ฐานการเรียนรู้ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาตร์ดิน - PDF Flipbook

ฐานการเรียนรู้ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาตร์ดิน

379 Views
33 Downloads
PDF 10,753,668 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


คู่มือในการจดั กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ นิ ก

คมู่ อื ในการจัดกิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ นิ ก
คำนำ

เอกสารการเรียนรู้นิทรรศการฉบับน้ี จัดทำขึ้นเพื่อใช้เปน็ แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้โดยบูรณา
การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมผ่านนิทรรศการ ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว ฐาน
เรื่องตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดิน ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาขึ้นโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ กศน. (ONIE SCI ACTIVITY MODEL) ที่เน้นการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความคิด
สรา้ งสรรค์ และคำนึงถึงผรู้ ับบรกิ ารเป็นสำคญั

คณะผู้จัดทำขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำเอกสารการเรียนรู้โดยบูรณาการวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมผ่านนิทรรศการ ฐานเรื่องตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดิน ฉบับนี้ และหวังเป็นอย่าง
ยิ่งว่านอกจากประโยชนข์ องปฏิบัติงานของศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้วโดยตรงแลว้ จะเป็นประโยชน์
ต่อผู้ที่สนใจ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ผา่ นนิทรรศการไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

(นายประพรรณ์ ขามโนนวดั )
รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวดั ชยั ภูมิ
รักษาการในตำแหนง่ ผ้อู ำนวยการศนู ย์วิทยาศาสตร์เพอื่ การศึกษาสระแก้ว

มนี าคม 2564

ค่มู อื ในการจัดกจิ กรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน ข

สารบัญ
คำนำ .....................................................................................................................................................................ก
สารบัญ ..................................................................................................................................................................ข
เรื่อง ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน ..................................................................................................................1
ดนิ ของประเทศไทย................................................................................................................................................2
นักวิทยาศาสตรด์ นิ เพอื่ มนษุ ยชาติ (The Humanitarian Soil Science) วันดนิ โลก.............................................3
ลักษณะและคุณสมบัตขิ องดิน................................................................................................................................5
ลกั ษณะเดน่ ของดนิ ................................................................................................................................................7
ทฤษฎีห่มดิน ....................................................................................................................................................... 16
ทฤษฎแี กลง้ ดนิ ................................................................................................................................................... 17
หญา้ แฝก............................................................................................................................................................. 18
การเกษตรทฤษฎใี หม่.......................................................................................................................................... 20
หลกั แนวคิดของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ...................................................................................................................... 22
อา้ งอิง................................................................................................................................................................. 24

คู่มอื ในการจดั กจิ กรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ ิน 1

ฐานการเรยี นรู้
เรือ่ ง ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน
แนวคิด
ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดิน เป็นฐานการเรียนรู้ผ่านนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่อง ดิน ของประเทศไทย
ลักษณะและสมบัติ ลักษณะเด่นของดิน นักวิทยาศาสตร์ดิน เพื่อมนุษยชาติ วันดินโลก ดินตื้น ดินเค็ม ดินทราย
ทฤษฎีห่มดิน ทฤษฎีแกล้งดิน หญ้าแฝก การเกษตรทฤษฎีใหม่ แนวความคิดของเศรษฐกิจพอเพียง และปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการจุด
ประกายความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับผู้รับบริการ โดยผู้รับบริการสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธี
การศึกษากับสื่อการเรียนรู้ ทำให้ผู้รับบริการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับ
ชวี ติ ประจำวัน
วัตถุประสงค์
แลกเปล่ียนเรยี นรูแ้ ละศึกษาเกีย่ วกบั เรอื่ ง ดิน และการเกษตรทฤษฎีใหม่
เน้อื หา
1. ดนิ ของประเทศไทย
➢ นักวทิ ยาศาสตร์ดิน เพอ่ื มนษุ ยชาติ วนั ดินโลก
➢ ลกั ษณะและสมบตั ิ
➢ ลกั ษณะเดน่ ของดิน
➢ ดินตื้น
➢ ดินเคม็
➢ ดินทราย
➢ ทฤษฎีห่มดนิ
➢ ทฤษฎแี กล้งดิน
➢ หญา้ แฝก
2. การเกษตรทฤษฎีใหม่
➢ แนวความคดิ ของเศรษฐกิจพอเพียง
➢ ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คู่มอื ในการจัดกจิ กรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน 2
ดินของประเทศไทย

1. ดิน เปน็ ปัจจัยท่ีมคี วามสำคญั ตอ่ ความเจรญิ ยัง่ ยืนของประเทศไทย เพราะประชากรสว่ นใหญด่ ำเนินชวี ติ
อยบู่ นพน้ื ฐานอาชพี ด้านเกษตรกรรม

ดิน ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุทีร่ องรับการเหยียบย่ำ แต่เป็นส่วนสำคัญให้รากพืชได้ยึดเกาะ ค้ำยันและดูดกินแร่ธาตุ
เป็นอาหาร เพราะดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศ ที่มีสัดส่วนแตกต่างกัน
ออกไป ดินที่พบในแห่งหนึ่งอาจจะเหมือนหรือต่างไปจากดินในที่แห่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่
สำคัญ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ปัจจัยทางชีวภาพ สภาพภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด และช่วงเวลาต่อเนื่องโดยไม่มี
การขัดจังหวะ ซึ่งมีความมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ ส่งผลให้เกิดดนิ ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวแตกตา่ ง
กันไป

ชุดดิน เป็นขั้นการจำแนกดินต่ำสุดของระบบ ที่ใช้ลักษณะและสมบัติทางสัณฐาน กายภาพ เคมี แร่ และจุล
สัณฐาน ทีม่ ีความสำคัญต่อการใชป้ ระโยชน์ทดี่ นิ และการจดั การดนิ เชน่ การจัดเรยี งช้ันดนิ สีดนิ เนื้อดนิ โครงสร้าง
ความเป็นกรดเป็นด่าง แร่ในดิน ซึ่งจะต้องอาศัยการศึกษาดินในสนามและการวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการใน
การจำแนกดนิ ดว้ ย

ปัจจุบันได้มีการศึกษาและตัง้ ชือ่ ชุดดินของประเทศไทยแล้วกว่า 300 ชุดดิน โดยใช้ช่ือสถานที่ที่พบดนิ นัน้ เป็น
ครง้ั แรกเป็นชอ่ื ชุดดิน เช่น ชดุ ดนิ ลำปาง ชดุ ดนิ นครปฐม ชดุ ดนิ ปากชอ่ ง ชุดดินกุลารอ้ งไห้

คมู่ อื ในการจัดกจิ กรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ ิน 3
ภมู ิอากาศ วัตถตุ ้นกำเนิด สภาพพื้นที่ สง่ิ มีชวี ิต และระยะเวลา ทำให้เกิดดนิ ที่มีความแตกต่างหลากหลายชนิด แต่
ละชนิดมีสมบัติและองคป์ ระกอบที่แตกต่างกันไปบางแห่งตื้น บางแห่งลกึ บางแห่งเป็นทราย บางแห่งเหนียว หาก
เรามองดนิ ในแนวดิง่ ลึกลงไป จะพบความแตกตา่ งมากกว่าทส่ี ังเกตจากด้านบนเสียอีก

ถา้ จำแนกดนิ ตามลกั ษณะของเน้อื ดนิ แบง่ ได้ 3 ชนิด
1. ดินทราย เปน็ ท่ปี ระกอบดว้ ยทรายตัง้ แต่รอ้ ยละ 70 ขนึ้ ไป โดยนำ้ หนักมีสมบตั ิเหมือนทราย น้ำซึมผ่านได้
ง่ายมาก
2. ดินรว่ น เป็นดนิ ทป่ี ระกอบด้วย ทราย โคลนตม และดนิ เหนยี ว โดยมีปริมาณดนิ ทรายและดินเหนียวไม่
มากนัก ดังนั้น นำ้ และอากาศจงึ ไหลผ่านดนิ รว่ นได้ดีกวา่ ดินเหนยี ว
3. ดินเหนียว เป็นดินที่มีเนื้อละเอียดแน่น อุ้มน้ำได้ดี และไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย ไม่เหมาะสมในการ
เพาะปลูกพืช

ประเภทของดิน โดยท่ัวไปแบง่ ดินออกเปน็ 2 ประเภทงา่ ยๆ คือ ดนิ ช้นั บนและดนิ ชนั้ ล่าง
1 ดินชั้นบน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุหลายชิดและมีซากพืชซากสัตวเ์ น่าเปื่อย (ฮิวมัส) ที่พืช
ต้องการทับถมกนั อยู่มาก ลกั ษณะของเนือ้ ดินเป็นสดี ำคล้ำเมด็ ดนิ หยาบ หรอื เมด็ ดินมีขนาดใหญร่ ่วนซุย เป็นดนิ ที่
เหมาะตอ่ การเจรญิ เตบิ โตของพชื
2 ดนิ ช้นั ล่าง อย่ถู ัดจากดนิ ชน้ั บนลงไป มีความอุดมสมบูรณน์ ้อยมาก เน้ือดนิ แนน่ เม็ดละเอยี ด สีจาง
เป็นดินท่ไี ม่เหมาะต่อการเจริญเตบิ โตของพชื

นักวิทยาศาสตรด์ ิน เพอื่ มนษุ ยชาติ (The Humanitarian Soil Science) วนั ดนิ โลก

กษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม ของโลกมองย้อนอดีต เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555
เวลา 17.20 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯออก ณ หอ้ งประชุมสมเดจ็ พระเจ้าพ่ีนาง
เธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ ( Emeritus Professor

ค่มู ือในการจดั กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดนิ 4

Dr.Stephen Nortcliff) กรรมการบริหารและอดีตเลขาธิการสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ
(International Union of Soil Sciences-IUSS) พร้อมคณะผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องเฝา้ ทูลละอองธุลีพระบาท
ทลู เกลา้ ทลู กระหมอ่ มถวายรางวลั นกั วทิ ยาศาสตรด์ นิ เพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) พรอ้ ม
กันนี้ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันดินโลก” สืบเนื่องมาจากพระ
ราชกรณียกิจเกี่ยวกบั การพัฒนาที่ดินมาอยา่ งต่อเน่อื งและยาวนาน ปรากฏผลสำเร็จเปน็ ท่ปี ระจกั ษอ์ ย่างกวา้ งขวาง
ท้งั ในประเทศและนานาชาติ

สหภาพวทิ ยาศาสตรท์ างดนิ นานาชาติ ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี 2467 เป็นสมาชิกสหภาพวทิ ยาศาสตรห์ น่วยหน่ึงใน
สภาสหภาพวิทยาศาสตรร์ ะหว่างประเทศ สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดนิ นานาชาติได้รับการยอมรับวา่ เป็นองค์กรท่ี
ช่วยประสานงานสำหรับองค์กรระหว่างประเทศด้านวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของการก่อตั้งเพื่อส่งเสริมการวิจัย
และประยุกต์ใช้ในศาสตร์ด้านปฐพีวิทยาทุกแขนง ส่งเสริมให้มีการติดต่อประสานงานระหว่างนักวิทยาศาสตร์ใน
ศาสตรน์ ี้ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ

ปัจจุบันสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ มีสมาชิกที่สังกัดอยู่ในสมาคมของประเทศและภูมิภาค
ต่างๆ กว่า 86 สมาคม มีประเทศที่เป็นสมาชิก 57 ประเทศ และทุก 4 ปี จะมีการจัดการประชุมสภาโลกแห่ง
ปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) หมุนเวียนกันไปตามประเทศต่างๆ สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดิน
นานาชาติ ได้ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการ
พัฒนาทรัพยากรดินอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ยังผลให้การพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงดิน
เสื่อมโทรม และดินที่มีปัญหา ดำเนินไปในทิศทางที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่เกษตรกรโดยทั่วหน้า
ดังเช่น การนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน จนประเทศไทย
กลายเป็นศูนย์กลางของการใช้เทคนิคและวิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝกที่ประสบผลสำเร็จ และมีความก้าวหน้ามาก
ทีส่ ดุ ประเทศหน่ึง

พระองค์ท่านทรงตระหนกั ถงึ พนื้ ท่นี ับล้านไร่ในภมู ิภาคต่างๆ ของประเทศ ท่นี อกจากจะมีปัญหาดนิ ไม่อุดม
สมบูรณ์เป็นพื้นฐานแล้ว ดินยังมีปัญหาอื่นๆ ทั้งทางเคมีและทางฟิสิกส์อีกด้วย การเพาะปลูกพืชจึงให้ผลผลิตต่ำ
เปน็ ผลใหร้ าษฎรมฐี านะยากจน พ้ืนท่ที ่มี ปี ัญหาเก่ียวกบั ดนิ ได้แก่ พ้ืนทดี่ นิ พรุในภาคใต้ ซ่ึงเป็นทั้งดินอินทรีย์ และ
ดินเปรี้ยวจัด พื้นที่ดินเปร้ียวจัดและดินเค็มในภาคกลาง และพื้นที่ดินทรายและดินตื้นในหลายภูมิภาค ด้วยพระ
มหากรุณาธิคุณ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์การศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6
แห่ง เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาของดิน ซึ่งจะต้องใช้กระบวนการบูรณาการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งส้ิน
ได้แก่ ศนู ย์ศึกษาพฒั นาเขาหินซ้อนฯ เปน็ ต้นแบบของการฟ้ืนฟูดินตามธรรมชาติ ศูนยศ์ ึกษาพฒั นาพิกลุ ทองฯ เป็น

คูม่ อื ในการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน 5

ปัญหาของดินที่เปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ เป็นแหล่งให้กำเนิดชีวติ ของสัตว์และพืช ซึ่งมีปัญหา
ของดินเค็ม ศนู ยศ์ ึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไครฯ้ เปน็ ดินกรวดแห้งแล้ง และเปน็ ปัญหาของการบริหารด้านต้นน้ำลำธาร
ศนู ย์ศกึ ษาพัฒนาภูพานฯ เป็นดนิ ทราย เค็ม ขาดนำ้ เป็นปญั หาของการจัดการดินและน้ำของภาคอีสาน และศูนย์
ศกึ ษาพฒั นาห้วยทรายฯ เป็นปัญหาของดนิ เส่ือมโทรม เปน็ ดินทรายท่มี ีแรธ่ าตุน้อย เปน็ ดอนคานและดนิ กรด เป็น
ต้น ส่วนวงวิชาการปฐพีวิทยาของประเทศ ตื่นตัวที่จะร่วมกันศึกษาวิจัยเพื่อฟื้นฟู บูรณะ พัฒนา และอนุรักษ์
ทรัพยากรดินและน้ำตามแนวพระราชดำริอย่างเข้มแข็ง และมุ่งมั่นต่อไป ทำให้มั่นใจได้ว่า การฟื้นฟูและอนุรักษ์
ความอดุ มสมบรู ณแ์ ละคณุ ลกั ษณท์ ่ีพงึ ประสงคข์ องทรัพยากรดินและน้ำของชาติ จะประสบความสำเรจ็ ด้วยดี

ด้วยเหตุดังกล่าว ในการประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา ครั้งที่ 19 ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ที่ประชุมมีมติ
เห็นสมควรขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อ
มนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์
โดยทั่วกัน

ลกั ษณะและคุณสมบตั ขิ องดิน
(1) ลักษณะทางสณั ฐานของดิน
เป็นสมบตั ทิ ่เี กี่ยวขอ้ งโครงรา่ งหรือรูปทรงของดิน ท่สี ามารถสังเกตและศกึ ษาได้จาก "หน้าตดั ดนิ (soil
profile)" อาจเป็นหลุมดินใหมท่ ข่ี ุดเพื่อศึกษา หนา้ ตดั ถนน หรอื บ่อขดุ ซ่ึงเราจะเห็น ช้นั ดินต่างๆหลายชั้น มาก
นอ้ ยแตกต่างกันไป บางดนิ เห็นไดช้ ัดเจน บางดินก็เลือนราง
สมบตั ทิ างสัณฐานท่สี ำคัญ ไดแ้ ก่
➢ ความลึก
➢ ความหนาของชน้ั ดิน
➢ สีพ้นื และสจี ุดประของดนิ
➢ โครงสร้างของดิน
➢ การเกาะยดึ ตัวของเม็ดดนิ
➢ ชอ่ งว่างในดิน
➢ กรวด หนิ ลกู รงั
➢ ปริมาณรากพืช

คู่มือในการจดั กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตร์ดนิ 6

(2) สมบัติทางกายภาพ
เปน็ ลกั ษณะทเ่ี กยี่ วข้องกบั สถานะและการเคล่อื นย้ายของสสาร การไหลของนำ้ สารละลาย และ
ของเหลว หรือการเปล่ียนแปลงของพลังงานในดนิ สมบัติทางกายภาพท่สี ำคญั ของดิน ได้แก่
➢ เนือ้ ดนิ
➢ โครงสร้าง
➢ ความหนาแนน่ ของดนิ
➢ การยืดหดตัว
➢ ความชืน้
➢ ความพรุนของดิน
➢ การซึมน้ำของดิน
(3) สมบตั ิทางเคมี
เป็นสมบตั ภิ ายในของดนิ ทเ่ี ราไมส่ ามารถจะมองเห็นหรือสัมผัสได้โดยตรงทเ่ี ก่ียวขอ้ งกบั การดูดยดึ และ
แลกเปล่ียนแรธ่ าตุต่างๆระหวา่ งดนิ กับสภาพแวดลอ้ ม เกย่ี วขอ้ งกบั ปฏิกริ ิยาต่างๆทางเคมีของดนิ ได้แก่
➢ ปฏกิ ริ ยิ าดินหรอื ค่า (pH)
➢ ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจบุ วกของดนิ
➢ การอิม่ ตวั ดว้ ยเบส
➢ ธาตอุ าหารพชื ต่างๆ รวมถึงแร่ธาตุทเี่ ปน็ พษิ
(4) สมบัติทางแร่
เก่ยี วข้องกับชนิด ปริมาณและองค์ประกอบของแรต่ ่างๆในดนิ ทง้ั แร่ดั้งเดมิ และแรท่ เี่ กดิ ข้นึ ใหม่ ซ่ึงมี
ความสำคญั ต่อสมบัติอ่ืนๆ และกระบวนการตา่ งๆทีเ่ กิดข้ึนในดนิ เช่น
➢ แรค่ วอตซ์
➢ เฟลด์สปาร์
➢ ไมกา
➢ แร่ดินเหนยี วชนิดตา่ งๆ
➢ ออกไซดข์ องเหลก็ และอลูมิเนียม
(5) สมบตั ทิ างจุลสัณฐาน
เปน็ สมบตั ทิ างโครงรา่ งและองคป์ ระกอบของดินที่ไมส่ ามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จำเป็นตอ้ งใช้เครื่องมือ
ชว่ ย ได้แก่ แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ จะชว่ ยให้เขา้ ใจถงึ ลักษณะ สมบัติ และกระบวนการทเี่ กิดขึน้ ในดินดีขึ้น

คู่มอื ในการจดั กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ นิ 7
(6) สมบตั ิทางชีวภาพ
เปน็ สมบัตทิ ี่เกยี่ วขอ้ งกับสงิ่ มชี วี ติ ในดินและบนดนิ ขนาดตา่ งๆ ได้แก่ พืช สตั ว์ และจุลนิ ทรีย์ เกี่ยวข้องกบั
ปรมิ าณและกจิ กรรมของส่งิ มีชวี ิตต่างๆตอ่ กระบวนการที่เกิดขึน้ ในดิน ทัง้ ที่เปน็ ประโยชน์และเป็นโทษ

ลักษณะเด่นของดนิ
ทรัพยากรดนิ ในภาคเหนอื

สภาพพ้ืนทโ่ี ดยทัว่ ๆ ไปเป็นเทอื กเขาสงู สลับกบั ทีร่ าบระหวา่ งหุบเขา หรอื ทร่ี าบบรเิ วณสองฝ่ังแม่น้ำสายใหญ่
ลักษณะดนิ ท่ีพบส่วนใหญเ่ ปน็ ดนิ ทีม่ ีพฒั นาการไมม่ ากนัก ในดนิ ยงั คงมธี าตุอาหารที่เป็นประโยชนต์ อ่ พชื อย่ใู น
ระดบั ท่ีไม่ต่ำจนเกนิ ไป ดนิ ในบรเิ วณทรี่ าบหรอื ค่อนข้างราบเปน็ ดนิ ทีม่ ีศักยภาพทางการเกษตรอยู่ในระดับปาน
กลางถึงสงู แต่ข้อจำกัดของพ้ืนท่ภี าคเหนือท่ีสำคัญคือ เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซอ้ น มพี ้นื ท่ภี ูเขาและเทือกเขาตา่ งๆ ท่ี
มีความลาดชันมากกวา่ รอ้ ยละ 35 ขนึ้ ไป ครอบคลุมเปน็ บริเวณกวา้ งขวาง ซง่ึ พ้นื ท่เี หล่านีจ้ ัดว่ามีความเสี่ยงต่อการ
ชะล้างพงั ทลายสูง ไมเ่ หมาะสมสำหรับทำการเกษตร

คู่มือในการจดั กจิ กรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดิน 8

ทรัพยากรดนิ ในภาคกลาง

สภาพพื้นท่โี ดยทั่วไปเป็นทร่ี าบลุ่มของแมน่ ้ำเจ้าพระยา แมน่ ำ้ ทา่ จีน แม่น้ำแม่กลอง และลำน้ำสาขา
ทำให้มีพื้นท่ีราบต่อเนื่องกนั เปน็ บรเิ วณกว้าง วตั ถตุ ้นกำเนิดดินสว่ นใหญเ่ ปน็ พวกตะกอนน้ำพา ดินในแถบนี้
จงึ มศี ักยภาพทางการเกษตรอย่ใู นระดับค่อนข้างสูง ประกอบกบั พน้ื ท่กี ารเกษตรสว่ นใหญ่อย่ภู ายใตร้ ะบบ
ชลประทาน การใช้ประโยชน์ทด่ี นิ จึงมปี ระสทิ ธิภาพมากกว่าภาคอ่นื ๆ แม้ว่าจะมีปัญหาดินเปรีย้ วอย่บู ้าง

ทรัพยากรดินในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

สภาพพื้นทีเ่ ป็นท่ลี มุ่ สลับกับที่ดอน วัตถุต้นกำเนิดดนิ ส่วนใหญเ่ กิดจากการสลายตวั ผพุ ังอยู่กับทีข่ องหิน
ตะกอน หรอื เป็นช้นิ สว่ นของหินตะกอนท่ผี พุ ังและถูกเคลอื่ นย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก ลกั ษณะดนิ ท่ีพบส่วน
ใหญม่ ักจะเปน็ ดินท่ีมีพฒั นาการสูง มีความอดุ มสมบูรณ์ต่ำ ดินมีโอกาสขาดแคลนน้ำไดง้ า่ ย เนอ่ื งจากเน้ือดนิ เปน็
ทรายจดั นอกจากน้ียงั มีดินท่ีมีปัญหาในการใชป้ ระโยชน์ทางด้านการเกษตรอีกดว้ ย เช่น ดนิ เค็ม ดินทราย ดินมี
กรวดศลิ าแลงปนอยใู่ นระดับต้ืน ส่งผลให้ศกั ยภาพของดนิ ทางการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ค่อนขา้ งต่ำหรือต่ำ

คมู่ อื ในการจัดกิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดนิ 9

ทรพั ยากรดินในภาคใต้

ลักษณะดินท่พี บส่วนใหญ่ในภาคใต้ เป็นดินท่ีอยใู่ นสภาพอากาศท่คี ่อนขา้ งชื้น เนื่องจากสภาพภมู ิประเทศที่มี
ลกั ษณะเป็นแหลมหรอื แผน่ ดนิ ยน่ื ลงไปในทะเลมีพื้นท่ชี ายฝง่ั ทะเลเป็นแนวยาวท้ังสองดา้ น ตอนกลางมเี ทือกเขาสูง
ทอดตัวเป็นแนวยาวเหนือ - ใต้ และมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นมีฝนตกชุกสม่ำเสมอ ดินในพื้นที่ดอนส่วน
ใหญ่เป็นดินทีม่ ีพัฒนาการมาก มีการชะล้างสูง ความอุดมสมบูรณ์อยูใ่ นเกณฑ์ต่ำ จัดได้ว่าเปน็ ดินที่มีศักยภาพทาง
การเกษตรต่ำถงึ คอ่ นขา้ งต่ำ

ทรัพยากรดนิ ในภาคตะวนั ออก
ลักษณะดนิ ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเปน็ ดินปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่อุดมสมบรู ณ์ บริเวณท่ีมนี ำ้ ทะเล

ทว่ มถึงจะเป็นดินโคลนหรอื ดินเหนียว ส่วนดนิ ทเ่ี กดิ จากการสลายตวั ของหนิ บะซอลต์ หินปูนในบรเิ วณทสี่ งู เหมาะ
แก่การปลูกพชื สวน เช่น เงาะ ทเุ รียน มงั คุด เปน็ ต้น สว่ นบรเิ วณท่ีราบลุม่ แม่น้ำมดี ินอัลลูเวียนทเ่ี หมาะใช้ทำนา

ทรัพยากรดนิ ในภาคตะวนั ตก
ลกั ษณะดนิ ส่วนใหญ่ของภาคตะวันตกมีความอุดมสมบูรณต์ ่ำ มสี ภาพเป็นดินทรายหรือดนิ ทีเ่ กิดจากการ

สลายตัวของหนิ ท่ีเปน็ กรด เพราะพื้นทส่ี ว่ นใหญเ่ ป็นเขตภูเขาสงู และมีความลาดชัน จงึ ไม่เหมาะในการเพาะปลูก

คู่มือในการจัดกิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดิน 10
ดินตน้ื

ดนิ ต้ืน หมายถึง ดินทมี่ ีชัน้ ลกู รัง ก้อนกรวด เศษหิน ปะปนอย่ใู นเน้ือดนิ หรือมชี ั้นหินปูนมาร์ล หรือพบชั้น
หินพนื้ อยู่ตนื้ กวา่ 50 เซนตเิ มตรจากผิวดินเน้ือดินจะมีปริมาณชิ้นส่วนหยาบ กรวด หรือลูกรังปนอยู่ มากกว่าร้อย
ละ 35 ทำให้มีปริมาตรของดินน้อย ดินจึงอุ้มน้ำได้น้อย มักขาดแคลนน้ำในฤดูฝนทิ้งช่วงส่งผลให้พืชไม่สามารถ
เจรญิ เตบิ โตไดด้ ี และใหผ้ ลผลิตตำ่ แบ่งออกเปน็ 4 ประเภทคือ

(1) ดนิ ต้ืนท่มี กี ารระบายน้ำเลวพบในบริเวณทีร่ าบต่ำทม่ี นี ้ำขงั ในชว่ งฤดูฝน แสดงว่าดินมกี ารระบาย
นำ้ คอ่ นขา้ งเลวขุดลงไปจากผิวดนิ ทร่ี ะดับความลึก 25-50 เซนตเิ มตรมกี รวดหรือลูกรังปนอยูใ่ นเน้ือดนิ มากกว่า 35
เปอรเ์ ซน็ โดยปรมิ าตรถ้าขดุ ลกึ ลงมาถัดไปจะเปน็ ชั้นดินทีม่ ีศิลาแลงอ่อนปนทบั อย่บู นชน้ั หนิ ผุ

(2) ดนิ ตน้ื ปนลูกรงั หรอื กรวดทมี่ ีการระบายนำ้ ดี พบตามพน้ื ท่ลี อนลาดหรือเนนิ เขาต้ังแต่บรเิ วณผวิ
ดินลงไปมีลูกรังหรือหินกรวดมนปะปนอยู่ในดินมากกวา่ 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรและดินประเภทนี้บางแห่งก็มี
ก้อนลูกรังหรือศลิ าแดงโผล่กระจดั กระจายทัว่ ไปที่บรเิ วณผิวดนิ

(3) ดินตืน้ ปนหินมีการระบายนำ้ ดพี บตามพน้ื ที่ลอนลาดหรอื บริเวณเนินภูเขาดนิ ประเภทน้ีเมอ่ื ขดุ ลง
ไปที่ความลึกประมาณ 30- 50 เซนติเมตรจะพบเศษหนิ แตกชิ้นน้อยใหญ่ปะปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็น
โดยปริมาตรบางแห่งพบหินผุหรือหินแข็งปะปนอยู่กับเศษหินบางแห่งมีก้อนหินและหินโผล่กระจัดกระจายทั่วไป
ตามหน้าดนิ

(4) ดนิ ตืน้ ปนปนู มาร์ลพบตามพื้นที่ลาดถึงพนื้ ท่ลี อนลาด หรอื บรเิ วณท่ลี าดเชิงเขาเมื่อขดุ ลงไปใน
ระดับความลึกที่ 20-50 เซนตเิ มตรจะพบสารประกอบจำพวกแคลเซียมหรือแมกนเิ ซียมคาร์บอเนตปนอยู่ทำให้ดิน
ประเภทนี้จัดว่าเป็นดินที่มคี วามอุดมสมบูรณ์สงู แต่มีขอ้ เสียคอื มีปฏิกริ ิยาเป็นดา่ ง เป็นข้อจำกัดต่อพืชบางชนิดทีไ่ ว
ตอ่ ความเปน็ ดา่ งเชน่ สัปปะรด

คมู่ อื ในการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตร์ดิน 11

การเกดิ ดนิ ตื้น
เกิดมาจากวัตถุกำเนิดดนิ เชน่ หนิ ดินดานเชิงเขา หรอื เศษหินเชิงเขา ทสี่ ่วนใหญเ่ ป็นพวกหินตะกอน
เนือ้ หยาบ คือหินทราย หนิ กรวดมน แตกกระจัดกระจายร่วงหล่นออกมาทับทมเกะกะอยู่บรเิ วณเชิงเขาหรือเป็นผล
จากกระบวนการทางดินที่ทำให้เกดิ การสะสมปนู มาร์ลหรอื ศลิ าแลงในดิน

ดินเคม็

ดินเค็ม หมายถงึ ดินทม่ี ีปริมาณเกลือทีล่ ะลายอยใู่ นสารละลายดินมากเกินไปหรือเลยจุดท่ีพชื แต่ละ่
ชนิดจะรับได้องค์ประกอบของเกลือในดินเค็มเกิดจากการรวมตัวของธาตุที่มีประจุบวกพวกโซเดียมแมกนีเซียม
แคลเซียม รวมกับธาตุที่ประจุลบ เช่น คลอไรด์ ซัลเฟต ไบคาร์บอเนตและคาร์บอเนตดินเค็มที่เกิดในภาค
ตะวนั ออกเฉียงเหนืออยใู่ นรปู ของเกลือโซเดยี มคลอไรด์ (NaCl) คลา้ ยคลึงกับดนิ เค็มชายทะเล แตด่ ินเค็มชายทะเล
มีแมกนีเชียมอยู่ในรูปคลอไรด์และซัลเฟตมากกว่าส่วนชนิดของเกลือในดินเค็มภาคกลางมีหลายรูปมีหลายแห่งท่ี
ไม่ใช่เกลือ NaCl แต่มักจะพบอยู่ในรูปของเกลือซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนตของแมกนีเซียม
แคลเซียม และโซเดียมต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามะนาวนั้นเป็นพชื ท่ีไม่ชอบดินเค็มคือทนได้ไม่เกิน 0.25% กรณีท่ี
ปรมิ าณเกลอื ในดนิ ในดนิ มากกว่าน้ีมีกระทบตอ่ การเจริญเติบโตปริมาณและคุณภาพของผลผลติ ซึ่งอาจรุนแรงถึงทำ
ให้มะนาวตายได้เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารของมะนาวเกิดอาการขาดน้ำและมีการสะสมไอออนที่
เป็นพิษในมะนาวมากเกินไป

คมู่ ือในการจดั กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ ิน 12

วธิ ีสงั เกตดินเค็ม
1. ดินเค็มน้อย หรือบริเวณทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากความเคม็ นอ้ ยคราบเกลือพบปริมาณน้อยกว่า
ร้อยละ 10 ของพื้นที่น้ำใต้ดนิ เป็นน้ำกร่อยหรอื เป็นน้ำเค็มแต่ลึกมากกว่า 2 เมตรจากผิวดินบรเิ วณเหล่านี้ถ้ามกี าร
ใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมเกลือจากน้ำใต้ดินมีโอกาสที่จะแทรกกระจายทำให้ดินแปรสภาพไปเป็นดินเค็มปานกลาง
หรือเค็มมากได้
2. ดินเค็มปานกลาง หรอื บริเวณท่ไี ด้รับผลกระทบจากความเคม็ ปานกลางซง่ึ หมายถึงบริเวณที่พบ
คราบเกลอื กระจัดกระจายตามผวิ ดนิ เป็นบรเิ วณร้อยละ 10-50 ของพ้นื ท่ีพื้นทีเ่ หล่าน้ีพอปลกู พืชได้แต่ผลผลิตต่ำถ้า
มีการปรบั ปรงุ ดินหรอื การจัดการทดี่ ีคาดว่าคงให้ผลผลติ ดพี อสมควร
3. ดนิ เคม็ จดั เปน็ บริเวณทมี่ ีผลกระทบจากความเค็มมากซ่งึ หมายถึงบริเวณทพ่ี บคราบเกลือตามผิว
ดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เป็นบริเวณที่นาไปใช้ปลูกพืชไม่ค่อยได้ผลจึงถูก
ปล่อยไวว้ ่างเปลา่

ลักษณะการเกดิ ดนิ เค็มและการแพร่กระจาย
แหล่งเกลอื ทส่ี ะสมในดนิ น้ันเกิดจากตะกอนน้ำกร่อยหนิ เกลือใตด้ นิ นำ้ ใต้ดินเคม็ หนิ ดนิ ดานท่ีอมเกลือ
อยู่หรือเค็มที่ทับถมมานานหรือเกิดจากน้ำใต้ดินเค็มทั้งที่อยู่ลึกและอยู่ตื้นเมื่อน้ำใต้ดินไหลผ่านแหล่งเกลือแล้วไป
โผล่ที่ดินไม่เค็มที่อยู่ต่ำกว่าทาให้ดินบริเวณที่ต่ำกว่านั้นกลายเป็นดินเค็มทั้งนี้ขึ้นกับภูมิประเทศแต่ละแห่งสาเหตุ
การเกดิ แพรก่ ระจายออกมามากสว่ นใหญ่เกดิ จากมนษุ ย์โดยการสูบนำ้ ไปใช้มากเกินไปเกดิ การทะลักของน้ำเค็มเข้า
ไปแทนที่การชลประทานการทำคลองชลประทานรวมทั้งการสร้างอ่างเก็บนา้ เพือ่ ใช้ในไร่นาบนพื้นที่ที่มีการทับถม
ของตะกอนน้ำเค็มหรือจากการขุดหน้าดินไปขายทาให้ตะกอนน้าเค็มถึงจะอยู่ลึกนั้นกลายเป็นแหล่งแพร่ก ระจาย
เกลอื ได้
สาเหตกุ ารแพร่กระจายดนิ เคม็
เกลือท่ีเกิดขนึ้ เป็นเกลอื ทีล่ ะลายน้ำได้ดีน้ำจึงเป็นตัวการหรือพาหนะในการพาเกลือไปสะสมในท่ี
ต่างๆที่น้ำไหลผ่านซ่ึงเป็นสาเหตุของการเกดิ การแพรก่ ระจายดนิ เค็มหินหรอื แร่ทีอ่ มเกลอื อยู่เมื่อสลายตัวหรือผุพัง
ไปโดยกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพก็จะปลดปล่อยเกลือตา่ งๆออกมาเกลือเหล่าน้ีอาจสะสมอยู่กับท่ีหรือ
เคลื่อนตัวไปกับน้ำแล้วซมึ สู่ชั้นล่างหรือซึมกลับมาบนผิวดนิ ได้โดยการระเหยของนำ้ ไปโดยพลังแสงแดดหรือถกู พืช
นาไปใช้นำ้ ใต้ดินเค็มท่ีอยรู่ ะดับใกล้ผิวดินเมื่อน้ำน้ีซึมขึน้ บนดนิ ก็จะนาเกลือขึ้นมาด้วยภายหลังจากที่น้ำระเหยแห้ง
ไปแล้วก็จะทำให้มีเกลือเหลือสะสมอยู่บนผิวดินและที่ลุ่มที่เป็นแหล่งรวมของน้ำน้ำแหล่งนี้ส่วนมากจะมีเกลือ
ละลายอยเู่ พยี งเลก็ น้อยก็ได้นานๆเข้าก็เกิดการสะสมของเกลือโดยการระเหยของน้ำพื้นที่แห่งน้ันอาจเป็นหนองน้ำ
หรือทะเลสาบเก่ากไ็ ด้

ค่มู ือในการจดั กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ นิ 13

การทำนาเกลอื ทงั้ วธิ กี ารสูบนำ้ เค็มข้นึ มาตากหรือวธิ กี ารขูดคราบเกลือจากผวิ ดนิ มาตม้ เกลอื ที่อย่ใู น
น้ำทิ้งจะมีปรมิ าณมากพอที่จะทำให้พื้นที่บรเิ วณใกล้เคียงกลายเป็นพืน้ ที่ดนิ เค็มหรือแหล่งนำ้ เคม็ การสร้างอ่างเก็บ
น้ำบนพื้นที่ดินเค็มหรือมีน้ำใต้ดินเค็มทำให้เกิดการยกระดับของน้ำใต้ดินขึ้นมาทำให้พื้นที่โดยรอบและบริเวณ
ใกล้เคยี งเกดิ เปน็ พื้นท่ีดินเค็มไดก้ ารชลประทานท่ีขาดการวางแผนในเรื่องผลกระทบของดนิ เค็มมักก่อให้เกิดปัญหา
ตอ่ พ้ืนที่ซึ่งใช้ประโยชนจ์ ากระบบชลประทานน้ันๆแต่ถ้ามีการคำนึงถึงสภาพพ้ืนท่ีและศึกษาเรื่องปัญหาดินเค็มเข้า
ร่วมด้วยจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาดินเค็มได้วิธีหนึ่งและการตัดไม้ทำลายป่าทำให้สภาพการรับน้ำของพ้ื นที่ไม่มี
ประสิทธิภาพทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายจากสภาพทางอุทกธรณีของน้ำเปลี่ยนแปลงไปแทนที่พืชจะใช้
ประโยชน์กลบั ไหลลงไปในระบบสง่ น้ำใต้ดนิ เค็มทำใหเ้ กิดปัญหาดินเคม็ ตามมา

แนวทางการจดั การดนิ เค็ม
การปอ้ งกันไมใ่ ห้เกดิ การแพร่กระจายดนิ เค็มเพ่ิมมากขึน้ ทัง้ น้ีตอ้ งพิจารณาจากสาเหตุการเกิดดาเนิน
การได้โดยวธิ ีการทางวศิ วกรรมวิธที างชีวิทยาและวิธีผสมผสานระหวา่ งทง้ั 2 วิธี
(1) วิธีทางวศิ วกรรมจะต้องมีการออกแบบพิจารณาเพื่อลดหรือตัดกระแสการไหลของน้าใต้ดนิ ให้อยู่
ในสมดุลของธรรมชาติมากท่สี ดุ ไมใ่ หเ้ พม่ิ ระดบั นา้ ใตด้ นิ เค็มในทีล่ มุ่
(2) วธิ ที างชีวิทยาโดยใช้วิธีการทางพืชเช่นการปลกู ป่าเพ่อื ป้องกนั การแพรก่ ระจายดินเค็มมีการ
กำหนดพื้นที่รับน้ำที่จะปลูกป่าปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้โตเร็วมีรากลึกใชน้ ้ำมากบนพื้นทีร่ ับน้ำที่กำหนดเพื่อทาให้เกดิ
สมดุลการใชน้ ้ำและนำ้ ใตด้ นิ ในพ้ืนท่สี ามารถแกไ้ ขลดความเค็มของดนิ ในทลี่ ุ่มทเ่ี ปน็ พนื้ ที่ใหน้ ้ำได้

การปรบั ปรุงดินเคม็
1. การลา้ งดินโดยอาศัยนำ้ ฝนหรอื น้ำจดื ขงั น้ำไวใ้ นแปลงกระทง่ั ดนิ อิม่ ตัวนำ้ กจ็ ะเร่ิมเค็มสงั เกตจาก
การเปล่ียนสีของนำ้ ที่เป็นสนี ้าตาลอ่อนๆแล้วจึงระบายน้ำทิ้งทำอย่างนี้ 2-3 คร้งั จนกว่าความเค็มจะต่ากว่า 16 มิลิ
โมห/์ เซนตเิ มตร
2. การใช้ป๋ยุ อนิ ทรียใ์ นพ้ืนท่ดี นิ เค็มมกั ขาดอนิ ทรียวัตถุมากการใชป้ ๋ยุ อนิ ทรียเ์ ช่นการใช้แหนแดงการ
ปลูกพืชตระกลู ถวั่ แล้วไถกลบเป็นปยุ๋ พชื สดหรือใสป่ ยุ๋ คอกปยุ๋ หมัก
3. การใช้แกลบทาใหด้ นิ ร่วนซุยการระบายนำ้ ดขี น้ึ นอกจากนีแ้ กลบยังปลดปลอ่ ยซิลิกาให้แก่มะนาว
ทำให้ต้นมะนาวมีโครงสร้างที่แข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานความเป็นพิษของเกลือต้านทานโรคแมลงช่วยเพิ่มผลผลิต
ใหก้ บั มะนาว
4. การใชป้ นู ไดแ้ ก่ปนู ขาวปูนมาร์ลหนิ ปนู บดในดินเคม็ ท่ีเป็นดนิ กรด
5. การใช้ยปิ ซม่ั ในกรณีทด่ี นิ เค็มเป็นดินดา่ งช่วยให้การดินระบายนา้ ดีขึน้ ช่วยใหก้ ารลา้ งเกลือออก
จากดนิ ลดความเคม็ ออกไปจากดนิ การใชต้ อ้ งวิเคราะหด์ ินและไดร้ บั คาแนะนาจากนักวิชาการเกษตรเป็นรายแปลง
6. รว่ มกบั การใช้กลา้ ทีม่ ีอายุมากกวา่ กลา้ ปกติ

คมู่ อื ในการจดั กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน 14
ดินทราย

ดนิ ทราย หมายถึง ดนิ ทมี่ เี นอ้ื ดนิ บนเป็นดินทราย หรอื ดินทรายปนร่วนมีอนภุ าคขนาดทรายเปน็
องค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 85 มีความหนามากกว่า 50 เซนติเมตร ดินมีการระบายน้ำดจี นถงึ ดีเกินไป ไม่อุ้มน้ำ
ทำให้ดินเก็บน้ำไว้ไม่อยู่และเกิดการกร่อนได้ง่าย มักเกิดจากวัตถตุ ้นกำเนิดดินที่เป็นตะกอนเนื้อหยาบหรือตะกอน
ทรายชายฝ่งั ทะเล พบไดท้ ั้งในพื้นท่ลี ุ่มและพนื้ ทดี่ อน

ดินทรายในพื้นทีด่ อน
พบตามบรเิ วณหาดทราย สนั ทรายชายทะเล หรือบรเิ วณพื้นทีล่ าดถงึ ท่ลี าดเชิงเขาเนื้อดินเปน็ ทราย
ตลอด มีการระบายนำ้ ดีมากจนถงึ ดมี ากเกินไป ดนิ ไมอ่ ุ้มน้ำและเกดิ การชะล้างพงั ทลายไดง้ ่ายเนื่องจากอนุภาคดนิ
มกี ารเกาะตวั กันน้อยมากส่วนใหญ่ใช้ปลกู พชื ไร่ เช่น มันสำปะหลัง สบั ปะรด
ดินทรายในพนื้ ท่ลี ุม่
มักพบตามท่ีลุม่ ระหว่างสนั หาด หรือเนินทรายชายฝัง่ ทะเลหรอื บรเิ วณที่ราบท่ีอยใู่ กลภ้ เู ขาหินทราย
ดินมกี ารระบายน้ำเลวหรือค่อนขา้ งเลวทำใหด้ ินแฉะหรือมนี ้ำขงั เป็นระยะเวลาส้ันๆ ได้ หลงั จากทมี่ ฝี นตกหนัก บาง
แหง่ ใชท้ ำนาบางแห่งใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย และปอ บางแห่งเป็นท้งิ รา้ งหรือเปน็ ทงุ่ หญ้าธรรมชาติ
นอกจากนี้ในบางพื้นที่ บรเิ วณหาดทรายเกา่ หรือบรเิ วณสันทรายชายทะเล โดยเฉพาะในเขตภาค
ตะวันออกและภาคใต้อาจพบดินทรายที่มีชั้นดินดานอินทรีย์ ซึ่งเป็นดินทรายที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือช่วงชั้นดิน
ตอนบนจะเป็นทรายสีขาวแต่เมื่อขุดลึกลงมาจะพบชั้นทรายสีน้ำตาลปนแดงที่เกิดจากการจับตัวกันของ

คมู่ อื ในการจัดกิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตร์ดิน 15

สารประกอบพวกเหล็กและอินทรียวัตถุอัดแน่นเป็นชัน้ ดานในตอนล่างซึ่งในช่วงฤดูแล้งชั้นดานในดินนี้จะแห้งแข็ง
มากจนรากพืชไม่อาจชอนไชผ่านไปไดส้ ่วนในฤดฝู นดินจะเปยี กแฉะ ส่วนใหญ่ยังเป็นพนื้ ท่ีป่าเสม็ด ปา่ ชายหาด ป่า
ละเมาะหรอื บางแห่งใช้ปลกู มะพรา้ ว มะม่วงหิมพานต์

ปัญหาดนิ ทราย
ดินระบายนำ้ ดีเกินไป อมุ้ นำ้ ไดน้ อ้ ยมคี วามสามารถในการจับหรอื แลกเปล่ยี นประจธุ าตุอาหารตำ่
ความอดุ มสมบูรณ์ต่ำมากมีธาตอุ าหารน้อย เกดิ การชะลา้ งพงั ทลายไดง้ า่ ย

การปรับปรงุ แก้ไข
ปรับปรุงบำรุงดินดนิ และเพิ่มความอดุ มสมบรู ณ์ของดินโดยการใชป้ ยุ๋ เคมีและปุย๋ อนิ ทรีย์ เชน่ ปุ๋ยหมกั
ป๋ยุ คอกหรอื ปลูกพชื ป๋ยุ สดแล้วไถกลบ เพ่ือเพม่ิ ความสามารถในการอุ้มนำ้ ของดินและปริมาณธาตุอาหารให้
เพยี งพอแกค่ วามตอ้ งการของพชื และควรจะต้องมีระบบการอนุรักษ์ดินและนำ้ อย่างเหมาะสม

คู่มอื ในการจดั กจิ กรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ ิน 16
ทฤษฎีห่มดนิ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการดูแลและรกั ษาดินอีกทาง
หนงึ่ น่ันคอื “การหม่ ดิน” เพ่อื ให้ดินมีความชมุ่ ช้ืน จุลนิ ทรยี ท์ ำงานได้ดี อนั จะส่งผลให้ดินบริเวณน้ันทำการเกษตร
ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ ปอ้ งกันการชะล้างพังทลายของดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ ท้ังน้ีการห่มดินมี
อย่ดู ว้ ยกันหลายวิธีการ เชน่ ใชฟ้ างและเศษใบไมม้ าห่มดนิ หรอื วัสดอุ ืน่ ตามที่หาไดต้ ามสภาพท่ัวไปของพื้นท่ี, การใช้
พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรดี น้ำมันแล้ว เร่ิมจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็น
เส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน นอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้ว การห่มดินยังจะช่วยคลุมหนา้
ดนิ ไม่ให้วัชพืชขน้ึ รบกวนต้นไม/้ พืชหลกั อีกดว้ ยกรณตี ัวอย่างการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้

คู่มือในการจัดกิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน 17
ทฤษฎแี กลง้ ดนิ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงรับทราบความเดอื ดร้อนของพสกนิกรใน
ภาคใต้ โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งเกษตรกรในจงั หวัดนราธิวาส ท่ีประสบปัญหาดินเปรยี้ วทำให้เพาะปลกู ไม่ได้ผล พระองค์
จึงมพี ระราชดำรใิ หท้ ำการศึกษาวิจยั และพัฒนาดนิ พรเุ พ่ือแก้ไขปัญหาดนิ เปรยี้ ว ณ ศนู ยศ์ กึ ษาการพัฒนาพิกุลทอง
จังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวให้เป็นดินที่มีคุณ ภาพ
สามารถทำการเพาะปลูกได้ ซึ่งพระองค์ทรงแนะนำให้ใช้วิธี "การแกล้งดิน" คือ เริ่มจากการแกล้งดินให้เปรี้ยวสุด
ขดี ดว้ ยการทำให้ดนิ แห้งและเปียกสลับกนั เพ่ือเรง่ ปฏิกิริยาทางเคมีของดินพรทุ ่ีมีสารประกอบของกำมะถันที่จะทำ
ให้ดนิ มสี ภาพเปน็ กรดจัดเมอื่ ดินแหง้ จากน้นั จงึ ทำการปรับปรุงดนิ ทเ่ี ปน็ กรดจัดน้ันดว้ ยวธิ ีการตา่ ง ๆ ท่ีจะลดความ
เปน็ กรดลงมาใหอ้ ยู่ในระดบั ทจ่ี ะปลูกพืชเศรษฐกิจ เชน่ ข้าว ได้

ค่มู อื ในการจดั กจิ กรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ ิน 18
หญา้ แฝก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดิน
และน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทาน
พระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมี
หน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การ
ดำเนนิ งานกา้ วหน้ามากขนึ้ ตามลำดับ

คมู่ ือในการจัดกิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ ิน 19

ประโยชนข์ องหญา้ แฝกมดี ังน้ี
(1) ปรับปรงุ ฟน้ื ฟคู วามสมบรู ณข์ องดนิ
(2) ป้องกนั การชะล้างพังทลายของดินในพืน้ ท่ีเปิดใหม่ลาดชนั หรือในพน้ื ที่ท่ีมีความลาดชันมาก
(3) ช่วยป้องกันการสูญเสยี หน้าดินได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ ตะกอนดินที่ถูกน้ำกัดเซาะและพัดพามา โดย

จะถูกกอหญ้าแฝกดักไวเ้ มื่อเวลาผา่ นไปหลาย ๆ ปีจะกลายเปน็ ขนั้ บนั ไดดนิ ตามธรรมชาติ
(4) ช่วยลดความรุนแรงและความเร็วของน้ำไหลบา่ เมือ่ นำ้ ไหลมาปะทะแนวกอแฝก แล้วน้ำจะซึมลงสูด่ นิ

นำ้ บางสว่ นจะไหลผ่านแนวกอแฝกอย่างช้า ๆ
(5) ช่วยเสรมิ ความมน่ั คงแขง็ แรงตามแนวตลิง่ ฝายก้นั นำ้ ทางระบายนำ้ คลองสง่ น้ำ รมิ ถนนสงู
(6) ใชเ้ ปน็ วสั ดุคลุมดินรักษาความชมุ่ ชืน้ และควบคมุ วัชพืช
(7) สามารถนำไปทำเปน็ อาหารสตั ว์และป๋ยุ หมักได้เป็นอยา่ งดี
(8) สามารถนำรากหญา้ แฝกหอมมาสกดั เพ่อื ทำนำ้ หอม และเครื่องหอม ได้แก่ ใช้อบเสอื้ ผ้า ทำสบผู่ สมกบั

สีผงึ้ และดินสอพอง
(9) สามารถนำไปทำเปน็ สินค้าประเภทผลิตภณั ฑห์ ัตถกรรมและเครอื่ งปน้ั ดินเผา
(10) นำใบใช้ทำตับหญา้ มุงหลังคา ใชท้ ำเครอื่ งประดบั เคร่ืองใช้ เช่น กระเปา๋ พัด ไม้แขวนเสอื สว่ นรากใช้

ทำนำ้ มนั หอม สบู่ ยาสมุนไพรรักษาโรคบางชนิด เชน่ รากบดละเอียดผสมน้ำแก้ไข้ แก้โรคเกย่ี วกับน้ำดี รากต้มดื่ม
ชว่ ยละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นตน้

(11) เพอื่ การฟน้ื ฟสู ภาพดินในพืน้ ท่ีท่ีเปน็ ดินเกลือ มกี ารทดลองปลกู หญ้าแฝกบนพ้ืนท่ีดนิ เค็มเพ่ือดูดเกลือ
และปลูกดา้ นขา้ งของลำคลองท่เี ปน็ ดินเกลอื พบว่าหญ้าแฝกสามารถเตบิ โตได”้ หญา้ แฝกเป็นพชื ทร่ี ะบบรากลึก แผ่
กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพงช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษา
และทดลองปลูกในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่าง
กว้างขวางโดยพิจารณาจากลักษณะของภูมิประเทศ คอื บนพนื้ ทภี่ ูเขา ใหป้ ลูกหญา้ แฝกตามแนวขวางความลาดชัน
และในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นของดินไว้ด้วย บนพื้นที่ราบให้
ปลูกหญ้าแฝกรอบแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่เพื่อที่รากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิด
ความชุ่มชื้นในดนิ ” พระราชดำรสั ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัว

ความรู้เกยี่ วกับหญา้ แฝก – ลกั ษณะของหญา้ แฝก
o การขยายพันธ์หุ ญ้าแฝก
o การดูแลรกั ษาหญา้ แฝก
o รูปแบบการปลกู หญ้าแฝกในพ้นื ที่เกษตรกรรม
o การปลกู หญ้าแฝกตามหลักวชิ าการ

คู่มอื ในการจดั กจิ กรรมฐานการเรียนรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ นิ 20
การเกษตรทฤษฎีใหม่

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกคดิ คน้ ขึน้ โดยใช้แนวคิดแห่งการใชท้ รัพยากรธรรมชาติและการ
บริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 แห่ง
ราชวงศ์จักรี ของประเทศไทย ได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้
เกษตรกรได้มชี วี ิตอยูโ่ ดยหลดุ พ้นบ่วงแหง่ ความยากจน

โดยหลักการคือ การแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกนั้น ให้ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 30%
ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากการเกษตร จำเป็นต้องใช้น้ำ ส่วนที่สอง ให้ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่เพราะ
ครอบครัวต้องกินต้องใช้ สำหรับเป็นแหล่งอาหารหลัก ส่วนที่สาม ให้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เก็บดอกผลไว้กินไว้ขาย
เสริมสร้างรายได้ส่วนหน่ึงอีกทาง และส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่สำหรับใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยง
สัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความ
เหมาะสมของสภาพพ้นื ทแี่ ตล่ ะแหง่ ได้ตามสะดวก
ตัวอย่างคือ มีที่นาอยู่ที่ 4 ไร่ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน อาจจะได้ประมาณส่วนละ 1 ไร่ แต่ให้พิจารณาถึงความ
จำเป็นและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ด้วย หากพื้นท่ีโดยรอบแห้งแล้วกันดาร ให้เผื่อเนื้อที่ของการปลูกต้นไม้ยืนต้นและ
สระเก็บนำ้ มากหน่อย เน่อื งจากน้ำเป็นส่ิงจำเป็น และหากมีแต่นำ้ แตผ่ ืนดินไม่ชุ่มชื้นเพราะขาดตน้ ไม้ให้ร่มเงา น้ำก็
จะขาดแคลน การแบ่งพื้นท่ีดังตวั อยา่ งมีดงั นี้

คู่มือในการจดั กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดนิ 21

พื้นที่ส่วนที่ 1 จำนวน 1.2 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำได้มาก เพียงพอต่อการ
นำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น หากพื้นที่กว้างใหญ่ เช่นมีเนื้อที่ประมาณ 12-13 ไร่
การขุดสระโดยใช้พื้นที่ถึง 3-4 ไร่นั้นยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิง
จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถา้ สามารถลดการใชพ้ ลังงานลงได้ หรอื หาพลงั งานเชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือ
มีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับทีต่ ่างกนั มาก สามารถวางท่อนำนำ้ ออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เคร่ืองสูบ
น้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว สำหรับพื้นที่เล็กๆ ประมาณ 1-2 ไร่
สามารถทำเป็นทอ้ งร่องไดโ้ ดยกะให้กว้างพอประมาณไม่ให้แคบเกินไปเพราะเน้ือทแี่ คบน้ำจะขาดแคลน

พ้ืนทส่ี ่วนท่ี 2 ใช้พนื้ ที่ 1 ไร่ ใช้ปลูกขา้ ว การปลูกข้าวด้วยพืน้ ท่ี 1 ไรค่ วรใช้วธิ ีการดำนา หรอื การปลูกขา้ ว
ตน้ เดยี ว เพราะจะให้ผลผลิตดี ปรมิ าณมากกว่าการปลกู ข้าวแบบหวา่ นปกติ เน่อื งจากการปกั ข้าวลงดนิ เองจะทำให้
ข้าวมีผลผลิตดี การเตรียมดิน และปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน
และไถกลบ เริ่มแรกอาจมีการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนเนื่องจากถั่ว เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เจริญเติบโตเร็ว หลัง
เกบ็ เก่ยี วสามารถไถกลบและซงั พืชจะเปน็ ปยุ๋ ชนั้ ดีให้นาขา้ ว

พื้นที่ส่วนที่ 3 มีทั้งหมด 1.5 ไร่ ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยสามารถปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ปลูก
กล้วยน้ำว้า ปลูกพืชผัก ปลูกไม้ใช้สอย เช่น ต้นสัก ต้นไผ่รวก ไผ่ตง หรือ ต้นหวาย โดยทั้งนี้พื้นที่การปลูกอาจใช้
พน้ื ทีท่ งั้ หมดทเ่ี หลือโดยพ้นื ทส่ี ำหรับปลูกสร้างบา้ นเรือนก็สามารถปลกู คร่อมพ้ืนที่สว่ นที่ 3 ไดเ้ ช่นเดียวกัน

พื้นที่ส่วนท่ี 4 นี้มีพื้นที่เหลือประมาณ 3 งาน สามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์
เลก็ ๆ ใตถ้ นุ เรอื น หรอื ผสมผสานในการปลูกบา้ นเรือนยกสูงบนสระนำ้ ให้ใตถ้ นุ เป็นคอกเลยี้ งเป็ดไก่ หมู ตดิ กับสระ
นำ้ โดยในนำ้ ก็มีการเล้ยี งปลาดกุ ปลานลิ ผสมกนั เป็นแนวทางการเกษตรแบบพ่งึ พาอาศัย

เกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรทีม่ ีพนื้ ทมี่ าก

เกษตรทฤษฎีใหม่ คือแนวทางที่ยั่งยืน โดยที่แต่เดิมจะเหมาะกับเกษตรกรที่มีพ้ืนที่ทางการเกษตร
ค่อนข้างมากพอสมควร แต่สำหรับเกษตรกรที่มีมีพื้นที่ไม่มากนัก ก็สามารถที่จะทำได้โดยการลดหล่ันของพื้นที่ทำ
กนิ ในแบบผสมผสานพ่ึงพาอาศัย

คมู่ ือในการจดั กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ นิ 22

หลกั แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพยี ง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่
ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความ
รอบคอบ และคณุ ธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
• กรอบแนวคิด เป็นปรชั ญาท่ชี แี้ นะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางท่ี ควรจะเป็น โดยมีพ้ืนฐานมา
จากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีกา ร
เปลีย่ นแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเนน้ การรอดพน้ จากภยั และวิกฤต เพื่อความมน่ั คง และ ความยงั่ ยนื ของการพฒั นา
• คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการ
ปฏบิ ตั บิ นทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเปน็ ข้นั ตอน
• คำนิยาม ความพอเพียงจะตอ้ งประกอบดว้ ยคุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถงึ ความพอดีที่ไมน่ ้อยเกนิ ไปและไม่มากเกนิ ไปโดยไม่เบียดเบยี น ตนเองและผู้อ่ืน
เชน่ การผลติ และการบริโภคทอ่ี ยูใ่ นระดบั พอประมาณ

ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจเก่ียวกับระดบั ของความพอเพียงนน้ั จะตอ้ งเป็นไปอยา่ งมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย
ที่เก่ียวขอ้ งตลอดจนคำนึงถึงผลทคี่ าดวา่ จะเกดิ ขึน้ จากการกระทำนน้ั ๆ อยา่ งรอบคอบ

การมีภมู คิ ุม้ กนั ท่ดี ีในตวั
หมายถงึ การเตรยี มตวั ให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกดิ ขน้ึ โดยคำนงึ ถึงความเป็นไป
ได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ท่คี าดวา่ จะเกดิ ข้นึ ในอนาคตท้งั ใกลแ้ ละไกล

เงอ่ื นไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็น
พ้นื ฐาน กลา่ วคอื

• เงอ่ื นไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรเู้ ก่ยี วกบั วชิ าการตา่ ง ๆ ที่เกย่ี วข้องอยา่ งรอบด้าน
ความรอบคอบทีจ่ ะนำความรู้เหล่านั้นมาพจิ ารณาให้เช่ือมโยงกนั เพื่อประกอบการวางแผน
และความระมัดระวงั ในขั้นปฏิบัติ

• เง่อื นไขคุณธรรม ทีจ่ ะต้องเสริมสร้างประกอบดว้ ย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซือ่ สัตยส์ ุจรติ
และมคี วามอดทน มคี วามเพยี ร ใช้สตปิ ัญญาในการดำเนนิ ชีวิต

คู่มือในการจัดกจิ กรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตรด์ ิน 23
การวัดและประเมนิ ผล

ค่มู อื ในการจัดกจิ กรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ ิน 24

อา้ งอิง

• https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9590000116682
• http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai/chanit.html
• https://www.chaipat.or.th/2010-06-03-03-39-51.html
• https://sites.google.com/site/arada591110115/home/thraphyakr-din
• https://www.ajourneyinspiredbytheking.org/th/knowledge/local-knowledge-

detail.php?id=18
• https://sites.google.com/site/10khorngkarphrarachdaari/10-khorngkar-thi-dod-den/10
• https://sites.google.com/a/cps.ac.th/cps/khorngkar-xan-neuxng-ma-cak-phra-rachdari-

phrabath-smdec-phraceaxyuhaw-phumiphl-xduly-
dech/thvsdipxngkankarseuxmthormlaeaphangthlaykhxngdindoyhyafaek

ค่มู อื ในการจัดกิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวทิ ยาศาสตรด์ นิ 25

ผู้จดั ทำ

ทปี่ รึกษา ผู้อำนวยการ
นายประพรรณ์ ขามโนนวัด
ครผู ้ชู ว่ ย
คณะผู้จัดทำ ครูผชู้ ่วย
นายมนัสชยั โสคำภา นักวิชาการศึกษา
นายศราวฒุ ิ ภมู าศ นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
นายอำพร ทองอาจ นกั วิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา
นางสาวกนกวรรณ จปิ ภิ พ นักวิชาการวทิ ยาศาสตร์ศึกษา
นางสาวเยาวลกั ษณ์ กลว้ ยน้อย นักวชิ าการวิทยาศาสตรศ์ ึกษา
นางสาวสกุ ัญญา ศรภี มู ิ นักวิชาการวิทยาศาสตรศ์ ึกษา
นางสาวสาวิตรี ไชยรตั น์
นางสาวเดอื นรตั น์ เฉลยี วกจิ นกั เทคโนโลยสี ารสนเทศ

ออกแบบปก
นางสาวนุชนาภ นงคพ์ รมมา

คู่มือในการจดั กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดิน 26

คู่มือในการจดั กิจกรรมฐานการเรยี นรู้ ตามรอยปฐพี นักวิทยาศาสตร์ดิน 27


Data Loading...