบายถึงปัญหาที่เป็นอยู่ให้สมาชิกในชุมชนที่ไม่เข้าใจให้เกิดความเข้าใจ เป็นการช่วยเหลือชุมชนได้เช่นเดียวกัน ความเข้าใจกันของคนในชุมชนเท่านั้นที่จะ พัฒนาชุมชนได้อย่างยั้งยืน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดอรัญญานี

ชุมชนคุณธรรมวัดอรัญญานี เลขที่ ๗๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ รหัสไปรษณีย์ ๓๘๑๘๐ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสังฆรักษ์จีรัฐติกุล โอภาโส ตำแหน่ง รองเจ้าอาวาสวัดอรัญญานี โทรศัพท์ ๐๙ ๔๖๕๙ ๕๙๕๕ ๒. นายนิรันดร์ แก้วจันทร์เพ็ง ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านสุขสาคร โทรศัพท์ ๐๙ ๕๐๖๕ ๘๘๒๙ ๓. นางมยุรา เรืองศิลป์ ตำแหน่ง เลขาชุมชนวัดอรัญญานี โทรศัพท์ ๐๙ ๔๔๙๕ ๔๙๕๙ 56

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสมศรี อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ศูนย์กลางผู้ชี้นำหลักธรรมทางศาสนา นำพาชุมชนน่าอยู่ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต สืบสานประเพณี ตามวิถีแห่งความพอเพียง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น เพื่อร่วมกันสร้างความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วัดสมศรี ชุมชน และองค์กรต่างๆ ได้ดำเนินการส่งเสริมโครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลือ่ นด้วยพลังบวร บ้าน-วัด-โรงเรียน ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเพิ่มเติมบทบาทของวัด ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้ทั้งด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ดำรงตนตาม หลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมสร้างสังคมคุณธรรม ส่งเสริมการสร้างค่านิยมหลักคนไทย ๑๒ ประการ พร้อมนำมิติวัฒนธรรมขับ เคลื่อนนโยบายประเทศ ๔.๐ พร้อมพัฒนาประเทศ สู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ต่อไป ทัง้ นี ้ วัดสมศรี เป็นวัดทีก่ ำลังพัฒนาอยูใ่ นตัวอำเภอ ประกอบกับคณะกรรมการชุมชน ผูน้ ำท้องถิน่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ มีความเข้มแข็ง และประชาชนมีความเลื่อมใสศรัทธามาปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมภายใต้พลังบวร อย่างสม่ำเสมอ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ หลักการและแนวคิดของ “บวร” ในรูปแบบของชุมชนคุณธรรมวัดสมศรีนั้น มิได้ยึดติดอยู่กับวัตถุว่าจะต้องเป็นบ้าน วัด หรือโรงเรียน หากแต่เป็นการให้ความสําคัญกับการกระทําตามบทบาทหน้าที ่ ของแต่ละส่วนไม่วา่ จะอยู ่ ณ ทีแ่ ห่งใดก็เป็น “บวร” ได้ ตัวอย่างเช่น บุคคลเมือ่ ต้องการกระทําสิง่ ใดต่อความเชือ่ ด้วยความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจ แล้วจึงนําหลักคิดคําสอน (วัด) พร้อมทัง้ เทคนิคกลยุทธต่างๆ (โรงเรียน) แล้วนํามาปฏิบตั ิ ทีต่ นเอง (บ้าน) ก็ประหนึง่ ว่าเป็น “บวร” ได้เช่นกัน นอกจากความชัดเจนในรูปแบบของ “บวร” จะนํามาใช้เป็นหลักใน การพัฒนาชุมชนได้แล้ว “บวร” ยังสามารถพัฒนาจิตใจของคนในชุมชนให้เข้าถึงแก่นของ การใช้ ชี วิ ต ด้ ว ยการปลู ก ฝั ง แก่ เ ด็ ก เยาวชน ผ่ า นรู ป แบบการศึ ก ษาแบบพอเพี ย ง (Home School) ซึง่ นับว่าเป็นการสร้างภูมคิ มุ้ กันทีเ่ ป็นเกราะป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก ได้เป็นอย่างดี

57

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงและข้อควรระวังต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการดําเนินงานใน อนาคต อาทิ ปัจจัยภายนอก ซึ่งได้แก่ ค่านิยมแบบผิดๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่ ผ่านสื่อสาธารณะต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต ปัจจัยภายนอกนี้ยังได้ ก่อให้เกิดปัจจัยอุปสรรคภายใน ซึ่งก็คือค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในพื้นที่ รวมถึงบุตรหลานทีเ่ ข้ารับการศึกษาในโรงเรียนทีห่ นั มาให้ ความสำคัญกับวัตถุมากกว่า ความดีงาม นอกจากนี้ ความยั่งยืนของชุมชนยังขาดการส่งเสริมคุณธรรม ศีลธรรม และประเพณี เ พื่ อ สื บ ทอดศาสนายั ง คงเป็ น ข้ อ ที่ ต้ อ งได้ รั บ การแก้ ไขพั ฒ นาต่ อ ไป เนื่องจากการดําเนินงานต่างๆ ในปัจจุบันขึ้นอยู่กับตัวผู้นําค่อนข้างมาก





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ผลที่ ไ ด้ จ ากการดํ า เนิ น งานการส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมและประเพณี เพื่ อ สื บทอดศาสนาผ่านกระบวนการ “บวร” มาใช้ใ นการพัฒ นาชุมชนส่ง ผลให้ ปั ญ หาวิ ก ฤติ ต่ า งๆ บรรเทาลงไปในระดั บ ที่ ชุ ม ชนสามารถควบคุ ม ได้ อาทิ ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดทีล่ ดลง คุณภาพของนักเรียนทีเ่ พิม่ สูงขึน้ เนือ่ งจากการฝึก ธรรมะเปรียบเสมือนการฝึกสมาธิ เจริญสติ ส่งผลให้เยาวชนในชุมชนเติบโตไปเป็น คนเก่งและเป็นคนดี และส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งทรัพยากร ชุ ม ชนมี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ในขณะที่ ผ ลทางด้ า นทุ น ทางสั ง คมที่ ส ำคั ญ คื อ ชุมชนมีความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้คนในชุมชน มีการรื้อฟื้น ประวัติศาสตร์และประเพณีชุมชน มีการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ การรวมกลุ่ม และการทำงานแบบประสานความร่วมมือของสถาบัน ต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญในการพัฒนาชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสมศรี

เลขที่ ๒๕๔ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๑๒๓๐ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระครูโพธิคุณากร (ปรีเวช ฐิตเวโท,แก้วบุตรสา) ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสมศรี/รองเจ้าคณะอำเภอนาโพธิ์ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๕๘๐ ๓๙๕๓ 58

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดชินวราราม อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ บ้านต้นโพธิ์ อยู่เย็นเป็นสุข ปลอดภัยจากยาเสพติด น้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิถีชีวิต ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น เป็นชุมชนที่เด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยยึดหลักสันติวิธี และปัญหาต่างๆ ในชุมชนด้วยตัวเอง แบบพึ่งพาตนเอง เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นชุมชนกึ่งเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ผู้นำพยายามทำกิจกรรมต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วม เริ่มจากจุดเล็กแล้วค่อยขยายกิจกรรมสู่เด็กและเยาวชนสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็งโดยยึดหลักสันติวิธี แก้ไขปัญหายาเสพติด และปัญหาต่างๆ ในชุมชน แบบพึ่งพาตนเอง สร้างอาชีพ และให้โอกาสผู้หลงผิด ของบประมาณสนับสนุนทุนประกอบอาชีพให้สำหรับผู้ที่พ้นจากคดียาเสพติดทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ - แก้ปัญหาผู้เป็นหนี้นอกระบบด้วยมีจักรเย็บผ้าชุมชนให้ยืมและมีงานให้ทำตลอด บางครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น ๗,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ บาท ต่อเดือนตามความขยัน - จั ด สอนดนตรี ไ ทยให้ กั บ เยาวชนในชุ ม ชนพร้ อ ม สอดแทรกคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมการเป็ น จิ ต อาสาการตอบแทนชุ ม ชน เด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก็บของตกหล่นจะนำมาให้ผู้นำชุมชน - มีคณะกรรมการดูแลครัวเรือนกันเอง ๑ ครัวเรือน ดูแล ๔ ครัวเรือน ทุก ๑ เดือน มีประชุมมาแลกเปลี่ยนปัญหากันในที่ ประชุม

59

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

- ปัญหาความร่วมมือของคนในชุมชน อาจจะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน มากนัก ถ้าคิดตามสัดส่วนของจำนวนประชากร - พยายามทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วค่อยขยายเพิ่มจำนวน ไปเรื่อยๆ - ผู้ น ำมี ค วามมานะ อดทน มี ค วามจริ ง ใจที่ จ ะพั ฒ นาหมู่ บ้ า น ชุ ม ชนให้ ดี ขึ้ น และพยายามหาแนวร่วมการทำงาน ยกย่องคนทำความดี - สามารถช่วยเหลือครอบครัวผู้เสพให้หลุดพ้น ๗ ราย และหาทุนประกอบอาชีพ ให้อีก ๓ ราย





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

- เด็ก และเยาวชนเก็บของมีค่าที่ทำตกหล่นมาคืนผู้นำ - ปัญหายาเสพติดในชุมชนน้อยลง - คนในชุมชนว่างงานน้อยลง - คนในชุ ม ชนมี ค วามเป็ น จิ ต อาสาเพิ่ ม ขึ้ น รั ก ษาขนบธรรมเนี ย มประเพณี ที่ ดี ง าม ของชุมชนมากขึ้น

เป้าหมายที่จะเดินต่อในอนาคต - สร้างแกนนำแถวสอง เพื่อ สืบสานแนวทางการขั บเคลื่ อ นชุ ม ชนด้ ว ยพลั งบวร ยึดหลักสันติวิธี - ปลูกฝังเด็ก และเยาวชนให้เทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันหลัก ของชาติ - ให้คนในชุมชนรู้สึกรักชุมชน และตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดชินวราราม

เลขที่ ๓๙/๔ หมู่ ๑ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นางปทุมมรัตน์ ธรรมโม ตำแหน่ง ผู้ประสานงานของชุมชนฯ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๒๒ ๐๗๗๔ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสาวนวพร นวลประดิษฐ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๕ ๙๗๐๖ 60

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรขี นั ธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ วัดเกาะหลักนำพา ชาวประจวบรวมใจ สังคมยุคใหม่ใส่ใจคุณธรรม ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น วัดเกาะหลัก เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปอย่างมากมายด้านความเคารพนับถือ “หลวงพ่อเปี่ยม จันโชโต” หรือนามสมณศักดิ์ว่า “พระครูสุเมธีวรคุณ” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ จากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว หลวงพ่อเปีย่ ม ได้แสดงออกซึ่งอัจฉริยภาพอย่างเต็มที่ โดยได้นำความรู้ความสารถมาใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มากมาย งานสำคัญคือ การสร้างพระอุโบสถอันวิจิตร งดงามตระการตา การเปิดโรงเรียนนักธรรมและบาลี การสร้างบ่อน้ำ และถังน้ำประปาสำหรับใช้ประโยชน์ในวัดและชุมชนบริเวณใกล้เคียง ในส่วนการปกครอง คณะสงฆ์ด้านคุณธรรม และทำนุบำรุงศาสนสถานในพื้นที่อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จึงทำให้วัดเกาะหลัก พระอารามหลวง เป็นจุดศูนย์รวมของชุมชน ชาวประจวบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และกล่าวได้ว่า อดีตเจ้าอาวาสและเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน จึงเป็นศูนย์รวมดวงใจของชุมชนชาวประจวบ โดยมีประชาชน เยาวชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาร่วมกิจกรรมและเข้าวัดเกาะหลัก พระอารามหลวง เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าวัด ทำบุญวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อบรมปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ส่งผลให้วัดเกาะหลัก เป็นศูนย์รวมใจของประชาชนใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่จะส่งเสริมรักษาคุณธรรม จริยธรรม ในสังคมยุคใหม่ให้คงอยู่สืบไป ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ในการดำเนินงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เส้นทางของความสำเร็จ คือ ต้องมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนให้ความเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติที่มีแต่ความเมตตา ความเอื้ออาทรให้ประชาชนในพื้นที่มีความสงบสุข ร่มเย็น โดยยึดหลักของการทำความดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นแบบอย่างที่ดี ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนศรัทธา และยอมรั บ รวมทั้ ง การเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมต่ า งๆ ที่ ด ำเนิ น การอย่ า งมากมาย แนวทางการปฏิ บั ติ ที่ ส ำคั ญ คื อ การจัดกิจกรรมภายในวัดเกาะหลัก พระอารามหลวง ให้ประชาชนได้เห็นถึงความทุม่ เทในการดำเนินงานในด้านการสืบสาน พระพุทธศาสนา การสร้างเสนาสนะทีเ่ อือ้ ประโยชน์ตอ่ การส่งเสริมคุณธรรม และการอบรมปฏิบตั ธิ รรมวิปสั สนากัมมัฏฐาน เมื่อกิจกรรมภายในวัดเรียบร้อยดีแล้ว ก็พัฒนาไปสู่ชุมชน/สถานศึกษา ในการให้ความรู้ด้านหลักธรรมทางศาสนา ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสงบสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนา ชุมชนไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน 61

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ความท้าทายของการดำเนินงานในชุมชนวัดเกาะหลัก คือ ความพยายามที่จะทำให้ประชาชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีคุณธรรม จริยธรรม เนือ่ งจากคนประจวบเป็นคนค้าขาย ประกอบอาชีพการประมง หาเช้ากินค่ำ โอกาสทีจ่ ะเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในวัดเกาะหลัก พระอารามหลวง มีนอ้ ยมาก และอุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือ คนในชุมชนไม่เข้าวัด เนื่องจากเศรษฐกิจปัจจุบันที่ต้องเร่งรีบในการดำเนินงานและการประกอบอาชีพ แต่ปัญหาและอุปสรรค ที่กล่าวมาผ่านพ้นได้ เพราะผู้นำของวัดคือ อดีตเจ้าอาวาส (หลวงพ่อเปี่ยม) และเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซึ่งพระคุณท่านทั้งสองได้ทำงานด้วยความตั้งใจ เพื่อประชาชนมีความสุขตามหลักธรรมทางศาสนา เอื้อประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างแท้จริง พร้อมที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวมต่อชุมชน ให้เกิดความสงบสุขร่มเย็น กิจกรรมที่ดำเนินการก็มีการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรม ในนามคณะกรรมการที่มีการรับรู้ตามหลักการและข้อเท็จจริง ซึ่งชุมชนสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรม ได้ อ ย่ า งเสมอภาคเป็ น ธรรม จึ ง ทำให้ ป ระชาชนในชุ ม ชนไว้ ว างใจ และร่ ว มกิ จ กรรมทุ ก กิ จ กรรมที่ วั ด ดำเนิ น การ ทั้ ง ในการปลู ก ฝั ง คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน การทำบุญตักบาตร กิจกรรมตามหลักศาสนา และกิจกรรมที่ร่วมกับหน่วยงาน และสถานศึกษาต่างๆ





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

จากการดำเนินงานและการปฏิบัติอย่างจริงจังของผู้นำวัดเกาะหลัก ส่งผลให้ชุมชนและประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียง มีการเปลี่ยนแปลงไปใน ทางทีด่ ี คือ มีความสมานสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการทำความดี มีจติ ใจทีม่ คี ณ ุ ธรรม จริยธรรม เยาวชนก็ดำเนินตามแบบอย่างของบิดามารดาทีไ่ ด้รบั ตามแนวปฏิบตั ิ ของวัดเกาะหลัก พระอารามหลวง ในการเป็น “ผูใ้ ห้” ทัง้ ในเรือ่ งการทำดี สิง่ ของหรือเงินทีส่ ามารถให้โดยไม่เดือดร้อนส่งผลให้คนในชุมชนอยูร่ ว่ มกันอย่างมีความสุข เป้าหมายในการดำเนินงานต่อไป คือ วัดเกาะหลัก พระอารามหลวง เป็นศูนย์กลางในการปลูกฝังและพัฒนาเด็กยุคใหม่ให้มีคุณธรรม จริยธรรม รักษาประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นและของชาติให้คงอยู่สืบไป เพราะเด็กคืออนาคตและประชาชนของชาติ หากมีเด็กที่โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มี คุณธรรม จริยธรรม สังคม และประเทศชาติก็จะมีประชากรที่มีคุณภาพและคุณธรรมนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่เจริญทั้งด้านวัตถุและศีลธรรม รักษาชาติ ให้คงอยู่อย่างมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดเกาะหลัก

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระเมธีคุณาภรณ์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาส โทรศัพท์ ๐๙ ๙๑๕๙ ๙๘๙๗ ๒. พระครูวิสุทธิ์ธรรมโสภิต ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาส/ผู้ประสานงาน โทรศัพท์ ๐๘ ๔๐๐๙ ๙๕๒๓ 62

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดใหม่ดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ เกษตรกรรมก้าวหน้า ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ก้าวไกลผลิตภัณฑ์ตะกร้อตะแกรง แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำสืบสานวัฒนธรรมไทยพวน ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดใหม่ดงกระทงยาม ตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่กลางทุ่งโล่ง มีต้นไม้ร่มครึ้มเป็นดง ทางทิศเหนือถัดขึ้นไปไม่ไกลคือแม่น้ำปราจีนบุรี ตรงตัวอำเภอศรีมหาโพธิหรือท่าประชุม ทางใต้ราว ๑๐ กิโลเมตร คือพื้นที่ของดงศรีมหาโพธิและชุมชนโบราณเมืองศรีมโหสถที่มีอายุเก่าแก่ถึงราว พ.ศ. ๑๐๐๐ ชือ่ ดงกระทงยาม มีคำอธิบายจากคนในท้องถิน่ หมายถึง ดงไม้ทอี่ ยูก่ ลางทุง่ ซึง่ เมือ่ ถึงฤดูนำ้ หลากมาท่วมจะเวิง้ ว้าง แลดูคล้ายกระทงทีล่ อยอยูก่ ลางน้ำกับมีเรือ่ งของเสียงคล้าย ฆ้องยามที่ดังขึ้นทางชายดงเป็นประจำ ประชากรส่วนใหญ่ยังคงมีเชื้อสายชาวพวนซึ่งเล่ากันว่าอพยพมาจากทางนครเวียงจันทน์ตั้งแต่ราวสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สำคัญ คือชาวพวนที่หมู่บ้านดงกระทงยามยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับทาง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก นอกจากนี้ยังมี กลุ่มเชื้อสายลาว (เวียงจันทน์) ที่คงเข้ามาตั้งถิ่นฐานพร้อมๆ กันกับชาวพวนเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๗๐ ลงมาเมื่อคราวสงครามระหว่างกรุงเทพฯ กับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์คราวนั้นทำให้มีการเคลื่อนย้ายผู้คนส่วนใหญ่จากลุ่มน้ำโขงลงมาอยู่กันในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเลยลงมาจนถึงซีกตะวันออก แล้วกลายเป็นบรรพบุรุษ ของผู้คนแถบบางปะกง ปราจีนบุรีมาจนทุกวันนี้ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ใช้หลักการพัฒนาแบบ ๓ มิติ นี้ประกอบด้วย บ้าน วัด และหน่วยงานราชการ ผู้แทน “บ” บ้าน ผู้นำหมู่บ้านทุกหมู่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจชุมชนมาใช้ในการพัฒนาชุมชน ผู้แทน “ว” วัด หรือศาสนา เป็นชุมชนคุณธรรมที่มีศาสนสถาน เป็นศูนย์กลางในด้านศาสนาโดยเจ้าอาวาสวัดจะมีการเข้าร่วมประชุมกับชุมชน ทุกครั้ง และพระสงฆ์จะมีการ เทศนาธรรมเพื่ออบรม ส่งเสริม ให้ชุมชนทุกคนมีความสุขมีจิตอาสา ในการทำงาน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ผู้แทน “ร” โรงเรียนหรือราชการ คือ ผู้แทนของส่วนราชการประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลดงกระทงยามและโรงเรียนบ้านดงกระทงยาม เป็ น ส่ ว นราชการที่ มี ค วามสำคั ญ ร่ ว มบู ร ณาการในการจั ด กิ จ กรรมกั บ ชุ ม ชนทุ ก ครั้ ง เพื่ อ สร้ า งอาชี พ สร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ ชุ ม ชน โดยทางโรงเรียนสนับสนุนให้ความร่วมมือกับชุมชนตลอดมา 63

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เนื่องจากชุมชนคุณธรรมวัดใหม่ดงกระทงยาม มีปัญหาด้านการขาดความสามัคคี การมีส่วนร่วม การเสียสละ และ แบ่งปัน ผู้นำชุมชนของหมู่บ้านร่วมกัน ช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น นำลูกบ้านมาระดมความคิดแลกเปลี่ยน และร่วมกันแก้ปัญหา ดังนี้ ๑. หมู่บ้านมีความสามัคคี ใช้หลักประชาธิปไตยในการบริหารหมู่บ้าน ๒. ปลูกฝังคุณธรรมในครอบครัว สร้างความสัมพันธ์ทุกระดับ เด็กและผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่ต้องทำหน้าที่ พ่อบ้าน แม่บ้านในการสร้างความอบอุ่น แบ่งปัน และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ๓. การทำงานร่วมกันโดยผู้นำแต่ละหมู่บ้านใช้ระเบียบข้อตกลงของหมู่บ้านเป็นหลัก ๔. ทุกครัวเรือนมีความร่วมมือและหัวใจเป็นจิตอาสา มีความพร้อมในการช่วยเหลือและพัฒนาทุกด้าน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

มีหลักคุณธรรมร่วม ดังนี้ ๑.๑ ความพอเพียง การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชน ๑.๒ วินัย มีความยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่และการกระทำของตนทั้งวินัยและความรับผิดชอบ ต่อตนเองในการผลักดันชีวิตให้ก้าวหน้า ต่อครอบครัวองค์กร สังคม ปฏิบัติตามจริยธรรม จรรยาบรรณ เคารพต่อกฎหมาย ๑.๓ สุจริต มีการตัง้ คณะกรรมการหมูบ่ า้ นเพือ่ คอยสอดส่องดูแลการ ทำงานของหน่วยงานต่างๆของหมูบ่ า้ น เพื่อตรวจสอบความสุจริต และความโปร่งใสของการทำงาน ๑.๔ จิตอาสา ภายในชุมชนได้มีการรับสมัครผู้ที่มีความสมัครใจในการเป็นจิตอาสา เป็นตำรวจบ้าน และอาสาสมัครชุมชนเพื่อดูแลรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวชุมชน บ้านดงกระทงยาม ๑.๕ กตัญญูรู้คุณ ชาวชุมชนบ้านดงกระทงยามมีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ ช่วยเหลือ ดูแล พึ่งพาอาศัยกัน รักใคร่กลมเกลียว ปลูกฝังคุณธรรมความกตัญญู รู้คุณต่อผู้สูงอายุ มีสัมมาคารวะ รู้จักเคารพนบนอบผู้ใหญ่ ๑.๖ หลักคุณธรรมอื่นๆ ที่ชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ร่วมกันกำหนด เช่น ปฏิญญาชุมชน การรักษา สิ่งแวดล้อม ความสะอาด และการร่วมกิจกรรมในวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป้าหมายที่จะเดินต่อ ผู้คนในชุมชนมีความต้องการที่จะยกระดับชุมชนคุณธรรมวัดใหม่ดงกระทงยามให้เป็น ชุมชนคุณธรรมฯ บวร On Tour เพื่อให้มีผู้คนเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ของชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ และมีเงินหมุนเวียนภายใน ชุมชน ผู้คนก็ทำงานอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านตนเอง ครอบครัวอบอุ่น สังคมสงบสุข





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดใหม่ดงกระทงยาม

หมู่ที่ ๓ ตำบล ดงกระทงยาม อำเภอ ศรีมหาโพธิ จังหวัด ปราจีนบุรี - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระอธิการวัชระ ชุตินฺธโร ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดใหม่ดงกระทงยาม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๘๒ ๘๓๔๖ ๒. นายสวง กันหาพันธุ์ ตำแหน่ง ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชน โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๓๐ ๐๖๘๔ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นายสาวธนัญญ น้าวิลัยเจริญ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๖๘๘๙ ๙๒๙๘ 64

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสารวัน อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนน่าอยู่ แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม น้อมนำวิถีชีวิต เศรษฐกิจก้าวหน้า ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดสารวัน เป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต ชุมชนสามารถสร้างการมีส่วนร่วม และการออกแบบสังคมให้มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความรู้คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้เกิดประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน มีประเพณีทเี่ ป็นจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของทีน่ ี่ คือ ประเพณีลงเล ซึง่ เป็นการทำบุญอุทศิ ส่วนกุศลให้เทวดาและโอปาติกะหรือวิญญาณ มีทนุ ทางวัฒนธรรม ที่หลากหลาย และวัฒนธรรมที่ดีงามมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนของชุมชน เพื่อการคงอยู่ของวัฒนธรรมและการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับคนชุมชน และเกิดกิจกรรมท่องเทีย่ วทีห่ ลากหลาย ทัง้ ท่องเทีย่ วทางธรรมชาติ เชิงเกษตรและวัฒนธรรม ชุมชนมีการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนโดยการพัฒนาต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรม นำทุนทางทรัพยากรธรรมชาติมาแปรรูปเพื่อให้เกิดรายได้ในครอบครัวและชุมชนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงต้นแบบ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติของชุมชน เพื่อรักษาให้คงความสมบูรณ์ ไม่ถูกทำลาย และชุมชนยังช่วยอนุรักษ์สภาพ สิง่ แวดล้อม เป็นการช่วยเหลือชาวบ้านในพืน้ ทีแ่ ละบริเวณใกล้เคียงให้มอี าชีพและส่งเสริมการจ้างงานในพืน้ ที ่ ช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงาน ทัง้ ยังเป็นแหล่งผลิต อาหารของชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตร

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ที่ ผ่ านมาล้ วนมาจากความตั้ ง ใจ ผนวกกั บ แรงผลั กดั น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรม วัดสารวันเป็นชุมชนทีม่ คี วามเข้มแข็ง ผูน้ ำชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง มีการบริหารจัดการชุมชน และประชาชน ในชุมชน ทุกคนจะมองไปในทิศทางเดียวกัน คือประโยชน์สุขของส่วนรวม เป็นชุมชนที่มี การร่วมกันขับเคลื่อนทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และด้านประเพณี วั ฒ นธรรม โดยความร่ ว มมื อ ความสามั ค คี ของวั ด ชุ ม ชน และโรงเรี ย น/ส่ ว นราชการ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และช่วยส่งเสริมสนับสนุนและอนุรกั ษ์งานด้านศาสนา ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่สืบไป ทำให้หน่วยงานของรัฐมีความเชื่อมั่นในการดำเนินโครงการ หรือ จัดกิจ กรรมในหมู่บ้าน ให้การสนับสนุนส่ง เสริม ประชาสั ม พั น ธ์ กิ จ กรรมชุ ม ชนอย่ าง หลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญา ประชาสัมพันธ์สินค้า แหล่งท่องเที่ยว ในชุมชน เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง 65

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ด้ ว ยสถานการณ์ ค วามไม่ ส งบในอดี ต ที่ เ กิ ด ขึ้ น ประชาชนในชุ ม ชนมี ค วามกลั ว เกิดความหวาดระแวงในการดำเนินชีวติ หรือปัญหาด้านเศรษฐกิจ ราคาผลผลิตตกต่ำ แต่ดว้ ยความร่วมมือ และการมีสว่ นร่วมของคนในชุมชน สามารถเป็นพลังผลักดันก้าวข้ามปัญหาไปได้ ชุมชนช่วยกันคิด วิเคราะห์ หาแนวทางเพื่อจะข้ามวิกฤตไปให้ได้ ช่วยกันแก้ไขปัญหา ผู้นำชุมชน ภาครัฐ สร้างความเชื่อมั่นให้กับ ประชาชนในพื้นที่ และคอยสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดขึ้น ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ประกอบกับ ชุมชนสามารถบริหารจัดการใช้ประโยชน์จากทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ มที่ มี อ ยู่ อ ย่ า งมี ดุ ล ยภาพ ชุ ม ชนสามารถเชื่ อ มโยงกั บ ขนบธรรมเนี ย มประเพณี แ ละ วัฒนธรรมชุมชน เพิ่มพูนความสัมพันธ์อันใกล้ชิดทางสังคมระหว่างผู้คนทั้งภายในและภายนอกชุมชน ทั้งนี้การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของคนในชุมชนนอกจากจะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ยากและ สลับซับซ้อนได้ในสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะสร้างสรรค์ชุมชนให้มีความเปลี่ยนแปลง และนำพา ชุมชนให้เจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานความเชื่อมั่น และศรัทธาของคนในชุมชน การมีผู้นำที่ดี เป็นคนดีมี คุณธรรม มีศรัทธาในศาสนา เชื่อมั่นในหลักจริยธรรม ทำตัวเป็นแบบอย่าง ทำให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในชุมชน คุณภาพชีวิตผู้คนดีขึ้น ปรารถนา และพร้อมที่จะเรียนรู้และ ส่งเสริมการเรียนรูข้ องชุมชน ปรารถนาและส่งเสริมนวัตกรรม มองเห็นจุดอ่อนจุดแข็ง ข้อจำกัด ศักยภาพ ของตัวเอง และของชุมชน สร้างแรงบันดาลใจ สร้างขวัญกำลังใจให้คนในชุมชน เป็นตัวเชื่อมที่ดีโดยผนึก พลังชุมชนให้เกิดผลเป็นทวีคูณ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และในการตัดสินใจ สร้างเครือข่ายภายในชุมชน คนในชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตนตาม หลักธรรมคำสอนของศาสนา และรักษาสืบสานวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การดำรงชีวิตยังคงดำรงชีวิตแบบสังคมชนบท มีต้นทุนทางสังคมและประชาสังคมที่เข้มแข็งและมั่นคง เป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ ที่ช่วยขจัดอุปสรรค





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสารวัน

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายพันธ์ พรหมเทพ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๗๖ ๓๕๙๑ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสาวศิริวรรณ พนัสนาชี ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๑ ๙๖๗๑ 66

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดท่าตอ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หลวงพ่อสังวาลมงคล ที่ยึดเหนี่ยวชุมชนคนท่าตอ สานต่อวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลผลิตภัณฑ์ชุมชน ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดท่าตอ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของประชาชนโดยมีพระสงฆ์ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ประชาชน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ด้านต่างๆ เป็นเครือ่ งนำครอบครัวและชุมชน ในการดำเนินชีวติ และประกอบอาชีพการงานให้เจริญก้าวหน้าและอยูร่ ว่ มกันด้วยดี มีความร่มเย็นเป็นสุข แต่ในปัจจุบนั ท่ามกลางสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชน หันไปยึดติดในวัตถุมากขึ้น เป็นผลให้คนห่างไกลจากวัดโดยไม่รู้ตัว จากปัญหา ประชาชนยึดติดด้านวัตถุมากเกินไป พระครูประโชติภทั รคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าต่อ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนการพัฒนาคน รวมถึงเห็นความสำคัญในการร่วมมือร่วมใจกันของสถาบันหลักในสังคม จึงนำแนวคิดเรื่อง พลัง “บวร” มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็ก เยาวชน และประชาชน มีคณ ุ ธรรมจริยธรรม เพือ่ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง มีคณ ุ ภาพ คุณธรรม และเพือ่ ร่วมสร้างเสริมประเทศชาติให้เกิดความมัน่ คง มัง่ คัง่ อย่างยัง่ ยืน

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดท่าตอ สะท้อนให้เห็นว่า การมีผู้นำที่เข้มแข็ง เสียสละ มีจิตสาธารณะ ตั้งใจ และมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล ทำประโยชน์ให้กับ ชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นที่ยอมรับจากสมาชิกชุมชน รวมถึงชุมชนมีต้นทุน มีทรัพยากรที่สามารถพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้ คนในชุมชนมีความรัก สามัคคี ก็จะช่วยขจัดอุปสรรค/ปัญหาต่างๆ ให้เบาบางลง นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยเสริมที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ การถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการและการประชาสัมพันธ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน

67

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดท่าตอ นำแนวคิดพลัง “บวร” มาใช้เป็นเครือ่ งมือในการบริหารจัดการชุมชน ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ที่ผ่านมาทางชุมชนก็ เผชิญกับอุปสรรคเช่นกัน คือ ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในชุมชนที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าความดีงาม การชักจูงให้คนในชุมชนเห็นพ้องต้องกัน และการเปลี่ยนทัศนคติ ด้วยลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่มีความสนิทชิดเชื้อ อยู่ร่วมกันมานาน ประกอบกับผู้นำพลัง “บวร” แสดงให้เห็นถึงความ มุ่งมั่น ตั้งใจจริง ในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง มีคุณภาพ คุณธรรม ก็ทำให้ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือได้เร็วขึ้น สำหรับความท้าทายของชุมชนคุณธรรม วัดท่าตอ คือ เรื่องความยั่งยืนของชุมชนในการดำเนินการพัฒนาด้านคุณธรรม ศีลธรรม และประเพณี ยังคงเป็นข้อที่ต้องได้รับการพัฒนาแก้ไขต่อไป เนื่องจากการดำเนินการต่างๆ ในปัจจุบันขึ้นอยู่กับตัวผู้นำค่อนข้างมาก รวมถึงการที่เยาวชนและคนหนุ่มสาวยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทมากนัก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนกับยุคสมัยที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุ ม ชนดำเนินชีวิตแบบมีเหตุผล มีความพอประมาณ พอดี ไม่เบียดเบียนตนเองสัง คมและสิ่ง แวดล้ อ มริ เริ่ ม มาจากเจ้ าอาวาสวั ดท่ าตอ โดยให้ประชาชนในพืน้ ทีเ่ ข้ามามีสว่ นร่วมกัน เป็นแหล่งเรียนรูใ้ ห้ประชาชนได้มาศึกษา การรวมกลุม่ ของคนในชุมชนเพือ่ นำพืชผลทางการเกษตรในพืน้ ทีม่ าแปรรูป เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และคนในชุมชนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน มีวินัยต่อตนเองและสังคม และปฏิบัติตามจริยธรรม คุณธรรม และเคารพ กฎหมายบ้านเมือง ประชาชนในชุมชนทำกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จากการดำเนิน การของชุมชนทำให้พฤติกรรมของคนในชุมชนเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการรวมกลุ่มอาชีพ หล่อหลอมให้คนใน ชุมชนรู้จักพึ่งตนเอง เกิดความสามัคคี ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชนของตนเอง ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ เพิ่มเศรษฐกิจชุมชน มีความเจริญเข้มแข็งขึ้น อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดท่าตอ

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูประโชติภัทรคุณ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดท่าตอ โทรศัพท์ ๐๘ ๓๑๙๘ ๔๔๔๗ ๒. กำนันบุญส่ง เทียมนรา ตำแหน่ง กำนันตำบลท่าตอ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๐๑ ๖๒๗๒ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

๑. ว่าที่ร้อยตรีสมเกียรติ เกตุฟัก ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรม ชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ ๐๙ ๒๒๔๙ ๕๔๖๐ ๒. นางสาววิภาวี ขำประไพ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๙ ๒๒๔๙ ๕๖๘๒ 68

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดต๊ำม่อน อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ พระเจ้าทันใจ เงี้ยวงามศักดิ์สิทธิ์ แหล่งวิจิตร โคมล้านนา ศูนย์เพาะ กล้าแผ่นดิน สืบสานศิลป์ กลองสะบัดชัย ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน และพระครูสังฆบริรักษ์เอกรัฐ อภิรกฺโข ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และประธานเครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้ แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ร่วมกันส่งเสริมให้คนในชุมชนรักษาศีล น้อมนำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมไทย ตลอดจนปฏิบัติตนตามหลักค่านิยม ๑๒ ประการ ด้านศาสนา ส่งเสริมประสานงานให้เด็ก และเยาวชน จัดกิจกรรมเพื่อ เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และร่วมกันทำประโยชน์ให้แก่สังคม ผ่านกิจกรรมกล้าทำดี จัดตั้งกลุ่มโคมล้านนา ส่งเสริมให้คนในชุมชน นำทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สร้างรายได้แก่ครอบครัว และมีความรัก ความสามัคคีภายในกลุ่ม อีกทั้งยังเป็น แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเฉพาะด้านที่โดดเด่น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนที่สนใจ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน ได้เริ่มดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้รวมกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ จัดตั้งเป็น “ชมรมต้นกล้าบ้านต๊ำ” ส่งเสริมคุณธรรมให้เยาวชนทำกิจกรรมร่วมกัน ในการตั้งกลุ่มทำกิจกรรม จิตอาสา ในพื้นที่ของตนเอง ในด้านศิลปวัฒนธรรม การแสดงและเผยแพร่ศลิ ปะการแสดงในชุมชน วัด สถานศึกษา และตามสถานทีต่ า่ งๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง นอกจากได้ร่วมกันรักษา สืบสาน เผยแพร่ศิลปะ การแสดงของล้านนาแล้ว กลุ่มเยาวชน วั ด ต๊ ำ ม่ อ นยั ง ได้ ร วมพลั ง ทำกิ จ กรรมด้ า นจิ ต อาสา ในนาม “ชมรมต้ น กล้ า บ้ า นต๊ ำ ” เพื่ อ ทำกิ จ กรรม ด้านจิตอาสาทั้งในชุมชนและนอกพื้นที่ ที่รู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาเป็น ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม ห่างไกลจากอบายมุขสิ่งเสพติดและปัญหาสังคมต่างๆ ได้รู้จักคุณค่าของตนเอง เป็นแกนนำเยาวชน ที่กล้าทำความดี มีความสามัคคี เสียสละเพื่อส่วนรวม กลุ่มเยาวชน วัดต๊ำม่อน จึงเป็นที่ยอมรับชื่นชม ของคนในชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน 69

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นโดยจัดตั้ง “กลุ่มเยาวชนกลองสะบัดชัย” เพื่อส่งเสริมให้ เยาวชนได้สืบสานศิลปะการตีกลองสะบัดชัย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ทำให้การขับเคลื่อนกิจกรรมของกลุ่มเด็กและเยาวชนวัดต๊ำม่อนมีความ ต่อเนื่องและยั่งยืน จากต้นแบบ พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ จึงได้ตั้ง “กลุ่มเด็กกลองสะบัดชัย” และจัดหาทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม ในช่วงเย็นหลังเลิกจาก การเรียน จะมีการฝึกซ้อมของ “กลุ่มเด็กกลองสะบัดชัย” และช่วงค่ำจะเป็นการฝึกซ้อมของ “กลุ่มเยาวชนกลองสะบัดชัย” จากการที่มีเด็ก เยาวชน ได้เข้ามา ฝึกฝนกลองสะบัดชัยภายในวัด การฝึกซ้อมในแต่ละวันจะเกิดเสียงดังรบกวน แต่ก็ไม่มีปัญหาอุปสรรคแต่อย่างใด เนื่องจากคนชุมชนให้การสนับสนุน ชื่นชมที่ เด็กและเยาวชนเป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน นอกจากได้ร่วมกันรักษา สืบสาน เผยแพร่ศิลปะการแสดงของล้านนาแล้ว ยังได้รวมพลัง ทำกิจกรรมด้านจิตอาสา ในนาม “ชมรมต้นกล้าบ้านต๊ำ” เพื่อทำกิจกรรมด้านจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ทั้งในชุมชนและนอกพื้นที่ เป็นแกนนำเด็กและเยาวชน ที่กล้าทำความดี มีความสามัคคี เสียสละเพื่อส่วนรวม





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

เด็กและเยาวชนหันมารวมกลุม่ กันเพือ่ ใช้พนื้ ทีว่ ดั ในการพบปะ ปรึกษาหารือ ทำกิจกรรมต่างๆ หลังจากเลิกเรียนตอนเย็น และในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และร่วมกันสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ทำกิจกรรมจิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน ทำให้เด็กและเยาวชนมีความรัก ความสามัคคี ซึ่งกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละเพื่อส่วนรวม ได้ดำเนินกิจกรรมและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ใช้พลัง “บวร” ขับเคลื่อนในทุกกิจกรรม อีกทั้งให้ วัดต๊ำม่อนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ขยายเครือข่ายชุมชนคุณธรรมให้เพิ่มมากขึ้น





ข้อมูลการติดต่อชุมชนวัดต๊ำม่อน

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๕๒ ๘๒๙๙ 70

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดมาตุคุณาราม อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ กระโสมมีสุข บวรสามัคคี ประเพณีโดดเด่น ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดมาตุคุณาราม เป็นศูนย์กลางสร้างสุขของชุมชน เป็นชุมชนขนาดเล็ก ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ประกอบอาชีพ ทำสวน ประมง ทำใบจาก ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป รายได้แต่ละครอบครัวไม่แน่นอน รายได้ของครอบครัวไม่ค่อยพอกับรายจ่าย ส่งผลกระทบโดยตรงกับ การครองชีพ คนส่วนใหญ่ต่างคนต่างอยู่ เนื่องจากต้องหาเงินเลี้ยงปากท้อง ไม่ได้มองสังคมหรือเสียสละเพื่อส่วนรวมมากนัก ไม่มีเวลาให้กับส่วนรวมเกิดช่องว่าง ทางสังคม ขาดความสามัคคี ไม่มอี าชีพเสริม ผูส้ งู อายุไม่ได้รบั การดูแลเท่าทีค่ วร เล่นการพนันและการเสีย่ งโชครายวันยังคงมีให้เห็นอยู ่ ดำเนินชีวติ แบบเรียบง่าย สบายๆ ไม่กระตือรือร้น รับผิดชอบหน้าที่ของตนเองตามอัตภาพ ท่ามกลางความขาดแคลน ยังมีสิ่งที่ดีสิ่งเดียวที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับคนในชุมชน ในปัจจุบนั ได้เป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ ก็คอื “วัดมาตุคณ ุ าราม” ตัง้ อยูใ่ นใจกลางชุมชน เป็นศูนย์กลางสร้างสุขของชุมชนด้วยคุณธรรม เป็นแหล่งเรียนรูด้ า้ นอาชีพ ตามหลักปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งสืบสานประเพณี วัฒนธรรม เป็นแหล่งขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนดีของสังคม ทุกคนในชุมชนสามารถเข้ามา เรียนรู้และศึกษาธรรมะได้ตลอดเวลา ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดมาตุคุณาราม ได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้น จำนวน ๑ ชุด ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (บวร) ร่วมกัน ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหา จากข้อมูลพื้นฐานที่แท้จริงของชุมชน วิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค ให้ชัดเจน นำมาจัดทำแผนพัฒนา บรรลุกิจกรรม และโครงการที่เร่งด่วน หรือสำคัญลงในแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการให้ตรงกับสภาพปัญหา ทันเวลา ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทางวัดได้เน้นการบูรณาการให้ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามา ร่วมคิด ร่วมทำ รับฟังความคิดเห็น สามารถตอบสนองตรงกับความต้องการ ของประชาชน ให้ทุกคนทุกฝ่ายรับรู้ และเข้าถึงกิจกรรม/โครงการต่างๆ ที่ทางวัดจัดขึ้นอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รับประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนมี การปรับปรุงแผนงานกิจกรรม/โครงการให้มคี ณ ุ ภาพ และเกิดประโยชน์สงู สุดกับทุกคนในชุมชน มีกจิ กรรมการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้รางวัลแห่งคุณธรรม ความดี มีต้นแบบและผู้นำตามธรรมชาติเกิดขึ้นมากมาย โดยนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนสร้างคุณธรรมความดี สู่ความยั่งยืนต่อไป

71

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

วัดมาตุคุณาราม ได้พัฒนาคนในชุมชนให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีจิตอาสา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้รักสามัคคี ใช้ชีวิต บนพื้นฐานความพอเพียง สร้างความตระหนักให้คนในชุมชนเห็นคุณค่า ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีให้คงอยู่ตลอดไป เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย เพราะเดิมคนในชุมชนส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างทำ ขาดองค์ความรู้ ขาดศูนย์รวมใจในการบริหารจัดการ ขาดปราชญ์/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จะสานต่อใน การจัดกิจกรรมที่ต้องอนุรักษ์ เป็นศูนย์กลางรวมใจในการบริหารจัดการ เพื่อริเริ่มในการจัดกิจกรรม/โครงการ เพื่อหล่อรวมแนวทางตามวิถีชีวิตของคนใน ชุมชนแบบดั้งเดิม ให้กลับมามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นบนพื้นฐานความพอเพียง โดยการนำ บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ (บวร) เข้ามามีส่วนร่วม รวมพลัง โดยเฉพาะวัดมาตุคุณาราม ให้เป็นศูนย์รวมการบริหารจัดการในทุกๆ ด้าน สร้างความศรัทธา ความใกล้ชิดกับคนใน เป็นแหล่งเรียนรู้ ปลูกฝัง และบ่มเพาะ องค์ความรู้ที่มีประโยชน์ ต่อการดำรงชีพ พัฒนาจิตใจ จิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรมให้กับทุกคน มีความรักและหวงแหนท้องถิ่นของตน ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย รู้รักสามัคคี รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม การจัดกิจกรรม/โครงการของวัดมาตุคุณาราม จึงสามารถแก้ปัญหาและช่วยเหลือคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง ส่งผลให้ คนในชุมชนกลับมาเข้มแข็ง มีกำลังใจเต็มร้อยเพื่อสู้ชีวิตในปัจจุบัน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยค่อนข้างรุนแรงได้





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนเกิดความรักสามัคคี เอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ ช่วยเหลือซึง่ กันและกัน มีสขุ ภาพร่างกาย ที่แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี เป็นที่ยอมรับจากชุมชน บุคคล และหน่วยงานภายนอก ส่งผลให้ได้รับรางวัล เชิดชูเกียรติ จากหน่วยงานต่างๆ ได้จัดสร้างแกนนำในชุมชน นำภูมิปัญญา/ปราชญ์ท้องถิ่นมาถ่ายทอด ความรู้ เพื่อขยายผลให้คนในชุมชนได้ทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถนำ ความรูท้ ไี่ ด้รบั ไปปรับใช้ และสามารถขยายผลต่อให้กบั บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกทีส่ นใจได้ โดยยึดหลัก จิตอาสา มีการสร้างนวัตกรรมในการร่วมอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรม และด้านสืบสานวัฒนธรรม มีการพัฒนาแหล่งเรียนรูใ้ นชุมชน ผูน้ ำจิตอาสา รองรับการศึกษาดูงานจากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก เพื่อยกระดับการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีให้คงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป โดยยึดหลักพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัด





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดมาตุคุณาราม

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสัจจญาณประยุต ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดมาตุคุณาราม โทรศัพท์ ๐๘ ๔๐๕๙ ๖๕๙๒ ๒. นายวีระ วิศาล ตำแหน่ง ประธานศูนย์บริการผู้สูงอายุวัดมาตุคุณาราม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๖๗๗ ๘๙๐๘ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

นางสาวจันทรา นฤนาท ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๘๖๒๐ 72

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดชายคลอง อำเภอเมืองพั ทลุง จังหวัดพั ทลุง



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ สัปปายสถาน ลานบุญลานธรรม เพือ่ หลอมรวมสังคมให้มคี ณ ุ ธรรม สร้างชุมชนจิตอาสา ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น วัดชายคลอง ได้รบั การพัฒนาให้กลายเป็นสัปปายะสถาน เพือ่ ให้เหมาะแก่การเป็นศูนย์กลางพัฒนาชุมชน เป็นแหล่งเรียนรูพ้ ระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม อบรมบ่มเพาะประชาชน เยาวชน เป็นสถานบำเพ็ญบุญตามประเพณีของพุทธศาสนิกชน เป็นลานธรรมลานวิถีไทย เหมาะสำหรับ การทำกิจกรรมที่สอดแทรกคำสอนทางพระพุทธศาสนา เอื้อต่อการสืบสานประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และหลอมรวม ความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน และยังเป็นศูนย์รวมในการช่วยเหลือสังคมในยามประสบภัยต่างๆ กิจกรรมสำคัญภายใต้การขับเคลื่อนของ ลานบุญลานธรรม วัดชายคลอง ได้แก่ จัดปฏิบตั ธิ รรม บวชเนกขัมมจาริณ ี จัดอบรมเยาวชนนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ รวมไปถึงกิจกรรมวันสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริยไ์ ทย เป็นสถานบำเพ็ญบุญกุศลของพุทธศาสนิกชน โดยจัดทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทำบุญในวันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตรเนื่องใน วันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และในโอกาสพิเศษอื่นๆ เป็นศูนย์ระดมทุนช่วยเหลือสังคม ประชาชน โรงเรียน ยามเกิดภัยพิบัติ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ หลั ง จากคณะสงฆ์ ก ลุ่ ม ใหม่ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น ในวั ด ได้ เริ่ ม ต้ น พั ฒ นาวั ด โดยเริ่ ม จาก การพัฒนาคน นัน่ คือส่งเสริมการศึกษาให้พระเณรทีเ่ ข้ามาได้มคี วามรูใ้ นด้านปริยตั ธิ รรม ทัง้ แผนกธรรม-บาลี เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาควบคู่กับการปฏิบัติ และพร้อมกัน นั้นได้เริ่มปรับปรุงพัฒนาวัดในทุกภาคส่วน ชักชวนประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา วัดให้มีความพร้อ ม มีสถานที่ประกอบกิจ กรรมทางพระพุทธศาสนา โดยได้ พัฒ นาลานใต้ ต้ น ไม้ ไว้เป็นลานกิจกรรมหลักของวัด สร้างความแตกต่างให้กบั ชุมชน อิงลานธรรมตามแนวสวนโมกข์ ชักชวน ประชาชน เยาวชนมาร่วมถมทราย เกลี่ยทราย และสร้างศาลา พร้อมทั้งติดตั้งไฟส่องสว่าง ตามลำดับ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกลางวันและภาคกลางคืน เมื่อสถานที่พร้อมแล้ว ภายหลังได้มี กิจกรรมอบรมเยาวชน นักเรียน กิจกรรมปฏิบตั ธิ รรม เกิดขึน้ มาเป็นลำดับ โดยมีนกั เรียนโรงเรียนต่างๆ เข้ามาทำกิจกรรมอยู่เนื่องๆ ได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาใต้ต้นไม้ ลานทราย ได้ทำกิจกรรมที่แตกต่าง จากห้องเรียน ส่วนพุทธศาสนิกชนก็ได้มีความแปลกใหม่ในการบำเพ็ญบุญกุศล ทาน ศีล ภาวนา ตามโอกาสอันสมควร 73

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เมื่อชุมชน ประชาชน เยาวชน ในสังคมรอบวัด ขาดการบ่มเพาะ ความห่างเหินจากพระพุทธศาสนา ความห่างเหินจากวัดก็ย่อมเกิดขึ้น เป็นธรรมดา เหตุเพราะวัดขาดผูน้ ำทางจิตวิญญาณ ขาดผูน้ ำในการบ่มเพาะคุณธรรมศีลธรรมให้คนในชุมชน การปลูกศรัทธาให้คนเชือ่ มัน่ ไม่ใช่เป็นสิง่ ทีท่ ำได้งา่ ย ความท้าทายสำคัญตรงนี้คือ ทำอย่างไรให้เขาเชื่อมั่นและศรัทธา และพร้อมจะร่วมไม้ร่วมมือกับแนวทางที่มีในตัวผู้นำ คำตอบในเรื่องนี้จึงต้องพิสูจน์กัน ด้วยเวลาและข้อปฏิบตั ิ ต้องปลูกศรัทธาในตัวเองก่อน คือเชือ่ มัน่ ในสิง่ ทีต่ วั เองทำว่า มีความสามารถและจะสำเร็จได้ ต้องปลูกศรัทธาในคนรอบข้าง เพือ่ สร้างแรง ศรัทธาให้ขยายออกไป ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อสร้างฐานความรู้ที่จะสื่อสารออกไปยังผู้อื่นต่อไป ต้องทำให้จริงและต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังคนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีศีลธรรม มากขึ้นกว่าเดิม จะเกิดความสุขร่วมกัน เกิดความรู้รักสามัคคีร่วมกัน และเกิดจิตอาสาที่จะนำพาสังคมให้มีความเจริญต่อไป





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนมีการร่วมไม้ร่วมมือกันมากขึ้น ในการทำกิจกรรมทั้งภายในชุมชน และภายในวัด เยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาดูแลรักษาวัดมากขึ้น ทำวัดให้มีความสะอาด สัปปายะเหมาะแก่การทำกิจกรรมต่างๆ ชุมชนลดอบายมุข ลดการเล่นพนันภายในวัด การเล่นการพนันในเทศกาลต่างๆ ชุมชนร่วม กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญต่าง ๆ และประเพณีอนั ดีงามของชาวพุทธมากขึน้ ชุมชนใช้ลานวัดเป็นสถานบำเพ็ญบุญกุศล ทาน ศีล ภาวนากันมากขึน้ เด็กนักเรียนที่มาร่วมกิจรรมที่นี่ ได้รับความรู้ มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ต่างได้บอกเล่ากับคนรอบข้าง และมีโอกาสกลับมาร่วมกิจกรรมอื่นๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ตามแนวทางนี้ เมื่อวัดต่างๆ ถือเอาเป็นหัวใจสำคัญในการเผยแผ่ผ่านการสอดแทรกกิจกรรม ทางพระพุทธศาสนา ประเพณีนยิ มต่างๆ ก็จะสามารถคงไว้ และสืบสานต่อยอดไปถึงการปลูกศรัทธา ที่ตั้งมั่นซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาที่ตามมา เป้าหมายที่จะเดินต่อในอนาคต ความตั้งใจ หรือสิ่งที่บ่งบอกถึงหลักประกันว่าจะเกิดความยั่งยืน มีแผนจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในด้าน จัดอบรมศีลธรรม คุณธรรม เรียนรู้พระพุทธศาสนาให้กับเยาวชนนักเรียนในพื้นที่และใกล้เคียง จัดปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมมจาริณี ประจำเดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาปฏิบัติธรรม ส่งเสริมการจัดกิจกรรมประเพณีไทย





ข้อมูลการติดต่อชุมชนวัดชายคลอง

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูภาวนาธรรมประสิทธิ์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดชายคลอง โทรศัพท์ ๐๙ ๘๐๔๕ ๖๘๘๐ ๒. พระมหาจิรวัฒน์ อภิวฑฺฒโน ตำแหน่ง ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดชายคลอง โทรศัพท์ ๐๘ ๑๐๙๕ ๘๒๕๕ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นายทินกร วัฒนเสน ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๙๒๓๖

74

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพร้าว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ คนวัดขวางเป็นคนดี มีสิ่งแวดล้อมดี มีรายได้ดี มีสุขภาพดี และสังคมดี ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดพร้าว (บ้านวัดพร้าว) เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สามัคคี จิตอาสา พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และปลอดภัยพร้อมสำหรับ ผูม้ าท่องเทีย่ วเยีย่ มเยือน ความสำเร็จของชุมชนใน ๓ มิต ิ อาทิ กิจกรรมปฏิบตั ธิ รรมประจำเดือน (ทุกวันที ่ ๑๗ ของเดือน ๆ ละ ๔ วัน) การรวมกลุม่ สัจจะออมทรัพย์ การเข้าวัดวันอาทิตย์ ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาพัฒนาวัดพร้าว การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ และร่วมสืบสานศิลปะพื้นบ้าน โดยชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดขวาง นำดนตรีพื้นบ้านถ่ายทอดและแสดงดนตรี ได้แก่ นาฏดนตรี (ลิเก) ฉ่อย อังกะลุง ลำตัด ที่โรงเรียนวัดพร้าว โรงเรียนวัดขวางวิทยาลัยผู้สูงอายุ แสดงดนตรี ใช้ดนตรีบำบัดผูป้ ว่ ยทีโ่ รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวางและร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมพืน้ ถิน่ เนือ่ งในวันสงกรานต์และวันลอยกระทง วัดพร้าวมีความโดดเด่น ในมิ ติ ศ าสนา นำหลั ก ธรรมมาปลู ก ฝั ง คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมกล่ อ มเกลาจิ ต ใจให้ เ ด็ ก เยาวชน ประชาชน ปฏิ บั ติ ต นเป็ น คนดี นำหลั ก ธรรมไปปรั บ ใช้ ในชีวิตประจำวัน ดำรงตนได้เป็นปกติสุข ความเป็นมา/ความโดดเด่น ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดพร้าว นำโดยพระครูวิศิษฏ์ปริยัติคุณ เจ้าอาวาสวัดพร้าว เจ้าคณะตำบลวัดขวาง เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของ “บวร” ตำบลวัดขวาง ที่เปี่ยมด้วยความเมตตา และเป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ นักพัฒนาเป็นศูนย์รวมศรัทธาสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่ง“บวร” ตำบลวัดขวาง มีการทำงานแบบมีสว่ นร่วม สามัคคี จิตอาสา ร่วมกันคิด ร่วมกันทำและพัฒนาชุมชน อย่างต่อเนือ่ ง ระเบิดจากข้างใน ขับเคลือ่ นการทำงานแบบ พลังบวร “บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ” ไปพร้อมกันทั้งตำบลวัดขวาง โดยมีเวทีประชุม “ปรับทุกข์ สร้างสุข เพือ่ ชาวตำบลวัดขวาง” ทุกวันที ่ ๑๐ ของเดือน ร่วมกันคิด วางแผน ดำเนินงาน แก้ไข ปัญหา ติดตามผลร่วมกัน มีความร่วมมือภาคีเครือข่ายในชุมชน รวมทัง้ ภาคประชารัฐ ในพื้นที่ ให้มาร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมพัฒนาชุมชนให้มีคุณธรรม และร่วม เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของทางราชการให้กับประชาชน

75

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนมีการจัดการกับทุกปัญหาต่างๆ โดยมีการร่วมรับฟังปัญหาจากประชาชนและหาแนวทาง แก้ไขร่วมกัน โดยมีการประชุมขับเคลื่อนบวร ทั้งตำบลวัดขวางในการประชุมเวทีปรับทุกข์สร้างสุข ทุกวันที่ ๑๐ ของเดือน ชุมชนมีการตั้งจุดตรวจ จุดเวรยามทางเข้าออกของหมู่บ้าน ปัญหาน้ำจะมี การบริหารจัดการทุกหมูบ่ า้ นได้นำ้ ไปอุปโภค บริโภคอย่างทัว่ ถึง ปัญหายาเสพติด จะมีการอบรมสร้างความรูค้ วามเข้าใจในพิษภัยยาเสพติด โครงการบรรพชาและ ฝึกอบรมสามเณรภาคฤดูร้อน ตลอดจนผู้นำชุมชนและประชาชนร่วมกันเฝ้าระวัง ไม่ให้เยาวชน ประชาชนมีการมั่วสุมใช้ยาเสพติด มีการส่งเสริมให้เยาวชน ประชาชนใช้เวลาว่างเล่นกีฬา ประกอบอาชีพเสริมหารายได้ การกำจัดขยะ จะมีการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ให้ถูกต้อง เหมาะสม นำขยะมาใช้ซ้ำ จัดทำธนาคารขยะ โดยมีหมู่ที่ ๕ บ้านคลองคะชี เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการบริหารจัดการขยะ





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนมีความยึดมัน่ และปฏิบตั ธิ รรมตามหลักศาสนา โดยมีกจิ กรรม ดังนี ้ ปฏิบตั ธิ รรมประจำเดือน ทำบุญตักบาตร ฟังธรรมะ ทุกวันธรรมสวนะ และทุกวันอาทิตย์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผัก และเก็บเกี่ยวผลผลิตต่างๆ โดยปลอดสารพิษ ด้านวัฒนธรรม มีประเพณีสงกรานต์สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การทำบุญแจงถึงญาติผู้ล่วงลับ จัดงานประเพณีลอยกระทง เป็นการทำงานในชุมชนแบบสามัคคี และจิตอาสาจัดทำกระทง จิตอาสามอบ สิ่งของทำสอยดาว หารายได้บำรุงพระศาสนา เพื่อเป็นการอนุรักษ์น้ำ และคลอง ชุมชนนำโดยผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนและประชาชน จะร่วมแรงร่วมใจกัน ทำจิตอาสาพัฒนาวัด ชุมชน สาธารณประโยชน์





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดพร้าว

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. นายสนั่น จันทร์ขวาง ตำแหน่ง ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดขวาง โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๗๐ ๖๗๒๓ ๒. นางบุญธรรม จ้อยสุดใจ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๖ ๒๑๔๖ ๑๖๑๔ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๑. นางฐิฎิยา หาญวีรโยธิน ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๐ ๗๓๙๘ ๒. นางสาวปภาดา สอนสิงห์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๒๘๐๖ 76

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสวนร่มบารมี อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษ ณุโลก



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ไปอยู่ให้เขาอิจฉา อย่าอยู่ให้เขาสงสาร ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น พระครูโฆสิตธรรมสุนทร เจ้าอาวาส/ผู้นำชุมชนคุณธรรมวัดสวนร่มบารมี ได้เผยแผ่หลักธรรมคำสอนอันดีงามทางพระพุทธศาสนา การปลูกฝังให้ผู้คนตั้งมั่นในศีลธรรม มีคุณธรรมจริยธรรม มีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สอนคนในชุมชน ด้วยวิธีการเริ่มจากปฏิบัติตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง จนสร้างแรงศรัทธาให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเข้ามาประพฤติปฏิบัติธรรมภายในวัด ตลอดจนร่วมจัด กิจกรรมต่างๆ มากมายกับทางวัด โดยมีศรัทธาเป็นที่ตั้ง นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่การมีโอกาส ได้ร่วมงานกิจกรรมต่างๆ กับหน่วยงานราชการ ในการรณรงค์ การจัดกิจกรรมเพือ่ สาธารณประโยชน์ของชุมชน เช่น การเป็นชุมชนคุณธรรม การใช้พลัง “บวร” ในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน การรณรงค์ตอ่ ต้านยาเสพติด การสร้างการตระหนักถึงภัยสิ่งมึนเมา ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ พระครูโฆสิตธรรมสุนทร กำหนดกลยุทธ์ของการดำเนินงาน โดยใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมอันดีงามของไทย มาจัดเป็นกิจกรรมต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ การจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เด็ก เยาวชนได้มีโอกาสเข้าวัด ทำกิจกรรมร่วมกับผูส้ งู อายุ ลดปัญหาอาชญากรรม การสร้างความรู ้ สร้างภูมคิ มุ้ กันให้ประชาชน ทำให้ประชาชนพึง่ พาตนเองได้ โดยใช้ทนุ ทีม่ ใี นชุมชน อย่างภูมปิ ญั ญา ชาวบ้ า น ความรู้ ที่ ถ่ า ยทอดจากรุ่ น สู่ รุ่ น ในการประกอบอาชี พ มาสร้ า งรายได้ ในชุ ม ชน และกิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วกั บ ประเพณี วิ ถี วั ฒ นธรรมอั น ดี ง าม นอกจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ แล้ว สิง่ สำคัญคือการเรียนรู ้ เข้าใจ ปรับตัวตามสภาพแวดล้อมทางสังคมทีเ่ ปลีย่ นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสือ่ สาร วั ด สวนร่ ว มบารมี จึ ง ให้ ค วามสำคั ญ กั บ บุ ค ลากรภายในวั ด ที่ จ ะต้ อ งมี ค วามรู ้ ความสามารถ เข้าถึงเทคโนโลยี รู้ทันสภาพแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนไป ทำให้วัดมีการใช้ ช่ อ งทางการสื่ อ สารที่ ห ลากหลาย มี พ ระและบุ ค ลากรที่ มี ค วามพร้ อ มในการใช้ เทคโนโลยี ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ การดำเนิ น กิ จ กรรมต่ า งๆ ของวั ด ตลอดจนมี การสื่อสารประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

77

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

วัดสวนร่มบารมี ได้มีการสำรวจสิ่ง ที่ชุมชนมี แล้ ว นำสิ่ ง ที่ มี ม าพลิ กเป็ น โอกาส เป็นทรัพยากรในการดำเนินงาน เช่น การใช้วัดที่มีความพร้อมในด้านของสถานที่ มาขยายขอบเขต นิยามจากสถานที่วัด สู่การเป็นพื้นที่ของชุมชน เป็นลานธรรม ลานวิถีไทย ที่เปิดพื้นที่ให้คนใน ชุมชนได้เข้ามาจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างกิจกรรมส่งเสริมมิติทางศาสนา กิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ ของชุมชน กิจกรรมจัดงานประเพณีวถิ ถี นิ่ ในชุมชน และดึงเอาทรัพยากรมนุษย์ เข้ามาเป็นปัจจัยหลัก ด้ ว ยการนำผู้ สู ง อายุ มาเป็ น ทรั พ ยากร ในการให้ ค วามรู้ เป็ น แบบอย่ า งในการใช้ ชี วิ ต เป็นปราชญ์ของชุมชน ขณะเดียวกันก็ดึงเอาพลังของเด็ก และเยาวชน พลังของหน่วยงานราชการ สถานศึ ก ษา มาร่ ว มจั ด กิ จ กรรมต่ า งๆ ตามกำลั ง ความสามารถ จนกลายเป็ น การสื บ สาน รักษาต่อยอดอัตลักษณ์ความมีจิตอาสา ความสามัคคี อันเป็นอัตลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมไทย ให้เกิดกับชุมชน ทำให้อุปสรรคต่างๆ ที่เคยมีในชุมชน ลดลงไปด้วยการใช้ต้นทุนและทรัพยากร ที่เป็นของชุมชนโดยแท้จริง





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

การนำพระธรรมคำสอนเข้าไปแทรก คนในชุมชนมีการพัฒนาตนเองและนำไปสู่ การบอกรุ่นต่อรุ่น เกิดผลลัพธ์เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติ ตามหลักคำสอนทางศาสนา เกิดความสงบสุขในชุมชน ไม่มียาเสพติด ไม่มีการทะเลาะวิวาท ไม่มีการพนัน ไม่มีอบายมุข ไม่มีการลักขโมย เกิดค่านิยมทางสังคมที่ดีงาม มีภูมิความรู ้ มีวินัย ในการดำเนินชีวิต การทำมาหาเลี้ยงอาชีพ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข สะท้อนคุณธรรม เรื่องของ “ความพอเพียง การมีวินัย การดำเนินชีวิตด้วยสุจริต และมีจิตอาสา” เกิดผลกระทบ ในเชิงบวก เริ่มจากระดับปัจเจก คือ ประชาชนในชุมชนคิดบวกต่อการปฏิบัติตนบนพื้นฐาน สิ่งที่ดีงาม ขยายไปสู่ผลกระทบระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับสังคม กลายเป็นสังคมคุณธรรมที่มีรากฐาน มาจากทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพควบคู่คุณธรรมจริยธรรม และมีความจงรักภักดี เคารพเทิดทูน ในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เกิดกลุ่มจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมพัฒนา ชุมชนในด้านต่างๆ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสวนร่มบารมี

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูโฆสิตธรรมสุนทร ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสวนร่มบารมี โทรศัพท์ ๐๘ ๙๐๘๐ ๓๔๓๔ ๒. พระพรเทพ อมโร ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนร่มบารมี โทรศัพท์ ๐๘ ๐๕๕๑ ๙๘๔๘ 78

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดท่าคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ท่าคอยร่มเย็นเป็นสุข ๒)

ความเป็นมา/ความโดดเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดท่าคอยเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีความโดดเด่น และมีชื่อเสียงในด้านศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน ศาสนสถาน ภาพวาด ศิลปะจิตรกรรมฝาผนัง การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนมุ่งเน้นในเรื่องการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่คู่หมู่บ้าน ประกอบกับชุมชน คุณธรรมวัดท่าคอยเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เมืองตลาดแหล่งการค้า แหล่งเศรษฐกิจของตัวอำเภอท่ายาง จึงทำให้คนในชุมชนมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ และเพิ่มปริมาณ ผลผลิต ทำให้ส่วนใหญ่ต้องอยู่กับการทำงานมากเกินไป การปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชนลดน้อยลงทำให้การมีส่วนร่วมทางกิจกรรมประเพณี กิจกรรมสาธารณะ กิจกรรมจิตอาสาในชุมชนลดน้อยลงด้วย ประกอบกับการบริหารการเมืองการปกครองที่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างภาคประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และการปกครองท้องถิ่น แต่เนื่องจากในชุมชนบ้านท่าคอยมีวัดโรงเรียนและหมู่บ้านจึงใช้หลักของบวรในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดย เจ้าอาวาสวัดท่าคอย คณะกรรมการวัด คณะกรรมการชุมชน เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนและขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมวัดท่าคอย ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด ท่ า คอย โดยมี พ ระครู สิ ริ ทั ศ นี ย คุ ณ เจ้ า อาวาสวั ด ท่ า คอย พระสงฆ์วัดท่าคอย ประธานชุมชนคุณธรรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนมีวัด เป็นศูนย์กลางในการขับเคลือ่ นชุมชนคุณธรรม ให้มคี วามพอเพียง มีวนิ ยั ใช้ปญ ั ญา จิตอาสาพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอน ทางศาสนา ความสมัครสมานสามัคคี น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างและพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สืบสานประเพณี วิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยมีส่วนราชการ ประชาชน ร่วมประชุมปรึกษาหารือแนวทางการพัฒนาในชุมชน เข้ามาร่วมกันบูรณาการทำงานพัฒนาชุมชน การพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสื่อสารให้คนในชุมชนเข้าใจ พร้อมรับ การเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ภายในชุมชนสามารถสื่อสาร

79

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งครอบครัว และการท่องเที่ยวในชุมชนชะลอตัวและขาดความ ต่อเนื่องการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขาดความต่อเนื่องและหยุดไปบ้างในบางโอกาส ชุมชนวัดท่าคอยจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ก่อให้เกิดความร่วมมือ ของคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ เป็นเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่สืบสานงานวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตในชุมชน มีความศรัทธา ของประชาชนในชุมชนตามความเชือ่ ทางศาสนา ทำให้เป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ วให้กระทำแต่ความดี และสร้างความตระหนักในการให้ความร่วมมือและการมีจติ อาสา ในการกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วมและแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนยามสุขสนุกสนาน ยามทุกข์เห็นอกเห็นใจ





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดท่าคอย เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเอง น้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบตั ใิ ห้เกิดผลสำเร็จพร้อมนำหลักคำสอนทางศาสนามาประพฤติปฏิบตั ใิ นการดำรงชีวติ ให้เจริญรุง่ เรืองมีความสุขส่งเสริม และสืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของหมู่บ้านให้มีความมั่นคง สร้างภูมิคุ้มกันด้านชีวิตจิตใจของคนในชุมชนให้มีความสุข อยู่กันด้วยความรัก สร้างสังคมแห่งการเอื้อเฟื้อแบ่งปันในยามสุขในยามทุกข์ ให้มองเห็นว่า คนทุกคน บ้านทุกบ้าน คือหัวใจของเราพร้อมที่ทะนุถนอมหวงแหนฟูมฟักให้เกิดคุณค่า แก่ชีวิต ครอบครัว ชุมชน ภูมิใจสนความเป็นตัวของตัวเอง





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดท่าคอย

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสิริทัศนียคุณ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดท่าคอย โทรศัพท์ ๐๘ ๑๐๑๗ ๒๕๕๕ ๒. พระมหาสมนึก จนฺทโชโต, ดร. ตำแหน่ง รองเจ้าอาวาสวัดท่าคอย โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๐๖ ๔๕๙๓ ๓. นายจีรศักดิ์ มาลัย ตำแหน่ง สมาชิกสภาเทศบาลตำบลท่ายาง ประธานชุมชนบ้านท่าคอย โทรศัพท์ ๐๘ ๑๓๘๕ ๑๙๐๖

80

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบึงศรีเทพรัตนาราม อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หลักเมืองศรีเทพทวารวดี วิถีพอเพียงบึงนาจาน สืบสานวัฒนธรรมสองเผ่าไท ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดบึงศรีเทพรัตนาราม บ้านหลักเมือง หมู่ที่ ๑๓ พื้นที่ของชุมชนตั้งอยู่บนแหล่งอารยธรรมทวารวดี มีอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีเทพ ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยแหล่งโบราณคดี โบราณสถานกระจัดกระจายเต็มพื้นที่ของชุมชน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ และของประเทศ ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาอารยธรรมทวารวดีอยู่เสมอ ประกอบกับวิถีชีวิตของคนที่นี่เป็นสังคมเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตแบบชาวนา คือมีความเรียบง่าย ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีความสามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ยึดมั่น ในขนบธรรมเนี ย มประเพณี อั น ดี ง ามอย่ า งเคร่ ง ครั ด โดยมี วั ด บึ ง ศรี เ ทพรั ต นาราม เป็ น ศู น ย์ ก ลางทางศาสนาและวั ฒ นธรรม ทำให้ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรม วัดบึงศรีเทพรัตนารามมีเสน่ห์สำหรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ การพั ฒ นาชุ ม ชนให้ เ ป็ น ชุ ม ชนต้ น แบบ ได้ รั บ การสนับสนุนจากพลังบวรที่เข้มแข็งของทุกคนในชุมชน การดำเนินงาน ต่างๆ อาศัยหลักคุณธรรม กติกา ข้อตกลงทีร่ ว่ มกันกำหนด จึงพัฒนาชุมชน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว (บวร On Tour) ในทุก ๆ ด้าน เช่น แหล่งท่องเที่ยว ทางวั ฒ นธรรม และประวั ติ ศ าสตร์ ณ อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ ศ รี เ ทพ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ณ คูน้ำอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีเทพ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชมผลิตภัณฑ์จากต้นกก จักสานตะกร้าไม้ไผ่ และอาหารท้องถิ่นให้ชิมหลากหลาย ซึ่งในชุมชน มีบริการที่พักโฮมสเตย์พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ตลอด นอกจากนี้ คนในชุมชนยังให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีวัฒนธรรม โดยการจัดแสดงในงานเทศกาลประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีบวงสรวง เจ้าพ่อศรีเทพจะต้องจัดเป็นประจำทุกปีขาดไม่ได้ 81

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด บึ ง ศรี เ ทพรั ต นาราม เป็ น ศู น ย์ ก ลางในการขั บ เคลื่ อ นและดำเนิ น กิ จ กรรมต่ า งๆ ด้ า นศาสนา ศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมของชุ ม ชน และแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ววั ฒ นธรรม เช่ น ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดบึงศรีเทพรัตนารามเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม ได้แก่ ศิลปวัตถุ สิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นศูนย์กลางของศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชุมชน จัดเก็บไว้ เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ได้ศึกษาเรียนรู้ กิจกรรมปั่นจักรยานชมเมืองประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดเส้นทางจักรยานจากวัดบึงศรีเทพรัตนารามสู่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ชมเมืองโบราณสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ พร้อมชมแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น การดำเนินงาน อาจมีอุปสรรคต่างๆ เกิดขึ้นชุมชนก็สามารถข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านั้นได้ โดยผู้นำและคณะกรรมการ ในชุมชน จะต้องมาประชุมและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และนำมติที่ได้จากการประชุมมาดำเนินการ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้นที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปด้วยดี





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนด้วยพลังบวร ที่ประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับ จากสังคม เนื่องจากคนในชุมชน มีข้อปฏิบัติหลัก ๓ ประการ คือ ยึดมั่นในหลักศาสนา หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม ในการที่จะเป็นสุดยอดชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ที่มีความเข้มแข็งด้วยพลังบวร เป็นชุมชนท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป เป้าหมายที่จะเดินต่อ คือส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตชุมชนทวารวดีศรีเทพ ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลัก ดันให้อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นมรดกโลก โดยอาศัยความร่วมมือพลังบวร ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และวัด





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดบึงศรีเทพรัตนาราม

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ)

พระครูสีลพัชโรภาส โทรศัพท์ ๐๖ ๒๙๕๓ ๗๕๕๘ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

๑. นางเกษมศรี สุระวิทย์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ ๒. นายปัณณปวัฒน์ เบ้าจันทร์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๗๒ ๘๗๘๐ โทรสาร ๐ ๕๖๗๒ ๙๗๗๙ 82

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ เมืองคัมภีร์ใบลาน ถิ่นกำเนิดครูบามหาเถร สืบสานประเพณีตากธัมม์ พิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลานล้านนา ปวงประชาเป็นสุขด้วยกระบวนการพลังบวร ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น

สืบเนื่องมาจากระยะก่อน ๑๔ ปี คนในชุมชนวัดสูงเม่น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคัมภีร์ใบลานมากนัก เพราะไม่เคยเห็น ไม่เคยสัมผัส จึงไม่ได้ให้ความสนใจกับการอนุรกั ษ์คมั ภีรใ์ บลาน แม้แต่พระภิกษุสามเณรในวัดก็ได้ไม่ได้ให้ความสำคัญมาก ทำให้คมั ภีรใ์ บลานซึง่ เป็นมรดกธัมม์อนั ล้ำค่าระดับโลก ที่อยู่ในชุมชนวัดสูงเม่น ไม่ได้รับการดูแล ปัจจุบันชุมชนคุณธรรมวัดสูงเม่น เป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เรื่องเมืองคัมภีร์ธัมม์โบราณที่มีคัมภีร์ พระไตรปิฎก ใบลานอักษรล้านนามากที่สุดในโลก โดยพระมหาเถระนักปราชญ์ของล้านนา คือ หลวงปู่ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร ปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนา เป็นผู้สร้าง และรวบรวมคัมภีร์ใบลานล้านนามากที่สุดในโลก นอกจากนี้ ชุมชนวัดสูงเม่น ยังมีแหล่งท่องเที่ยว ที่เชื่อมโยมสำคัญในชุมชน ได้แก่ ไร่นาสวนผสมครึ่งแก้ว สวนดาวอินคา แหล่งเรียนรู้ต้นลาน แหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ ศูนย์เรียนรู้ร้านเวียงเหนือผ้าตีนจก และสัญลักษณ์สถานพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช และเชื่อมโยงไปชุมชนใกล้เคียง ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด สู ง เม่ น มี ก ารถอดบทเรี ย น “สูงเม่นโมเดล” : รูปแบบและแนวทางการบูรณาการ องค์ความรูเ้ รือ่ งคัมภีรใ์ บลาน กับการท่องเทีย่ วเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยพระครูวิบูลสรภัญ รองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น และผู้อำนวยการสถาบันอนุรักษ์ คัมภีรใ์ บลานวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่และนายอภิลกั ษณ์ เกษมผลกูล ประธานศู น ย์ ส ยามทรรศน์ ศึ ก ษา คณะศิ ล ปะศาสตร์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ในหัวข้อเรื่อง (๑) ภูมิหลังของวัดสูงเม่น (๒) “พลังแห่งศรัทธา”: จุดเริ่มต้น การพัฒนาวัดสูงเม่นสู่การท่องเที่ยวเชิงศาสนา และ (๓) “คัมภีร์ธัมม์โบราณ”: การบูรณาการความรู้ทางศาสนากับการจัดการท่องเที่ยววัดสูงเม่น

83

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

๑. แนวคิดในการนำคัมภีร์ออกมาจากหอธัมม์ ให้คนได้เห็น และสั ม ผั ส ซึ่ ง จากความเชื่ อ เดิ ม ก่ อ นหน้ า นี้ ช าวบ้ า นในชุ ม ชนและที่ อื่ น ๆ เชื่อว่าคัมภีร์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ มิควรที่จะนำออกมาจากตู้ธัมม์หรือหอธัมม์ เอาออกมาแล้วจะไม่เป็นมงคล เป็นบาป มีการต่อต้านไม่ให้นำคัมภีร์ออกมา ซึ่งความเชื่อนี้ ก็ได้ถูกพิสูจน์มาในภายหลังว่าไม่เป็นความจริง ๒. งบประมาณในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน มีจำกัด ๓. ความสามัคคีของคนในชุมชนในช่วงแรก ๔. ธั ม มทายาท ผู้ สื บ ต่ อ กิ จ กรรมอนุ รั ก ษ์ คั ม ภี ร์ ใ บลาน จำเป็ น ต้ อ งมี บุ ค ลากรมาดำเนิ น งานอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ความยั่ ง ยื น ของ การพัฒนา ซึ่งในระยะแรกๆ มีไม่มากนัก เพราะเป็นงานจิตอาสา ไม่มีค่า ตอบแทนให้ แต่ดว้ ยความเสียสละของจิตอาสา ซึง่ เป็นกลุม่ ทีม่ าวัดทำบุญอยูต่ ลอด และขอให้มาช่วยงานในรูปของมัคคุเทศก์จิตอาสา





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด สู ง เม่ น เป็ น สถานที่ แ ละเป็ น ศู น ย์ ร วม ความเคารพศรัทธา เป็นแหล่งเรียนรูบ้ ม่ เพาะด้านคุณธรรมจริยธรรมและเป็นแหล่ง เรี ย นรู้ ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ คั ม ภี ร์ ใ บลานที่ ส ำคั ญ ของโลก อั น เป็ น ต้ น ทุ น ทางวัฒนธรรมทีน่ ำไปสูก่ ารปฏิบตั ติ ามหลักธรรมต่างๆ มากๆ มีการจัดกิจกรรม ทางศาสนาที่เชื่อมร้อยระหว่างสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่ า งเข้ ม แข็ ง เน้ น การเผยแพร่ และปฏิ บั ติ ต ามหลั ก คำสอนของศาสนา คนในชุ ม ชนดำเนิ น ชี วิ ต อย่ า งเป็ น สุ ข เลื่ อ มใสศรั ท ธาในพระพุ ท ธศาสนา ส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และประกอบศาสนกิจ อย่ า งสม่ ำ เสมอ โดยคนในชุ ม ชนใช้ ห ลั ก การ“บวร”การมี ส่ ว นร่ ว ม และความเข้มแข็งของชุมชนรวมทั้งชุมชนมีการยกย่องต้นแบบคนดี เป้ า หมายสำคั ญ สู ง สุ ด คื อ การพั ฒ นาแหล่ ง เรี ย นรู้ การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาด้านคัมภีร์ธัมม์ใบลาน ให้เป็นระบบเป็นต้นแบบ ด้ ว ยกระบวนการทางวั ฒ นธรรม และเทคโนโลยี ตามรอยธั ม ม์ ห ลวงปู่ ครูบามหาเถร และมีการเผยแพร่ อบรม ถ่ายทอดองค์ความรูท้ ถี่ กู ต้อง จากคัมภีร์ ใบลาน และจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เพื่อประโยชน์สุขสูงสุดแก่คน ในชุมชนวัดสูงเม่น และผู้ที่สนใจสืบไป 84





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสูงเม่น

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูวิบูลสรภัญ ดร. ตำแหน่ง รองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น/ผู้อำนวยการ สถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น โทรศัพท์ ๐๖ ๑๖๓๔ ๗๙๖๒ ๒. นางกชภรณ์ ขุนกัน ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านสูงเม่น หมู่ที่ ๑ โทรศัพท์ ๐๙ ๗๙๙๖ ๕๕๖๓ ๓. นางกัญญานันท์ ชินสว่างวัฒนากุล ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านสูงเม่น หมู่ที่ ๒ โทรศัพท์ ๐๘ ๘๒๖๗ ๘๙๓๕ ๔. นายศิวดล สุนทรเนติวงศ์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านสูงเม่น หมู่ที่ ๓ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๑๖๐๗ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๑. นางสาวภทรพรรณ นรเดชานันท์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๖ ๒๓๐๘ ๑๔๕๙ ๒. นางสาวพชรพรรณ ผาทอง ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๑๖๐๗

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม (วัดในยาง) อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนหน้าด่าน ใครผ่านไปมา กราบไหว้บูชา พระมหาเจดีย์ เที่ยวหาดในยาง ก้าวย่างเพลินใจ หาดขาวสดใส เห็นนกใหญ่ขึ้นลง อีกทั้งอาหารประจำถิ่น กินได้ทุกท่าน มีมาช้านาน ทานน้ำพริกกะลา หมู่มวลประชา อยู่อย่างพอเพียง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ภูเก็ต ดินแดนสวรรค์แห่งอันดามัน หนึง่ ในจุดหมายปลายทางของการท่องเทีย่ วระดับโลก นอกจากหาดทรายสวย น้ำทะเลใส และเกาะน้อยใหญ่ ที่เป็นเสน่ห์แล้ว จังหวัดภูเก็ตยังมีชุมชนที่น่าสนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม ซึ่งน้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนวิถีชุมชนด้วยพลังบวร โดยชุมชนแห่งนี้จะมีความโดดเด่นในด้านกิจกรรมชุมชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องอบายมุข จากอดีตบ้านในยางเป็นหมูบ่ า้ นเล็กๆ มีความเป็นอยูเ่ รียบง่าย ดำรงชีวติ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีทดี่ งี าม โดยมีวดั มงคลวราราม หรือวัดในยาง วัดเก่าแก่ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจ และยังมีความงดงามของธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะหาดในยาง ที่มีระบบนิเวศน์สมบูรณ์สะอาด เป็นแหล่งวางไข่ของเต่ามะเฟือง ซึ่งชาวบ้านเองก็ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพความพร้อมในพื้นที่ ต่อมาสำนักวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตได้เข้ามาขับเคลื่อนชุมชน โดยเป็นแกนกลางถ่ายทอดไปสูช่ มุ ชนเครือข่าย มีการนำทุนทางวัฒนธรรมทีด่ อี นั เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิน่ มาต่อยอด ส่งเสริมการท่องเทีย่ ว สร้างสินค้าและบริการ จัดตัง้ วิสาหกิจชุมชนจำหน่ายในตลาดนัดพอเพียง และจำหน่ายให้นกั ท่องเทีย่ ว โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมชุมชนคุณธรรม ด้วยการจัดทำตลาดการค้าออนไลน์ คัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น มาประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วโลกได้รู้จัก และสนใจเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวรารามมากขึ้น ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม (วัดในยาง) เป็นชุมชนคุณธรรม ๑ ใน ๑๐๐ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ที่นำร่อง ได้รับรางวัลระดับประเทศ สามารถนำทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และได้มีการต่อยอดส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการนำเอาสินค้าและบริการของชุมชน ตลอดเส้นทาง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จากการมีส่วนร่วมของพลังบวร อาทิ วัดมงคลวราราม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต และเครือข่ายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ได้สนับสนุนกิจกรรมชุมชนเสริมสร้างให้เกิดความรักความสามัคคี ทำหน้าที่เป็นแกนกลางดำเนินงานวัฒนธรรมกับเครือข่าย โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริม การทำตลาดการค้าอิเล็กทรอนิกส์ นำเสนอของดีของชุมชน มีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดประชาสัมพันธ์ ให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 85

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ในสมัยก่อนชุมชนส่วนมากทำประมง ทำสวน ทำไร่ แต่ในปัจจุบันประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว และค้าขาย สำหรับชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวรารามเป็นชุมชนทีม่ คี วามเป็นอยูเ่ รียบง่ายแบบสังคมชนบท คนในชุมชนพึง่ พาอาศัยซึง่ กันและกัน มีความภาคภูมใิ จ ในวิถีของตน ร่วมกันอนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวรารามเป็นต้นแบบ ในการนำทุนทางวัฒนธรรมที่ดีงามเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น นำไปต่อยอดส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน อีกทั้งยังเป็นเจ้าบ้านที่ดี พร้อมต้อนรับผู้มาเยือน และได้ พั ฒ นาแหล่ ง เรีย นรู้ ข องชุ มชน โดยมี ศูน ย์ เรี ย นรู้ เ ศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น แหล่ ง สำคั ญ นำภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น มาพั ฒ นาต่ อ ยอดเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ สิ น ค้ า ทางวัฒนธรรม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ซึง่ ชาวบ้านมีความรักความสามัคคี ช่วยเหลืองานของส่วนรวมเป็นอย่างดี เมื่อมีงานในหมู่บ้าน ชุมชน หรือกิจกรรมของทางวัด ชาวบ้านจะพร้อมใจกัน แต่งกายพื้นเมือง หรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานราชการจัดขึ้น ชาวบ้านในชุมชนได้นำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการใช้ชวี ติ ตามวิถวี ฒั นธรรมท้องถิน่ สืบสานภูมปิ ญั ญาพืน้ บ้าน นอกจากนีช้ าวบ้าน ในชุมชนได้เสียสละเวลา มีจิตอาสาเข้ามาขับเคลื่อนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นพลังของชุมชนที่เข้มแข็ง ขณะเดียวกันภาครัฐ กระทรวงวัฒนธรรมที่ให้การส่งเสริม สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ในกิจกรรมโครงการต่างๆ รวมทั้งส่วนราชการและสถาบันการศึกษาต่างๆ ในท้องถิ่นที่สนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันชุมชนวัดมงคลวราราม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่น่าสนใจ และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสัทธาวราภิยุท ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดมงคลวราราม (วัดในยาง) โทรศัพท์ ๐๘ ๗๘๙๐ ๓๘๖๓ ๒. นางเจียมจิตต์ ศิริสวัสดิ์ ตำแหน่ง ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลสาคู โทรศัพท์ ๐๘ ๘๗๖๘ ๒๔๙๘ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๓๘/๑๙๕ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โทรศัพท์ ๐๗ ๖๒๒ ๓๖๑๗ , ๐๘ ๑๘๗๔ ๘๖๙๖ , ๐๙ ๑๘๒๑ ๓๗๖๒

86

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน โบสถ์โบราณคู่เมือง ลือเลื่องเหรียญหลวงปู่จันดา งามสง่า ร.๕ ทรงม้ามหามงคล ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชาวบ้านในชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ เป็นคนจิตใจโอบอ้อม เอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา มีความรัก ความสามัคคี โดยมีวดั เป็นศูนย์กลาง มีเจ้าอาวาสเป็นศูนย์รวมจิตใจ ไม่มคี ดีทะเลาะวิวาท ความรุนแรงเกิดขึน้ ในชุมชน เป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม ผู้สูงอายุยังคงมีอัตลักษณ์ มีผู้นำทางศาสนาที่เข้มแข็งในการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม ส่งต่อลูกหลานให้สืบทอด มีการทำพืช ผักสวนครัวปลอดสารพิษ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ใช้ในการประกอบอาชีพได้ทั้งปี ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ เป็นชุมชนทีข่ บั เคลือ่ นพัฒนาชุมชนแบบมีสว่ นร่วมของคนในชุมชน ด้วยความร่วมมือของพลังบวร (บ้าน/ชุมชน วัด/ศาสนสถาน โรงเรียน/ราชการ) โดยการนำหลักธรรมทางศาสนา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชน โดยการขับเคลื่อนกิจกรรมผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนตามลำดับ ๙ ขั้น

87

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการจัดงานประเพณีวัฒนธรรม เพราะมีความดั้งเดิมของการตั้งคุ้มเจ้าเมือง มาแต่โบราณ เป็นแหล่งชุมชนที่มีการปลูกปลอดสารพิษ มีต้นค้างคาวอายุ ๑๐๐ ปี และมีพระพุทธรูปศักดิ์ตั้งแต่สมัยโบราณมาเป็น ๑๐๐ กว่าปี แต่เนื่องจาก จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติน้อย และห่างไกลจากแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอื่นๆ และขาดการเชื่อมโยง จึงมีความท้าทาย ในการดึงดูดและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในมิติศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

(๑) คนในชุมชนยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ คนในชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายดำเนินชีวิต ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สืบสานประเพณีของชาวอีสานทั่วไป (ฮีตสิบสอง คองสิบสี่) ยึดหลักการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน (๒) คนในชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต ชุมชนมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาสู่การปฏิบัติ ปลูกผักปลอดสารพิษลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัว (๓) คนในชุมชนสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามคนในชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ สืบสานประเพณีของชาวอีสานทั่วไป (ฮีตสิบสอง คองสิบสี่) เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ ยังมีความงดงามในการรักษาสืบทอดประเพณี การเข้าวัดของชุมชนเมืองอย่าง สม่ำเสมอ (๔) การกระจายข้ อ มู ล ข่ า วสาร คนในชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด ทองนพคุ ณ รั บ รู้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารจากการพบปะพู ด คุ ย รั บ ฟั ง ข่ า วสาร จากการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และยังมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์ผู้นำชุมชนคุณธรรมพลังบวร รวมทั้งเฟซบุ๊กของชุมชนอีกด้วย





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ

เลขที่ ๑๗๕ หมู่ที่ ๒ ถนนวิชิตราษฎร์-บำรุง ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ ๔๔๑๑๐ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระมหาประกิต ฐิตญาโณ โทรศัพท์ ๐๘ ๗๒๑๕ ๓๘๙๑ 88

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดนิคมเกษตร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนสามัคคี วิถีธรรมนำสุข ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดนิคมเกษตร เป็นชุมชนที่ทหารผ่านศึกสองวัฒนธรรมมาอยู่รวมกัน มีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา สืบสานวิถีวัฒนธรรมตามฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ประกอบด้วยประชาชนที่มาจากหลายพื้นที่ โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกได้ขออนุญาตใช้ที่ดินป่าดงหมู ที่ราษฎรบุกรุกทำไร่จนไม่เหลือสภาพป่าแล้วจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้กับ ทหารผ่านศึก ตั้งชื่อว่า “นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกนครพนม” โดยมี พ.ต.สมศักดิ์ ไชยเสริฐ เป็นหัวหน้านิคมคนฯ คนแรก ได้บรรจุสมาชิกทหารผ่านศึก นอกประจำการรุ่นแรกจำนวน ๔๐ ครอบครัว ซึ่งเป็นทหารผ่านศึกที่มีอายุไม่เกิน ๓๐ ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดนครพนม และมุกดาหาร ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ วัดนิคมเกษตร เดิมเป็นที่พักสงฆ์ เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดมุกดาหาร แห่งที่ ๙ เป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลือ่ นด้วยพลังบวร และเป็นศูนย์กลางขับเคลือ่ นชุมชน คุณธรรม โดยให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก จัดกิจกรรม ในวันสำคัญทางศาสนา ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม อีกทั้งมีลานธรรม ลานวิถีไทย ให้เด็กและเยาวชน ได้เข้ามาศึกษาพระธรรม ส่งเสริมให้คนในชุมชนพึง่ พาตนเอง โดยผ่านกิจกรรมโครงการ “ผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง” มีการรวมกลุ่มอาชีพในการทำดอกไม้จันทน์ ทอผ้าลายท้องถิ่น ตัดเย็บเสื้อ ตัดเย็บที่นอน ซึ่งเป็นวิถีของชุมชน มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้าง ผลิตภัณฑ์ชุมชนชาใบหม่อ น เพื่อ จำหน่ ายหารายได้ เข้ าครั ว เรื อ น และเป็ น การอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไป

89

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เดิมประชาชนในชุมชนเป็นคนอพยพจากหลายพื้นที่มาอยู่ร่วมกัน จึงค่อนข้างเก็บตัวไม่กล้า แสดงออก ภูมิทัศน์และอัตลักษณ์ของชุมชนไม่มีการสืบค้นหรือบันทึกข้อมูลประวัติ/ภูมิปัญญาของชุมชน อย่างเป็นระบบขาดศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ หรือแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ของชุมชน ไม่มีผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เป็นอัตลักษณ์ ไม่มีร้านขายของที่ระลึกในชุมชน ขาดการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน การสนับสนุนจาก หน่ ว ยงานภาครั ฐ ไม่ ส ามารถทำได้ เ ต็ ม ที่ เนื่ อ งจากพื้ น ที่ พั ก อาศั ย กั บ ที่ ท ำกิ น อยู่ ค นละเขตการปกครอง (จังหวัดมุกดาหาร-จังหวัดนครพนม) จึงเป็นปัญหาในการรับการสนับสนุนบางโครงการ ในขณะที่ชุมชน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นชุมชนทีอ่ ยูใ่ กล้กบั แม่นำ้ โขง มีอาคารบ้านเรือนเป็นไม้เก่าทีส่ วยงาม แต่ขาด เรือ่ งราวบอกเล่า ต่อมามีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานเข้ามาพัฒนา มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน มีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ และได้เข้าสู่การขับเคลื่อนเป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ๙ ขั้นตอน มีการจัดตั้งคณะกรรมการ กำหนด บทบาทหน้าทีข่ องผูน้ ำ และร่วมกันขับเคลือ่ นชุมชนให้ประสบความสำเร็จเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบในปัจจุบนั





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

การพัฒนาชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน (บวร On Tour) โดยในชุมชน คุณธรรมวัดนิคมเกษตร มีการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ ฐานการเรียนรู้ มีธรรมชาติที่สวยงาม มีวิถีอีสาน วัฒนธรรมชุมชนที่ยังยึดมั่นสืบทอดจนถึงปัจจุบัน มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น สามารถเป็นแหล่ง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม องค์ความรู้ต่างๆ ให้กับชุมชนอื่นหรือ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดนิคมเกษตร

หมู่ที่ ๗ ชื่อบ้านนิคมทหารผ่านศึก หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕ ตำบลดงหมู อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ๔๙๑๕๐ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. นางเกษร สงตลาด ตำแหน่ง กำนันตำบลดงหมูหมู่ที่ ๓ โทรศัพท์ ๐๖ ๓๘๙๒ ๗๐๑๓ ๒. นายธีระชัย เสนาะเสียง ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ โทรศัพท์ ๐๙ ๓๑๐๖ ๙๘๑๑ ๓. นายประสิทธิ์ สุดทาโคตร ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ โทรศัพท์ ๐๘ ๔๔๒๘ ๒๑๒๖ ๔. นางมะณี แย้มชัยภูมิ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ โทรศัพท์ ๐๖ ๑๖๙๒ ๑๔๖๕ ๕. นายยงธนา เขจรลาภ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ โทรศัพท์ ๐๙ ๓๕๕๗ ๓๙๓๖ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

ว่าที่ร้อยตรีหญิง ปาริชาติ ทองพรม ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๘๓๖ 90

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดต่อแพ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ธรรมชาติล้ำค่า พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ถิ่นอาหารปลอดภัย ห่างไกลยาเสพติด วิถีชีวิตพอเพียง วัฒนธรรมยั่งยืน ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนบ้านต่อแพเป็นหนึ่งชุมชนชาวไทใหญ่ที่ยังคงรักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีที่งดงามและยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี ไว้คู่กับชุมชน อย่างเหนียวแน่น ชุมชนสามารถนำต้นทุนด้านแหล่งโบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ นำมาสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้เป็นอย่างดี มีการจัดตัง้ ศูนย์เรียนรูก้ ารต้องลาย เป็นปานซอยลายแบบศิลปะไทใหญ่ผสมพม่า มีรา้ นค้าผลิตภัณฑ์ชมุ ชน OTOP นวัตวิถ ี เพือ่ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ซึง่ เป็นฝีมอื ของสมาชิกในชุมชนไว้จำหน่าย เช่น กุป๊ ไต เครือ่ งจักสานหลากหลายแบบ เสือ้ ผ้าชุดไทใหญ่ทงั้ ของผูช้ ายและผูห้ ญิง รวมถึงเฟอร์นเิ จอร์ของใช้ในบ้าน ที่ทำจากไม้ไผ่ ชุมชนบ้านต่อแพยังมีปูชนียสถานที่สำคัญ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับคนในชุมชนคือ วัดต่อแพซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ มีศาลาการเปรียญ อาคารสถาปัตยกรรมพม่าผสมไทใหญ่ทสี่ วยงามและยังมีสภาพสมบูรณ์ ก่อสร้างด้วยไม้สกั ทัง้ หลัง ภายในวัดต่อแพมีวตั ถุโบราณล้ำค่าหลายชิน้ เช่น ผ้าม่านเก่าแก่อายุกว่า ๑๕๐ ปี ตู้พระธรรมซึ่งนำมาจากเมืองมะละแหม่ง ธรรมาสน์สร้างใน พ.ศ. ๒๔๖๔ พระพุทธรูปล้ำค่าอีกหลายองค์ นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ยังได้รับการส่งเสริมให้รักษาและสืบสานความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยโรงเรียนชุมชนบ้านต่อแพได้สนับสนุน ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านการแสดงศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เช่น การรำนก รำโต เป็นต้น

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ จากสถานการณ์ ข้ า งต้ น ทำให้ ชุ ม ชนได้ ห ารื อ ร่ ว มกั น โดยน้ อ มเอาหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาปรั บ ใช้ ป รั บ ใช้ ใ นชุ ม ชน โดยประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนคุณธรรมฯ พลัง บวร ต่อแพ พืน้ เพเป็นเกษตรกรทีม่ กี ารเป็นอยูอ่ ย่างพอเพียง มีการปลูกพืชผักสวนครัวรัว้ กินได้มอี าหารปลอดภัย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ใช้สิ่งของที่จำเป็น และได้ข้อสรุปด้วยกันว่าจะนำทุนของชุมชนที่มี คือ กิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัตศิ าสตร์ชมุ ชน และทรัพยากรธรรมชาติสงิ่ แวดล้อมทีช่ มุ ชน มาพัฒนาต่อยอด ให้สมาชิกในชุมชนได้มสี ว่ นร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และใช้พลังบวร ในการขับเคลื่อน มีผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนมีส่วนร่วม มีวัดต่อแพเป็นลานกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และความสามัคคี ในชุ ม ชน ส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ การพั ฒ นาและสร้ า งความยั่ ง ยื น ด้ ว ยโรงเรี ย นและส่ ว นราชการในพื้ น ที่ ภายใต้ ค วามพอประมาณ ใช้ ท รั พ ยากรที่ ชุ ม ชน มีอย่างรู้คุณค่า มีเหตุผลในการดำเนินกิจกรรม มีภูมิคุ้มกันให้ชุมชนและสังคมด้วยความรู้ที่ถูกต้อง และดีงาม 91

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินการพัฒนาชุมชนด้วยการน้อมนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ทำให้ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ขึ้น เช่น ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ มีผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ชุมชนมีข้อจำกัดด้านการตลาดภายนอก และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดที่ได้เห็นศักยภาพของชุมชน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

เกิดความรักใคร่สามัคคีในชุมชน ไม่ฟุ่มเฟือย มีการออมทรัพย์ ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการดูแลรักษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รับการรักษา สืบทอด พัฒนาต่อยอดเป็นรายได้เสริมให้คนในชุมชนได้ คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนร่วมกัน คนในชุมชน ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงาม ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันทั้งหมู่บ้าน ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามและมีมารยาท เข้าร่วมทำกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อวัด โรงเรียน หมู่บ้าน เช่น ปรับภูมิทัศน์ในหมู่บ้าน กิจกรรมปลูกป่าและจิตอาสาป้องกันไฟป่า การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆ ส่งเสริม ให้เด็กและเยาวชนมีสว่ นร่วมในการสืบสานประเพณีทอ้ งถิน่ ชุมชนตัง้ เป้าหมายทีจ่ ะเดินต่อ คือ ช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้ยงั่ ยืน ส่งเสริมการดำเนินชีวติ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครบทุกครัวเรือน รักษาสิ่งดีงาม พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังบวร





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดต่อแพ

๙/๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูอนุกูลกัลยาณพจน์ ตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาสวัดต่อแพ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๖๕ ๙๒๗๐ ๒. นายชัยเดช สุทินกรณ์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านต่อแพ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๘๐ ๗๗๔๓

92

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านคอกช้าง อำเภอธารโต จังหวัดยะลา



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนคำหลากหลายวัฒนธรรม ศักยภาพเข้มแข็ง สามัคคี กองทุนดี มีทรัพยากรสมบูรณ์ ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนบ้านคอกช้าง ในอดีตคือชาวบ้านโตที่ได้อพยพจากพื้นที่เดิม ซึ่งทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อสร้าง เขื่อนพลังน้ำ คือ เขือ่ นบางลาง เริม่ ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ชาวบ้านคอกช้างหรือชาวบ้านโต ได้อพยพมาอยูท่ ขี่ องทางไฟฟ้าฯ จัดสรรไว้ให้คอื บ้านคอกช้าง ในปัจจุบัน บางส่วนได้แยกย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านสันติ ๒ บ้านวังไทร บ้านละหาด ในอดีตบริเวณบ้านคอกช้างเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้างป่า ควาญช้างจึงทำการคล้องช้างและทำคอกบริเวณสนามโรงเรียนบ้านโตในปัจจุบนั จึงตัง้ ชือ่ หมูบ่ า้ นตามคำเรียกขานของชาวบ้านว่า “คอกช้าง” เป็นชุมชนที่ใช้วัดคอกช้างเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ ศูนย์รวมชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเข้าวัดในวันเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ และประเพณีต่างๆ ทางศาสนา เป็นต้น แต่ที่สำคัญ นอกจากเป็นศูนย์รวมจิตใจแล้ว วัดคอกช้างยังมีความสำคัญเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณี โดยใช้พลัง “บวร” เป็นตัวขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนจนได้รับการยกย่อง เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ สิ่ ง ที่ ส่ ง ผลให้ ชุ ม ชนประสบความสำเร็ จ เกิ ด จากทุ ก ฝ่ า ยร่ ว มมื อ กั น ในการขับเคลือ่ นชุมชน โดยการใช้พลังบวร ประกอบกับต้นทุนทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ ภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิน่ แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน วัดคอกช้างซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ส่ ง ผลให้ ค นในชุ ม ชนร่ ว มกั น ในการพั ฒ นาชุ ม ชนสู่ ชุ ม ชนต้ น แบบ นำทุ น ทางวั ฒ นธรรม วิ ถี ชี วิ ต ภูมิปัญญา ของดีของชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทำให้เกิดเอกลักษณ์และความเป็น ตัวตนของคนในชุมชน พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นำไปพัฒนาชุมชนของตนเอง ปัจจุบันมีการก่อตั้ง กลุ่มอาชีพ สร้างรายได้ บริหารจัดการกลุม่ ของตนได้อย่างชัดเจน สามารถนำผลงาน กิจกรรมของกลุม่ เสนอผลงาน และการแสดงต่างๆ สู่ชุมชนภายในให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาชุมชน และพร้อมที่จะ ต้อนรับให้คนในชุมชนอื่นเข้ามาศึกษาดูงาน

93

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ความท้าทายของการขับเคลื่อนชุมชนคือ การเป็นชุมชนสามัคคีบนวิถีพหุวัฒนธรรมที่แตกต่างความร่วมมือกันของคนในชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ การเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะ การประกอบอาชีพและเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ โดยยึดแนวทางตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของคนในชุมชนการสร้างความเข้มแข็งของ “บวร” เพือ่ ความมัน่ คง มัง่ คัง่ ยัง่ ยืน การดำรงตน ตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมบ้านคอกช้าง มีผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ร่วมสร้างความปลอดภัย และความรักความสามัคคีทำให้ชุมชนเข้มแข็ง อย่างมีความสุข มีวัฒนธรรม ประเพณีระหว่างต่างศาสนา ไทยพุทธ ไทยมุสลิม ร่วมกันอย่างสงบสุข สามารถร่วมกิจกรรมซึ่งกันและกันได้ ผู้นำชุมชนสามารถประสานงาน และอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกัน อย่างเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีต้นทุน และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนอย่างชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน สามารถสร้างภูมิปัญญา ท้องถิน่ ของตนเองให้ปรากฏ มากยิง่ ขึน้ ในปัจจุบนั ส่งเสริมให้วดั /ศาสนสถานเป็นศูนย์รวมในการเรียนรู้ คู่คุณธรรม ศูนย์รวมการทำกิจกรรมต่าง การพัฒนาสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน การสืบสานวิถวี ฒ ั นธรรมประเพณีทสี่ ำคัญของชุมชน โดยใช้พลังบวร พลังประชารัฐ และการสนับสนุน ส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ รายได้ ให้มีคนในชุมชนเป็น “คนดี อยู่ดี มีสุข” และขยายผลชุมชนคุณธรรมต้นแบบสู่ชุมชนอื่นต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมบ้านคอกช้าง

เลขที่ ๑๒ ถนนเทศบาล ๗ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ)

นายสุวรรณ ขุนอินทร์ โทรศัพท์ ๐๘ ๔๙๖๔ ๗๖๔๖ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๑. นางสาวอารีตา เบ็ญอารีฟนี ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบตั กิ าร โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๙๗๐๕ ๒. ว่าที่ร้อยตรีหญิงนลินี ไชยเซ้ง ตำแหน่ง อาสาสมัครวัฒนธรรมประจำอำเภอธารโต

94

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดฟ้าห่วนใต้ อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ เลื่องลือบั้งไฟโบราณ สะพานโค้งงามเด่น เน้นวัฒนธรรมนำวิถี อุดมดีป่าชุมชน ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดฟ้าห่วนใต้ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร เป็นชุมชนที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมที่ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนอาจมีปัญหาบ้างแต่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากคนในชุมชน เคารพกฎกติกาของชุมชน มีการปกครองกันแบบเครือญาติ มีวัดฟ้าห่วนใต้ เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน ในการจัดกิจกรรม ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดฟ้าห่วนใต้ เป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ คนในชุมชนมีส่วนร่วมแสดงเจตนารมณ์ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมในชุมชน ยึดมัน่ และปฏิบตั ติ ามหลักธรรมทางศาสนา โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ และวิถวี ฒ ั นธรรมไทยทีด่ งี าม มาเป็นหลัก ในการดำรงชีวิต โดยในการพัฒนาชุมชนคุณธรรม ใช้หลักพลัง บวร เป็นแกนนำสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนและสังคมคุณธรรม โดยมีเป้าหมาย คือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการพัฒนา และชุมชนแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งประชนชนในชุมชนคาดหวังให้เกิดผลสำเร็จของกระบวนการพัฒนา ชุมชนโดยใช้กลไกพลังบวร

95

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม กระแสสังคม วิถชี วี ติ ของคนในชุมชนทีเ่ ปลีย่ นไปตามยุคสมัย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในชุมชน เช่น ปัญหาการพนัน อบายมุข เป็นต้นแก้ไขโดยการสร้างการมีส่วนร่วมในกิ จ กรรมต่ างๆ ของชุ มชน น้ อ มนำ หลักคำสอนพระพุทธศาสนา มาประพฤติปฏิบัติตน ลด ละ เลิก อบายมุข นำลูกหลานและ ครอบครัว ห่างไกลจากสุรา และยาเสพติด เพื่อลดปัญหาของชุมชนสร้างชุมชนที่น่าอยู่มี ความสงบสุขใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อบรม ขัดเกลา ปลูกจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน ในชุมชน ได้ปฏิบัติตามจารีต ประเพณี ศีลธรรม ส่งผลให้คนในชุมชนปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบ ข้อตกลงของชุมชน ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ในชุมชนลดลง





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุ ม ชนมี วั ด ฟ้ า ห่ ว นใต้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง ที่ ยึ ด เหนี่ ย วจิ ต ใจของคนในชุ ม ชน ทำให้เกิดคุณธรรม ยึดมั่น ในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และคนในชุมชนได้มี การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศาสตร์พระราชา) ปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ให้ลูกหลาน คนรุ่นหลังได้อนุรักษ์ ให้คงอยู่คู่กับชุมชนสืบไป ชุมชนคุณธรรมวัดฟ้าห่วนใต้ ขับเคลื่อนชุมชน ด้ ว ยพลั ง “บวร” เป็ น กลไกสำคั ญ ในการร่ ว มสร้ า งสั ง คมคุ ณ ธรรมให้ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งยั่ ง ยื น ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงาน ๔ ยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้ ๑) สร้างค่านิยมและจิตสำนึกคุณธรรมจริยธรรมภายใต้หลักธรรมทางศาสนา ๒) น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาคุณภาพชีวิต ๓) นำทุ น ทางวั ฒ นธรรมเสริ ม สร้ า งคุ ณ ค่ า ทางสั ง คมและมู ล ค่ า เพิ่ ม ทาง เศรษฐกิจแก่ชุมชน ๔) การขยายผลและการพัฒนาเครือข่ายชุมชนคุณธรรม





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดฟ้าห่วนใต้ หมู่ที่ ๑ ตำบลฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระอธิการสะกิฏ วิสิฏฺโฐ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดฟ้าห่วนใต้ 96

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หลวงพ่อใหญ่ชัยมงคลเรืองนาม งดงามประเพณีวัฒนธรรม ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดหนองใหญ่ เป็นชุมชนที่มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อใหญ่ชัยมงคล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่ประดิษฐาน อยู่ในอุโบสถวัดหนองใหญ่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านหนองใหญ่และอำเภอใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธา ประวัติหลวงพ่อใหญ่ชัยมงคล พระประธานประจำอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๓๐ เมตร ไม่ทราบอายุการสร้าง (จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเล่าสืบกันมาว่า เดิมเป็นป่าทึบมีพรานเข้ามาล่าสัตว์เห็นเนินดินสูงและมีเถาวัลย์ปกคลุมเลยปีนขึ้นดู แล้วเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่บนฐาน มีซากอิฐกองทับถมกันอยู่ สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถเก่า อยู่นานต่อมาชาวบ้านจึงย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนและบูรณะเป็นวัดขึ้น) และมีงาน ประจำปี คือ ประเพณีบุญสรงกู่ (สรงน้ำพระประธาน) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ถือว่าเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนคุณธรรมวัดหนองใหญ่ที่ทุกคน จะมีส่วนร่วมในประเพณีนี้ทุกครอบครัว อีกทั้งเป็นการสร้างความสามัคคีในชุมชนและรักษาประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่กับชุมชนต่อไป ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ความสำเร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เริ่ ม ต้ น มาจากการที่ ทุ ก ภาคส่ ว นโดยผ่ า น กระบวนการพลังบวร ไม่ว่าจะเป็นทางชุมชน วัดและส่วนราชการ ในการเกื้อหนุนกัน และร่วมลงมือปฏิบัติช่วยกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการให้ประสบความสำเร็จ โดยมีจดุ ประสงค์รว่ มกันคือร่วมกันพัฒนาชุมชนให้มคี วามมัน่ คง คือ มีความมัน่ คงในชีวติ และ ทรัพย์สินโดยปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มีความมั่งคั่ง คือ มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นมีการร่วมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและมีความยั่งยืน ในการทีจ่ ะร่วมกันพัฒนาให้ชมุ ชนมีความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

97

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

โดยทั่วไปการเริ่มต้นทำอะไรก็ตามย่อมต้องมีปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน โครงการชุมชนคุณธรรมก็เช่นกันย่อมต้องมีปัญหาและอุปสรรค ชุมชนบ้านหนองใหญ่เป็นชุมชนเกษตรกรรมมีการทำนาและปลูกยาสูบเตอร์กีส ทำให้การทำกิจกรรมมีข้อจำกัดบ้างในบ้างครั้ง และมีข้อสงสัยว่าเป็นโครงการ เกี่ยวกับอะไร และทำแล้วได้อะไร การที่จะก้าวข้ามปัญหาคือการประชุมพูดคุยเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมรวมทั้งมีข้อสงสัยก็ตั้งประเด็นสอบถาม ในที่ประชุมได้ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้านถึงโครงการชุมชนคุณธรรมที่ชุมชนเข้าร่วมนั้นเป็นโครงการที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ ของชุมชน และเมื่อทำแล้วชุมชนเป็นผู้ได้รับประโยชน์ รวมถึงมีการไปศึกษาดูงานจากชุมชนอื่นที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ เพื่อนำมาปรับและพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการที่จะพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ร่วมกันรักษาและสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น และจัดตั้งโรงเรียน ผู้สูงอายุขึ้นในชุมชนคุณธรรมวัดหนองใหญ่ เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม ทำให้สุขภาพกายและใจดี ทำให้เกิดสุขภาพทางปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้งานฝีมือ ทั้งก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้สูงอายุโดยการจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมทั้งมีการพัฒนาทางด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชน ก่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตต่อไป





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดหนองใหญ่

เลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๐ วัดหนองใหญ่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ ๔๕๐๐๐ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระครูโกศลบวรกิจ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหนองใหญ่/เจ้าคณะอำเภอศรีสมเด็จ โทรศัพท์ ๐๘ ๗๒๒๒ ๓๑๒๘

98

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ถิ่นสามวัฒนธรรม เลิศล้ำประเพณี หลวงพ่อดีบุกเป็นศรี มากมีภูมิปัญญา แหล่งสินค้าโอท็อป ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ในเบื้องต้น ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาวเป็นชุมชนสามวัฒนธรรมที่มีความเข้มแข็ง ทั้งไทยพุทธ มุสลิม และคนจีนที่อพยพมาประกอบ อาชีพในชุมชนบ้านหงาว มีสิ่งแวดล้อมที่มีความสมบูรณ์ และมีวัดบ้านหงาวที่ผู้นำศาสนาส่งเสริมให้เกิดความโดดเด่นด้านศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี คนในชุมชนก็มากมีภูมิปัญญา ไม่ค่อยมีหน่วยงาน ส่วนราชการต่างๆ เข้าไปดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ ช่วงหลังเมื่อมีโครงการของกระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาหลาย โครงการ รวมทั้งโครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร เข้ามาส่งเสริม สนับสนุน ก็มีการประชุมร่วมกับชุมชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องบ่อยมากขึ้น มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกับทุกภาคส่วนในชุมชน มีการบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และมีการดำเนินการ ขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม ๙ ขั้นตอน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ นำหลักการ “บวร” มาสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีการบูรณาการ ของส่ ว นราชการในการดำเนิ น กิ จ กรรมในพื้ น ที่ และวั ด /ศาสนสถานเป็ น ศู น ย์ ก ลาง โดยการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเกิดแนวร่วมในการกำหนดแนวทาง ของชุมชน กำหนดผู้รับผิดชอบ ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับทำให้การจัดกิจกรรมในชุมชน เกิดการยอมรับ มีการสร้างความสามัคคีของประชาชนในชุมชน ส่วนโครงการชุมชนคุณ ธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลือ่ นด้วยพลังบวร ของชุมชนคุณธรรม เป้าหมาย ผู้นำชุมชนได้สร้างการรับรู้ให้กับชุมชนในการเข้าร่วมเป็นชุมชนคุณธรรม รวมถึง กำหนดเจตนารมณ์ร่วมกันในการสร้างชุมชนคุณธรรม โดยการปฏิบัติตนตามหลักธรรม ทางศาสนา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการดำเนินวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชน

99

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

๑) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ทำให้การ พัฒนาต่อยอด หรือดำเนินการต่างๆ ในพื้นที่ไม่สามารถดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้บรรลุ ตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ได้ กิจกรรมบางอย่างจึงจำเป็นต้องเลื่อนหรือปรับเปลี่ยนไป ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรการการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุขและประกาศ คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดระนอง ๒) การนำนโยบายของส่วนราชการลงพื้นที่ชุมชนมีความซ้ำซ้อน ๓) ปัญหารายได้/เศรษฐกิจ ของประชาชนในชุมชนที่ต้องประกอบอาชีพ ทั้งในและนอกพื้นที่ ๔) การดำเนินงานร่วมกับชุมชน ต้องมีการปฏิบัติตามแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาอย่างจริงจัง ให้เกิดการระเบิดจากข้างในเป็นสิ่งสำคัญ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องดำเนินจัดกิจกรรมในชุมชน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว คนในชุมชนเป็นคนดี มีคุณธรรม ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สวยงามเหมาะในการพัฒนา ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม ด้านต่างๆ ได้อย่างสะดวก มีสถานการณ์รอบข้าง และคนในชุมชนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ ส่งผลให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทั้งผู้นำ ประชาชน มีความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจทีจ่ ะร่วมกันพัฒนาชุมชุน เปิด “ถนนคนเดิน สายวัฒนธรรม” เชือ่ มโยงกับภูเขาหญ้า และตลาดชุมชนหงาว โดยใช้เกิดจากตัวชุมชนเอง ให้ทกุ คน เกิดความรัก ความหวงแหนชุมชนของตน มีการขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้ ในชุมชนมาพัฒนาต่อยอดร่วมกับคนรุ่นใหม่ให้สามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้ สร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาให้เกิดขึ้นทุกครัวเรือน เมื่อชุมชนมีความพร้อม ร่ ว มกั น จั ด “ถนนคนเดิ น สายวั ฒ นธรรม” สามารถสร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ ครอบครัวชุมชนอย่างมั่นคง





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายธรณิช อิ้วตกส้าน ตำแหน่ง กำนันตำบลหงาว/ประธานชุมชนคุณธรรม วัดบ้านหงาว โทรศัพท์ ๐๘ ๕๗๘๙ ๔๐๘๐ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางจุฑารัตน์ แพวงษ์จีน ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๓๑ ๗๘๔๖ 100

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ดินแดนเก่า ครั้งก่อน หลายร้อยปี แว่นแคว้นนี้ มีหลักเมือง ปกป้องภัย วีรกษัตริย์ ชุมชนทัพ เพื่อนำชัย ศูนย์รวมใจ หลวงพ่อวงค์ หลวงพ่อดิ่ง วัดบ้านค่าย ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุนชนคุณธรรมวัดบ้านค่าย เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวร่วมกันทำความดี ด้วยจิตอาสา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ปรารถนาดีต่อกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความสำคัญแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มุ่งหวังให้ชุมชนแห่งนี้เป็นต้นแบบของ การทำความดีเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ภายใต้ศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา มีวัดบ้านค่ายเป็นศูนย์รวมจิตใจ แหล่งเรียนรู้บ่มเพาะ ด้านคุณธรรมจริยธรรม การจัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมที่มีการเชื่อมร้อยระหว่างสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์อย่างเข้มแข็ง ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ “ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด บ้ า นค่ า ย เราใช้ ธ รรม เป็ น สื่ อ กลาง ในการดำเนินชีวติ ดัง่ ทีไ่ ด้มกี ารแบ่งฝ่ายในการทำกิจกรรมตลอดทัง้ ปี เราเน้นการระเบิด จากข้างในตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ เราต้องรูจ้ กั ตัวตนของเรากันเองก่อน หากเราทำกิจกรรมต่างๆ แล้วซึ่งหากเราไม่รู้จักตัวเอง ว่ามีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์อะไร กิจกรรมต่างๆ นั้นคงจะไม่บรรลุผล” พระครูพิพัฒน์ชยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ้านค่าย ความสำเร็จ เริ่มต้นจากการพูดคุยกันของคนในชุ มชนในรู ปของกรรมการหมู่บ้ าน กรรมการชุมชน และการนำเสนอด้านเวทีชุมชนของกรรมการวัดบ้านค่าย โดยทุกครั้ง จะต้องเชิญโรงเรียนวัดบ้านค่าย เข้าร่วมการประชุม พอได้มีการประชุมกันบ่อยครั้ง ในแต่ละเดือนทำให้เกิดความคุ้นเคย หากมีการประชุมทั้งในส่วนของหมู่บ้านจะต้อง เชิ ญ กรรมการวั ด ประชุ ม หากโรงเรี ย นวั ด บ้ า นค่ า ยประชุ ม ก็ จ ะเชิ ญ หมู่ บ้ า นและ ทางวัดบ้านค่าย เข้าประชุมด้วย

101

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ของชุมชน คือ การเปิดเวทีการพูดคุยทำความเข้าใจกัน ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านค่ายจะมีการประชุมบ่อยครั้ง ซึง่ ในการทำกิจกรรมทุกเรือ่ งจะมีการประชุมวางแผนก่อนทำงาน ประชุมติดตามความคืบหน้าปัญหาอุปสรรค หลังเสร็จงานประชุมสรุปผลการดำเนินงาน และปลายปี ประชุมสรุปผลในภาพรวมตลอดทั้งปีเพื่อกำหนดแผนงานปีต่อไปพร้อมทั้งจัดงานประจำปีนำเสนอผลการดำเนินงานของกรรมการแต่ฝ่าย





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือในระยะตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน คุณธรรมที่โดดเด่นของชุมชน คือ ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและด้านวินัย ดังจะเห็นได้ว่าปัญหาเชิงสถิติจาก สภ.บ้านค่าย จากมากลดลงเหลือน้อยหรือไม่มีเลยในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านค่อนข้าง จะดีมากโดยเฉพาะมีผู้ติดเชื้อโควิค-19 ในหมู่บ้าน หรือเป็นผู้กักกันตนในหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านไม่เคยรังเกียจมีแต่คอยให้กำลังใจกัน ได้รับการคัดเลือก จาก สภ.บ้านค่าย ทำโครงการชุมชนยั่งยืน หรือ หมู่บ้านสีขาวปลอดยาเสพติด ซึ่งมีทั้งหมด ๗ คุ้มบ้าน ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ผู้เสพยาเสพติดยินยอม เข้าโครงการ พ่อแม่ผู้ปกครองยินยอมในโครงการซึ่งไม่มีการประจานกัน มีแต่ให้โอกาสกับผู้เสพยาเสพติด หลักประกันสำคัญว่ากิจกรรมจะเกิดความยิ่งยืนได้ คือ การใช้พลังบวรในการพัฒนาหมู่บ้าน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดบ้านค่าย

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูพิพัฒน์ชยาภรณ์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบ้านค่ายและเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๔๙ ๓๖๗๔ ๒. นายทวีพงษ์ วิทยาคุณ ตำแหน่ง กำนันตำบลบ้านค่าย โทรศัพท์ ๐๘ ๗๙๑๑ ๐๙๓๕ 102

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ขึ้นดอยไหว้รอยพระพุทธบาท สานศาสตร์พระราชา รักษาวิถีไท-ยวน ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนองเป็นชุมชนทีป่ ระชาชนส่วนใหญ่สบื เชือ้ สายไท-ยวน ทีบ่ รรพบุรษุ อพยพย้ายถิน่ ฐานมาจากทางตอนเหนือของไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ทำให้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง เช่น สำเนียงภาษาพูดคล้ายภาคเหนือ การแต่งกาย การทอผ้าจก อาหาร ชาติพันธุ์ ในชุมชนมีประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ได้แก่ ประเพณีบุญเดือน ๓ ตักบาตรเทโว การเทศน์มหาชาติ เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีรอย พระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา เป็นที่เคารพสักการะของชาวชุมชนและเป็นจุดชมวิว ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในศาลาการเปรียญ และมีตลาดชุมชน “ต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนอง” เปิดขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน พืชผัก อาหารพื้นถิ่น ผ้าทอผ้าจก เปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ให้นักท่องเที่ยวจับจ่ายสินค้า ได้เข้ามาเรียนรู้ สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามแบบวิถีไท-ยวน ราชบุรี ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ความสำเร็จของชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง คือการใช้ “พลังบวร” ขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนให้มีความสามัคคี มีน้ำใจ พอเพียงและอนุรักษ์ วิถีวัฒนธรรมไท-ยวน มีผลทำให้ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง มีความสงบสุข ประชาชาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ปัญหาต่างๆ ในชุมชนลดน้อยลง เกิดสิ่งดีงาม ในชุมชนมากขึน้ ประชาชนในชุมชนมีความสามัคคี รักใคร่ปรองดองกัน เมือ่ จะดำเนินกิจกรรมอะไร ชาวบ้าน โรงเรียน ผูน้ ำชุมชน เจ้าอาวาสวัด ก็จะมาช่วยกัน ร่วมคิดร่วมดำเนินงาน ร่วมแก้ปัญหา ร่วมปฏิบัติ มีการพูดคุย แบ่งงาน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ให้งานกิจกิจกรรม หรือโครงการนั้นๆ ประสบผลสำเร็จไป ด้วยดี เช่น การจัดงานประเพณีบุญเดือน ๓ การจัดงานเทศน์มหาชาติ การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น

103

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง เป็นชุมชนแบบสังคมชนบท กระบวนการจัดการชุมชนในการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ จะมีประธานชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง คือ พระครูวินัยธรอำนาจ อนุภทฺโท เจ้าอาวาส วัดนาหนอง เป็นผู้นำร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมมือกับผู้นำชุมชน ทั้งผู้นำที่เป็นทางการ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผูบ้ ริหารสถานศึกษา และผูน้ ำทางธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน รวมกันบริหารจัดการ ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จัดภายในชุมชน เมื่อมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นก็จะร่วมกันแก้ไข หรือขอคำปรึกษา จากภาคส่วนราชการ ภายนอก ที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลดลง หมดไป และหากไม่ สามารถแก้ไขได้ทันแล้ว ก็จะนำปัญหานั้นๆ ไปพูดคุยร่วมกัน ใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินงานกิจกรรม ในโอกาสต่อไป เพือ่ ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หรือปัญหาเดิมๆ อีก เช่น การเปิดต๋าหลาดไท-ยวน จะมีการพูดคุย กันในช่วงเย็นวันเสาร์ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ รับฟังความคิดเห็นของชุมชน และช่วยกันคิดหาทางแก้ไข





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด นาหนอง มี พ ฤติ ก รรมที่ ดี ม ากขึ้ น ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากการที่ ค น ในชุมชน เด็กนักเรียน เข้ามาร่วมกันเป็นจิตอาสาพัฒนาวัด พัฒนาต๋าหลาดไท-ยวน ร่วมกันทำแปลงปลูกผัก ทำโรงปลูกเห็ด มีน้ำใจต่อกัน มีความภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมไท-ยวน ร่วมกันแต่งกายตามอัตลักษณ์ ตนเอง ร่วมกันสืบสานงานประเพณีท้องถิ่น คนในชุมชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ รู้จักแบ่งปันกัน เห็นได้จากการให้การช่วยเหลือจุนเจือแก่ผู้เดือดร้อนในสถานการณ์ต่างๆ และมีความเคารพซึ่งกันและกัน เมือ่ มีความคิดเห็นทีไ่ ม่ตรงกัน ก็จะหาข้อสรุปร่วมกัน เด็กก็รบั ฟังผูส้ งู อายุ มีความกตัญญูตอ่ ปูย่ าตายาย อยูร่ ว่ มกัน ในครอบครัวอย่างสงบสุข เป้าหมายที่จะเดินต่อในอนาคต คือ การเป็นชุมชนสืบสานวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวติ เพือ่ ชุมชนเข็มแข็งอย่างยัง่ ยืน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูวินัยธรอำนาจ อนุภฺทโท ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดนาหนอง/ประธานชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง โทรศัพท์ ๐๘ ๑๑๙๘ ๖๔๘๖ ๒. นางสาวนิภา มณีจันทร์ ตำแหน่ง ประธานต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนอง โทรศัพท์ ๐๘ ๗๙๑๗ ๔๗๓๔ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางศรีไพร รอดจิตต์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๗๑๖๒ ๔๔๐๙ 104

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านวัดญาณเสน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ สืบสานภูมิปัญญา รู้คุณค่าวัฒนธรรม เลื่องชื่อแหล่งท่องเที่ยวและเกษตรกรรม เข้มแข็งนำชุมชนพัฒนา ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น เดิมชุมชนยังไม่มคี วามรู ้ ความเข้าใจ และยังไม่เห็นคุณค่าเกีย่ วกับสภาพแวดล้อมรอบบ้าน โดยเฉพาะการจัดการขยะ ทำให้สภาพแวดล้อมไม่ดี เช่น เกิดน้ำขังทำให้มีลูกน้ำยุงลาย ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ในชุมชนยังไม่มีส่วนร่วม ไม่มีการรวมกลุ่มกัน ทำให้เกิดการรวมพลังของทุกภาคส่วนหรือพลัง “บวร” ทัง้ หน่วยงานภาครัฐ และประชาชน ร่วมกันจัดการสภาพแวดล้อมโดยใช้ชอื่ ทีมว่า โก่งธนูพลัง “บวร” Change For Good ร่วมกันทำตำบลโก่งธนูให้ดขี นึ้ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น โดยใช้หลัก “คุณทำ” และหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เข้ามาช่วยทุกเรื่อง มีการมาพูดคุยปรึกษา หารือกัน ย้อนไปในอดีต ภาครัฐทำให้ชุมชนเข้าใจว่า ชุมชนเข้ามาทำอะไร โดยการนำจุดแข็งของชุมชนที่มีอยู่ มาส่งเสริม พัฒนาต่อยอด เช่น ด้านการจักสาน ดนตรีไทย และเกษตรกรรม เราต้องนำสิ่งที่เป็นจุดแข็งของชุมชนมาต่อยอด สืบสานภูมิปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนรุ่นต่อไป ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมบ้ า นวั ด ญาณเสนเข้ า ร่ ว มโครงการพระราชดำริ ข อง สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า สยามบรมราชกุมารี โครงการ “บ้านนีม้ รี กั ปลูกผักกินเอง” ของศูนย์พฒ ั นา พันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา โดยปลูกผักกินเองทุกหลังคาเรือน ต่อเนื่องทุกวันมายาวนาน กว่า ๖ ปี จนสามารถขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยร่วมมือกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สูแ่ ผนปฏิบตั กิ าร ๙๐ วัน ปลูกพืชผักสวนครัว เพือ่ สร้างความมัน่ คง ทางอาหาร อีกทัง้ เสริมสร้างรายได้และความรัก ความสามัคคี ความเกือ้ กูลของคนในชุมชนอย่างต่อเนือ่ ง ระยะที่ ๒ สร้างวัฒนธรรมปลูกผักประจำครัวเรือน เชิญชวนให้ผู้นำชุมชน (อาสาสมัครท้องถิ่น รั ก ษ์ โ ลก อาสาสมั ค รพั ฒ นาชุ ม ชน คณะกรรมการพั ฒ นาสตรี ห มู่ บ้ า น ผู้ น ำท้ อ งที่ ท้ อ งถิ่ น ฯลฯ) กลุ่ม องค์กร เครือข่าย รวมถึงส่งเสริมให้ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน บูรณาการร่วมกัน เป็นต้นแบบ การปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหารสร้างวิถีพอเพียงเพื่อความสุขอย่างสมบูรณ์ ยั่งยืน 105

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ประชาชนไม่มคี วามรู้ความเข้าในการพัฒนา ทีมงานพลัง “บวร” จึงลงพื้นที่ นำเอาสิ่งที่มีในชุมชน สิ่งที่ประชาชนถนัด เช่น การจักสาน ดนตรีไทย และเกษตรกรรม มาส่งเสริม และพัฒนาต่อยอดให้ประชาชน และยังสืบสานด้วยการส่งต่อให้รนุ่ ลูกรุน่ หลาน เยาวชน ได้จกั สานเป็น เล่นดนตรีไทยได้ นำเวลาว่างที่มี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จนชาวบ้านเข้าใจและร่วมกันพัฒนาชุมชนให้ไปในทางที่ดีขึ้น เสริมสร้างผู้นำชุมชน ความเข็มแข็งของชุมชนในระดับต่างๆ ให้ผู้นำชุมชน มีความรูค้ คู่ ณ ุ ธรรม สามารถบริหารจัดการชุมชนของตนเองเป็นกำลังหลักในการขับเคลือ่ นงานอย่างต่อเนือ่ ง นำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงทีด่ ี สร้างชุมชนเข้มแข็งและ พึ่งตนเองได้ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสนร่วมกับภาครัฐ ผูน้ ำท้องถิน่ ท้องที ่ ด้วยพลัง “บวร” พัฒนาชุมชนให้ดขี นึ้ และยังคงดำเนินการต่อเนือ่ งมาจนถึงปัจจุบนั ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณของรัฐ มีตลาดเป็นของตนเอง สามารถผลิตและนำไปขายได้ ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการอยู่ ด้ ว ยตนเองอย่างมีความสุข อีกทั้ง มีการบริห ารจัดการขยะแบบครบวงจรด้วยการใช้ขยะให้เกิดประโยชน์ ใ นทุ กประเภท เพื่ อ ประโยชน์ สุ ข แห่งประชาชนในชุมชน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสน

หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสันติญาณประยุติ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดญาณเสน/เจ้าคณะตำบลโก่งธนู โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๘๔ ๓๕๖๖ ๒. นางสาวอุดม ชัยปัญหา ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู โทรศัพท์ ๐๘ ๖๑๒๓ ๕๐๖๕ ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู โทรศัพท์ ๐๓ ๖๗๘ ๑๖๔๒ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสาวรัชธิชา คำตา ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๗๗๕๒ ๘๒๒๒ 106

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านไร่ศิลาทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ พระหินศิลาทองคู่บ้าน เชี่ยวชาญผลิตครกหิน ถิ่นชุมชนคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลือเลือ่ งอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม พร้อมรักษ์วถิ ชี มุ ชน ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านไร่ศิลาทองในอดีตพบปัญหาทางด้านการใช้ยาเสพติด การทำลายทรัพยากรป่าไม้ ปัญหาของเยาวชน สุขภาพ ชาวบ้าน ปัญหาบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภค ปัญหาหนี้สินภายในชุมชน การขาดความสามัคคีที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ซึ่งเกิดจากปัญหา ความสัมพันธ์ดีระหว่างครอบครัวจากรุ่นที่เกิดช่องว่างทำให้เยาวชนไม่เคารพนับถือผู้ใหญ่ ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดการตื่นตัวในการที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยเริม่ จากการเห็นคุณค่าของการดูแลสุขภาพของชุมชนทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนจากโครงการลด ละ เลิก การดืม่ สุราในงานบุญและงานศพ ทีก่ ลุม่ อสม. เป็นต้นแบบ ในการรณรงค์ที่สมาคมส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดรูปแบบและให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าวจนได้รับการยอมรับและเกิดการขับเคลื่อนเชิงพัฒนา อย่างเต็มรูปแบบ

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านไร่ศิลาทอง มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีกินดี มีความสามัคคีร่วมมือ ยึดถือจารีตประเพณีและวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ใส่ใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมส่งเสริมอาชีพและการศึกษาสู่การพัฒนาบ้านไร่ศิลาทอง โดยมีพันธกิจของชุมชน คือ สร้างความเข้าใจ ร่วมมือสามัคคีให้มีการร่วมมือกันเกิดขึ้นภายในชุมชน

107

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยีเข้ามาในชุมชน ทำให้สัมพันธภาพของครอบครัวลดลง กล่าวคือ ข้อจำกัด การพัฒนาคุณภาพอย่างยัง่ ยืนตามแนวทางของพระพุทธศาสนามีหลายประการ เช่น การไม่เห็นประโยชน์ในการปฏิบตั ติ นในการรักษาศีล ๕ เนือ่ งจากสภาพสังคม ที่มีความเจริญแบบก้าวกระโดด เทคโนโลยีและสื่อสารสนเทศที่มีปริมาณมาก แพร่รวดเร็วหลากหลายรูปแบบ ทำให้โลกถูกเชื่อมเข้าหากัน มีการแลกเปลี่ยนกัน ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ขาดสติและไม่พิจารณาแยกแยะในข้อมูลที่รับจากสื่อ ไม่สามารถปรับตัวได้ทันก่อให้เกิดปัญหาของชีวิตในโลกยุคไอที





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านไร่ศิลาทอง มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดหลักการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ด้วยวิถีของการเป็นเครือญาติ มีการเกือ้ กูล เป็นแบบอย่างทีด่ ี ดูแลเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ซงึ่ กันและกันตามหลักพระพุทธศาสนา ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนน้อมนำให้ประพฤติปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ ด้วยผูน้ ำ ทางด้านจิตวิญญาณ คือ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ศิลาทอง เป็นศูนย์กลางของการดำเนินงาน ประกอบกับการทำงานร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนกลุ่มต่างๆ เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการประสานงานโดยเฉพาะกลุ่ม อสม.ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จนได้รับ การยกย่องให้เป็นชุมชนต้นแบบของการใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเป็นแนวในการปฏิบัติช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านสังคมเป็นอย่างดี





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดบ้านไร่ศิลาทอง

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระครูสถิตธรรมวิภัช ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ศิลาทอง โทรศัพท์ ๐๘ ๔๓๗๘ ๒๙๙๓ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นายศุขฐิ์เกษม ฟั่นคำอ้าย ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๑๖๐๒

108

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านป่าบุก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ครูบาศรีเด่นดัง หัตถกรรมเด่นดี ป่าบุกสามัคคี รักษาประเพณีดีงาม ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมบ้านป่าบุก เป็นชุมชนที่มีการน้อมนำเอาหลักธรรมทางศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จึงทำให้คนในชุมชนนับถือ พระพุทธศาสนาทุกหลังคาเรือน โดยมีวัดป่าบุกเป็นศาสนสถานในการประกอบพิธีทางศาสนา ในวันสำคัญทางศาสนา คนในชุมชนจะร่วมประกอบพิธี ทางศาสนาตามขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านวิถีไทยอง นอกจากนี้แล้ว ในชุมชนบ้านป่าบุกยังมีพิธีกรรมแบบโบราณตามความเชื่อของชาวไทยองที่ชาวบ้าน ให้ความสำคัญ และให้ความเคารพ คือ การบูชาผีเสื้อบ้าน และบูชาเสาใจบ้าน ซึ่งจะกระทำในโอกาสสำคัญๆ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณียี่เป็ง เป็นต้น อีกทั้ง ชุมชนคุณธรรมบ้านป่าบุก ยังเป็นชุมชนปลอดขยะที่มีการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีพ เช่น มีการนำวัสดุ เหลือใช้มาผลิตเป็นของที่ระลึก การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ การแปรรูปขยะเป็นเงินเป็นต้น มีแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอยู่หลายแหล่ง ได้แก่ วัดป่าบุก สะพานบุญทุ่งเศรษฐี วัดป่าบุก แหล่งเรียนรู้โฟมจ๋าหายไปไหน แหล่งเรียนรู้ที่ว่างสร้างอาหาร แหล่งเรียนรู้เศษผ้าสร้างรายได้ แหล่งเรียนรู้ก้านตาล แปลงร่าง ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมบ้ า นป่ า บุ ก ได้ มี ข้ อ ตกลงของชุ ม ชน โดยมี ก ารประกาศเจตนารมณ์ หรือข้อตกลงของผู้นำ ชุมชน และคนในชุมชน ที่จะพัฒนาให้เป็นชุมชนคุณธรรมร่วมกัน โดยได้ประชุมร่วมกัน เพื่อกำหนดปัญหาที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ ร่วมกันจัดทำแผนของชุมชน ที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ของคนในชุ ม ชนอย่ า งแท้ จ ริ ง อาทิ แผนพั ฒ นาส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมของชุ ม ชนเกี่ ย วกั บ ปั ญ หาที่ อ ยากแก้ และแผนพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนเกีย่ วกับความดีทอี่ ยากทำ ชุมชนคุณธรรมบ้านป่าบุก ได้จดั โครงการหรือ จัดกิจกรรมที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ ได้แก่ โครงการงานศพปลอดเหล้า : มีการติดป้ายรณรงค์และลดอบายมุข ในงานศพช่วยลดรายจ่ายให้กับเจ้าภาพ โครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ และพื้นที่ว่างสร้างอาหาร โครงการ ส่งเสริมกลุม่ อาชีพในชุมชน โครงการสารวัตรขยะ โครงการกลุม่ ออมทรัพย์ ฯลฯ ในขณะเดียวกัน การขับเคลือ่ นงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อร่วมกันติดตาม ประเมินผลสำเร็จว่า เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อทบทวน ปรับปรุง แผนพัฒนา และส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนให้บรรลุ ผลสำเร็จ อีกทั้ง ยังได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดีและหรือบุคคลผู้มีคุณธรรม 109

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้

ในการที่ จ ะพั ฒ นาเส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วทางวั ฒ นธรรม ฐานการเรี ย นรู้ เรื่ อ ง การจั ด การขยะของชุ ม ชนให้ เ ป็ น ระบบ มี ม าตรฐานมากยิ่ ง ขึ้ น ได้ แ ก่ การพั ฒ นาสื่ อ การเรี ย นรู้ แ บบ E-book เป็ น ต้ น ตลอดจนการพั ฒ นา ความสามารถของบุคลากรในชุมชนให้พร้อมสู่การเป็นเจ้าบ้านที่ดี





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดป่าบุก





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การพั ฒ นาชุ ม ชนคุ ณ ธรรมต้ น แบบดั ง กล่ า ว เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความยั่งยืนได้นั้น ถือเป็นความท้าทายของการทำงานเชิงพื้นที่เป็นอย่างมาก ในการที่ จ ะสร้ า งความร่ ว มมื อ ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในชุ ม ชน ผ่ า นกระบวนการ ของความร่วมมือในการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในชุมชน ในการจัดการชุมชนเพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืนได้ แต่หากต้องศึกษารูปแบบและกลไก ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับบริบทของชุมชน ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัด ของชุมชนนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว เฉกเช่ น ในปั จ จุ บั น จึ ง ถื อ เป็ น ความท้ า ทายของ ผูน้ ำชุมชนพลัง “บวร” ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ รวมถึงผูม้ สี ว่ นได้เสีย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด การชุ ม ชน ที่ จ ะเป็ น การเพิ่ ม ขี ด ความสามารถ ของชุมชนได้อย่างเหมาะสมต่อไป





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

จากการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จของชุมชนคุณธรรม บ้านป่าบุก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จนสามารถเป็นชุมชน คุณธรรมต้นแบบได้ โดยการเป็นชุมชนทีส่ ามารถสร้างความร่วมมือให้เกิดขึน้ เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชน ในกิจกรรมต่างๆ จนเกิดความยั่งยืนในหลายด้าน ตามที่ ก ล่ า วมาแล้ ว ข้ า งต้ น ในขณะเดี ย วกั น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมบ้ า นป่ า บุ ก ยังได้มีการวางแผนร่วมกันถึงเป้าหมายที่จะดำเนินงานร่วมกันในอนาคต 110

หมู่ที่ ๑๐ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูปลัดพิภพ กนฺตธมฺโม ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดป่าบุก โทรศัพท์ ๐๘ ๗๑๘๗ ๑๖๙๙ ๒. นายสนัน่ สมจันทร์ ตำแหน่ง ผูใ้ หญ่บา้ นป่าบุก โทรศัพท์ ๐๙ ๖๖๐๓ ๐๗๑๔ ๓. นายนพรัตน์ อุพงษ์ ตำแหน่ง กรรมการชุมชน โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๖๔ ๘๗๘๗ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๑. นายชินวัฒน์ เปี้ยจันทร์ตา ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๑๕๓๖ ๒. นายสรวิชญ์ พีรัชชัยนนท์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๑๕๒๔ ๓. นายสิทธิศักดิ์ คำภู ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๕๖๒๔ ๖๖๓๒

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดโนนสว่าง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ โนนสว่างถิ่นคนดี ประเพณีนมัสการอัฐิธาตุ ประชาราษฎร์อยู่อย่างพอเพียง รุ่งเรืองด้วยอริยะธรรมพระยาศรีฯ ใต้ร่มพระบารมีหลวงปู่ศรีจันทร์ ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น วัดโนนสว่าง สร้างขึน้ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยพระธรรมวราลังการ (หลวงปูศ่ รีจนั ทร์ วณฺณาโภ) พระครูอดิสยั คุณาธาร สมัยนัน้ ด้วยท่านเห็นว่า วัดจันทรังษีที่ท่านได้สร้างไว้ในบ้านเกิดของท่าน อยู่ในภูมิประเทศที่ไม่ดีเนื่องจากตั้งอยู่ริมแม่น้ำเลย ซึ่งมีน้ำกัดเซาะทุกปี ซึ่งอาจจะทำให้เสียหายจากผล การพังของตลิ่งได้ หลวงปู่จึงได้คิดสร้างวัดขึ้นมาใหม่ อยู่บริเวณที่ปลอดภัยและสมบูรณ์และได้สำรวจหาบริเวณที่ตั้งวัดใหม่ และมีความเห็นว่าที่ตั้งวัดโนนสว่าง ปัจจุบันนี้ ชุมชนวัดโนนสว่างเป็นชุมชนที่มีความรัก ความสามัคคีปรองดองภายใต้หลักธรรมทางศาสนา เมื่อมีการจัดกิจกรรมงานบุญ ประเพณี หรือกิจกรรม ที่สำคัญของชุมชน ชาวบ้านจะร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมใจ ประกอบกิจกรรมและมีพิพิธภัณฑ์เจดีย์หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ของท้องถิ่นชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมภายใต้แนวคิด ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมรับผลประโยชน์จากการพัฒนา โดยมีกิจกรรมการปลูกสมุนไพรในวัด เป็นกิจกรรมเชื่อมโยง เด็ก นักเรียน เยาวชน ประชาชนและวัดเข้าด้วยกัน โดยทุกกิจกรรมได้รับความร่วมมือจาก บ้าน-วัด-โรงเรียน/หน่วยงาน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ การดำเนินงานภายใต้ “พลังบวร” นั้น เจ้าอาวาสเน้นการมีส่วนร่วม ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และใช้กิจกรรมต่างๆเพื่อสร้าง ความร่วมมือ เช่น กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์วัด ชาวบ้านจะนำพันธุ์กล้าไม้ พันธุ์ดอกไม้ มาปลูกในวัดเพื่อสร้างความสวยงาม กิจกรรมสวนสมุนไพร “ร่วมคิด ร่วมสร้าง สมุนไพร มีได้เพราะทุกคน” นอกจากนี้ ในวัดโนนสว่างยังเป็นที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพ เพือ่ น้อมนำหลักธรรม คำสอนและแนวทางปฏิบตั ทิ างศีล สมาธิ ปัญญา สร้างความแข็งแรง ทั้งทางกายและจิตใจ มีความสุข สงบ และมีการนำบันได ๙ ขั้น ไปปรับใช้ภายในชุมชน

111

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จากการที่ประชาชน วัดโนนสว่าง ยึดติดกับการจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่างๆในรูปแบบของงานรื่นเริง นิยมการดื่มสุรา ในเทศกาลต่างๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เจ้าอาวาสได้มีประกาศเด็ดขาดในเรื่องดังกล่าว ห้ามมิให้มีการดื่มสุราในบริเวณวัด ห้ามมิให้มีมหรสพในการจัดงานต่างๆ ในวัด (หมอลำ/การแสดงอืน่ ๆ) ซึง่ ในช่วงแรกคนในชุมชนคัดค้านและไม่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆเท่าทีค่ วร แต่เมือ่ เจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด ได้จัดประชุมชี้แจงเหตุผล ข้อดี ข้อเสียรวมถึงประโยชน์ที่ได้จึงทำให้คนในชุมชนเริ่มเข้าใจ และยอมรับ และเกิดความร่วมมือระหว่าง บ้าน-วัด-โรงเรียน/หน่วย งานราชการมาจนถึงปัจจุบัน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

- พัฒนาให้ชุมชนวัดโนนสว่างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในมิติทางศาสนา และสร้างเสน่ห์ให้แก่ชุมชน - สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ยกประดับประเพณีแห่ต้นดอกไม้เครื่องให้ไปสู่ระดับตำบล - จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ - การปฏิบัติตามคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา - น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต - ชุมชนร่วมกัน ลด ละ เลิกอบายมุข ส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน และจิตอาสาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม - การพัฒนากิจกรรมวันพระเข้าวัดเที่ยวตลาดนัดวัดโนนสว่าง ไปยังเครือข่ายอื่นๆ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดโนนสว่าง

เลขที่ ๑๔๕ หมู่ ๓ ตำบลศรีสงคราม อำเอวังสะพุง จังหวัดเลย - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระอธิการดำรง ญาณสีโล ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโนนสว่าง โทรศัพท์ ๐๘ ๕๖๔๖ ๕๒๕๙ ๒. นายวุฒิชัย มัธยัสถ์สิน ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลศรีสงคราม โทรศัพท์ ๐๘ ๕๗๔๑ ๓๓๓๐ ๓. นางภัทริยา ศรียางค์ ตำแหน่ง ครู/อาจารย์ โทรศัพท์ ๐๙ ๑๐๖๑ ๘๔๑๘ ๔. นางปณิตา มังคโล ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านโนนสว่างหมู่ ๓ โทรศัพท์ ๐๖ ๕๖๗๑ ๗๘๗๙

112

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ วัดจำปาบ้านหัวนา มากล้วนจารีตประเพณี หลวงพ่อใหญ่คู่บ้าน ถิ่นฐานวัฒนธรรม งานล้ำเรือยาว หาดทรายขาวปากมูลชี พิพิธภัณฑ์ล้ำค่า งามสง่าพระธาตุกตัญญู ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น วัดจำปา และบ้านหัวนา เป็นชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลทางด้านทิศตะวันออกเรียกว่า วังขามเฒ่า ครั้งหนึ่งเกิดโรคระบาดมีผู้คนล้มตาย เป็นจำนวนมากจึงได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านติดกับทุ่งนา จึงได้ชื่อว่า “บ้านหัวนา” และวัดบ้านหัวนาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดจำปา” เนื่องจากมีต้นจำปาเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี ดั้งเดิมเป็นคนลาวอพยพมาตามแม่น้ำโขงเชื่อมต่อแม่น้ำมูลถึงวังขามเฒ่า ขึ้นกับเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และได้ย้ายมาขึ้นกับเขตอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นชุมชน ที่มีวัฒนธรรมชาติพันธุ์ชนเผ่าลาว ใช้ภาษาลาว ในการสื่อสารเฉพาะถิ่น วัดจำปายังมีพระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่จัดแสดงสิ่งของโบราณ ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ มีพระธาตุกตัญญูซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีป่าชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นยางนาเก่าแก่ อายุกว่า ๕๐๐ ปี เป็นชุมชนที่อยู่สุดเขต จังหวัดศรีสะเกษ ทางทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งแม่น้ำมูลไหลผ่านมาบรรจบกับแม่น้ำชี มีบึงอ้อขนาดใหญ่กว่า ๑,๐๐๐ ไร่ เป็นที่อาศัย ของนกเป็ดน้ำและนกนานาชนิด มีแหล่งอาหารทางธรรมชาติทอี่ ดุ มสมบูรณ์ และมีนาบัวซึง่ ถือเป็นพืชทีส่ ร้างรายได้ให้แก่ชมุ ชนในพืน้ ทีก่ ว่า ๑๐ ไร่ ทำให้ผมู้ าเยือน ได้สัมผัสวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ และร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด จำปา เป็ น ชุ ม ชนเล็ ก ๆ ที่ มี วิ ถี ชี วิ ต เรี ย บง่ า ย ได้ รั บ ผลกระทบจากสภาพกระแสสั ง คมในปั จ จุ บั น ซึ่ ง มี ก ารพั ฒ นาไปอย่ า งรวดเร็ ว สั ง คมเกิ ด การเปลีย่ นแปลงไป ชุมชนจึงมีความพยายามทีจ่ ะเฝ้าระวังทางสังคมในทุกๆ ด้าน ไม่เดินตามกระแส ภายนอก เพราะอาจจะทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนในทางที่เลวร้าย จึงมุ่งพัฒนาในด้านคุณงาม ความดี ยึดหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชุมชนมีคุณภาพ และอยู่ในสังคม ได้อย่างสงบ โดยชุมชนมีต้นทุนที่โดดเด่นในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับคนในชุมชน โดยมีวดั จำปา เป็นศูนย์กลาง เน้นให้คนยึดถือและปฏิบตั ติ ามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา มีศีล ๕ เป็นศีลขึ้นพื้นฐาน เป็นหลักประกันคุณภาพชีวิต มีการบูรณาการกับการดำรงชีวิต เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง 113

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมต้องใช้เวลาในการยอมรับและเข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้น บุคคลที่เป็นผู้นำจะเป็นต้องทำให้เห็นว่าเมื่อเป็นชุมชน คุณธรรมแล้วเกิดผลดีอย่างไร ซึ่งปัญหาดังกล่าวพระครูบวรสังฆรักษ์ เจ้าอาวาสวัดจำปา ได้นำพาคนในชุมชนบ้านหัวนาปฏิบัติจนบังเกิดผล เกิดการเปลี่ยน ในชุมชน แสวงหาความร่วมมือจากส่วนราชการ ภาคเอกชนในการพัฒนาต่อยอดด้านต่างๆ ในชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชน ตลอดจน แก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ เช่น การขาดองค์ความรู้ในการพัฒนา และวิธีการในการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้หน่วยงานราชการ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วน จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เข้ามาสนับสนุน ทั้งในด้านงบประมาณ และพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดจำปา มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นำทุนความดีจากการเป็นชุมชนคุณธรรมมาพัฒนาต่อยอดในเชิงของการท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรม โดยการเข้าร่วมเป็น ชุมชนคุณธรรม “บวร On Tour” หมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี วัดในโครงการประชารัฐสร้างสุข ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาเพื่อวางรากฐานในการบริการทั้งด้านการท่องเที่ยวชุมชน และการศึกษาศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง เช่น ชุมชนคุณธรรมฯ วัดจำปา มี ห้ อ งน้ ำ สำหรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ พี ย งพอ สะอาด ได้ ม าตรฐานไว้ บ ริ ก ารสำหรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วผู้ ม าเยื อ น โดยห้ อ งน้ ำ แยกเป็ น ห้ อ งน้ ำ หญิ ง ห้องน้ำชาย ห้องน้ำผูพ้ กิ าร มีทางลาดสำหรับผูพ้ กิ าร และผูส้ งู อายุ เพือ่ ความปลอดภัยของนักท่องเทีย่ วผละผูม้ าเยือน มีทจี่ อดรถ สำหรับนักท่องเทีย่ วทีเ่ พียงพอ และปลอดภัย ซึง่ จากการดำเนินการเหล่านี ้ ประโยชน์ทจี่ ะได้รบั คือ การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างรอยยิม้ สร้างความสุขให้กบั คนในชุมชน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดจำปา (บ้านหัวนา)

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) สำนักงานเลขานุการเจ้าคณะอำเภอกันทรารมย์ วัดจำปา โทรศัพท์ ๐๘ ๗๙๘๖ ๙๙๙๐ 114

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดอินทรังสฤษฏิ์ อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ แดนดินถิ่นหนองผือ งามเลื่องลือสาวภูไท ภาคภูมิใจงานจักสาน สวยตระการผ้าครามมุก แสนสนุกบุญผะเวส สวนเกษตรอนุรักษ์ควายไทย ศูนย์รวมใจวัดอินทรังสฤษฏิ์ เชิญหมู่มิตรมาเยี่ยมเยือนู ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดอินทรังสฤษฏิ์ เป็นหมู่บ้านชาวภูไทมีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านประเพณี วัฒนธรรม มีอุปนิสัยสันโดษยึดมั่น ในหลักศีลธรรมพระศาสนา มีฝีมือในด้านงานจักสาน ทอผ้าครามมุก เย็บปักถักร้อย และมีความขยันขันแข็งสู้งาน ซึ่งประเพณีที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของชุมชนก็คือ “งานบุญมหาชาติ” ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีโดยมิได้งดเว้นหากไม่มีข้อจำกัดอื่น จุดมุ่งหมายของงานบุญนี้ก็เพื่อสร้างความสมัคร สมานสามัคคีของคนในชุมชน และเป็นการบูรณาการทำงานระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ในส่วนของหมู่บ้านก็ได้พึ่งพา ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนช่วยเป็นหลักจัดแจง เครื่ อ งตกแต่ ง ขบวนพระเวสสั น ดร กลุ่ ม แม่ บ้ า นเข้ า มาช่ ว ยงานประดั บ ประดาเครื่ อ งพระเวสสั น ดรพร้ อ มทั้ ง ได้ ร่ ว มกั น ฝึ ก ซ้ อ มรำภู ไ ทบ้ า นหนองผื อ เพื่อการอนุรักษ์การรำภูไทเอาไว้พร้อมกับเป็นการได้ร่วมกันทำกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านทำให้เกิดความรักความสามัคคีกลมเกลียวกัน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ คนในชุมชนคุณธรรมวัดอินทรังสฤษฏิ์ มีศักยภาพในตนเองและมีวิถีชีวิต ของชาวภูไทที่มีศิลปะวัฒนธรรม การงานอาชีพ ที่ยังคงอนุรักษ์สิ่งที่เป็นของเก่าแก่แต่โบราณ สืบสานให้คงอยู่ และพัฒนาปรับปรุงวิถีชีวิตของตนไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงได้ร่วมกันจัดทำเป็นสโลแกนสั้นๆว่า “วัฒนธรรมล้ำค่า สวยโสภาสาวภูไท” สิ่งเหล่านี้ หล่ อ หลอมผู้ ค นในชุ ม ชนเกิ ด อั ต ลั ก ษณ์ เ ป็ น ของตนเองว่ า “รั ก ษาประเพณี มุ่ ง ความดี พระศาสนา พัฒ นางานอาชีพ ” เมื่อ รวมวิถีวัฒ นธรรมชาวภู ไ ทที่ ดี ง ามมากล่ าวรวมกั น ไว้ จึงทำให้เกิดสิ่งดีงามในชุมชนคุณธรรมวัดอินทรังสฤษฏิ์ทั้งหมด

115

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนผ่านระหว่างช่วงวัยของคนในชุมชน ผู้ใหญ่ที่เป็นผู้สูงวัยยังมีความยึดมั่น ในความคิด และวิถชี วี ติ แบบเดิมในอดีตไม่อยากเปลีย่ นแปลงสิง่ ใดอยากให้คงไว้อย่างมัน่ คง รวมทัง้ การ ไม่เข้าใจ ในแนวนโยบายวิธีปฏิบัติของหน่วยงานราชการที่เข้ามาปฏิบัติกิจกรรมในชุมชน เข้ามาปฏิบัติ หรือดำเนินกิจกรรมเสร็จแล้วไม่ได้สบื สานต่อทำให้ขาดความต่อเนือ่ ง ความท้ายทายประการสุดท้ายก็คอื การขาดการรวมกลุม่ ในการทำงานอย่างมัน่ คง ผูค้ นในชุมชนแห่งนีเ้ มือ่ รวมกลุม่ ทำกิจกรรมใดแล้วมักจะ ไม่ค่อยมีความมั่นคง การดำเนินการไปสักเวลาหนึ่งการรวมกลุ่มก็จะจางคลายหายไป สิ่งเหล่านี้เป็น ความท้าทายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างยัง่ ยืน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

การร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนคุณธรรมวัดอินทรังสฤษฏิ ์ ทำให้เกิด “ผลลัพธ์หรือผลกระทบ” ต่อพฤติกรรมของคนในชุมชนได้รบั การกระตุน้ ให้เกิดคุณธรรมพืน้ ฐาน ๔ ประการ คือ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” เกิดการพัฒนาเรียนรู้ช่วยกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน โดยอาศัยพลังความสมัครสมานสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ส่งผลให้ได้รบั การยกย่องให้เป็นคุณธรรมต้นแบบ ได้อย่างภาคภูมใิ จ สิง่ ทีค่ ณะกรรมการชุมชนคุณธรรมวัดอินทรังสฤษฏิ ์ และคณะทำงาน รวมทัง้ ผูค้ นในชุมชน ได้ร่วมกันผลักดันการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จนประสบผลสำเร็จและเกิดผลกระทบในทางดีในหลายๆ ด้านและมีขอ้ ทีค่ วรพัฒนาปรับปรุงในหลายๆ สิง่ ซึง่ ได้เรียนรูจ้ ากการถอดบทเรียนในการดำเนินการทีผ่ า่ นมา สำหรั บ สิ่ ง ที่ ไ ด้ ก ำหนดเป็ น เป้ า หมาย หรื อ ความตั้ ง ใจที่ อ ยากจะให้ ชุ ม ชนแห่ ง นี้ ไ ด้ มี ห ลั ก ประกั น ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น คณะกรรมการพร้อมภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ชุมชนพัฒนา มวลประชามีสขุ ”





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดอินทรังสฤษฏิ์

- ผูป้ ระสานงาน (ของชุมชน) ๑. พระมหารถศรี ติกขฺ ปญฺโญ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดอินทรังสฤษฏิ ์ โทรศัพท์ ๐๘ ๕๕๒๔ ๙๕๕๖ ๒. นายอารมณ์ เขียวโป ตำแหน่ง ผูใ้ หญ่บา้ นหนองผือ โทรศัพท์ ๐๙ ๘๖๕๐ ๕๘๑๘ ๓. นายประมง แสนเพียง ตำแหน่ง ผูใ้ หญ่บา้ นใหม่หนองผือ โทรศัพท์ ๐๖ ๑๐๖๐ ๗๔๑๔ - ผูป้ ระสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๑. นางวิไลวรรณ รัตนโคตร ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๒๔ ๕๓๐๒ ๒. นายสถาป วงศ์สดี า ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๘๑๓๔ 116

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสามบ่อ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนน่าอยู่ คู่คุณธรรม ยึดมั่นในความดี สามัคคีร่วมใจ ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ปัญหาที่เจอในระยะแรกของชุมชนวัดสามบ่อ คือ ๑. ประชาชนในชุมชนประสบความยากจน ประชาชนมีการบริโภคและใช้จ่ายอย่างเกินตัว ขาดหลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจ แบบพอเพียง มีหนี้สิน ค่าครองชีพสูง ทำให้หลายครอบครัวต้องประสบปัญหาการเป็นหนี้สิน ๒. ประชาชนส่วนใหญ่ ขาดคุณธรรมจริยธรรม ในเรื่องมารยาท ไม่เชื่อฟังเคารพผู้ใหญ่ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ๓. ประชาชน ในชุมชนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจในหลักแนวคำสอนของศาสนา ๔. ประชาชนไม่มีจิตอาสา ขาดการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เริ่มต้นจากการให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยในการดำเนินงานเพื่อแก้ ปัญหาในชุมชน ได้จัดกระบวนการสร้างการรับรู้และขับเคลื่อนงานในชุมชน ๑. มีการประกาศเจตนารมณ์ ข้อตกลงชุมชน ๒. กำหนดเป้าหมายของชุมชน ในปัญหาที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ ๓. จัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมของชุมชน ๔. มีการดำเนินการตามแผนและจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน ๕. มีการประเมินผลและทบทวนแผนเป็นระยะ เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ๖. ประกาศยกย่องเชิดชูบคุ คลผูท้ ำความดีหรือบุคคลผูม้ คี ณ ุ ธรรมในชุมชนทีท่ ำความดี ๗. มีการประเมินผลความสำเร็จในชุมชน ให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ๘. มีการขยายผลกิจกรรมเพิ่มเติมในมิติทางศาสนา กิจกรรมส่งเสริมหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมส่งเสริมวิถวี ฒ ั นธรรมทีด่ งี าม ๙. เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ รวมถึงการสร้างเครือข่าย 117

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ความท้าทายทีเ่ กิดขึน้ ๑. ความท้าทายด้านความคิดของคน ในชุมชนทีห่ ลากหลายไม่ตรงกัน ๒. ความท้าทายในด้านความพร้อม ของปัจจัยในการดำเนินการกิจกรรมโครงการชุมชนคุณธรรมเช่น บุคลากร วัสดุ/อุปกรณ์ งบประมาณ ในการดำเนินการ องค์ความรูใ้ นการจัดกิจกรรมต่างๆ อุปสรรคต่างๆในการดำเนินงาน ๑. ความพร้อมของคนในชุมชนในด้าน ขาดความรูค้ วามเข้าใจ การเสียสละ ความพร้อมเพรียง การทำงานร่วมกันในชุมชน ๒. ขาดวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการชุมชนคุณธรรม ๓. ขาดงบประมาณ ไม่เพียงพอในการดำเนินงาน กิจกรรมชุมชนคุณธรรม





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

๑. ชาวบ้านและเยาวชนในชุมชน มีพฤติกรรม มีคณ ุ ธรรม จริยธรรม ด้านมารยาท มีความเคารพเชือ่ ฟังผูใ้ หญ่ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีนำ้ ใจ มีจติ อาสา ในการช่วยงานต่อส่วนรวม และยึดมัน่ ในหลักธรรมคำสอนของศาสนา นำหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวติ ประจำวันได้ ๒. เกิดเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ผูน้ ำท้องถิน่ สถานศึกษา ในการทำงานร่วมกันแบบภาคีเครือข่าย ๓. ประชาชนในชุมชน มีอาชีพ มีรายได้ มีตน้ แบบในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และใช้จา่ ยในครัวเรือน โดยยึดหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง ความสำเร็จทีเ่ กิดขึน้ จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทำให้ประชาชน ครอบครัว ชุมชนมีคณ ุ ธรรมทีเ่ ข้มแข็ง เศรษฐกิจเข้มแข็ง อยูอ่ ย่างมีความสุขเป้าหมายทีต่ อ้ งการ จะดำเนินการต่อไปคือ การสร้าง ขยาย เครือข่ายด้านคุณธรรมให้เพิ่มขึ้น และพัฒนาเครือข่ายที่มีอยู่เดิมให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้คนในชุมชนมีคุณธรรม ชุมชนมีความสงบร่มเย็น





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสามบ่อ

- ผูป้ ระสานงาน (ของชุมชนฯ) พระครูวรสุตาธิคณ ุ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสามบ่อ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๗๖ ๔๘๖๒ - ผูป้ ระสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสุภทั รา ศรีวไิ ล ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๙๒๘๗

118

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดนิคมพัฒนาราม (วัดผัง ๗) อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ประตูสู่มะนัง วิหารดังจตุคาม หมู่สามพัฒนา ชาวประชาสามัคคี ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น การขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมวัดนิคมพัฒนาราม (วัดผัง ๗) น้อมนำปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยพลั ง บวร ในชุ ม ชนวั ด นิ ค มพั ฒ นาราม (วั ด ผั ง เจ็ ด ) เริ่ ม ต้ น มานานกว่ า ๑๐ ปี ม าแล้ ว แต่ ยั ง ไม่ เ ป็ น รู ป แบบที่ ชั ด เจน และได้ น ำแนวทางชุ ม ชนคุ ณ ธรรมน้ อ มนำปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของกระทรวงวั ฒ นธรรม มาจั ด ระบบเป็ น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมฯ ที่ ชั ด เจนขึ้ น เริ่ ม จาก วันที ่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยการเข้าร่วมประชุมชาวบ้านทุกครัวเรือน เพือ่ มาฟังแนวทางและหาปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในหมูบ่ า้ น จากนัน้ ให้ชมุ ชนร่วมเสนอความคิดเห็น ความดีที่อยากทำ และจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว จนถึงปัจจุบัน ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ผู้นำชุมชน จัดเวทีประชาคมเพื่อหารือแนวทางในการแก้ปัญหาของชุมชนโดยทีประชุมเห็นว่า ควรมีการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ชุมชน เพื่อส่งเสริมรายได้และการนำแนวทาง พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ปัญหาการการลักเล็กขโมยน้อย ปัญหายาเสพติด ปัญหา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน เช่น ไม่มีกล้อง CCTV ที่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ แนวทางการแก้ไข โดยให้ทุกส่วนภาครัฐ เอกชน มี ก ารสอดส่ อ งดู แ ลความปลอดภั ย ในชุ ม ชนมี ก ารจั ด ตั้ ง ชุ ด รั ก ษา ความปลอดภัยในชุมชนมีการจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยตรวจเวรยาม ในเขต ชุมชน หมูบ่ า้ น ให้ผนู้ ำชุมชน กำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น ผูป้ กครองคอยสอดส่อง พฤติ ก รรมของ เยาวชน และประชาชนในพื้ น ที่ พ ร้ อ มทั้ ง ให้ ค วามรู้ เกีย่ วกับโทษของยาเสพติด และขอความร่วมมือกับสถานศึกษาในการให้ความรู้ ความเข้าใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ให้ทันกับสถานการณ์โลก และโทษ ของสิ่งเสพติดรวมทั้งให้ความรู้ด้านกฎหมาย บทลงโทษจากการกระทำ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

119

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ปัญหาทุกปัญหาในชุมชน ได้รับการแก้ไขเพื่อลดความเดือดร้อนของคนในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผ่านเวทีประชาคม เพื่อรับรู้ปัญหา และหารือแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนลดลง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนมีพฤติกรรมเปลีย่ นแปลงไปในทางทีด่ ขี นึ้ มีการทำกลุม่ กิจกรรมมากขึน้ มีจติ อาสาในการทำงานในชุมชน มีการเสียสละ เอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ รู้จักการแบ่งปัน ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมีความสงบสุข ผู้นำชุมชนและคนในชุมชน มีการประกาศเจตนารมณ์ที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และอบายมุข และร่วมกัน พัฒนาชุมชนให้นา่ อยู ่ เพือ่ สร้างความประทับใจให้แก่ผมู้ าเยือน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมบ้านผัง ๗

พระครูโสภณปัญญาสาร ตำแหน่ง เจ้าอาสาววัดนิคมพัฒนาราม เจ้าคณะอำเภอมะนัง โทรศัพท์ ๐๘ ๗๓๙๔ ๔๘๙๔ - ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายสมใจ ตั้งเอียด ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ โทรศัพท์ ๐๙ ๕๐๑๕ ๓๙๗๗ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล) นางอาอีชะ เหมือนกู้ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๙๔๑๕

120

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบางน้ำผึ้งใน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ท่องเที่ยวชุมชนคุณธรรม วิถีถิ่นชุมชนคนริมน้ำ บ้านบางน้ำผึ้ง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด บางน้ ำ ผึ้ ง ใน เป็ น ชุ ม ชนเล็ ก ๆ มี พื้ น ที่ ไ ม่ ม ากนั ก ชุ ม ชนตั้ ง อยู่ ติ ด ริ ม แม่ น้ ำ เจ้ า พระยา จึ ง มี วิ ว ทิ ว ทั ศ น์ ส วยงาม ทั้งยามพระอาทิตย์ขึ้นและตก เป็นแหล่งโอโซนบริสุทธิ์ใกล้กรุงเทพ เป็น ๑ ใน ๑๑ หมู่บ้านของตำบลบางน้ำผึ้ง และเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีการรวมตัวกัน ทำกิจกรรมระหว่างผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร และประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการรวบรวมวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนคุณธรรมวัดบางน้ำผึ้งใน ผู้คนในชุมชนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี รักธรรมชาติ และมีจิตสำนึก การมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน สภาพบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม นอกจากนี้ชุมชนคุณธรรมวัดบางน้ำผึ้งใน ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร TIME ว่าเป็นหมู่บ้านที่เป็นแหล่งผลิตโอโซน (ออกซิเจน) อันดับ ๓ ของเอเชียและเป็นพื้นที่สีเขียว (ปอดกรุงเทพฯ) รวมถึงได้รับ การคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “มั่งมี ศรีสุข” หมู่บ้านแรกของจังหวัดสมุทรปราการ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดบางน้ำผึ้งใน ทำการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของชุมชนขึ้น ต่อมาชุมชนได้ร่วมกันจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางของชุมชนไว้ใช้สำหรับการต้อนรับ นั ก ท่ อ งเที่ ย วและเป็ น สถานที่ ใ นการศึ ก ษาดู ง าน ด้ ว ยความหลากหลายทางด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้ชุมชนคุณธรรมวัดบางน้ำผึ้งในเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามในสายตาของ นั ก ท่ อ งเที่ ย วและเป็ น การกระตุ้ น เศรษฐกิ จ ของชุ ม ชน สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารจั ด ตั้ ง สภาวั ฒ นธรรมตำบล เพื่อให้ชาวชุมชนใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นงานประเพณีสงกรานต์ แห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณี ลอยกระทง เป็ น ต้ น ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ยึ ด เหนี่ ย วทางค่ า นิ ย มและเอกลั ก ษณ์ ข องตนเกิ ด จิ ต สำนึ ก ของ ความเป็ น ไทยและภาคภู มิ ใจในค่ า นิ ย มไทยพร้ อ มกั บ ปรั บ ใช้ ใ ห้ เ หมาะสม สอดคล้ อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม และทีส่ ำคัญทำให้ชาวชุมชนเกิดความรัก ความร่วมมือและหวงแหนวิถีชีวิตตามวิถีไทยให้คงไว้ตราบนานเท่านาน พร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับชุมชนสังคมต่อไป

121

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ความท้ า ทายที่ เ กิ ด ขึ้ น คื อ การทำให้ เ ด็ ก และเยาวชนในชุ ม ชนหั น มาตระหนั ก และให้ความสนใจถึงรากเหง้าภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชุมชน โดยการให้เด็กและเยาวชนเข้ามา มีสว่ นร่วมโดยการถอดบทเรียนในแต่ละกิจกรรม เป็นการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองผ่านการปฏิบตั จิ ริง ต่อมาจึงได้ ขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้สูงอายุหรือกลุ่มคนวัยเกษียณ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ก่อให้เกิด การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว นำไปสู่การ รวมกลุม่ และรวมกันทำกิจกรรม





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด บางน้ ำ ผึ้ ง ในเป็ น ชุ ม ชนที่ มี ค วามเข้ ม แข็ ง มี ก ารรวมตั ว กั น ทำกิจกรรมระหว่างผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความใกล้ชิดกัน จะมีการจัดประชุมกันเป็นประจำทุกเดือน ทัง้ ด้านการท่องเทีย่ ว การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม และมีการนำผู้สูงอายุมาเผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จนกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านบางน้ำผึง้ เมือ่ การดำเนินงานมีความก้าวหน้า จึงมีการจับมือกันกระจายรายได้ไปยังคนในชุมชน ตัวอย่าง เช่น โฮมสเตย์ จักรยานท่องเที่ยว รถมอเตอร์ไซค์พาเที่ยว มัคคุเทศก์ท้องถิ่น หากใคร ปลูกพืชผักสวนครัวก็เอามาชายให้กับร้านอาหารในชุมชน ทุกคนมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยกัน หรืออีกนัยหนึ่งคืออยู่กันแบบครอบครัว คนในชุมชนต่างก็มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป้าหมายทีช่ มุ ชนได้กำหนดและตัง้ เป็นความสำเร็จร่วมกัน คือ การผลักดันและปลูกฝังให้คนรุน่ หลัง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเกิดความรักและหวงแหนบ้านเกิด ร่วมกันสืบสาน อนุรกั ษ์วถิ ชี วี ติ ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชน โดยการนำเอาความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในด้านสื่อ และเทคโนโลยี ซึง่ เป็นจุดเด่นของคนรุน่ ใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดบางน้ำผึ้งใน

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) นายอทิวัต รอดคลองตัน ตำแหน่ง ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลบางน้ำผึ้ง โทรศัพท์ ๐๙ ๑๘๑๖ ๒๒๘๙ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางอรอุมา ฉัตรเงิน ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๓๙๖๐

122

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดแก่นจันทน์เจริญ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ไหว้วัดบางพลับ กราบวัดแก่นจันทน์ แดนสวรรค์เกษตรพอเพียง เคียงพระยอดธง คงโบสถ์เก่า พระเจ้าตากสิน ถิน่ น้ำตาลมะพร้าว ส้มโอขาวใหญ่ ขนมเรไร ผลไม้กลับชาติ ศิลป์ศาสตร์พญาซอ สุขหนอ นอนโฮมสเตย์ ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดแก่นจันทน์เจริญ เป็นชุมชนที่มีต้นทุนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สมุทรสงครามจึงเข้ามาสนับสนุน ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน โดยใช้หลักพลัง “บวร” บ้าน-วัด-โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วม โดยร่วมกับชุมชนขับเคลื่อน ให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ทำให้คนในชุมชนอยูร่ ว่ มกันอย่างมีความสุข รูจ้ กั ดำเนินชีวติ โดยมีศาสนา เป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ วจิตใจ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวติ สืบสานวิถวี ฒ ั นธรรมทีด่ งี าม จากการขับเคลือ่ นชุมชนคุณธรรม ด้วยการใช้พลัง “บวร” จึงสามารถผลักดันให้ วัดแก่นจันทน์เจริญ และวั ด บางพลั บ ซึ่ ง เป็ น ศาสนสถานในชุ ม ชนมี บ ทบาทและส่ ว นร่ ว มในการขั บ เคลื่ อ นชุ ม ชนอย่ า งชั ด เจน ส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วทางประวั ติ ศ าสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น ทั้งยังก่อให้เกิดการส่งเสริมพัฒนา และการนำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนมาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ เกิดรายได้แก่ชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว โดยใช้เสน่ห์ทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญ ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ได้เริม่ การพัฒนาโดยความคิดริเริม่ ของครูสมทรง แสงตะวัน ปราชญ์ชาวบ้าน เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ครูสมทรง เรียนจบครูแล้วสอบบรรจุเข้ามารับราชการที่บ้านบางพลับและแนะนำให้คนในชุมชนรวมกลุ่ม มาแบ่งปันความรูด้ า้ นการเกษตรระหว่างกัน เพราะมองเห็นประโยชน์ของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน องค์ความรู้ ด้านการเกษตรของชุมชนบางพลับผ่านการลองผิดลองถูก จนประสบความสำเร็จ เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน โดยจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ทางวิถีชีวิตและภูมิปัญญาขึ้น และเป็นที่นิยมสำหรับหน่วยงานต่างๆ การศึกษาดูงาน เนือ่ งจากมีฐานเรียนรูท้ มี่ คี วามน่าสนใจ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิน่ เช่น การแกะกะลาซอ การแปรรูปผลไม้กลับชาติ การปลูกส้มโอขาวใหญ่ อีกทั้งยังมีประเพณีโบราณที่เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยได้แก่ ประเพณีตักบาตร ขนมครกน้ำตาลทราย ณ วัดแก่นจันทน์เจริญ จัดขึ้นทุกปี ทุกวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ โดยเริ่มครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ สมัยที่หลวงพ่อโห้เป็นเจ้าอาวาส และมีโบราณสถานที่มีความสำคัญ ในประวัติศาสตร์ 123

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

อดีตชุมชนคุณธรรมวัดแก่นจันทน์เจริญ ต้องเจอกับปัญหาทางอาชีพ ชาวสวนสร้างผลผลิตไม่ดี เท่ า ที่ ค วร รายได้ ล ดน้ อ ยลง ส่ ง ผลให้ ค นในชุ ม ชนทยอยออกไปหางานทำต่ า งถิ่ น เยาวชนรุ่ น ใหม่ ไ ม่ ไ ด้ มี ความตระหนักที่จะสานต่ออาชีพดั้งเดิมจากบรรพบุรุษในการทำสวน ทำให้อาชีพทำสวนเกือบที่จะเลือนหายไป จากชุมชนแห่งนี ้ จนกระทั่ง ครูสมทรง แสงตะวัน ได้เข้ามาแนะนำให้คนในชุมชนรวมกลุ่มมาแบ่งปันความรู้ ด้านการเกษตรระหว่างกัน เพราะมองเห็นประโยชน์ของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน องค์ความรูด้ า้ นการเกษตร ของชุมชนผ่านการลองผิดลองถูกเป็นระยะเวลาหลายปี จนคนในชุมชนเริ่มเห็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม สามารถสร้างรายได้ให้กบั คนในชุมชน เพิม่ มูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าในชุมชน คนในชุมชนมองเห็นจุดแข็งของตนเอง ที่จะสามารถสร้างรายได้โดยที่ไม่ต้องออกไปทำงานต่างถิ่น ทั้งนี ้ ยังทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักได้รับความนิยม จากนักท่องเทีย่ วทีช่ นื่ ชอบวิถชี วี ติ ชาวสวนเป็นอย่างมาก





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

คนในชุมชนคุณธรรมวัดแก่นจันทน์เจริญนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต มีวินัยต่อตนเองและส่วนร่วม เมื่อมีการติดต่อประสานงานจากหน่วยงานต่างๆ หรือกลุ่ม นักท่องเที่ยวคนในชุมชนสามารถแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบฐานเรียนรู้ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ มีความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพือ่ ส่วนรวม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวติ เพือ่ เป็นหลักการ ในการดำเนิ น ชี วิ ต ยึ ด มั่ น ปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ธรรมทางศาสนาที่ ต นนั บ ถื อ คนในชุ ม ชนนำหลั ก ปรั ช ญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวติ ตัง้ แต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำทีส่ ง่ ต่อ ถึ ง ผู้ บ ริ โ ภคที่ ม าท่ อ งเที่ ย วหรื อ ซื้ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นชุ ม ชนทำให้ ส ร้ า งความเชื่ อ มั่ น และมั่ น ใจได้ ว่ า เป็ น สิ น ค้ า ที่มีคุณภาพปลอดภัย การฟื้นฟูประเพณีตักบาตรขนมครกน้ำตาลทราย ที่จะจัดทุกวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ที่วัดแก่นจันทน์เจริญ เป็นประจำทุกปี โดยจะอาศัยการบูรณาการจากพลังจากคนในชุมชน สร้างความเข้มแข็ง ทีเ่ กิดขึน้ จากการระเบิดจากข้างในส่งเสริมให้มกี ารฟืน้ ฟูประเพณีตกั บาตรขนมครกทีม่ ปี ระเพณีดงั้ เดิม





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดแก่นจันทน์เจริญ

- (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

นางสาววิภา ภูส่ วุ รรณ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๔๖๙๖ ๓๙๕๗ - ผูป้ ระสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระปัญญา อรุโณ ตำแหน่ง ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดแก่นจันทน์เจริญ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๓๘๕ ๐๗๙๔ ๒. นายทรงยศ แสงตะวัน โทรศัพท์ ๐๘ ๑๒๗๔ ๔๔๓๓ 124

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหลักสองราษฎร์บำรุง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หลักสองปลอดอบายมุข เป็นสุขทุกประเพณี สามัคคีคือพลัง ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดหลักสองราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่ที่ตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม มีวิถีชีวิตอยู่ริมคลองดำเนินสะดวก เดิมมีประเพณีการห่อข้าวต้มมัดเนื่องในงานบุญกฐินประจำปี ในเขตพื้นที่ตำบลหลักสองมีสถานที่ถ่ายทอด ความรู้ด้านการเกษตรแก่ประชาชนตำบลหลักสองและยังเป็นสถานที่ให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษาดูงาน หาความรู้เพิ่มเติม ที่สำคัญได้แก่ ศูนย์บริการและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรประจำตำบลหลักสอง ศูนย์การเรียนรูช้ มุ ชนตำบลหลักสอง และมีผลิตภัณฑ์ของกลุม่ วิสาหกิจชุมชน เช่น น้ำมัลเบอร์ร ี่ (ลูกหม่อน) แปรรู ปน้ ำว่ านหางจระเข้ แปรรูปกะลามาพร้าว อีกทั้ง ยัง มีสถานที่ท่อ งเที่ยวสำคัญ ได้แ ก่ สวนดวงจินดา สวนมัลเบอร์ รี่ ของคุ ณสุ ร วุ ฒิ เหลื อ งขมิ้ น บ้านดินวัดกระโจมทอง เป็นต้น ๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ การประสานความร่วมมือของผู้นำในชุมชน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสอง ตลอดจนประชาชนในต่าง ชุมชนดำเนินการจัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่น ห่อข้าวต้มมัดในงานบุญกฐินประจำปี

125

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เดิมประเพณีการห่อข้าวต้มมัดในงานบุญกฐินประจำปีได้เริ่มเลือนหายไปจากชุมชน ผู้นำในชุมชนจึงได้เริ่มกิจกรรมดังกล่าวขึ้น โดยในระยะ แรกประชาชนที่อยู่ในชุมชน ตลอดจนชุมชนข้างเคียงยังไม่ทราบความเป็นมาและยังไม่ทราบว่ามีการจัดกิจกรรมประเพณีดังกล่าว





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

เมื่อมีการจัดกรรมในปีแรกผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังมีจำนวนน้อย ในปีถัดมามีผู้ร่วมกิจกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน ประชาชนในชุมชนและ ชุมชนข้างเคียง ได้ทราบว่ามีการจัดกิจกรรมดังกล่าวทุกปี คนในชุมชนจึงมีความสามัคคีช่วยกันทำการห่อข้าวต้มมัด โดยวัตถุดิบได้จากคนในชุมชนร่วมมือกัน นำมาคนละเล็กน้อย เมื่อถึงกำหนดวันจัดงาน คนในชุมชนจึงมาร่วมมือกันห่อข้าวต้มมัด และแจกจ่ายให้กับผู้ที่มาร่วมงานบุญกฐินประจำปี สะท้อนให้เห็น ถึงประชาชนในชุมชนมีความสามัคคีกันเพิ่มมากขึ้น รู้จักการแบ่งปัน และได้เรียนรู้ความพอเพียง เน้นการมีส่วนร่วม จนกระทั่งสามารถทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และมีความสามารถในการร่วมดึงคนเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ผู้นำในชุมชนเป็นตัวอย่างในการเสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดหลักสองราษฎร์บำรุง

- ผูป้ ระสานงาน (ของชุมชนฯ) พระครูประโชติสาครธรรม ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหลักสองราษฎร์บำรุง โทรศัพท์ ๐๙ ๐๙๗๒ ๒๑๘๐

126

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ วัดเขาสามสิบเลิศล้ำ แหล่งวัฒนธรรมโบราณ ตำนานแห่งจารีต ประณีตหัตถกรรม ๒)

ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดเขาสามสิบ เมื่อก่อนเป็นวัดเล็กๆ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก คนเข้าวัดทำบุญ หรือการทำกิจกรรมภายในวัดน้อยมาก ไม่มีการร่วมบูรณาการกับภาคส่วนต่างๆ แต่เมื่อเจ้าอธิการวิจิตร์ เขมจิตฺโต ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาสามสิบ ได้มีการพัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่องทั้งใน ด้านโครงสร้าง และด้านการจัดกิจกรรม ซึ่งวัดได้เข้าไปมีส่วนรับกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งบ้าน โรงเรียน และส่วนราชการ โดยวัดเขาสามสิบได้ร่วมบูรณาการกับ ภาคส่วนต่างๆ เช่น การเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน การทำหน้าทีเ่ ป็นพระธรรมวิทยากรโครงการต่างๆ ด้านศีลธรรม เป็นแกนนำจิตอาสาในการพาเด็ก เยาวชน และคนในชุมชนทำความดี การดำเนินการใดๆ จะขอความร่วมมือเป็นหลัก เพื่อเสริมสร้างให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน เกิดจิตอาสาที่อยากจะช่วยเหลือ สังคม อยากทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ๑. ใช้พลัง “บวร” ในการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของวัด และเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน โรงเรียน ภาคราชการ ในเรื่อง ที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือหรือร่วมบูรณาการได้ ๒. ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ ป กครองพาเด็ ก เข้ า วั ด ทำบุ ญ ปฏิ บั ติ ธ รรม เพื่ อ ปลู ก ฝั ง ในเด็ ก เยาวชน และคนในชุ ม ชนมี จิ ต ใจโอบอ้ อ มอารี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ๓. นำแกนหลั ก ๓ ด้ า น มาใช้ ใ นการดำเนิ น กิ จ กรรมภายในวั ด และในชุ ม ชน ได้ แ ก่ ด้านหลักธรรมทางศาสนา ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และด้านวิถีวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ ประชาชนในชุมชน เห็นคุณค่าและความสำคัญของหลักการดังกล่าว โดยเป็นแบบอย่างและนำปฏิบัติ เช่น การจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา การจัดงานประเพณีวัฒนธรรม และการปลูกพืชผักสวนครัว ซึ่งทุกกิจกรรมจะส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน รวมถึงภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ๔. ในปัจจุบัน การดำเนินงานหรือกิจกรรมใดๆ จะได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ภาคส่วนต่างๆ เนื่องจากการนำปฏิบัติที่ทำให้คนในชุมชนเห็นผลเชิงประจักษ์และผลการดำเนินงานที่ดี ทำให้คนในชุมชนอยากมีส่วนร่วม และเกิดความรักความสามัคคีกัน เกิดความรักในความเป็นชุมชน ของตนเอง 127

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

คนในชุมชนส่วนใหญ่ ยังไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการ ทำกิจกรรมภายในวัดเท่าที่ควร ทำให้การดำเนินการต่างๆ บางครั้งไม่ได้รับความร่วมมือ จากคนในชุมชน ทางวัดจึงต้องร่วมกับกลุม่ คนเล็กๆ ในชุมชนเพือ่ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในวั ด และทำให้ ค นอื่ น ๆ ในชุ ม ชนเห็ น ความสำเร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น และอยากเข้ า มา มีส่วนร่วมทำกิจกรรม เช่น การจัดงานประเพณีทอฝ้าย สายบุญ จุลกฐิน ที่ในปีแรก มีเพียงคนกลุ่มน้อยในชุมชนที่เข้ามาช่วยงานวัด แต่ในปีต่อๆ มา คนในชุมชนเห็นว่างาน บุญประเพณีดังกล่าว สร้างรายได้และชื่อเสียงให้แก่คนในชุมชน ในปีต่อมา คนในชุมชน จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของวัดมากขึ้น





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

๑. เป็นวัดต้นแบบ ในการให้ชุมชน โรงเรียน ส่วนราชการ เข้ามาศึกษา ดูงานด้านการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม โดยการใช้พลัง “บวร” ในการขับเคลื่อน การดำเนินงาน ๒. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ต่างๆ มากยิ่งขึ้น ๓. ส่งเสริมให้คนในชุมชนน้อมนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ๔. เกิดการขับเคลื่อนพลัง “บวร” อย่างเป็นรูปธรรม ทุกภาคส่วนเข้ามา ร่วมบูรณาการ การทำงานภายในวัด ชุมชน หน่วยงานราชการในชุมชนมากขึ้น





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดเขาสามสิบ

- ผูป้ ระสานงาน (ของชุมชนฯ) เจ้าอธิการวิจิตร์ เขมจิตฺโต ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเขาสามสิบ เจ้าคณะตำบลเขาฉกรรจ์ เขต ๒ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๐๖๗ ๗๐๐๖

128

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองผักหนอก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หลวงพ่อทันใจคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม พืชเศรษฐกิจเลิศล้ำ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น เดิมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้านหนองผักหนอก ไม่มั่นคงเนื่องจากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำให้ประสบปัญหาขาดทุน จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตได้ไม่คุ้มทุนทำให้ขาดทุนและไม่มีการเก็บออมเงิน ต่อมาผู้นำชุมชนมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ในการพัฒนากิจกรรมและกลุ่มอาชีพต่างๆ ขึ้นมา และมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน หลังจากนั้น ประชาชนจึงเริ่มมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต เช่น มีกลุ่มออมทรัพย์ มีความเอื้ออารีต่อกัน ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ทำให้ มีความเป็นอยู่ที่มั่นคง เมื่อประชาชนมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงแล้วประชาชนก็มีความสุข ร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และมีการส่งเสริมปลูกฝังให้ประชาชน มีคุณธรรม เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีจิตใจที่เอื้ออารีต่อกันในชุมชน พึ่งพาอาศัยกันและกันได้ ไม่มีการเหลือมล้ำในสังคมของชุมชนอีกต่อไป

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เส้นทางความสำเร็จของการมาเป็นต้นแบบของชุมชนคุณธรรม บ้ า นหนองผั ก หนอก คื อ การเริ่ ม ต้ น จากคนในชุ ม ชนประสบปั ญ หาอุ ป สรรค ในการดำเนินชีวติ ด้านต่างๆ เช่น ปัญหาด้านการประกอบอาชีพ จึงได้รว่ มกันประชุมหารือ เพื่ อ หาแนวทางแก้ ไขปั ญ หา และร่ ว มกำหนดกิ จ กรรมที่ ต้ อ งการดำเนิ น การ โดยมีเป้าหมายให้คนในชุมชน มีความสุข มีความเอือ้ อารีตอ่ กัน และมีรายได้ทยี่ งั่ ยืน เช่น การตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การรวมกลุ่มประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เป็นต้น โดยบูรณาการร่วมกับพลังบวรในพื้นที่ มีเป้าหมายให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นในมิติด้านต่างๆ

129

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ความท้าทายในการขับเคลื่อนชุมชนวัดหนองผักหนอก คือ แรกเริ่มคนชุมชนมีปัญหา ด้านความเป็นอยู่ที่ไม่มั่นคง มีรายได้หลักจากการประกอบอาชีพทำไร่เป็นอย่างเดียว และเป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ห่างไกลไม่มีบุคคลอื่นเข้าไปท่องเที่ยวมากนัก แต่ส่วนจุดแข็งสำคัญของชุมชนคือ คนในชุมชน มีความรักสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกัน มีความคิดที่อยากจะพัฒนาชุมชนของตนเองให้เจริญขึ้น จึงร่วมกัน จัดทำแผนพัฒนาชุมชน กำหนดโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับปัญหาที่มี ในชุมชน และส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการส่งเสริมอบรมให้ความรูใ้ นการลด รายจ่ายต้นทุนการผลิต รวมทั้งส่งเสริมการประกอบอาชีพปลูกพืช และสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ เสริมเพิ่มรายได้ เช่น กลุ่มแม่บ้านมีการประกอบอาชีพเสริมมีการให้ความรู้ในด้านงานหัตถกรรม งานฝีมือในด้านต่างๆ หลากหลาย เพื่อเป็นอาชีพเสริมที่มีรายได้มั่นคง ทั้งนี้ได้รับการบูรณาการ ความร่วมมือจากพลังบวรในพื้นที่เป็นอย่างดี





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองผักหนอกมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนชุมชนพัฒนาให้ก้าวต่อ ในอนาคต ด้วยความตั้งใจ โดยมุ่งหวังให้ชุมชนเกิดความยั่งยืน และเป็นชุมชนต้นแบบด้านคุณธรรม ผ่านกลไก ดังนี้ ๑. กลไกในการขั บ เคลื่ อ นหมู่ บ้ า นเศรษฐกิ จ พอเพี ย งต้ น แบบด้ า นกลไกหมู่ บ้ า น โดยนำหลักการ “บวร” เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง คณะกรรมการหมู่บ้าน และครัวเรือนต้นแบบ ๓๐ ครัวเรือน ๒. กลไกในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบด้านกลไกวัด โดยวัดหนองผักหนอกถือเป็นหลักสำคัญอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยใน การสนับสนุนครัวเรือนดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ๓. กลไกในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบด้านกลไกโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนหนองผักหนอกเป็นอีกกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน การพัฒนาหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียงด้านการสร้างรายได้ให้กบั ครัวเรือน คณะครูและบุคลากรของโรงเรียนมีสว่ นสำคัญในการฝึกอบรมอาชีพเสริมให้กบั ครัวเรือน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดหนองผักหนอก

- ผูป้ ระสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระอธิการสมพร สุจิตฺตโต ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหนองผักหนอก โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๓๘ ๒๐๗๐ ๒. นางสาวประภาภรณ์ เพิ่มพูลผาสุก ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๗ โทรศัพท์ ๐๙ ๕๑๙๗ ๙๕๙๖ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๑. นางวรนิษฐา จันทร์เอี่ยม ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๓๘๐๓ ๒. นางสาวอาภาภรณ์ เที่ยงธรรม ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๓๗๖๐ 130

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดโคนอน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ยืดมั่นหลักธรรมคำสอนของศาสนา รู้รักสามัคคี มีวิถีชีวิตพอเพียง ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดโคนอน (บ้านพักทัน) ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ แต่รายได้ไม่พอใช้จ่าย ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคน ในชุมชนเป็นอย่างมาก เมื่อมีปัญหาเรื่องปากท้อง ก็เริ่มลุกลามเป็นปัญหาครอบครัว และจบลงด้วยปัญหาอาชญากรรม ทำให้คนในชุมชนไม่มีความสุข

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ปัจจุบัน ชุมชนคุณธรรมวัดโคนอน (บ้านพักทัน) นำโดยพระครูปลัดเอนก ปุณฺณวุฑฺโฒ เจ้าอาวาสวัด และนายไพรัตน์ โฉมแฉล้ม ประธานชุมชน ได้รว่ มกันแก้ปญ ั หาความเดือดร้อนของคนในชุมชน โดยการนำหลักธรรมคำสอนของศาสนา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทาง หลักการแก้ปัญหา เน้นการขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลังบวก (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นภาคีเครือข่าย มีพระสงฆ์ที่มีความรู้ เป็นผู้นำศีลธรรมสู่ชุมชน มีการอบรมค่ายคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนให้มีภูมิคุ้มกันห่างไกลยาเสพติด ลดละเลิกอบายมุข อัตลักษณ์โดดเด่น มีการจัด กิจกรรมทางวัฒนธรรม เทศกาล ประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระขอพรผู้สูงอายุ แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ จักสานเครือ่ งใช้ในครัวเรือนจากผักตบชวา ปลาแดดเดียว ไข่เค็ม แหล่งท่องเทีย่ วเชิงเกษตร และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัดในพืน้ ทีต่ ำบลพักทัน

131

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ความยากจน ความแห้งแล้ง และปัญหายาเสพติด





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ผลลัพ ธ์ที่เกิดขึ้น ชุมชนคุณธรรมวัดโคนอน (บ้านพักทัน) เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนในชุ ม ชนมี ความสุ ขและสามารถ พึ่ ง ตนเองได้ คนในชุ ม ชนมี พ ฤติ ก รรมที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปในทางที่ ดี อี ก ทั้ ง ยั ง มี ชุ ม ชนอื่ น เข้ า มาศึ ก ษาดู ง าน ก่ อ เกิ ด รายได้ และสร้ า งเครื อ ข่ า ย ด้านวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ หนีส้ นิ ครัวเรือนลดลง อาชญากรรมลดลง ชาวบ้านมีความสุขมากขึน้ ทำให้ประชาชนมีความสุข รูร้ กั สามัคคี มีความเป็นอยูท่ ดี่ ี ยกระดับชุมชนให้ดีขึ้น ส่งเสริมการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตหลัก ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ เมื่อเศรษฐกิจดี คนในชุมชน ก็มีความสุข โดยไม่ลืมนำหลักธรรมทางศาสนามาเป็นหลักในการยึดเหนี่ยวจิตใจ อีกทั้งต่อไปในอนาคตต้องส่งเสริมให้คนในชุมชน รู้จักนำสื่อดิจิทัลมาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านทางช่องทางออนไลน์ ก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ต้องทำให้สำเร็จให้ได้





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดโคนอน - ผู้ประสานงานของชุมชน นายไพรัตน์ โฉมแฉล้ม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๙๑ ๑๒๕๕ - ผู้ประสานงานสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นางศรีสุคล พรมโส โทรศัพท์ ๐๙ ๕๙๖๑ ๗๙๗๙ 132

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดตระพังทอง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนน่าอยู่ เชิดชูประเพณีวัฒนธรรม คุณค่าล้ำแหล่งเที่ยวประวัติศาสตร์ ใช้ชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด ตระพั ง ทอง ตั้ ง อยู่ ใ นเขตอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุ โขทั ย ซึ่ ง มี ค วามโดดเด่ น ในด้ า นของมิ ติ ท างประวั ติ ศ าสตร์ และวัฒนธรรม กล่าวคือ มีประวัตคิ วามเป็นมาทีย่ าวนัน้ ปรากฏร่องรอยการใช้พนื้ ทีม่ าตัง้ แต่สมัยกรุงสุโขทัย นอกจากนีย้ งั ปรากฏโบราณสถานซึง่ ตัง้ อยูใ่ นบริเวณ ของวัดตระพังทอง ได้แก่ เจดียเ์ กาะกลางน้ำ รวมถึง บ่อน้ำศักดิส์ ทิ ธิ ์ ๑ ใน ๓ บ่อ ของจังหวัดสุโขทัย ทีใ่ ช้ในพลีกรรมตักน้ำ เพือ่ ใช้ในงานพระราชพิธบี รมราชาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เป็นต้น นอกจากนี ้ ชุมชนคุณธรรมวัดตระพังทองร่วมกันอนุรกั ษ์และรักษาวัฒนธรรมของท้องถิน่ อาทิ การทำกระทงกาบกล้วย การทำเครื่องสังคโลก การฟันไม้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า และควรค่าแก่การอนุรักษ์รักษาไว้ให้คงอยู่ต่อไป

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดตระพังทอง ในอดีตเคยประสบปัญหารายได้ของคนในชุมชน ไม่เพียงพอ ราคาสินค้าตกต่ำ ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน การขาดการรวมกลุ่มของภาคประชาชน ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชน รวมถึงปัญหาด้านสังคม แต่เนื่อง ด้ ว ยประชากรในชุ ม ชนส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนไทยพื้ น ถิ่ น นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธ โดยน้ อ มนำหลั ก ธรรม ทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวติ มีวดั ตระพังทองเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาจิตใจของคนในชุมชน และมีพระมหาดำรงค์ สนฺตจิตฺโต เจ้าอาวาสวัด เป็นแกนนำหลักที่ประชาชนเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ขับเคลื่อนชุมชนด้วยโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และโครงการปันสุข อีกทั้งเป็นองค์กร ในการประสานการบูรณาการพลัง “บวร” ในพื้นที่ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงวัดตระพังทอง จนเกิดเป็นสังคมคุณธรรมที่มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทุกคนในชุมชน มีคณ ุ ธรรม มีความจงรักภักดีตอ่ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยม์ คี วามสมานฉันท์ ยึดมัน่ ในหลักธรรม ทางศาสนา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยไปใช้ในการดำรงชีวิต ปัญหาดังกล่าวจึงค่อยๆ หมดไป สิ่งดีงามเกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป 133

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

อุปสรรคในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม มีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. สภาพอากาศในช่วงฤดูฝน เพราะการใส่บาตรนั้นประชาชนหรือนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาใส่บาตรจะนั่งรอพระสงฆ์บริเวณสะพานไม้ เกาะกลางน้ำวัดตระพังทอง ที่ไม่มีหลังคาหรือที่บังฝน พระสงฆ์ไม่สามารถออกรับบิณฑบาตได้ การแก้ปัญหา คือ ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะใส่บาตร จะนำชุดใส่บาตรมาถวายแด่พระสงฆ์ที่หอฉันภัตตาหาร ๒. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) การแก้ปัญหา คือ ทางวัดจัดหน่วยคัดกรองประชาชน หรือท่องเที่ยวที่บริเวณก่อนทางเข้าสะพานไม้เกาะกลางน้ำวัดตระพังทองในทุกวัน โดยได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครหมู่บ้านตำบลเมืองเก่าและจัดที่นั่ง ให้ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวให้มีการเว้นระยะห่าง





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดตระพังทองจะเป็นสุดยอดชุมชนคุณธรรมต้นแบบของกระทรวงวัฒนธรรม ยกระดับโครงการ “ใส่บาตรสะพานบุญรับอรุณสุโขทัย” จากระดับจังหวัดสู่ระดับประเทศ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดตระพังทอง

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชน) พระมหาดำรงค์ สนฺตจิตฺโต ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดตระพังทอง โทรศัพท์ ๐๘ ๕๐๕๒ ๓๗๙๗ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย) ๑. นางสาวปริณดา สิงห์ลอ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๐ ๗๒๐๖ ๒. นายวิษณุพงศ์ สุจารีย์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๒๖๕๗ ๓. นางสาวธนาภรณ์ พริ้งบุญเจริญ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๒๗๓๕ 134

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองวัลย์เปรียง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ยิ่งให้ยิ่งได้ คำว่าให้ไม่สิ้นสุด ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดหนองวัลย์เปรียง มีพลังบวร เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่างๆ และมีวัดเป็นศูนย์รวมใจของชาวชุมชน ด้วยหลักความเมตตา ด้วยการให้ เมื่อพบเห็นผู้ที่มีความทุกข์ร้อน เรื่องต่างๆ ก็พยายามหาทางช่วยเหลือ อีกทั้งยังมีภาคเอกชน (โรงงาน) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนการพัฒนา โดยนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมมาปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับพื้นที่ เกิดเป็นชุมชนแห่งการให้ การช่วยเหลือ การดูแลซึ่งกันและกันในทุกช่วงวัย ไม่มีการทอดทิ้ง เด็ก เยาวชน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ไว้ข้างหลัง

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เกิดจากผู้นำชุมชนโดยพระครูใบฎีกาสุรพล มหาปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดที่มองเห็นถึงบทบาทของวัดในการให้ความช่วยเหลือ สังเคราะห์ ชุมชนได้ โดยน้อมนำสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาชุมชน และทุกภาคส่วนบูรณาการทำงานแบบองค์รวม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ร่วมกับพลัง “บวร” อีกทั้งภาคประชารัฐในพื้นที่ และทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ โดยระเบิดจากข้างใน ตามความต้องการของชุมชน

135

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การปรับเปลี่ยนความคิดของประชาชนในพื้นที่ โดยการให้การช่วยเหลือ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ความเดื อ ดร้ อ น มี ค ำพู ด ของเจ้ า อาวาสที่ ยื น ยั น ว่ า ไม่ ท้ อ ทั้ ง ยั ง บอกด้ ว ยว่ า “อาตมาคิดว่า ยังมีสิ่งดีๆ ที่ควรทำอีกเยอะ ทุกวันนีย้ งั เสียดายว่า เวลามันสัน้ อยากมีเวลาเยอะๆ อยากมีหลายๆ มือ อยากทำสิง่ ดีๆ ให้สงั คม” โดยเริม่ ลงมือทำให้ประชาชนเห็น โดยเป็นผูใ้ ห้กอ่ น เมื่อผู้นำชุมชนเป็นผู้ให้ และมีผู้เห็นก็ช่วยกันประชาสัมพันธ์บอกต่อถึงกิจกรรมที่ดีต่างๆ ของวั ด ประชาชนเกิ ด ความศรั ท ธาให้ ก ารสนั บ สนุ น เกิ ด ความสามั ค คี ร่ ว มแรงร่ ว มใจ ทั้งเรื่องของกำลังทรัพย์ กำลังสิ่งของ และกำลังกายหลั่งไหลมาเข้ามาในชุมชนอย่างต่อเนื่อง





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ทุกภาคส่วนในพื้นที่ทั้งประชาชน ส่วนราชการ ภาคเอกชน สถานศึกษา และโรงงาน เข้ามาสนับสนุน มีสว่ นร่วมบูรณาการการทำงานร่วมกับชุมชน เกิดชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง ก่อเกิดการเสียสละการแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น เกิดความรักความสามัคคี แม้ในยามที่ประสบ กั บ ปั ญ หา หรื อ สถานการณ์ ต่ า งๆ ก็ จ ะมี ผู้ ใ ห้ ค วามช่ ว ยเหลื อ และสามารถผ่ า นพ้ น ไปได้ เกิดการปลูกฝังคุณธรรม การปลูกฝังความเมตตา โดยเริม่ จากการ “ให้” ในใจของคนในชุมชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ชุมชน และสังคม ตามหลักที่ว่า “เป็นผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก”





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดหนองวัลย์เปรียง

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชน) พระครูใบฎีกาสุรพล มหาปญฺโญ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหนองวัลย์เปรียง โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๕๘ ๖๗๗๙ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสาวสุลาวัณย์ เบ็ญจวรรณ์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๔๗๕๙

136

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสมหวัง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ วิถีดี มีความสุข เน้นคุณธรรม ทำความดีด้วยพลังบวร สู่ความสมหวัง ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดสมหวัง ที่มีวิถีชีวิตท้องถิ่นที่เรียบง่าย มีความสงบสุข มีความรักสามัคคีในชุมชน เน้นคุณธรรมเป็นที่ตั้ง ผู้นำหลักของ พลังบวร มีความเข้มแข็ง เสียสละ พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งยั่งยืน ชุมชนคุณธรรมวัดสมหวัง มีหลวงปู่อ้วน อดีตเจ้าอาวาสวัดสมหวังเป็นศูนย์รวมจิตใจ วัดสมหวัง เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรม ให้ความรู้ด้านศีลธรรม ด้านประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแก่เยาวชนและประชาชน ปลูกฝังเยาวชน และประชาชนให้เป็นคนดี มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยใช้พลังบวร บ้าน วัด โรงเรียน เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง กิจกรรม ที่โดดเด่น เช่น งานประเพณีลอยกระทงที่มีประชาชนเดินทางมาร่วมสืบสานประเพณีอย่างเนืองแน่น มีการจัดกิจกรรมจิตอาสาสม่ำเสมอ และในยามวิกฤต วัดสมหวังจะเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือประชาชนด้วยความร่วมมือของผู้นำในชุมชน ในส่วนต่างๆ

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เส้นทางสู่ความสำเร็จของชุมชน คือ ๑. ความสามัคคี ชุมชนยึดความสามัคคีเป็นที่ตั้ง ผู้นำจะถามประชาชน ในชุมชนก่อนทีจ่ ะดำเนินการใดๆ ในชุมชนทีม่ ผี ลกระทบต่อประชาชนในชุมชน พูดคุยทำความเข้าใจ ถึงผลที่ได้รับผลกระทบ และให้ประชาชนในชุมชนช่วยคิด ใช้น้ำใจ ไม่บังคับ ชั่งน้ำหนักหาเหตุผล ๒. ผู้ น ำในชุ ม ชนมี ค วามเข็ ม แข็ ง มี ค วามเสี ย สละ ทุ่ ม เทในการพั ฒ นา เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นต้นแบบให้เด็กและเยาวชนได้นำไปปฏิบัติ ประธานชุมชนพยามสร้าง ความเป็นชุมชน การสร้างตลาดวิถีชุมชน สร้างโคกหนองนาโมเดล โรงเรียนมีบริบทที่ดีพัฒนา ทั้ ง ด้านวิชาการและด้านคุณธรรมควบคู่กัน ซึ่งดูจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ในชุมชนมีความรักความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ การอยู่ร่วมกันของคนต่างศาสนา มีความเกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

137

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

- ปัญหาของเด็กและเยาวชนในชุมชน ด้านพฤติกรรม มีความฟุ้งเฟ้อ ขาดวินัย ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ขาดความร่วมมือกับชุมชน ไม่มีพลังเยาวชน ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีกิริยามารยาทที่ก้าวร้าว ขาดความเคารพเชื่อฟัง ไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ไม่เรียนรู้วิถีท้องถิ่นขาดรากเหง้าทางวัฒนธรรม - การก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคนั้น โดยผู้นำทั้งสามหลัก คือพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) พยายามพูดคุย ชักนำ ปลูกฝังสิง่ ดีงาม ผูน้ ำชุมชน ผูป้ กครอง พ่อแม่ ก็จะเป็นแบบอย่าง ทีด่ ใี ห้เด็กและเยาวชน ให้ความเคารพผูน้ ำทัง้ สามหลัก ในวันสำคัญทางศาสนาเจ้าอาวาสวัดสมหวัง ก็จะเทศนาธรรมและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม คุณธรรม สั่งสอนชี้แนะแนวทางคติธรรม ปลูกฝัง หลักคุณธรรมจริยธรรมทีด่ งี าม หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิน่ ก็ประชาสัมพันธ์ทางสื่อโซเซียล สื่อออนไลน์ที่เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนเปลี่ยนไปในทางที่ดีงาม มีความเข้าใจในวิถีชุมชน มากขึน้ รักและหวงแหนในวัฒนธรรมท้องถิน่ มีคณ ุ ธรรม จริยธรรม และน้อมนำหลักคุณธรรม ๔ ประการ พอเพี ย ง วิ นั ย สุ จ ริ ต จิ ต อาสา มาเป็ น แนวปฏิ บั ติ ชุ ม ชนได้ ฟื้ น ฟู แ ละภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น และถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นหลัง ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต และสร้างอาชีพสร้างรายได้ในอนาคต





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสมหวัง

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชน) ๑. พระครูสุตธรรมสิทธิ์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสมหวัง ประธานชุมชนคุณธรรมวัดสมหวัง โทรศัพท์ ๐๖ ๒๕๖๕ ๔๒๕๑ ๒. นางสายสุนีย์ วิชัยกุล ตำแหน่ง ประธานชุมชนคลองใหม่ พรุบางพระ โทรศัพท์ ๐๙ ๕๐๙๖ ๒๙๙๒ ๓. นางพจนารถ ทวิชสังข์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ เทศบาลวัดประดู่ โทรศัพท์ ๐๖ ๓๐๘๐ ๘๒๔๓ ๔. นายพิมล ทวัชสังข์ ตำแหน่ง กำนันตำบลวัดประดู่ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๗๓ ๖๓๔๔ ๕. นางสมหมาย เพ็งสวัสดิ์ ตำแหน่ง แพทย์ประจำตำบลวัดประดู่ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๗๓ ๓๑๕๒ ๖. นางมารศรี ศรีสมบัติ ตำแหน่ง ครูโรงเรียนวัดสมหวัง โทรศัพท์ ๐๙ ๖๘๖๐ ๙๗๙๒ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย) นายจาตุรนต์ พงศาปาน ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๘๙๐๖ 138

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดศาลาเย็น อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ศรัทธามากมี สามัคคีชุมชน มงคลวัดดี สู่วิถีคุณธรรม ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น - งานต้นโพธิ์ เป็นงานประจำปีและความสามัคคีโดดเด่นซึ่งใช้ระยะเวลาในการจัดงานเสร็จภายใน ๑ วัน - มีผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นต้นแบบ ขับเคลื่อนให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น - ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนอย่างต่อเนื่อง - มีการกินเหล้าในงานศพ ทำให้เสียภาพลักษณ์ เสียชือ่ เสียงของชุมชน และไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ปจั จุบนั นีไ้ ม่มกี ารกินเหล้าในงานศพแล้ว เนื่องจากผู้นำชุมชนได้กำหนดให้ไม่มีการกินสุราหรือ ของมึนเมาในงานศพ - เจ้าอาวาสเป็นที่พึ่งให้กับชุมชนและโรงเรียนโดยการช่วยเหลือเรื่องงบประมาณ การประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น การเผยแผ่ศาสนา วัฒนธรรมให้กับนักเรียนในสถานศึกษา

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ การนำไปสู่ ค วามสำเร็ จ จริ ง ๆ แล้ ว มองวิ ธี ก ารแก้ ไขปั ญ หาทุ ก ปั ญ หา ให้เหมือนกันหมด ตัวอย่าง เช่น ถ้าคนป่วยบอกว่าคันแล้วให้หมอเกา หมอก็เกาให้ไม่ถกู ที ่ แต่ถา้ ให้คนป่วย เกาเองเขาก็จะเกาถูกที่ จึงนำเอาปัญหานี้มาสะท้อนเข้าสู่ชุมชน และได้เก็บสถิติเกี่ยวกับปัญหา การทะเลาะวิวาท ปัญหาการดื่มเหล้า ปัญหาการใช้จ่ายต่างๆ โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง เก็บมาสะท้อนให้กับชาวบ้านได้รับรู้ และได้นำเอาไปเสนอในที่ประชุมและเสนอท่านผู้นำชุมชนว่า เราควรมีการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน สร้างกฎกติกาของหมูบ้าน ว่าเราควรทำกิจกรรมอะไร เพื่อส่งผลให้ปัญหานี้ดีขึ้น อาจจะไม่ได้ดีขึ้นมาก แต่ขอให้มันดีขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่มาก ก็น้อย โดยเริ่มจากการ ลด ละ เลิก โดยการนำหลักธรรมคำสอนชี้นำเยาวชนให้ห่างไกลอบายมุข ซึ่ ง เริ่ ม จากครอบครัวก่อ นเป็นอันดับแรกเพราะครอบครัวมีบทบาทสำคัญ ในการปลูกฝัง เด็ก และเยาวชน อาจจะค่อยๆเริ่มทีคนทีละครัวเรือน หรือในกลุ่มคนที่ชอบในการสังสรรค์และบริโภค เครื่องดื่มมึนเมาแอลกอฮอลล์ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ซึ่งนำไปสู่วิวัฒนาการของการลด ละ เลิก อบายมุขและสะท้อนเข้ามาสู่สังคมกลายเป็นเส้นทางสู่ผลสำเร็จในชุมชน 139

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

อุปสรรคของวัดศาลาเย็นกับการแก้ปัญหาทางคุณธรรม อุปสรรคของวัดศาลาเย็นกับการแก้ปัญหาด้านคุณธรรมนั้น มีทั้งคนในชุมชนบางกลุ่ม ไม่เห็นด้วย กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ บางคนมีมิจฉาทิฎฐิหรือการเห็นผิด โดยเห็นว่าการให้ทานนั้นไม่มีผลใดๆ การบูชาไม่เห็นประโยชน์ การสักการะเพื่ออะไร การทำดีได้ดีนั้นไม่มีจริง การเห็นว่าไม่มีโลกหน้า ฉะนั้นทำดีไปเพื่ออะไร การไม่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เข้ามาในลักษณะวัตถุนิยม ทำให้ผู้คนมีแนวคิดแตกต่างกันไป ก่อให้เกิดการปฏิบัติ แสดงออก แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดศาลาเย็น ได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการอบรมบ่มนิสัยให้กับ เด็ก เยาวชน และประชาชน ในชุมชนและเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนบ้านตากแดด ศูนย์เด็กเล็กบ้านโพธิ์คู่ ชุมชนหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากูก สถานีตำรวจตากูก โรงพยาบาลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ กับวัดศาลาเย็น แห่งนี้ เพื่อปลูกฝังให้ทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่ได้เกิดการพัฒนา ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ยกระดับคุณภาพของจิตใจให้ชุมชน อยู่อย่างสงบสุข มีคุณธรรม ในการปฏิบัติตนดำรงชีวิต โดยขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การดำเนินงาน





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดศาลาเย็น

- ผู้ประสานงาน (ชุมชน) ๑. พระอธิการสายแพร กตปุญโญ ดร.ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศาลาเย็น โทรศัพท์ ๐๘ ๙๔๒๘ ๙๒๕๑ ๒. นายไพรี พริ้งเพราะ ตำแหน่ง ไวยาวัจกร โทรศัพท์ ๐๘ ๗๘๗๕ ๕๕๗๔ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์) ๑. นางสาววาสนา ไชยพรรณา ตำแหน่ง วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๘๐ ๙๗๐๔ ๒. นางสาวปรียากรณ์ ทะคำสอน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๖๓๑๖ 140

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเทพพลประดิษ ฐาราม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หมากเบ็ง บายศรี ดอกไม้สด งามจรดพวงมาลัย หลวงพ่อใหญ่นามไกลพะธาตุคู่ สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดเทพพลประดิษฐาราม มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและมีประเพณีวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยง ให้เกิดเป็นชุมชนวิถีเด็กวัด ทำให้เป็นชุมชนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำจิตน้ำใจต่อกัน มีความสามัคคีวัฒนธรรมให้กับนักเรียนในสถานศึกษา

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดเทพพลประดิษฐาราม มีวัฒนธรรมประเพณีที่ดี มีงานบุญประเพณีที่ไร้สุราของมึนเมาภายในวัด เป็นเครื่องมือรื้อฟื้น น้ำจิตน้ำใจของคนในชุมชนให้มคี วามเอือ้ อาทรต่อกัน เพราะว่าวัฒนธรรมประเพณีของไทย เป็นการรวบรวมคนให้มาอยูร่ วมกัน มาช่วยกัน เป็นเรือ่ งของความเชือ่ ความศรัทธาที่ทุกคนมีเหมือนกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว เรื่องประเพณีต่างๆ วัดเองก็ดำเนินการทำมาโดยตลอดอยู่แล้ว จึงสามารถนำมาจัดกระบวนการทำงานใหม่ ให้มกี ารดำเนินการต่างๆ ให้เป็นระบบ และมอบหมายงานตามความเหมาะสมและความสามารถของแต่ละคน ทำให้คนในชุมชนทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี เช่น ประเพณีบุญเผวด ประเพณีวัดสงกรานต์ ประเพณีห่มผ้าพระธาตุ เป็นต้น นอกจากจะทำให้เกิดความเอื้ออาทร ต่อกันแล้ว งานประเพณีไร้สุราสิ่งมึนเมาภายในวัดยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ได้อีก ทำให้ปัญหาความไม่ลงรอยกันของคนในชุมชนลดลง

141

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ปัญหา/อุปสรรค จะเกิดขึ้นเสมอในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมตามโครงการต่างๆ ในการจะแก้ปัญหาให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด คือ หัวใจสำคัญ ก็คือการเตรียมงาน เราต้องมานั่งวางแผน ประชุมกัน มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ต้องหันหน้าเข้าหากัน ตรงนี้แหละคือหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดความสามัคคี เพราะทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การจัดงานให้อกมาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ฉะนั้น ทุกคนจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันร่วมมือกัน เป็นกุศโลบายที่ทำให้คนได้มา พูดคุยกัน ได้เปิดใจกัน





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

จากการดำเนินการของวัด ได้ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติงานร่วมกันเรื่อยมา เห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชนตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน ชุมชนคุณธรรมวัดเทพพลประดิษฐาราม มีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตด้วยความอยู่ดีมีสุข ภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม บนพื้นฐานของความพอเพียง มีวินัย สุจริต และมีจิตอาสา ซึ่งดำเนินการโดยใช้หลัก บวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ จนกระทั้งเกิดรูปธรรม ความสำเร็จ ในด้านต่างๆ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดเทพพลประดิษฐาราม

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชน) ๑. พระครูพิมลธรรมประดิษฐ์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเทพพลประดิษฐาราม โทรศัพท์ ๐๘ ๖๘๕๔ ๗๕๘๖ ๒. นายแก้วบุญโขง โคติเวทย์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ โทรศัพท์ ๐๘ ๔๓๙๓ ๑๒๓๒ ๓. นางสร้อยสุดา มาดี โทรศัพท์ ๐๖ ๒๓๓๔ ๑๑๕๕ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางศิราณี ขำคม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๗๕๘๖

142

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสุวรรณาราม อำเภอคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ สุวรรณาราม เสริมสร้างคุณภาพชีวิต สู่สุขภาวะ ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น พระมหาอภิชาติ อภินนฺโท เจ้าอาวาส ร่วมกับผู้นำชุมชน จัดตั้งโครงการ “ตลาดวัดบ้านเรา” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในทั้งในระดับอำเภอ และระดับจังหวัดหนองบัวลำภูหลากหลายภาคส่วน ร่วมกันประชุมจุดเด่นของตลาดวัดบ้านเรา คือผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นในวิถีชุมชน เช่น ข้าวจี่โบราณที่มีถึง ๕ สูตร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอสุวรรณคูหาที่มีประเพณีบุญข้าวจี่ ผลิตภัณฑ์การเกษตรปลอดสารพิษ รวมทั้งมีเวทีให้เยาวชน/ นักเรียน และปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละตำบลของอำเภอสุวรรณคูหาได้มาใช้พื้นที่แสดงความสามารถ แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย จะมีการตรวจรับรองคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านแต่ละรายนำมาจำหน่าย

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ การระดมสมองวิเคราะห์โครงการ “ตลาดวัดบ้านเรา” โดยผู้นำชุมชน คุณธรรมวัดสุวรรณาราม ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ภายในชุมชน บูรณาการหลายหน่วยงานในพื้นที่ โดยจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม เปิดตลาดวัดบ้านเรา โดยมีนายอำเภอสุวรรณคูหา เป็นประธาน ประชาสัมพันธ์ โดยการสร้าง เพจไทอีสาน รายการของดีเมืองหนองบัวลำภู ตอนตลาดวัดบ้านเรา เมือ่ วันที ่ ๑๐ มิถนุ ายน ๒๕๖๔ เพื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ต ลาดที่ ตั้ ง อยู่ ใ นชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด สุ ว รรณาราม โดยเป็ น ตลาด ที่ มี ม ากกว่ า การซื้ อ ขายสิ น ค้ า แต่ มี เรื่ อ งราวความเมตตาปราณี การใส่ ใ จสิ่ ง แวดล้ อ ม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วย ศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์การจัดตลาด โดยคณะครู กศน.อำเภอสุวรรณคูหานำนักเรียนชาวบ้าน เข้าศึกษาดูงานแหล่งเรียนรูแ้ ปลงผักปลอดสารเคมี ตลาดวัดบ้านเรา และนำผูน้ ำชุมชนคุณธรรม วัดสุวรรณรามและชาวบ้านชุมชนบ้านภูทอง

143

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ข้ อ มู ล อำเภอสุ ว รรณคู ห า จั ง หวั ด หนองบั ว ลำภู ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เกษตรกรยั ง คงใช้ ปุ๋ ย อิ น ทรี ย์ ใ นข้ า ว ข้ า วโพด และยางพารา แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ กลับพบว่าได้เริม่ มีการนำสารเคมีการเกษตรมาใช้กำจัดหญ้าในไร่ออ้ ย พร้อมนำนวัตกรรมใหม่ดา้ นการไถพรวนดิน ไม่วา่ จะเป็นรถไถเดินตาม หรือรถไถแบบนัง่ ขับ เป็นต้น เนือ่ งจากมีปจั จัยทีส่ ำคัญ คือ ต้องเร่งผลิตอ้อยเพือ่ ป้อนโรงงานน้ำตาลในพืน้ ทีอ่ ำเภอข้างเคียงนัน่ เองต่อมาประสบปัญหาด้านศัตรูพชื ส่งผลให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลง จนกระทัง่ เข้าสูย่ คุ ปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมภายในประเทศ เกิดการเปลีย่ นแปลงระบบการผลิต ซึง่ ได้มกี ารนำเอานวัตกรรม เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรงและวัตถุที่เป็นการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเข้ามาใช่ในภาคการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกษตรกรในปัจจุบันเพิ่มการลงทุน ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการทำการเกษตรและมีตัวเลขการใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก่อเกิดผลเสีย ต่อสุขภาพมากมาย





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

โครงการตลาดวัดบ้านเรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน เช่น พฤติกรรมการปรับแนวคิด จะเห็นได้ชัดเจนมากในเรื่องของ การปรับพฤติกรรมในการทำเกษตร โดยชาวบ้านมีการชักชวนกันในการทดลองทำน้ำหมักสูตรต่างๆ หรือแม้กะทัง่ การชักชวนการทำการเกษตรแบบผสมผสานมากกว่า การปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีทางการเกษตรก็ลดลง สะท้องคุณธรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียง





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสุวรรณาราม

- ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๑. นางสาวพรทิพา พรรณสมบัติ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๖๙๓๙ ๒. นายวิชิต สุทธิสิงห์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๖๙๐๓ ๓. นางธีรภัทร ขูรูรักษ์ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ โทรศัพท์ ๐๙ ๕๖๗๐ ๑๒๔๗

144

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดจันทรังษี (บ้านนา) อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ หลวงพ่อโยกคู่บ้าน มหาวิหารงามสง่า งามตาเจ้าแม่กวนอิม ถิ่นทำลอบดักปลา ต้นยางนากว่า ๑๐๐ ปี ตามลอยวิถีพอเพียง ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดจันทรังษี (บ้านนา) กว่าจะมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบได้ มีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น ผู้นำ “บวร” ไม่เข้าใจคำว่า ชุมชนคุณธรรม หมายถึงอะไร ต้องดำเนินการแบบไหน ทำอย่างไร เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานประจำพื้นที่ให้ความรู้ความเข้าใจและร่วมดำเนินการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ กับผู้นำชุมชนทุกด้าน เพื่อให้ผู้นำชุมชนคุณธรรมและประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมและยอมรับโดยดำเนินงานในชุมชนด้วยหลัก ๓ ประการ คือ ๑. ปฏิบตั ติ ามหลักธรรมคำสอนของแต่ละศาสนา ๒. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓. ดำรงชีวติ ตามวิธธี รรมของชุมชน เมือ่ ผูน้ ำชุมชนเริม่ มีความรู้ มีความเข้าใจ จึงได้เริ่มพัฒนาชุมชุนอย่างจริงจังและดำเนินการด้วยความเข้มแข็งตลอดมา

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดจันทรังษี (บ้านนา) เป็นชุมชนที่ ผู้นำ “บวร” (บ้าน-ชุมชน/วัด–ศาสนสถาน/โรงเรียน-ราชการ) มีความเข้มแข็งและดำเนินงานในการ พั ฒ นาชุ ม ชนอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ในทุ ก ๆ ด้ า น ทั้ ง ด้ า นการดำเนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก ธรรม ทางศาสนา ด้านการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการดำรงชีวติ แบบวิถีวัฒนธรรม ร่วมทั้งให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชาติใน ๓ สถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย ์ ผูน้ ำชุมชนและประชาชนได้ให้ความสำคัญร่วมมือ ร่ ว มใจ ในการพั ฒ นาชุ ม ชน ให้ เ ป็ น ชุ ม ชนที่ โ ดดเด่ น สร้ า งเสน่ ห์ ใ ห้ กั บ ชุ ม ชน ทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านอาชีพและวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน

145

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ความท้าทาย/อุปสรรค ชุมชนคุณธรรมวัดจันทรังษี (บ้านนา) มีปัญหา อุ ป สรรคด้ า นยาเสพติ ด ประชาชนเยาวชนในชุ ม ชนมี ผู้ เ สพยา จึ ง ทำให้ ผู้ น ำชุ ม ชน มีความท้าทายในการบริหารและพัฒนาให้เดินหน้าเป็นชุมชนที่เข้มแข็งโดยการนำผู้เสพ เข้าโครงการบำบัดผู้ติดยา และมีการอบรม TO BE NUMBER ONE ของชุมชนบ้านนา เพื่อนำเยาวชนมาร่วมกิจกรรมสร้างความรัก ความสามัคคี ทำให้ปัญหายาเสพติดลดลง และชุมชนได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความสามัคคีจนเกิดความเข้มแข็งและต่อยอด มาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดจันทรังษี (บ้านนา) ได้มีการพัฒนาจากชุมชนคุณธรรม เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสามัคคีช่วยเหลือ ซึง่ กันและกัน แบ่งปันน้ำใจปรองดองสมานฉันท์ ผลกระทบเกิดขึน้ จากการทีช่ มุ ชนคุณธรรม บ้านนามีปัญหาเรื่องยาเสพติดในชุมชน และผู้นำชุมชนได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในการปราบปรามยาเสพติด และส่งผู้เสพไปบำบัดจนหายเป็นปกติและ กลับมาดำเนินชีวิตสร้างอาชีพสร้างรายได้ เป็นประชาชน เยาวชนที่ดีมีคุณธรรม และสร้าง ความเข้มแข็งให้กับชุมชน ชุมชนคุณธรรมบ้านนา ผู้นำชุมชนและประชาชน ร่วมกันดำเนิน การต่อยอดชุมชนคุณธรรมบ้านนาให้เป็นชุมชนที่โดดเด่นและสร้างความเข้มแข็งให้กับ ชุมชน สร้างเครือข่ายขยายชุมชนคุณธรรมให้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ในชุมชนให้ได้รับความประทับใจ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดจันทรังษี (บ้านนา)

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ)

นายสุทิน คงพละ ตำแหน่ง กำนันตำบลหัวไผ่ ประธานชุมชนคุณธรรมบ้านนา โทรศัพท์ ๐๙ ๕๗๑๒ ๙๕๗๙ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

นางสาวน้ำฝน กล่อมเกลี้ยง ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๓๔๑๙ 146

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดศรีโพธิ์ชัย บ้านปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ มัดหมี่ดอกสะแบง เบิ่งแยงหมอลำ เรียนรู้หัตถกรรม วัฒนธรรมบ้านปลาค้าว ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดศรีโพธิ์ชัย เป็นชุมชนเผ่าภูไท รักความสงบ ชอบความสนุกสนาน งานฝีมือเป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ลือชื่อคือ หมอลำ มีงานฝีมือที่ยอดเยี่ยม คือ งานแกะสลักตุ๊กตาไม้ขนุน การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขิด หมอนขิด หมอนฟักทอง การถักเสื้อไหมพรม รวมไปถึงการแสดงดนตรี หมอลำ กลองยาว ร้องสรภัญญะ กล่อมลูกผญา สอย เป่าแคน ดีดพิณปัญหาในชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ภัยธรรมชาติ เช่น ปัญหาความแห้งแล้งน้ำท่วมในฤดูฝน ต้องโยกย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนไปหาบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำ หนองน้ำและปัญหาจากสัตว์ร้าย ปัญหาโรคระบาดต่างๆ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลชนบท เมื่อความเจริญเข้ามาในชุมชนจะมีปัญหาในเรื่องของสภาพเศรษฐกิจของชุมชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาหนี้สินและการพนันและสื่อที่ไม่เหมาะสมในเด็กและวัยรุ่น

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ทุ ก คนในชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด ศรี โ พธิ์ ชั ย ได้ ร่ ว มกั น พั ฒ นาชุ ม ชนให้ เ ป็ น “ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” เป็นการพัฒนาอย่างมีเป้าหมาย เพื่ อ ให้ ค นในชุ ม ชนมี ชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น และมี ค วามสุ ข อย่ า งยั่ ง ยื น โดยทุ ก คนมี ส่ ว นร่ ว มดำเนิ น การ ในทุกกระบวนการ ได้แก่ ประกาศเจตนารมณ์ทจี่ ะพัฒนาชุมชน กำหนดเป้าหมายพัฒนาชุมชนปฏิบตั ิ ตามศาสนา รักษาสืบสานประเพณี ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดทำแผนพัฒนาชุมชน โดยจะมี การเปิดเวทีประชุมแกนนำหมูบ่ า้ นทำความเข้าใจวิธกี ารแผนชุมชน เน้นวิถพี อเพียง ลดรายจ่าย เพิม่ รายได้ ปลูกผักสวนครัวกินได้ ตั้งกลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มวิชาชีพต่างๆ แผนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านปลาค้าว ภายใต้หลักธรรมทางศาสนาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีกลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมพืช คืนความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนป่า แผนสืบสานรักษา วิถีประเพณีวัฒนธรรม ท้องถิ่น สร้างความภาคภูมิใจให้เยาวชนคืนถิ่น โดยมี ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา มีแหล่งเรียนรู้ พันธ์ขา้ วเพือ่ สุขภาพ มีกลุม่ วิสาหกิจชุมชนกลุม่ โฮมสเตย์ กลุม่ ท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม กลุม่ เกษตรอินทรีย์ มีการจัดทำโครงการต่างๆ โดยผ่านเวทีประชาคมการบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนและมีการปรับปรุง แผนทบทวนแผน เพือ่ ให้โครงการมีคณ ุ ภาพ มีการติดตามประเมินผลสำเร็จอย่างต่อเนือ่ ง 147

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ปัญหาคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูง มีการแก้ไขปัญหา คือ ขอความร่วมมือ ผู้นำเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ให้ระมัดระวังสอดส่อง พฤติ ก รรมและรายงานให้ อ ำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสั ม พั น ธ์ ให้ ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ งอุ บั ติ เ หตุ ท างถนน ปั ญ หาคื อ ไม่ มี ก ารป้ อ งกั น อุ บั ติ เ หตุ ท างถนน และอาชญากรรม วิธีการแก้ปัญหาคือการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างในจุดเสี่ยงที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก ลูกศรบอกทาง รวมทั้ง ได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านเขตชุมชนคุณธรรม วัดศรีโพธิ์ชัยได้ร่วมมือร่วมมือกับทางผู้นำประชาชน ช่วยกันสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ รณรงค์และประชาสัมพันธ์รวมถึงมีการฝึกอบรมให้ความรู้ ตำบลปลาค้าวไม่มแี หล่งท่องเทีย่ ว แต่ได้สง่ เสริมการท่องเทีย่ วให้เกิดขึน้ ในชุมชน เช่น จัดงานประเพณีประจำปีตา่ งๆ ชุมชนยังเป็นหมูบ่ า้ นโฮมสเตย์ ทีม่ แี หล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีการแสดงหมอลำบ้านปลาค้าวที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืนคนในชุมชน คุณธรรมวัดศรีโพธิช์ ยั ยึดมัน่ ในหลักธรรมทางศาสนา เกิดความสามัคคีในชุมชน ช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน ดำรงชีวติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมกลุม่ จิตอาสาพัฒนาชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน มีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายและหนี้สินลดลง คนในชุมชนมีความจงรักภักดี เทิดทูนในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี ชุมชนคุณธรรมวัดศรีโพธิ์ชัย มีศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมพร้อมทั้ง จัดแสดงนิทรรศการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านต่างๆ สำหรับให้ผู้มาเยือนได้เยี่ยมชม ชุมชนยังเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการแสดงหมอลำบ้านปลาค้าวที่สร้างความประทับใจ ให้นักท่องเที่ยว เป้าหมายการพัฒนาต่อยอดผลสัมฤทธิ์ของชุมชน ด้วยการส่งเสริมให้มีสร้างรายได้จากการสืบสาน ต่อยอด วัฒนธรรมใน ๓ มิติ เน้นสร้าง ความมีสว่ นร่วมของผูม้ าเยือนในการร่วมกิจกรรมด้านศาสนา การขายประสบการณ์ในการดำเนินงานของกลุม่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างรายได้เสริม จากความเป็นวิถีวัฒนธรรมไทยที่งดงาม เช่น ส่งเสริมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมอลำเมืองอำนาจเจริญ เป็นต้น





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดศรีโพธิ์ชัย

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูโพธิชัยสารวิมล ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบ้านปลาค้าว โทรศัพท์ ๐๘ ๗๒๕๗ ๒๗๘๘ ๒. นายวิชัย สีดา ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปลาค้าว โทรศัพท์ ๐๔ ๕๕๔๓ ๐๐๑ ๓. นายบุญเลิศ โล่ห์คำ ตำแหน่ง ประธานชุมชนคุณธรรมบ้านปลาค้าว โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๘ ๗๘๓๓ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางวรรณรัตน์ เดชเสน ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๖๘๔๙ 148

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสะอาดเรืองศรี อำเภอหนองแสน จังหวัดอุดรธานี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ นาดี วีถีแห่งศาสนาวัฒนธรรมประเพณีที่เข้มแข็ง ร่วมแรงร่วมใจ มีจิตอาสา พัฒนาชุมชน ทุกแห่งหนคือแหล่งเรียนรู้ ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด สะอาดเรื อ งศรี มี วั ด เป็ น ศู น ย์ ก ลางในการพั ฒ นาชุ ม ชนให้ มี คุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรมเป็ น แหล่ ง บ่ ม เพาะคุ ณ ธรรม และจริยธรรมที่สำคัญ โดยการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และมีการบูรณาการ การดำเนินโครงการเข้ากับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ โดยอาศัยกลุ่มประชากรในพื้นที่เป็นหลักคือ บ้าน วัด โรงเรียน โดยอาศัยหลักการ การมีส่วนร่วม การแบ่งปัน การเสริมสร้างความสามัคคี และการมีจิตสาธารณะ ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของคนในชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยการยึดหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับหลักการของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมาใช้ในการพัฒนาให้ตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดี บนวิถีแห่งวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนและของไทยที่ดีงาม และภูมิปัญญาอันเป็นมรดกของท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของครอบครัว สังคมและประเทศชาติ การขยายภาคีเครือข่ายของชุมชนคุณธรรม ใช้หลักการประสานความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีวัดและกลุ่มอาชีพในชุมชน เป็นจุดศูนย์ศนู ย์กลาง เป็นแหล่งเรียนรูท้ สี่ ำคัญทัง้ ภาคทฤษฎีและปฏิบตั ิ คนในชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีจติ สาธารณะ ในการช่วยกันพัฒนาสังคมให้นา่ อยู่ ดูแลเกื้อกูลกันและกันและยังได้ขยายงานด้านการส่งเสริมการขับเคลื่อนคุณธรรมและจริยธรรมไปทั้ง ๑๑ หมู่บ้านในตำบล ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานประจักษ์ ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ ให้เป็นชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวรตัวอย่าง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒

๓)

เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดสะอาดเรืองศรี เป็นชุมชนที่มีทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ความเข้มแข็งของชุมชนและความร่วมมือสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชน ก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็น และคนในชุมชนมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี มีสขุ ภาพทีด่ ี มีสมรรถภาพทีด่ ี และมีประสิทธิภาพที่ดี ด้วยการร่วมใจเปิดพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา เป็นแหล่งบ่มเพาะคุณธรรม และเป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม มี ก ารบริ ห ารจั ด การด้ ว ยแนวคิ ด NADEE MODEl (นาดี โ มเดล) เป็นการเน้นอัตลักษณ์ทางภูมปิ ญ ั ญา คุณธรรมจริยธรรม การเผยแพร่ขอ้ มูลทางวัฒนธรรม การน้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ด้วยอาศัยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพของคนในชุมชน โดยการเริ่มต้น ที่การสร้างจิตสำนึกรัก หวงแหนและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและภูมปิ ญั ญาทีม่ ใี นชุมชน เน้นกระบวรการ “จิตสาธารณะ” 149

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การดำเนินงานกิจกรรมในชุมชนมีความเข้มแข็งในมิติของศาสนาและภูมิปัญญา จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ร่วมมือในการจัดกิจกรรมของ บ้าน วัด โรงเรียน คนในชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคี รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ มีความเข้มแข็ง และมีวดั เป็นศูนย์รวม ของชุมชน มีแนวคิดการบริหารจัดการชุมชนด้วยแนวคิด NADEE MODEL และปัญหาของชุมชนพบว่า ชุมชนมีรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีวัยรุ่นที่ไม่มี อาชีพ ผู้สูงอายุไม่มีรายได้เสริม พื้นที่ห่างไกลและขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ องค์กรภาครัฐยังให้ความช่วยเหลือไม่ทั่วถึง ผู้สูงอายุ และวัยทำงานบางกลุ่ม ยังขาดรายได้ ขาดอาชีพที่เป็นหลัก ควรมีการส่งเสริมอาชีพ และควรมีการนำทุนทางภูมิปัญญาที่มีมาสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาเพื่อให้เข้าถึงตลาดมากยิ่งขึ้น





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนวัดสะอาดเรืองศรี ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ไปปรับใช้ ในครัวเรือน สร้างสิง่ แวดล้อมของชุมชนให้ยงั่ ยืน และร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งความเกือ้ กูลและแบ่งปัน สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายผูผ้ ลิตซึง่ จะทำให้รปู้ ริมาณ ผลผลิตทีจ่ ะเกิดขึน้ ล่วงหน้าในชุมชนนำไปสูก่ ารบริหารจัดการผลผลิตทีเ่ กิดขึน้ การจัดตัง้ กลุม่ แปรรูปผลิตผล/ กลุม่ สัมมาชีพชุมชน การจัดการตลาด/ตลาดเฉพาะ เช่น ตลาดอาหารปลอดภัย ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ ในชุมชนและท้องถิ่น เพื่อการแลกเปลี่ยนหรือสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน การบริหารจัดการหมู่บ้าน รวมทั้งการประสานความรู้ด้าน วิชาการจากผู้ทรงวิทยาจากสถาบันต่างๆ พัฒนาความรู้และลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปรับวิถีชีวิตการกินอาหาร เพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายสม่ำเสมอให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ มีจิตอาสาช่วยเหลือ/แบ่งปัน เพื่อประโยชน์แก่ครัวเรือนอื่นๆ





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดสะอาดเรืองศรี

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) พระมหาณัฐพันธ์ สุทสฺสนวิภาณี,ดร. โทรศัพท์ ๐๙๘ ๙๓๙ ๙๕๗๕ - ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางวนิดา ทองคำ ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๔ ๗๒๔๐

150

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดดอยท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ชุมชนน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดดอยท่าเสา เมื่อก่อนเป็นชุมชนไม่ค่อยมีระเบียบ สิ่งแวดล้อมไม่ดี มีแหล่งมั่วสุมอบายมุข ยาเสพติด ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ปัญหาครอบครัว ความยากจน ปัญหาวัยรุ่น ลักเล็กขโมยน้อย ต่างคนต่างอยู่ และยังเป็นชุมชนผสมผสานที่มีความหลากหลาย อาทิ คน อาชีพ ความเป็นอยู่ ชุมชน และความเหลื่อมล้ำ มีความขัดแย้งทางการเมืองและอีกหลายสาเหตุและปัจจัยต่าง พระครูสุภัทรสันติคุณ (วิรัตน์ สนฺตถาโย) ตำแหน่งเจ้าอาวาส ส่ ง เสริ ม ให้ ชุ ม ชนน่ า อยู่ มี สิ่ ง แวดล้ อ มดี สาธารณู ป โภคดี มี ค วามปลอดภั ย ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น สะอาดร่ ม รื่ น ประชาชนมี คุ ณ ธรรม มี น้ ำ ใจ เอื้ อ เฟื้ อ ปลอดจากอบายมุข น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และประกอบสัมมาอาชีพ

๓) เส้นทางสู่ความสำเร็จ มี วั ด เป็ น ศู น ย์ ก ลางการประสานความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ง าม เพราะทุ ก คน มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยมีพระครูสุภัทรสันติคุณ เจ้าอาวาสวัดดอยท่าเสา (ผูน้ ำชุมชนคุณธรรม) เป็นทีเ่ ลือ่ มใสศรัทธาของชุมชนและพุทธศาสนิกชนทัว่ ไป โดยมีการประชุม ร่วมกัน พูดคุย ปรึกษาหารือ วางแผน ร่วมกันทำงาน มอบหมายหน้าที่ และแลกเปลี่ยน เรี ย นรู้ ซึ่ ง กั น และกั น เพื่ อ ให้ เ กิ ด การตกผลึ ก ความคิ ด และนำความคิ ด ที่ ต กผลึ ก ร่ ว มกั น มาดำเนิ น งานตามแผน มองปั ญ หาร่ ว มกั น มองความต้ อ งการร่ ว มกั น สิ่ ง ใดเป็ น ปั ญ หา ก็ร่วมกันแก้ไข สิ่งใดเป็นความต้องการร่วมกัน ใช้หลักการที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เราแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้เบาบางลงตามเหตุปัจจัย และพัฒนาชุมชนของเราสู่ความเป็น ชุมชนน่าอยู่ ตามคำขวัญที่ว่า “ชุมชนน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”

151

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ชุมชนคุณธรรมวัดดอยท่าเสา เป็นชุมชนเมืองที่มีความหลากหลายรวมกันยาก ขาดความร่วมมือ มีปัญหาอบายมุข แหล่งมั่วสุข ยาเสพติด สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ชุมชนจึงจัดกิจกรรมในวัดเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมสอดแทรกคุณธรรม โดยที่ผ่านมามีกิจกรรม เช่น กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ เสริมสร้างคุณธรรม สร้างระเบียบวินัย รู้พิษภัยโทษ ร่วมมือกันพัฒนา รณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม





ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดดอยท่าเสา เป็นชุมชนที่สร้างความสามัคคีให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรักความสามัคคี ความเสียสละอย่างต่อเนื่อง มีการรณรงค์ การลด ละ เลิก อบายมุข อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมส่งเสริมในโอกาสต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ พัฒนาชุมชนให้สวยงาม ขจัดแหล่งมั่วสุ่ม พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ ผักสวนครัวริมรั้ว สร้างรายได้ สัมมาอาชีพในด้านต่างๆ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง





ข้อมูลการติดต่อชุมชนคุณธรรมวัดดอยท่าเสา

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูสุภัทรสันติคุณ (วิรัตน์ สนฺตถาโย) ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดดอยท่าเสา โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๖๐ ๖๙๙๐ ๒. นางสาวจารุวรรณ เรือนคำ โทรศัพท์ ๐๙ ๕๗๘๗ ๙๔๒๑

152

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดอุดมสุข อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ ผู้นำศีลธรรม ค้ำจุนศาสนา รักษาวัฒนธรรม พัฒนาการศึกษา น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยพลัง บวร ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดอุดมสุข เป็นชุมชนเพื่อเป็นแหล่งพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง เป็นชุมชนคุณธรรม โดยคนในชุมชนดำเนินชีวิตโดยยึดมั่นในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ประชาชนในชุมชนร่วมปฏิบัติกิจกรรมตามหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญในวันธรรมสวนะ (วันพระ) การเข้าร่วมกิจกรรม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพือ่ ให้ประชาชนในชุมชนปฏิบตั ติ ามหลักคุณธรรมพืน้ ฐานทัง้ ๕ ข้อ มีการถ่ายทอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ สูก่ ารปฏิบตั ใิ นชีวติ ประจำวันของคนในชุมชน เช่น โครงการ เสริมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดี และเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาการศึกษา ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน โรงเรียนรักษาศีล ๕ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ผ่านระบบออนไลน์ Google Meet นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังบวร

๓) เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนคุณธรรมวัดอุดมสุข เกิดจากสำนักสงฆ์เล็กๆ ไม่เป็นที่รู้จักของประชาชน ได้ปล่อยทิ้ง ร้ า งไว้ ร ะยะหนึ่ ง พระสมุ ห์ อ ำนวย จิ ตฺ ต ทนฺ โ ต และพระสมุ ห์ ต นุ ภั ท ร จิ นฺ ต ามโย ได้ เ ล็ ง เห็ น ความสำคั ญ ของพุทธศาสนาให้เป็นสถานทีร่ วมจิตใจของประชาชนในชุมชน ให้ความรูแ้ ก่เด็ก เยาวชน พระเป็นผูอ้ บรมสัง่ สอน คุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ในชุมชน และชุมชนโดยวัดจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลัง และนำไปใช้ในครัวเรือนของ ประชาชนในชุมชน การปลูกจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน สืบสานประเพณีวัฒนธรรม วัดอุดมสุขได้พัฒนาเพื่อสร้าง ชุมชนให้เข้มแข็งโดยผ่ากระบวนการบริหารจัดการของคนในท้องถิ่นที่ร่วมกันเป็น เจ้ าของ โดยพยายาม นำองค์กรและสถาบันหลักในชุมชนท้องถิน่ มาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ๓ สถาบัน คือ สถาบันการปกครอง คือ บ้าน สถาบันศาสนา คือ วัด และสถาบันการศึกษา คือ โรงเรียน เป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมในชุมชน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน ถือเป็นการนำทั้งสามเสาหลัก ของสังคมไทย มาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยการน้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและนำหลักธรรมทางศาสนา มาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง 153

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้





ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การพัฒนาชุมชนคุณธรรม คิดริเริ่มมุ่งมั่น ขับเคลื่อน ชุมชนจากปัญหาหรือเรื่องที่อยู่ในความต้องการความสนใจของสมาชิกที่ต้องการยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น คนในชุมชนร่วมกันสำรวจข้อมูล ค้นหาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของตนเอง ตลอดจนทบทวน ต้นทุนทางสังคม (ต้นทุนความดี) ทั้งด้านคน องค์กร ภูมิปัญญา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประเมินวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านคุณธรรม จัดทำเป็นแผนส่งเสริมพัฒนา ชุมชนคุณธรรมให้คนในชุมชน สร้างชุมชนที่ดี สร้างคนดี เพื่อร่วมสร้างสังคมคุณธรรม โดยดำเนินการตามหลักความจริง ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน เพื่อค้นหาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจะทำให้ทุกภาคส่วนเห็นเป้าหมายร่วมกัน และกำหนดรูปธรรมความสำเร็จหรือตัวชี้วัดที่จะทำได้จริง ในเป้าหมายแต่ละด้าน เพื่อการเปลี่ยนแปลง สร้างกระบวนการปรึกษาหารือหรือผู้นำชุมชนที่มีความตั้งใจพัฒนาชุมชนคุณธรรม เพื่อให้เป็นกลุ่มริเริ่มก่อการดี โดยมีทั้งผู้นำธรรมชาติ และผู้นำทางราชการ แสวงหาทีมงานที่เป็นนักคิด นักพัฒนา มาร่วมเป็นทีมงานในการดำเนินงาน เช่น เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา และคณะกรรมการดำเนินงาน โดยมีองค์ประกอบของกลุม่ บุคคล ดำเนินงานแบบร่วมคิด ร่วมทำโดยกำหนดให้มเี นือ้ หาสาระใน ๓ องค์ประกอบทีส่ ำคัญ ได้แก่ ประการแรก นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนาทีเ่ น้นให้คนในชุมชนยึดมัน่ ในคุณธรรมทีช่ มุ ชนนับถือ คุณธรรมทีก่ อ่ ให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง และคุณธรรมทีก่ อ่ ให้เกิด ความเอือ้ อาทรต่อเพือ่ นมนุษย์ ประการทีส่ อง การดำเนินชีวติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการดำรงชีวติ อยูอ่ ย่างพอเพียง อนุรกั ษ์ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม

ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุ ม ชนคุ ณ ธรรมวั ด อุ ด มสุ ข จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ เ ศรษฐกิ จ พอเพี ย งด้ ว ยพลั ง บวร วั ด อุ ด มสุ ข มี ก ารขยายเครื อ ข่ า ย ให้ ค รบทั้ ง ตำบล บ้านใหม่คลองเคียน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทยั ธานี ประชาชนตระหนักถึงการเก็บออม เพิม่ รายได้ ลดรายจ่าย และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวติ และสืบสานวัฒนธรรมของท้องถิ่น ยึดมั่นในหลักธรรมทางพุทธศาสนา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม





ข้อมูลการติดต่อชุมชนวัดอุดมสุข

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระสมุห์อำนวย จิตฺตทนฺโต ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดอุดมสุข โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๙๗ ๔๒๙๓ ๒. พระสมุห์ตนุภัทร จินฺตามโย ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอุดมสุข โทรศัพท์ ๐๘ ๙๒๖๐ ๒๖๗๐ ๓. นายชูชาติ เหล่าอินทร์ ตำแหน่ง กำนันตำบลบ้านใหม่คลองเคียน โทรศัพท์ ๐๘ ๕๗๓๔ ๑๖๑๓ ๔. นายอภิชาติ คุ้มพงษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาลูกโล่ โทรศัพท์ ๐๖ ๓๑๒๓ ๓๗๒๘ 154

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดนองคู อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี



เรื่องราวชุมชน

๑)

สโลแกนหรือคำขวัญ มาหนองคู ดูบัวแดง กินแกงปู เรียนรู้วัฒนธรรม ๒) ความเป็นมา/ความโดนเด่น ชุมชนคุณธรรมวัดหนองคู เป็นถนนสายวัฒนธรรม การพัฒนาของชุมชนบ้านหนองคู ได้มีการริเริ่มพัฒนามาเป็นลำดับขั้น โดยคณะสงฆ์ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาจัดอบรมในโครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่วัดหนองคู มีชาวบ้าน ในชุมชน เข้าร่วมการอบรม ซึ่งนับเป็นการจุดประกายขั้นแรก ส่งผลทำให้คนในชุมชน เริ่มลด ละ เลิก อบายมุข ปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ และหันมาใช้แนวทาง ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชน ให้มีความเจริญก้าวหน้า พัฒนาในเรื่องต่างๆ อาทิ การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของคน ในชุมชน การรวมกลุ่มจัดตั้งกองทุนต่างๆ การผลิตสินค้า OTOP ของหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมรายได้

๓) เส้นทางสู่ความสำเร็จ ชุมชนบ้านหนองคูมีการประชุมหารือ หาแนวทางต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนอย่างเหมาะสม อาทิ การนำพาแกนนำ ของชุมชนออกไปศึกษาดูงานต่างถิ่น แล้วนำมาปรับใช้ในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมทั้ง คนในชุมชนเอง ที่มีความผูกพันกันฉันเครือญาติ ส่งผลทำให้การขับเคลื่อนโครงการ กิจกรรมต่างๆ การรับนโยบายของทางราชการที่นำมาดำเนินการ ขับเคลื่อนงานในชุมชนเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อยเป็นอย่างดี

155

่ นแบบด้านคุณธรรม ถอดบทเรียนชุมชนท้องถินต้

ความท้าทาย/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

พฤติกรรมของคนในชุมชน มีความขยัน กระตือรือร้นขึน้ เกิดการพัฒนา ทัง้ ต่อตนเอง และครอบครั ว อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด เช่ น การรั ก ษาความสะอาดหน้ า บ้ า น บ้ า นที่ อ ยู่ อ าศั ย มั่ ง คง ถาวร ประดับตกแต่งดูงามตาขึ้นหมู่บ้านสวยงาม ผู้คนมีน้ำใจ เป็นมิตร หน่วยงานราชการก็ เข้ า ไปสนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม อยู่ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เช่ น สำนั ก งานพั ฒ นาชุ ม ชนจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี สำนั ก งานวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี สำนั ก งานพระพุ ท ธศาสนาจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี และโรงพยาบาลต่างๆ เป็นต้น

ผลลัพธ์และเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองคู รักเกียรติ และศักดิ์ศรี สิ่งที่ชุมชนได้ทำ ส่งผลทำให้ สังคมทั่วไป รู้จักชุมชนบ้านหนองคู คือ เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงประเพณี วัฒนธรรม โดยวัดส่งเสริมสุขภาพต้นแบบ รักษาศีล ๕ ต้นแบบ

ข้อมูลการติดต่อชุมชนวัดหนองคู

- ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ) ๑. พระครูกิตติปริยัติคุณ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหนองคู โทรศัพท์ ๐๙ ๗๓๒๕ ๖๐๑๕ ๒. นายสมาน บรรจง ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ โทรศัพท์ ๐๖ ๑๑๐๓ ๐๐๒๔ ๓. นายรณชัย สำเภานนท์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองคู โทรศัพท์ ๐๘ ๑๙๖๖ ๒๕๒๖ ๔. นางเวิน บุตรแสง ตำแหน่ง ประธานกลุ่มแม่บ้าน โทรศัพท์ ๐๖ ๒๖๕๓ ๕๒๒๕ ๕. นางทองสิน ทองปัญญา ตำแหน่ง เลขานุการกลุ่มแม่บ้าน โทรศัพท์ ๐๘ ๙๖๒๔ ๗๐๙๓

156

Data Loading...