การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. - PDF Flipbook

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

158 Views
57 Downloads
PDF 2,655,412 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจากเคมี ชี วะ รังสีและ นิวเคลียร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ จ�ำนวนที่พิมพ์ เรียบเรียงโดย คณะผู้จัดท�ำ

: พ.ศ. ๒๕๖๓ : ๒,๕๐๐ เล่ม : กรมวิทยำศำสตร์ทหำรบก. : พล.ท.ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม พล.ต.วสันต์ ทัพวงศ์ พล.ต.สดับพงษ์ จันทุรัตน์ พล.ต.เฟื่องวิทย์ เลำหสุรโยธิน พล.ต.ธิติพันธ์ ฐำนะจำโร พ.อ.สำมำรถ คงสำย พ.อ.สรำยุทธ เทพแจ่มใจ พ.อ.เฉลิมเกียรติ ชำติมงคลวัฒน์

พ.อ.อนันต์ พ.อ.วชิรำวิทย์ พ.ท.พงศ์วรัณ พ.ท.หญิง กัลยำ ร.ท.หญิง ทับทิม จ.ส.อ.วัฒนำ จ.ส.อ.หญิง รัตนำพร

แก้วด�ำ เขตตลำด นำคฉัตรีย์ จุลศรี จำรุเศรนี แนบเนียน ขลุย่ ทอง

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก. การปฏิบัติการแก้ไฃสถานการณ์อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก สังกัดกระทรวง กลาโหม, ๒๕๖๓. ๓๗๐ หน้า.-- (-). ๑. อาวุธนิวเคลียร์. I. ซื่อเรื่อง. 355.82511 ISBN 978-616-8035-61-0

จัดพิมพ์แจกจ่ายโดย

ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ๔๑ ถนนเทอดด�าริ เขตดุสติ กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๑ ๔๐๓๗, ๐-๒๒๔๑-๔๐๖๗-๖๙ ต่อ ๘๙๒๓๐-๓๗ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ [email protected] เว็บไซต์ http://www.cdsd-rta.net

พิมพ์ที่

บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จ�ากัด ๔๕๗/๖-๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘ E-mail: [email protected]

ค�าน�า คู่มือการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ (คชรน.) ได้แปลและเรียบเรียงมาจากคูม่ อื ATP 3 - 11.41 Multi Service Tactics, Tactics, Techniques, and Procedures for chemical, Biological, Radiological, and Nuclear Consequence Management Operations Juty 2015 เป็นโครงการแปลเอกสารต�าราของ หน่วย/เหล่าสาย วิทยาการ ประจ�าปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ของกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ซึ่งจะ น�าไปใช้เป็นคู่มือปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอ�านวยการ และเจ้าหน้าที่ ในการวางแผนการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ให้เป็น ไปตามกฎระเบียบในระดับชาติ และเป็นทีย่ อมรับในระดับสากล อีกทัง้ ยังน�าไป เป็นคูม่ อื ในการฝึกปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ส�าหรับ กองทัพบกไทยที่ควรเตรียมความพร้อมส�าหรับภัยคุกคามดังกล่าวในอนาคต กรมยุทธศึกษาทหารบกในฐานะที่เป็นหน่วยรับผิดชอบด้านการ พัฒนาการฝึกศึกษาและหลักนิยมของกองทัพบก มุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการทหาร วิวัฒนาการ และวิทยาการสมัยใหม่ โดยคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ทางทหาร ให้ดา� เนินการแปลและเรียบเรียงหลักนิยมทีน่ า่ สนใจ เพือ่ น�ามาเป็น แนวทางให้กบั ก�าลังพลของกองทัพบกได้ศกึ ษา และน�าองค์ความรูไ้ ปประยุกต์ ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น หากมีขอ้ แนะน�า ติชม ประการใด สามารถเสนอแนะได้ที่ กองพัฒนา หลักนิยม ศูนย์พฒ ั นาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก เลขที่ ๔๑ ถนนเทอดด�าริ เขตดุสติ กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ หรือที่ doctrinecdsd @gmail.com โทร. ๐ ๒๒๔๑ ๔๐๓๙ พลโท

(ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม) เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

กล่าวน�า คู่มือ การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (คชรน.) ฉบับนี้ พ.อ.สมพงษ์ คนคล่อง นายทหารปฏิบตั กิ าร ประจ� า กรมวิ ท ยาศาสตร์ ท หารบก ได้ แ ปลและเรี ย บเรี ย งมาจากคู ่ มื อ ATP 3-11.41 Multi-Service Tactics, Techniques, and Procedures for Chemical, Biological, Radiological, and Nuclear Consequence Management Operations, July 2015. โดยมีความมุ่งหมายให้เป็น คู่มืออ้างอิงส�าหรับผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอ�านวยการ หน่วยงานส�าคัญ รวมทั้ง ก�าลังพลของหน่วยทหาร เพือ่ น�าไปใช้ในการวางแผน และด�าเนินการปฏิบตั ิ การแก้ ไ ขสถานการณ์ อั น เนื่ อ งมาจาก คชรน. อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ส� า หรั บ ผู ้ ต อบสนองเหตุ เ พื่ อ จั ด การเหตุ ก ารณ์ อั น เนื่ อ งมาจาก คชรน. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังอาจใช้เป็นคู่มืออ้างอิงส�าหรับ การน�าไปใช้ในการจัดการฝึกปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามคู่มือนี้ไม่อาจน�าไปใช้ ทดแทนนโยบายของแต่ละเหล่าทัพได้ คู่มือฉบับนี้เหมาะส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ของแต่ละ เหล่าทัพ ผู้ซึ่งท�าหน้าที่ในการวางแผน และด�าเนินการปฏิบัติการแก้ไข สถานการณ์ในประเทศหรือต่างประเทศ หรือสภาพแวดล้อมการปฏิบตั กิ าร ในระดั บ ยุ ท ธบริ เ วณ รวมทั้ ง ในที่ ตั้ ง หน่ ว ยทหาร คู ่ มื อ ฉบั บ นี้ ช ่ ว ยให้ ผู้บังคับบัญชา, ฝ่ายอ�านวยการ และหน่วยรอง มั่นใจว่าการตกลงใจของตน ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบในระดับชาติ และมีมาตรฐานการปฏิบัติ ซึ่ ง เป็ น ที่ ย อมรั บ ในระดั บ สากล นอกจากนั้ น ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาทุ ก ระดั บ มั่นใจว่าก�าลังพลภายใต้การก�ากับของตน ได้ปฏิบัติตามกฎหมายสงคราม และเป็นไปตามกฎการปะทะ

การจัดท�าคูม่ อื ฉบับนีไ้ ด้แปลและเรียบเรียงให้ตรงกับความหมายเดิม ของต้นฉบับมากทีส่ ดุ อีกทัง้ ยังได้พยายามอธิบายให้ผอู้ า่ นเข้าใจถึงการปฏิบตั กิ าร แก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจากสถานการณ์ด้าน คชรน. ทั้งที่เกิดขึ้น โดยอุบตั เิ หตุและเป็นการก่อการร้าย หวังว่าคูม่ อื ฉบับนีจ้ ะเป็นประโยชน์สา� หรับ ผู้ที่ท�าหน้าที่ในการวางแผนและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ แก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ทั้งในส่วนของกองทัพบก และ เหล่าทัพรวมทั้งกระทรวงกลาโหมด้วย กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก

สารบัญ หน้า บทที่ ๑ ลักษณะการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก ด้านเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ กล่าวเบื้องต้น ข้อก�าหนดส�าหรับใช้อ้างอิง เป้าหมาย สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ กิจ ขั้นตอนการปฏิบัติการ บทที่ ๒ การวางแผน กล่าวเบื้องต้น การประเมินสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ การประเมินขีดความสามารถ การประเมินความล่อแหลม

๑ ๑ ๕ ๗ ๑๐ ๑๒ ๑๖ ๒๑ ๒๑ ๒๕ ๓๐ ๓๗

การประเมินความเสี่ยง การประเมินสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียด การประเมินการสนับสนุนบริการสุขภาพ บทที่ ๓ การเตรียมการ กล่าวเบื้องต้น การด�ารงความต่อเนื่อง การฝึกศึกษา ความจ�าเป็นในการประสานงาน, การเฝ้าติดตาม และการรายงาน การสนับสนุนบริการสุขภาพ การฝึกตอบสนองเหตุ ขีดความสามารถและความล่อแหลมที่ยังคงอยู่ เหตุการณ์พิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บทที่ ๔ การตอบสนองเหตุการณ์ กล่าวเบื้องต้น ภาพรวมของการตอบสนองเหตุการณ์ ผู้ตอบสนองเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมในการตอบสนองเหตุการณ์ ขั้นการปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ การตอบสนองเหตุการณ์ด้านเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

หน้า ๓๙ ๔๐ ๔๕ ๔๖ ๔๖ ๔๘ ๕๒ ๖๒ ๖๕ ๖๘ ๗๐ ๗๒ ๗๓ ๗๓ ๗๕ ๘๐ ๘๓ ๘๙ ๙๓

บทที่ ๕

ผนวก ก ผนวก ข ผนวก ค ผนวก ง

หน้า การตอบสนองการสนับสนุนบริการสุขภาพ ๑๐๗ การเปลี่ยนผ่านไปสู่การปฏิบัติการฟื้นฟู ๑๑๒ การฟื้นฟู ๑๑๓ กล่าวเบื้องต้น ๑๑๓ การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ ๑๑๙ การปฏิบัติการฟื้นฟูสนับสนุนบริการสุขภาพ ๑๓๗ การปฏิบัติการฟื้นฟูการส่งก�าลังบ�ารุง ๑๔๒ การปฏิบัติการเปลี่ยนผ่าน ๑๔๓ การปฏิบัติการถอนก�าลัง ๑๔๕ ยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติเพื่อการจัดท�าแผน ๑๔๙ ยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติเพื่อการเตรียมการ ๒๓๕ ยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติเพื่อตอบสนอง เหตุการณ์ ๒๗๒ ยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟู ๓๒๔

สารบัญรู ป หน้า รูปที่ ๑-๑ โอกาสเกิดการแก้ไขสถานการณ์อันตราย อันเนื่องมาจาก คชรน. รูปที่ ๑-๒ เป้าหมายการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. รูปที่ ๑-๓ เสาหลักเกี่ยวกับกิจส�าหรับการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. รูปที่ ๑-๔ ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. รูปที่ ๑-๕ ขั้นการปฏิบัติส�าหรับการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. รูปที่ ๒-๑ ขั้นการปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. (วางแผน) รูปที่ ๒-๒ วงรอบการประเมินความล่อแหลม รูปที่ ๓-๑ ขั้นการปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. (เตรียมการ) รูปที่ ๓-๒ การประเมินความล่อแหลมในขั้นเตรียมการ รูปที่ ๔-๑ ขั้นการปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. (ตอบสนอง) รูปที่ ๔-๒ โครงสร้างการบังคับบัญชา ของระบบบัญชาการเหตุการณ์

๗ ๘ ๑๕ ๑๗ ๒๐ ๒๓ ๓๘ ๔๙ ๗๑ ๗๖ ๙๘

หน้า รูปที่ รูปที่ รูปที่ รูปที่

๔-๓ ๔-๔ ๔-๕ ๕-๑

รูปที่ ๕-๒ รูปที่ รูปที่ รูปที่ รูปที่

๕-๓ ๕-๔ ๕-๕ ก-๑

รูปที่ ก-๒ รูปที่ รูปที่ รูปที่ รูปที่

ค-๑ ง-๑ ง-๒ ง-๓

เขตแยกกักกันในขั้นต้นและเขตปฏิบัติเพื่อการป้องกัน เขตควบคุมอันตราย (ตัวอย่าง) พันธกิจในเขตควบคุมอันตราย ขั้นการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. (ฟื้นฟู) ตัวอย่างผังช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ (แสดงเป็นตัวอย่าง) ตัวอย่างผังการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ตัวอย่างผังการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค ตัวอย่างผังการท�าลายล้างพิษผู้ป่วย ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ตัวอย่างรูปแบบค�าสั่งยุทธการของหน่วย เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. โครงสร้างระบบที่บัญชาการเหตุการณ์ การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก

๑๐๓ ๑๐๔ ๑๐๕ ๑๑๔ ๑๒๘ ๑๓๐ ๑๓๒ ๑๓๗ ๑๕๖ ๑๗๐ ๒๘๔ ๓๒๗ ๓๓๓ ๓๔๐

สารบัญรู ป หน้า ตารางที่ ๒-๑ ตัวอย่างเนื้อหาที่อาจเป็นภัยคุกคาม ในแฟ้มเก็บเอกสาร ตารางที่ ๒-๒ ตัวอย่างงานที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่เกิดเหตุ ตารางที่ ๒-๓ ตัวอย่างรายการข้อมูลที่มีความส�าคัญ ตารางที่ ๔-๑ ล�าดับเหตุการณ์ส�าหรับการตอบสนองเหตุการณ์ ด้าน คชรน. (เป็นการคาดการณ์) ตารางที่ ก-๑ ตัวอย่างรายการตรวจสอบเพื่อพัฒนาแผน ตารางที่ ก-๒ การประสานข้อมูลเพื่อสนับสนุนทางด้านเทคนิค กลับไปยังเขตภายใน ตารางที่ ก-๓ ตัวอย่างรายการตรวจสอบตามแผน การสนับสนุนบริการสุขภาพ ตารางที่ ข-๑ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วย แก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน. (วัตถุอันตราย) ตารางที่ ข-๒ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วย แก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน. (การท�าลายล้างพิษผู้ตอบสนองเหตุ)

๔๒ ๔๓ ๔๔ ๗๖ ๑๔๙ ๒๒๖ ๒๒๙ ๒๓๗

๒๔๒

หน้า ตารางที่ ข-๓ แนวทางเพื่อก�าหนดระดับขีดความสามารถ ในการตอบสนองเหตุ ตารางที่ ข-๔ วัตถุประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะ ตารางที่ ข-๕ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์การแก้ไข สถานการณ์ภายในประเทศ ตารางที่ ข-๖ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์การแก้ไข สถานการณ์ในต่างประเทศ ตารางที่ ข-๗ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์พิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ตารางที่ ข-๘ ข้อมูลประกอบภาพเหตุการณ์ที่ ๑ ตารางที่ ข-๙ ข้อมูลประกอบภาพเหตุการณ์ที่ ๒ ตารางที่ ข-๑๐ ข้อมูลประกอบภาพเหตุการณ์ที่ ๓ ตารางที่ ค-๑ หน้าที่ของชุดปฏิบัติการส่วนล่วงหน้า ตารางที่ ค-๒ ล�าดับขั้นเวลาในการรายงาน ตารางที่ ค-๓ จุดประสานงานระบบการบัญชาการเหตุการณ์ ตารางที่ ค-๔ รายการตรวจสอบการอธิบายลักษณะสถานที่ ตารางที่ ค-๕ รายการตรวจสอบเพื่อการปฏิบัติการสนับสนุน บริการสุขภาพ

๒๔๘ ๒๕๑ ๒๖๐ ๒๖๒ ๒๖๕ ๒๗๐ ๒๗๐ ๒๗๑ ๒๗๕ ๒๗๘ ๒๘๔ ๒๘๘ ๓๐๗

ตารางที่ ค-๖ เครือข่ายห้องปฏิบัติการตอบสนอง ตารางที่ ค-๗ รายการตรวจสอบการสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุง ตารางที่ ง-๑ รายการตรวจสอบการสนับสนุนบริการสุขภาพ ส�าหรับการปฏิบัติการฟื้นฟู ตารางที่ ง-๒ รายงานการตรวจสอบยุทธภัณฑ์ป้องกันตน

หน้า ๓๑๓ ๓๒๐ ๓๔๗ ๓๕๑



ลักษณะการแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก ด้านเคมี ชี วะ รังสีและนิวเคลียร์

บทที่ ๑ เป็นการให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. รวมทั้งข้อก�าหนดที่ใช้ในการอ้างอิง, สภาพแวดล้อม การปฏิ บั ติ ก าร, เป้ า หมาย, การจั ด ก�า ลั ง และขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ ก าร บทที่ ๑ ให้ภาพรวมอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบทต่อๆ ไป และในภาคผนวก

กล่าวเบื้องต้น (Background) ๑-๑ จุดมุง่ หมายของคูม่ อื ฉบับนีม้ งุ่ เน้นไปทีก่ ารปฏิบตั กิ ารทางยุทธวิธี เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ทีอ่ าจเกิดขึน้ โดยตัง้ ใจและไม่ตงั้ ใจ อันก่อให้เกิดการแพร่กระจายวัตถุ คชรน. ๑-๒ เหตุการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับวัตถุ คชรน. มักท�าให้เกิดภาวะสับสน อลหม่านและมีอันตราย จึงจ�าเป็นต้องตอบสนองโดยเร่งด่วน เพื่อบรรเทา ความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานให้เหลือน้อยทีส่ ดุ ผูต้ อบสนองเหตุการณ์

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ในระดับท้องถิ่น, ระดับรัฐ (จังหวัด) และในระดับประเทศ อาจรู้สึกเป็น ภาระอันใหญ่หลวงเกินกว่าจะรับมือไหวตามขนาดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง อีกทั้งกระทรวงกลาโหมอาจได้รับการร้องขอให้เข้าช่วยเหลือสนับสนุน เพิ่มเติมโดยผ่านทาง “กรอบการตอบสนองภัยพิบัติแห่งชาติ” [National Response Framwork (NRF)] ดังตัวอย่างในอดีตที่กระทรวงกลาโหมได้ เคยให้การสนับสนุนในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ท�านองนี้ l สถานการณ์ ในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. ๒๐๐๑ ได้มีการ ส่งซองจดหมายบรรจุสปอร์เชื้อแอนแทรกซ์ (Anthrax) ได้ถูกส่งไปยัง เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ของสภาคองเกรส สหรัฐอเมริกา ซึ่ง สรุปได้ทนั ทีวา่ จดหมายเหล่านีท้ า� ให้เกิดโรคติดเชือ้ ได้ จึงถือว่าเป็นกรณีแรก ทีเ่ กิดจากความจงใจปล่อยกระจายเชือ้ แอนแทรกซ์ จุดศูนย์กลางการระบาด ของเชื้อโรคอยู่ใน ๖ เมือง โดยที่ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับเชื้อสปอร์ของเชื้อโรค ที่ปนเปื้อนอยู่ในซองจดหมายใน ๖ เมืองใหญ่ อันประกอบด้วยฟลอริดา, นิวยอร์ค, นิวเจอร์ซี, คอนเนคติคัต, อาคารรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา กรุงวอชิงตัน ดีซี [Washington, District of Columbia (D.C.)] รวมทั้ง เขตปกครองพิเศษวอชิงตัน ดี.ซี. และในส่วนภูมิภาค ได้แก่ รัฐแมรีแลนด์ และรัฐเวอร์จิเนีย l ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์ ท�าให้มีผู้ป่วยถึง ๒๒ คน โดยที่ผู้ป่วย ๑๑ คน มีอาการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง และอีกจ�านวน ๑๑ คน ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และยังมีผู้ที่เสียชีวิต จากการสูดดมเชื้อแอนแทรกซ์จากการหายใจอีก ๕ คน นอกเหนือจากการ ระบาดของเชือ้ ในเมืองใหญ่แล้ว ยังส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาในภูมภิ าค อืน่ ๆ ของประเทศด้วย ท�าให้ประชาชนทัว่ ไปรูส้ กึ วิตกกังวลเกีย่ วกับจดหมาย 2

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ที่ต้องสงสัย ความตื่นตระหนกนี้ได้ไปกระตุ้นให้เกิดรายงานข่าวเพิ่มเติม ที่อาจเกี่ยวข้องกับเชื้อแอนแทรกซ์ขึ้นมาอีก ซึ่งในเวลาต่อมาพบว่าเป็น รายงานข่าวที่คลาดเคลื่อน l การสนั บ สนุ น เมื่ อ มี ก ารร้ อ งขอให้ ก ระทรวงกลาโหม จัดหน่วยตอบสนองเหตุการณ์ เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ ทีอ่ าคารรัฐสภา สหรัฐอเมริกา หน่วยทหารเข้าไปท�าการเก็บรวบรวมตัวอย่าง ด้วยการสวมใส่เครือ่ งแต่งกายป้องกัน ระดับ A และด�าเนินกรรมวิธที า� ลายล้าง พิ ษ ให้ กั บ ชุ ด ปฏิ บั ติ ก าร และผู ้ ต อบสนองเหตุ ก ารณ์ ร ายอื่ น ๆ ด้ ว ย เจ้าหน้าที่ทหารที่ท�าหน้าที่ตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน. ได้รับภารกิจ ให้ ก� า จั ด จดหมายที่ เ ปื ้ อ นพิ ษ ให้ ห มดไปจากอาคารไปรษณี ย ์ ที่ ถ นน P ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ๑-๓ เพื่อให้เกิดการประสานสอดคล้องระหว่างการสนับสนุน ของกระทรวงกลาโหมกับการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ หน่วยจ�าเป็น ต้องมีความเข้าใจในพันธกิจสนับสนุนเหตุฉุกเฉิน [Emergency Support Function (ESF)] ตามกรอบการตอบสนองภัยพิบัติแห่งชาติ โดยที่พันธกิจ สนับสนุนเหตุฉกุ เฉิน จะระบุถงึ รายละเอียดเกีย่ วกับภารกิจ, นโยบาย, การจัด และหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบของหน่ ว ยงานของรั ฐ เพื่ อ ประสานงานด้ า น ทรัพยากรและการสนับสนุน ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ส�าคัญในระดับชาติ พันธกิจสนับสนุนเหตุฉุกเฉิน (ESF) อาจก�าหนดได้ ดังนี้ l ESF1 การขนส่ง l ESF2 การสื่อสาร l ESF3 สาธารณะและสิ่งปลูกสร้าง l ESF4 การผจญเพลิง 3

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ESF5 การจัดการเหตุฉุกเฉิน l ESF6 การดูแลผู้คนจ�านวนมาก, การหาที่พักพิง และ การบริการขั้นพื้นฐานส�าหรับการด�ารงชีพของประชาชน l ESF7 การสนับสนุนทรัพยากร, การจัดการส่งก�าลังบ�ารุง และการสนับสนุนทรัพยากร l ESF8 การสาธารณสุขและการบริการทางการแพทย์ l ESF9 ด้านการค้นหาและการกู้ภัย l ESF10 การตอบสนองต่อวัตถุอันตรายและวัตถุน�้ามัน l ESF11 การเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ l ESF12 การพลังงาน l ESF13 ความปลอดภัยและความมั่นคงของสาธารณะ l ESF14 การฟื้นฟูของชุมชนในระยะยาว l ESF15 กิจการต่างประเทศ ๑-๔ คู่มือฉบับนี้ยังได้ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับหลักนิยม ว่าด้วยการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งสอดประสานรวมเข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์ทหาร รวมไปถึงนโยบายและหลักนิยมร่วม และกรอบการ ตอบสนองภัยพิบัติแห่งชาติ ๑-๕ ในบทนี้ เ ป็ น การน� า เสนอข้ อ ก� า หนดที่ ใ ช้ โ ดยตลอด ทั่วทั้งเอกสารคู่มือฉบับนี้ อีกทั้งยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม การปฏิบัติการ ที่ต้องด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. รวมทัง้ ปัจจัยต่าง ๆ อันส่งผลกระทบต่อการสนับสนุนการตอบสนองภัยพิบตั ิ l

4

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ข้อก�าหนดส�าหรับใช้อ้างอิง (Terms of Referrence) ๑-๖ ในหัวข้อนี้ ให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับค�านิยามที่ส�าคัญ ที่ใช้โดยตลอดทั่วทั้งคู่มือฉบับนี้ ค�านิยามที่ส�าคัญ ได้แก่ l การแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและ นิวเคลียร์ หมายถึง การด�าเนินการท�าแผน, เตรียมการ, ตอบสนองเหตุการณ์ และฟื้นฟู จากเหตุการณ์อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ (คู่มือ JP 3-41) ในรูปที่ ๑-๑ แสดงให้เห็นถึงกลุ่มของอันตรายทั่วไป ซึ่งจ�าเป็นต้องใช้การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ l อาวุ ธ ที่ มี อ� า นาจท� า ลายสู ง หมายถึ ง อาวุ ธ ที่ ส ามารถ ก่อให้เกิดการท�าลายล้างได้อย่างมากมาย หรือท�าให้การบาดเจ็บล้มตาย เป็นจ�านวนมาก และไม่นับรวมไปถึงวิธีการขนส่งหรือระบบขับดันอาวุธ ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้แยกออกไปและเป็นส่วนที่แยกออกจากระบบอาวุธ (คูม่ อื JP 3-40) ส�าหรับความหมายอืน่ ๆ อาจพบค�าว่า อาวุธทีม่ อี า� นาจท�าลายสูง (WMD) ในรัฐบัญญัติของสหรัฐอเมริกา หมวด ๑๘ ว่าด้วยอาชญากรรม และวิธีการสอบสวนด้านอาชญากรรม (18 USC 2332a) และรัฐบัญญัติ ของสหรัฐอเมริกา หมวด ๕๐ ว่าด้วย การสงครามและการป้องกันประเทศ (50 USC 2302) รวมทั้งกรอบการตอบสนองภัยพิบัติแห่งชาติ (NRF) l อ�านาจในการตอบสนองเหตุฉก ุ เฉิน หมายถึง การดึงอ�านาจ ชั่วคราวจากฝ่ายพลเรือนให้แก่ผู้น�าหน่วยทหารภายใต้กระทรวงกลาโหม และ/หรือเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีหน้าที่รับผิดชอบของกระทรวงกลาโหม เพื่อใช้ทรัพยากรภายใต้การก�ากับของตน หรือภายใต้การสั่งการเพิ่มเติม จากกองบัญชาการหน่วยเหนือ และให้การสนับสนุนทรัพยากรที่มีอยู่ 5

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เพือ่ ช่วยชีวติ , ป้องกันความทุกข์ยากของประชาชน หรือบรรเทาความเสียหาย ต่อทรัพย์สินอย่างรุนแรง ภายใต้สถานการณ์ร้ายแรงที่ก�าลังเกิดขึ้น และ ไม่มเี วลามากพอเพือ่ ขออนุมตั จิ ากผูม้ อี า� นาจระดับสูง ผูท้ มี่ อี า� นาจตอบสนอง เหตุฉุกเฉินไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนสั่งใช้ก�าลังทหาร ซึ่งมี กฎระเบียบ มีกฎหมายรองรับ และมีขอ้ บังคับไว้เป็นการเฉพาะ (ระเบียบ กห. ที่ 3025.18) l ผู้ตอบสนองเหตุรายแรก (first responder) หมายถึง นักผจญเพลิง, ผูบ้ งั คับใช้กฎหมาย, เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่ กู้ชีพฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่ท�าลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD) ผู้ที่ต้อง ตอบสนองเหตุในขั้นต้น ท�าหน้าที่ตอบสนองเหตุอันตรายทุกเหตุการณ์ ในกรณีเร่งด่วน (ค�าสั่ง กห. ที่ 6055.17) l ผู ้ ต อบสนองเหตุ ฉุ ก เฉิ น (emergency responder) หมายถึง นักผจญเพลิง, ผูบ้ งั คับใช้กฎหมาย, เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่กู้ชีพฉุกเฉิน, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและจัดการเหตุฉุกเฉิน และ เจ้าหน้าที่ท�าลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด, แพทย์, พยาบาล, ผู้ให้การรักษา ทางการแพทย์ในที่พยาบาล, เจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมเพื่อบรรเทา สาธารณภัย, เจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุข, เจ้าหน้าที่ช่างยุทธโยธา และ เจ้าหน้าที่การศพ (ค�าสั่ง กห. ที่ 3020.52) l ผูต ้ อบสนองเหตุดา้ นเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ หมายถึง เจ้าหน้าที่ทหารหรือพลเรือนภายใต้กระทรวงกลาโหม ซึ่งได้รับการฝึกให้ ตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน. และได้รับประกาศนียบัตรรับรองการ ปฏิบัติการให้มีความปลอดภัยในระดับที่เหมาะสม ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ 6

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ข้อบังคับแห่งรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา หมวด ๒๙ (29 CFR 1910.120) และข้อก�าหนดของสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) ที่ ๔๗๒ ส�าหรับระดับการรับรองผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ประกอบด้วย  การตระหนักรู้  การปฏิบัติการ  เจ้าหน้าที่ทางเทคนิค การแก้ไขสถานการณ์ อันตราย

วัตถุระเบิด แรงสูง

อันตรายจาก คชรน.

อันตรายจาก ธรรมชาติ

เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์

พายุเฮอริเคน แผ่นดินไหว พายุทอร์นาโด ไฟป่า น�้าท่วม

รูปที่ ๑-๑ โอกาสเกิดการแก้ไขสถานการณ์อันตรายอันเนื่องมาจาก คชรน.

เป้าหมาย (Goal) ๑-๗ เป้ า หมายเป็ น การมุ ่ ง ไปที่ วิ ธี ก ารของกระทรวงกลาโหม เพือ่ ด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ซึง่ ช่วยให้เกิดความเข้าใจ ได้อย่างกว้างๆ ถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. 7

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๑-๘ เป้าหมายหลักของการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. คือ การช่วยชีวิต; ป้องกันการเจ็บป่วย; สนับสนุนการช่วยชีวิตใน ภาวะวิกฤติชวั่ คราว; ช่วยปกป้องทรัพยากรทีส่ า� คัญ รวมทัง้ โครงสร้างพืน้ ฐาน และสิ่งแวดล้อม; ฟื้นฟูการปฏิบัติการที่จ�าเป็น; จัดการควบคุมสถานการณ์ และการรักษาความมั่นคงของชาติ รูปที่ ๑-๒ แสดงถึงเป้าหมายของ การแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

ช่วยชีวิต จัดการควบคุม สถานการณ์ เป้าหมาย การแก้ไข สถานการณ์

ปกป้องทรัพยากรส�าคัญ, โครงสร้างพื้นฐาน, สิง่ แวดล้อมฟืน้ ฟูการปฏิบตั กิ าร ที่จ�าเป็น

รักษาความมั่นคง ของชาติ

ป้องกันการเจ็บป่วย ให้การสนับสนุน การช่วยชีวิตในภาวะ วิกฤติชั่วคราว

รูปที่ ๑-๒ เป้าหมายการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

๑-๙ หลักการป้องกัน คชรน. คือการหลีกเลี่ยงการเปื้อนพิษ, การป้องกัน และการท�าลายล้างพิษ ซึ่งเป็นการสนับสนุนเป้าหมายเหล่านี้ ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น 8

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การช่วยชีวติ ในการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ การช่วย ชีวิตมีล�าดับความเร่งด่วนมากที่สุด โดยรวมไปถึงมาตรการช่วยชีวิตเร่งด่วน จากผู้ตอบสนองเหตุรายแรก, เทคนิคการให้การด�ารงชีวิตด�าเนินต่อไปได้ (การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน, การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก) รวมไปถึง มาตรการป้องกันโรคเพื่อให้มั่นใจถึงการดูแลผู้ป่วย, การรักษาพยาบาล และความปลอดภัยในระยะยาว l การป้ อ งกั น การบาดเจ็ บ มาตรการที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ ป้องกันมีส่วนช่วยในการป้องกัน หรือบรรเทาผลกระทบจากการสัมผัสกับ สารอันตรายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือล้มป่วย มาตรการเหล่านี้ ได้แก่ การก�าหนดเขตรักษาความปลอดภัย และการก�าหนดเขตควบคุมอันตราย l ให้ ก ารสนั บ สนุ น การช่ ว ยชี วิ ต ในภาวะวิ ก ฤติ ชั่ ว คราว มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองเหตุการณ์ เป็นการด�าเนินการเพื่อ ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในการเตรียมการให้บริการทางการแพทย์ ส�าหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ l การป้องกันทรัพยากรที่ส�าคัญ, โครงสร้างพื้นฐานและ สิง่ แวดล้อม การป้องกันทรัพยากรทีส่ า� คัญ, โครงสร้างพืน้ ฐานและสิง่ แวดล้อม เกิดขึน้ ได้ดว้ ยการประยุกต์ใช้ความพยายามในการท�าลายล้างพิษ, การเตือนภัย ล่ ว งหน้ า , การรายงานเหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น และการป้ อ งกั น ก� า ลั ง พล ที่เป็นก�าลังส�าคัญ การตกลงใจบังคับใช้ที่หลบภัยในที่เกิดเหตุ หรือใช้ การอพยพ ก็เป็นการสนับสนุนการป้องกันทรัพยากรด้วยเช่นกัน l

9

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การฟื้นฟูการปฏิบัติการที่จ�าเป็น ภายหลังจากเกิด เหตุการณ์ดา้ น คชรน. มักท�าให้เกิดการสูญเสียการบริการหรือการปฏิบตั กิ าร ที่ จ� า เป็ น การฟื ้ น ฟู ใ ห้ ก ลั บ คื น สภาพโดยเร็ ว เกี่ ย วกั บ กระแสไฟฟ้ า , ทรัพยากรน�้า, เครือข่ายการสื่อสาร และเส้นทางคมนาคม ต้องด�าเนินการ ควบคู่ไปพร้อมกับความพยายามในการท�าลายล้างพิษ ซึ่งมีความส�าคัญ อย่างยิ่งต่อการบังคับบัญชาเพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างต่อเนื่อง l การจั ด การควบคุ ม เหตุ ก ารณ์ การควบคุ ม การเข้ า ถึ ง สถานที่เกิดเหตุการณ์ และการใช้ขั้นตอนการปฏิบัติในการท�าลายล้าง พิษอย่างถูกต้องย่อมช่วยจ�ากัดการปนเปื้อนพิษไม่ให้แพร่กระจายออกไป การก�าหนดเขตควบคุมอันตราย (เขตปลอดภัย, เขตเฝ้าระวังและเขตอันตราย) ช่วยให้มั่นใจว่ามีพื้นที่ปลอดภัยส�าหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งหน่วยต่างๆ ที่เข้าให้การสนับสนุน l การรักษาความมัน ่ คงของชาติ หลักการป้องกัน คชรน. มีสว่ นช่วยในการรักษาความมัน่ คงของชาติ โดยการป้องกันโครงสร้างพืน้ ฐาน ที่ส�าคัญภายในประเทศ เมื่อก�าลังทหารได้เตรียมก�าลังไว้เพื่อตอบสนอง เหตุการณ์ ก็ถอื ว่าเป็นการสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์อนั ยิง่ ใหญ่ของชาติ เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ l

สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ (Operational Environments) ๑-๑๐ เมื่อมีความจ�าเป็นต้องเข้าปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนือ่ งมาจาก คชรน. ไม่วา่ จะเกิดขึน้ ในพืน้ ทีใ่ ดๆ ก็ตาม กระทรวงกลาโหม ต้องเตรียมความพร้อม เพื่อปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์นั้นเมื่อได้รับ การร้องขอ 10

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๑-๑๑ สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ ประกอบด้วยสภาพเงื่อนไข, สภาวะแวดล้อม และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ขีดความ สามารถในการเข้าปฏิบัติการ และมีผลต่อการตกลงใจของผู้บังคับบัญชา กระทรวงกลาโหมต้องเข้าปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ตามสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการใน ๓ ลักษณะ ดังต่อไปนี้ l สนับสนุนการป้องกันให้แก่เจ้าหน้าที่พลเรือนส�าหรับ การตอบสนองเหตุการณ์ในประเทศ การตอบสนองเหตุการณ์ลักษณะนี้ เป็นการให้ความช่วยเหลือหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศ ซึ่งเป็นไป ตามค�าแนะน�าตามกรอบการตอบสนองภัยพิบตั แิ ห่งชาติ กระทรวงกลาโหม ปฏิบัติการสนับสนุนภายใต้ขีดความสามารถของตน โดยอาศัยนายทหาร ติดต่อกับผู้บัญชาการเหตุการณ์ l สนั บ สนุ น การป้ อ งกั น ตามการร้ อ งขอของต่ า งประเทศ กระทรวงกลาโหมสนับสนุนกระทรวงการต่างประเทศด้วยการปฏิบัติการ ตามที่มีการร้องขอจากต่างประเทศ อาจเป็นกิจในต่างประเทศ ที่ผ่านมา ทางกระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผูบ้ งั คับบัญชาของหน่วยภายใต้ กระทรวงกลาโหม อาจต้องเลือกใช้มาตรการปฏิบตั ทิ เี่ หมาะสมในสถานการณ์ ที่มีภัยคุกคามต่อชีวิต ในขณะที่รอคอยกิจจากกระทรวงกลาโหม หรือ จากกระทรวงการต่างประเทศ l การปฏิ บั ติ ก ารที่ น� า โดยกระทรวงกลาโหม กระทรวง กลาโหมด�าเนินการปฏิบัติการน�า เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ก�าลังทหารของกระทรวงกลาโหม และก�าลังของชาติพันธมิตร นอกเหนือ จากการปฏิบตั กิ ารทางทหาร การปฏิบตั กิ ารลักษณะนี้ ได้แก่ การปฏิบตั กิ าร ตอบสนองเหตุการณ์ภายในที่ตั้งหน่วยทหาร 11

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๑-๑๒ เมื่ อ ก� า ลั ง ทหารของกระทรวงกลาโหมได้ รั บ มอบกิ จ ให้ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในการแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ หรือการแก้ไขสถานการณ์ในต่างประเทศ ผู้บัญชาการเหตุการณ์เป็นผู้ที่ ก�าหนดระดับการแต่งกายป้องกัน อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบตั กิ ารตอบสนอง เหตุการณ์ที่น�าโดยกระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ที่มีอาวุโสสูงสุดในที่นั้น เป็นผู้ตกลงใจตามสถานการณ์ความเสี่ยง รวมทั้ง การตกลงใจใช้ระดับการแต่งกายป้องกันด้วย ๑-๑๓ กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน (Department of Homeland Security) เป็นหน่วยงานน�าการปฏิบตั ิ เพือ่ การแก้ไขสถานการณ์ เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ภายในประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานน�าการปฏิบัติ ส�าหรับการตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์ ในต่างประเทศ ในสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการทั้งสองลักษณะ กระทรวง กลาโหมปฏิบัติการสนับสนุนกระทรวงความมั่นคงภายในหรือกระทรวง การต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กระทรวงกลาโหมมีอ�านาจเต็มภายใต้ สภาพแวดล้อมการปฏิบตั กิ ารในลักษณะทีส่ าม ในการปฏิบตั กิ ารตอบสนอง เหตุการณ์ทั้งสามลักษณะนี้ กระทรวงกลาโหมได้สงวนไว้ซึ่งการควบคุม บังคับบัญชาหน่วยทหารต่างๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม

กิจ (Tasks) ๑-๑๔ ในรูปที่ ๑-๔ แสดงถึงภาพเกีย่ วกับกิจต่างๆ ในการปฏิบตั กิ าร แก้ ไ ขสถานการณ์ อั น เนื่ อ งมาจาก คชรน. ซึ่ ง มี ก ารด� า เนิ น การในห้ ว ง การปฏิบัติตามขั้นตอนการแก้ไขสถานการณ์ ดังต่อไปนี้ 12

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประเมินสถานการณ์ หน่วยที่ท�าหน้าที่ตอบสนอง เหตุการณ์ต้องรวบรวม, วิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องในห้วงก่อน, ระหว่าง และภายหลังการปฏิบัติภารกิจแต่ละครั้ง ทั้งนี้เพื่อช่วยยืนยัน, ปรับแก้ไข หรือหักล้างข้อวิเคราะห์ครั้งก่อนๆ การด�าเนินการประเมินสถานการณ์ เป็นการสนับสนุนขีดความสามารถในการก�าหนดความต้องการในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งจ�าเป็นต่อการวางแผนและการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการปฏิบัติ การด�าเนินการประเมินสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ภัยคุกคาม, ความพร้อม, แผนและยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบตั ,ิ การตรวจหาและการวิเคราะห์ รวมทั้งการเฝ้าตรวจ โดยที่หน่วยในระดับยุทธวิธี, ชุดปฏิบัติการตอบสนอง (ชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ หรือชุดส�ารวจ) เป็นผู้ประเมินข้อมูลเกี่ยวกับ อันตราย (เช่น สารประเภทไวไฟ, สารท�าปฏิกิริยา, สารที่ระเบิดได้ และ คุณสมบัติทางกายภาพ, ความจ�าเป็นในการใช้เครื่องแต่งกายป้องกัน, ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ, แผนผังของสถานที่เกิดเหตุ) l ด� า เนิ น การประสานงาน หน่ ว ยที่ รั บ ผิ ด ชอบในการ ตอบสนองต้องด�าเนินการประสานงานอย่างเต็มที่โดยตลอดทั่วทั้งย่าน การปฏิบัติภารกิจ การปฏิบัติเพื่อการประสานงาน หมายถึงการฝึกปฏิบัติ, การเตือนภัยและการรายงาน, การควบคุมบังคับบัญชาและการประสาน สอดคล้อง, การรักษาความปลอดภัยและการควบคุม, การพิสูจน์ทราบ ทางด้านนิตวิ ทิ ยาศาสตร์, การเก็บและการบรรจุหบี ห่อตัวอย่าง, การปฏิบตั กิ าร ด้ า นกิ จ การพลเรื อ นและการประชาสั ม พั น ธ์ , หน่ ว ยในระดั บ ยุ ท ธวิ ธี , ชุดปฏิบตั กิ ารตอบสนอง (ชุดส�ารวจ คชรน.) ด�าเนินการประสานกับก�าลังทหาร หน่วยเฉพาะกิจ (หรือกับหน่วยที่ให้การสนับสนุนอื่นๆ) เพื่อประสาน เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เคลื่อนมาบรรจบ ส�าหรับการปฏิบัติการใน l

13

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

พื้นที่พักรอหรือปรับแก้ไขการปฏิบัติการให้เป็นปัจจุบัน หน่วยปฏิบัติการ ตอบสนองเข้ารายงานตัวต่อทีบ่ ญั ชาการเหตุการณ์ พร้อมกับรับมอบกิจตามระดับ การฝึกของตน และตามความจ�าเป็นของเหตุการณ์ l ด� า เนิ น การด้ า นการส่ ง ก� า ลั ง บ� า รุ ง หน่ ว ยตอบสนอง เหตุด�าเนินการวางแผนและเคลื่อนย้ายก�าลัง และด�ารงความต่อเนื่องของ ส่วนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ การด�าเนินการด้านการส่งก�าลังบ�ารุง อาจด�าเนินการโดยชุดปฏิบัติการตอบสนอง อันได้แก่ การส่งยุทโธปกรณ์ เข้าประจ�าจุดต�าแหน่งเพือ่ เตรียมการปฏิบตั กิ าร, การอพยพผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บ, ศพ และตัวอย่าง, การส่งก�าลังพลและยุทโธปกรณ์เข้าประจ�าการ, รวมทั้ง ด�ารงรักษาสิ่งอ�านวยความสะดวกและสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ l การสนับสนุนบริการสุขภาพ หน่วยปฏิบต ั กิ ารตอบสนอง เหตุการณ์ตอ้ งจัดให้มกี ารสนับสนุนบริการสุขภาพในระหว่างการปฏิบตั กิ าร แก้ไขสถานการณ์ การสนับสนุนบริการสุขภาพ (health service support: HSS) เป็นการกล่าวถึงการด�าเนินการ, การจัดให้มี, การเตรียมการส่งเสริม, การปรับปรุง, การสนับสนุนรักษาสวัสดิภาพ, การอนุรกั ษ์ ซึง่ เป็นการบริการ เพื่อสวัสดิภาพของก�าลังพล รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกาย การบริการเหล่านี้ ได้แก่ การบริหารจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรที่ให้บริการ ต่อสุขภาพ (ก�าลังพล, เงิน, สิง่ อ�านวยความสะดวก) รวมไปถึง มาตรการป้องกัน สุขภาพและการรักษาพยาบาล, การเคลือ่ นย้ายผูท้ มี่ บี าดแผล, ผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บ และผูป้ ว่ ย; การคัดแยกคนทีม่ สี ขุ ภาพแข็งแรงและจัดการกับคนทีม่ แี นวโน้ม เจ็บป่วย; การบริหารจัดการโลหิต, สิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์สายแพทย์ รวมทัง้ การปรนนิบตั บิ า� รุง, การควบคุมความเครียดจากการรบและการรักษา พยาบาล, บริการทันตกรรม, สัตวแพทย์, ห้องปฏิบัติการ, การวัดสายตา, การบ�าบัดทางโภชนาการ และการบริการข่าวกรองการแพทย์ มีการใช้คา� ว่า 14

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

“การป้องกันด้านสุขภาพของก�าลังรบ” ตามเอกสารคู่มือ JP 1-02 ซึ่งให้ ความหมายที่ได้น�ามาประยุกต์ใช้ หมายถึง มาตรการส่งเสริม, ปรับปรุง หรืออนุรักษ์สภาพสวัสดิภาพที่ดีทั้งในเชิงพฤติกรรม และสภาพร่างกาย ของก�าลังพลในแต่ละเหล่าทัพ เพื่อช่วยให้ส่วนก�าลังรบมีสุขภาพที่ดีและ ร่างกายแข็งแรง รวมทั้งการป้องกันการได้รับบาดเจ็บและภาวะเจ็บป่วย และการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของส่วนก�าลังรบ l การท�าลายล้างพิษ ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุการณ์ ต้องขจัดการเปื้อนพิษออกจากตัวก�าลังพล, ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอ�านวย ความสะดวก การด�าเนินการท�าลายล้างพิษ ประกอบด้วย การท�าลายล้างพิษ ฉุกเฉิน, การท�าลายล้างพิษชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุการณ์, การท�าลาย ล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก และการท�าลายล้างพิษผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

การแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

ท�าลายล้างพิษ

ให้การสนับสนุนบริการสุขภาพ

ด�าเนินการด้านการส่งก�าลังบ�ารุง

ด�าเนินการประสานงาน

ประเมินสถานการณ์

รูปที่ ๑-๓ เสาหลักเกี่ยวกับกิจส�าหรับการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

15

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ขั้นตอนการปฏิบัติการ (Operations Process) ๑-๑๕ ขั้นตอนการปฏิบัติการประกอบด้วยการปฏิบัติที่ส�าคัญ ๔ ประการ ได้แก่ การวางแผน, การเตรียมการ, การน�าไปปฏิบัติ และ การประเมินอย่างต่อเนือ่ ง การแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ด�าเนิน ไปตามลักษณะนี้ ตามขั้นตอนการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. ขัน้ ตอนการปฏิบตั ไิ ด้ขยายขอบเขตครอบคลุมไปจนถึงขัน้ ตอน การปฏิบัติย่อยอื่นๆ อีก ๒ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการตอบสนองเหตุการณ์ และขั้นตอนการฟื้นฟู การขยายขอบเขตการปฏิบัติออกไปนั้น จ�าเป็นที่ ต้องกล่าวถึงการแบ่งระดับขั้นของความพยายามในการปฏิบัติการฉุกเฉิน ไปจนถึงการฟื้นฟูเพื่อให้คืนสภาพกลับมาเป็นปกติ การด�าเนินการประเมิน อย่างต่อเนือ่ ง ตัง้ แต่การปฏิบตั ใิ นห้วงก่อนเกิดเหตุการณ์ไปจนถึงการปฏิบตั ิ ภายหลังเกิดเหตุการณ์ ขัน้ การวางแผนและการเตรียมการเป็นการสนับสนุน ความพยายามในการป้องกันตามกรอบการตอบสนองภัยพิบัติแห่งชาติ ในขณะทีข่ นั้ ตอนการตอบสนองและการฟืน้ ฟูเป็นการสนับสนุนเพือ่ บรรเทา ผลกระทบตามกรอบการตอบสนองภัยพิบัติแห่งชาติ

16

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ป้องกัน วางแผน

เตรียมการ

ขั้นตอน การปฏิบัติในการ แก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

ฟื้นฟู

เหตุการณ์ จาก คชรน.

ตอบสนอง ปฏิบัติ

รูปที่ ๑-๔ ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

การวางแผน (Plan) ๑-๑๖ การวางแผนมีความเกีย่ วข้องกับการประเมินสภาพแวดล้อม ปฏิบตั กิ าร และเป็นตัวช่วยส�าหรับผูบ้ งั คับบัญชาในการตรวจสอบมาตรฐาน ที่ต�่าสุด เพื่อการฝึก, การจัดหน่วย, ยุทโธปกรณ์ และทรัพยากรเพื่อใช้ ในการป้องกัน ขั้นตอนการวางแผนของหน่วยตอบสนองเหตุการณ์เป็นการ ตรวจสอบการเตรี ย มการและเอื้ อ ต่ อ การปฏิ บั ติ ก ารตอบสนองและ การฟื้นฟู ในบทที่ ๒ และผนวก ก เป็นการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ ขั้นตอนการวางแผน 17

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเตรียมการ (Prepare) ๑-๑๗ การเตรียมการเป็นการน�าแผนทีไ่ ด้รบั อนุมตั แิ ละข้อตกลงใจ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ เพื่อท�าให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยการฝึกอบรม, การฝึกปฏิบัติ, มีประกาศนียบัตรรับรอง หน่วยตอบสนองเหตุการณ์ริเริ่ม ใช้มาตรการลดความล่อแหลม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและ บรรเทาผลกระทบ ในบทที่ ๓ และ ผนวก ข เป็นการอธิบายรายละเอียด เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมการ

การตอบสนองเหตุการณ์ (Respond) ๑-๑๘ ขัน้ ตอนการตอบสนองเหตุการณ์ เป็นการกล่าวถึงผลกระทบ โดยตรงจากเหตุการณ์ในระยะสั้น หน่วยปฏิบัติการตอบสนองริเริ่มใช้ มาตรการตอบสนองร่วมกับการปฏิบัติตามมาตรการนั้น เพื่อช่วยชีวิต, ป้องกันทรัพยากร และก�าหนดการควบคุม ในบทที่ ๔ และ ผนวก ค เป็น การอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการตอบสนองเหตุการณ์

การฟื้นฟู (Recover) ๑-๑๙ หน่วยตอบสนองเหตุการณ์ริเริ่มการใช้ขั้นตอนการฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูขีดความสามารถเพื่อกลับมาปฏิบัติภารกิจได้ อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งการฟื้นฟูการบริการภาครัฐและการบริการสาธารณะ ที่ถูกขัดขวางจากเหตุการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟู ยังรวมไปถึง การบรรเทาผลอันตรายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในขั้นที่สมบูรณ์ ในบทที่ ๕ และผนวก ง เป็นการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการฟื้นฟู 18

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ขั้นการปฏิบัติการร่วม (Joint Operational Phases) ๑-๒๐ ในระหว่างการปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุภายในประเทศหรือ ในต่างประเทศ ชุดปฏิบัติการตอบสนองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติ ต่างๆ เพื่อเข้าหาที่หมาย เช่นเดียวกับการปฏิบัติการส่งทหารเข้าวางก�าลัง ขั้นการปฏิบัตินี้ควบคู่ขนานไปกับขั้นตอนการปฏิบัติการ ซึ่งเป้าหมาย ของการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. นั้นเปิดเผยอย่างชัดเจน ความสัมพันธ์ที่ควบคู่ขนานนี้ได้แสดงไว้ในรูปที่ ๑-๕ ๑-๒๑ ขั้นการปฏิบัติส�าหรับการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. มีดังนี้ l การเตรี ย มพร้ อ ม, การเตรี ย มการ และการประเมิ น สถานการณ์ ชุดปฏิบัติการตอบสนองมีการปฏิบัติหลายประการ ได้แก่ การกระตุ้นเตือนก�าลังพลของหน่วยให้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ ประเมิน เหตุ ก ารณ์ แ ละพร้ อ มส่ ง ก� า ลั ง เข้ า ประจ� า การได้ ทั น ที และส่ ง ก� า ลั ง ส่วนล่วงหน้าเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ l การส่ ง ก� า ลั ง เข้ า ประจ� า การ เมื่ อ ได้ รั บ ค� า สั่ ง ที่ ถู ก ต้ อ ง และเหมาะสม หน่วยจะเคลือ่ นทีไ่ ปยังสถานทีท่ กี่ า� หนดภายในกรอบระยะห่าง ตามที่ก�าหนดให้ l การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน, เจ้าหน้าที่ชาติ เจ้าบ้าน ชุดปฏิบัติการตอบสนอง (ยังอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชา ของกระทรวงกลาโหม) ด�าเนินการสนับสนุนการประสานเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายของการแก้ไขสถานการณ์ 19

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเปลีย่ นผ่าน ขัน้ การปฏิบตั นิ ยี้ งั เป็นกิจของชุดปฏิบตั ิ การตอบสนองที่ต้องด�าเนินการให้เป็นผลส�าเร็จก่อนการถอนก�าลังจาก การประสานงานระหว่างชุดควบคุมบังคับบัญชาของกระทรวงกลาโหมกับ เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของชาติเจ้าบ้าน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ภายในประเทศ l การถอนก�าลัง หน่วยปฏิบัติการตอบสนองเหตุเริ่มถอน ก�าลังเมือ่ ได้รบั ค�าสัง่ ซึง่ ขัน้ การปฏิบตั นิ จี้ ะเสร็จสิน้ สมบูรณ์ หลังจากทีห่ น่วย ได้เคลื่อนที่กลับสู่ที่ตั้งปกติตามที่ได้ก�าหนดไว้ l

ป้องกัน

วางแผน

เตรียม ส่งก�าลังเข้า ประจ�าการ

ขั้นตอน การปฏิบัติในการ แก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

ถอนก�าลัง

เปลี่ยนผ่าน

เตรียมการ

ฟื้นฟู

เตรียมพร้อม

ตอบสนอง

ส่งก�าลัง เข้าประจ�าการ

ปฏิบัติ สนับสนุน

รูปที่ ๑-๕ ขั้นการปฏิบัติส�าหรับการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

20



การวางแผน

บทที่ ๒ เป็นการกล่าวถึงการประเมินในเรื่องต่างๆ ที่น�ามาใช้ใน ระหว่างขั้นตอนการวางแผน การประเมินเป็นการทบทวนเกี่ยวกับสภาพ แวดล้อมการปฏิบัติการ, ขีดความสามารถ, ความล่อแหลม, ความเสี่ยง, สถานที่ที่ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ และการสนับสนุนบริการ ทางการแพทย์

กล่าวเบื้องต้น (Background)

๒-๑ ขั้นตอนการวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. แผนการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ถือว่าเป็นเอกสารที่มีชีวิต ซึ่งควรที่รักษาไว้และปรับให้เป็นปัจจุบัน เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลง

ภารกิจ (Mission)

๒-๒ หน่วยปฏิบัติการตอบสนองเริ่มวางแผนปฏิบัติการแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. เมื่อได้รับภารกิจจาก บก.หน่วยเหนือ เพือ่ ด�าเนินการหรือสนับสนุนการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ดูรูปที่ ๒-๑ ส�าหรับขั้นการปฏิบัติในการวางแผนเทียบกับขั้นการ

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ปฏิ บั ติ อื่ น ๆ ในขั้ น ตอนการแก้ ไ ขสถานการณ์ อั น เนื่ อ งมาจาก คชรน.) หน่วยอาจได้รบั การตรวจสอบ หากมีการเตรียมการเพือ่ สนับสนุน หรือด�าเนิน การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ด้วยการวิเคราะห์ ภารกิจที่ได้รับมอบ และด�าเนินการวิเคราะห์จากภารกิจแปลงไปเป็น กิจการวิเคราะห์จากภารกิจไปเป็นกิจอาจค้นพบหนึ่งในหลายๆ กิจ ส�าหรับ “การด�าเนินการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. หรือ สนับสนุนการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.”

แผน (Plan) ๒-๓ หน่วยทีใ่ ห้การสนับสนุนการตอบสนองเหตุการณ์อาจจ�าเป็น ต้องมีแผนยุทธการ (OPLAN) หรือแผนปฏิบตั ริ ว่ มกันหลายหน่วย ซึง่ สามารถ แปลงไปเป็นค�าสั่งยุทธการ (OPORD) เพื่อใช้ปฏิบัติการหรือใช้ปฏิบัติการ สนับสนุน (ผนวก ก มีรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาแผน และตัวอย่าง ของแผนการปฏิบัติ)

การวางแผน (Planning) ๒-๔ การวางแผนมีความเกี่ยวข้องกับการด�าเนินการประเมิน สภาพแวดล้อมการปฏิบตั กิ าร (รวมทัง้ ภัยคุกคาม), ความล่อแหลม และความ เสีย่ ง ยิง่ ไปกว่านัน้ การใช้ระบบจ�าลองยุทธ์สา� หรับการจ�าลองภาพเหตุการณ์ ที่ระบุถึงการประเมินที่เกิดเหตุอย่างรอบคอบส�าหรับที่เกิดเหตุ ซึ่งทราบ อยู่แล้ว การวางแผนส�าหรับหน่วยตอบสนองเหตุ ก็ด�าเนินการในลักษณะ เดียวกันกับการวางแผนปฏิบัติภารกิจทางทหาร โดยที่หน่วยก็ใช้วิธีการ ที่น�ามาใช้เป็นปกติส�าหรับการวางแผนปฏิบัติภารกิจ วิธีการดังกล่าว ได้แก่ กระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร ซึง่ กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 22

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l l l l l l l

รับภารกิจ วิเคราะห์ภารกิจ พัฒนาหนทางปฏิบัติ วิเคราะห์หนทางปฏิบัติ เปรียบเทียบหนทางปฏิบัติ อนุมัติหนทางปฏิบัติ จัดท�าค�าสั่ง ป้องกัน วางแผน

เตรียมการ

ขั้นตอน การปฏิบัติในการ แก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

ฟื้นฟู

เหตุการณ์ จาก คชรน.

ตอบสนอง ปฏิบัติ

รูปที่ ๒-๑ ขั้นการปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (วางแผน)

23

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๒-๕ มีการวางแผนอยู่ ๒ ระดับ คือ l การวางแผนเผชิ ญ สถานการณ์ ฉุ ก เฉิ น (Contingency Planning) หมายถึง การด�าเนินการวางแผนส�าหรับแผนยุทธการและ ระบบปฏิบัติการร่วม (Joint Operation Planning and Execution System: JOPES) ซึ่งมักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่วิกฤต ผู้วางแผนและ ผูป้ ฏิบตั กิ ารร่วมมักใช้แผนเผชิญสถานการณ์ฉกุ เฉิน เพือ่ พัฒนาแผนยุทธการ ส�าหรับตอบสนองเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงทั่วไปอย่างกว้างๆ แผนยุทธการนี้ อยู่บนพื้นฐานของความต้องการตามที่ได้ตรวจสอบแล้วและบรรจุอยู่ใน ค�าแนะน�า, แผนยุทธศาสตร์ร่วม และการสั่งการเพื่อการวางแผนอื่นๆ โดย เป็นการวางแผนส�าหรับเผชิญเหตุที่คาดไม่ถึง ทั้งนี้แผนเผชิญสถานการณ์ ฉุกเฉินได้มีส่วนสนับสนุนและเอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การวางแผน การปฏิบัติในสภาวะวิกฤต l การวางแผนเผชิ ญ สถานการณ์ วิ ก ฤต (Crisis action planning) เป็นกระบวนการวางแผนส�าหรับแผนยุทธการและระบบปฏิบัติ การร่วม ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการแผนยุทธการและค�าสั่งยุทธการร่วม ในห้วงเวลาทีแ่ น่นอน เพือ่ การส่งก�าลังเข้าประจ�าการ, การใช้ และการด�ารง ความต่อเนื่องของส่วนก�าลังที่บรรจุมอบและส่วนที่ได้รับการแบ่งมอบ รวมไปถึงทรัพยากรอื่นๆ ในการตอบสนองเหตุที่เข้าใกล้เข้าสู่สภาวะวิกฤต การวางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤตอยู่บนพื้นฐานของสภาพแวดล้อม ที่เป็นจริงในขณะที่ด�าเนินการวางแผน

24

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประเมินสภาพแวดล้อมปฏิบตั กิ าร (Operational Environment Assessment) ๒-๖ การประเมินสภาพแวดล้อมปฏิบตั กิ าร เป็นการน�าเสนอข้อมูล แก่ผู้บังคับบัญชา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม, ลักษณะสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมทางการเมือง เครือ่ งมือช่วยในการตกลงใจ อาจน�ามาใช้ร่วมกับข่าวสารลักษณะนี้ เพื่อให้มีส่วนช่วยในการคาดการณ์ แบบจ�าลอง เครื่องมือช่วยในการตกลงใจซึ่งอาจบรรจุมอบให้กับหน่วย ตอบสนองเหตุ หรือหน่วยทีม่ ขี ดี ความสามารถในการร้องขอรับการสนับสนุน กลับไปยังเขตภายใน หรือหน่วยที่มีความสามารถพร้อมที่จะถูกส่งเข้า ประจ�าการอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ

ภัยคุกคาม (Threat) ๒-๗ การประเมิ น ภั ย คุ ก คาม เป็ น สิ่ ง ที่ ใ ช้ ร ะบุ ถึ ง สิ่ ง ที่ ห น่ ว ย ตอบสนองเหตุต้องประสบในระหว่างที่เข้าปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ ส� า หรั บ หน่ ว ยในระดั บ ยุ ท ธวิ ธี การประเมิ น ภั ย คุ ก คามมั ก ด� า เนิ น การ โดยการประยุ ก ต์ ใ ช้ ส ่ ว นควบคุ ม บั ง คั บ บั ญ ชาทางทหาร การประเมิ น ภัยคุกคามเป็นการกล่าวถึงประเภทสาร และอันตรายที่เกิดจากสารนั้น ในบริเวณที่เกิดเหตุ รวมทั้งการประเมินด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (occupational and environmental health: OEH) นอกจากนั้น หน่วยเผชิญเหตุควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่จัดเก็บสาร คชรน. หรือ แหล่งผลิตในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งวิธีการที่ใช้ส่งหรือแพร่กระจายสาร หรือวัตถุ คชรน. การประมาณการอาจได้รับการปรับแก้ไขให้สมบูรณ์ 25

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ด้วยการค�านึงถึงว่าสารหรือวัตถุ คชรน. นั้นถูกน�ามาใช้เมื่อไร, ที่ไหน, และ อย่างไร ส�าหรับค�าแนะน�าของ บก.หน่วยเหนือ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น (การใช้ในอดีตที่ผ่านมา) และระดับภัยคุกคาม ในขณะนั้นที่ก�าหนดขึ้น ณ บริเวณที่เกิดเหตุ ๒-๘ หน่วย (ชุดปฏิบัติการ) ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ได้รับ รายงานสถานการณ์, รายงานสรุปข่าวกรอง และรายงานด่วนที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับการรับรู้สถานการณ์ของ ผบ. ที่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งภาพปฏิบัติการ ทั่วไป การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเจ้าหน้าที่พลเรือน, เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ท�าให้ทราบถึงวิธีการติดตามภัยที่คุกคาม ต่อประชาชนในท้องถิ่น

ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ๒-๙ ลั ก ษณะสภาพแวดล้ อ มทางกายภาพ หมายถึ ง สภาพ ภูมิประเทศ, สภาพอากาศ, คุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ของสภาพพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการตอบสนองเหตุเพื่อแก้ไขสถานการณ์ คุณลักษณะดังกล่าว ได้แก่ โครงสร้างพืน้ ฐานทีส่ า� คัญ, แหล่งก�าเนิดอันตราย, และข้อพิจารณาถึงการวิเคราะห์เขต (zone analysis)

โครงสร้างพื้นฐานที่ส�าคัญ (Critical Infrastructure) ๒-๑๐ หน่วยตอบสนองเหตุต้องคิดทบทวนถึงโครงสร้างพื้นฐาน ทีส่ า� คัญในบริเวณใกล้เคียงกับทีเ่ กิดเหตุ การมีอยู่ (หรือไม่ม)ี โครงสร้างพืน้ ฐาน ที่ส�าคัญต่อไปนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการในบริเวณที่เกิดเหตุ 26

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เครื อ ข่ า ยโทรคมนาคม มี ร ะบบและเครื อ ข่ า ย โทรคมนาคมพร้อม ซึ่งช่วยในการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนการสื่อสารด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างและบรรดาผู้ใช้ปลายทาง (เช่น ระบบ คอมพิ ว เตอร์ ที่ เ ชื่ อ มโยงกั น เป็ น เครื อ ข่ า ย) ซึ่ ง มี ผ ลกระทบโดยตรงต่ อ การปฏิบัติการ (เช่น การติดต่อย้อนกลับไปยังเขตภายในเพื่อขอรับการ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค) l กระแสไฟฟ้ า สถานี จ ่ า ยกระแสไฟฟ้ า รวมทั้ ง ระบบ สายส่งและเครือข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้แก่ชุดตอบสนองเหตุ ย่อมส่งผลต่อความต้องการในการสนับสนุนทาง การส่งก�าลังบ�ารุง l การผลิต จัดเก็บ และขนส่ง ทางด้านอุตสาหกรรมเคมี, พลังงานนิวเคลียร์, แก๊ส และน�า้ มัน อาคารส�านักงาน, โรงกลัน่ และสถานที่ ด�าเนินการผลิตส�าหรับเชือ้ เพลิงดังกล่าว รวมไปถึงระบบส่งทางท่อ, ทางเรือ, ทางรถยนต์บรรทุก และทางรถไฟที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งอาจมี โอกาสตกเป็นเป้าหมาย l ระบบส่งน�า ้ แหล่งน�า้ , อ่างเก็บน�า้ รวมทัง้ อาคารประกอบ, ระบบท่อล�าเลียงน�้ารวมทั้งระบบการส่งน�้าอื่นๆ ระบบกรองน�้าและผลิต น�้าสะอาด, ท่อน�้าประปา, ระบบน�้าหล่อเย็น, โรงงานบ�าบัดน�้าเสีย และ ระบบกลไกส่งน�้าลักษณะอื่นๆ ที่ป้อนส่งน�้าเข้าไปใช้ในครัวเรือนและ ใช้ในภาคอุตสาหกรรม (รวมไปถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับการท�าลายล้างพิษ) อาจตกเป็นเป้าหมายได้ หากมีระบบส่งน�้าที่เพียงพอย่อมส่งผลต่อการ สนับสนุนทางการส่งก�าลังบ�ารุงและการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ l

27

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การบริการฉุกเฉิน ขีดความสามารถทางการแพทย์ ในระดับท้องถิ่น, ระดับรัฐ และระดับประเทศ รวมทั้งต�ารวจ, การดับเพลิง และระบบการกู้ภัย เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีส่วนเสริมของหน่วยทหาร ที่ท�าหน้าที่ตอบสนองเหตุ l

สถานที่เกิดอันตราย (Hazard Sites)

๒-๑๑ สถานทีห่ รือแหล่งทีท่ ราบหรือสงสัยว่าเกีย่ วข้องกับการผลิต, จัดเก็บ, การวิจยั ด้านวัตถุอตุ สาหกรรมอันตรายหรืออาวุธทีม่ อี า� นาจท�าลายสูง ต้องถือว่าเป็นแหล่งที่มีโอกาสจะเกิดการแพร่กระจายของสาร คชรน. สถานที่เหล่านี้ต้องมีการตรวจสอบและจัดท�าเป็นบัญชีโดยเรียงล�าดับ ความส�าคัญตามบัญชีรายการวัตถุอุตสาหกรรมอันตราย หรือวัตถุเกี่ยวข้อง กับอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง และเก็บรักษาไว้ในที่จัดเก็บบัญชีเป้าหมาย

การวิเคราะห์เขต (Zone Analysis)

๒-๑๒ หน่วยตอบสนองเหตุรบั ทราบผลการวิเคราะห์เขตในบริเวณ ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ กระบวนการจัดการเขตพื้นที่ในเมืองได้แบ่งพื้นที่ ออกเป็นเขตๆ ตามลักษณะการปลูกสร้างอาคารหรือลักษณะการใช้งาน ข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งเขตอาจน�าเสนอในรูปของแผ่นบริวารที่มีค�าอธิบาย ประกอบหรือใช้รหัสสีประกอบแผนที่ รูปแบบของการแบ่งเขต ประกอบด้วย l เขตที่อยู่อาศัย l เขตการค้า l เขตอุตสาหกรรม l เขตถนน l เขตแหล่งจัดเก็บ l เขตทางทหาร

28

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political Environment) ๒-๑๓ ส�าหรับการปฏิบัติการสนับสนุนภายในประเทศ หน่วย ตอบสนองเหตุได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อตกลง (บันทึกความเข้าใจ และ บันทึกข้อตกลง) ซึ่งพร้อมน�ามาใช้ในการปฏิบัติการสนับสนุน ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนตามพันธสัญญาในการส่งก�าลังบ�ารุง อาจต้องพร้อมในบริเวณ สถานทีเ่ กิดเหตุ (โดยบันทึกข้อตกลง) เพือ่ ให้การสนับสนุนทางการส่งก�าลังบ�ารุง หรื อ ข้ อ ตกลงอื่ น ๆ ที่ พ ร้ อ มให้ ก ารสนั บ สนุ น ด้ า นขี ด ความสามารถ ที่จ�าเป็นอย่างอื่นในบริเวณที่เกิดเหตุ (เช่น การจัดส่งน�้าเพิ่มเติม) ๒-๑๔ ส� า หรั บ การสนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ก ารแก้ ไ ขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ในต่างประเทศ หน่วยตอบสนองเหตุอาจได้รับ ค�าแนะน�าให้ทราบถึงข้อตกลงที่น�าไปใช้กับชาติเจ้าบ้าน รวมทั้งสถานภาพ ของก�าลังทีเ่ ข้าปฏิบตั กิ าร และประเด็นอ�านาจอธิปไตยอืน่ ๆ ของชาติเจ้าบ้าน ๒-๑๕ หน่วยทหารตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสูงสุดของสหรัฐ อเมริกา มาตรา ๑๐ เมื่อได้รับกิจเพื่อให้การสนับสนุนตามการร้องขอ เพื่อตรวจพิสูจน์ทราบและยืนยันความถูกต้อง หน่วยที่มีทรัพยากรพร้อม ที่สามารถให้การสนับสนุนได้ มักถูกส่งเข้าไปยังพื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อด�าเนินการ โดยปกติมักก�าหนดให้ไปขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับ นายทหารประสานงานของกระทรวงกลาโหม หรือนายทหารประสานงาน ของกองก�าลังร่วม ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องด้าน คชรน. นายทหารประสานงานของกระทรวงกลาโหม เป็นตัวแทนประสานงาน ของกระทรวงกลาโหมที่อยู่ในที่เกิดเหตุ ซึ่งท�าหน้าที่ประสานงานการ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนของกระทรวงกลาโหม ตามความจ�าเป็น ส�าหรับหน่วยตอบสนองเหตุที่ให้การสนับสนุนกับผู้บัญชาการเหตุการณ์ หรือผู้แทนที่ก�าหนดไว้ 29

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๒-๑๖ ส�าหรับหน่วยทหารตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสูงสุดของ สหรัฐอเมริกา มาตรา ๓๒ เช่น หน่วยทหารกองทัพบกรักษาความมั่นคง ภายใน (Army National Guard) ยังคงอยูภ่ ายใต้การควบคุมของผูว้ า่ การรัฐ ผ่ า นทางผู ้ บั ญ ชาการกองก� า ลั ง รั ก ษาความมั่ น คงภายในประจ� า มลรั ฐ อย่างไรก็ตาม หน่วยทหารของกองก�าลังรักษาความมั่นคงภายในที่มีฐาน ที่ตั้งประจ�ามลรัฐ สามารถปฏิบัติการได้ภายในเขตของมลรัฐที่สังกัดหรือ มลรัฐอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ภายใต้อ�านาจหน้าที่หนึ่งในสี่ประการที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ l การตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน l ข้อตกลงในระหว่างมลรัฐแต่ละมลรัฐ l บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศกับประเทศคู่สัญญา l การระดมสรรพก� า ลั ง ภายใต้ ก ฎหมายสู ง สุ ด ของสหรั ฐ อเมริกา มาตรา ๑๐

การประเมินขีดความสามารถ (Capabilities Assessment) ๒-๑๗ มีการด�าเนินการประเมินขีดความสามารถในระหว่างการ วางแผนแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ท�าให้มองเห็นขีดความสามารถ ของกระทรวงกลาโหมได้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ในการปฏิ บั ติ ก ารแก้ ไ ข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ๒-๑๘ การประเมินขีดความสามารถเป็นเครือ่ งมือส�าหรับผูบ้ งั คับบัญชา เพื่อใช้วัดขีดความสามารถของหน่วยในการด�าเนินการ หรือสนับสนุน การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 30

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประเมินอย่างต่อเนื่องในด้านแผนของหน่วย รวมไปถึงการจัดหน่วย, ก�าลังพล ยุทโธปกรณ์, การส่งก�าลังบ�ารุง, การฝึก, ภาวะความเป็นผู้น�า และ สภาพความพร้อม (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขีดความสามารถ ของหน่วยตอบสนองเหตุ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ได้ จากค�าสั่งของประธานคณะเสนาธิการร่วม [CJCSI] ที่ 3125.01D) ๒-๑๙ ก่ อ นที่ จ ะเกิ ด เหตุ ก ารณ์ เ พื่ อ แก้ ไ ขสถานการณ์ อั น เนื่ อ ง มาจาก คชรน. หน่ ว ยทหารและส่ ว นการปฏิ บั ติ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายให้ ด�าเนินการหรือปฏิบัติการเสริม หรือบริหารจัดการในการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ต้องมีการประเมินลักษณะความพร้อมของหน่วย เพื่อตรวจสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการเต็มย่านขอบเขตงาน การแก้ไขสถานการณ์ ผู้บังคับบัญชาควรพิจารณาถึงขีดความสามารถ ทีจ่ า� เป็นต่อการปฏิบตั ภิ ารกิจและความสามารถของก�าลังพล เพือ่ ปฏิบตั งิ าน ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ๒-๒๐ ตั ว อย่ า งของกิ จ หรื อ งานด้ า นการแก้ ไ ขสถานการณ์ มี ดังต่อไปนี้ l ให้การปฏิบัติการสนับสนุนทางการส่งก�าลังบ�ารุงและ สิ่งปลูกสร้าง งานลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับการจ�าแนก, การแบ่งมอบ และ การสนับสนุนทรัพยากรที่จ�าเป็น เพื่อการป้องกันส�าหรับผู้ปฏิบัติการ ตอบสนองหรือก�าลังพล, ผู้ที่ได้รับผลกระทบ, โครงสร้างพื้นฐานที่ส�าคัญ และยุทโธปกรณ์

31

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

จัดการ, ด�าเนินกรรมวิธ,ี เก็บรักษา และขนส่งยุทโธปกรณ์, สิ่งอุปกรณ์, ตัวอย่าง, เศษซากของเหลือ และซากสัตว์ที่เปื้อนพิษ งานลักษณะนี้ ได้แก่ การเก็บรวบรวมตัวอย่าง, ยึดถือกรรมวิธีการคุ้มครอง วัตถุพยานอย่างเคร่งครัด และการจัดเก็บซากสัตว์ที่ตายลง ซึ่งต้องรวบรวม เพือ่ การขนส่งสิง่ อุปกรณ์, ตัวอย่าง, เศษซากของเหลือ, ยุทโธปกรณ์, ซากสัตว์ และกากของเสียที่เปื้อนพิษ l จั ด การ, ด� า เนิ น กรรมวิ ธี , เก็ บ รั ก ษา และขนส่ ง ศพ ที่เปื้อนพิษ งานลักษณะนี้เป็นการระบุถึงการท�าเครื่องหมาย, การจัดการ, การท�าลายล้างพิษ, การด�าเนินกรรมวิธี, การเก็บรักษาไว้ชั่วคราวส�าหรับ ศพที่เปื้อนพิษ และเตรียมการเพื่อส่งกลับ l ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ สั ม ผั ส และได้ รั บ อั น ตรายจากสารเคมี งานลักษณะนี้ ได้แก่ การประยุกต์ใช้ค�าแนะน�าในการปฏิบัติการภายใต้ สภาพแวดล้อมทีเ่ ปือ้ นพิษ; การด�าเนินการและการด�ารงไว้ซงึ่ ความต้องการเพือ่ ให้ เกิดความปลอดภัย; การประยุกต์ใช้และการสวมใส่ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน; การรักษาทางการแพทย์/การบริหารจัดการตามมาตรการป้องกันโรค; การติดตั้งเครื่องหมายสิ่งอุปกรณ์และบริเวณที่เปื้อนพิษ; การบังคับใช้ ข้อบังคับเกี่ยวกับลักษณะการแต่งกายป้องกัน; การติดตั้งและเปิดใช้งาน ระบบที่ป้องกันภัยส่วนรวม; การด�าเนินการตามระเบียบปฏิบัติในการใช้ อาคารเป็นทีห่ ลบภัย; การแจกจ่ายยุทธภัณฑ์ปอ้ งกัน คชรน. ให้แก่ประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ หรือชุดตอบสนองเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ทหารหรือกองก�าลัง ที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงกลาโหม; การด�าเนินการควบคุมการเคลื่อนย้าย l

32

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ป้องกันไม่ให้สัมผัสและได้รับอันตรายจากสารชีวะ งานลักษณะนี้ ได้แก่ การประยุกต์ใช้ค�าแนะน�าในการปฏิบัติการภายใต้ สภาพแวดล้อมทีเ่ ปือ้ นพิษหรือติดเชือ้ ; การด�าเนินการและการด�ารงไว้ซงึ่ ความ ต้องการเพือ่ ให้เกิดความปลอดภัย; การประยุกต์ใช้และการสวมใส่ยทุ ธภัณฑ์ ป้องกันตน; การรักษาทางการแพทย์/การบริหารจัดการตามมาตรการ ป้องกันโรค; การติดตั้งเครื่องหมายสิ่งอุปกรณ์เปื้อนพิษหรือติดเชื้อและ บริเวณที่มีอันตราย; การบังคับใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับลักษณะการแต่งกาย ป้องกัน; การติดตัง้ และเปิดใช้งานระบบทีป่ อ้ งกันภัยส่วนรวม; การด�าเนินการ ตามระเบียบปฏิบัติในการใช้อาคารเป็นที่หลบภัย; การแจกจ่ายยุทธภัณฑ์ ป้องกัน คชรน. ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือชุดตอบโต้เหตุการณ์ ที่ไม่ใช่ทหารหรือกองก�าลังที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงกลาโหม; การด�าเนินการ ควบคุมการเคลือ่ นย้าย ซึง่ หมายรวมถึงการด�าเนินการและบังคับใช้มาตรการ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเพื่อกักกันและรับประกันความปลอดภัย l ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ สั ม ผั ส และได้ รั บ อั น ตรายจากสารรั ง สี งานลักษณะนี้ ได้แก่ การประยุกต์ใช้ค�าแนะน�าในการปฏิบัติการภายใต้ สภาพแวดล้อมทีเ่ ปือ้ นพิษ; การด�าเนินการและการด�ารงไว้ซงึ่ ความต้องการ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความปลอดภั ย ; การประยุ ก ต์ ใ ช้ แ ละการสวมใส่ ยุ ท ธภั ณ ฑ์ ป้องกันตน; การรักษาทางการแพทย์/การบริหารจัดการตามมาตรการ ป้องกันโรค; การติดตัง้ เครือ่ งหมายสิง่ อุปกรณ์เปือ้ นพิษและบริเวณทีม่ อี นั ตราย; การบังคับใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับลักษณะการแต่งกายป้องกัน; การติดตั้งและ เปิดใช้งานระบบที่ป้องกันภัยส่วนรวม; การด�าเนินการตามระเบียบปฏิบัติ ในการใช้อาคารเป็นทีห่ ลบภัย; การแจกจ่ายยุทธภัณฑ์ปอ้ งกัน คชรน. ให้แก่ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือชุดตอบโต้เหตุการณ์ที่ไม่ใช่ทหารหรือ กองก�าลังทีไ่ ม่ได้สงั กัดกระทรวงกลาโหม; การด�าเนินการควบคุมการเคลือ่ นย้าย l

33

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

จัดให้มกี ารบริการทางการแพทย์รองรับผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก งานลักษณะนี้เป็นการรวบรวมและการด�าเนินกรรมวิธีเกี่ยวกับตัวอย่าง เพื่อทดสอบในห้องปฏิบัติการ, การรักษาทางการแพทย์หรือให้การรักษา พยาบาล, การคัดแยกและช่วยกูช้ พี ผูป้ ว่ ย, การติดตามการรักษาผูป้ ว่ ย และ การดูแลผูป้ ว่ ยในระหว่างการเคลือ่ นย้าย นอกจากนัน้ ยังเกีย่ วข้องกับการติดต่อ สื่อสารและการประสานกับหน่วยตอบสนองทางการแพทย์ระหว่างองค์กร ทีไ่ ม่สงั กัดกระทรวงกลาโหม, การท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ย, การให้การดูแลสุขภาพ และความเป็นอยูข่ องก�าลังพลทีท่ า� หน้าทีต่ อบสนองเหตุการณ์ทอี่ าจมองข้ามไป รวมทั้งการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารและน�้าดื่ม l การวางแผนปฏิบัติทางยุทธวิธีเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ในสภาวะวิกฤต งานลักษณะนีเ้ กีย่ วข้องกับการคาดการณ์ถงึ แหล่งทรัพยากร ในอนาคต และความต้องการส�าหรับการปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนงานที่ได้ คาดการณ์ไว้แล้ว ซึ่งต้องครอบคลุมไปถึงหน่วยสมทบรวมทั้งหน่วยที่สังกัด หรือไม่สังกัดกระทรวงกลาโหมด้วย นอกจากนั้นยังอาจเกี่ยวข้องกับการ ก�าหนดบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยต่างๆ; การก�าหนดพื้นที่ ส�าหรับการปฏิบัติการของหน่วยต่างๆ; การให้ค�าแนะน�าส�าหรับพื้นที่ ทีไ่ ม่มกี ารปฏิบตั กิ ารร่วมกัน รวมไปถึงการก�าหนดหน้าทีแ่ ละการปฏิบตั ขิ อง หน่วยรองเพื่อให้บรรลุภารกิจ นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการท�าแผนที่ อาจมีสภาพแวดล้อมในกรณีที่คาดไม่ถึงไว้ด้วย l การประเมินสภาพแวดล้อมการปฏิบต ั กิ าร งานลักษณะนี้ ได้กล่าวถึงการด�าเนินการประเมินและกล่าวถึงลักษณะของสภาพแวดล้อม ในการปฏิบัติการ รวมไปถึงการผนวกรวมเอาข่าวสารและข้อมูล เพื่อ น�ามาพิจารณาถึงสถานที่และอันตรายส�าคัญและอันตรายล�าดับรองลงมา ส�าหรับการปฏิบัติงานนี้ l

34

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การด�าเนินยุทธวิธสี า� หรับควบคุมบังคับบัญชาเพือ่ แก้ไข สถานการณ์ งานลักษณะนี้รวมเอาการจัดตั้งศูนย์ควบคุมบังคับบัญชาและ การปฏิบตั กิ ารตอบสนองในการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ซึง่ เอือ้ ต่อการปฏิบตั กิ ารและการปฏิบตั งิ านร่วมกันของก�าลังจากหลายภาคส่วน l ด�าเนินการประเมินเหตุการณ์/ความเสีย ่ งจากอันตราย งานลักษณะนี้ประกอบด้วยการจัดตั้งระบบให้การสนับสนุนการเตือนภัย และการรายงานร่วมกัน เพื่อรวบรวมและแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และทันเวลา ส�าหรับสาธารณชน, กองก�าลังร่วม, ชาติเจ้าบ้าน, องค์กรต่างๆ ของรัฐบาล, องค์กรเอกชนไม่แสวงผลก�าไร, องค์กรอาสาสมัครของเอกชน รวมไปถึงการแจกจ่ายข้อมูลข่าวกรองที่เหมาะสม โดยค�านึงถึงอันตราย ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือมีโอกาสเป็นอันตรายส�าคัญ หรือมีอันตราย ล�าดับรองลงมา l การก� า หนดและรั ก ษาเขตอั น ตรายและการควบคุ ม การผ่านเข้า-ออก งานลักษณะนีไ้ ด้กล่าวถึงมาตรการทีน่ า� มาใช้ในการจ�ากัด และควบคุมการเปือ้ นพิษ รวมไปถึงการติดตัง้ ป้ายเตือนภัยและการพิสจู น์ทราบ พื้นที่อันตราย รักษาเส้นทางสู่สถานที่เกิดเหตุให้เข้า-ออกได้โดยสะดวก และควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่อันตราย l ด�าเนินการค้นหา, กูช ้ พี และเคลือ่ นย้ายผูป้ ระสบภัยและ ผูบ้ าดเจ็บ งานลักษณะนีไ้ ด้แก่การจัดตัง้ ศูนย์คน้ หาและด�าเนินกรรมวิธกี ชู้ พี , การประยุกต์ใช้มาตรการกักกันและการคัดแยกทีเ่ หมาะสม, การให้การสนับสนุน ผูท้ มี่ คี วามต้องการพิเศษ (ไร้ความสามารถทางกายและไร้ความสามารถทางใจ) ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการการดูแลทางการแพทย์ หรือเป็นผู้ที่ต้องการการรักษา มากกว่าการปฐมพยาบาล, การจัดการและการด�าเนินมาตรการการรักษา l

35

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

โดยเร่งด่วน, การส่งผู้ป่วยไปยังจุดทางออกจากเขตอันตราย (hot zone) และเข้าสู่สถานีท�าลายล้างพิษ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งผู้ประสบภัย ทีไ่ ม่เปือ้ นพิษไปยังสถานพยาบาล และ/หรือสถานทีร่ กั ษาผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก l จัดตัง ้ ทีพ่ กั ชัว่ คราวและการด�าเนินกรรมวิธแี ละอพยพ ประชาชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ งานลักษณะนีไ้ ด้กล่าวถึง การจัดตัง้ และปฏิบตั ิ การของศูนย์ด�าเนินการรับและด�าเนินกรรมวิธีส�าหรับประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบ รวมไปถึงการคัดกรองส�าหรับผู้ที่มีความจ�าเป็นทางการแพทย์, การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเอื้ออ�านวยต่อการเคลื่อนย้าย l เริ่ ม ปฏิ บั ติ ก ารท� า ลายล้ า งพิ ษ งานลั ก ษณะนี้ ได้ แ ก่ การปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษส�าหรับเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือนและก�าลังทหาร, ยุทโธปกรณ์, และทรัพยากรอืน่ ๆ ซึง่ รวมไปถึงก�าลังพลทีเ่ ดินได้และเดินไม่ได้ และยังรวมไปถึงผู้ป่วยด้วย การท�าลายล้างพิษยังอาจหมายถึงการปฏิบัติ ต่างๆ (การขจัด, การปิดผนึก, การตากลมฟ้าอากาศ, การท�าให้เป็นกลาง และวิธีการอื่นใดที่จะบรรเทาหรือก�าจัดการเปื้อนพิษ) l คัดแยก, กักกัน และจัดการประชาชนหรือสัตว์ทม ี่ โี อกาส เปือ้ นพิษหรือติดเชือ้ งานลักษณะนีไ้ ด้แก่ การคัดกรองผูค้ น (แต่ละคน) และสัตว์ (แต่ละตัว) เพือ่ ตรวจหาลักษณะการสัมผัสและลักษณะอาการ ออกข้อก�าหนด เพื่อบังคับให้มีการคัดแยกและกักกัน รวมไปถึงการบังคับใช้การควบคุม การเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ที่มีการคัดแยกและกักกัน l การด�าเนินการเฝ้าระวังทางการแพทย์ งานลักษณะนี้ หมายถึง การคัดกรองผู้คนแต่ละคน เพื่อหาลักษณะอาการเจ็บป่วยและ ด�าเนินการประเมินทางการแพทย์ ในห้วงก่อนและหลังจากเกิดเหตุการณ์ นอกจากนัน้ ยังหมายถึงการก�าหนด, การด�ารงรักษา และจัดท�าส�ามะโนประชากร 36

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางทางการแพทย์ เพื่อช่วยผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และการตกลงใจ, การบูรณาการข้อมูลการเฝ้าระวังและมัน่ ใจว่าข้อมูลข่าวสาร ได้รับการบรรจุไว้ในฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถน�ามาใช้ร่วมกันได้ระหว่าง หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ของชาติเจ้าบ้านด้วย

การประเมินความล่อแหลม (Vulnerability Assessment) ๒-๒๑ การประเมิ น ความล่ อ แหลมเป็ น งานที่ ส� า คั ญ ส� า หรั บ การวางแผนแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ซึ่งช่วยท�าให้ ผบ. มองเห็นภาพรวมเกีย่ วกับความเข้มแข็งและจุดอ่อนของหน่วย เปรียบเทียบ กับสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการและภัยคุกคามด้าน คชรน. ๒-๒๒ คูม่ อื ATP 3-11.36/MCRP 3-37B/NTTP 3-11.34/AFTTP 3-20.70 สามารถน�ามาใช้ประเมินขีดความสามารถและสภาพความพร้อม ของหน่วย ซึ่งกระบวนการตรวจสอบ มีดังนี้ l แผนการแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้ายของหน่วย และ มาตรการตอบสนองเหตุการณ์การก่อการร้าย l ขี ด ความสามารถของหน่ ว ยหรื อ การปฏิ บั ติ ข องหน่ ว ย ทหารเพื่อสนับสนุนสมรรถนะหลัก (การปฏิบัติการหรือการตอบสนอง เหตุฉกุ เฉิน) นอกจากนี้ ยังหมายถึงขีดความสามารถในการยิง และขีดความสามารถ ทางการแพทย์ในการจัดการผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก, การท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอน ทางเทคนิคและการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ยังรวมไปถึงขีดความสามารถ ในด้านการเก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิด; การแจ้งเตือนผู้คนจ�านวนมาก; การด�าเนินการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน และการปฏิบัติการตอบสนอง เหตุการณ์ ซึ่งรวมไปถึงการประเมินผลการฝึกและทรัพยากรที่มีอยู่ 37

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l

l

การสนับสนุนให้คา� แนะน�าและความช่วยเหลือของหน่วย มีขั้นตอนการส่งก�าลังเพื่อเข้าสนับสนุนการปฏิบัติการ

ที่เหมาะสม ๒-๒๓ การประเมินความล่อแหลม หมายถึง รูปแบบการประเมิน ความล่อแหลมลักษณะต่างๆ ดังทีไ่ ด้อธิบายด้วยรูปภาพ ซึง่ แสดงถึงขีดความสามารถ ของหน่ ว ยในการสนั บ สนุ น หรื อ ด� า เนิ น การปฏิ บั ติ ก ารตามสภาพ แวดล้อมการปฏิบตั ทิ กี่ า� หนดให้และขีดความสามารถของหน่วย (ดูรปู ที่ ๒-๒) การประเมินอันตราย (ขั้นการวางแผน)

การลด ความล่อแหลม (ขั้นเตรียมการ)

สภาพแวดล้อม การปฏิบัติการ

การวิเคราะห์ ความล่อแหลม (ขั้นการวางแผน)

ค�าแนะน�า ของผู้บังคับบัญชา

สภาพภัยคุกคาม ทั้งหมด

อธิบายศัพท์ VA Vulnerability Asessment (การประเมินความล่อแหลม)

รูปที่ ๒-๒ วงรอบการประเมินความล่อแหลม

๒-๒๔ การประเมินความล่อแหลมเป็นการระบุจุดอ่อนในแผน ของหน่วย การประเมินความล่อแหลมเป็นการช่วยพัฒนา (หรือเป็น ข้ อ เสนอแนะ) มาตรการลดความล่ อ แหลมเพื่ อ ตอบสนองกั บ จุ ด อ่ อ น ที่ตรวจพบส�าหรับมาตรการลดความล่อแหลมจะได้กล่าวถึงในบทที่ ๓ 38

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๒-๒๕ การพัฒนาแผนการประเมินความล่อแหลม จ�าเป็นต้อง เปรียบเทียบภัยคุกคามกับความล่อแหลมของหน่วย ส�าหรับตรวจสอบ ความพยายามที่จ�าเป็นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในอันที่จะบรรลุความ ต้องการด้านเหตุการณ์ การประเมินความล่อแหลมยังรวมไปถึงค�าแนะน�า ของผูบ้ งั คับบัญชาตลอดจนองค์ประกอบของกระบวนการจัดการความเสีย่ ง ซึ่งน�าไปสู่การจัดล�าดับความเร่งด่วนในการใช้มาตรการลดความล่อแหลม ในระหว่างขั้นการวางแผน การประเมินความล่อแหลมเริ่มด้วยการระบุ อันตรายและการวิเคราะห์อันตรายแต่ละประเภท ในขั้นการวางแผน การประเมินความล่อแหลมยังคงด�าเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการผนวก รวมเอาการประเมินภัยคุกคามจ�าเพาะร่วมกับการวิเคราะห์ลอ่ แหลมจ�าเพาะ และการระบุถึงมาตรการลดความล่อแหลมที่มีโอกาสน�ามาใช้ ผลลัพธ์ ที่ต้องการในขั้นการวางแผน คือการประมาณการและข้อเสนอแนะแก่ ผู้บังคับบัญชาในการจัดล�าดับความเร่งด่วนเพื่อลดความล่อแหลม การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ๒-๒๖ ผู้บังคับบัญชาด�าเนินการประเมินความเสี่ยงในระหว่าง การวางแผนการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. เพื่อแจกแจง ระดับความเสี่ยงที่อาจมีอยู่ในระหว่างด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. ๒-๒๗ หน่วยทีท่ า� หน้าทีต่ อบสนองเหตุการณ์ตอ้ งพิสจู น์ทราบ และ ประเมินความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบ และต้อง ตกลงใจให้มีความสมดุลระหว่างความสูญเสียจากความเสี่ยงและประโยชน์ ที่เกิดจากการปฏิบัติภารกิจในบางเหตุการณ์ (เช่น เหตุการณ์ที่มีอันตราย จากรังสีสูงๆ) อาจยอมรับไม่ได้กับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 39

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๒-๒๘ ผู้บังคับบัญชาต้องตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมการปฏิบัติ การของตน ความเสีย่ งทีย่ อมรับได้ในยามสงครามอาจยอมรับไม่ได้ในระหว่าง การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว อาจพบเห็นได้ จากความแตกต่างระหว่างเกณฑ์การรับรังสีของก�าลังทหารที่ปฏิบัติการ ในยามสงครามกับผู้ตอบสนองเหตุรายแรกที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ซึง่ ปฏิบตั กิ ารในสภาพแวดล้อมภายในประเทศโดยทัว่ ไป ระดับความเสีย่ งสูง มักยอมรับได้ในสถานการณ์ที่เป็นสงครามมากกว่าการยอมรับภายใต้ มาตรฐานของคณะกรรมการด้ า นอาชี ว อนามั ย ส� า หรั บ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง าน [Occupational Safety and Health Administration (OSHA)] ส�าหรับเกณฑ์การรับรังสีในสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการภายในประเทศ คาดกันว่าก�าลังทหารของกระทรวงกลาโหมที่ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ ภายในประเทศ ก็ยึดถือมาตรฐานการปฏิบัติเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ฝ่าย พลเรือนที่ปฏิบัติงานร่วมกัน

การประเมิ น สถานที่ เ กิ ด เหตุ อ ย่ า งละเอี ย ด (Deliberate Site Assessment) ๒-๒๙ การประเมินสถานทีเ่ กิดเหตุอย่างละเอียดช่วยให้ผบู้ งั คับบัญชา จดจ� า และระบุ ถึ ง ลั ก ษณะอั น ตรายจาก คชรน. ในพื้ น ที่ ป ฏิ บั ติ ก าร ของตนได้ดีกว่า ท�าให้หน่วยต้องเตรียมการปฏิบัติเพื่อแก้ไขสถานการณ์ อันเนือ่ งมาจาก คชรน. เพือ่ ตอบสนองกับอันตรายทีอ่ าจมีอยูใ่ นสถานทีเ่ กิดเหตุ ๒-๓๐ ก่อนเกิดเหตุการณ์ หน่วยตอบสนองเหตุควรด�าเนินการ ประเมิ น สถานที่ เ กิ ด เหตุ ภ ายในพื้ น ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารของตนอย่ า งละเอี ย ด ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจเป็นอันตรายได้ในอนาคต ตัวอย่างต่อไปนี้จะท�าให้เกิด ความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น 40

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ก�าลังทหารสหรัฐฯ ที่สนับสนุนการใช้ก�าลังทหารเข้า ปฏิบัติการในเมืองทุซลา (Tuzla) ประเทศบอสเนีย ในการสนับสนุน ความพยายามของชาติเจ้าบ้าน เพื่อประเมินสถานที่เกิดเหตุที่มีอันตราย จาก คชรน. ณ โรงงานอุตสาหกรรมเคมีสุดาโซะ (Sudaso) โดยที่โรงงาน ตัง้ อยูใ่ นพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของทหารสหรัฐฯ และมีรายงานว่ามีการครอบครอง ขบวนตู้สินค้าขนส่งทางรถไฟ ซึ่งบรรจุสารคลอรีนและสารเคมีอันตรายไว้ เป็นจ�านวนมาก การวิเคราะห์อันตรายจากการประเมินสถานที่เกิดเหตุ อย่างละเอียดชี้ให้เห็นว่า สารคลอรีนหรือสารเคมีอันตรายอื่นๆ ที่ถูกปล่อย ออกสู่สภาพแวดล้อม (อากาศ และแหล่งน�้าอุปโภคและบริโภค) อาจสร้าง ผลกระทบอย่างมากต่อประชาชนในท้องถิ่น การใช้ข้อมูลที่ได้จากการ ลาดตระเวนของก�าลังพลในระหว่างการประเมินสถานทีเ่ กิดเหตุ หน่วยย่อม สามารถใช้วางแผนตอบสนองกับแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ดีกว่า l หน่วยทหารสหรัฐฯ ที่ให้การสนับสนุนการฝึกระดับชาติ ของกระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๔ ได้ด�าเนินการ ประเมิ น สถานที่ ตั้ ง ของแหล่ ง วั ต ถุ อุ ต สาหกรรมอั น ตราย การใช้ ข ้ อ มู ล ทีร่ วบรวมมาได้จากการประเมินสถานทีเ่ กิดเหตุ หน่วยย่อมสามารถวางแผน ตอบสนองกับแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ดีกว่า ๒-๓๑ หน่วยด�าเนินการประเมินสถานทีเ่ กิดเหตุถอื ว่าเป็นส่วนหนึง่ ของการเตรียมสภาพแวดล้อมการปฏิบตั กิ ารด้านการข่าว และการจัดเตรียม แฟ้มเอกสารทีอ่ าจเกีย่ วข้องกับภัยคุกคามส�าหรับการประเมินสถานทีเ่ กิดเหตุ แต่ละแห่ง หน่วยได้ใช้แฟ้มเก็บเอกสารเหล่านีเ้ พือ่ ออกแบบถึงวิธกี ารทีห่ น่วย ท�าหน้าที่ตอบสนอง หากมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่เกิดเหตุ เหล่านั้น และเป็นการเตรียมแผนขั้นต้นส�าหรับแต่ละเหตุการณ์ ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องจากการรวบรวมของหน่วยส�าหรับภัยคุกคามแต่ละประเภท l

41

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ได้ รั บ การเก็ บ รั ก ษาในแฟ้ ม เอกสารเพื่ อ น� า มาใช้ ต อบสนองเหตุ ก ารณ์ ในอนาคต ข้อมูลดังกล่าวอาจได้แก่ ผังในแต่ละชั้นของอาคาร, แผนที่ของ สถานทีเ่ กิดเหตุ, การก�าหนดเส้นทางเข้าและออก, พืน้ ทีท่ อี่ าจใช้เป็นทีพ่ กั รอ, การวัดทิศทางลมในขณะนั้นเพื่อสร้างรูปพยากรณ์อันตรายใต้ลม ในขณะนี้ ยังไม่มรี ปู แบบของแฟ้มเก็บเอกสารทีเ่ ป็นมาตรฐาน จึงขอเสนอแนะตัวอย่าง เนื้อหาที่ควรบรรจุไว้ในแฟ้มเก็บเอกสาร ดังแสดงไว้ในตารางที่ ๒-๑ ตารางที่ ๒-๑ ตัวอย่างเนื้อหาที่อาจเป็นภัยคุกคามในแฟ้มเก็บเอกสาร หมายเลขรายการตรวจพิสูจน์ทราบ l หัวข้อรายการตรวจพิสูจน์ทราบ l ต�าแหน่งที่ตั้งสถานที่เกิดเหตุ l ข้อมูลรายละเอียดที่ทราบแล้ว l ข้อมูลรายละเอียดที่ต้องสงสัย l ภัยคุกคามในภาพรวม l สถานที่เกิดเหตุในภาพรวม l ประวัติของสถานที่เกิดเหตุ l สาร คชรน. ที่ยังคงมีอยู่ l ข้อมูลของสารอันตราย l การแสดงด้วยรูปภาพ  ภาพแผนผัง  แผนที่  ภาพถ่าย  ผังของอาคาร l

42

l l l

l l l l l l l l l l

รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุ ลักษณะส�าคัญของสถานที่เกิดเหตุ อันตรายต่อสภาพแวดล้อม จากการรัว่ ไหลแพร่กระจายโดยอุบตั เิ หตุ สภาพพื้นที่ ยุทธศาสตร์การจัดเก็บรวบรวม สถานทีเ่ กิดเหตุอนื่ ๆ เพือ่ การขยายผล ข้อแนะน�าของผู้บังคับบัญชา การขนส่ง เครือข่ายถนน ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ โครงการและสารอันตราย ข้อมูลพื้นฐาน การวิเคราะห์ด้วยภาพจ�าลอง เหตุการณ์

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๒-๓๒ มีความส�าคัญมาก ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการหาข่าว เกีย่ วกับสถานทีเ่ กิดเหตุให้ได้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�าได้ มีความเป็นไปได้ทขี่ อ้ มูล รายละเอียดที่มากยิ่งขึ้นอาจมีพร้อมอยู่แล้วทั้งหมดในสถานที่เกิดเหตุ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุมีความส�าคัญยิ่งต่อการวางแผน ในรายละเอียด ภาพถ่าย แผนทีแ่ ละผังโครงร่างของสถานทีเ่ กิดเหตุมสี ว่ นช่วย ในการวางแผน การประเมินสถานที่เกิดเหตุเป็นการระบุตัวอย่างของข้อมูล (ประเภทของสารหรือวัตถุอนั ตรายทีอ่ าจมีอยู,่ การจัดรูปแบบของสิง่ ปลูกสร้าง และจ�านวนผู้ที่ปฏิบัติงานเป็นประจ�าในสถานที่นั้น) ๒-๓๓ หน่วยตอบสนองเหตุดา้ น คชรน. ต้องระบุถงึ งานทีม่ ลี กั ษณะ จ�าเพาะและมีนยั ส�าคัญตามภารกิจได้ งานทีม่ ลี กั ษณะจ�าเพาะมักปรากฏอยู่ ค�าสัง่ ปฏิบตั ภิ ารกิจ ซึง่ มีหวั ข้อจ�าเพาะทีต่ อ้ งด�าเนินการให้ผลเป็นส�าเร็จโดย ภารกิจ ส�าหรับงานที่มีนัยส�าคัญมักเป็นงานที่จ�าเป็นที่ชุดปฏิบัติการต้อง ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลส�าเร็จของงานที่มีลักษณะจ�าเพาะ (ดูตารางที่ ๒-๒) ตารางที่ ๒-๒ ตัวอย่างงานที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่เกิดเหตุ l l l l

l l l l l

สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค การตรวจสอบที่เกิดเหตุด้วยสายตา การประเมินกลุ่มไอที่ลอยไปตามลม การค้นหาอันตรายด้านเคมี ชีวะ และรังสีในพื้นที่ การเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างน�้า การเก็บตัวอย่างอากาศ การเก็บตัวอย่างบริเวณพื้นผิว การประสานกับเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือน หรือเจ้าหน้าที่ของชาติเจ้าบ้าน

l l l

l

l l l l l

สัมภาษณ์พยานในที่เกิดเหตุ การประเมินผลด้านอุตุนิยมวิทยา แผนผัง, แผนที่, ภาพโครงร่าง สถานที่เกิดเหตุ ตรวจสอบต�าแหน่งด้วยระบบระบุ ต�าแหน่งด้วยดาวเทียม การส�ารวจหา คชรน. ในพื้นที่ การเก็บตัวอย่างที่เป็นของแข็ง การเก็บตัวอย่างพืชพรรณ การตรวจหาสารชีวะ การบรรจุหีบห่อสารตัวอย่าง

43

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ๒-๒ ตัวอย่างงานที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่เกิดเหตุ (ต่อ) l l l

การตรวจหาสารเคมี การอนุรักษ์ตัวอย่าง มาตรการคุ้มครองวัตถุตัวอย่าง

l

l l

การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน, การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอน ทางเทคนิค และการท�าลายล้างพิษ ผู้ป่วยจ�านวนมาก การรักษาทางการแพทย์ การส่งกลับผู้ป่วย

๒-๓๔ การใช้ขอ้ มูลทีเ่ ก็บรวบรวมมาได้ หน่วยตอบสนองเหตุการณ์ ตรวจสอบดูวา่ ภารกิจใดมีความเร่งด่วนสูงสุดและต้องปฏิบตั ใิ ห้สา� เร็จภายใต้ ขีดความสามารถของหน่วยตน วัตถุประสงค์ของภารกิจที่มีความเร่งด่วน ล�าดับแรกและภารกิจทีม่ คี วามเร่งด่วนล�าดับรองลงมาควรมีเค้าโครงทีช่ ดั เจน ๒-๓๕ การใช้ชุดรายการข้อมูลที่มีความส�าคัญ หน่วยเป็นผู้ส่ง ค�าร้องขอข้อมูลซึ่งตัวอย่างรายการข้อมูลที่มีความส�าคัญได้แจกแจงไว้ ในตารางที่ ๒-๓ ตารางที่ ๒-๓ ตัวอย่างรายการข้อมูลที่มีความส�าคัญ l l

l l l l

44

การวางก�าลังทหารฝ่ายเราและการปฏิบัติ การปฏิบัติในสงครามเคมีและสงครามชีวะ  ประเภทของสารที่อาจน�ามาใช้  ปริมาณของสารที่อาจน�ามาใช้ โรงงานผลิตสารเคมี/แหล่งจัดเก็บที่ทราบ มลภาวะต่อสภาพแวดล้อมที่ทราบ ประวัติของแหล่งผลิต ข้อมูลทางด้านอุตุนิยมวิทยา

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ๒-๓ ตัวอย่างรายการข้อมูลที่มีความส�าคัญ (ต่อ) l l l l l

เขตที่อาจใช้ส�าหรับการส่งทางอากาศลงสู่พื้น เครือข่ายถนนโดยรอบแหล่งผลิต สนามบินในบริเวณใกล้เคียง ความต้องการเขตอ�านาจตามกฎหมายของฝ่ายพลเรือน ความต้องการการสนับสนุนทางการส่งก�าลังบ�ารุง

การประเมินการสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support Assessment) ๒-๓๖ การประเมินการสนับสนุนบริการสุขภาพ ประกอบด้วย งานต่างๆ ดังนี้ l ตรวจสอบขีดจ�ากัดการได้รับรังสี l ตรวจสอบภัยคุกคามด้านการแพทย์ l ระบุถึงมาตรการต่อต้านทางการแพทย์ l ตรวจสอบความเสี่ ย ง/ภั ย คุ ก คามต่ อ สุ ข ภาพในพื้ น ที่ ที่เกิดเหตุ l ระบุ ถึ ง จ� า นวนประชาชนที่ ต กอยู ่ ใ นความเสี่ ย งภายใน พื้นที่ที่เกิดเหตุ l ตรวจสอบความต้องการกระทรวงกลาโหมเพิ่มเติม l ตรวจสอบประเภทและจ� า นวนหน่ ว ยหรื อ ก� า ลั ง พล สายแพทย์ที่จ�าเป็น เพื่อสนับสนุนในบริเวณที่เกิดเหตุ

45



การเตรียมการ

บทที่ ๓ เป็นการให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับการปฏิบตั เิ พือ่ เตรียมความพร้อม ของหน่วย ส�าหรับการปฏิบตั กิ ารเพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. การปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวถึง คือ มาตรการลดความล่อแหลม, การประสานงานและการรายงาน, การเตรียมการส�าหรับการปฏิบตั ดิ า้ นการ สนับสนุนบริการสุขภาพ, การฝึกปฏิบตั ,ิ การประเมินผลซ�า้ ในด้านขีดความสามารถ และการตรวจสอบถึงความล่อแหลมที่ยังคงมีอยู่ และเหตุการณ์พิเศษ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ

กล่าวเบื้องต้น (Background) ๓-๑ ในขั้นการเตรียมการ หน่วยตอบสนองเหตุต้องด�าเนินการ ตามมาตรการลดความล่อแหลมอย่างเป็นระบบ เมื่อปฏิบัติตามมาตรการ ดังกล่าวส�าเร็จย่อมท�าให้หน่วยมีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อภารกิจ ทีไ่ ด้รบั มอบ เนือ้ หาในบทนีไ้ ด้มงุ่ เน้นไปทีว่ ธิ กี ารตรวจสอบความต้องการ และ

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การพัฒนาขีดความสามารถ เพือ่ น�าไปใช้ในการวางแผนส�าหรับการด�าเนินการ ตามมาตรการลดความล่อแหลม ทีม่ คี วามส�าคัญเร่งด่วนสูงสุด (ดูในรูปที่ ๓-๑ ส�าหรับขั้นการเตรียมการซึ่งมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติอื่นๆ ในการ ปฏิบัติการเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.) ๓-๒ หน่ ว ยตอบสนองเหตุ มี ก ารปฏิ บั ติ ก ารร่ ว มกั น หลายส่ ว น เพื่อด�ารงไว้ ซึ่งความพร้อมของหน่วย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของวงรอบตาม ขั้นตอนการปฏิบัติที่ด�าเนินไปอย่างต่อเนื่อง มาตรการลดความล่อแหลม ของหน่วยที่ด�าเนินการไปพร้อมกันนั้น ได้แก่ การประเมินผล, การวางแผน, การฝึกศึกษา และการฝึกปฏิบัติ (ในผนวก ข จะได้กล่าวถึงรายละเอียด เกีย่ วกับมาตรการลดความล่อแหลม ซึง่ สามารถช่วยหน่วยในการเตรียมการ เพื่อการปฏิบัติการ) ๓-๓ หน่วยตอบสนองเหตุควรด�าเนินมาตรการต่างๆ โดยรวม เข้ากับการปฏิบตั ใิ นขัน้ เตรียมการร่วมกับหน่วยทีใ่ ห้การสนับสนุนและหน่วย รับการสนับสนุน ซึง่ ขอบเขตของการปฏิบตั ดิ งั กล่าว ได้แก่ การประสานงาน, การส่งก�าลังบ�ารุง และการสนับสนุนการบริการสุขภาพ ๓-๔ การฝึกปฏิบัติเป็นเสมือนมาตรวัดของผู้บังคับบัญชา เพื่อใช้ ประเมินผลซ�้าถึงขีดความสามารถของหน่วยและค้นหาความล่อแหลม ที่ยังมีอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจ การฝึกปฏิบัติยังเป็น โอกาสในการทดสอบแผน และท�าให้แผนมีความละเอียดมากยิ่งขึ้นตาม ความจ�าเป็น เนือ้ หาในบทนี้ ได้กล่าวถึงขัน้ ตอนการเตรียมการและการด�ารง ขีดความสามารถของหน่วยในการแก้ไขสถานการณ์ได้โดยต่อเนื่อง 47

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การด�ารงความต่อเนื่อง (Sustainment) ๓-๕ การวางแผนด้านการส่งก�าลังบ�ารุงอย่างเพียงพอมีสว่ นส�าคัญ ต่อการปฏิบัติการ และจ�าเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อเป็นการส่งก�าลัง สิง่ อุปกรณ์สนิ้ เปลืองเพิม่ เติมและก�าลังพลเพิม่ มากขึน้ ซึง่ ท�าให้การปฏิบตั กิ าร ด�าเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

การส่งก�าลังบ�ารุง (Logistics) ๓-๖ หน่วยตอบสนองเหตุทมี่ ขี ดี ความสามารถในด้านการส่งก�าลังบ�ารุง ในอัตราของหน่วย เพื่อสนับสนุนพันธกิจพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ l ด�ารงขีดความสามารถของหน่วยเพื่อการปฏิบัติการ l รักษารายงานสถานภาพด้านการส่งก�าลังบ�ารุง l ประสานกับหน่วยให้การสนับสนุนทางการส่งก�าลังบ�ารุง l จัดหาและเก็บรักษายุทโธปกรณ์ของหน่วยให้เป็นไปตาม ค�าแนะน�าของผู้บังคับบัญชา ๓-๗ หน่ ว ยตอบสนองเหตุ มั ก ถู ก ส่ ง เข้ า วางก� า ลั ง ด้ ว ยจ� า นวน ยุทโธปกรณ์ที่เพียงพอ และปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา ทีจ่ า� กัด เพือ่ ให้การปฏิบตั ไิ ด้อย่างต่อเนือ่ งยาวนาน หน่วยทีถ่ กู ส่งเข้าวางก�าลัง ต้องได้รับการส่งก�าลังบ�ารุงเพิ่มเติม และมีจ�านวนก�าลังพลเพิ่มมากขึ้น

48

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ป้องกัน วางแผน

เตรียมการ

ขั้นตอน การปฏิบัติในการ แก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

เหตุการณ์

จาก คชรน.

ตอบสนอง

ฟื้นฟู ปฏิบัติ

รูปที่ ๓-๑ ขั้นการปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (เตรียมการ)

๓-๘ ลั ก ษณะการส่ ง ก� า ลั ง บ� า รุ ง ส� า หรั บ หน่ ว ยตอบสนองเหตุ หมายถึง ยุทโธปกรณ์มาตรฐานทางทหาร (ชุดเครื่องแต่งกายตามลักษณะ ป้องกันตามภารกิจ) หรือยุทโธปกรณ์ทไี่ ด้รบั อนุมตั ใิ ห้ใช้ในกระทรวงกลาโหม, ยุ ท โธปกรณ์ ที่ มี จ� า หน่ า ยทางการค้ า และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี จ� า หน่ า ยทั่ ว ไป (ชุดแต่งกายป้องกันของฝ่ายพลเรือน) ในขัน้ การเตรียมการ หน่วยตอบสนองเหตุ ต้ อ งระบุ ถึ ง ความต้ อ งการในการส่ ง ก� า ลั ง บ� า รุ ง เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ก าร ด�าเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง 49

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

หมายเหตุ : ตลอดทั้งคู่มือฉบับนี้ เมื่อกล่าวถึงเครื่องแต่งกายป้องกันตามลักษณะ การแต่งกายป้องกันตามภารกิจ (ลภ.) จะหมายถึง “ยุทธภัณฑ์ป้องกันประจ�ากาย” (individual protective equipment) ส่วนชุดแต่งกายป้องกันทางพลเรือน หรือ ชุดทีม่ จี า� หน่ายทางการค้าทีม่ จี า� หน่ายทัว่ ไป (ชุดยุทโธปกรณ์ทไ่ี ม่ใช่มาตรฐานทางทหาร) จะหมายถึง “ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน”(personal protective equipment)

๓-๙ ยุทโธปกรณ์มาตรฐานทางทหารส�าหรับการตรวจหา, การ ป้องกัน และการท�าลายล้างพิษ ทีไ่ ด้รบั การแจกจ่าย ท�าให้หน่วยมีขดี ความสามารถ ในการตรวจหาและป้องกันสาร คชรน. ได้หลายประเภท อย่างไรก็ตาม รายการยุทโธปกรณ์มาตรฐานที่ได้รับการแจกจ่าย เช่น หน้ากากป้องกัน รุ ่ น M40 ไม่ เ ป็ น ไปตามมาตรฐานทางเทคนิ ค ของคณะกรรมการ ด้านอาชีวอนามัยส�าหรับผู้ปฏิบัติงาน (OSHA) และมาตรฐานของสถาบัน อาชีวอนามัยส�าหรับผู้ปฏิบัติงานแห่งชาติ (National Institute for Occupational Safety and Health) ต้องไม่นา� ไปใช้ในการปฏิบตั กิ ารนอกเหนือ จากการปฏิบัติการทางทหาร เช่น การแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ ๓-๑๐ สิ่งส�าคัญที่พบว่าทุกๆ หน่วย หรือฐานที่ตั้งหน่วยทหาร มักมีขีดความสามารถครบทุกด้าน ขีดความสามารถมาตรฐานสามารถ อ้างอิงได้ ดังนี้ l การตรวจหาและการป้องกัน คชรน. อาศัยคูม ่ อื “ยุทธวิธี เทคนิค และกระบวนการในการป้องกันนิวเคลียร์ ชีวะ และเคมี” [FM 3-11.4/ MCWP 3-37.2/NTTP 3-11.27/AFTTP(I) 3-2.46.] l การท� า ลายล้ า งพิ ษ คชรน. อาศั ย คู ่ มื อ “รส. ว่ า ด้ ว ย การท�าลายล้างพิษ คชรน.” [FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/NTTP 3-11.26/ AFTTP(I) 3-2.60.] 50

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเฝ้าตรวจและการเฝ้าระวัง คชรน. อาศัยคูม่ อื “ยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติ การลาดตระเวนและเฝ้าตรวจเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์” [ATP 3-11.37/MCWP 3-37.4/NTTP 3-11.29/AFTTP 3-2.44.] ๓-๑๑ ชุดยุทโธปกรณ์นอกเหนือจากยุทโธปกรณ์มาตรฐานของ หน่วยจะช่วยให้หน่วยมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น เช่น ความสามารถในการ ตรวจหาสารได้หลายชนิด รวมทั้งสารเคมีที่ท�าอันตรายชีวิตและสุขภาพ ได้อย่างเฉียบพลัน ก�าลังทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองเหตุในการแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. อาจยังคงมีความต้องการชุดยุทธภัณฑ์ ป้องกันตน (PPE) เพือ่ ช่วยให้การป้องกันได้ดกี ว่าเครือ่ งแต่งกายป้องกันทีใ่ ช้ ป้องกันในสงครามเคมีและสงครามชีวะ การแก้ไขสถานการณ์ภายใต้ สภาพแวดล้อมการปฏิบตั กิ ารภายในประเทศ, ก�าลังทหารของกระทรวงกลาโหม ต้องท�างานสนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ซึ่งมีการปฏิบัติการที่แตกต่าง ไปจากแนวการปฏิบัติการแบบดั้งเดิม จึงต้องท�าการฝึก, มียุทโธปกรณ์และ มาตรฐานความช�านาญ ส�าหรับการปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อก�าหนดของ กฎหมายและนโยบาย มาตรฐานดังกล่าวอาจพบได้ในระเบียบข้อบังคับ แห่งรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา หมวด ๒๙ (29 CFR 1910.120) และ ค�าแนะน�าทีม่ ผี ลบังคับใช้สา� หรับคณะกรรมการขององค์การต่างๆ รวมไปถึง นโยบายและเอกสารของคณะกรรมการต่างๆ ทีย่ อมรับกันในระดับประเทศ นอกจากนัน้ อุปกรณ์หรือเครือ่ งมือทีส่ ามารถใช้ตรวจหาสารได้อย่างกว้างขวาง ก็มีความจ�าเป็นส�าหรับการตรวจพิสูจน์ทราบสารอุตสาหกรรมอันตราย รวมทั้งสารอินทรีย์ นอกเหนือจากสารในสงครามเคมีและสงครามชีวะ l

51

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๓-๑๒ ข้อพิจารณาในการส่งก�าลังบ�ารุงด้านอื่น ๆ ได้แก่ มาตรการ สนับสนุนก�าลังพลทีม่ คี วามจ�าเป็นในขณะทีส่ ง่ ก�าลังเข้าประจ�าการในบริเวณ ที่เกิดเหตุ ข้อพิจารณาเหล่านี้ยังรวมไปถึง l การจัดที่พัก l เสบียง l การสนับสนุนการขนส่ง l การรักษาความปลอดภัย

ก�าลังพล (Personnel)

๓-๑๓ ผูน้ า� หน่วยตอบสนองเหตุตอ้ งระบุหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ ของก� า ลั ง พลแต่ ล ะต� า แหน่ ง ภายในหน่ ว ยของตน ควรจั ด ท� า รายงาน การตรวจสอบที่ระบุถึงงานเป็นรายบุคคลและงานส่วนรวม ซึ่งต้องปฏิบัติ ให้เป็นผลส�าเร็จ ๓-๑๔ ในระหว่างขั้นการเตรียมการ ผู้น�าหน่วยต้องตระหนักถึง ความจ�าเป็นทีก่ า� ลังพลภายในหน่วยต้องบรรจุให้เต็มอยูเ่ สมอ (เช่น ก�าลังพล ต้องไปพบแพทย์ตามวงรอบ และการหมุนเวียนไปรับการฝึกเพื่อให้ได้ ประกาศนียบัตรรับรอง) การขาดแคลนก�าลังพลตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว ต้องระบุไว้ในรายงานสถานภาพความพร้อมของหน่วยด้วย

การฝึกศึกษา (Education and Training)

๓-๑๕ การฝึกศึกษามีความส�าคัญยิ่งต่อการปฏิบัติการใดๆ ก็ตาม อย่างไรก็ตาม หลักสูตรที่เฉพาะเจาะจงมีความจ�าเป็นอย่างยิ่ง ส�าหรับ ก�าลังพลที่ท�าหน้าที่ตอบสนองเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. 52

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การศึกษา (Education) ๓-๑๖ การจัดหน่วยตอบสนองเหตุฉุกเฉินพร้อมด้วยก�าลังพล ทุ ก ระดั บ ต้ อ งได้ รั บ การศึ ก ษาเพื่ อ ให้ มี ขี ด ความสามารถในการแก้ ไ ข สถานการณ์ที่มีอันตรายทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการ แก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. จ�าเป็นที่จะต้องให้ความส�าคัญ ในการเรียนการสอน อย่างเหมาะสม ส�าหรับหน่วยที่ไม่เคยมีประสบการณ์ ในการฝึกกับพลเรือนทีจ่ ดั โดยท้องถิน่ , ระดับรัฐ, ส่วนภูมภิ าค หรือมีหลักการ พื้นฐานในระดับชาติ สามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการน�าบทเรียนจาก เหตุการณ์ตา่ งๆ เข้าบรรจุในหลักสูตรของสถานศึกษา รวมทัง้ การฝึกจ�าลอง สถานการณ์และการฝึกปฏิบตั ิ ก�าลังพลทุกคนของหน่วยควรได้รบั การศึกษา ให้ตระหนักรูถ้ งึ ความรูพ้ นื้ ฐานด้าน คชรน. ก�าลังพลทีไ่ ด้รบั มอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบพิเศษควรได้รบั การเรียนการสอนในการปฏิบตั กิ ารเฉพาะทาง ให้มากยิ่งขึ้น มีหลักสูตรต่างๆ และโอกาสได้รับการฝึกเป็นจ�านวนมาก ทั้งจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ และสถาบันฝึกอบรมของภาคเอกชน ๓-๑๗ บทสรุปเกีย่ วกับหลักสูตรต่าง ๆ สามารถศึกษาได้ในเว็บไซต์ “ส�านักงานจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ” [The Federal Emergency Management Agency (FEMA)] โอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่ส�าคัญ อาจเกี่ยวข้องประเด็นต่างๆ ดังนี้

53

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การตระหนักรู้เรื่องทั่วๆ ไป  การป้องกัน/การต่อต้านการก่อการร้าย ส่วนหนึ่ง ของการต่อสูก้ บั การก่อการร้าย ได้แก่ มาตรการป้องกันเพือ่ ต่อต้านการโจมตี จากการก่อการร้าย ก�าลังพลทุกคนต้องได้รับการฝึกขั้นพื้นฐานที่จ�าเป็น เพื่อป้องกันการโจมตีจากการก่อการร้าย  การปฏิ บั ติ ก ารต่ อ ต้ า นการก่ อ การร้ า ยด้ ว ยอาวุ ธ คชรน. ในภาพรวม ตามบทบาทและความรับผิดชอบของผูเ้ ข้ารับการศึกษา ซึง่ อาจรวมไปถึงหลักการพืน้ ฐานในเรือ่ ง กรอบการตอบสนองภัยพิบตั แิ ห่งชาติ (NRF), ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS) และประเด็นการบริการทีจ่ า� เพาะเจาะจง l การศึกษาด้านการปฏิบัติการที่จ�าเพาะเจาะจง  บทบาทของหน่วยงานปฏิบต ั ใิ นระดับสูง เช่น กระทรวง รักษาความมั่นคงภายใน (DHS) หรือกระทรวงการต่างประเทศ (DOS) ่ ามกฎหมาย, เงือ่ นไขบังคับ และข้อจ�ากัด  อ�านาจหน้าทีต  การส่งก�าลังบ�ารุงและความต้องการขอรับการสนับสนุน, รวมไปถึงการได้รับงบประมาณชดเชยประจ�าปี  โครงสร้างการควบคุมบังคับบัญชา l

หมายเหตุ : ตัวอย่างการฝึกประเภทนี้ได้แก่ หลักสูตรการเตรียมความพร้อมตอบสนอง เหตุฉกุ เฉินของ กห. หลักสูตรนีเ้ ป็นการเตรียมการเพือ่ ให้เกิดความพร้อมในการตอบสนอง เหตุฉุกเฉินส�าหรับนายทหารติดต่อและ ฝอ. เพื่อจัดท�าแผนและการปฏิบัติในส่วนของ การปฏิบัติการร่วมทางทหาร เพื่อสนับสนุนพลเรือนในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน และภัยพิบัติ ของกองบัญชาการกองทัพบก (FORSCOM) มี ๘ หลักสูตร ในแต่ละปี ณ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุฉกุ เฉินเมาท์ เวทเซอร์ (Mount Weather Emergency Operations Center) ของ FEMA ตัง้ อยูท่ เี่ มือง Berryville รัฐ Virginia เพือ่ ด�าเนินการ ฝึกให้กบั กองบัญชาการภาคพืน้ แปซิฟกิ และกองบัญชาการทีร่ บั ผิดชอบเขตพืน้ ทีภ่ าคใต้ ของสหรัฐฯ เป็นประจ�าทุกปี หลักสูตรการฝึกนีไ้ ด้รบั อนุมตั ติ ามค�าสัง่ กห. ที่ ๓๐๒๕.๑๘

54

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การฝึก (Training) ๓-๑๘ หน่ ว ยตอบสนองเหตุ ด� า เนิ น การฝึ ก เพื่ อ ให้ ป ฏิ บั ติ ง าน การแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. เป็นงานรายบุคคลและ งานส่วนรวมในฐานะที่เป็นหน่วยหรือเป็นกองก�าลังร่วม ส�าหรับใบอนุญาต และประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน อาจแปรเปลีย่ นไปตามต�าแหน่งทีต่ งั้ หน่วย ทางภู มิ ศ าสตร์ แ ละเครื่ อ งมื อ ที่ ป ระจ� า การในแต่ ล ะหน่ ว ย ผบ.หน่ ว ย ต้องมั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับการฝึกอย่างเต็มที่เพื่อให้การปฏิบัติ ภารกิจเสร็จสิ้นได้อย่างสมบูรณ์

กิจในการฝึก (Training Tasks) ๓-๑๙ หน่วยตอบสนองเหตุดา� เนินการฝึกตามรายการกิจร่วมสากล (universal joint task list: UJTL) ที่ส�าคัญ และการฝึกปฏิบัติงานการ บริการจ�าเพาะที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเตรียมความพร้อม รวมทัง้ มาตรการการตอบสนองเหตุและการฟืน้ ฟู โดยใช้รายการกิจร่วมสากล มาเป็นกรอบแนวทางส�าหรับการฝึก

เงื่อนไขในการฝึก (Training Conditions) ๓-๒๐ หน่ ว ยตอบสนองเหตุ ใ ช้ ก ารจ� า ลองสภาพแวดล้ อ มที่ มี อันตรายเป็นเงื่อนไขส�าหรับการฝึกเหตุการณ์ การฝึกปฏิบัติภายใต้การใช้ ลักษณะการแต่งกายป้องกันนัน้ เพือ่ ท�าให้เกิดความคุน้ ชินกับสภาพการด้อย ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การฝึกตามระดับความสมจริงท�าให้หน่วย มีสภาพความพร้อมมากยิ่งขึ้น การฝึกในลักษณะนี้ยังช่วยในการพัฒนา ภาวะผูน้ า� ของหน่วยด้วยการประเมินประสิทธิภาพการใช้มาตรการลดความ ล่อแหลมของหน่วย 55

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ข้อพิจารณาในการฝึกทัว่ ๆ ไป (General Training Considerations) ๓-๒๑ การฝึกระดับการตระหนักรูด้ า้ น คชรน. ควรจัดให้กบั ก�าลังพล ทุกนายครอบคลุมไปจนถึงเจ้าหน้าทีพ่ ลเรือนกระทรวงกลาโหม, พนักงานจ้าง ตามสัญญา, ครอบครัวของก�าลังพล และลูกจ้างในท้องถิน่ ที่ กห. ว่าจ้าง-โดย ไม่คา� นึงถึงชัน้ ยศ ก�าลังพลเหล่านีค้ วรตระหนักรูถ้ งึ ปฏิกริ ยิ าและผลอันตราย จาก คชรน. ซึง่ จ�าเป็นอย่างยิง่ ทีต่ อ้ งเฝ้าระวังปฏิกริ ยิ าทีอ่ าจเกิดขึน้ จาก คชรน. และวิธกี ารใช้ยทุ ธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบตั ดิ า้ น คชรน. เพือ่ ให้มนั่ ใจว่า มีการตอบสนองต่อการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทัง้ ควรให้ มีการฝึกปฏิบัติข้ามสายงานด้วย ในห้วงการฝึกอาจต้องมีรายละเอียด มากยิง่ ขึน้ ซึง่ จ�าเป็นต่อการเตรียมก�าลังและชุดปฏิบตั กิ ารส�าหรับตอบสนอง ต่อการก่อการร้ายด้วย คชรน. ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ตาม ระดับความช�านาญของแต่ละคนเท่าที่จ�าเป็น

การฝึกระบบจัดการเหตุการณ์ (Incident Management System Training) ๓-๒๒ มี ห ลายหลั ก สู ต รการฝึ ก ที่ ก� า ลั ง พลควรผ่ า นการฝึ ก มา เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะมีคุณสมบัติพร้อมส�าหรับการตอบสนองเหตุการณ์ ด้าน คชรน. ในการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ หลักสูตรการฝึกดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

ข้อพิจารณาทั่วไป (General Considerations) ๓-๒๓ หน่วยตอบสนองเหตุตอ้ งมีกา� ลังพลทีผ่ า่ นการฝึกเพือ่ ตอบสนอง ต่ อ การโจมตี ด ้ ว ยอาวุ ธ คชรน. ก� า ลั ง พลที่ เ ข้ า ร่ ว มตอบสนองเหตุ 56

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ควรได้ รั บ การฝึ ก ให้ มี ส มรรถนะในการปฏิ บั ติ ภ ายใต้ โ ครงสร้ า งระบบ บัญชาการเหตุการณ์/กองบัญชาการร่วม การฝึกระบบจัดการเหตุการณ์ ควรเน้นไปที่การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ หมายเหตุ : มีหลักสูตรจ�านวนมาก (มีค�าขึ้นต้นด้วย IS (Independent Study) [การศึกษาอิสระ] และ ICS (Incident Command System) [ระบบบัญชาการ เหตุการณ์]) ด�าเนินการโดยส�านักงานจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ

ความต้องการขั้นต�่า (Minimum Requirements) ๓-๒๔ ต่อไปนี้เป็นข้อก�าหนดขั้นต�่าส�าหรับก�าลังพลที่ต้องปฏิบัติ หน้าที่ด้านการจัดการเหตุการณ์ l เจ้าหน้าทีเ่ ผชิญเหตุของชุดเผชิญเหตุ (ได้แก่ นักผจญเพลิง, เจ้ า หน้ า ที่ รั ก ษาความปลอดภั ย , ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น และเจ้ า หน้ า ที่ เ หตุ ฉุ ก เฉิ น อื่ น ๆ) จ� า เป็ น ต้ อ งได้ รั บ การฝึ ก ในหลั ก สู ต ร เข้ า ตอบสนองเหตุ ซึ่ ง ครอบคลุ ม เนื้ อ หาการแนะน� า เบื้ อ งต้ น เกี่ ย วกั บ องค์ประกอบพื้นฐานของระบบบัญชาการเหตุการณ์ หลักสูตรเหล่านี้ ได้แก่ IS-700 National Incident Management System (Introduction) [ระบบจั ด การเหตุ ก ารณ์ แ ห่ ง ชาติ (เบื้ อ งต้ น )]; IS-800.A National Response Framework (NRF) (An Introduction) [กรอบการตอบสนอง ภั ย พิ บั ติ แ ห่ ง ชาติ (เบื้ อ งต้ น )]; IS-100 Introduction to Incident Command System (กล่าวน�าระบบบัญชาการเหตุการณ์) และหลักสูตร Tri-Service Emergency Management Program Response Course (หลักสูตรโปรแกรมตอบสนองการจัดการเหตุฉุกเฉินแบบไตรภาค) 57

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผูก้ า� กับดูแลหน่วยตอบสนองเหตุแถวหน้า, ผบ.ชุดปฏิบตั ิ การตรวจพิสูจน์ทราบ, ผู้ก�ากับดูแลภาคสนาม, นายทหารประจ�ากองร้อย, เจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุที่เข้าปฏิบัติการ (ผู้รับการฝึก) ของชุดจัดการ เหตุการณ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุฉุกเฉินอื่นๆ จ�าเป็นต้องได้รับ การฝึ ก เกี่ ย วกั บ ระบบบั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ ใ นระดั บ ที่ สู ง ขึ้ น (IS-700; ICS-100 และหลักสูตร ICS-200 ส�าหรับชุดปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ทราบ และชุดปฏิบัติการเข้าตอบสนองเหตุในขั้นต้น) l ผบ.ชุดปฏิบัติการจู่โจมเข้าที่เกิดเหตุ, ผบ.ชุดเฉพาะกิจ และ ฝอ.ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเหตุฉุกเฉิน จ�าเป็นต้องได้รับการฝึก เกี่ยวกับระบบบัญชาการเหตุการณ์ในระดับที่สูงขึ้น (IS-700; IS-800.A; IS-100; ICS-200 และ ICS-300 ระบบบัญชาการเหตุการณ์ระดับกลางส�าหรับ ผูต้ อบสนองเหตุเป็นรายแรกเมือ่ เหตุการณ์มกี ารขยายขอบเขตกว้างออกไป) l นายทหารฝ่ า ยอ� า นวยการ, ผู ้ บ ริ ห ารองค์ ก ร, หั ว หน้ า หน่ ว ยงาน, ผู ้ จั ด การเหตุ ฉุ ก เฉิ น , ผู ้ บั ญ ชาการทั พ ภาค และผู ้ จั ด การ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการประสานงานระบบ/การแก้ปัญหาเหตุฉุกเฉินร่วม หลายองค์กร จ�าเป็นต้องได้รับการฝึกเกี่ยวกับระบบบัญชาการเหตุการณ์ ในระดับที่สูงขึ้น (IS-700; IS-800; ICS-100; ICS-200; ICS-300 และ ICS-400 ระบบบัญชาการเหตุการณ์ขนั้ สูงส�าหรับนายทหารฝ่ายอ�านวยการ, เหตุฉกุ เฉินทีซ่ บั ซ้อน/ระบบประสานงานร่วมหลายองค์กรส�าหรับผูป้ ฏิบตั งิ าน ตอบสนองเหตุเป็นรายแรก) l ก� า ลั ง พลทุ ก คนที่ ท� า หน้ า ที่ ส นั บ สนุ น เจ้ า หน้ า ที่ ฝ ่ า ย พลเรือนต้องผ่านหลักสูตร IS-800 ก่อนปฏิบัติหน้าที่ให้การสนับสนุน l

58

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การฝึกส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุ (Responder Training) ๓-๒๕ ผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. เป็นก�าลังพลและเจ้าหน้าที่ พลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้ผ่านการฝึกและมีประกาศนียบัตร รับรองให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ตั้งแต่ระดับการตระหนักรู้ ไปจนถึงระดับผู้ตอบสนองเหตุที่เชี่ยวชาญ

ข้อพิจารณาทั่วไป (General Considerations) ๓-๒๖ ข้อพิจารณาทั่ว ๆ มีดังต่อไปนี้ l เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองเหตุทุกคนต้องผ่าน การฝึกอย่างน้อยในหลักสูตรระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตอบสนองเหตุ l ผู ้ ที่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นต� า แหน่ ง ที่ ซั บ ซ้ อ น (ผู ้ บั ญ ชาการ เหตุการณ์, หัวหน้าชุดจัดการวัตถุอันตราย, ผู้ช�านาญการทางด้านเทคนิค) ต้องได้รับการฝึกเพิ่มเติมในขั้นสมบูรณ์ ตามความเหมาะสมกับต�าแหน่ง หน้าที่ที่รับผิดชอบ l ความต้องการด้านสมรรถนะและการฝึกส�าหรับผู้ตอบ สนองเหตุในท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคได้ก�าหนดไว้แล้ว ตามระเบียบข้อบังคับแห่งรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา หมวด ๒๙ (29 CFR 1910.120), ระเบียบข้อบังคับของสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) ข้อ ๔๗๒ และข้อ ๔๗๓ รวมทั้งระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

59

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ความต้องการลักษณะจ�าเพาะ (Specific Requirements) ๓-๒๗ ก� า ลั ง พลผู ้ ที่ เ ข้ า ร่ ว มหรื อ ผู ้ ที่ ค าดว่ า ต้ อ งเข้ า ร่ ว มในการ ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน จ�าเป็นต้องได้รับการฝึกขั้นสมบูรณ์ในเรื่องต่อไปนี้ l การฝึกระดับการตระหนักรูข ้ องผูต้ อบสนองเหตุ ส�าหรับ ก�าลังพลซึ่งเป็นผู้ที่มักพบเห็นหรือประสบกับเหตุการณ์ และได้รับการฝึก เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ในขั้นต้น การฝึกในลักษณะนี้ควรจัดการฝึกให้แก่ ก�าลังพลของหน่วย ซึง่ ก�าลังพลทีไ่ ด้รบั การฝึกมาแล้วไม่ตอ้ งด�าเนินการอะไร มากนัก เพียงแต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่จัดการเหตุฉุกเฉินทราบ l การฝึกระดับการปฏิบต ั กิ ารตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน ส�าหรับ ก�าลังพลผู้ที่ท�าหน้าที่ตอบสนองเหตุการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการ ปฏิบัติการตอบสนองเหตุฉุกเฉินขั้นต้น เพื่อปกป้องบุคคล, ทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อมจากผลอันตรายทีเ่ กิดขึน้ ในกรณีนรี้ วมไปถึง การฝึกหน่วย ทีท่ า� หน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัย, ก�าลังพลชุดปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน และเจ้าหน้าที่หน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉิน ก�าลังพลเหล่านี้ต้องได้รับการฝึก ให้ตอบสนองเหตุฉกุ เฉินในลักษณะเชิงป้องกัน โดยไม่ตอ้ งพยายามจัดการกับ อันตรายที่เกิดขึ้น โดยต้องได้รับการฝึกในระดับเดียวกับการตระหนักรู้ ของผูต้ อบสนองเหตุและแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะเพิม่ มากขึน้ ให้เป็นไปตาม ค�าแนะน�าในการจัดการฝึก l การฝึ ก ผู ้ ช� า นาญการด้ า นวั ต ถุ อั น ตราย เป็ น การฝึ ก ระดับหน่วยและระดับบุคคล ส�าหรับก�าลังพลทีท่ า� หน้าทีจ่ ดั การกับอันตราย การฝึกลักษณะนีเ้ ป็นการฝึกให้กบั ก�าลังพลในชุดปฏิบตั กิ ารด้านวัตถุอนั ตราย ก�าลังพลต้องได้รบั การฝึกในระดับเดียวกับการตระหนักรูข้ องผูต้ อบสนองเหตุ และแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง สมรรถนะเพิ่ ม มากขึ้ น ให้ เ ป็ น ไปตามค� า แนะน� า ในการจัดการฝึก 60

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การฝึกระดับผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์ในทีเ่ กิดเหตุ การฝึกนี้ มีความจ�าเป็นส�าหรับ ผบ.หน่วย ทีท่ า� หน้าทีค่ วบคุมบังคับบัญชาในทีเ่ กิดเหตุ ก�าลังพลต้องได้รบั การฝึกในระดับเดียวกับการตระหนักรูข้ องผูต้ อบสนองเหตุ และแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง สมรรถนะเพิ่ ม มากขึ้ น ให้ เ ป็ น ไปตามค� า แนะน� า ในการจัดการฝึก l

การประเมินผลการฝึก (Training Evaluations)

๓-๒๘ ผูบ้ งั คับหน่วย คชรน. สามารถใช้เหตุการณ์สา� คัญในการฝึก เป็นข้อมูลสะท้อนกลับและช่วยผู้บังคับบัญชาในการประเมินประสิทธิภาพ ของผู้บังคับหน่วยรอง, ก�าลังพลแต่ละคน, หน่วย และโครงการการฝึก เพื่อด�ารงสภาพความพร้อมของหน่วย ๓-๒๙ การประเมินผลการฝึกอาจมีทงั้ การประเมินผลภายใน และ การประเมินผลภายนอก การประเมินผลภายในต้องด�าเนินการในทุกระดับ และผนวกรวมเข้ากับการฝึกไว้ด้วยทุกครั้ง ส่วนการประเมินผลภายนอก โดยปกติจะด�าเนินการในลักษณะที่เป็นทางการมากกว่าและด�าเนินการ โดย บก.หน่วยเหนือ ที่สูงขึ้นไป ๑ ระดับ ๓-๓๐ ความล้มเหลวในการประเมินผลทุกครั้งจากงานที่ได้ปฏิบัติ ถือว่าเป็นจุดอ่อนทีส่ า� คัญยิง่ ในการจัดการฝึก แนวความคิดในการประเมินผล การฝึกอยู่บนพื้นฐานการด�าเนินการไปพร้อมกับการฝึก ในการฝึกปฏิบัติ ทุกครั้งเป็นการให้ข้อมูลการประเมินผลแบบสะท้อนกลับ การประเมินผล ถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึก ส�าหรับโปรแกรมการด�าเนินการผู้รับการฝึก และผูน้ า� หน่วยต้องมีการประเมินผลการฝึกอย่างต่อเนือ่ ง ส�าหรับการประเมิน ผลภายนอกมักได้รับการประเมินจากหน่วยเหนือตามสายการบังคับบัญชา เพื่อประเมินขีดความสามารถของหน่วยในการปฏิบัติภารกิจตอบสนอง เหตุการณ์ที่ส�าคัญ 61

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ความจ�าเป็นในการประสานงาน, การเฝ้าติดตาม และการรายงาน (Coordinating, Mornitoring and Reporting Requirements) ๓-๓๑ ความจ�าเป็นในการประสานงาน, การเฝ้าติดตาม และ การรายงาน ในขั้นการเตรียมการปฏิบัติการเพื่อแก้ไขสถานการณ์

การประสานงาน (Coordinating) ๓-๓๒ การประสานงานเป็นการให้การศึกษาแก่ทุกๆ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้รู้จักกับหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมปฏิบัติการ

การประสานงานกับหน่วยอื่นๆ ที่ปฏิบัติการตอบสนอง (Response Unit Coordination) ๓-๓๓ วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก ในความพยายามเตรี ย มความพร้ อ ม เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. คือความมั่นใจว่าได้บูรณาการ และสามารถปฏิบัติการร่วมกัน ในขณะที่เข้าร่วมปฏิบัติการตอบสนอง เหตุวิกฤตอย่างเร่งด่วน โดยก้าวข้ามเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและการจัด องค์กรระหว่างหน่วยงานของรัฐและของเอกชน หน่วยตอบสนองเหตุแต่ละ หน่วยควรมีแผนตอบสนองเหตุเพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ที่แน่นอนส�าหรับการประสานกับหน่วยตอบสนองเหตุต่างๆ และสอดคล้อง กับแผนตอบสนองเหตุของหน่วยงานระดับท้องถิน่ , ระดับรัฐ และระดับชาติ รวมทั้งแผนของกองก�าลังเฉพาะร่วม, แผนของกองก�าลังพันธมิตร และ แผนของชาติเจ้าบ้าน 62

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

มุ่งเน้นไปที่ความพยายามในการประสานงาน (Focus of Coordination Efforts) ๓-๓๔ การประสานงานเป็ น การด� า เนิ น การทั้ ง ภายในหน่ ว ย ตอบสนองเหตุเอง และกับหน่วยทหารอื่นที่ท�าหน้าที่ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน รวมทั้ ง กั บ หน่ ว ยงานอื่ น ๆ ที่ อ ยู ่ ใ นพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย ง (หน่ ว ยงานพลเรื อ น หรือของชาติเจ้าบ้าน) ความพยายามในการประสานงานที่ดีย่อมช่วยให้ มั่นใจว่าได้เน้นไปที่ความส�าคัญอย่างเหมาะสมกับการวางแผน (การจ�าแนก ภัยคุกคาม, การตรวจสอบความล่อแหลม, การระบุถึงทรัพยากรต่างๆ ที่จ�าเป็น) รวมทั้งการจัดการฝึกและการฝึกปฏิบัติ, ก�าลังพลที่ผ่านเกณฑ์ และได้รับการรับรอง, ยุทโธปกรณ์ที่ได้รับการรับรอง รวมไปถึงความจ�าเป็น ในการเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆ ความพยายามในการประสานงานมุ่งไป ที่การค้นหาขอบเขตของงานการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบในภาวะ เร่งด่วน รวมถึงการปฏิบัติต่างๆ ที่จ�าเป็นเพื่อเสริมสร้าง, ด�ารงสภาพ และปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาขี ด ความสามารถตามแผนปฏิ บั ติ ก ารของหน่ ว ย ตอบสนองเหตุ ทัง้ นีเ้ พือ่ ป้องกัน, คุม้ ครอง, ตอบสนอง และฟืน้ ฟูจากเหตุการณ์ ด้าน คชรน. การประสานงานยังช่วยให้หน่วยตอบสนองเหตุได้ปรับแผน ของตนด้วย โดย l การจัดท�าและทบทวนรายการทรัพย์สินและทรัพยากร ต่างๆ ที่มีอยู่ l การกลั่นกรองวิธีการจัดหน่วยเฉพาะกิจ ให้เหมาะสม กับผู้ตอบสนองเหตุต่างๆ l การระบุถง ึ วิธกี ารและระเบียบปฏิบตั เิ พือ่ การติดต่อสือ่ สาร 63

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การรักษาฐานข้อมูลเพื่อการร้องขอรับการสนับสนุน กลับไปยังเขตภายใน l พัฒนาระเบียบปฏิบัติทั่วไป รวมไปถึงรายละเอียดและ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของหน่วยตามที่บรรจุไว้ในแผน หน่วยสามารถ ร้องขอ, รวบรวม, ประเมิน แผนและค�าสัง่ ต่าง ๆ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วในระดับท้องถิน่ , ระดับรัฐ และระดับชาติ เพือ่ รวมไว้ในข้อตกลงให้ความช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ในด้านการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองเหตุที่เกี่ยวข้องกับ คชรน. ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกน�ามาใช้เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าความจ�าเป็นของหน่วย สามารถบรรลุผล และความพยายามที่เป็นเอกภาพจากหลายหน่วยงาน บรรลุผลส�าเร็จ l การพั ฒ นาและการด� า รงไว้ ซึ่ ง ภาพปฏิ บั ติ ก ารทั่ ว ไป ส�าหรับการด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์ร่วมกันจากก�าลังทหารและฝ่าย พลเรือน ในกรณีนคี้ รอบคลุมไปถึงข้อมูลของพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร, สภาพอากาศ, โครงสร้างพื้นฐาน และการประเมินบริเวณสถานที่เกิดเหตุ l การด� า รงรั ก ษาฐานข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ หน่ ว ยงานที่ จั ด การ เหตุฉุกเฉิน/ศูนย์ปฏิบัติการ/เจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน l ด� า รงรั ก ษาบั ญ ชี ร ายชื่ อ ก� า ลั ง พลตามต� า แหน่ ง หน้ า ที่ และระเบียบปฏิบัติส�าหรับการเรียกเข้าประจ�าการ l จัดเตรียมข้อมูลแสดงแบบจ�าลองส�าหรับพืน ้ ทีท่ ที่ ราบว่า มีความอ่อนไหวภายในพื้นที่ปฏิบัติการของตน l

64

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเฝ้าติดตาม (Monitoring) ๓-๓๕ การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยตอบสนองเหตุ ควร ครอบคลุมไปถึงการทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติประจ�า ในที่บังคับการและรายการตรวจสอบ (checklist) ที่เป็นทางการด้วย รายการตรวจสอบในแต่ละข้อตามระเบียบปฏิบัติประจ�า ควรได้รับการ วิเคราะห์เพื่อให้มั่นใจในการประสานงานระหว่างส่วนต่างๆ ที่ปฏิบัติการ ตอบสนองเหตุตามที่ได้ระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติประจ�า

การรายงาน (Reporting) ๓-๓๖ หน่วยตอบสนองเหตุแต่ละหน่วย ต้องรายงานสถานภาพ ความพร้อมในการปฏิบัติการตามวงรอบให้หน่วยแม่ของตนทราบ ทั้งนี้ เป็นไปตามค�าแนะน�าของแต่ละเหล่าทัพ การรายงานสถานภาพช่วยให้ มั่นใจว่าแผนที่ใช้ตอบสนองเหตุเป็นปัจจุบันน�าไปปฏิบัติได้ และเกี่ยวข้อง ตรงประเด็น

การสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support) ๓-๓๗ ทุกหน่วยในสังกัดต้องใช้โครงการพัฒนาสุขภาพอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างที่มีการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ซึ่งจะช่วยให้ ก�าลังพลสามารถคาดหวัง, ตระหนักรู้, ประเมินค่า, ควบคุม และบรรเทา ผลกระทบจากภัยคุกคามต่อสุขภาพได้ในระหว่างถูกส่งเข้าประจ�าการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระหว่างขั้นการเตรียมการผู้บังคับบัญชาและ ก�าลังพลสายแพทย์ประจ�าหน่วยตอบสนองเหตุ ควรจะ 65

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

มัน่ ใจว่าก�าลังพลชุดตอบสนองเหตุ ยังคงรักษาสถานภาพ ความพร้อมทางด้านสุขภาพและทางการแพทย์ไว้ในระดับสูงก่อนถูกส่ง เข้าประจ�าการ สิง่ เหล่านีย้ งั รวมไปถึงความมัน่ ใจว่า ก�าลังพลชุดตอบสนองเหตุ ได้ ก รอกข้ อ มู ล อย่ า งครบถ้ ว นหรื อ ยื น ยั น ตามแบบพิ ม พ์ กห. ๒๗๙๕ (การประเมิ น ผลด้ า นสุ ข ภาพก่ อ นถู ก ส่ ง เข้ า ประจ� า การ) และมั่ น ใจว่ า แบบพิ ม พ์ ที่ ไ ด้ ก รอกข้ อ มู ล ครบถ้ ว นและได้ จั ด ส่ ง ไปยั ง ระบบเฝ้ า ระวั ง ทางการแพทย์ของกระทรวงกลาโหมแล้ว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บ โดย “งานเฝ้าระวังทางการแพทย์กองทัพบก” (Army Medical Surveillance Activity) ภายใต้ “กองบัญชาการด้านสาธารณสุขกองทัพบก” (U.S. Army Public Health Command) l มั่ น ใจว่ า ก� า ลั ง พลชุ ด ตอบสนองเหตุ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ต าม ข้อก�าหนดตามโครงการป้องกันระบบทางเดินหายใจ ซึง่ เป็นไปตามค�าแนะน�า ในกฎหมายแห่งชาติสหรัฐอเมริกา มาตรา ๒๙ (29 CFR 1910.120), มัน่ ใจว่าก�าลังพลชุดตอบสนองเหตุได้รบั การบรรยายสรุปเกีย่ วกับภัยคุกคาม ด้านสุขภาพในขณะที่เข้าประจ�าการ และได้รับการฝึกให้มีความพร้อมด้วย มาตรการตอบสนองที่จ�าเป็น l มั่ น ใจว่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ก� า หนดไว้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น สุ ข ภาพ ของก�าลังพล (ชุดยาแก้พิษจากสารประสาท และยาเม็ดไพริโดสติกไมน์ [pyridostigmine tablets]) ได้รับการแจกจ่ายตามที่ร้องขอ l มั่ น ใจว่ า เจ้ า หน้ า ที่ ชุ ด ตอบสนองเหตุ ส ายแพทย์ ไ ด้ รั บ การฝึกให้รู้จักลักษณะอาการบ่งชี้, อาการที่เกิดขึ้น, มาตรการตอบโต้ทาง การแพทย์ รวมไปถึงการรักษาพยาบาลจากการสัมผัสเชื้อโรคประจ�าถิ่น และในสิ่งแวดล้อม, จากการปฏิบัติงาน และจากภัยคุกคามด้าน คชรน. l

66

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

มั่นใจว่าผลการบันทึกข้อมูลด้านภูมิคุ้มกัน, ข้อมูลด้าน การแพทย์ และข้อมูลด้านทันตกรรมของเจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุแต่ละคน ได้บันทึกไว้ในระบบอัตโนมัติเพื่อจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของ กห. และ ได้รับการปรับแก้ไขให้เป็นปัจจุบัน อีกทั้งมีการก�าหนดการรักษาคุ้มครอง ฐานข้อมูลเหล่านี้ไว้ด้วย l มัน ่ ใจว่าเจ้าหน้าทีช่ ดุ ตอบสนองเหตุได้ผา่ นการตรวจสอบ สุขอนามัยขั้นพื้นฐาน ส�าหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างสมบูรณ์ก่อนที่การเข้า ตอบสนองเหตุการณ์จริง l การฝึก, ฝ่ายอ�านวยการ สิง ่ อุปกรณ์ และให้การสนับสนุน การด�าเนินการสอบสวนการสัมผัสกับโรคระบาด และเหตุการณ์เกี่ยวข้อง กับสุขอนามัยจากสภาพการท�างานและจากสิ่งแวดล้อม และมั่นใจว่า รายงานและการบันทึกเอกสารเกี่ยวกับการเกิดโรคระบาด และปัญหา เกี่ยวกับสุขอนามัยจากการท�างานและจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาจาก คชรน. มีการรายงานไปยัง บก.หน่วยเหนือ l ระบุความต้องการทรัพยากรส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุไว้ ในแผนยุทธการ และในค�าสั่งยุทธการ l มั่ น ใจว่ า แผนเฝ้ า ระวั ง ด้ า นสุ ข ภาพในเขตยุ ท ธบริ เ วณ และความต้องการด้านอื่น ๆ ได้ก�าหนดไว้ในแต่ละแผนยุทธการ l พัฒนาและใช้แผนเมือ ่ มีความเสีย่ งจากการเกิดโรคติดต่อ ในทุกขั้นตอนการส่งก�าลังเข้าประจ�าการส�าหรับเผชิญกับภัยคุกคามจาก โรคติดต่อ และใช้มาตรการตอบสนองต่อก�าลังพลที่ถูกส่งเข้าประจ�าการ l

67

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การฝึกตอบสนองเหตุ (Response Exercises) ๓-๓๘ เพียงเฉพาะการฝึกศึกษาประการเดียวไม่เพียงพอส�าหรับ การเตรียมการของหน่วยตอบสนองเหตุ การฝึกตามสภาพความเป็นจริง เป็นสิ่งจ�าเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถปฏิบัติการภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. ได้ ผูต้ อบสนองเหตุตอ้ งท�าความเข้าใจเกีย่ วกับแผนการตอบสนองเหตุ ในระดับท้องถิน่ และในระดับรัฐ ซึง่ ผูเ้ ข้ารับการฝึกในระดับชาติ, ในระดับรัฐ และในระดับท้องถิน่ สามารถเพิม่ ขีดความสามารถในการปฏิบตั กิ ารร่วมกัน และสามารถตอบสนองแผนเหล่านั้นได้ ลักษณะที่ควรพิจารณาเมื่อมีการ พัฒนาการฝึก ควรรวมไปถึงประเด็นต่อไปนี้ l ผู้รับการฝึก ให้ครอบคลุมผู้รับการฝึกให้มากที่สุดเท่าที่ จะท� า ได้ จ ากหน่ ว ยงานที่ มี ห น้ า ที่ แ ก้ ไ ขสถานการณ์ ใ นระดั บ ท้ อ งถิ่ น , ระดับรัฐ, ระดับชาติ และจากชาติเจ้าบ้าน l สภาพความเป็นจริง  มัน ่ ใจว่าเค้าโครงการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ทีห่ น่วยอาจต้องเผชิญ ควรอยูบ่ นพืน้ ฐานของการประเมินภัยคุกคาม ตามสภาพความเป็นจริง  จั ด ให้ มี ล� า ดั บ รายการเหตุ ก ารณ์ ส� า คั ญ ตามสภาพ ความเป็นจริง เพื่อฝึกตามแต่ละลักษณะงานการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. รวมไปถึงความท้าทายที่คาดไม่ถึงไว้ด้วย (เช่น ก�าลังพล และยุทโธปกรณ์ที่มีความส�าคัญอยู่ในภาวะไม่สามารถปฏิบัติงานได้) เพื่อ ประเมินความยืดหยุ่นในกระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ 68

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การจัดตารางการฝึก  ปรั บ แผนการฝึ ก ของหน่ ว ยและจั ด ตารางการฝึ ก ร่วมกับผู้บัญชาการกองก�าลังทหาร, กับชาติเจ้าบ้าน และกระทรวงการ ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการฝึกด้าน คชรน. หน่วยงานพลเรือนและ หน่วยทหารของชาติเจ้าบ้านที่ท�าหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติการแก้ไข สถานการณ์ อาจจ�าเป็นต้องมีการฝึกทบทวนและการฝึกเพือ่ ฟืน้ ฟูสมรรถนะ ให้บ่อยครั้งมากยิ่งขึ้น  หน่ ว ยที่ ต อบสนองเหตุ ก ารณ์ หากเป็ น ไปได้ ค วร พิจารณาปรับการฝึกและจัดตารางการฝึกร่วมกับการฝึกและโครงการฝึก ของกระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน ส�าหรับโครงการเตรียมความพร้อม ในระดับท้องถิน่ และในระดับรัฐ รวมทัง้ การฝึกร่วมกับชุดปฏิบตั กิ ารสนับสนุน พลเรือน-ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง (WMD-CST) ตามความเหมาะสม l การฝึกภาวะผู้น�า การฝึกในลักษณะแก้ปัญหาบนโต๊ะ (TTX) ควรน�ามาใช้ฝึกเพื่อสร้างโอกาสภาวะการเป็นผู้น�าและในฐานะฝ่าย อ�านวยการในการฝึกตามเค้าโครงเหตุการณ์ที่หลากหลายลักษณะ การฝึก ในลักษณะแก้ปญ ั หาบนโต๊ะควรก�าหนดขึน้ เป็นกรณีพเิ ศษเพือ่ ให้ผนู้ า� หน่วย ได้ฝึกปฏิบัติภารกิจส�าคัญและการปฏิบัติงานส่วนรวมที่มีความส�าคัญ ๓-๓๙ ในการฝึกแต่ละครั้งควรก�าหนดให้มีการประเมินผลการ ปฏิบัติภารกิจที่ส�าคัญ และการปฏิบัติกิจอื่นๆ เป็นการเฉพาะ ภายใน เค้าโครงภาพรวมของการประเมินผลการฝึกครั้งนั้น ผู้ที่ท�าหน้าที่ประเมิน ผลต้องมีความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจสอบทั้งหมด เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้อง การใช้การฝึกด้วยความสมจริงเป็น สิง่ จ�าเป็นเพือ่ ให้มนั่ ใจว่าก�าลังทหารสามารถปฏิบตั กิ ารภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. ได้ l

69

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๓-๔๐ ผู้ประเมินแต่ละคนโดยไม่ค�านึงถึงชั้นยศ ต้องมีความรู้ อย่างเชี่ยวชาญในด้านขีดความสามารถ, ความรับผิดชอบ, ยุทโธปกรณ์ สือ่ สาร, อาวุธ และยานพาหนะ ตลอดจนความเข้าใจในภารกิจอย่างละเอียด หากผู้ประเมินผลด้อยประสิทธิภาพย่อมมีผลท�าให้ข้อมูลจากการทบทวน หลังการปฏิบัติหรือการถอดบทเรียนด้อยค่าลงไป

ขีดความสามารถและความล่อแหลมที่ยังคงอยู่ (Capabilities and Remaining Vulnerabilities) ๓-๔๑ การประเมินความล่อแหลมด้านการป้องกัน คชรน. ของ หน่วยตอบสนองเหตุฉุกเฉิน ต้องเป็นกระบวนการที่ด�าเนินการโดยต่อเนื่อง (ดูในรูปที่ ๓-๒) ในคู่มือ ATP 3-11.36/MCRP 3-37B/NTTP 3-11.34/ AFTTP 3-20.70 จะให้ค�าแนะน�าเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงรอบการประเมิน ความล่อแหลม จากการด�าเนินการตามแผนแก้ไขสถานการณ์ หน่วยตอบสนอง เหตุการณ์เริม่ ด�าเนินการตามวงรอบ เพือ่ ประเมินผลซ�า้ ในการเตรียมความพร้อม เพื่อปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ การด�าเนินการตามวงรอบเพื่อให้เกิด ความมัน่ ใจว่าหน่วยทหารทีจ่ า� เป็นได้ถกู ส่งเข้าประจ�าการ, มีการเตรียมการ และมีการประสานสอดคล้องอย่างเหมาะสมเพื่อให้การปฏิบัติกิจการแก้ไข สถานการณ์บรรลุผลส�าเร็จ อย่างไรก็ตาม ห้วงระยะเวลาในการประเมินผล ซ�้าไม่จ�าเป็นต้องเคร่งครัดในเรื่องของห้วงเวลามากนัก (เช่น ตามวงรอบ ของปีปฏิทนิ ) ยังมีปจั จัยอืน่ ๆ ทีค่ วรน�ามาพิจารณาร่วมด้วย (เช่น ภัยคุกคาม ที่เปลี่ยนไป, หน่วยที่มีการเปลี่ยนแปลง, ทรัพยากรที่มีอยู่) การตรวจสอบ ก่อนเกิดเหตุการณ์จะช่วยยืนยันว่าหน่วยมีสิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ พร้อมสนองตอบเหตุการณ์ เช่น ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน ตามความจ�าเป็น 70

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประเมินอันตราย (ขั้นการวางแผน)

การลด ความล่อแหลม (ขั้นเตรียมการ)

สภาพแวดล้อม การปฏิบัติการ

การวิเคราะห์ ความล่อแหลม (ขั้นการวางแผน)

ค�าแนะน�า ของผู้บังคับบัญชา

สภาพภัยคุกคาม ทั้งหมด

อธิบายศัพท์ VA Vulnerability Asessment (การประเมินความล่อแหลม)

รูปที่ ๓-๒ การประเมินความล่อแหลมในขั้นเตรียมการ

๓-๔๒ มาตรการดังกล่าวประกอบด้วยการปฏิบัติเพื่อการป้องกัน รวมทั้ ง การให้ ข ้ อ มู ล สะท้ อ นกลั บ เกี่ ย วกั บ การประเมิ น ความล่ อ แหลม ข้อมูลสะท้อนกลับมีส่วนช่วยในการพัฒนาแผนการตอบสนองเหตุการณ์ ในภาพรวม ตัวอย่างเช่น ก�าลังพลของชุดปฏิบัติตอบสนองเหตุการณ์ อาจสังเกตพบว่าชาติเจ้าบ้านขาดแคลนยุทธภัณฑ์ป้องกันที่เหมาะสม (ผ้ า คลุ ม กั น ฝนที่ มี ก ารแจกจ่ า ยกั น ในบางประเทศอาจใช้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพกับการป้องกันอันตรายที่เป็นละออง แต่ใช้ในการป้องกัน อันตรายจากเปื้อนพิษสารมัสตาร์ดแทบไม่ได้เลย)

71

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เหตุการณ์พิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ (National Special-Security Events) ๓-๔๓ ในขัน้ เตรียมการเพือ่ แก้ไขสถานการณ์ หน่วยตอบสนองเหตุ สังกัดกระทรวงกลาโหมอาจได้รับกิจที่ต้องปฏิบัติเพื่อสนับสนุนเหตุการณ์ พิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ที่มี ลักษณะจ�าเพาะเช่นนี้ หน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหมต้องเตรียมการส�าหรับ เค้ า โครงเหตุ ก ารณ์ ที่ อ าจเป็ น ไปได้ เ มื่ อ ถู ก ส่ ง เข้ า ประจ� า การ และเข้ า ตอบสนองเหตุกอ่ นทีจ่ ะเกิดเหตุการณ์จริง การเตรียมการส�าหรับการปฏิบตั กิ าร สนับสนุนเหตุการณ์พิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ และหน่วยได้รับ มอบภารกิจ ในหลายๆ กรณีหน่วยอาจถูกส่งเข้าประจ�าการในบริเวณใกล้เคียง กับสถานที่เกิดเหตุ เพื่อปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ๓-๔๔ ลักษณะทีส่ า� คัญส�าหรับการเตรียมการเพือ่ แก้ไขสถานการณ์ อันเนือ่ งจากเหตุการณ์พเิ ศษเกีย่ วกับความมัน่ คงของชาติ คือความสามารถ ของหน่วยที่จะติดต่อโดยตรงกับส่วนงานต่างๆ เพื่อตรวจสอบอย่างเต็มที่ กับบทบาทของแต่ละส่วนงานในการตอบสนองเหตุการณ์ตามแผนที่ได้ ก�าหนดไว้ ซึ่งแตกต่างจากการเตรียมการก่อนเกิดเหตุซึ่งบทบาทที่แท้จริง ของแต่ละหน่วยงานยังไม่ชัดเจน จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบขอบเขตและ ความรุนแรงของเหตุการณ์ดา้ น คชรน. เรียบร้อยแล้ว เหตุการณ์พเิ ศษเกีย่ วกับ ความมัน่ คงของชาติอาจเกีย่ วข้องกับการปฏิบตั กิ ารตามแผนตอบสนองเหตุ ขั้ น ต้ น ไปจนถึ ง การปฏิ บั ติ ที่ เ พิ่ ม ระดั บ ขึ้ น ไปเรื่ อ ยๆ ซึ่ ง มี ห ลายหน่ ว ย อาจถูกส่งเข้าวางก�าลังขั้นต้น และเตรียมปฏิบัติในส่วนความรับผิดชอบ ของตนหลังจากการได้รับการแจ้งเตือนในห้วงระยะเวลาไม่นานนัก 72



การตอบสนอง เหตุการณ์

บทที่ ๔ เป็ น การอธิ บ ายการปฏิ บั ติ เ พื่ อ ตอบสนองเหตุ ก ารณ์ รวมไปถึงการกล่าวถึงล�าดับขั้นตอนการปฏิบัติการตอบสนองเหตุการณ์, อ�านาจในการปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุการณ์, การตอบสนองเหตุการณ์เป็น รายแรก, การตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน, การควบคุมบังคับบัญชา, การตอบสนอง เหตุการณ์จาก คชรน. และการปฏิบัติการตอบสนองการสนับสนุนบริการ สุ ข ภาพ รวมทั้ ง การกล่ า วถึ ง การเปลี่ ย นผ่ า นไปสู ่ ก ารปฏิ บั ติ ก ารฟื ้ น ฟู พอเป็นสังเขปไว้ด้วย

กล่าวเบื้องต้น (Background) ๔-๑ เหตุการณ์จาก คชรน. อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาและสถานที่ ที่ไม่มีการแจ้งเตือน ซึ่งก่อให้เกิดความโกลาหลและการบาดเจ็บล้มตาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีการแจ้งเตือน หน่วยบริการเหตุฉุกเฉินประจ�า ท้องถิน่ หรืออาจเป็นหน่วยงานระดับรัฐหรือระดับชาติจะเป็นหน่วยตอบสนอง เหตุการณ์ หน่วยตอบสนองเหตุฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นอาจแจ้งเตือนไปยัง

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผบ.หน่วยทหารสังกัดกระทรวงกลาโหมที่อยู่ใกล้เคียง โดยที่หน่วยทหาร อาจเริ่มเข้าตอบสนองเหตุเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อช่วยชีวิต, ป้องกันไม่ให้ผู้คน ได้รับบาดเจ็บหรือบรรเทาความเสียหายต่อทรัพย์สิน เมื่อได้รับการร้องขอ รับการสนับสนุนให้ช่วยเหลือ การตอบสนองเหตุฉุกเฉินภายในประเทศ กระทรวงกลาโหมมีอ�านาจอนุมัติให้ด�าเนินการ แต่หากเป็นการปฏิบัติการ แก้ไขสถานการณ์ในต่างประเทศโดยอาศัยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ที่มีอ�านาจอนุมัติ ๔-๒ หน้าทีห่ ลักๆ ในการปฏิบตั กิ ารของหน่วยตอบสนองการแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. คือการปกป้องชีวิต การรักษาสุขภาพ และความปลอดภัย, การระวังป้องกันและลดอันตราย, ปกป้องทรัพย์สิน, ป้องกันสภาพสิง่ แวดล้อมไม่ให้เสียหายมากไปกว่านี้ และรักษาความเชือ่ มัน่ จากสาธารณชนต่อรัฐบาลว่ามีความสามารถในการตอบสนองเหตุการณ์ จาก คชรน. ได้ (ในรูปที่ ๔-๑ แสดงถึงขั้นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ซึง่ สัมพันธ์กบั ขัน้ การปฏิบตั อิ นื่ ๆ ในการตอบสนอง เพือ่ การแก้ไขสถานการณ์ อันเนือ่ งมาจาก คชรน.) หน่วยทีท่ า� หน้าทีต่ อบสนองเริม่ ปฏิบตั เิ พือ่ การฟืน้ ฟู สภาพแวดล้อมในบริเวณทีใ่ กล้เคียงกับทีเ่ กิดเหตุให้กลับคืนมา การเปลีย่ นผ่าน และแผนการถอนก�าลังต้องได้รบั การพัฒนาตามบทบาทของกองก�าลังสังกัด กระทรวงกลาโหมที่ได้ก�าหนดขึ้น และตามมาด้วยการตรวจสอบสภาพ ความพร้อมของหน่วยงานในท้องถิ่น, ระดับรัฐ และหน่วยงานในระดับชาติ ๔-๓ ถึงแม้ว่างานหลักในการแก้ไขสถานการณ์ของกระทรวง กลาโหม จะมุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบจาก คชรน. ต่อการปฏิบัติการทาง ทหารให้เหลือน้อยที่สุด แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมเพื่อสนับสนุนการตอบสนอง เหตุการณ์จาก คชรน. ภายในประเทศ รวมทั้งกับชาติพันธมิตรและชาติ 74

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ทีม่ คี วามร่วมมือกัน เพือ่ เป็นการป้องกันอันตรายและเป็นการฟืน้ ฟูจากการใช้ สาร คชรน. ก�าลังทหารต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชิงรับ และ เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติเพื่อการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. หากความพยายามในการป้องกันล้มเหลวและการโจมตีด้วยอาวุธ คชรน. ไม่สามารถป้องปรามได้ กระทรวงกลาโหมต้องเตรียมความพร้อมเพื่อ ตอบสนองต่ อ การร้ อ งขอความช่ ว ยเหลื อ ; รวมทั้ ง ริ เ ริ่ ม หรื อ สนั บ สนุ น ความพยายามในการแก้ไขสถานการณ์ทดี่ า� เนินไปอย่างต่อเนือ่ ง; และให้การ สนับสนุนอย่างเข้มแข็งต่อเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น, ระดับรัฐ, ระดับชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของชาติพันธมิตร และประเทศที่มีความร่วมมือกัน ๔-๔ ล�าดับขั้นตอนและระยะเวลาในการตอบสนองเหตุการณ์ จาก คชรน. มักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมการ ปฏิบัติการ (การแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ, การปฏิบัติการเพื่อแก้ไข สถานการณ์ในต่างประเทศ) ขนาดของเหตุการณ์ดา้ น คชรน. และทรัพยากร ที่จ�าเป็นต่อการตอบสนองเหตุการณ์ ในตารางที่ ๔-๑ ได้ให้รายละเอียด เกี่ยวกับล�าดับเหตุการณ์ส�าหรับการตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน.

ภาพรวมของการตอบสนองเหตุการณ์ (Incident Response Overview) ๔-๕ การปฏิบตั กิ ารในระหว่างการตอบสนองเหตุการณ์ได้กล่าวถึง ผลกระทบในระยะสั้น และผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์นั้น มาตรการ ตอบสนองหมายถึงการปฏิบัติทั้งปวง เพื่อช่วยชีวิต, ปกป้องทรัพย์สิน และ การให้บริการที่จ�าเป็นเพื่อให้การปฏิบัติการด�าเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง 75

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ป้องกัน วางแผน

เตรียมการ

ขั้นตอน การปฏิบัติในการ แก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

ฟื้นฟู

เหตุการณ์

จาก คชรน.

ตอบสนอง ปฏิบัติ

รูปที่ ๔-๑ ขั้นการปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ตอบสนอง)

ตารางที่ ๔-๑ ล�าดับเหตุการณ์สา� หรับการตอบสนองเหตุการณ์ดา้ น คชรน. (เป็นการคาดการณ์) เหตุการณ์ มีสิ่งบอกเหตุ การตอบสนองในขั้นต้น

76

การปฏิบัติ เหตุการณ์ด้าน คชรน. เกิดขึ้น ซึ่งจ�าเป็นต้องมีการ ตอบสนอง (เกิดการระเบิด, การแพร่กระจาย, มีลกั ษณะ อาการเริ่มปรากฏ) ชุดปฏิบัติตอบสนองเหตุการณ์ประจ�าท้องถิ่น เข้าท�าหน้าที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ๔-๑ ล�าดับเหตุการณ์สา� หรับการตอบสนองเหตุการณ์ดา้ น คชรน. (เป็นการคาดการณ์) (ต่อ) เหตุการณ์ ริเริ่มจัดตั้งระบบ บัญชาการเหตุการณ์ ก�าหนดการบังคับบัญชา รักษาความปลอดภัย ที่เกิดเหตุเพื่อควบคุม การเข้า-ออก

ก�าหนดที่บัญชาการ เหตุการณ์

พิสูจน์ทราบอันตราย/ ประเมินสถานการณ์ (อย่างต่อเนื่อง)

การปฏิบัติ ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุการณ์ค้นหาความจ�าเป็น ในการจัดตั้งระบบบัญชาการเหตุการณ์ ผบ.เหตุการณ์ รับผิดชอบการบัญชาการและการควบคุม ในบริเวณที่เกิดเหตุ ผบ.เหตุการณ์ ก�าหนดการรักษาความปลอดภัยทีเ่ กิดเหตุ l ก�าหนดเขตรักษาความปลอดภัยโดยรอบที่เกิดเหตุ l ท�าให้มั่นใจว่าเป็นวิธีท�าให้เกิดความปลอดภัย และการก�าหนดต�าแหน่งทรัพยากรที่ใช้ตอบสนอง เหตุฉุกเฉินในบริเวณที่เกิดเหตุ l ก�าหนดพืน ้ ทีพ่ กั รอถือว่าเป็นวิธกี ารควบคุมทรัพยากร ที่ใช้ตอบสนองในบริเวณที่เกิดเหตุ ผบ.เหตุการณ์ จัดตัง้ ทีบ่ ญ ั ชาการเหตุการณ์ดา้ นนอกเขต ที่มีหรือคาดว่าจะมีอันตราย แต่ต้องอยู่ในระยะที่ใกล้ กับที่เกิดเหตุมากพอส�าหรับการบัญชาการเหตุการณ์ l เป็นต�าแหน่งที่ตั้งที่มีการกระจายข่าวสาร l การรายงานเหตุการณ์ทม ี่ กี ารด�าเนินการอย่างต่อเนือ่ ง ผู้ตอบสนองเหตุการณ์ .l ประเมินจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ (ป้ายประกาศ และเอกสารประกอบการขนส่ง) l พยายามตอบค�าถาม ต่อไปนี้  มีไฟไหม้, มีการหกเรีย่ ราด, หรือมีกลุม่ ควันหรือไม่  สภาพอากาศเป็นอย่างไร

77

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ๔-๑ ล�าดับเหตุการณ์สา� หรับการตอบสนองเหตุการณ์ดา้ น คชรน. (เป็นการคาดการณ์) (ต่อ) เหตุการณ์

การปฏิบัติ  สภาพภูมิประเทศเป็นแบบไหน  ใคร/อะไรที่ตกอยู่ในความเสี่ยง  มีอะไรบ้างที่ควรปฏิบัติ  อะไรที่ควรด�าเนินการเป็นกรณีเร่งด่วน (อพยพ, จัดที่หลบภัยในที่เกิดเหตุ หรือกู้ชีพโดยเร่งด่วน) ก�าหนดเขตควบคุม ผบ.เหตุการณ์ ก�าหนดเขตปลอดภัย, เขตเฝ้าระวัง อันตราย และเขตควบคุมอันตราย เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน มีความปลอดภัย จัดชุดปฏิบตั กิ ารเฉพาะกิจ ผบ.เหตุการณ์ จัดชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุเท่าที่มี ทรัพยากรอยู่ ภายใต้อา� นาจการบังคับบัญชาทีเ่ หมาะสม ผู้ตอบสนองเหตุการณ์เริ่มปฏิบัติการบนพื้นฐาน วางก�าลังชุดปฏิบัติการ ของภารกิจที่ได้รับมอบ ตอบสนอง

การตอบสนองเหตุล�าดับแรก (First Response) ๔-๖ การตอบสนองเหตุล�าดับแรก กระท�าโดยเจ้าหน้าที่ต�ารวจ ในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอกชน, พนักงานดับเพลิง และเจ้าหน้าที่เหตุฉุกเฉินโดยทั่วไป ผู้ตอบสนองเหตุล�าดับแรกคือ บุคคลที่ ประสบเหตุหรือที่พบเห็นการรั่วไหลแพร่กระจายของสสารอันตราย และ เป็นผู้ที่ได้รับการฝึกให้ริเริ่มตอบสนองเหตุฉุกเฉินล�าดับขั้นตอน ด้วยการ แจ้งเตือนการแพร่กระจายให้แก่ผมู้ อี า� นาจหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง หากเป็นผูต้ อบสนอง เหตุ ใ นขั้ น ที่ สู ง ขึ้ น ผู ้ ต อบสนองเหตุ ล� า ดั บ แรกหมายถึ ง บุ ค คลที่ ไ ด้ รั บ การฝึกการปฏิบัติการหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค 78

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๔-๗ ผู้ที่ท�าหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ตอบสนองเหตุล�าดับแรก มักเป็น เจ้าหน้าที่ต�ารวจในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอกชน, พนักงานดับเพลิง และเจ้าหน้าที่เหตุฉุกเฉิน ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ตั้งแต่เริ่มแรก มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและปกป้องชีวิต, ทรัพย์สิน, วัตถุพยาน และสิง่ แวดล้อม และยังครอบคลุมไปถึงผูท้ ดี่ า� เนินการตอบสนอง เหตุฉุกเฉินตามที่ได้นิยามไว้ใน “กฎหมายการรักษาความมั่นคงภายในปี ค.ศ. ๒๐๐๒” (Homeland Security Act of 2002)

การตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (Emergency Respose) ๔-๘ การตอบสนองเหตุฉกุ เฉินเกิดขึน้ เมือ่ ผูต้ อบสนองเหตุทมี่ าจาก นอกพืน้ ทีถ่ กู ส่งเข้าประจ�าการในพืน้ ทีท่ เี่ กิดเหตุการณ์ ในสถานการณ์ทสี่ ง่ ผล หรือมีแนวโน้มว่าไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของสสารอันตรายได้ ส� า หรั บ การตอบสนองเหตุ ก ารณ์ ที่ มี ก ารแพร่ ก ระจายสารอั น ตรายที่ ไม่ส่งผลกระทบด้านความปลอดภัยหรือไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ถือว่า เป็นการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน ๔-๙ หน้าที่อื่นๆ ที่เป็นตัวอย่างของการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน ได้แก่ การผจญเพลิง, การบังคับใช้กฎหมาย, การรักษาความปลอดภัย, การสนับสนุนทางการแพทย์, การจัดการเหตุฉุกเฉิน, การเก็บกู้และท�าลาย วัตถุระเบิด และการด�าเนินกิจการศพผู้เสียชีวิต

79

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผู้ตอบสนองเหตุการณ์ (Responder) ๔-๑๐ ผู้ตอบสนองเหตุการณ์ คชรน. เป็นเจ้าหน้าที่ทหารและ พลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมเป็นผูท้ ไี่ ด้รบั การฝึกให้ตอบสนองเหตุการณ์ คชรน. และได้ รั บ การรั บ รองการปฏิ บั ติ ก ารได้ อ ย่ า งปลอดภั ย ส� า หรั บ การตระหนักรู,้ การปฏิบตั กิ าร หรือระดับช�านาญการ ซึง่ เป็นไปตามข้อบังคับ แห่งรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกา ข้อ ๒๙ (29 CFR 1910.120) และระเบียบ ของสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) ข้อ ๔๗๒

ผูต้ อบสนองเหตุดา้ นเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (ระดับการตระหนักรู)้ (Chemical, Biological, Radiological and Nuclear Responder [Awareness level]) ๔-๑๑ ผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ในระดับการตระหนักรู้คือ ก�าลังพลที่เป็นผู้พบเห็นหรือประสบเหตุการณ์ด้าน คชรน. หรือมีการแพร่ กระจายสารอันตราย และเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกให้เริ่มล�าดับการตอบสนอง เหตุฉุกเฉินด้วยการแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ผู้มีอ�านาจจัดการเหตุการณ์ที่มีการ รั่วไหลแพร่กระจาย ซึ่งผู้ประสบเหตุไม่ต้องด�าเนินการใดๆ นอกเหนือ จากการแจ้งเจ้าหน้าทีผ่ มู้ อี า� นาจ ทัง้ นี้ ผูต้ อบสนองเหตุดา้ น คชรน. ในระดับ ตระหนักรู้ควรได้รับการฝึกในระดับที่มากพอ หรือมีประสบการณ์ที่แสดง ให้เห็นถึงสมรรถนะ ดังต่อไปนี้ l เข้าใจเกี่ยวกับ คชรน. หรือวัตถุอันตราย รวมทั้งความ เสี่ยงจาก คชรน. หรือจากวัตถุเหล่านั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ l เข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นพร้อมกับเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอาจยังคงมีวัตถุอันตรายอยู่ 80

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l

เกิดเหตุฉุกเฉิน

รับรู้ว่ามีอันตรายจาก คชรน. หรือวัตถุอันตรายเมื่อ

พิสูจน์ทราบสาร คชรน. หรือวัตถุอันตราย หากท�าได้ l เข้ า ใจเกี่ ย วกั บ บทบาทของผู ้ ต อบสนองเหตุ ใ นระดั บ การตระหนักรู้ ตามแผนการตอบสนองเหตุฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้ง การรักษาความปลอดภัยและการควบคุมทีเ่ กิดเหตุ และการปฏิบตั ติ ามคูม่ อื Emergency Response Guidebook (ปี 2012) [กรมควบคุมมลพิษได้ แปลคูม่ อื ฉบับนีโ้ ดยใช้ชอื่ ว่า “คูม่ อื ระงับอุบตั ภิ ยั เบือ้ งต้นจากวัตถุอนั ตราย”] ซึ่งเป็นคู่มือแนะน�าส�าหรับผู้สนองเหตุเป็นรายแรกในขั้นต้น ในขณะที่ ตอบสนองเหตุการณ์ด้านการขนส่งสินค้าอันตราย/วัตถุอันตราย l ทราบถึงความต้องการทรัพยากรเพิ่มเติม และได้แจ้งไป ยังศูนย์การติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง l

ผูต้ อบสนองเหตุดา้ น คชรน. (ระดับปฏิบตั กิ าร) (Operations Level) ๔-๑๒ ผูต้ อบสนองเหตุดา้ น คชรน. ในระดับปฏิบตั กิ ารคือ ก�าลังพล ที่ปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองเหตุที่เกิดจากการแพร่กระจายหรือมีโอกาสเกิด การแพร่กระจายสาร คชรน. หรือวัตถุอันตราย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ การตอบสนองในที่เกิดเหตุขั้นต้น เพื่อป้องกันบุคคล, ทรัพย์สิน และสภาพ แวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงจากผลกระทบที่เกิดจากการแพร่กระจาย ผูต้ อบสนองเหตุเหล่านีไ้ ด้รบั การฝึกการตอบสนองเหตุในเชิงรับ โดยทีไ่ ม่ตอ้ ง พยายามอย่างจริงจังเพื่อยับยั้งการแพร่กระจาย สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาจาก การฝึกในระดับทีต่ ระหนักรูค้ อื ผูท้ ตี่ อบสนองเหตุดา้ น คชรน. ในระดับปฏิบตั กิ าร ต้องได้รบั การฝึกหรือมีประสบการณ์เพียงพอทีจ่ ะแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะ ดังต่อไปนี้ 81

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ทราบถึ ง อั น ตรายพื้ น ฐานและเทคนิ ค การประเมิ น ความเสี่ยงด้าน คชรน. l ทราบถึงวิธก ี ารเลือกและใช้ยทุ ธภัณฑ์ปอ้ งกันตนได้อย่าง ถูกต้อง ส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุในระดับปฏิบัติการ l เข้าใจความหมายพืน ้ ฐานเกีย่ วกับวัตถุอนั ตรายและวัตถุ คชรน. l ทราบวิธก ี ารขัน้ พืน้ ฐานในการปฏิบตั กิ ารควบคุม, จัดการ, ปิดล้อม ภายใต้ขีดความสามารถของทรัพยากรและยุทธภัณฑ์ป้องกันตน เท่าที่มีอยู่อัตราของหน่วยของตน l ทราบถึงวิธก ี ารด�าเนินการตามขัน้ ตอนการท�าลายล้างพิษ ขั้นพื้นฐาน l เข้าใจถึงระเบียบปฏิบัติประจ�าที่เกี่ยวข้องและขั้นตอน การปฏิบัติเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ l

ผู้ตอบสนองเหตุในระดับผู้ช�านาญการ (Technician Level) ๔-๑๓ ผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ในระดับผู้ช�านาญการคือ ก�าลังพลที่ท�าหน้าที่ตอบสนองการแพร่กระจาย หรือมีโอกาสแพร่กระจาย โดยการยับยั้งการแพร่กระจายสาร คชรน. เหล่านั้น นอกเหนือจากการฝึก ในระดับการตระหนักรู้และการตอบสนองเหตุในระดับปฏิบัติการแล้ว ผู้ตอบสนองเหตุในระดับผู้ช�านาญการ ควรมีสมรรถนะดังต่อไปนี้ l ทราบถึงวิธก ี ารด�าเนินการตามแผนตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน 82

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ทราบถึงวิธกี ารระบุประเภท, การพิสจู น์ทราบ, การตรวจ สอบวัตถุที่ทราบแล้วหรือยังไม่ทราบโดยการใช้เครื่องมือและยุทโธปกรณ์ ส�ารวจที่ใช้กันในสนาม l สามารถปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามบทบาทหน้ า ที่ ต ามที่ ร ะบบ บัญชาการเหตุการณ์ก�าหนด l ทราบถึ ง วิ ธี ก ารเลื อ กและใช้ ยุ ท ธภั ณ ฑ์ ป ้ อ งกั น ตนได้ อย่างเหมาะสมในระดับเชี่ยวชาญ l ทราบถึงเทคนิคการประเมินอันตรายและการประเมิน ความเสี่ยง l ทราบวิธก ี ารขัน้ ก้าวหน้าในการปฏิบตั กิ ารควบคุม, จัดการ, ปิดล้อม ภายใต้ขีดความสามารถของทรัพยากรและยุทธภัณฑ์ป้องกันตน เท่าที่มีอยู่ในอัตราของหน่วยของตน l ทราบถึงวิธีการด�าเนินการตามขั้นตอนของการท�าลาย ล้างพิษ l เข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ l เข้ า ใจพื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ ศั พ ท์ ท างด้ า นพิ ษ วิ ท ยา และ พฤติกรรมของสาร คชรน. l

สภาพแวดล้อมในการตอบสนองเหตุการณ์ (Response Environment) ๔-๑๔ สภาพแวดล้อมในการตอบสนองเหตุการณ์ ได้แก่ การน�า หน่วย, การสื่อสาร และขั้นตอนการตอบสนอง 83

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

บทบาทของกระทรวงกลาโหม (Department of Defense Role) ๔-๑๕ การตอบสนองเหตุการณ์ของกองก�าลังภายใต้กระทรวง กลาโหม ซึ่งตอบสนองเหตุการณ์ภายในประเทศ หรือเป็นการปฏิบัติการ แก้ไขสถานการณ์ในต่างประเทศในบทบาทให้การสนับสนุน ซึง่ ไม่อยูภ่ ายใต้ การก�ากับของผู้บัญชาการเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อม การตอบสนองเหตุการณ์ภายใต้การน�าของกระทรวงกลาโหม ก�าลังทหาร จะอยู่ในฐานะที่มีบทบาทน�า ตัวอย่างเช่น ผู้บัญชาการกองก�าลังภาคพื้น อาจพัฒนาแผน (กระทรวงกลาโหมมีบทบาทน�า) เพื่อภารกิจการแก้ไข สถานการณ์ด้าน คชรน. ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตน หากจ�าเป็น ผู้บัญชาการกองก�าลังภาคพื้น อาจก�าหนด และ/หรือจัดตั้งกองก�าลัง เฉพาะกิจร่วมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ (CM JTF) ซึ่งกองก�าลังเฉพาะกิจร่วม สามารถปรับเปลี่ยนการจัดเพื่อให้บรรลุผลตามความต้องการจ�าเพาะ ส�าหรับภารกิจแก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน.

การควบคุมบังคับบัญชา (Comand and Control) ๔-๑๖ การควบคุมบังคับบัญชาประกอบด้วยการสือ่ สารในระหว่าง การแจ้งเตือน, การเตือนภัยและการรายงานระหว่างชุดปฏิบัติการต่างๆ, การติดต่อประสานงาน และอ�านาจในการตอบสนองเหตุการณ์ในกรณีเร่งด่วน

การแจ้งเตือน (Notification) ๔-๑๗ การแจ้งเตือนภารกิจให้การสนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์ ด้าน คชรน. เป็นการด�าเนินกรรมวิธผี า่ นช่องทางการบังคับบัญชาทางทหาร ตามปกติ ส�าหรับหน่วยที่ได้รับมอบกิจให้การสนับสนุนมักเริ่มต้นด้วย 84

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ระเบียบปฏิบตั ปิ ระจ�าของหน่วยในท้องถิน่ นัน้ ๆ โดยทัว่ ไป หน่วยมักได้รบั การ แจ้งเตือนเมือ่ มีการจัดตัง้ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ฉกุ เฉินเรียบร้อยแล้ว และกองบั ญ ชาการหน่ ว ยทหารมั ก ได้ รั บ การร้ อ งขอความช่ ว ยเหลื อ อย่างเป็นทางการ พร้อมกับส่งค�าสั่งเตรียม (warning order) ไปยังหน่วย ที่ได้รับมอบกิจให้การสนับสนุน

การเตือนภัยและการรายงาน (Warning and Reporting)

๔-๑๘ ขั้ น ตอนการเตื อ นภั ย และการรายงานทางทหารยั ง คงมี ผลบังคับใช้ ส�าหรับหน่วยทหารภายใต้กระทรวงกลาโหม ในขณะที่ให้การ สนับสนุนการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ศึกษา รายละเอียดเพิม่ เติมในคูม่ อื FM 3-11.3/MCWP 3-37.2A/NTTP 3-11.25/ AFTTP (I) 3-2.56) ขั้นตอนการรายงานทั่วไปเป็นวิธีการสื่อสารให้ทราบถึง อันตรายส�าหรับหน่วยของกระทรวงกลาโหมทีใ่ ห้การสนับสนุนการตอบสนอง เหตุการณ์ ส่วนการรายงานรูปแบบอืน่ ๆ ผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์อาจก�าหนดขึน้ ในระหว่างการปฏิบัติการตอบสนองเหตุการณ์ และควรมีการประสานงาน โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยทหารที่ให้การสนับสนุน ได้ปฏิบัติตาม

การติดต่อประสานงาน (Liaison)

๔-๑๙ การติดต่อประสานงานเป็นการให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ระหว่างหน่วยทหารทีใ่ ห้การสนับสนุนกับทีบ่ ญ ั ชาการเหตุการณ์ เพือ่ ให้มนั่ ใจ ว่ามีการติดต่อกัน ๒ ทางอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายรวมไปถึงข้อมูลแผน และค�าสั่งต่างๆ จากผู้บัญชาการเหตุการณ์ในระดับท้องถิ่น, ระดับรัฐ และ ในระดับชาติ ไปจนถึงข้อมูลเชิงสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น ข้อตกลงให้ความ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 85

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

อ�านาจการตอบสนองเหตุการณ์ในกรณีเร่งด่วน (Immediate-Response Authority)

๔-๒๐ การตอบสนองเหตุการณ์ในกรณีเร่งด่วน เป็นการปฏิบัติ การอย่างเร่งด่วนภายในประเทศ เพื่อช่วยชีวิต, ป้องกันไม่ให้ประชาชน ได้รับบาดเจ็บ หรือบรรเทาความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทรัพย์สิน ในการตอบสนองเหตุการณ์ตามที่มีการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีวัตถุอันตรายอย่างชัดแจ้ง โดยไม่มีเวลาขออนุมัติ จากผู้ที่อ�านาจสูงกว่า (ตามคู่มือเอกสารร่วม JP 3-28) ๔-๒๑ นโยบายของกระทรวงกลาโหมส�าหรับการปฏิบัติการใน กรณีเร่งด่วนเพือ่ ช่วยชีวติ , ป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รบั บาดเจ็บ และบรรเทา ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทรัพย์สิน ได้ให้อ�านาจแก่ผู้บัญชาการ หน่วยทหาร หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวง กลาโหม เพื่อด�าเนินการตอบสนองเหตุการณ์ตามที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ร้องขอให้มีการสนับสนุนทางทหารในกรณีฉุกเฉิน นโยบายนี้เป็นไปตาม “กฎหมายสาธารณะ (Public Law) ๙๓-๒๒๘” ซึ่ ง รู ้ จั ก กั น ดี ใ นชื่ อ “The Stafford Act” โดยทีก่ ฎหมาย Stafford Act ได้ให้อา� นาจผูบ้ ญ ั ชาการ หน่วยทหารเข้าด�าเนินการ l สนั บ สนุ น การตอบสนองเหตุ ก ารณ์ โ ดยไม่ มี ค� า สั่ ง หรื อ การกระตุ้นเตือนอย่างเป็นทางการ เมื่อเกิดสถานการณ์เร่งด่วน, มีสภาพ ร้ายแรง, และไม่มีเวลาเพื่อการขออนุมัติจาก บก.หน่วยเหนือ l ช่ ว ยชี วิ ต ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ป ระชาชนได้ รั บ บาดเจ็ บ หรื อ บรรเทาความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทรัพย์สิน ภายใต้สถานการณ์ เร่งด่วนและมีความร้ายแรง โดยไม่ต้องมีการประกาศของผู้น�าประเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยพิบัติร้ายแรง การเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน 86

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๔-๒๒ ในขณะที่นโยบายของกระทรวงกลาโหมอนุญาตให้มีการ ตอบสนองเหตุการณ์ในกรณีเร่งด่วน จ�าเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บัญชาการหน่วย ทหารต้องให้ขอ้ เสนอแนะแก่รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมผ่านทางสาย การบังคับบัญชาหรือใช้วธิ กี ารอย่างอืน่ ด้วยความรวดเร็ว เพือ่ ขออนุมตั หิ รือ ขออนุญาตด�าเนินการเพิม่ เติมหากจ�าเป็น ถึงแม้วา่ การตอบสนองเหตุการณ์ ในกรณีเร่งด่วน อาจอยู่บนหลักการที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายทดแทนได้ แต่ไม่ควรท�าให้เกิดความล่าช้าหรือถูกปฏิเสธ อันเนื่องมาจากผู้ร้องขอ ความช่วยเหลือไม่มีความสามารถ หรือไม่เต็มใจจ่ายเงินชดเชยตามที่ได้ ท�าข้อตกลงไว้กับกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการหน่วยทหารต้องหมั่นฝึก ให้มีความระมัดระวังขั้นสูงสุด หากได้รับเลือกให้ส่งก�าลังเข้าประจ�าการ ภายใต้โอกาสการตอบสนองเหตุการณ์ในกรณีเร่งด่วน การตอบสนอง เหตุการณ์ในกรณีเร่งด่วนไม่ได้อยูบ่ นหลักการของข้อตกลงในการช่วยเหลือ ซึง่ กันและกัน ในขณะทีน่ โยบายนีม้ คี วามยืดหยุน่ มากทีส่ ดุ ผูบ้ ญ ั ชาการหน่วย ทหารต้องมั่นใจว่าการสั่งให้กองก�าลังทหารเข้าประจ�าการเพื่อตอบสนอง เหตุการณ์ในกรณีเร่งด่วนเป็นหนทางเลือกสุดท้าย

ล�าดับขั้นในการตอบสนองเหตุการณ์ (Tiered Response) ๔-๒๓ กองก�าลังภายใต้กระทรวงกลาโหมที่ถูกส่งเข้าวางก�าลัง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของล�าดับขั้นการตอบสนองเหตุการณ์ท่ีมีความยืดหยุ่น และเป็นการสนับสนุนทางทหารทีไ่ ด้ปรับเปลีย่ นให้เป็นไปตามการสนับสนุน การตอบสนองเหตุการณ์ในล�าดับขั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ และในขั้นที่ ๓ ขอบเขต และขนาดของการตอบสนองเหตุของหน่วยทหาร มักมุ่งเน้นไปที่ขีดความ สามารถเพื่อให้บรรลุกับความต้องการในการตอบสนองซึ่งมีทรัพยากร มากกว่าหน่วยงานฝ่ายพลเรือน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือ JP 3-41) 87

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การตอบสนองเหตุการณ์ในขั้นที่ ๑ (Tier I) ๔-๒๔ โดยปกติแล้ว การตอบสนองเหตุการณ์ในขั้นที่ ๑ เป็น การตอบสนองเหตุการณ์ขนาดเล็ก ซึง่ อาจเป็นเหตุการณ์ดา้ น คชรน. ในระดับ ท้องถิ่น ในสถานการณ์ขั้นที่ ๑, นายทหารประสานการป้องกันสามารถฝึก การบัญชาการหน่วยทหารขนาดเล็กเท่าที่จ�าเป็น และยังคงปฏิบัติหน้าที่ ได้ตามขั้นตอนของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

การตอบสนองเหตุการณ์ในขั้นที่ ๒ (Tier II) ๔-๒๕ โดยปกติแล้ว ลักษณะการตอบสนองเหตุการณ์ในขั้นที่ ๒ มักเป็นเหตุการณ์ทตี่ รงกับเกณฑ์ทรี่ ฐั มนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมก�าหนด ให้ใช้แผนของประธานคณะเสนาธิการร่วม CONPLAN 0500 (ปัจจุบันนี้ แผนนี้ล้าสมัยแล้ว) และจ�าเป็นต้องจัดตั้งกองก�าลังเฉพาะกิจร่วมเพื่อ ตอบสนองเหตุการณ์ ส�าหรับการตอบสนองเหตุการณ์ในขัน้ ที่ ๒ มักใช้หน่วย ภายใต้กระทรวงกลาโหม อาทิ หน่วย, ส่วนแยก, ชุดปฏิบัติการ, สิ่งอุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์พิเศษนอกเหนือจากหน่วยปกติ

การตอบสนองเหตุการณ์ในขั้นที่ ๓ (Tier III) ๔-๒๖ การตอบสนองเหตุการณ์ในขั้นที่ ๓ มักเกี่ยวข้องกับภาพ ฉากเหตุการณ์ด้าน คชรน. ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งส่งผลกระทบ ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป็นบริเวณกว้างหรือส่งผลกระทบต่อประชาชน เป็นจ�านวนมาก ทั้งนี้อาจส่งผลคุกคามต่อความมั่นคงของชาติด้วย 88

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ขั้นการปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ (Joint Operational Phases for Consequence Management) ๔-๒๗ การตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน. เป็นความพยายาม ในการจัดหน่วยเพื่อตอบสนองเหตุการณ์ โดยหน่วยที่ถูกส่งเข้าประจ�าการ เพื่ อ บรรเทาผลอั น ตรายที่ เ กิ ด อย่ า งฉุ ก เฉิ น จากการจงใจหรื อ ไม่ จ งใจ เพื่อท�าให้เกิดการแพร่กระจายสาร คชรน. ผู้อ�านวยการส่วนสนับสนุน ทางทหารร่วม ซึง่ อยูภ่ ายในกรมยุทธการ ฝ่ายอ�านวยการร่วม เป็นผูอ้ อกค�าสัง่ ทางทหารทีส่ อดคล้องกับเหตุฉกุ เฉินภายในประเทศ กรมยุทธการ ฝ่ายอ�านวยการ ร่วม เสนอค�าสั่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเพื่อลงนามอนุมัติ แล้วแจกจ่ายค�าสั่งนั้นไปยัง ผบ.หน่วยทหารเพื่อน�าไปปฏิบัติ ทั้งนี้ควรเริ่ม ขั้นตอนการปฏิบัติ ๖ ขั้น เมื่อมีการร้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ทีม่ บี ทบาทน�าหรือหน่วยงานหลักอืน่ ๆ โดยปกติแล้ว การตอบสนองเหตุการณ์ ควรเริ่มด�าเนินการตามล�าดับขั้นดังนี้ l ขั้นที่ ๑ หน่ ว ยงานที่ มี บ ทบาทน� า หรื อ หน่ ว ยงานหลั ก อื่นๆ ส่งค�าร้องขอรับการสนับสนุน l ขั้นที่ ๒ ค� า ร้ อ งขอรั บ การสนั บ สนุ น จะถู ก ส่ ง ไปยั ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อประเมินผลและด�าเนินกรรมวิธี l ขั้นที่ ๓ ค� า ร้ อ งขอรั บ การสนั บ สนุ น ได้ รั บ การด� า เนิ น กรรมวิธีและส่งไปยังรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (ฝ่ายป้องกัน ประเทศ) และไปยังผู้อ�านวยการส่วนสนับสนุนทางทหารร่วม l ขั้นที่ ๔ ผู ้ อ� า นวยการส่ ว นสนั บ สนุ น ทางทหารร่ ว ม จัดท�าค�าสั่ง 89

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ขั้นที่ ๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอนุมัติค�าสั่ง l ขั้นที่ ๖ ผู ้ อ� า นวยการส่ ว นสนั บ สนุ น ทางทหารร่ ว ม แจกจ่ายค�าสัง่ ไปยังผูบ้ ญ ั ชาการทหารหน่วยรบ, หน่วยบริการ และหน่วยอืน่ ๆ ที่เหมาะสม l

การร้องขอรับการสนับสนุน (Request for Support) ๔-๒๘ เมื่ อ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ ด ้ า น คชรน. หน่ ว ยงานที่ มี บ ทบาท น�าได้รับและจัดท�าค�าขอรับการสนับสนุน กระทรวงกลาโหมได้รับกิจให้ จัดสรรทรัพยากรเพือ่ ให้การสนับสนุน ถึงแม้วา่ กิจทีห่ น่วยได้รบั อาจมีลกั ษณะ จ�าเพาะ หน่วยที่ร้องขอรับการสนับสนุนอาจถามถึงขีดความสามารถเพื่อ ต้องการทราบถึง สิ่งที่ขาดแคลน ส�าหรับรายชื่อหน่วยและ/หรือการปฏิบัติ ที่สามารถให้การสนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ได้ แสดงไว้ใน ผนวก ค ๔-๒๙ หน่วยงานที่มีบทบาทน�าอาจมีการใช้แบบค�าร้องขอรับการ สนับสนุนทีก่ า� หนดขึน้ เพือ่ ให้กระบวนการร้องขอรับการสนับสนุนด�าเนินไป อย่างรวดเร็ว ก่อนการเริม่ จัดท�าแบบค�าร้องขอรับการสนับสนุนผูท้ จี่ ดั เตรียม แบบค�าร้องขอควรพิจารณาว่า มีหน่วยงานระดับชาติหน่วยใดทีม่ ขี ดี ความสามารถ ที่มีลักษณะจ�าเพาะตรงตามความต้องการ ๔-๓๐ เนื่ อ งจากแบบค� า ขอรั บ การสนั บ สนุ น สามารถช่ ว ยลด ในเรื่องของเวลาในการตอบสนองเหตุการณ์ ดังนั้น ผู้ที่จัดเตรียมแบบ ค�าร้องขอรับการสนับสนุน ควรจัดเรียงล�าดับขีดความสามารถที่สอดคล้อง กับเหตุการณ์ เมื่อเริ่มจัดเตรียมแบบค�าขอรับการสนับสนุนควรพิจารณา ถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 90

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l

ขีดความสามารถที่มีลักษณะจ�าเพาะของหน่วยให้การ

สนับสนุน ขีดความสามารถในการช่วยชีวติ ของหน่วยให้การสนับสนุน l หน่วยที่มีขีดความสามารถอาจช่วยลดขอบเขต ระดับ ความรุนแรง และ/หรือผลกระทบจากเหตุการณ์ได้ l

การเตรียมพร้อม (Alert) ๔-๓๑ เมื่อได้รับการแจ้งถึงภารกิจการตอบสนองเหตุด้าน คชรน. แล้ว ชุดปฏิบตั กิ ารสนับสนุนกิจทางทหารเริม่ ขัน้ ตอนการเตรียมพร้อมในทีต่ งั้ และเตรียมการเพื่อส่งก�าลังเข้าประจ�าการในที่เกิดเหตุ ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายอ�านวยการรวบรวมข้อมูลทีจ่ า� เป็น เพือ่ เตรียมความพร้อมของหน่วย ส�าหรับความพยายามสนับสนุนการตอบสนองเหตุการณ์

การส่งก�าลังเข้าประจ�าการ (Deploy) ๔-๓๒ การส่งก�าลังเข้าประจ�าการ เป็นความจ�าเป็นที่ต้องมีหน่วย สนับสนุนทางทหารในเวลาอันเหมาะสมซึ่งเป็นปัจจัยส�าคัญอันจะน�าไปสู่ ความส�าเร็จ การจัดตั้งฐานปฏิบัติการให้การสนับสนุนซึ่งอาจด�าเนินการ ในขั้นการเตรียมพร้อม หรือในห้วงการเปลี่ยนผ่านในระหว่างขั้นนี้ถือเป็น ข้อพิจารณาที่ส�าคัญ หน่วยตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ที่ได้รับค�าสั่งจาก หน่วยแม่และจากเหล่าทัพ มีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานและ ปฏิบัติการเพื่อการด�าเนินการวางก�าลังในขั้นต้น รวมไปถึงการเคลื่อนย้าย ไปยั ง สถานี ข นถ่ า ยและการปฏิ บั ติ ที่ ส ถานี ข นถ่ า ยและการเคลื่ อ นย้ า ย 91

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ให้มาถึงสถานีขนถ่าย การเข้าประจ�าการจะสิ้นสุดลงเมื่อกองก�าลังทหาร ของกระทรวงกลาโหมได้ด�าเนินการระวังป้องกันโดยรอบที่ตั้งใหม่ของ หน่วยตนเรียบร้อยแล้ว และผู้บัญชาการหน่วยทหารที่ให้การสนับสนุน ตรวจสอบความพร้ อ มของกองก� า ลั ง ที่ เ ข้ า ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ข้ อ พิ จ ารณา ในการส่งก�าลังเข้าประจ�าการ มีดังนี้ l ใช้ รู ป แบบการขนส่ ง ทั้ ง หมดที่ อ ยู ่ เพื่ อ สนั บ สนุ น การ วางก�าลังหน่วยทหารที่ให้การตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. l จัดล�าดับขัน ้ การเคลือ่ นย้ายหน่วยตอบสนองเหตุการแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. เพื่อว่าขีดความสามารถด้านการขนส่ง จะไม่คับคั่งมากจนเกินไป l จัดล�าดับความเร่งด่วนในการเคลือ ่ นย้ายหน่วยตอบสนอง เหตุการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. l ให้ วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคแก่ ก� า ลั ง พลของหน่ ว ยตอบสนอง เหตุการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. เพื่อป้องกันไม่ให้รั้งหน่วง ลักษณะการตอบสนองเหตุโดยไม่จ�าเป็น l มัน ่ ใจว่าหน่วยได้บรรลุถงึ มาตรฐานการสนับสนุนบริการ สุขภาพที่ก�าหนดขึ้น ส�าหรับการปฏิบัติการก่อนการเข้าวางก�าลังในพื้นที่ ปฏิบัติการ l ประสานกับหน่วยฐานทีห ่ น่วยให้การสนับสนุน เพือ่ รอรับ, พักรอ, การเคลื่อนย้ายไปข้างหน้า และการปฏิบัติการในเชิงบูรณาการ 92

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเปลี่ยนผ่าน (Transition) ๔-๓๓ การเปลี่ยนผ่านครอบคลุมไปถึงกิจทั้งหมดที่ยังค้างอยู่ ซึ่ง ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุของกระทรวงกลาโหมต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น ก่อนการปฏิบัติการถอนก�าลัง การปฏิบัติการเปลี่ยนผ่านจะได้อธิบายอย่าง ละเอียดในบทที่ ๕

การถอนก�าลัง (Redeployment) ๔-๓๔ การถอนก�าลังหน่วยทหารทีใ่ ห้การสนับสนุน มักเป็นไปตาม การสั่งการของผู้บัญชาการหน่วยทหาร การถอนก�าลังจะได้อธิบายโดย ละเอียดในบทที่ ๕

การตอบสนองเหตุการณ์ด้านเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (Chemical, Biological, Radiological and Nuclear Response) ๔-๓๕ การปฏิ บั ติ ก ารตอบสนองเหตุ ก ารณ์ จ ะเริ่ ม ขึ้ น หลั ง จาก เกิดเหตุการณ์ไปแล้ว มาตรการตอบสนองเหตุ ได้แก่ การตอบสนองเหตุเป็น รายแรกและการตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน, การจัดตัง้ ระบบบัญชาการเหตุการณ์, การบังคับใช้มาตรการควบคุมที่จ�าเป็น และการปฏิบัติหน้าที่ที่จ�าเป็นต่อ ภารกิจ ซึ่งเกิดขึ้นภายในเขตที่มีการควบคุมอันตราย

สิ่งบอกเหตุ (Triggering Incident) ๔-๓๖ สิง่ บอกเหตุ หมายถึงเหตุการณ์เริม่ ปรากฏขึน้ หรือเหตุการณ์ ได้พัฒนาการไปตามล�าดับ ส่งผลให้มีการปฏิบัติการตอบสนอง สิ่งบอกเหตุ มี ส ่ ว นช่ ว ยในการตั ด สิ น ใจว่ า เมื่ อ ไรจึ ง จะเริ่ ม การตอบสนองเหตุ ก ารณ์ 93

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

สิ่งบอกเหตุอาจได้รับการตอบสนองโดยทันทีจากกระทรวงกลาโหม (เมื่อ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ก�าหนด) หรือการตอบสนองอาจถูกชะลอไว้เนื่องจาก ต้ อ งมี ก ารตรวจสอบค� า ร้ อ งขอรั บ การสนั บ สนุ น จากกระทรวงกลาโหม เสียก่อน ข้อมูลทีไ่ ด้จากสิง่ บอกเหตุมสี ว่ นช่วยสนับสนุนการประเมินเหตุการณ์ ทีด่ า� เนินการอย่างต่อเนือ่ งและส่งผลต่อการปฏิบตั กิ ารตอบสนองทีจ่ ะเกิดขึน้ การปฏิบตั กิ ารตอบสนองทีม่ ปี ระสิทธิภาพย่อมผลักดันให้ขนั้ การปฏิบตั กิ าร ฟื้นฟูมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งจะจ�ากัดความรุนแรงของเหตุการณ์ในการ ปฏิบัติการ และช่วยลดจ�านวนผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมดลงไปได้ ๔-๓๗ สิง่ บอกเหตุจากเครือ่ งมือตรวจเกิดขึน้ เมือ่ เครือ่ งมือตรวจพบ การมีอยู่ของสาร คชรน. ที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เครื่องมือตรวจออกแบบ มาให้สามารถตรวจสาร คชรน. ได้บางประเภทเท่านั้น เนื่องจากข้อจ�ากัด ในเรือ่ งของความไวต่อสาร คชรน. ของเครือ่ งมือตรวจ และมีความเป็นไปได้ ในการแสดงผลการตรวจเป็นผลบวกลวง (false-positive) และผลลบลวง (false-negative) ๔-๓๘ สิ่งบอกเหตุจากการใช้อาวุธ หมายถึงการโจมตีด้วยระบบ อาวุธอย่างฉับพลัน (เช่น ขีปนาวุธโจมตีในระดับยุทธบริเวณ ลูกระเบิดพวง และปืนใหญ่ทบี่ รรจุสาร คชรน.) หากข่าวกรองบ่งชีว้ า่ ฝ่ายตรงข้ามมีขดี ความสามารถ ด้านอาวุธ คชรน. เมื่อมีการใช้อาวุธในบริเวณที่มีภัยคุกคามสูงมักเริ่ม ด้วยการโจมตีจากสารที่ไม่ทราบชนิด (unknown agent) กระบวนการ ตรวจสอบการโจมตีอาจได้มาจากการเตือนภัยการโจมตี การแจ้งเตือน ภัยจากเครื่องตรวจ หรือตรวจพบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธ ในระหว่างการโจมตีหรือเพิง่ ผ่านการโจมตี เจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงควรตรวจสอบ ดูวา่ เป็นการโจมตีดว้ ยอาวุธ คชรน. หรือไม่ โดยเน้นไปทีก่ ารริเริม่ ด�าเนินการ 94

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ทันทีในการตรวจหา เฝ้าสังเกตการณ์ หรือตรวจหาสิ่งบอกเหตุอื่น ๆ ที่บ่งชี้ ถึ ง การโจมตี ก่ อ นที่ จ ะพบผู ้ บ าดเจ็ บ ล้ ม ตายจ� า นวนมากที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ในระหว่างการโจมตีซึ่งเป็นการช่วยรักษาชีวิตผู้คนเอาไว้ได้ ๔-๓๙ การเฝ้าระวังทางการแพทย์เป็นวิธีการแรกในการตรวจพบ เหตุการณ์ดา้ น คชรน. โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกรณีทมี่ ผี ทู้ า� หน้าทีเ่ วรยามเกิด การเจ็บป่วยหลังจากพบว่ามีการลักลอบการโจมตีดว้ ยอาวุธชีวะการเจ็บป่วย ของผูท้ า� หน้าทีเ่ วรยาม-เป็นสิง่ บอกเหตุทห่ี มายถึงการตรวจพบของเจ้าหน้าที่ ทางการแพทย์ในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารชีวะหรือโรคติดเชื้อ โดยการ ประเมินแนวโน้ม ลักษณะอาการทางการแพทย์ในหมูก่ า� ลังพลหรือการวินจิ ฉัย จากผู้ป่วยต้นปัญหา (index case) การปฏิบัติการตอบสนองอยู่บนพื้นฐาน จากการเจ็บป่วยของผู้ท�าหน้าที่เวรยาม ซึ่งอาจเริ่มต้นได้ดีที่มุ่งตรงไปยัง วงจรการพัฒนาการของเชื้อโรค การเฝ้าระวังทางการแพทย์ในระดับสูงสุด อาจด�าเนินการผ่านทางเครือข่ายเฝ้าระวังทางการแพทย์ในระดับยุทธบริเวณ ซึ่งการระบาดวิทยามุ่งเน้นไปที่การติดตามลักษณะอาการทางการแพทย์ ให้ครอบคลุมทั่วทั้งเขตยุทธบริเวณ ๔-๔๐ สิง่ บอกเหตุจากข่าวกรอง เมือ่ ผูบ้ งั คับบัญชาได้รบั ข่าวกรอง ที่บ่งชี้ว่าฝ่ายตรงข้ามมีขีดความสามารถด้านอาวุธ คชรน. เชิงรุก นั่นคือ มีการด�าเนินการคุกคามด้วยวิธกี ารไม่ปกติอนั เกีย่ วข้องกับการใช้สาร คชรน. หรืออาจเป็นการโจมตีเป้าหมายจ�าเพาะเจาะจงด้วยอาวุธ คชรน. การเตือน ภัยด้านการข่าวเป็นการแจ้งให้ทราบถึงสิ่งบอกเหตุที่ท�าให้ผู้บังคับบัญชา มีโอกาสที่ดีที่สุดเพื่อเตรียมการตอบสนอง 95

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การตอบสนองเป็นรายแรกและการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (First and Emergency Responses) ๔-๔๑ จากพื้นฐานของการประเมินในขั้นต้นและการประเมิน ในล�าดับต่อมา การตอบสนองเหตุการณ์ดา้ น คชรน. สามารถปรับเปลีย่ นไป ตามโอกาสและขนาดของสถานการณ์ และขึ้นอยู่กับหน่วยตอบสนองเหตุ ที่ได้รับการร้องขอ ซึ่งเป็นไปตามความเหมาะสม ๔-๔๒ ผู้ตอบสนองเหตุเป็นรายแรกคือ เจ้าหน้าที่ต�ารวจประจ�า ท้องถิ่น, พนักงานดับเพลิง และเจ้าหน้าที่ผจญเหตุฉุกเฉิน ซึ่งมักประสบ และพบเห็นการแพร่กระจายสาร คชรน. และได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ที่ รับผิดชอบในการแพร่กระจายตามความเหมาะสม ผูต้ อบสนองเหตุเป็นรายแรก จะใช้ทรัพยากร (ตามทีร่ ะบุไว้ใน “คูม่ อื ระงับอุบตั ภิ ยั เบือ้ งต้นจากวัตถุอนั ตราย”: เป็นคู่มือเบื้องต้นส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุเป็นรายแรก เมื่อเกิดเหตุการณ์ ในระหว่างการขนส่งสินค้า/วัตถุอันตราย) เพื่อตรวจพิสูจน์ทราบอันตราย ที่เกิดขึ้นและหาขอบเขตควบคุมอันตราย โดยที่เขตนี้ได้น�าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของข้อพิจารณาเกี่ยวกับวัตถุ คชรน. การคุกคามต่อประชาชนและต่อพื้นที่ และสภาพอากาศ ความพยายามของชุดปฏิบัติการตอบสนองเป็นรายแรก ที่มาถึงที่เกิดเหตุ คือการควบคุมเขตอันตรายและไม่อนุญาตให้ใครเข้าไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากที่บัญชาการเหตุการณ์เสียก่อน ๔-๔๓ การตอบสนองเหตุ ฉุ ก เฉิ น เป็ น การด� า เนิ น การของ ผู้ตอบสนองเหตุที่ผ่านการฝึก ซึ่งมาจากนอกพื้นที่ที่เกิดการแพร่กระจาย การตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ด�าเนินการโดยเจ้าหน้าที่ทหารที่ท�าหน้าที่ ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น การท�าลาย ล้างพิษ การประเมินที่เกิดเหตุ การวางแผนตอบสนอง และการควบคุม บังคับบัญชา 96

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผู้ท�าหน้าที่แรกรับผู้ป่วย (First Receivers) ๔-๔๔ บุคลากรที่ท�าหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพ ณ สถานพยาบาล ที่ก�าหนดให้เป็นที่แรกรับผู้ป่วยเปื้อนพิษเข้ารักษา ก็ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ตอบสนองเหตุกลุม่ ย่อยด้วยเช่นกัน (นักผจญเพลิง เจ้าหน้าทีบ่ งั คับใช้กฎหมาย ชุดปฏิบตั กิ ารจัดการวัตถุอนั ตราย และเจ้าหน้าทีบ่ ริการประจ�ารถพยาบาล) ผู้ตอบสนองเหตุส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานในบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ (บริเวณ ที่เกิดการแพร่กระจายรั่วไหล) ซึ่งแตกต่างจากค�านิยามส�าหรับผู้ที่ท�าหน้าที่ แรกรับผู้ป่วย นั่นคือข้อสันนิษฐานที่ว่าโรงพยาบาลไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณ ทีเ่ กิดเหตุ แต่อยูค่ อ่ นข้างห่างไกลจากสถานทีท่ เี่ กิดการแพร่กระจายสารอันตราย (รายละเอียดเพิ่มเติมอ้างอิงจาก OSHA “แนวการปฏิบัติที่ดีที่สุดส�าหรับ โรงพยาบาล-เป็ น ฐานแรกรั บ ผู ้ ป ่ ว ยจากเหตุ ที่ มี ผู ้ บ าดเจ็ บ จ�า นวนมาก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายสสารอันตราย” [OSHA Best Practices for Hospital-Based First Receivers of Victims From Mass Casualty Incidents Involving the Release of Hazardous Substances])

ระบบบัญชาการเหตุการณ์ในขั้นต้น (Incident Command System Initiation) ๔-๔๕ ภายใต้ ส ภาพแวดล้ อ มที่ มี ก ารใช้ ร ะบบการบั ญ ชาการ เหตุการณ์ ผู้ตอบสนองเหตุอาวุโสมากที่สุดในบริเวณที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็น ผู้ท่ีมีประสบการณ์ส�าหรับเหตุการณ์ในแต่ละประเภท เป็นผู้รับผิดชอบ ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์รับผิดชอบ ในการสัง่ การ ประเมิน จัดล�าดับความเร่งด่วน และควบคุมการใช้ทรัพยากร โดยอาศัยอ�านาจของกฎหมาย อ�านาจขององค์กร หรือการได้รบั มอบอ�านาจ 97

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ในขณะที่การตอบสนองเหตุได้พัฒนาไปบทบาทของผู้บัญชาการเหตุการณ์ ได้เปลี่ยนไปให้ผู้ตอบสนองเหตุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าที่เพิ่งเข้ามาถึง ที่เกิดเหตุหรือเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมาท�าหน้าที่ รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ ย วกั บ หน้ า ที่ ข องผู ้ บั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ สามารถศึ ก ษาได้ จ ากคู ่ มื อ TM 3-11.42/MCWP 3-38.1/NTTP 3-11.36/AFTTP 3-2.83 หรือ จาก “กรอบการตอบสนองเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ” (ในรูปที่ ๔-๒ แสดงถึง โครงสร้างการจัดที่บัญชาการเหตุการณ์) ผบ.เหตุการณ์

การบังคับบัญชา

เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์

เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ ประสานงาน

ส่วนปฏิบัติการ

ส่วนแผน

ส่วนส่งก�าลังบ�ารุง

ส่วนธุรการ/การเงิน

เหล่าทัพ

งานทรัพยากร

งานส่งก�าลัง สป.

งานการเรียกร้อง

กองพล/กรม แหล่งทรัพยากร

งานสถานการณ์ งานการถอนก�าลัง งานจัดท�าเอกสาร/ คู่มือผู้เชี่ยวชาญ ทางเทคนิค

งานส่งก�าลังอาหาร งานสนับสนุน ทางภาคพื้นดิน งานการสื่อสาร

ค่าเสียหาย/ค่าชดเชย งานจัดหา งานประเมินค่าใช้จ่าย งานประเมินเวลา

งานสิ่งอ�านวย ความสะดวก แพทย์/การรักษา

รูปที่ ๔-๒ โครงสร้างการบังคับบัญชาของระบบบัญชาการเหตุการณ์

98

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประเมินสถานที่ (Site Assessment) ๔-๔๖ ถึงแม้ว่าผู้บัญชาการจะเริ่มการประเมินสถานที่ ซึ่งอาจ ด�าเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนที่หน่วยทหารตอบสนองเหตุจะเดินทางมาถึง ที่ เ กิ ด เหตุ การประเมิ น เป็ น กระบวนการที่ ด� า เนิ น การอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง การประเมินสถานที่เกิดเหตุอาจต้องค�านึงปัจจัยหลายประการ รวมไปถึง l สภาพอากาศ l สภาพภูมิประเทศ l โครงสร้างพื้นฐาน l คุณลักษณะของสาร (สภาพความไวไฟ, สภาพความเป็นพิษ, สภาพการกัดกร่อน, สภาพการแผ่รังสี และระดับก๊าซออกซิเจน) l ขีดความสามารถของหน่วยตอบสนอง l ภาระการปฏิบัติงาน l เวลา l ก�าหนดเส้นตาย ๔-๔๗ งานอื่นๆ ที่สนับสนุนการประเมินซึ่งรวมไปถึงการตรวจหา การตรวจพิสูจน์ทราบ และการเฝ้าระวังสาร คชรน. ผลจากการตรวจหา การตรวจพิสูจน์ทราบ และการเฝ้าระวัง เป็นการสนับสนุนการพิสูจน์ทราบ อันตรายที่มีลักษณะจ�าเพาะรวมทั้งเป็นการตรวจสอบขอบเขตและระดับ การเปื้อนพิษด้วย ๔-๔๘ การสนับสนุนการประเมินด้านอื่น ๆ ในระหว่างการปฏิบัติ การตอบสนอง อาจได้มาจากหน่วยงานระดับชาติที่ให้การสนับสนุนบริการ ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค 99

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

มาตรการควบคุม (Control Measures) ๔-๔๙ ผู้บัญชาการเหตุการณ์เป็นผู้ก�าหนดมาตรการควบคุม เพื่อ ป้องกันและลดการแพร่กระจายการเปือ้ นพิษ การบาดเจ็บหรือการเสียชีวติ ของมนุษย์ ความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม และความเสียหายต่อทรัพย์สิน ที่เกิดจากการแพร่กระจายหรือมีโอกาสแพร่กระจายของสาร คชรน. หรือ วัตถุอันตราย มาตรการควบคุมทั้งปวงมีการประสานและควบคุมผ่านทาง ผู้บัญชาการเหตุการณ์ จุดศูนย์รวมข้อมูลส�าคัญ (เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการ มีอยู่ของสาร คชรน. หรือระดับขีดจ�ากัดสูงสุดส�าหรับการได้รับสาร คชรน.) ผู้บัญชาการเหตุการณ์ควรตรวจสอบระดับการป้องกัน ซึ่งใช้สวมใส่หรือ มีพร้อมไว้ส�าหรับการใช้งานในแต่ละเขตควบคุมอันตราย มาตรการควบคุม อื่น ๆ อาจได้แก่ l ยุ ท ธภั ณ ฑ์ ป ้ อ งกั น ตน (PPE) จากการพิ จ ารณาด้ า น อันตรายและสภาพอันตรายในขณะนั้น ผู้บัญชาการเหตุการณ์จะใช้การ ปฏิบัติการต่อเหตุฉุกเฉินและมั่นใจว่ายุทธภัณฑ์ป้องกันตนมีการสวมใส่ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่คาดว่ามีอันตราย ตัวอย่างเช่น ผู้ตอบสนองเหตุ ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับการป้องกัน คชรน. และตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน อาจได้รบั ปริมาณสารอันตรายที่ประมาณการได้ ต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายป้องกัน แบบมีแรงดันภายในสูงกว่าแรงดันภายนอก พร้อมกับมีเครื่องช่วยหายใจ (SCBA) ซึง่ ผูต้ อบสนองเหตุตอ้ งสวมใส่เครือ่ งแต่งกายลักษณะนีต้ อ่ ไปจนกว่า ผู้บัญชาการเหตุการณ์หรือผู้ที่ได้แต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย ได้ตรวจสอบแล้วว่าการลดระดับการป้องกันระบบทางเดินหายใจแล้ว จะไม่ท�าให้ได้รับอันตราย 100

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การจ�ากัดการเข้า-ออกพืน้ ที่ ผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์จา� กัด จ�านวนก�าลังพลผู้ตอบสนองเหตุ ที่ผ่านเข้าไปสัมผัสหรือมีโอกาสสัมผัส เหตุการณ์หรือบริเวณที่มีอันตราย ก�าลังพลถูกจ�ากัดให้แต่เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติ หน้าที่ตอบสนองเหตุฉุกเฉินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการในพื้นที่ ที่มีอันตรายมักด�าเนินการโดยใช้ระบบเพื่อนคู่หู (buddy system) โดย กลุ่มหนึ่งอาจมีสองคนหรือมากกว่านั้นก็ได้ l การควบคุ ม การเปื ้ อ นพิ ษ ผู ้ บั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ เ ริ่ ม ปฏิบัติการควบคุมการเปื้อนพิษในเชิงรับเพื่อจ�ากัดการแพร่กระจายการ เปือ้ นพิษ วิธกี ารนีร้ วมไปถึงการป้องกันโอกาสทีก่ า� ลังพลจะเกิดการเปือ้ นพิษ เมื่อออกจากบริเวณที่เกิดเหตุโดยไม่ให้เปื้อนพิษ การควบคุมน�้าที่ระบาย ออกมาจากการท�าลายล้างพิษ และเริ่มการท�าลายล้างพิษแบบฉุกเฉิน l การรักษาความปลอดภัยสถานที่เกิดเหตุ ผู้บัญชาการ เหตุการณ์ต้องมั่นใจว่าได้ด�าเนินการด้านความปลอดภัยแก่สถานที่เกิดเหตุ ที่ก�าหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ การรักษาความปลอดภัยสถานที่เกิดเหตุ ด้วยการก�าหนดแนวเขตรักษาความปลอดภัยพร้อมกับควบคุมการเข้า-ออก เพื่อป้องกันไม่ให้ก�าลังพลเข้าไปในพื้นที่เปื้อนพิษจ�านวนมากเกินไป อีกทั้ง ป้องกันบรรดาสื่อมวลชนและกลุ่มประชาชนที่เฝ้าสังเกตการณ์ไม่ให้เข้าไป กีดขวางการปฏิบัติงานของผู้ตอบสนองเหตุ l การท�าลายล้างพิษ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ควบคุมการ ปฏิบัติการท�าลายล้างพิษในรูปแบบต่างๆ ที่มีการด�าเนินการภายในช่อง เส้นทางการท�าลายล้างพิษ ดังต่อไปนี้  การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน (Emergency Decontamination) l

101

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค (Technical Decontamination)  การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก (MCD) l เขตควบคุมอันตราย ผูบ ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์พสิ จู น์ทราบ และก�าหนดเขตควบคุมอันตราย รวมไปถึงการก�าหนดเขตแยกกักกันในขัน้ ต้น (initial-isolation zone) และเขตปฏิบัติเพื่อการป้องกัน (protectiveaction zone) (ดูในรูปที่ ๔-๓), เขตอันตราย (hot zone), เขตเฝ้าระวัง (warm zone) และเขตปลอดภัย (cold zone) (ดูในรูปที่ ๔-๔) ซึ่งเป็น การก�าหนดพืน้ ทีส่ า� หรับการปฏิบตั หิ น้าทีต่ า่ ง ๆ เช่น การท�าลายล้างพิษและ การปฏิบัติการสนับสนุน การควบคุมเขตอันตราย ประกอบด้วย  เขตแยกกักกันในขั้นต้น เป็นพื้นที่บริเวณโดยรอบ ทีเ่ กิดเหตุ ซึง่ ท�าให้ผคู้ นในพืน้ ทีบ่ ริเวณนีอ้ าจสัมผัสกับความเข้มข้นของสสาร ในระดับทีเ่ ป็นอันตราย (เมือ่ อยูเ่ หนือลม) และอาจเป็นภัยคุกคามถึงแก่ชวี ติ (เมื่ออยู่ใต้ลม)  เขตปฏิบัติเพื่อการป้องกัน เป็นพื้นที่ใต้ทิศทางลม จากที่เกิดเหตุ ผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้อาจกลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถ และไม่สามารถปฏิบัติเพื่อการป้องกัน และ/หรืออาจท�าให้เกิดผลกระทบ ต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง หรือท�าความเสียหายได้อย่างถาวร  เขตอันตราย เป็นพื้นที่โดยรอบที่เกิดเหตุซึ่งเกิดขึ้น อย่ า งฉั บ พลั น ซึ่ ง ได้ ข ยายออกไปไกลมากพอที่ จ ะป้ อ งกั น ผลกระทบ อย่างร้ายแรงจากการเปื้อนพิษไปยังก�าลังพลที่อยู่นอกเขต 

102

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เขตเฝ้ า ระวั ง เป็ น พื้ น ที่ ร ะหว่ า งเขตอั น ตรายกั บ เขตปลอดภัย ซึ่งก�าลังพลและยุทโธปกรณ์ที่เปื้อนพิษ รวมทั้งการสนับสนุน ในเขตอันตรายจะได้รับการท�าลายล้างพิษในเขตนี้ และยังรวมไปถึงจุด ควบคุมการเข้า-ออกช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ซึ่งช่วยลดการกระจาย เปื้อนพิษลงได้  เขตปลอดภัย เป็นพื้นที่ที่ตั้งที่บัญชาการเหตุการณ์ และการปฏิบัติหน้าที่สนับสนุน ซึ่งจ�าเป็นต่อการควบคุมเหตุการณ์ 

เขตปฏิบัติ เพื่อการป้องกัน เขตแยกกักกัน ในขั้นต้น

ทิศทางลม

Downwind distance (ระยะทางใต้ลม)

พื้นที่เกิดเหตุ

รูปที่ ๔-๓ เขตแยกกักกันในขั้นต้นและเขตปฏิบัติเพื่อการป้องกัน

เส้นทางเข้า-ออก (Access Routes) ๔-๕๐ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ควรระบุเส้นทางปลอดภัยไว้หลาย เส้นทางหากท�าได้ เพื่อเคลื่อนย้ายหน่วยตอบสนองเหตุเข้าและออกจาก บริเวณทีเ่ กิดเหตุและใช้เป็นทีร่ วมพลด้วย เส้นทางทีไ่ ด้พสิ จู น์ทราบแล้ว ได้แก่ เส้นทางเข้าถึงบริเวณทีเ่ กิดเหตุทางถนน ทางรถไฟ ทางทะเล และทางอากาศ 103

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เขตอันตราย ที่เกิดเหตุ เขตเฝ้าระวัง เขตปลอดภัย

รูปที่ ๔-๔ เขตควบคุมอันตราย (ตัวอย่าง)

พื้นที่พักรอ (Staging Areas) ๔-๕๑ ผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์กา� หนดพืน้ ทีร่ วมพล ส�าหรับเป็นพืน้ ที่ พักรอของชุดปฏิบัติการตอบสนองที่ตามมาทีหลัง จุดรวมพลขั้นต้นอยู่ใน ระยะปลอดภัยจากบริเวณทีเ่ กิดเหตุ เพือ่ ป้องกันการขัดขวางการปฏิบตั งิ าน และเป็นการป้องกันก�าลังพล

พันธกิจในเขตควบคุมอันตราย (Hazard Control Zone Functions) ๔-๕๒ ผู้บัญชาการเหตุการณ์จัดตั้งเขตควบคุมบริเวณที่เกิดเหตุ การจัดตั้งเขตควบคุมเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของผู้ตอบสนองเหตุ ทุกคน และควบคุมการผ่านเข้าและออกพื้นที่เปื้อนพิษ ในรูปที่ ๔-๕ แสดงถึงพันธกิจในเขตควบคุมอันตราย 104

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เขตรักษาความปลอดภัย/ แนวควบคุมฝูงชน แนวการท�าลายล้างพิษ แนวเขตอันตราย เขตอันตราย ที่เกิดเหตุ

ที่บัญชาการ เส้นทางการ เหตุการณ์ ท�าลายล้างพิษ

ขนส่งทาง การแพทย์

เขตเฝ้าระวัง เขตปลอดภัย ทิศทางลม

รูปที่ ๔-๕ พันธกิจในเขตควบคุมอันตราย

เขตอันตราย (Hot Zone) ๔-๕๓ เขตอันตรายเป็นพื้นที่ที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ตกลงใจ แล้วว่าเป็นเขตที่มีผลกระทบจากเหตุการณ์มากที่สุด รวมทั้งพื้นที่ใดๆ ที่มีการกระจายหรือมีโอกาสกระจายการเปื้อนพิษ เขตอันตรายยังอาจเป็น พื้นที่ที่เริ่มด�าเนินการเพื่อลดการเปื้อนพิษด้วย พันธกิจอย่างอื่นในเขต อันตราย มีดังนี้ l ด�าเนินการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย l ปฏิบัติตามมาตรการบรรเทาผลกระทบ l พิสูจน์ทราบสาร คชรน. รวมทั้งสิ่งกีดขวางทางกายภาพ ที่ขัดขวางไม่ให้ไปถึงทางเข้า l ด�าเนินการประเมินผลอันตราย (ประเมินความเสียหาย และการเปื้อนพิษที่ยังคงมีอยู่) 105

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l l

ปฏิบัติการเฝ้าตรวจทางด้านเคมีและทางด้านรังสี ด�าเนินการเก็บตัวอย่างสารชีวะ

เขตเฝ้าระวัง (Warm Zone)

๔-๕๔ เขตเฝ้าระวังเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเขตอันตรายและเขต ปลอดภัย ซึ่งเป็นบริเวณส�าหรับปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ (ช่องเส้นทาง การท�าลายล้างพิษ) และเป็นพื้นที่สนับสนุนในเขตอันตรายพันธกิจอื่นๆ ในเขตเฝ้าระวัง มีดังนี้ l การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน l การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค l การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก l เป็ น พื้ น ที่ พั ก รอส� า หรั บ ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารส� า รวจก่ อ นที่ จ ะ เข้าไปในเขตอันตราย l การท�าลายล้างพิษยุทโธปกรณ์

เขตปลอดภัย (Cold Zone)

๔-๕๕ เขตปลอดภัยเป็นบริเวณทีส่ ามารถเข้าถึงได้และเป็นบริเวณ ที่ปลอดภัยส�าหรับการปฏิบัติการสนับสนุน เป็นพื้นที่ที่มีขนาดกว้างขวาง พอส�าหรับกองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน. ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ และในระดับชาติ พันธกิจอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเขตนี้ ได้แก่ l การปฏิบัติการในที่บัญชาการเหตุการณ์ l การปฏิบัติการสนับสนุน เช่น การส่งก�าลังบ�ารุง การ ปฏิบัติการเพื่อด�ารงความต่อเนื่องและการรักษาความปลอดภัย l การปฏิบัติการในพื้นที่พักรอ 106

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การสื่อสารด้านวัตถุอันตราย (Hazard Communications) ๔-๕๖ ในระหว่างการปฏิบตั กิ ารตอบสนอง หน่วยจ�าเป็นต้องด�ารง โครงข่ายสื่อสารด้านวัตถุอันตราย (HAZCOM) ของตนไว้ พันธกิจของ การปฏิบัติตามโครงข่ายสื่อสารด้านวัตถุอันตราย ได้แก่ l ด� า รงสภาพความต่ อ เนื่ อ งในด้ า นความสามารถ เพื่ อ การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลกฎระเบียบอ้างอิง รวมทั้งข้อมูลการผลิต วัตถุอันตราย l เตรียมการรับและด�าเนินกรรมวิธเี กีย ่ วกับข้อมูลด้านวัตถุ คชรน. l ด� า รงการเข้ า ถึ ง แหล่ ง ข้ อ มู ล ด้ า นอั น ตรายที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กับ คชรน. จากสถานที่เกิดเหตุ l ยึ ด มั่ น กั บ ค� า แนะน� า ด้ า นความปลอดภั ย ตามที่ ร ะบุ ไ ว้ ในคู่มือค�าแนะน�าของ OSHA และตามก�าหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับ ของรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกา (CFR)

การตอบสนองการสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support Response) ๔-๕๗ ชุดปฏิบัติการควบคุมบังคับบัญชาทางการแพทย์ ด�ารง การควบคุ ม บั ง คั บ บั ญ ชาหน่ ว ยตอบสนองทางด้ า นการแพทย์ พั น ธกิ จ การควบคุมบังคับบัญชา มีดังนี้ l รั บ มอบภารกิ จ และรี บ ส่ ง หน่ ว ยและฝ่ า ยอ� า นวยการ ไปยังพื้นที่ตอบสนองที่ก�าหนด 107

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ประสานการปฏิบัติการตอบสนองทางการแพทย์ของ กระทรวงกลาโหมกับทีบ่ ญ ั ชาการเหตุการณ์ รวมทัง้ กับหน่วยงานตอบสนอง เหตุในระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ ระดับชาติ หรือกับชาติเจ้าบ้าน l ด� า เนิ น การตรวจสอบเมื่ อ หน่ ว ย/ฝ่ า ยอ� า นวยการหยุ ด ปฏิบตั กิ ารชัว่ คราว และส่งมอบการปฏิบตั ใิ ห้แก่หน่วยงานตอบสนองในระดับ ท้องถิน่ ระดับรัฐ ระดับชาติ หน่วยงานของชาติเจ้าบ้าน หรือหน่วยงานอืน่ ๆ ๔-๕๘ การตอบสนองเพื่อสนับสนุนบริการสุขภาพทั้งหมดยังคง ด�าเนินต่อไป จนถึงการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ขนั้ การฟืน้ ฟู การปฏิบตั ิ ในการตอบสนองเพือ่ สนับสนุนการบริการสุขภาพ เพือ่ การเวชกรรมป้องกัน การบริการทางด้านสัตวแพทย์ การสนับสนุนการจัดการกับความเครียดของ กองก�าลังทีต่ อบสนองเหตุและประชาชนในท้องถิน่ การบริการห้องปฏิบตั กิ าร และการบริการด้านสุขภาพ ซึ่งจะได้กล่าวอย่างละเอียดในผนวก ค ส�าหรับ รายละเอียดเกี่ยวกับการคัดแยกผู้ป่วย การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย การรักษา การส่งกลับสายแพทย์ และการพักรักษาในโรงพยาบาล จะได้กล่าวอย่าง ละเอียดในบทที่ ๕ และในผนวก ง ๔-๕๙ การปฏิบตั กิ ารตอบสนองในกรณีเร่งด่วน อาจด�าเนินการโดย l เจ้าหน้าที่ในที่เกิดเหตุให้การปฐมพยาบาล l ในขัน ้ ต้น หน่วยทีม่ คี วามเชีย่ วชาญของกระทรวงกลาโหม สามารถให้บริการดูแลรักษาแบบฉุกเฉินในเขตอันตราย และดูแลผู้ป่วย ให้คงสภาพในเขตปลอดภัยจนกว่ามีความพร้อมขนส่งด้วยการบริการ ทางการแพทย์ฉกุ เฉินของฝ่ายพลเรือน หน่วยของกระทรวงกลาโหมดังกล่าว ได้แก่ กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์ด้านเคมี-ชีวะ (chemical-biological l

108

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

incident response force [CBIRF]) และชุดกองก�าลังขีดความสามารถสูง ในการตอบสนองเหตุการณ์ด้านเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ และวัตถุระเบิด แรงสูง (chemical, biological, radiological, nuclear, and high-yield explosives enhanced response force package [CERFP]) l การปฏิ บั ติ ข องหน่ ว ยทหารที่ ตั้ ง ประจ� า ที่ จะให้ ก าร สนับสนุนในกรณีเร่งด่วน (เช่น ก�าลังพลทีใ่ ห้บริการทางการแพทย์ ชุดปฏิบตั ิ การเพื่อรักษาทางการแพทย์ ก�าลังพลด้านเวชกรรมป้องกัน สัตวแพทย์ นักผจญเพลิง และเจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร) l เจ้ า หน้ า ที่ ต� า รวจในท้ อ งถิ่ น และพนั ก งานดั บ เพลิ ง ; หน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉิน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน สาธารณะ และชุดปฏิบัติการที่ให้การบริการรักษาทางการแพทย์ตามที่ ก�าหนดไว้ l ชุดปฏิบต ั กิ ารระดับประเทศ, หน่วยแพทย์ของชาติเจ้าบ้าน, ก�าลังพลและหน่วยสังกัดกระทรวงกลาโหมภายใต้สถานการณ์เพือ่ การแก้ไข สถานการณ์ในต่างประเทศ ๔-๖๐ การวินจิ ฉัยทางการแพทย์เป็นกระบวนการตรวจสอบสาเหตุ ของการเกิดโรคหรือการได้รบั บาดเจ็บ ในขณะทีก่ ารวินจิ ฉัยบางอย่างอาจได้ หลักฐานจากอาการบ่งชี้และลักษณะอาการของโรค การวินิจฉัยโรคติดเชื้อ หรือการได้รบั อันตรายจากสารเคมีทที่ ราบแน่ชดั จ�าเป็นต้องใช้ผลการตรวจ ในห้องปฏิบัติการ หรือการวิเคราะห์ทางด้านรังสีซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะนี้ อาจใช้เวลาหลายวัน การรักษาตามลักษณะอาการต้องเริ่มขึ้นก่อนได้รับ ผลการวินจิ ฉัยทีถ่ กู ต้องจากห้องปฏิบตั กิ ารเพือ่ เป็นการช่วยชีวติ การร้องขอ 109

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

รับการสนับสนุนกลับไปผูเ้ ชีย่ วชาญระดับชาติ เป็นวิธกี ารตอบสนองของชุด หรือของหน่วยสนับสนุนการบริการสุขภาพ เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลทางด้านเทคนิค ค�าปรึกษาและการสนับสนุนทางการแพทย์ ในระหว่างการปฏิบัติการ ตอบสนองเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. หน่วยงานหรือ การปฏิบัติภายใต้กระทรวงกลาโหม รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ในระดับชาติ สามารถให้บริการลักษณะนี้ได้ ๔-๖๑ การปฏิบัติการสนับสนุนการบริการสุขภาพ อยู่บนพื้นฐาน ของการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในห้วงก่อนถูกส่งเข้าประจ�าการ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามต่อสุขภาพในพื้นที่ปฏิบัติการและในพื้นที่ จ�าเพาะที่ส่งก�าลังเข้าประจ�าการ การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ การประเมินสถานทีท่ มี่ ภี ยั คุกคามมาจากการท�างานและจากสภาพแวดล้อม การเฝ้าตรวจและการเก็บตัวอย่างที่ปฏิบัติประจ�าหรือเป็นแรงผลักดัน จากเหตุการณ์ รวมไปถึงการปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวังด้านสุขภาพอื่นๆ ควรมี การปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในระหว่างที่ส่งก�าลังเข้าประจ�าการ หากมีภัยคุกคามด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นหรือสามารถคาดการณ์ได้ว่าเพิ่มขึ้น อย่างแน่นอนในระหว่างส่งก�าลังเข้าประจ�าการ ผู้บังคับบัญชาควรก�าหนด ให้มีการสนับสนุนบริการสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าก�าลังพลได้รับการ เฝ้าตรวจและได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ ๔-๖๒ ในระหว่างการตอบสนองเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. การประเมินสถานที่ที่มีภัยคุกคามจากการท�างานและ จากสภาพแวดล้ อ ม การลาดตระเวนสถานที่ และการประเมิ น ความ ล่อแหลมด้านน�า้ และอาหารควรด�าเนินการให้ถกู ต้องอย่างแท้จริง หรือมีโอกาส ที่จะเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ ควรประเมินการได้รับอันตรายผ่านเส้นทาง 110

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เข้าสู่ร่างกาย (pathway) ทุกช่องทาง และตรวจสอบหนทางปฏิบัติและ มาตรการตอบโต้ เ พื่ อ ลดภั ย คุ ก คามต่ อ สุ ข ภาพ รวมทั้ ง ป้ อ งกั น สุ ข ภาพ ของก�าลังพลทีถ่ กู ส่งเข้าประจ�าการ เมือ่ มีการด�าเนินการตอบสนองเพือ่ แก้ไข สถานการณ์ ควรพิจารณาถึงกิจต่างๆ ดังต่อไปนี้ l มั่ น ใจว่ า ระบบจั ด การข้ อ มู ล ด้ า นสุ ข ภาพแบบอั ต โนมั ติ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมหรือเหล่าทัพ ให้ใช้เป็นข้อมูลเฝ้าตรวจ เกี่ยวกับภัยคุกคามต่อสุขภาพจากการท�างานและจากสภาพแวดล้อม l มั่นใจว่ามีการสื่อสาร (ด้วยการเขียนหรือพูดปากเปล่า) ด้านความเสีย่ งต่อสุขภาพบนพืน้ ฐานของการประเมินความเสีย่ งต่อสุขภาพ และการตกลงใจบริหารความเสีย่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับสุขภาพ รวมทัง้ การประเมิน ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เป็นปัจจุบันตามข้อมูลใหม่ที่ได้รับ l การบั น ทึ ก การได้ รั บ อั น ตรายจากการท� า งานและจาก สภาพแวดล้อมในขณะที่เข้าประจ�าการหรือการได้รับอันตรายด้าน คชรน. ซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลที่เฝ้าตรวจ และจัดให้มีการรายงานให้ทันเวลาเกี่ยวกับ การเป็นโรคติดเชือ้ หรือการบาดเจ็บทีไ่ ม่ใช่จากการรบ การบาดเจ็บจากการรบ รวมทั้งข้อมูลทางการแพทย์อื่นๆ ตามความจ�าเป็น l จัดส่งข้อมูลทางการแพทย์อน ั เกีย่ วข้องกับ คชรน. การเป็น โรคติดเชือ้ ทีค่ าดไม่ถงึ หรือปรากฏการณ์ทเี่ กิดการเปือ้ นพิษในสภาพแวดล้อม โดยจัดส่งไปยังศูนย์ข่าวกรองทางการแพทย์ของกองทัพพร้อมกับส�าเนา รายงานการปฏิบัติการทางแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียดและ/หรือการประเมิน ผลเกีย่ วกับโรคติดเชือ้ ผลการตรวจสภาพสิง่ แวดล้อม และขีดความสามารถ ทางการแพทย์ ไปยังศูนย์ข่าวกรองทางการแพทย์ของกองทัพด้วย 111

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๔-๖๓ โปรแกรมป้องกันระบบทางเดินหายใจ รวมทัง้ การคัดกรอง ทางการแพทย์ และการเฝ้าระวังก�าลังพลที่ได้รับแจกจ่ายเครื่องช่วยหายใจ (เช่น SCBA) เป็นสิ่งจ�าเป็นในการท�างานเพื่อปฏิบัติการด้าน คชรน. (เช่น ส่วนสนับสนุนพลเรือนของกระทรวงกลาโหม) (รายละเอียดเพิ่มเติม ศึกษา ได้จากระเบียบข้อบังคับแห่งรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา หมวด ๒๙ [29 CFR 1910.134])

การเปลี่ยนผ่านไปสู่การปฏิบัติการฟื้นฟู (Transition to Recovery Operations) ๔-๖๔ เป็ น การดี ที่ เ ส้ น แบ่ ง ระหว่ า งจุ ด สิ้ น สุ ด การปฏิ บั ติ ก าร ตอบสนองเหตุและจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติการฟื้นฟูไม่ชัดเจน บ่อยครั้ง การปฏิบตั กิ ารฟืน้ ฟูอาจเริม่ ต้นโดยทีก่ ารปฏิบตั ติ อบสนองเหตุยงั คงด�าเนินการ อยู ่ ต ่ อ ไป การปฏิ บั ติ ก ารฟื ้ น ฟู อ าจเริ่ ม ขึ้ น เมื่ อ ไม่ มี ค วามจ� า เป็ น ต้ อ ง ใช้กา� ลังทหารส�าหรับด�าเนินการตอบสนองเหตุอกี ต่อไป หรือมีหน่วยงานอืน่ เข้ามาปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ทนเพือ่ เป็นการสับเปลีย่ นก�าลัง ในบทที่ ๕ จะได้อธิบาย ถึงการปฏิบัติการฟื้นฟูส�าหรับการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ ๔-๖๕ นอกจากนั้น อาจมีการส่งมอบอ�านาจและความรับผิดชอบ ในการตอบสนองเหตุ เมือ่ มีการเปลีย่ นผ่านไปสูก่ ารปฏิบตั กิ ารฟืน้ ฟู ตัวอย่าง เช่น หัวหน้าพนักงานดับเพลิงที่ปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองเหตุอาจส่งมอบ อ�านาจการควบคุมให้แก่ฝ่ายสอบสวนด้านอาชญากรรม หรือชุดปฏิบัติการ สอบสวนเหตุการณ์ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆ

112



การฟื้ นฟู

บทที่ ๕ เป็ น การให้ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การปฏิ บั ติ ที่ ไ ด้ ด� า เนิ น การ ในระหว่างการปฏิบัติขั้นการฟื้นฟู การปฏิบัติดังกล่าว ได้แก่ การปฏิบัติการ ท�าลายล้างพิษ การฟื้นฟูการส่งก�าลังบ�ารุง การฟื้นฟูการสนับสนุนบริการ สุขภาพ การเปลี่ยนผ่าน และการถอนก�าลัง

กล่าวเบื้องต้น (Background) ๕-๑ การปฏิบัติขั้นการฟื้นฟูได้เริ่มขึ้นเมื่อมีอันตรายที่เกิดขึ้น อย่างฉับพลัน ซึ่งได้มีการจัดการหรือถูกควบคุมในระหว่างการปฏิบัติการ ตอบสนองเหตุการณ์ (ดูในรูปที่ ๕-๑ ส�าหรับการปฏิบตั ขิ นั้ การฟืน้ ฟู ซึง่ สัมพันธ์ กั บ ขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ อื่ น ๆ ในระหว่ า งกระบวนการแก้ ไ ขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.) ผู้ตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน. ยังคงให้การ สนับสนุนต่อเนือ่ งไป จนกว่าการบรรเทาผลกระทบจากอันตรายซึง่ เกิดอย่าง ฉับพลันได้ด�าเนินการเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ (การสนับสนุนการลาดตระเวน การท� า ลายล้ า งพิ ษ รวมทั้ ง การประเมิ น ผลและการให้ ข ้ อ เสนอแนะ)

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ความเข้าใจและการนิยามเกี่ยวกับการปฏิบัติการฟื้นฟูหลังจากการแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. จ�าเป็นต้องมีการเชื่อมโยงระหว่าง ค� า นิ ย ามศั พ ท์ ท างทหารแบบดั้ ง เดิ ม กั บ ค� า จ� า กั ด ความตามกรอบการ ตอบสนองเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ (NRF) ป้องกัน วางแผน

เตรียมการ

ขั้นตอน การปฏิบัติในการ แก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

ฟื้นฟู

เหตุการณ์

จาก คชรน.

ตอบสนอง

ปฏิบัติ รูปที่ ๕-๑ ขั้นการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ฟื้นฟู)

114

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๒ การฟื ้ น ฟู แ ละการฟื ้ น สภาพขึ้ น มาใหม่ เป็ น การปฏิ บั ติ ของชาติใดชาติหนึ่งในห้วงก่อน ระหว่าง และภายหลังการโจมตีจากชาติ ทีเ่ ป็นข้าศึก เพือ่ ลดผลกระทบจากการโจมตีให้เหลือน้อยทีส่ ดุ , กอบกูส้ ถานะ ทางเศรษฐกิจของชาติให้กลับคืนมา, ให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน อีกทั้ง กูพ้ ลังอ�านาจก�าลังรบของกองก�าลังทีเ่ หลืออยู่ และการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน ให้กลับคืนมาให้มากที่สุด (คู่มือ JP 3-35) ๕-๓ ตามกรอบการตอบสนองเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ ได้กล่าวถึง การฟื้นฟูในแง่ของขีดความสามารถที่จ�าเป็นส�าหรับการช่วยเหลือชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ให้ฟื้นสภาพกลับมาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวม การปฏิบัติการฟื้นฟูทางด้าน คชรน. ซึ่งเกิดขึ้นในบริบท ของการแก้ไขสถานการณ์ รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อด�ารงหรือฟื้นฟูการบริการ ทีส่ า� คัญ ซึง่ ประกอบด้วยการจัดการและการบรรเทาผลกระทบทีต่ ามมาจาก เหตุการณ์อันเกี่ยวข้องกับ คชรน. ๕-๔ ในห้วงการปฏิบตั กิ ารเกีย่ วกับภารกิจการฟืน้ ฟูสา� หรับผูต้ อบสนอง เหตุ ด ้ า น คชรน. เป็ น การตรวจสอบความต้ อ งการที่ ก� า หนดขึ้ น โดย ผู้มีอ�านาจที่เหมาะสม (ผู้บัญชาการเหตุการณ์ส�าหรับการปฏิบัติการภายใน ประเทศ หรือจากชาติเจ้าบ้าน และ/หรือกระทรวงการต่างประเทศส�าหรับ การปฏิบตั กิ ารในต่างประเทศ) บทบาทในการปฏิบตั กิ ารส�าหรับผูต้ อบสนองเหตุ ได้ เ ปลี่ ย นไปในระหว่ า งขั้ น การปฏิ บั ติ ก ารฟื ้ น ฟู โดยที่ ใ นระหว่ า ง การปฏิบัติการฟื้นฟู การปฏิบัติการส�ารวจอาจยังคงด�าเนินการต่อไปในเขต อันตรายพร้อมกับให้การสนับสนุนการท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิค นอกจากนั้น ยังอาจให้ค�าแนะน�าและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค และ การสนับสนุนการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษด้านอื่นๆ (การท�าลายล้างพิษ ขั้นสมบูรณ์และการท�าลายล้างพิษพื้นที่) 115

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๕ ผู้บังคับหน่วยทหาร คชรน. ทบทวนแผนภารกิจฟื้นฟูในห้วง ก่อนและระหว่างการปฏิบัติขั้นการฟื้นฟูรวมทั้งประสานแผนกับเจ้าหน้าที่ ฝ่ายพลเรือน เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าการถ่ายโอนงานระหว่างเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือน และผู ้ บั ญ ชาการหน่ ว ยสนั บ สนุ น ทางทหาร มี ค วามเข้ า ใจตรงกั น และ ด�าเนินไปด้วยความเรียบร้อย ล�าดับความเร่งด่วนสูงสุดส�าหรับผู้บัญชาการ หน่วยทหาร คือการสถาปนา ขีดความสามารถในการปฏิบตั ภิ ารกิจขึน้ มาใหม่ การพัฒนาแผนเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการขั้นการฟื้นฟูทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวและกลั บ ไปสู ่ ก ารปฏิ บั ติ ก ารปกติ ข้ อ พิ จ ารณาพิ เ ศษ ที่ท�าให้เกิดความเสียหายและบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือ น้อยที่สุด แผนภารกิจฟื้นฟูอาจระบุถึงขอบเขตงาน ดังต่อไปนี้ l การสนับสนุนทางการส่งก�าลังบ�ารุงและการส่งก�าลังเพิม ่ เติม l การป้องกัน l ความต้องการในการจัดท�าเอกสารและการรายงานรวม ไปถึงการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง การสูญเสีย และข้อมูลการได้รับอันตราย จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งจ�าเป็นต่อการประมาณการถึงการได้รับอันตรายของ ก�าลังพล (เพือ่ ตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพทัง้ ในระยะสัน้ และในระยะยาว) l ยุทโธปกรณ์ใช้ในการท�าลายล้างพิษ โครงสร้างพื้นฐาน และสภาพภูมปิ ระเทศ ก�าลังทหารอาจได้รบั การร้องขอให้สนับสนุนการขนส่ง ประชาชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ; การช่วยเหลือในความพยายามเพือ่ การท�าลาย ล้างพิษ; การช่วยเหลือในการแยก/ปิดล้อมพื้นที่หรือสิ่งอุปกรณ์เปื้อนพิษ, ฟืน้ ฟูสภาพโครงสร้างพืน้ ฐาน, ปฏิบตั กิ ารเฝ้าตรวจ และรักษาความปลอดภัย โดยรอบพื้นที่เปื้อนพิษ 116

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การปฏิบัติในการสนับสนุนบริการสุขภาพ  การป้องกันเป็นบุคคล  การปฏิบัติการจัดการผู้ป่วย  การคัดกรองทางการแพทย์และการบันทึกเอกสาร  การจัดการความเครียดเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤต  ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าทีใ่ นระดับชาติ ระดับรัฐ ระดับท้องถิ่น และของชาติเจ้าบ้าน ตามความจ�าเป็น ๕-๖ สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบจากการ ท�าลายล้างพิษ ในการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องจาก คชรน. มีดังนี้ l กรณีการสนับสนุนภายใต้การน�าของกระทรวงความมัน ่ คง ภายในส�าหรับสภาพการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ภายในประเทศ หน่วยตอบสนองเหตุของกระทรวงกลาโหมมักเป็นหน่วย เพิ่มเติมก�าลังให้แก่ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุฝ่ายพลเรือน นอกจากนั้น หน่วยตอบสนองเหตุของกระทรวงกลาโหมต้องปฏิบัติตามข้อก�าหนดของ คณะกรรมการด้านอาชีวอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (OSHA) และส�านักงาน พิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (U.S. EPA) l กรณีการสนับสนุนภายใต้การน�าของกระทรวงกลาโหม ส�าหรับสภาพการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ใน ต่างประเทศ หน่วยตอบสนองเหตุของกระทรวงกลาโหมจะเป็นหน่วยเพิม่ เติม ก�าลังให้แก่ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุของชาติเจ้าบ้าน และการปฏิบัติ อาจถูกจ�ากัดอยู่ในกรอบของภัยคุกคามชาติที่เจ้าบ้านที่เผชิญอยู่ และ/หรือ ข้อตกลงตามสถานภาพของกองทัพ l

117

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กรณีการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ภายใต้การน�าของกระทรวงกลาโหม มาตรการฟืน้ ฟูถกู น�ามาใช้เพือ่ สนับสนุน ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา และเป้าหมายของการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ในภาพรวม ๕-๗ ไม่มีการก�าหนดตารางเวลาการปฏิบัติการฟื้นฟูที่แน่นอน ในระหว่างขัน้ นีเ้ มือ่ ถึงเวลาทีห่ น่วยทหารถูกผลัดเปลีย่ นหรือไม่มคี วามจ�าเป็น อีกต่อไป อาจมีการเปลี่ยนผ่านหรือมีค�าสั่งให้ถอนก�าลัง เมื่อหน่วยทหารได้ รับภารกิจใหม่ ภารกิจเดิมทีไ่ ด้รบั มอบได้ดา� เนินการเสร็จสิน้ โดยสมบูรณ์แล้ว (เช่น การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก) หรือมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน เข้ามาปฏิบัติภารกิจแทน ๕-๘ ผู้บัญชาการหน่วยตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน. เอื้อให้ เกิดการเปลี่ยนผ่านโดยอาศัยค�าสั่งจากภารกิจการฟื้นฟูท่ีได้รับมอบ และ ด�าเนินการถอนก�าลังทหารออกจากพื้นที่เกิดเหตุ ผู้บังคับบัญชาสนับสนุน ทางทหารใช้แผนการเปลีย่ นผ่าน โดยการถ่ายโอนงานการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ไปยังหน่วยงานพลเรือนที่เหมาะสม (กระทรวง การต่างประเทศ, ส�านักงานจัดการภัยพิบตั แิ ห่งชาติ [FEMA]) ซึง่ มีขดี ความสามารถ เทียบเท่ากันเพื่อด�าเนินการปฏิบัติการต่อไป ๕-๙ ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน หน่วยงานไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ และการบริการภายใต้พันธสัญญาอาจท�าหน้าที่เสริมให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่าย พลเรือน ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ความสมบูรณ์ของการสนับสนุนการฟืน้ ฟู หน่วยทหาร อาจด�าเนินการเปลี่ยนผ่านและเริ่มปฏิบัติการถอนก�าลังกลับสู่ที่ตั้งปกติ l

118

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ (Decontamination Operations) ๕-๑๐ การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษมีความส�าคัญมากในระหว่าง ขั้นปฏิบัติการฟื้นฟู เพื่อลดหรือก�าจัดความเสี่ยงต่อก�าลังพล และท�าให้ ยุทโธปกรณ์กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง กระบวนการท�าลายล้างพิษต้องไม่ลด ความสามารถในการปฏิบัติของก�าลังพลและยุทโธปกรณ์ให้ด้อยลงไป และต้องไม่ท�าอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการนี้จึงเป็นก้าวย่างที่ส�าคัญ ส�าหรับการฟื้นฟู ๕-๑๑ ในขณะที่ขั้นปฏิบัติการฟื้นฟูได้เริ่มต้นขึ้น ความพยายาม ในการท�าลายล้างพิษก็ได้เริ่มขึ้นด้วย เพื่อเป็นการลดจ�านวนผู้เจ็บป่วย ให้มนี อ้ ยทีส่ ดุ อีกทัง้ เป็นการช่วยชีวติ และจ�ากัดการแพร่กระจายการเปือ้ นพิษ อาจมีการริเริ่มท�าลายล้างพิษขั้นสมบูรณ์ส�าหรับยุทโธปกรณ์ที่ส�าคัญยิ่งต่อ ภารกิจ รวมทัง้ สิง่ อุปกรณ์และโครงสร้างพืน้ ฐาน การท�าลายล้างพิษขัน้ สมบูรณ์ เป็นการท�าลายล้างพิษในระดับทีท่ า� ให้ไม่มขี อ้ จ�ากัดในการขนส่ง การซ่อมบ�ารุง และการน�าไปใช้งาน รวมทั้งการท�าลายยุทโธปกรณ์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้จากคูม่ อื FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/NTTP 3-11.26/AFTTP(I) 3-2.60)

หลักการท�าลายล้างพิษ (Principles) ๕-๑๒ การท�าลายล้างพิษเป็นกระบวนการลดการเปื้อนพิษจาก สาร คชรน. จนถึงระดับต�่าสุดที่จะเกิดความเสี่ยงให้เกิดอันตรายต่อผู้คน และผ่องถ่ายการเปือ้ นพิษกลับไปกลับมา เพือ่ สนับสนุนเป้าหมายในการสนับสนุน การปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษให้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ส�าหรับการท�าลาย ล้างพิษประชาชนเป็นจ�านวนมาก ควรประยุกต์ใช้หลักการท�าลายล้างพิษ ตามกรอบแนวทางในคู่มือ FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/NTTP 3-11.26/ AFTTP (I) 3-2.60 ซึ่งหลักการดังกล่าวประกอบด้วย 119

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l l l l

ความรวดเร็ว ความจ�าเป็น ความเร่งด่วน ข้อจ�ากัดของพื้นที่

วิธีการท�าลายล้างพิษ (Decontamination Method)

๕-๑๓ วิธีการท�าลายล้างพิษมักขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของหน่วย ในการก�าจัดสารทีม่ คี วามแตกต่างกัน กระบวนการเลือกวิธกี ารท�าลายล้างพิษ เริ่มด้วยการพิสูจน์ทราบสารด้วยความรวดเร็ว เพื่อก�าหนดเขตควบคุม อันตรายและวิธกี ารท�าลายล้างพิษทีม่ ปี ระสิทธิภาพ การเลือกวิธกี ารท�าลาย ล้างพิษยังขึน้ อยูก่ บั แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น สิง่ บ่งชีท้ างกายภาพ ลักษณะอาการ บ่งชี้ทางการแพทย์ การสื่อสารกับผู้ป่วย และผลการตรวจด้วยเครื่องมือ ควรมีการประเมินประสิทธิภาพของวิธกี ารท�าลายล้างพิษ ตลอดห้วงของการ ปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษทีด่ า� เนินไปอย่างต่อเนือ่ ง หากปรากฏว่าการท�าลาย ล้างพิษไม่คอ่ ยมีประสิทธิภาพ ก็ควรเลือกใช้วธิ กี ารท�าลายล้างพิษแบบอืน่ ๆ (รายละเอียดตามคู่มือ FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/NTTP 3-11.26/ AFTTP (I) 3-2.60) การท�าลายล้างพิษที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการวิธีการ ท�าลายล้างพิษ ซึ่งมีดังนี้ l วิธก ี ารทางกายภาพ วิธกี ารท�าลายล้างพิษทางกายภาพ เกี่ยวข้องกับการก�าจัดสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพให้ออกจากบุคคลหรือ วัตถุทเี่ ปือ้ นพิษ และการกักเก็บสิง่ เปือ้ นพิษเพือ่ รอท�าลาย ด้วยวิธกี ารเหล่านี้ สามารถลดความเข้มข้นของสิ่งเปื้อนพิษลงได้ แต่สิ่งเปื้อนพิษที่กักเก็บไว้ ยังคงมีคุณสมบัติทางเคมีไม่เปลี่ยนแปลง ตัวอย่างวิธีการท�าลายล้างพิษ ทางกายภาพ ได้แก่ การดูดซึม (absorption), การปัดกวาดและเช็ดถู, การแยกโดดเดี่ยวและท�าลาย, การดูดด้วยสุญญากาศ และการช�าระล้าง 120

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

วิธีการทางเคมี การท�าลายล้างพิษด้วยวิธีการทางเคมี น�ามาใช้กับยุทโธปกรณ์ วิธีการนี้ไม่น�ามาใช้กับบุคคลและเกี่ยวข้องกับ การเปลีย่ นแปลงของสิง่ เปือ้ นพิษทีอ่ าศัยการเกิดปฏิกริ ยิ าทางเคมีบางอย่าง ด้วยความพยายามที่ท�าให้สิ่งเปื้อนพิษมีอันตรายเหลือน้อยลง ในกรณี ที่สิ่งเปื้อนพิษเป็นเชื้อโรค วิธีการท�าลายล้างพิษด้วยวิธีการทางเคมีคือ การฆ่าเชือ้ จุลนิ ทรียท์ างชีวภาพ ตัวอย่างการท�าลายล้างพิษด้วยวิธกี ารทางเคมี ได้แก่ การดูดซับ (adsorption), การเสือ่ มสภาพทางเคมี, การท�าให้ปลอดเชือ้ หรือการฆ่าเชือ้ , การท�าให้เป็นกลางหรือเกิดภาวะสะเทิน และการท�าให้ตกผลึก (ระเหยน�้าออก) l วิ ธี ต ากลมฟ้ า อากาศ การท� า ลายล้ า งพิ ษ ด้ ว ยวิ ธี ก าร ตากลมฟ้าอากาศเกี่ยวข้องกับกระบวนการ เช่น การระเหยกลายเป็นไอ และวิธีการฉายรังสีเพื่อก�าจัดหรือท�าลายสิ่งเปื้อนพิษ สิ่งของที่เปื้อนพิษ ที่เผยให้กับสัมผัสกับสภาพอากาศตามธรรมชาติ (แสงแดด, ลม, ความร้อน และหยาดน�้าฟ้า) เพื่อเจือจางหรือท�าลายสิ่งเปื้อนพิษ ยังผลให้มีอันตราย ลดลงหรื อ ไม่ มี อั น ตรายเลย วิ ธี นี้ เ ป็ น วิ ธี ที่ ง ่ า ยเช่ น เดี ย วกั บ การละทิ้ ง ยานพาหนะไว้กลางแดดร้อนในทะเลทรายเพื่อเผาสิ่งเปื้อนพิษให้หมดไป l วิธีป้องกัน ความเสี่ยงจากการได้รับหรือสัมผัสอันตราย ที่น้อยลง ก็มีความจ�าเป็นในการท�าลายล้างพิษน้อยลงไปด้วยหากสามารถ ควบคุมการสัมผัสกับสิ่งเปื้อนพิษได้ วิธีการนี้ควรเน้นไปที่การฝึกปฏิบัติ ในการท�างานเพือ่ สัมผัสกับสารทีม่ อี นั ตรายให้นอ้ ยทีส่ ดุ นอกจากนัน้ อาจเป็น การใช้เครือ่ งแต่งกายป้องกันแบบทีใ่ ช้ได้ครัง้ เดียว หรือเครือ่ งแต่งกายป้องกัน ที่จ�ากัดจ�านวนครั้งการใช้งาน l

121

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ข้อพิจารณาจ�าเพาะไปที่เหตุการณ์ (Incident-Specific Considerations) ๕-๑๔ ตรวจสอบดูว่ามีการปฏิบัติอะไรบ้างหลังจากที่ได้ท�าลาย ล้างพิษแล้ว ผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ประเมินถึงลักษณะของเหตุการณ์ แม้ว่าข้อมูลที่ได้รับอาจยังไม่ครบถ้วน แต่ควรกล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ l จ�านวนผู้ป่วย l ประเภทผู้ป่วย l ประเภทสารที่น�ามาใช้ l คุณสมบัติของสารที่น�ามาใช้ l ประเภทลักษณะการปล่อยกระจาย l สภาพแวดล้อมเชิงกายภาพ l ทรัพยากรที่มีอยู่ l สภาพการปฏิบต ั กิ ารทีน่ า่ พอใจส�าหรับลักษณะการท�าลาย ล้างพิษแบบต่าง ๆ (เช่น ในสภาพอากาศหนาว) l ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ประสบภัย ๕-๑๕ การท�าลายล้างพิษที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นอันตราย ในระหว่างเกิดเหตุการณ์ทมี่ ผี ปู้ ว่ ยจ�านวนมาก จ�านวนผูป้ ระสบภัยอาจมีมาก เกินกว่าขีดความสามารถในการตอบสนองของผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. ผู้ตอบสนองเหตุต้องจัดล�าดับความเร่งด่วนในการกู้ชีพ การรักษา และ กระบวนการท�าลายล้างพิษ ปัจจัยในการจัดล�าดับความเร่งด่วนตามที่ได้ แนะน�าไว้ มีดังนี้ 122

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l

l

ได้รับสารอันตราย l

ของสารอันตราย l

l

และผิวหนัง

รายงานการได้รับสารอันตรายของผู้ประสบภัย อาการบ่งชีท้ างกายภาพและลักษณะอาการบ่งชีจ้ ากการ ระยะห่างระหว่างผูป้ ระสบภัยกับจุดทีม่ กี ารปล่อยกระจาย ผู้ประสบภัยมีอาการบาดเจ็บร้ายแรงอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ หลักฐานที่แสดงถึงสารอันตรายได้เกาะติดตามเสื้อผ้า

ข้อพิจารณาจ�าเพาะไปที่สารอันตราย (Agent-Specific Considerations) ๕-๑๖ ประเภทของสารที่ ถู ก ปล่ อ ยกระจายเป็ น ปั จ จั ย ที่ น� ามา พิจารณาถึงวิธีการเลือกใช้ในการท�าลายล้างพิษ ในทุกๆ สถานการณ์ จะมีความท้าทายทีม่ ลี กั ษณะเป็นเอกลักษณ์จา� เพาะ ดังนัน้ ผูต้ อบสนองเหตุ ต้องมีความยืดหยุ่นมากพอส�าหรับการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เท่าที่ มีทรัพยากร

กรณีที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (Chemical) ๕-๑๗ สารเคมีอาจอยู่ในรูปของของเหลว ของแข็ง หรือเป็นไอ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพของสารเคมีนั้นๆ สารเคมีที่อยู่ในรูป ของของเหลวและของแข็ง มักเป็นประเภทสารเคมีทสี่ ามารถก�าจัดออกจาก ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ 123

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๑๘ โดยทั่วไป อาจเป็นไปไม่ได้หรือไม่มีความจ�าเป็นที่จะต้อง ท�าลายล้างพิษที่ผิวหนัง หลังจากที่สัมผัสกับสารเคมีในลักษณะเป็นไอ อย่างไรก็ตาม ไอของสารเคมีอาจถูกดักจับอยู่ภายในเสื้อผ้า ท�าให้ยังคง มีอันตรายอยู่ได้ต่อไป ดังนั้น การถอดเสื้อผ้าจึงเป็นขั้นตอนแรก ส�าหรับ การท�าลายล้างพิษผู้ประสบภัยต้องสงสัยว่ามีการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็น ของเหลวหรือเป็นไอ ๕-๑๙ วิธีการท�าลายล้างพิษตนเองหรือการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ควรเริ่มขึ้นทันทีส�าหรับผู้ประสบภัยต้องสงสัยว่ามีการเปื้อนพิษสารเคมี ส�าหรับระบบการท�าลายล้างพิษทีซ่ บั ซ้อน ระบบวิธกี ารแสวงเครือ่ งในสนาม และระบบทีป่ ระณีตอาจให้ความเป็นส่วนตัวได้ดกี ว่า, มีความสะดวกสบาย, มีความละเอียดสมบูรณ์ในการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ อย่างไรก็ตาม ระบบนีใ้ ช้เวลาในการจัดตัง้ และใช้ทรัพยากรมากขึน้ และอาจไม่ใช่ทางเลือก ในการท�าลายล้างพิษในขั้นต้น ระบบนี้เป็นรูปแบบที่น�ามาใช้ในการท�าลาย ล้างพิษเพิ่มเติมแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งผ่านการท�าลายล้างพิษตนเองหรือ การท�าลายล้างพิษฉุกเฉินมาแล้ว และเป็นมาตรการป้องกันเอาไว้ก่อน ส�าหรับผู้ประสบภัยจากสารเคมี ซึ่งไม่แสดงอาการบ่งชี้หรือไม่มีหลักฐาน แน่ชัดที่เกี่ยวข้องกับการเปื้อนพิษจากสารเคมี ๕-๒๐ อาจมีความจ�าเป็นที่ต้องใช้วิธีการท�าลายล้างพิษหลาย วิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาและทรัพยากรที่จ�าเป็นในการจัดตั้งและใน การปฏิบัติการ รวมทั้งจ�านวนผู้ประสบภัยที่เข้ารับการท�าลายล้างพิษ และ ความประณีตสมบูรณ์ของวิธีการท�าลายล้างพิษที่น�ามาใช้ 124

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กรณีที่เกี่ยวข้องกับสารชีวะ (Biological) ๕-๒๑ ลักษณะของสารชีวะมักแสดงอาการบ่งชีล้ า่ ช้า และไม่คอ่ ยมี สัญญาณบ่งชีท้ รี่ บั รูไ้ ด้โดยง่าย (เช่น สี, กลิน่ ) ในกรณีของสารชีวะทีถ่ กู ปล่อย กระจายออกมา มักไม่มีเหตุการณ์ในบริเวณที่เกิดเหตุที่ต้องปฏิบัติในการ ตอบสนองเว้นแต่ได้มีการแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการแพร่กระจาย หรือ มีการค้นพบเครือ่ งมือทีอ่ า้ งว่าหรือสงสัยว่ามีการใช้แพร่กระจายสารชีวะ หรือ มีการจับกุมผู้ก่อการที่มีพฤติกรรมแพร่กระจายสารชีวะ ๕-๒๒ สถานที่ที่ดูแลด้านสุขภาพมักเป็นบริเวณที่มีการจัดการ เหตุการณ์ด้านสารชีวะ ในสถานที่เช่นนั้นมักเป็นที่รับรู้กันว่ามีเหตุการณ์ เกี่ยวข้องกับสารชีวะ เนื่องจากมีจ�านวนผู้ป่วยเป็นจ�านวนมากที่มีลักษณะ อาการบ่งชี้คล้ายกับการได้รับสารชีวะ ๕-๒๓ การรักษาทางการแพทย์เป็นวิธีการตอบสนองเหตุการณ์ ด้านสารชีวะ ที่อยู่ห่างจากบริเวณที่เกิดเหตุที่ส�าคัญ ค�าแนะน�าเกี่ยวกับ วิธีการท�าลายล้างพิษ ให้ใช้สบู่และฝอยน�้าอุ่นจากฝักบัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผูป้ ว่ ยทีไ่ ม่ได้ชา� ระร่างกายด้วยตนเองอย่างละเอียดสมบูรณ์เมือ่ เกิดเหตุการณ์ หากสงสัยว่ามีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารชีวะ มาตรการระวังป้องกัน ต้องน�ามาใช้เพือ่ ป้องกันผูป้ ว่ ยในโรงพยาบาล รวมไปถึงเจ้าหน้าทีแ่ ละสถานที่ ให้ปราศจากโรคติดเชื้อ ๕-๒๔ เมื่อมีการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ ความประณีตรอบคอบ เป็นสิ่งส�าคัญมากกว่าความรวดเร็ว สารชีวะไม่ใช่สารที่ก่ออันตรายจากการ สัมผัส ดังนั้นการก�าจัดสารชีวะออกจากผิวหนังจึงไม่มีความวิกฤติในเรื่อง ของเวลาเหมือนกับที่ผู้ประสบภัยได้สัมผัสกับสารเคมี การถอดเสื้อผ้าออก ทันทีและท�าลายล้างพิษฉุกเฉินก็เพียงพอส�าหรับผู้ประสบภัยที่อาจได้รับ บาดเจ็บและต้องการการรักษาเป็นกรณีเร่งด่วนมากกว่า 125

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กรณีที่เกี่ยวข้องกับสารรังสี (Ridiological) ๕-๒๕ การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์หรือกลไกนิวเคลียร์แบบ แสวงเครื่อง ก่อให้เกิดผลการท�าลายล้างอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม วัสดุ นิวเคลียร์นั้นยากมากที่จะเข้าถึง การยกขน และการขนส่ง การด�าเนินการ เช่นนัน้ ก็มขี นั้ ตอนการปฏิบตั ติ ามมาอีกมากมาย แต่ยงั ไม่ถอื ว่าเป็นภัยคุกคาม ๕-๒๖ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการสาด กระจายวัสดุรังสีเป็นการใช้กลไกการสาดกระจายวัสดุรังสีหรือระเบิดโสมม (dirty bomb) กลไกหรื อ อุ ป กรณ์ นี้ มี รู ป แบบการใช้ วั ต ถุ ร ะเบิ ด หรื อ เป็นแก๊สอัดด้วยแรงดันเป็นกลไกสาดกระจายวัสดุรังสีให้ครอบคลุมไป ทั่วทั้งพื้นที่ กลไกสาดกระจายวัสดุรังสีไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตาย เหมือนกับการปล่อยกระจายสารเคมีหรือสารชีวะทีท่ า� ให้เกิดผลส�าเร็จตามที่ คาดหวัง อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ท�าให้เกิดความวิตกกังวลทางด้านจิตวิทยา, ท�าให้เกิดการเปื้อนพิษเป็นบริเวณกว้าง และท�าให้เกิดความรู้สึกเครียด อย่างมีนัยส�าคัญ ๕-๒๗ วัสดุรงั สีทา� ให้เกิดผลอันตรายทางด้านการแพทย์ในลักษณะ หน่วงเวลาและมีอาการได้หลากหลายลักษณะ ท�าให้ยากต่อการรับรู้ โดยปราศจากสัญญาณบ่งชี้พิเศษหรือไม่ได้ใช้เครื่องมือตรวจหา จึงควรใช้ เครื่องมือตรวจวัดรังสีเพื่อตรวจหาวัสดุรังสีมีความแรงสูงที่มีอยู่รอบบริเวณ ที่เกิดเหตุ ๕-๒๘ หากมีวัสดุรังสีคงค้างอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ มีการปฏิบัติ หลายขั้นตอนเพื่อควบคุมอันตรายและท�าให้มีโอกาสน้อยที่สุดที่จะได้รับ รังสีเพิ่มมากขึ้น จึงควรค้นหาต�าแหน่งของกลไกสาดกระจายวัสดุรังสีและ ด�าเนินการควบคุม ผู้ประสบภัยควรถูกย้ายออกให้ออกห่างจากอันตราย และน�าตรงไปยังพื้นที่ท�าลายล้างพิษ 126

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๒๙ การท�าลายล้างพิษรังสีเป็นการท�าให้อนั ตรายจากการเปือ้ น พิษที่ผิวหนังเหลือน้อยลง เป็นการลดความเสี่ยงไม่ให้สิ่งเปื้อนพิษเข้าสู่ ร่างกาย ช่วยควบคุมการเปือ้ นพิษ และลดความรูส้ กึ เครียด ในการท�าลายล้าง พิษรังสี ผู้ประสบภัยควรถูกท�าให้เปียกน�้าก่อนการถอดเสื้อผ้าเพื่อลดความ เสี่ยงจากหายใจหรือกลืนกินฝุ่นละออง (อนุภาค) ที่เปื้อนรังสีเข้าสู่ร่างกาย ๕-๓๐ การถอดเสื้อผ้าออกทันทีและการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน เป็นสิ่งจ�าเป็นในกรณีที่ผู้ประสบภัยต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ด้านอืน่ ๆ ร่วมด้วยซึง่ ต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ไม่เหมือน กับกรณีที่เป็นสารชีวะ วัสดุรังสีมีท่าทีท�าอันตรายภายนอก (ต้นก�าเนิดรังสี อยู่ภายนอกร่างกาย) ซึ่งควรขจัดออกจากผิวหนังและเสื้อผ้าให้ทันเวลา

ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ (Decontamination Corridors) ๕-๓๑ ในรูปที่ ๕-๒ แสดงตัวอย่างผังช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ (เขตเฝ้าระวังถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เห็นรายละเอียดของช่องเส้นทาง การท�าลายล้างพิษ) โดยปกติ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษเป็นพืน้ ทีท่ ตี่ งั้ อยู่ ในเขตเฝ้าระวังซึ่งสถาปนาขั้นตอนการท�าลายล้างพิษในบริเวณนี้ ซึ่งเป็น พื้นที่ที่ถูกควบคุมช่องทางเข้าที่ต่อมาจากเขตอันตราย (สถานที่เกิดเหตุ) และต่อไปยังเขตปลอดภัย (เขตสนับสนุน) เป็นบริเวณที่มีการด�าเนินการ ปฏิบัติการท�าลายล้างพิษส�าหรับเหตุการณ์นี้

127

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ช่องเส้นทาง การท�าลายล้างพิษ เขต อันตราย ที่เกิดเหตุ เขต เฝ้าระวัง

จุดทางเข้า

ท�าลายล้างพิษผู้ป่วย ท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ท�าลายล้างพิษขั้นตอนทางเทคนิค

เขตปลอดภัย

ขนส่งทาง การแพทย์

ทิศทางลม

รูปที่ ๕-๒ ตัวอย่างผังช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ (แสดงเป็นตัวอย่าง)

๕-๓๒ ส่วนประกอบหลักของช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ คือ จุดทางเข้าและจุดทางออก (แนวควบคุมไอ) สิ่งส�าคัญคือแนวการเคลื่อนที่ ของก�าลังพลผ่านช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษต้องอยู่เหนือลม ระยะห่าง ระหว่างจุดทางเข้าและจุดทางออกขึน้ อยูก่ บั ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ทีน่ า� มาใช้รายละเอียดยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบตั สิ า� หรับช่องเส้นทาง การท�าลายล้างพิษอยู่ใน ผนวก ง

ระเบียบปฏิบัติในการท�าลายล้างพิษก�าลังพล (Personel Decontamination Procedures) ๕-๓๓ การท�าลายล้างพิษก�าลังพล ได้แก่ การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวน มาก และการท�าลายล้างพิษผู้ป่วย 128

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน (Emergency Decontamination) ๕-๓๔ การท� า ลายล้ า งพิ ษ ฉุ ก เฉิ น เป็ น กระบวนการก� า จั ด การ เปื้อนพิษออกจากก�าลังพล เพื่อช่วยชีวิต ท�าให้ได้รับบาดเจ็บน้อยที่สุด และจ�ากัดการแพร่กระจายการเปื้อนพิษ นอกจากนั้นยังเอื้ออ�านวยให้ การรักษาทางการแพทย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้มีการถ่ายโอนการ เปื้อนพิษไปยังบุคคลหรือไปยังยุทโธปกรณ์อื่น ๕-๓๕ สารที่ ใ ช้ ใ นการท� า ลายล้ า งพิ ษ นั้ น ต้ อ งมี ค วามปลอดภั ย กับการใช้บริเวณผิวหนังและบาดแผล การท�าลายล้างพิษฉุกเฉินมุ่งไป ที่การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยให้ออกห่างจากอันตราย ๕-๓๖ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการถอดเสื้อผ้าชั้นนอก การก�าจัดสารเคมีหยดเหลวออกจากผิวหนัง การอาบน�้า การตรวจสภาพ ทั่วไปผู้ประสบภัยด้วยสายตา และสัมภาษณ์ผู้ประสบภัยอย่างคร่าวๆ (หากมีเวลา) ในรูปที่ ๕-๓ แสดงผังตัวอย่างการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ๕-๓๗ การติดตามเหตุการณ์ ผู้บัญชาการเหตุการณ์อาจสั่งการ ให้ ก ารท� า ลายล้ า งพิ ษ ฉุ ก เฉิ น เป็ น มาตรการท� า ลายล้ า งพิ ษ อั น ดั บ แรก การสถาปนาสถานีท�าลายล้างพิษฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วจะช่วยลดจ�านวน ผู้บาดเจ็บให้เหลือน้อยที่สุด (ดูในผนวก ง ส�าหรับขั้นตอนการท�าลาย ล้างพิษฉุกเฉิน)

129

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ เขตอันตราย พื้นที่เปื้อนพิษ

เขตเฝ้าระวัง

พื้นที่ท�าลายล้างพิษ

เขตเฝ้าระวัง

คัดแยกผู้ป่วย, รักษา และบัญชาการเหตุการณ์

ควบคุมบังคับบัญชา

โรงพยาบาล

ที่เกิดเหตุ

พื้นที่ พ่นละออง น�้า ICP

เขตอันตราย

พื้นที่ พ่นละออง น�้า ทิศทางการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เขตเฝ้าระวัง

เขตเฝ้าระวัง

EOC

ทิศทางลม

อธิบายศัพท์ ICP Incident Command Post (ที่บัญชาการเหตุการณ์) EOC Emergency Operations Center (ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์ฉุกเฉิน) การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค (Technical Decontamination)

รูปที่ ๕-๓ ตัวอย่างผังการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน

๕-๓๘ การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค โดยทั่วไปมัก หมายถึงการท�าลายล้างพิษ ผูต้ อบสนองเหตุ ยุทโธปกรณ์ทใ่ี ช้ตอบสนองเหตุ และพยานหลักฐานอย่างละเอียดประณีต การด�าเนินการลักษณะนีม้ กั เกิดขึน้ ในระหว่างการตอบสนองเหตุการณ์แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ซึ่งด�าเนินการโดยผู้ตอบสนองเหตุที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี จุดเน้น ของการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค คือการท�าให้สาร คชรน. มีความสะเทิน (neutralization) ค�าทั่วไปที่ใช้ร่วมกับการท�าลายล้างพิษ ตามขั้นตอนทางเทคนิค ได้แก่ การท�าลายล้างพิษโดยละเอียด (detailed), การท�าลายล้างพิษขั้นสมบูรณ์ (thorough), การท�าลายล้างพิษขั้นประณีต (deliberate), การท�าลายล้างพิษขั้นสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ (definitive) และ การท�าลายล้างพิษผู้ตอบสนองเหตุ 130

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๓๙ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเชื่อมโยงกับอุบัติเหตุหรือเชื่อมโยง กับการก่อการร้ายและมีความเกีย่ วข้องกับอันตรายด้าน คชรน. ผูต้ อบสนอง เหตุจ�าเป็นต้องใช้ถังอากาศอัดช่วยหายใจประกอบกับชุดเครื่องแต่งกาย ป้องกันแบบปกปิดมิดชิด หรือชุดเครื่องแต่งกายต้านทานสะเก็ดระเบิด หรือชุดเครื่องแต่งกายป้องกัน คชรน. ๕-๔๐ การท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิคต้องด�าเนินการไป ทีละขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอันตรายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการ เปือ้ นพิษต่อผูต้ อบสนองเหตุลงจนถึงระดับปลอดภัยและป้องกันการถ่ายโอน การเปื้อนพิษออกนอกเขตพื้นที่เปื้อนพิษ วิธีการนี้ประกอบด้วยการตรวจ สอบคู่มืออ้างอิงทางเทคนิคเพื่อตรวจสอบความเป็นอันตราย (ความไวไฟ, ความเป็นพิษ) และการประเมินความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้ พร้อมกัน (ไอเมือ่ เทียบ กับหยดเหลว, สารพุพองเมื่อเทียบกับสารประสาท, อันตรายจากรังสี เมื่อเทียบกับอันตรายจากเคมี-ชีวะ) ๕-๔๑ เมื่อเหตุการณ์ได้พัฒนามาเป็นล�าดับ การสถาปนาการ ท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิคอาจด�าเนินการต่อจากการท�าลายล้าง พิษฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม การท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิคอาจเกิด ขึ้นพร้อมกับการท�าลายล้างพิษฉุกเฉินก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ตอบสนองเหตุ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าไปในเขตอันตรายจนกว่าได้จัดตั้งสถานี ท�าลายล้างตามขั้นตอนทางเทคนิคส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุเรียบร้อยแล้ว (รายละเอียดศึกษาได้จากคูม่ อื FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/NTTP 3-11.26/ AFTTP(I) 3-2.60) (ในรูปที่ ๕-๔ แสดงตัวอย่างผังการท�าลายล้างพิษ ตามขั้นตอนทางเทคนิค) 131

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ เขตอันตราย พื้นที่เปื้อนพิษ

เขตเฝ้าระวัง

พื้นที่ท�าลายล้างพิษ

เขตเฝ้าระวัง

คัดแยกผู้ป่วย, รักษา และบัญชาการเหตุการณ์

พื้นที่พักรอ

ที่เกิดเหตุ

สถานี 1 – ปลดเปลื้องยุทโธปกรณ์ 2 – ท�าลายล้างพิษยุทธภัณฑ์ป้องกันตน 3 – ตรวจสอบยุทธภัณฑ์ป้องกัน 4 – ถอดเสื้อผ้า/หน้ากากป้องกัน 5 – อาบน�้า/แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ 6 – ประเมินทางการแพทย์

โรงพยาบาล

ICP

เปลี่ยนถังอากาศ อัดช่วยหายใจ

เขตอันตราย

ควบคุมบังคับบัญชา

เขตเฝ้าระวัง

พื้นที่พักรอ เขตเฝ้าระวัง

ทิศทางลม

อธิบายศัพท์ EOC Emergency Operations Center (ศูนย์ปฏิบัติสถานการณ์ฉุกเฉิน) ICP Incident Command Post (ที่บัญชาการเหตุการณ์) PPE Personal Protective Equipment (ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน) SCBA Self-Contained Breathing Apparatus (ถังอากาศอัดช่วยหายใจ) technical emergency decontamination (การท�าลายล้างพิษฉุกเฉินตามขั้นตอนทางเทคนิค) technical decontamination (การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค)

รูปที่ ๕-๔ ตัวอย่างผังการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค

การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก (Mass Casualty Decontamination) ๕-๔๒ เมื่อเกิดเหตุการณ์ด้าน คชรน. มีผลท�าให้มีผู้บาดเจ็บเป็น จ�านวนมากจึงอาจจ�าเป็นต้องด�าเนินการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก เนื่องจากก�าลังพลที่ด�าเนินกรรมวิธีผ่านทางการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ ผูป้ ว่ ยจ�านวนมากภายในประเทศไม่เหมือนกับการมีชดุ เครือ่ งแต่งกายป้องกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรวดเร็วและกรรมวิธีท�าลายล้างพิษที่มีประสิทธิภาพ 132

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

นอกจากการตอบสนองด้ ว ยความรวดเร็ ว แล้ ว การปฏิ บั ติ ก ารท� า ลาย ล้ า งพิ ษ ผู ้ ป ่ ว ยจ� า นวนมากยั ง ต้ อ งการก� า ลั ง พลที่ ท� า หน้ า ที่ ต อบสนอง, ยุทโธปกรณ์, และสิ่งอุปกรณ์เป็นจ�านวนมาก (ดูในคู่มือ JP 4-06 ส�าหรับ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการท�าลายล้างพิษศพมนุษย์) ๕-๔๓ การปฏิบัติการอาจด�าเนินการโดยมอบให้กับหน่วยที่เข้า ประจ�าการ หรือโดยหน่วยที่ตั้งอยู่ประจ�าที่ที่ได้รับผลกระทบ หรือหน่วยที่มี การจัดเป็นระบบ, ชุมชน, ระดับรัฐ หรือระดับชาติ ผู้ที่ท�าหน้าที่ตอบสนอง เหตุอาจได้แก่ นักผจญเพลิง (ระดับ กห., ท้องถิ่น, รัฐ และ/หรือระดับชาติ), เจ้าหน้าที่สายแพทย์, ผู้ท�าหน้าที่ส่งก�าลังบ�ารุง, ทหารช่าง, เจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัย และผู้ตอบสนองเหตุของชาติเจ้าบ้าน หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์กรเอกชน ๕-๔๔ เมือ่ มีการใช้มาตรการแบบแสวงเครือ่ งในการท�าลายล้างพิษ (เช่น สายฉีดน�้าดับเพลิงและหัวฉีดน�้าดับเพลิง) สุขภาพและความปลอดภัย ของผูป้ ว่ ยต้องเอาใจใส่ในระดับสูงสุด เจ้าหน้าทีส่ ายแพทย์ตอ้ งหมัน่ ตรวจสอบ ผู ้ ป ่ ว ยตลอดทุ ก ห้ ว งของขั้ น ตอนการท� า ลายล้ า งพิ ษ เพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า กระบวนการนี้จะไม่ท�าให้เกิดการเจ็บป่วยมากยิ่งขึ้น ควรด�ารงรักษาข้อมูล ส�าหรับติดต่อเจ้าหน้าทีท่ ดี่ า� เนินกรรมวิธที า� ลายล้างพิษตลอดทัง้ ช่องเส้นทาง ทางท�าลายล้างพิษในกรณีที่จ�าเป็นที่ต้องติดตาม ๕-๔๕ เมือ่ เดินทางถึงบริเวณทีเ่ กิดเหตุ หัวหน้าหน่วยท�าลายล้างพิษ ที่ได้รับมอบหมายต้องไปรายงานตัวกับผู้บัญชาการเหตุการณ์เพื่อฟังค�า แนะน�า หัวหน้าหน่วยท�าลายล้างพิษประสานกับส่วนสื่อสารและส่วน ส่งก�าลังบ�ารุงเพื่อร้องขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติม หากจ�าเป็น 133

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๔๖ ผู้น�าหน่วยปฏิบัติการตอบสนองรับค�าแนะน�าในลักษณะ จ�าเพาะ และก�าหนดสถานทีท่ า� ลายล้างพิษ หน่วย/เจ้าหน้าทีต่ อบสนองเหตุ ของกระทรวงกลาโหม อาจปฏิบตั กิ ารสนับสนุนในความพยายามท�าลายล้าง พิษของฝ่ายพลเรือนและให้การสนับสนุนทรัพย์สนิ ทีช่ มุ ชนไม่มี ด้วยต�าแหน่ง ผู้น�าจึงต้องเตรียมแผนเพื่อการปฏิบัติ และด�าเนินการดังนี้ l ลาดตระเวนโดยผูน ้ า� หน่วยเพือ่ ก�าหนดสถานทีท่ า� ลายล้างพิษ l แบ่ ง มอบทรั พ ย์ สิ น จ� า เพาะให้ แ ต่ ล ะแห่ ง ในการจั ด ตั้ ง สถานที่ท�าลายล้างพิษ l ปรับแถลงภารกิจการตอบสนองเหตุและกิจทีไ ่ ด้รบั มอบ ให้เป็นปัจจุบันตามข้อมูลใหม่ l ปรับการจัดยุทโธปกรณ์ตามแถลงภารกิจให้เป็นปัจจุบน ั l ตรวจสอบยุ ท โธปกรณ์ แ ละเตรี ย มเข้ า วางก� า ลั ง บริ เ วณ สถานที่ท�าลายล้างพิษ l วางก�าลังหน่วย/เจ้าหน้าทีเ่ ข้าประจ�าสถานทีท ่ า� ลายล้างพิษ l ปฏิบัติการท�าลายล้างพิษโดยต่อเนื่อง และเริ่มร้องขอ การสนับสนุนผ่านทางนายทหารติดต่อไปยังผู้บัญชาการเหตุการณ์ในที่เกิด เหตุ หรือระบบบัญชาการเหตุการณ์ l ก�าหนดแผนเพือ ่ ควบคุมน�า้ ทิง้ หรือกากของเสียทีเ่ กิดจาก การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ ๕-๔๗ การท�าลายล้างพิษต้องด�าเนินการให้เร็วทีส่ ดุ เท่าทีท่ า� ได้เพือ่ ช่วยชีวติ ผูต้ อบสนองเหตุรายแรก/นักผจญเพลิงควรใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูแ่ ละ เริม่ ด�าเนินการท�าลายล้างพิษทันทีเท่าทีท่ า� ได้ เนือ่ งจากหน่วยตอบสนองเหตุ 134

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

สามารถน�าน�า้ ไปด้วยในปริมาณมาก แนวทางการใช้แบบวิธแี สวงเครือ่ งทีเ่ ป็น ไปได้มากที่สุด คือการใช้ยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ส�าหรับพ่นน�้าแรงดันต�่า แม้แต่ การใช้น�้าเพียงอย่างเดียว ก็สามารถท�าลายล้างพิษได้เป็นอย่างดี กระนั้น หากใช้ร่วมกับสบู่ก็จะท�าให้จ�ากัดสิ่งเปื้อนพิษได้ดียิ่งขึ้น ๕-๔๘ สารละลายโซเดียม ไฮโปคลอไรต์ (sodium hypochlorite) (สารฟอกขาว) แบบเจือจาง สามารถน�ามาใช้ก�าจัดสาร คชรน. โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่เดินไม่ได้ สารละลายที่มีส่วน ผสมไฮโปคลอไรต์ประมาณ ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้ท�าลายล้างพิษ เปลหาม, อุปกรณ์ทใี่ ช้ตดั และผิวสัมผัสอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ใช่ผวิ หนัง ส�าหรับสบูก่ บั น�า้ ใช้ในบริเวณผิวสัมผัสที่เป็นผิวหนัง ๕-๔๙ ล�าดับต่อมา การจัดตัง้ สถานีทา� ลายล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก มั ก จั ด ตั้ ง ต่ อ จากการจั ด ตั้ ง สถานี ก ารท� า ลายล้ า งพิ ษ ฉุ ก เฉิ น และการ ท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิค การท�าลายล้างพิษฉุกเฉินควรด�าเนิน การให้เสร็จสิน้ ในเวลาทีส่ ถานีการท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมากได้จดั ตัง้ เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค เพื่อการสนับสนุนผู้ตอบสนองเหตุควรยังคงมีอยู่ในระหว่างการปฏิบัติการ (ดู ผนวก ง ส�าหรับข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการท�าลายล้างพิษ ผู้ป่วยจ�านวนมาก)

การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย (Patient Decontamination) ๕-๕๐ การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยมีความคล้ายคลึงกับการท�าลาย ล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก โดยทั่วไป มักหมายถึงการปฏิบัติการท�าลาย ล้างพิษที่เกิดขึ้น ณ สถานีท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่จัดตั้งอยู่ใกล้กับที่พยาบาล 135

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

รูปแบบการท�าลายล้างพิษลักษณะนีเ้ ป็นการปฏิบตั ทิ มี่ จี ดุ มุง่ หมายส�าคัญ คือ การป้องกันทีร่ กั ษาพยาบาลไม่ให้เปือ้ นพิษ การด�าเนินกรรมวิธที า� ลายล้างพิษ ผูป้ ว่ ยเป็นตามค�าแนะน�าส�าหรับการท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมากทุกขัน้ ตอน แต่การปฏิบตั กิ ารมีขนาดเล็กกว่าซึง่ เป็นการดูแลผูป้ ว่ ยทีไ่ ม่ผา่ นสถานีทา� ลาย ล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก และต้องส่งผู้ป่วยนั้นไปยังที่รักษาพยาบาลเพื่อ ให้การดูแลรักษาเป็นกรณีเร่งด่วน ๕-๕๑ การท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยเป็นการด�าเนินการเพือ่ ให้มนั่ ใจว่า ผู้ป่วยไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับรักษาจนกว่าผู้ป่วยเหล่านั้นปราศจากการ เปื้อนพิษ (ส�าหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยสามารถ ศึกษาได้จากคูม่ อื FM 4-02.7/MCRP 4-11.1F/NTTP 4-02.7/AFTTP 3-42.3)

ขั้นตอนการท�าลายล้างพิษอาคารสถานที่, สภาพภูมิประเทศ และยุทโธปกรณ์ (Facility, Terrain and Equipment Decontamination Procedures) ๕-๕๒ การปฏิ บั ติ ก ารท� า ลายล้ า งพิ ษ เพื่ อ แก้ ไ ขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. อาจเกี่ยวข้องกับอาคารสถานที่, สภาพภูมิประเทศ และยุทโธปกรณ์ แนวทางหลักนิยมที่ใช้อาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือ FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/NTTP 3-11.26/AFTTP(I) 3-2.60 จากพืน้ ฐาน ความต้องการในการท�าลายล้างพิษลักษณะนี้ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และเทคนิ ค พิ เ ศษ กระทรวงกลาโหมมั ก เป็ น ผู ้ ส นั บ สนุ น ชุ ด ปฏิ บั ติ ก าร ตอบสนองทางด้านเทคนิคให้แก่หน่วยงานอื่น

136

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เขตอันตราย

พื้นที่เปื้อนพิษ

เขตเฝ้าระวัง

พื้นที่ท�าลายล้างพิษ

เขตเฝ้าระวัง

คัดแยกผู้ป่วย, รักษา และบัญชาการเหตุการณ์

ควบคุมบังคับบัญชา

พื้นที่พักรอ

เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย

ที่เกิดเหตุ

เขตเฝ้าระวัง

ขนส่ง ทางการ แพทย์

ICP

สถานี 1 – จุดรวบรวมผู้ป่วย/เข้าสู่ระบบ 2 – ท�าลายล้างพิษตนเอง/ฉุกเฉิน 3 – ถอดเสื้อผ้า/ของใช้ส่วนตัว 4 – ก�าจัดสิ่งปนเปื้อน/อาบน�้า 5 – จุดเฝ้าตรวจ 6 – พื้นที่สวมใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ 7 – ประเมินทางการแพทย์/พื้นที่รักษาที่ปลอดภัย

เขตอันตราย

โรงพยาบาล

พื้นที่พักรอ

ทิศทางลม

เขตเฝ้าระวัง

อธิบายศัพท์ CCP Casualty Collection Point (จุดรวบรวมผู้ป่วย) EOC Emergency Operations Center (ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์ฉุกเฉิน) ICP Incident Command Post (ที่บัญชาการเหตุการณ์) Ambulatory casualty decontamination (การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่เดินได้) Nonambulatory casualty decontamination (การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่เดินไม่ได้)

รูปที่ ๕-๕ ตัวอย่างผังการท�าลายล้างพิษผู้ป่วย

การปฏิบัติการฟื้นฟูการสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support Recovery Operation) ๕-๕๓ การปฏิบัติการฟื้นฟูสนับสนุนการบริการสุขภาพเป็นการ ปฏิบัติที่ด�าเนินการอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการตอบสนองขั้นปฏิบัติการ ในขณะที่ปฏิบัติการฟื้นฟู หน่วย/เจ้าหน้าที่สนับสนุนบริการสุขภาพเริ่มลด บทบาทในการปฏิบตั กิ ารลง และเริม่ ส่งมอบความรับผิดชอบคืนไปให้เจ้าหน้าที่ ตอบสนองทางการแพทย์ของท้องถิน่ , ระดับรัฐ, ระดับชาติ หรือชาติเจ้าบ้าน 137

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การคัดแยกผู้ป่วย (Triage) ๕-๕๔ การคัดแยกผู้ป่วยเป็นขั้นตอนการประเมินผู้ป่วยส�าหรับ จัดประเภทเพือ่ การรักษาทางการแพทย์ ซึง่ เป็นการจัดระเบียบผูป้ ว่ ยให้เข้ารับ การรักษา เจ้าหน้าที่สนับสนุนการบริการสุขภาพ คัดแยกผู้ป่วยตรงบริเวณ แรกรับเพื่อการรักษา/การท�าลายล้างพิษ เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยจ�าเป็น ต้องรับการท�าลายล้างพิษก่อนการรักษา หรือผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่คุกคาม ต่อชีวติ ซึง่ จ�าเป็นต้องด�าเนินกรรมวิธชี ว่ ยชีวติ เป็นการเร่งด่วน ความสามารถ ในการคัดแยกผู้ป่วยและให้การรักษาผู้ประสบภัยก่อนได้รับการท�าลาย ล้างพิษอาจเป็นไปอย่างจ�ากัด เนือ่ งจากเจ้าหน้าทีท่ ใี่ ห้การรักษาทางการแพทย์ ต้องสวมใส่ชุดเครื่องแต่งกายป้องกัน การรักษาพยาบาลก่อนได้รับการ ท� า ลายล้ า งพิ ษ จึ ง เป็ น เพี ย งมาตรการเพื่ อ รั ก ษาชี วิ ต และท� า ให้ ผู ้ ป ่ ว ย ทรงสภาพเท่านั้น

สถานที่แรกรับผู้ป่วยและการท�าลายล้างพิษ (Receiving and Decontamination) ๕-๕๕ สถานที่แรกรับผู้ป่วยและการท�าลายล้างพิษควรจัดตั้งใกล้ บริเวณทีร่ กั ษาพยาบาลทีใ่ ห้การสนับสนุน เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าผูป้ ว่ ยทีผ่ า่ นเข้าไป ในทีร่ กั ษาพยาบาลได้รบั การท�าลายล้างพิษแล้วทุกคน ผูป้ ว่ ยบางคนอาจเดิน ไปยังที่รักษาพยาบาลด้วยตนเอง แต่ก็ต้องผ่านช่องเส้นการท�าลายล้างพิษ ผู้ป่วยจ�านวนมาก ผู้ป่วยคนอื่นๆ อาจยังมีการเปื้อนพิษอยู่หรือกลับมา เปื้อนพิษซ�้าได้อีกครั้งหนึ่งในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย/กระบวนการ ขนส่ง ก�าลังพลทีส่ นับสนุนการท�าลายล้างพิษและเจ้าหน้าทีส่ ายแพทย์จงึ ต้อง อยู่ประจ�าสถานีนี้ (ดูคู่มือ FM 4-02.7/MCRP 4-11.1F/NTTP 4-02.7/ 138

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

AFTTP 3-42.3 ส�าหรับยุทธวิธี, เทคนิค และระเบียบปฏิบัติการจัดตั้งสถานี แรกรับและท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยในบริเวณทีร่ กั ษาพยาบาล) (ส�าหรับรายละเอียด เพิ่มเติมอยู่ใน ผนวก ง)

การรักษาพยาบาลผู้ป่วย (Casualty Treatment) ๕-๕๖ การรักษาพยาบาลขั้นต้นที่ด�าเนินการโดยผู้ตอบสนอง เหตุรายแรก (นักผจญเพลิง, เจ้าหน้าที่บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน) หรือ โดยชุดแพทย์ทใี่ ห้การรักษา (การคัดแยกผูป้ ว่ ย, การรักษาทางการแพทย์ฉกุ เฉิน, การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วย) ระดับของการ รักษาขึ้นอยู่กับประเภทของการเปื้อนพิษ, หน่วยท�าลายล้างพิษที่มีอยู่, จ�านวนผู้ป่วย, ประเภทสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่, จ�านวนเจ้าหน้าที่ ที่ให้การรักษา, ยุทธภัณฑ์ป้องกันตนส�าหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้การรักษา และ สถานที่ที่ได้รับแบ่งมอบให้เป็นที่รักษา ผู้ตอบสนองเหตุรีบด�าเนินการย้าย ผู้ป่วยออกจากพื้นที่เปื้อนพิษให้เร็วที่สุดแล้วด�าเนินการท�าลายล้างพิษ รวมทัง้ ให้ยารักษาตามสภาพทีเ่ ป็นอยู่ และด�าเนินการตามขัน้ ตอนการรักษา ทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉินโดยเร็ว

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Medical Evacuation) ๕-๕๗ ผู้ตอบสนองเหตุต้องรีบเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากพื้นที่ เปื้อนพิษโดยเร็วเพื่อลดอันตรายจากสาร คชรน. อย่างไรก็ตาม รูปแบบ เคลื่อนย้ายอาจมีความจ�าเป็นอย่างมาก ในระหว่างการตอบสนองเหตุการณ์ อันเนือ่ งมาจาก คชรน. จากผลทีเ่ กิดขึน้ เจ้าหน้าทีท่ างการแพทย์อาจต้องค�านึง ถึงรูปแบบการขนส่งที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องผู้ป่วยที่ไม่ได้ 139

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

รับการป้องกันมาเลย การใช้ยานพาหนะ (รถรับส่งนักเรียน, รถบรรทุก พื้นเรียบ, รถบรรทุกขนาดเบา [pickup]) อาจมีความจ�าเป็น เพื่อให้ การเคลือ่ นย้ายผูป้ ว่ ยไปยังพืน้ ทีท่ า� ลายล้างพิษ และให้การรักษาเป็นไปอย่างมี ประสิ ท ธิ ภ าพ อย่ า งไรก็ ต าม การดู แ ลรั ก ษาต้ อ งได้ รั บ การฝึ ก ควบคุ ม การแพร่กระจายของการเปื้อนพิษ (ส�าหรับข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้จากคู่มือ ATP 4-25.13, ATP 4-02.2 และ FM 4-02.7/MCRP 4-11.1F/NTTP 4-02.7/AFTTP 3-42.3)

การพักรักษาในโรงพยาบาล (Hospitalization)

๕-๕๘ การพักรักษาในโรงพยาบาลอาจด�าเนินการโดยสถาบัน การรักษาพยาบาลของเหล่าทัพ (การด�าเนินการของกรมแพทย์ทหารบก และศูนย์การแพทย์กองทัพบก; โรงพยาบาลของกองทัพอากาศ; คลินิก, สถานพยาบาล, โรงพยาบาลของกองทัพเรือ) หน่วยรักษาทางการแพทย์ ระดับยุทธการ (หน่วยแพทย์ทสี่ ามารถส่งเข้าประจ�าการ) หรือสถานพยาบาล ในท้ อ งถิ่ น , สถานพยาบาลระดั บ รั ฐ , สถานพยาบาลระดั บ ชาติ หรื อ สถานพยาบาลของชาติเจ้าบ้าน ข้อพิจารณาในการวางแผนมีลักษณะ จ�าเพาะส�าหรับการรักษาในโรงพยาบาลในระหว่างการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ได้แก่ ขีดความสามารถในการท�าลายล้างพิษ, สิง่ อุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ พิเศษ และขีดความสามารถในการร้องขอรับการสนับสนุนทางการแพทย์ กลับไปยังผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานระดับชาติ โดยไม่ต้องค�านึงประเภท ที่รักษาพยาบาลที่ให้การสนับสนุน โดยเจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนบริการ สุขภาพควรจัดให้มี

140

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

สถานทีแ่ รกรับผูป้ ว่ ย ซึง่ อยูใ่ กล้เคียงกับทีร่ กั ษาพยาบาล และพื้นที่คัดแยกผู้ป่วย รวมทั้งการท�าลายล้างพิษ l การรักษาความปลอดภัยที่รักษาพยาบาล เพื่อป้องกัน บุคคลที่เปื้อนพิษผ่านเข้าไปในที่รักษาพยาบาลโดยที่ยังไม่ผ่านการท�าลาย ล้างพิษ l สิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ส�าหรับการจัดการและดูแล ผู้ป่วยอันเนื่องมาจาก คชรน. l

ระบบการแพทย์เพื่อภัยพิบัติแห่งชาติ (National Disaster Medical System) ๕-๕๙ สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมหลายแห่งถูกก�าหนด ให้เป็นศูนย์ประสานงานระดับชาติเพือ่ สนับสนุนระบบการแพทย์รบั ภัยพิบตั ิ ระดับชาติ และต้องพัฒนาบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ “ระบบการแพทย์ เพื่อภัยพิบัติแห่งชาติ” เมื่อเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับภัยพิบัติระดับชาติ (เช่น เหตุการณ์ดา้ น คชรน.) ศูนย์ประสานงานแห่งชาติเป็นผูป้ ระสานกับเจ้าหน้าที่ ในระดับท้องถิ่น, ระดับรัฐ, ระดับชาติ และกับเจ้าหน้าที่ประจ�าระบบ การแพทย์เพื่อภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อการจัดการผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ, การประสานงาน รวมไปถึงการเคลือ่ นย้ายผูป้ ว่ ยและการท�าหน้าทีด่ แู ลผูป้ ว่ ย อย่างดีที่สุด (ดูค�าสั่ง กห ที่ 6000.12E และ ค�าแนะน�าส�าหรับศูนย์ประสาน งานแห่งชาติ (Federal Coordinating Center Guide) ส�าหรับหน้าที่ ความรับผิดชอบของศูนย์ประสานงานแห่งชาติและสถานพยาบาลสังกัดกระทรวง กลาโหม เพื่อการวางแผน, การฝึก และการปฏิบัติการตามแผนของท้องถิ่น ส�าหรับการรับและดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกส่งไปยังพื้นที่ ในระบบการแพทย์เพื่อภัยพิบัติแห่งชาติ) 141

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การปฏิบัติการฟื้นฟูการส่งก�าลังบ�ารุง (Logistic Recovery Operations) ๕-๖๐ การวางแผนส่งก�าลังบ�ารุงควรค�านึงการปฏิบัติเพื่อกลับคืน สู่สภาวะปกติ และเพื่อการฟื้นฟูจากการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (การปฏิบัติการฟื้นฟูได้อธิบายไว้ใน ผนวก ง) การปฏิบัติเพื่อกลับ คืนสู่สภาวะปกติเพิ่มเติมอาจจ�าเป็นต้องท�าความสะอาดในพื้นที่ที่เกิดเหตุ และการสนับสนุนในระหว่างขั้นตอนการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. อาจต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่มาจากหน่วย ตอบสนองเหตุระดับชาติอนื่ ๆ (เช่น ส�านักงานพิทกั ษ์สงิ่ แวดล้อม [EPA]) หรือ จากชาติเจ้าบ้าน ๕-๖๑ การฟื้นคืนสภาพสถานที่ที่มีการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. เป็นภาระในด้านการส่งก�าลังบ�ารุงของหน่วยตอบสนอง เหตุการณ์ในทุกระดับ การฟื้นฟูสถานที่อาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรเป็น จ�านวนมากจนกว่าจะกลับมาใช้สถานที่นั้นได้อีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น อาจ ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. เพื่อท�าความสะอาดอาคาร Hart Senate และอาคารที่ท�าการไปรษณีย์ Brentwood Mail หลั ง จากที่ มี ก ารปล่ อ ยกระจายเชื้ อ แอนแทรกซ์ การท�าความสะอาดอาจใช้เวลานานนับเดือน อีกทั้งมีการใช้เทคนิคและ การสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุงอีกมาก ทรัพยากรทางทหารอาจจ�าเป็นต้อง ให้การสนับสนุนการปฏิบัติการฟื้นฟู (เช่น การท�าลายล้างพิษขั้นละเอียด สมบูรณ์, ท�าลายล้างพิษอาคารสถานที่ และการท�าลายล้างพิษภูมิประเทศ) ๕-๖๒ การท�าลายล้างพิษศพที่เปื้อนพิษเพื่อสนับสนุนกิจการ ฌาปนกิจอาจมีความจ�าเป็น (ดูค�าแนะน�าเพิ่มเติมในคู่มือ JP 4-06) 142

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๖๓ ในขณะที่การปฏิบัติการฟื้นฟูได้พัฒนาต่อเนื่องไป หน่วย ปฏิบตั กิ ารตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ควรคาดการณ์ ไปข้ า งหน้ า และเตรี ย มการถอนก� า ลั ง ตลอดจนรายการสิ่ ง อุ ป กรณ์ ส�ารองที่ได้รับการแจกจ่าย รวมไปถึงรายการดังต่อไปนี้ l ยุ ท โธปกรณ์ ห รื อ สิ่ ง อุ ป กรณ์ ส� า หรั บ ตรวจพิ สู จ น์ ท ราบ ซึ่งทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากการเปื้อนพิษ l ยืนยันการปรับแผนการพกพาสิ่งอุปกรณ์/ยุทโธปกรณ์ l ตรวจสอบยืนยันสถานภาพความต้องการสิง ่ อุปกรณ์และ ต�าบลที่ต้องการให้จัดส่ง l ตรวจสอบสถานภาพรายการยุทโธปกรณ์ที่รอการซ่อม l ปรับข้อมูลการใช้ทรัพยากรให้เป็นปัจจุบัน

การปฏิบัติการเปลี่ยนผ่าน (Transition Operations)

๕-๖๔ การเปลีย่ นผ่านเกีย่ วข้องกับการโอนหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ ไปให้ ห น่ ว ยงานอื่ น ๆ การยุ ติ ภ ารกิ จ หรื อ การเปลี่ ย นผ่ า นเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ภารกิจเสร็จสิ้น หรือเมื่อได้รับค�าสั่งจากประธานาธิบดีหรือรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ๕-๖๕ ลักษณะการผละออกจากการปฏิบัติการของกระทรวง กลาโหม เมื่อหน่วยงานที่ได้รับมอบหน้าที่ไม่มีความจ�าเป็นต้องขอรับ การสนั บ สนุ น จากกระทรวงกลาโหมอี ก ต่ อ ไป ซึ่ ง เป็ น กรณี ทั่ ว ไป เมื่ อ อั น ตรายฉั บ พลั น ที่ เ กิ ด จากเหตุ ก ารณ์ ด ้ า น คชรน. ได้ ถู ก ขจั ด ไปแล้ ว ขีดความสามารถในการช่วยชีวิตถูกเข้ามาแทนที่และการบริการที่ส�าคัญ ได้กลับคืนมา โดยทั่วไปหน่วยภายใต้กระทรวงกลาโหมมักไม่ต้องอยู่เพื่อ ปฏิบัติการฟื้นฟูในบริเวณที่เกิดเหตุ 143

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๖๖ ถ้ากองก�าลังภายใต้กระทรวงกลาโหมมีการถ่ายโอนหน้าที่ ระหว่างหน่วยในกระทรวงกลาโหม ความต้องการในการเปลีย่ นผ่านระหว่าง หน่วยในกระทรวงกลาโหมต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติมาตรฐานการ ส่งมอบหน้าทีท่ างทหาร หากการเปลีย่ นผ่านเกีย่ วข้องกับการโอนหน้าทีห่ รือ พื้นที่จากกองก�าลังทหารให้แก่หน่วยงานพลเรือน หรือองค์กรท้องถิ่นหรือ องค์กรของชาติเจ้าบ้าน การเปลี่ยนผ่านนั้นควรค�านึงถึงระเบียบปฏิบัติใน การด�าเนินการและข้อตกลงที่มีอยู่ของผู้บัญชาการเหตุการณ์ ปัจจัยส�าคัญ คือการส่งมอบสมุดบันทึก (ปูม) ทีไ่ ด้บนั ทึกไว้ในระหว่างการปฏิบตั กิ ารแก้ไข สถานการณ์ สมุดบันทึกจะให้รายละเอียดเกีย่ วกับชุดปฏิบตั กิ ารทีร่ บั ผิดชอบ โดยมีรูปภาพประกอบเหตุการณ์และการปฏิบัติที่เกิดขึ้น บัญชีรายชื่อ เจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่เข้าตอบสนองเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบ ควรส่งมอบไปกับสมุดบันทึกตามที่เห็นสมควร ๕-๖๗ แผนการเปลีย่ นผ่านช่วยให้เจ้าหน้าทีค่ น้ หาประโยชน์ทเี่ กิดขึน้ ซึ่งสัมพันธ์กับภาพสุดท้ายและผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ มีความส�าคัญ อย่างยิง่ ทีต่ อ้ งหากลุม่ หรือหน่วยงานทีย่ อมรับในบทบาทและความรับผิดชอบ จากผู้บัญชาการกองก�าลังเฉพาะกิจร่วม แผนการเปลี่ยนผ่านยังช่วยใน การค้นหาหน่วยงาน, ระเบียบปฏิบัติและข้อเสนอแนะรวมทั้งข้อพิจารณา ทีม่ กี ารส่งมอบ เมือ่ มีการปฏิบตั ติ ามแผนการเปลีย่ นผ่าน กลุม่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ การเปลี่ยนผ่านควรได้มีการถกแถลงถึงเกณฑ์ข้อก�าหนดส�าหรับการปฏิบัติ การเปลี่ยนผ่าน แผนดังกล่าวไม่ควรปกปิด, ต้องชัดเจน และกระชับได้ ใจความ–ใช้ค�า, ค�าย่อที่เข้าใจตรงกันในทุกลุ่ม 144

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๖๘ การเปลี่ยนผ่านอาจส�าเร็จลงได้ โดยการส่งมอบหน้าที่และ พื้นที่พิเศษในบริเวณที่เกิดเหตุ กระบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นการขับเคลื่อน จากเหตุการณ์ที่ไม่ได้ยึดโยงกับตารางปฏิทิน การส่งมอบหน้าที่และพื้นที่ รับผิดชอบก็ต่อเมื่อมีหน่วยที่มีขีดความสามารถใกล้เคียงกันมารับมอบหรือ ไม่มีความจ�าเป็นอีกต่อไป ระเบียบปฏิบัติในการส่งมอบยุทโธปกรณ์และ สิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วยภายใต้กระทรวงกลาโหมกับหน่วยงานพลเรือน หรือไปยังหน่วยงานท้องถิน่ หรือองค์การของชาติเจ้าบ้าน – ต้องก�าหนดขึน้ ให้เป็นไปตามระเบียบและค�าแนะน�าตามที่ได้สั่งการไว้แล้ว ๕-๖๙ ผู้วางแผนควรค้นหาหัวข้อปัจจัยเปลี่ยนผ่านที่ส�าคัญภายใน ขอบเขตอ�านาจของหน่วย ซึ่งอาจรวมไปถึงการส่งก�าลังบ�ารุง, การบริการ ทางการแพทย์, การสื่อสาร, การรักษาความปลอดภัย และการบริการ ทางเทคนิค ผู้วางแผนควรพัฒนาหัวข้อเกณฑ์ข้อก�าหนดการเปลี่ยนผ่าน เพือ่ ให้การตรวจสอบได้ดา� เนินการต่อไป ตัวบ่งชีท้ เี่ ลือกไว้อย่างดีชว่ ยให้มนั่ ใจ ถึงวิธกี ารทีเ่ หมาะสม และได้นา� มาใช้เป็นมาตรการขับเคลือ่ นในระหว่างการ เปลี่ยนผ่าน

การปฏิบัติการถอนก�าลัง (Redeployment Operations) ๕-๗๐ การถอนก�าลังเริ่มขึ้นอย่างเร็วที่สุดเท่าจะท�าได้เมื่อบรรลุ ผลส� า เร็ จ ตามเป้ า หมาย หรื อ ความจ� า เป็ น ในการใช้ ก� า ลั ง ทหารลดลง การวางแผนและการปฏิบตั กิ ารถอนก�าลังให้เป็นไปตามแนวปฏิบตั แิ ละระเบียบ ปฏิบัติปกติทางทหาร ข้อพิจารณาที่ควรเอาใจใส่คือข้อก�าหนดในการ ตรวจพิสูจน์ทราบด้านกายภาพส�าหรับความปลอดภัยของทรัพยากรที่ จะเคลือ่ นย้ายออกจากบริเวณทีเ่ กิดเหตุ และควรกักเก็บ, ควบคุม และ/หรือ ปล่อยทิ้งไว้ ความปลอดภัยของศพก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความส�าคัญอย่างยิ่ง 145

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๗๑ ในระหว่างการถอนก�าลังต้องมีการทบทวนหลังการปฏิบัติ เพือ่ ช่วยในการประเมินผลการปฏิบตั ภิ ารกิจและการปฏิบตั งิ าน การทบทวน หลังการปฏิบัติควรกล่าวถึงหัวข้อต่อไปนี้ l ภารกิจเดิมคืออะไร แถลงภารกิจว่าไว้อย่างไร และมีการ แบ่งระดับการบังคับบัญชาไว้อย่างไร l ควรต้องมีอะไร (ภารกิจหรือแผน) l มีอะไรที่เกิดจริง (อธิบายรายละเอียดของเหตุวิกฤต) l เหตุการณ์เกิดขึน ้ ได้อย่างไร (เรือ่ งจริงทีส่ า� คัญอันน�าไปสู่ เหตุวิกฤต) l ท�าไมถึงเกิดเหตุวิกฤต (ข้อวินิจฉัยถึงสาเหตุ) l จะพั ฒ นาการปฏิ บั ติ อ ย่ า งไรเมื่ อ เกิ ด เหตุ ใ นอนาคต (ก�าหนดหนทางปฏิบัติอื่นๆ) ๕-๗๒ ในระหว่างการตอบสนองเหตุการณ์ ข้อมูลที่รับเข้ามาและ ข้อมูลส่งออกไป (ค�าถามและการตอบค�าถาม) ควรถูกบันทึกและจัดเก็บไว้ เพื่อให้ก�าลังพลสามารถน�ากลับมาทบทวนข้อมูล และในเวลาต่อมาจะได้ เชื่อมั่นว่าได้ด�าเนินการไปอย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ๕-๗๓ หลังจากการปฏิบัติภารกิจตอบสนองเหตุการณ์ หน่วย ปฏิบัติการตอบสนองควรบันทึกเป็นเอกสารเพื่อการเรียนรู้, ค้นหาหนทาง ปฏิบัติที่ตามมาหลังจากการปฏิบัติการ และจัดส่งส�าเนาการทบทวนหลัง การปฏิบตั เิ พือ่ รายงานหน่วยเหนือตามสายการบังคับบัญชา เนือ้ หาทีส่ า� คัญ ในเอกสารควรกล่าวถึงก�าลังพลและสิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลืองหรือค่าใช้จ่าย, บันทึกรายการเหตุการณ์และข้อมูลทางการแพทย์ของก�าลังพลที่เข้าร่วม ตอบสนองเหตุการณ์ 146

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

๕-๗๔ ก�าหนดให้มีการเก็บรวบรวมบทเรียนที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ภายในของเหล่าทัพ หรือตามสายการบังคับบัญชาที่ก�าหนด ซึ่งเป็นไปตาม ระเบียบปฏิบัติของแต่ละเหล่าทัพหรือสายการบังคับบัญชา ๕-๗๕ บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงหลังจากเกิดเหตุฉุกเฉิน การปฏิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ ในระหว่างทีไ่ ด้รบั การแจ้งเหตุ, การตอบสนอง และการปฏิบตั ิ ในขั้นการฟื้นฟู จะมีความส�าคัญส�าหรับตอบค�าถามที่อาจถูกถามเกี่ยวกับ งบประมาณประจ�าปีหรือการบริหารทรัพยากร, การเฝ้าระวังทางการแพทย์, การรักษาทางการแพทย์ และเกี่ยวกับกิจการศพ ๕-๗๖ การเก็บรักษาบันทึกข้อมูลที่มีความถูกต้อง ยังเอื้อให้มี การเฝ้าติดตามปัญหาสุขภาพของก�าลังพลชุดตอบสนองเหตุของกระทรวง กลาโหมในระยะยาว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรค�านึงถึง ข้อพิจารณาด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพในระหว่างการปฏิบัติการ ถอนก�าลังต่อไปนี้ l มั่นใจว่าได้ซักถามอย่างละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพ และ ความเสี่ยงจากโรคติดต่อกับ ก�าลังพลหลังจากถูกส่งเข้าประจ�าการ ซึ่ง ด�าเนินการกับก�าลังพลที่ถูกส่งกลับหรือกลับจากการเข้าประจ�าการ l ด�าเนินการเฝ้าระวังทางการแพทย์ในระยะยาว เพื่อตรวจ หาเชื้อโรคแฝง เนื่องจากการสัมผัสกับภัยคุกคามจากสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อ สุขภาพแบบเฉียบพลัน, แบบเรื้อรัง และอยู่ในระยะแฝง l ใช้ขอ ้ มูลจากการเฝ้าระวังด้านสุขภาพบันทึกเป็นเอกสาร เกี่ยวกับการเกิดโรค หรือเกิดผลอันตรายต่อสุขภาพจากการสัมผัสกับสาร อันตราย, ด�าเนินการสอบสวนการเกิดโรคระบาด, ตรวจสอบยุทธศาสตร์ 147

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การป้องกันและมาตรการตอบโต้ที่ก�าหนดขึ้นมาใหม่ ส�าหรับการส่งก�าลัง เข้าประจ�าการในปัจจุบนั และในอนาคต และพัฒนาการของเชือ้ ทีก่ อ่ ให้เกิด ความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อ l ก�าหนดข้อแนะน�าในการจัดเก็บข้อมูลในการปฏิบัติการ เพือ่ สอบสวนเกีย่ วกับค�าถาม-ค�าตอบทีเ่ กีย่ วข้องกับสุขภาพจากการส่งก�าลัง เข้าประจ�าการ l จั ด ให้ มี ก ารประเมิ น ผลด้ า นสุ ข ภาพแบบเผชิ ญ หน้ า กั บ ผูผ้ า่ นการฝึกในการดูแลสุขภาพ ส�าหรับการถอนก�าลังพลออกจากการประจ�าการ ซึ่ ง ต้ อ งกรอกข้ อ มู ล ลงในแบบพิ ม พ์ กห ๒๗๙๖ (DD Form 2796) (การประเมินผลด้านสุขภาพภายหลังจากการส่งก�าลังเข้าประจ�าการ) ก�าหนดตารางการส่งต่อเข้าท�าการรักษาและการทันตกรรม รวมทัง้ การเยีย่ มเยือน เพื่อติดตามเกี่ยวกับข้อกังวลหรือภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ l มั่นใจว่าก�าลังพลกองหนุนได้รับการดูแลด้านสุขภาพ และการทันตกรรม และการประเมินด้านความสามารถตามค�าสั่ง กห ที่ ๑๒๔๑.๐๑ (DODD 1241.01) ก่อนทีก่ า� ลังพลกองหนุนผูน้ นั้ จะพ้นประจ�าการ จากกองทัพ การช่วยดูแลทางการแพทย์และการทันตกรรมผนวกกับการ ติดตามด้านสุขภาพทีจ่ า� เป็นหลังจากพ้นประจ�าการจากกองทัพ หากก�าลังพล ผู้นั้นไม่อยู่ประจ�าการในกองทัพอีกต่อไป

148

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผนวก ก ยุ ทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติเพื่อการจัดท�าแผน แผนการตอบสนองเหตุ ข องหน่ ว ยเพื่ อ การแก้ ไ ขสถานการณ์ อันเนือ่ งมาจาก คชรน. เป็น ค�าแนะน�าของผูบ้ งั คับบัญชาให้หน่วยปฏิบตั ติ าม ในระหว่างการปฏิบัติการตอบสนองเหตุเพื่อแก้ไขสถานการณ์ และในการ ปฏิบัติการฟื้นฟู

การพัฒนาแผน (Plan Development)

ก-๑ ในแต่ละเหล่าทัพได้ใช้กระบวนการท�านองเดียวกันในการ พัฒนาแผน ตารางที่ ก-๑ เป็นตัวอย่างรายการตรวจสอบในระหว่างด�าเนิน การจัดท�าแผนเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ตารางที่ ก-๑ ตัวอย่างรายการตรวจสอบเพื่อพัฒนาแผน  รับภารกิจ  ด�าเนินการวิเคราะห์ภารกิจ  วิเคราะห์ค�าสั่งจากหน่วยเหนือ  ด�าเนินการประเมินภัยคุกคาม  ด�าเนินการประเมินสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ  ตรวจสอบกิจหรืองานที่มีลักษณะจ�าเพาะ, งานที่มีลักษณะเป็นนัยส�าคัญ, งานที่ส�าคัญยิ่ง (วิเคราะห์ภารกิจ-ไปสู่-งาน)  ด�าเนินการประเมินขีดความสามารถ  ด�าเนินการวิเคราะห์ความล่อแหลม  ตรวจสอบข้อจ�ากัด  ค้นหาความจริงและตั้งสมมติฐาน  ด�าเนินการประเมินความเสี่ยง

149

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

 จัดท�าแผน ตรวจสอบความต้องการข่าวส�าคัญยิง่ ของผูบ้ งั คับบัญชาในขัน้ ต้น  ตรวจสอบความต้องการในการส�ารวจสถานที่/ด�าเนินการส�ารวจ (การลาดตระเวน)  เขียนภารกิจแถลงใหม่  ด�าเนินการแถลงผลการวิเคราะห์ภารกิจ  ขออนุมัติภารกิจแถลงใหม่  พัฒนาเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาในขั้นต้น  แจกจ่ายค�าแนะน�าของผู้บังคับบัญชา  ด�าเนินการพัฒนาหนทางปฏิบัติ  ด�าเนินการวิเคราะห์หนทางปฏิบัติ  รับทราบการอนุมัติหนทางปฏิบัติ  จัดท�าแผน

ก-๒ การพัฒนาแผนการตอบสนองเหตุทสี่ มบูรณ์, มีการบูรณาการ และสามารถปฏิบัติได้ เป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา จุดส�าคัญ ที่ต้องพิจารณาในระหว่างการพัฒนาแผนตอบสนองเหตุการณ์เพื่อแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ได้ครอบคลุมไปถึงประเด็นต่อไปนี้ l จัดเตรียมค�าแถลงภารกิจด้วยข้อความทีส ่ นั้ กระชับและชัดเจน l ถ่ายทอดเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา l มุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติของหน่วยรอง l จัดเตรียมกิจหรืองาน, การปฏิบต ั ,ิ ข้อจ�ากัด และค�าแนะน�า ในการประสาน l จัดเตรียมอนุผนวก/ผนวก (หากจ�าเป็น) ประกอบค�าสั่ง เพื่อขยายความเพิ่มเติม ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น l เห็ น ชอบให้ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาหน่ ว ยรองจั ด เตรี ย มแผนให้ การสนับสนุน l อย่ายับยั้งความคิดริเริ่ม 150

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ก-๓ รูปแบบของแผนตอบสนองเหตุของหน่วยเป็นไปตามรูปแบบ มาตรฐานของแผนยุทธการ และรูปแบบค�าสั่งมี ๕ ย่อหน้า กระนั้นก็ยัง สามารถปรับเปลีย่ นให้ตรงกับความต้องการทีม่ ลี กั ษณะจ�าเพาะ ส�าหรับการ ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ขั้นตอนพื้นฐานส�าหรับ การพัฒนาแผนตอบสนองเหตุของหน่วย มีดังนี้ l รวบรวมและแปลผลข้อมูลที่ได้มา l จั ด ท� า บทสรุ ป และแผนขั้ น ต้ น บทสรุ ป ของแผนท� า ให้ ผู้อ่านเข้าใจถึงใจความส�าคัญเกี่ยวกับขอบเขตและจุดมุ่งหมายของแผน ส�าหรับแผนขั้นต้นได้กล่าวถึงการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน โดยมีส่วนขยายความ (อนุผนวก/ภาคผนวก) ซึ่งแผนดังกล่าวควรจัดท�าก่อนแผนที่จะเป็นเอกสาร ที่สมบูรณ์ แผนขั้นต้นมีรูปแบบเป็นไปตามรูปแบบของค�าสั่ง ประกอบ ด้วย ๕ หัวข้อ โดยได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ สถานการณ์, แผนการปฏิบัติ, เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา, แนวความคิดในการปฏิบัติ, กิจ (งาน), ค�าแนะน�าในการประสาน, แนวความคิดในด้านธุรการและการส่งก�าลังบ�ารุง และแนวความคิดในการควบคุมบังคับบัญชา l ก� า หนดแผนการปฏิ บั ติ ตรวจสอบและมอบความ รับผิดชอบ ส�าหรับการพัฒนา อนุผนวกและผนวก และมอบหมายกิจ โดยเว้นวันที่เอาไว้ก่อนเพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ อนุผนวกให้รายละเอียดที่ไม่ได้ บรรจุ ร วมอยู ่ ใ นแผนขั้ น ต้ น โดยที่ อ นุ ผ นวกมั ก เขี ย นเพื่ อ ความชั ด เจน และท�าให้แผนขั้นต้นมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น อนุผนวกอาจกล่าวถึงการจัด เฉพาะกิจ, การส่งก�าลังบ�ารุง, การข่าวกรอง, ก�าลังพล, การปฏิบัติการ และ ความหลากหลายในเรื่องจ�าเพาะในการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงแค่ความต้องการแต่ก็เป็นสิ่งที่จ�าเป็นใน แต่ละอนุผนวกยังสัมพันธ์กับลักษณะของการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. (เช่น การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก) 151

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

พัฒนาการประสานและทบทวนแผน ในแต่ละเหล่าทัพมี คูม่ อื แนะน�าทีเ่ กีย่ วข้องกับการวางแผน, การจัดหน่วย, และการประสานของ ฝ่ายอ�านวยการโดยอิสระ (คู่มือ ADRP 5-0, NWP 5-01, AFMAN 10-401, and MCWP 5-1) l แผนขัน ้ สุดท้ายและเสนอให้ผ้บู งั คับบัญชาพิจารณาและ อนุมัติ แผนขั้นสุดท้ายควรจะ.  มีความสอดคล้องกับภารกิจการจัด/ทีต ่ งั้ หน่วยทหาร และความรับผิดชอบ  มุ่งให้เป็นไปตามแนวทางด้านยุทธวิธี  มีรายละเอียดมากพอส�าหรับการปฏิบต ั ทิ เี่ ป็นการเฉพาะ  เข้าใจง่าย  ปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด หากจ�าเป็น ก-๔ หลังจากการอนุมัติของผู้บังคับบัญชาแล้ว แผนตอบสนอง เหตุเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ของหน่วยก็จะกลายเป็น “ค�าสั่งยุทธการ” l

การจัดท�าแผนปฏิบัติการของหน่วย (Unit Operation Planning)

ก-๕ จากแผนยุ ท ธการท� า ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจในสถานการณ์ , เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา, แนวความคิดในการปฏิบัติ และกิจเฉพาะที่ ได้มอบให้หน่วยรองทุกหน่วย ก-๖ ในรูปที่ ก-๑ แสดงรูปแบบตัวอย่างแผนยุทธการของหน่วย เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น หน่วยมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะกับความต้องการ เป็นการเฉพาะได้ 152

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ)

ชุดที่......ของ......ชุด หน้า......ของ......หน้า หน่วยที่ออกค�าสั่ง หมู่ วัน เวลา ที่หนังสือ

แผนยุทธการ .................. (ชื่อรหัส) อ้างถึง: แผนที่, ผัง, แผ่นบริวาร, และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เขตเวลาที่ใช้ทั่วทั้งค�าสั่งนี้ .................. การจัดเฉพาะกิจ ๑. สถานการณ์ ก. เหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ (๑) บริเวณ (พิกัด) (๒) ชื่อ (๓) รายละเอียดโดยย่อ (๔) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสบภัย (ก) สิ่งบ่งชี้, ลักษณะอาการ และประวัติ (ข) จ�านวนผูป้ ระสบภัย (ตาย, บาดเจ็บ และมีโอกาสได้รบั ผลกระทบ) (ค) บริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ (ง) การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน (เมือ่ ไร, ทีไ่ หน และวิธกี ารท�าลายล้าง พิษที่มีการยืนยัน) หรือการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก (เมื่อไร, ที่ไหน) ข. สภาพแวดล้อม (๑) สภาพอากาศ (ก) ในปัจจุบัน (อีก ๑๒ ชม. ข้างหน้า) • อุณหภูมิ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

153

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) • ความชื้น/หยาดน�้าฟ้า • ความกดอากาศ • ความเร็วลม • ทิศทางลม (จากทิศ) • ปริมาณเมฆปกคลุมท้องฟ้า • ข้อมูลแสงที่เกี่ยวข้อง (ห้วงเวลาตอนกลางวัน, เวลา ดวงอาทิตย์ขน้ึ , ดวงจันทร์ขน้ึ , ดวงจันทร์ตก, ดวงจันทร์เสีย้ ว และเปอร์เซ็นต์ของแสงในเวลากลางคืน) (ข) ผลกระทบจากสภาพอากาศปัจจุบนั ต่อก�าลังพล, ยุทโธปกรณ์, บริเวณเกิดเหตุ และสถานทีท่ เ่ี กิดเหตุ (ค) การพยากรณ์อากาศ (ใน ๑๒ ถึง ๒๔ ชม. ข้างหน้า) • การพยากรณ์ทั่วไป • อุณหภูมิสูง/ต�่า • แนวโน้มความกดอากาศ • ข้อมูลแสงที่เกี่ยวข้อง (ห้วงเวลาตอนกลางวัน, เวลาดวง อาทิตย์ขึ้น, ดวงจันทร์ขึ้น, ดวงจันทร์ตก, ดวงจันทร์เสี้ยว และเปอร์เซ็นต์ของแสงในเวลากลางคืน) (ง) การพยากรณ์อากาศ (ใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชม. ข้างหน้า) • การพยากรณ์ทั่วไป • อุณหภูมิสูง/ต�่า • แนวโน้มความกดอากาศ • ข้อมูลแสงที่เกี่ยวข้อง (ห้วงเวลาตอนกลางวัน, เวลาดวง อาทิตย์ขึ้น, ดวงจันทร์ขึ้น, ดวงจันทร์ตก, ดวงจันทร์เสี้ยว และเปอร์เซ็นต์ของแสงในเวลากลางคืน) (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

154

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (จ) ผลกระทบจากสภาพอากาศใน ๑๒ ถึง ๔๘ ชม. ข้างหน้า ต่อก�าลังพล, ยุทโธปกรณ์, บริเวณเกิดเหตุ และสถานทีท่ เี่ กิดเหตุ (๒) บริเวณและสถานที่เกิดเหตุ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ (ก) บริเวณที่เกิดเหตุ • สภาพภูมิประเทศ • จ�านวนประชาชน • ถนนที่สามารถเข้าถึงได้ • ความแออัดของพื้นที่และสิ่งกีดขวาง (ข) การพรรณนารายละเอียดสถานทีเ่ กิดเหตุ เพือ่ แก้ไขสถานการณ์ (ค) ผบ.เหตุการณ์ ก�าหนดพื้นที่ที่อยู่ห่างออกมา (ง) พื้นที่โดยรอบที่ส�าคัญ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากอันตราย ค. ภัยคุกคาม การประเมินภัยคุกคามรวมถึงการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานที่ ที่เกิดเหตุ, โอกาสหรือความเป็นไปได้ส�าหรับหนทางปฏิบัติในอนาคตที่ส่งผลเลวร้าย, ความเป็นไปได้ทเี่ กิดเหตุการณ์กอ่ การร้ายหลายเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ พร้อมกัน และโอกาส ทีจ่ ะมีการใช้วตั ถุระเบิดแบบแสวงเครือ่ ง หรือกลไกปล่อยกระจายสารเคมี ทีม่ เี ป้าหมาย ที่เจาะจงไปยังขีดความสามารถของผู้ตอบสนองเหตุ หากไม่ได้จัดเตรียมอนุผนวก ข่าวกรองแยกออกต่างหาก ข่าวกรองในขณะนั้นควรกล่าวถึงหัวข้อต่อไปนี้ (๑) การพิสจู น์ทราบผูก้ อ่ การร้าย, อุดมการณ์ หรือเป้าหมาย (หากทราบ) (๒) การพิสูจน์ทราบสาร คชรน. ในเบื้องต้น (ก) สารที่ทราบ (ข) สารที่อาจเป็นไปได้ (ค) วิธีการปล่อยกระจาย (ง) การกระจายของกลุ่มไอ (แบบจ�าลองอันตราย) (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

155

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๓) กลไกขั้นทุติยภูมิหรืออันตรายเพิ่มเติม ง. หน่วยระดับสูง/หน่วยให้การสนับสนุน (ชือ่ ผูป้ ระสานงานและหมายเลข โทรศัพท์) แผนควรรวมไปถึง ภารกิจ, เจตนารมณ์ของผูบ้ งั คับบัญชา และแนวความคิด ในการปฏิบัติ ส�าหรับ บก.หน่วยเหนือ ๑ ระดับ และเหนือขึ้นไป ๒ ระดับ (หากมี) หัวข้อย่อยระบุถึงชุดปฏิบัติทหารเพิ่มเติมเพื่อการตอบสนองเหตุ ซึ่งส่งเข้าประจ�าการ ในสถานที่เกิดเหตุ ค�าสั่งเป็นส่วนๆ สามารถน�ามาใช้เพื่อปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ตามพัฒนาการของสถานการณ์ การปฏิบัติของหน่วยที่เป็นลักษณะส�าคัญของหน่วย ตอบสนองเหตุ หากทราบ, ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ ปฏิบัติการ ซึ่งอาจรวมไปถึง (๑) ภารกิจของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ (๒) เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ (๓) นายทหารประสานงานของกระทรวงกลาโหม (๔) ทรัพยากรอื่นๆ ของกองก�าลังเฉพาะกิจ (๕) ผู้ประสานงานประจ�าที่ตั้งหน่วยทหารที่ให้การสนับสนุน (๖) ส�านักงานลดภัยคุกคามของกระทรวงกลาโหม (๗) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของกระทรวงกลาโหม (ก) ด้านเคมี (ข) ด้านชีวะ (ค) ด้านรังสี (ง) ด้านนิวเคลียร์ (จ) แบบจ�าลองความเป็นอันตราย (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

156

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) จ. การบัญชาการเหตุการณ์ (ชือ่ ผูป้ ระสานงาน, หน่วยงาน, หมายเลขโทรศัพท์ หรือความถีว่ ทิ ยุ) (๑) การบัญชาการเดี่ยวหรือการบัญชาการรวม (๒) ผู้บัญชาการเหตุการณ์ (๓) นายทหารด้านความปลอดภัย (๔) นายทหารสารสนเทศ (๕) นายทหารติดต่อ (๖) ส่วนแผน (๗) ส่วนปฏิบัติการ (๘) ส่วนส่งก�าลังบ�ารุง (๙) ส่วนการเงิน/ธุรการ ฉ. หน่วยทีพ่ ร้อมเข้าแก้ไขสถานการณ์ (ส่วนแยก, ส่วนสมทบ) อย่าให้ขอ้ มูลซ�า้ หากมีข้อมูลนี้อยู่แล้วในรายการ การจัดเฉพาะกิจ หรืออนุผนวก ก (การจัดเฉพาะกิจ) ใส่ข้อมูลทั้งหมดในรายการการจัดเฉพาะกิจหรือในอนุผนวก ก พร้อมกับให้ดูใน การจัดเฉพาะกิจ หรือดูที่ อนุผนวก ก อย่างไรก็ตาม หากไม่มขี อ้ มูลในการจัดเฉพาะกิจ ให้จัดท�ารายการส่วนแยกและส่วนสมทบส่งให้ บก. ที่ออกค�าสั่ง ระบุถึงส่วนแยกและ ส่วนสมทบทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ถ้าแตกต่างจากค�าสัง่ ยุทธการหรือแผนยุทธการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ (๑) ชุดปฏิบัติการจัดการวัตถุอันตราย (HAZMAT) (๒) ชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ (๓) ชุดปฏิบัติการการบริการแพทย์ฉุกเฉิน (๔) ชุดปฏิบัติการการบริการดับเพลิง (๕) เจ้าหน้าทีบ่ งั คับใช้กฎหมาย/เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัยของท้องถิน่ (๖) ชุดปฏิบัติการเก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิดของท้องถิ่น (๗) ชุดปฏิบตั กิ ารเก็บกูแ้ ละท�าลายวัตถุระเบิดระดับชาติ หรือของกองทัพ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

157

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๘) โรงพยาบาล (๙) องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ (เช่น ชุดปฏิบตั กิ ารสนับสนุนพลเรือน ตอบโต้อาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง) (๑๐) หน่วยงาน/องค์กรระดับชาติ (๑๑) องค์กรอาสาสมัครเอกชน (๑๒) อื่นๆ ๒. ภารกิจ กล่าวถึงภารกิจที่ได้แปรเปลี่ยนไปในกระบวนการจัดท�าแผน ไม่มี หัวข้อย่อยในค�าแถลงภารกิจ ซึ่งครอบคลุมไปถึงหัวข้อภารกิจในค�าสั่งด้วย ค�าแถลง ภารกิจควรสัน้ กระชับ และมุง่ เน้นไปทีค่ วามพยายามของหน่วยตอบสนองเหตุ ตัวอย่างเช่น โดยค�าสั่งของ ......................ให้ หน่วยตอบสนองเหตุเพื่อการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. เข้าประจ�าการไม่ช้าไปกว่าเวลา .............. ณ ต�าแหน่ง (พิกัด) ............. เพือ่ ประเมินโอกาสเกิดอันตราย, ให้ขอ้ เสนอแนะแก่ ผบ.เหตุการณ์ ในการแก้ไข สถานการณ์ที่อาจเกี่ยวข้องกับ คชรน. รวมทั้งเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายก�าลังทหารและ หน่วยงานของรัฐเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการแก้ไขสถานการณ์ ทั้งนี้เป็นการป้องกัน การสูญเสียชีวิต, การบาดเจ็บของประชาชน และความเสียหายต่อทรัพย์สิน ๓. แนวความคิดในการปฏิบัติ ก. เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา กล่าวถึงเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา ที่ได้แปรเปลี่ยนไปในระหว่างการจัดท�าแผน อธิบายถึงมุมมองของผู้บังคับบัญชาใน การปฏิบัติการ, อธิบายถึงวัตถุประสงค์, ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ และแสดงให้เห็น วิธีการปฏิบัติการ ที่เอื้อต่อการปฏิบัติการในอนาคต (๑) กิจเฉพาะ (งาน) ที่ส�าคัญ (เป้าหมายของ ผบ.เหตุการณ์) (๒) ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

158

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) ข. แนวความคิดในการปฏิบัติ (ทั่วไป) แนวความคิดในการปฏิบัติอาจ มีหัวข้อเดียว แต่อาจแบ่งเป็น ๒ หัวข้อย่อย หรือมากกว่าก็ได้ หากมีข้อความยาว มากเกินไป แนวความคิดในการปฏิบัติอาจแยกออกเป็นอนุผนวกก็ได้ แนวความคิด ในการปฏิ บั ติ อ ยู ่ บ นพื้ น ฐานของค� า แถลงถึ ง หนทางปฏิ บั ติ จากกระบวนการ แสวงข้อตกลงใจ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็เป็นการให้ขอ้ มูลรายละเอียดอย่างเพียงพอ เพือ่ ให้มนั่ ใจ ว่าเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของผูบ้ งั คับบัญชาเกิดความเข้าใจทีต่ รงกัน นอกจากนัน้ ยังควรก�าหนดล�าดับความเร่งด่วนของการสนับสนุน และกิจเฉพาะที่ได้มอบให้แก่ หน่วยตอบสนองเหตุ แนวความคิด ... • การใช้หน่วยตอบสนองเหตุ • ระบุถึงการแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ป้องกัน และการน�าไปใช้งาน • การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยหลักๆ ภายในระบบตอบสนอง เหตุการณ์ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยก�าลังรบและหน่วยกองหนุน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับ การบรรเทาสถานการณ์ • ลักษณะการปฏิบตั กิ ารอืน่ ๆ ทีผ่ บู้ งั คับบัญชาพิจารณาความเหมาะสมแล้ว เพื่อให้แนวความคิดชัดเจนขึ้น และให้มั่นใจว่าความพยายามมีเอกภาพ หากข้อความ เกีย่ วกับการบูรณาการและการประสานงานยาวเกินไป อาจน�าไปกล่าวไว้ใน อนุผนวก ได้ตามความเหมาะสม เมือ่ การปฏิบตั กิ ารเกีย่ วข้องกับขัน้ การปฏิบตั ิ มากกว่า ๒ ขัน้ ทีม่ คี วามแตกต่าง กันอย่างชัดเจน การจัดเตรียมแนวความคิดในการปฏิบัติ อาจแบ่งเป็นหัวข้อย่อย เพือ่ อธิบายรายละเอียดในแต่ละขัน้ การปฏิบตั ิ การก�าหนดขัน้ การปฏิบตั ใิ ห้กา� หนดเป็น “ขั้น” ตามด้วยตัวเลขโรมัน เช่น “ขั้น I” หมายเหตุ ขึน้ อยูก่ บั การพิจารณาความเหมาะสมของผูบ้ งั คับบัญชา, ระดับการบังคับบัญชา และความยุ ่ ง ยากซั บ ซ้ อ นในการปฏิ บั ติ ก าร หั ว ข้ อ ย่ อ ยต่ อ ไปนี้ เ ป็ น ตั ว อย่ า งที่ อาจจ�าเป็นต่อแนวความคิดในการปฏิบัติ ค. การลาดตระเวนและการเฝ้าตรวจ หัวข้อนีค้ วรเป็นแผนการลาดตระเวน และเฝ้าตรวจทีม่ ลี กั ษณะจ�าเพาะ และอธิบายถึงความเชือ่ มโยงกับแนวความคิดในการ ปฏิบัติขั้นพื้นฐาน (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

159

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) ง. การปฏิบตั กิ ารรักษาความปลอดภัย ในแผนควรระบุถงึ ความต้องการใน การรักษาความปลอดภัยสถานที่เกิดเหตุ จ. ข้อพิจารณาในด้านสิ่งแวดล้อม ควรระบุถึงสถานที่เกิดเหตุที่ไม่สามารถ น�าไปพิจารณา เป็นสภาพภูมิประเทศที่มีลักษณะจ�าเพาะ (ประชาชนในท้องถิ่น, ฐาน ผลิตด้านอุตสาหกรรม, องค์ประกอบของดิน) ฉ. ค�าแนะน�าในการประสาน จัดท�ารายการเฉพาะค�าแนะน�าทีใ่ ช้ในการประสาน ตัง้ แต่ ๒ หน่วย ขึน้ ไป และทีไ่ ม่ได้กา� หนดไว้ใน รปจ. ของหน่วย โดยทีห่ วั ข้อนีจ้ ะปรากฏ ในหัวข้อย่อยสุดท้ายในหัวข้อที่ ๓ ส�าหรับค�าแนะน�าทีย่ งุ่ ยากซับซ้อน ควรก�าหนดไว้ใน อนุผนวก ข้อมูลต่อไปนีค้ วรก�าหนดไว้ในค�าแนะน�าในการประสาน • เวลาหรือเงื่อนไขที่แผนหรือค�าสั่งมีผลบังคับใช้ • ความต้องการข่าวสารส�าคัญยิง่ ส�าหรับผูบ้ งั คับบัญชา จัดท�ารายการ ความต้องการข่าวกรองตามล�าดับความเร่งด่วน, ข้อมูลในส่วนก�าลังฝ่ายเราทีส่ า� คัญยิง่ , ความต้องการข้อมูลของก�าลังฝ่ายเรา, มาตรการควบคุมลดความเสีย่ ง (๑) ขั้น I, การส่งก�าลังเข้าประจ�าการในขั้นต้น – การปฏิบัติการของ หน่วยด�าเนินต่อเนื่องไปเมื่อได้รับการแจ้งเตือน (ก) บันทึกการระดมสรรพก�าลัง (ข) รายงานสถานภาพก�าลังรบ/การส่งก�าลังบ�ารุงประจ�าวัน (๒) ขั้น II, การส่งก�าลังเข้าประจ�าการ – เริ่มด้วยการรับภารกิจ และ จบลงด้วยการมาถึงที่รวมพลในสถานที่เกิดเหตุ (ก) ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเมื่อได้รับการแจ้งเตือน/การเข้าที่ รวมพล (ข) ส่งหน่วยตอบสนองเหตุเข้าประจ�าการ (ค) ออกค�าสั่งเตรียม (ค�าสั่งเตือน)/ค�าสั่งยุทธการ (ง) ปฏิบัติการระวังป้องกัน (๓) ขั้น III, การปฏิบัติการตอบสนอง – เริ่มด้วยการเข้าที่รวมพล จบลงด้วยการปฏิบัติกิจส�าเร็จตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเหตุการณ์ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

160

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (ก) ด�าเนินการประสานงาน/ส่งส่วนล่วงหน้า (ข) ด�าเนินการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษให้แก่หน่วย (ค) จัดตั้งและด�ารงการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการ (ง) จัดตั้งและด�ารงการปฏิบัติการติดต่อสื่อสาร (จ) จัดให้มีการปฏิบัติการสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุง (ฉ) ด�าเนินการปฏิบัติการสนับสนุนด้านธุรการ (ช) ด�าเนินการปฏิบัติการสนับสนุนการบริการสุขภาพ (ซ) ด�าเนินการปฏิบัติการส�ารวจด้าน คชรน. (ณ) ด�าเนินการปฏิบัติการส�ารวจด้านรังสี (ญ) ด�าเนินการประเมินผล (๔) ขัน้ IV, เริม่ ต้นด้วยการปฏิบตั กิ จิ เสร็จสิน้ ตามทีผ่ บู้ ญั ชาการเหตุการณ์ มอบหมาย และจบลงด้วยการเคลื่อนกลับสู่ที่ตั้งหน่วย (๕) ขัน้ V, เริม่ ต้นด้วยการกลับสูท่ ตี่ งั้ หน่วย และจบลงเมือ่ ยุทโธปกรณ์ ที่อ่อนไหวได้ถูกจัดเก็บเข้าคลังและมีการระวังป้องกันเรียบร้อยแล้ว ช. ภารกิจของหน่วยรอง (การประกอบก�าลังและที่ตั้งหน่วย) (๑) ก�าลังส่วนล่วงหน้า (๒) ชุดจู่โจมระลอกแรก (๓) ชุดจู่โจมระลอกที่สอง (๔) การบังคับบัญชา (๕) การติดต่อ (๖) ผู้สร้างแบบจ�าลอง (๗) ศูนย์ปฏิบัติการ (๘) การส่งก�าลังบ�ารุง (๙) การสื่อสาร (๑๐) การรักษาทางการแพทย์ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

161

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๑๑) ชุดเข้าเขตอันตรายเป็นชุดแรก (ก) ส�ารวจ (ข) เป็นชุดสนับสนุนส�ารอง (ค) ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ (๑๒) ชุดเข้าเขตอันตรายเป็นชุดที่สอง (ก) ส�ารวจ (ข) เป็นชุดสนับสนุนส�ารอง (ค) ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ซ. เจ้าหน้าที่ที่มีความส�าคัญ (ชื่อและสถานที่ที่อยู่) (๑) ผู้บังคับบัญชา (๒) นายทหารติดต่อ (๓) ส่วนปฏิบัติการ (๔) ส่วนส�ารวจ (๕) ส่วนท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค ซ. ก�าลังพลที่ไม่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ (ก�าลังพลที่ถูกระบุว่ามีความ เสี่ยงส�าหรับการถอดเครื่องแต่งกาย) ญ. ค�าแนะน�าที่มีรายละเอียดเพิ่มเติม [เช่น การรักษาความปลอดภัย, กฎการปะทะ (กฎการใช้ก�าลัง)] ฎ. เส้นทางเข้าสู่สถานที่เกิดเหตุ (๑) เส้นทางหลัก (ก) เส้นทาง (ข) จุดตรวจ (ค) จุดรวมก�าลัง (ง) พื้นที่พักรอในเขตหน้า (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

162

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๒) เส้นทางส�ารอง (ก) เกณฑ์การใช้งาน (ข) เส้นทาง (ค) จุดตรวจ (ง) จุดรวมก�าลัง (จ) พื้นที่พักรอในเขตหน้า (๓) การปฏิบัติเมื่อต้องหยุดเพื่อปะทะในระหว่างการเคลื่อนที่ (๔) การปฏิบัติเมื่อเกิดการสูญเสียในระหว่างการเคลื่อนที่ (๕) การปฏิบัติเมื่อขาดการติดต่อสื่อสารในระหว่างการเคลื่อนที่ ฏ. พื้นที่พักรอในเขตหน้า (๑) ประมาณเวลาในการเคลื่อนที่มาถึงพื้นที่พักรอในเขตหน้า (ก) ก�าลังส่วนล่วงหน้า (ข) ชุดจู่โจมระลอกแรก (ค) ชุดจู่โจมระลอกที่สอง (๒) การปฏิบัติของก�าลังส่วนใหญ่ในพื้นที่พักรอ ฐ. การปฏิบัติ ณ สถานที่เกิดเหตุ (๑) ประมาณเวลาในการมาถึงสถานที่เกิดเหตุ (ก) ก�าลังส่วนล่วงหน้า (ข) ชุดจู่โจมระลอกแรก (ค) ชุดจู่โจมระลอกที่สอง (๒) ก�าหนดสถานที่ที่เป็นจุดประสาน (๓) เตรียมแผนส�ารองหากสถานทีน่ นั้ เกิดการเปือ้ นพิษ (หาสถานทีส่ า� รอง) (๔) การติดต่อกับผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์และการเข้าครอบครองสถานที่ (๕) จัดล�าดับความเร่งด่วนของกิจเฉพาะ (๖) ก�าหนดผังเวลาในเบื้องต้น (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

163

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๗) เตรียมแผนการเก็บตัวอย่าง (๘) จัดล�าดับความเร่งด่วนในการท�าลายล้างพิษ (๙) แผนถอนตัวกรณีเร่งด่วน ฑ. ค�าแนะน�าในการประสาน (๑) การแต่งกาย (ก) เครื่องแบบทั่วไป – ก�าลังพลทุกคน (ข) เครือ่ งแบบในพืน้ ทีป่ ลอดภัย – ชุดปฏิบตั กิ ารและชุดปฏิบตั กิ าร ท�าลายล้างพิษ (ค) เครื่องแบบในพื้นที่ปลอดภัย – ก�าลังพลส่วนอื่นๆ (ง) ในช่องเส้นท�าลายล้างพิษ ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน/ยุทธภัณฑ์ ป้องกันประจ�ากาย (จ) ชุดปฏิบตั กิ ารส�ารวจ ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันตน/ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกัน ประจ�ากาย (ฉ) ชุดปฏิบตั กิ ารสนับสนุน ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันตน/ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกัน ประจ�ากาย (๒) ก�าหนดตารางเวลาในเบื้องต้น – เวลาที่เคลื่อนที่ออก (๓) การซักซ้อมการปฏิบัติ (๔) การตรวจดูความเรียบร้อย (๕) ความต้องการข่าวกรองตามล�าดับความเร่งด่วน ๔. การช่วยรบ กล่าวถึงการช่วยรบภายในขอบเขตดังต่อไปนี้ตามความจ�าเป็น เพื่อให้เข้าใจถึงแนวความคิดในการช่วยรบ อาจอ้างอิงไว้ในอนุผนวกตามต้องการ • หัวข้อย่อยอาจมีดังนี้ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

164

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) แนวความคิดในการสนับสนุนการช่วยรบ (ระบุถงึ แนวความคิดในการส่งก�าลังบ�ารุง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีการสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุงให้แก่ก�าลังพล) • สิ่งอุปกรณ์และบริการ • การส่งกลับสายแพทย์และการส่งเข้ารับรักษาในโรงพยาบาล • การสนับสนุนก�าลังพล ก. กล่าวทั่วไป (๑) รปจ. ด้านการส่งก�าลังบ�ารุง มีประสิทธิผลต่อการปฏิบัติการได้ โดยต่อเนื่อง (๒) ส่วนส่งก�าลังบ�ารุงอยู่ร่วมศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธวิธี (๓) ยุทโธปกรณ์ที่เสียหายต้องรีบรายงานทันที (๔) ที่ รั ก ษาทางการแพทย์ อ ยู ่ ใ นบริ เวณถอดเครื่ อ งแต่ ง กายจาก การส�ารวจ และการฟื้นฟูสุขภาพ/พื้นที่เฝ้าระวัง ข. สิ่งอุปกรณ์และการบริการ (๑) การส่งก�าลัง (ก) สป.๑ หน่วยถูกส่งเข้าประจ�าการใน ๗๒ ชม. โดยมีอาหาร พร้อมบริโภค (MRE) (ข) สป.๓ รายการ สป.๓ มีการจัดหาในท้องถิ่น โดยใช้บัตรเติม น�้ามันส�าหรับยานพาหนะที่ใช้งานธุรการทั่วไป (ค) สป.๒ และ สป.หลักส�าเร็จรูป ส่วนส่งก�าลังบ�ารุงวางก�าลังเข้า ประจ�าการใน ๗๒ ชม. แรก ด้วยอัตรามูลฐาน กองบัญชาการสนับสนุนการช่วยรบ จะจัด ส่งบรรจุหบี ห่อ สป. แบบผลักดัน ใน น+๘ ชม., น+๒๔ ชม., น+๔๘ ชม. และ น+๗๒ ชม. (ง) สป. สายแพทย์ ฝ่ายแพทย์วางก�าลังด้วยอัตรามูลฐานใน ๗๒ ชม. รายการ สป. ฉุกเฉินจะจัดหาในท้องถิ่น เตรียม สป.สายแพทย์เพื่อป้องกันเคมี – ชีวะ เพิ่มเติมให้มากขึ้น ประสานกับท้องถิ่นเพื่อน�า สป. ส�ารองสงครามมาใช้ก่อน (จ) ชิ้นส่วนซ่อมและชุดอะไหล่ ร้องขอรับการสนับสนุนผ่านการ สนับสนุนตามพันธสัญญากับท้องถิ่น (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

165

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (ฉ) วิธีการแจกจ่าย • แผนการจ่ายเสบียง: ส. ส่งก�าลังของหน่วยแจกจ่าย MRE วันละ ๓ มือ้ หน่วยอาจว่าจ้างผูป้ ระกอบการจัดเตรียมอาหารก็ได้ • สป.สายแพทย์: ส.ส่งก�าลังของหน่วย แจกจ่าย สป. ให้ แก่ฝา่ ยแพทย์ แม้วา่ จะมีสว่ นส่งก�าลังของหน่วย, ฝ่ายแพทย์เองก็สามารถเพิม่ เติมก�าลัง สป.เพือ่ ช่วยชีวติ ก�าลังรบ หรือ สป.ส�าหรับการรักษาในกรณีฉกุ เฉินได้ตามความจ�าเป็น • ชิน้ ส่วนซ่อม: ส.ส่งก�าลังของหน่วย เป็นผูแ้ จกจ่ายชิน้ ส่วนซ่อม (๒) การขนส่ง: ดูแผนการเคลื่อนย้ายของหน่วย (๓) การบริการ (๔) การซ่อมบ�ารุง ผูใ้ ช้งานต้องด�าเนินการก่อน, ระหว่าง และหลังการ ตรวจสอบและการบริการทางการปรนนิบัติบ�ารุงอย่างสม�่าเสมอ หากพบข้อผิดปกติ ต้องแจ้งให้ ส.ส่งก�าลังทราบ เพื่อประสานการสนับสนุนการซ่อมบ�ารุงอย่างเหมาะสม ค. การส่งกลับสายแพทย์ (วิธีการและล�าดับความเร่งด่วน) ง. ฝ่ายก�าลังพล (วิธีการปิดล้อมพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วย, การจัดการจุด ทางเข้าและจุดทางออก, และพื้นที่ที่ก�าหนดให้เป็นที่รักษาพยาบาล) จ. สป. เบ็ดเตล็ดอื่นๆ (๑) ยุทโธปกรณ์พิเศษ (๒) ยุทโธปกรณ์ที่เปื้อนพิษ อธิบายวิธีการจัดการยุทโธปกรณ์เหล่านี้ ๕. การบังคับบัญชาและการสื่อสาร ก. การบังคับบัญชา กล่าวถึงพิกดั ของแผนทีท่ เี่ ป็นศูนย์ปฏิบตั กิ ารของหน่วย และที่ บั ญ ชาการของระบบบั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ ระบุ ถึ ง สายการบั ง คั บ บั ญ ชา ที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้ใน รปจ. ของหน่วย (๑) ให้พิกัดที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (๒) ให้หมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ฉกุ เฉิน (๓) ระบุต�าแหน่งที่อยู่ของ ผบ. ในแต่ละขั้น (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

166

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชัน้ ความลับ) • ขัน้ I, บก.หน่วย • ขัน้ II, พืน้ ทีถ่ กแถลง/รถบัญชาการ • ขั้น III, ที่บัญชาการเหตุการณ์/ศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธวิธี ของหน่วย • ขัน้ IV, รถบัญชาการ/บก.หน่วย • ขัน้ V, บก.หน่วย (๔) ระบุ ถึ ง การบั ง คั บ บั ญ ชาที่ สื บ ต่ อ เนื่ อ งกั น มา: ผู ้ บั ญ ชาการ, รองผู้บัญชาการ, นายทหารยุทธการ ตามด้วยวันที่รับต�าแหน่ง ข. การสือ่ สาร จัดท�ารายการการสือ่ สารทีไ่ ม่ได้กา� หนดเป็นการเฉพาะใน รปจ. ของหน่วยระบุถึงค�าแนะน�าการปฏิบัติการสื่อสารเป็นการเฉพาะ ระบุถึงค�าแนะน�า การปฏิบตั กิ ารสือ่ สารทีม่ ผี ลบังคับใช้ รายงานทีจ่ า� เป็นและรูปแบบรายงาน,เวลาทีต่ อ้ ง ส่งรายงาน ระบุถงึ การจัดการความถีว่ ทิ ยุทม่ี ลี กั ษณะจ�าเพาะในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร (๑) แผนการสื่อสาร (๒) วิธีการสื่อสาร (ตามล�าดับความเร่งด่วน) (ก) ทางเสียง (ข) ด้วยข้อมูล (๓) ทัศนสัญญาณ (แขนและมือ) (๔) ทัศนสัญญาณ (เสียงสัญญาณ) (๕) รหัสค�าพูด (๖) ความท้าทาย/รหัสผ่าน ระบบความท้าทาย/รหัสผ่านจะได้รบั การแถลง อย่างย่อๆ จากการแถลงของชุดปฏิบัติการส�ารวจในขั้นต้น และปรับให้เป็นปัจจุบันได้ ตามความจ�าเป็น (๗) การจดจ�าสัญญาณการสื่อสาร จดจ�าสัญญาณการสื่อสารหลัก ในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน ได้แก่ ความถี่วิทยุสื่อสาร การจดจ�าสัญญาณ สื่อสารในเวลากลางคืน ได้แก่ การใช้ไฟฉายทางทหารที่ได้รับแจกพร้อมกับเลนส์ สีแดง (กะพริบเปิดและปิดสามครั้ง) ส�าหรับการจดจ�าสัญญาณในเวลาวัน ได้แก่ การจดจ�าเป็นบุคคล และ/หรือการใช้บัตรประจ�าตัว (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

167

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๘) ค�าแนะน�าพิเศษ ใช้ค�าพูดเข้ารหัสที่ก�าหนดโดยผู้บังคับบัญชา หรือผูร้ บั มอบอ�านาจ การใช้ระบบความท้าทาย/รหัสผ่าน ก็กา� หนดโดยผูบ้ งั คับบัญชา หรื อ ผู ้ รั บ มอบอ� า นาจ การเปลี่ ย นความถี่ ห รื อ การจั ด วางโครงข่ า ยวิ ท ยุ ต ้ อ ง ได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารสื่ อ สารผ่ า นทางผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาที่ ก� า หนดหรื อ ผู ้ รั บ มอบอ�านาจ (๙) ก�าหนดตารางเวลาในการตรวจสอบ ๖. กล่าวสรุปในเรื่องความปลอดภัย ก. สภาพอากาศ (๑) อุณหภูมิในปัจจุบัน (๒) อัน ตรายจากสภาพอากาศหนาว – อากาศร้ อ น การสู ญเสี ย น�้าของร่างกาย (อัตราการดื่มน�้า) ข. การยกของ (๑) ใช้หลายคนยกของ เมื่อต้องยกขนวัตถุที่หนักและ/หรือวัตถุที่มี รูปร่างไม่แน่นอน (๒) ใช้เทคนิคการยกขนทีเ่ หมาะสม ให้ใช้กา� ลังขาอย่าใช้กา� ลังจากหลัง (๓) ใช้ค�าแนะน�าในการท�าให้อันตรายอยู่ในระดับปลอดภัยเมื่อต้อง เคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่หรือมีน�้าหนักมาก ค. การสื่อสาร (๑) หลีกเลี่ยงการใช้สายอากาศที่ใช้ในสนามรบ ในพื้นที่ลักษณะนี้ มักมีความไวและมีอันตรายจากคลื่นความถี่วิทยุ (๒) หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสายไฟฟ้า, สายไฟเส้นลวด และแท่ง สายดิน (ground rod) (๓) ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม และสวมใส่เครื่องแต่งกาย ตามความจ� า เป็ น (ถุ ง มื อ , แว่ น ครอบนั ย น์ ต า, หมวกกั น กระแทก และรองเท้ า นิรภัย) ส�าหรับการติดตั้งและถอดเก็บสายอากาศ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

168

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) ง. การใช้ยานพาหนะ (๑) ใช้เข็มขัดนิรภัย (เป็นภาคบังคับ) (๒) เปิดไฟหน้าเมื่อมีการใช้รถ (๓) ใช้คนโบกให้สัญญาณในขณะเข้าจอด, ในขณะถอยหลัง และใน ขณะเคลื่อนที่ผ่านฝูงชนเป็นจ�านวนมาก (เป็นหน้าที่ของผู้ช่วยพลขับ) (๔) สังเกตป้ายจ�ากัดความเร็วและป้ายสัญญาณจราจร จ. การปฏิบัติการของหน่วย (๑) ตระหนักรู้สถานการณ์ท่ีมีอันตราย (พิสูจน์ทราบ, การบรรเทา ผลกระทบ, การแจ้งเตือน และการก�ากับดูแล) (๒) ตระหนักรู้ถึงอันตรายที่น่าตกใจ พยายามหลีกเลี่ยงหากท�าได้ (๓) ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม ส�าหรับการใช้ยุทโธปกรณ์ ด้วยความปลอดภัย (๔) ใช้ระบบเพื่อนคู่ (buddy team) ตลอดเวลา (๕) สวมใส่ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน/ยุทธภัณฑ์ป้องกันประจ�ากายอย่าง เหมาะสม (๖) บริโภคอาหาร, ดื่มน�้า และพักในสถานที่ที่จัดไว้ให้ ฉ. กล่าวสรุป (๑) ความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบของทุกๆ คน (๒) หยุดการกระท�าที่ไม่มีความปลอดภัย (๓) ระงับการปฏิบัติหรือมีสภาพและได้รับการแจ้งเตือนจากผู้ก�ากับ ดูแล ซึ่งอาจไม่มีความปลอดภัย (๔) ปฏิบัติตามนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, ค�าสั่ง และมาตรฐานการ ปฏิบัติ (๕) ให้ใช้สามัญส�านึกตลอดเวลา (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๑ ตัวอย่างรูปแบบแผนยุทธการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (ต่อ)

169

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

รูปแบบของค�าสั่งยุทธการ (Operation Order Format) ก-๗ ในรูปที่ ก-๒ แสดงถึงตัวอย่างค�าสัง่ ยุทธการของหน่วยปฏิบตั ิ การตอบสนองเหตุ เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ส�าหรับค�าสัง่ ยุทธการอืน่ ๆ ทีไ่ ด้รบั มา อาจมีระดับความละเอียดของข้อมูลแตกต่างไปจากนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาและข้อมูลที่มีอยู่ (การก�าหนดชั้นความลับ)

ชุดที่......ของ......ชุด หน้า......ของ......หน้า หน่วยที่ออกค�าสั่ง หมู่ วัน เวลา ที่หนังสือ

แผนยุทธการ/ค�าสั่งยุทธการ [001-07] (BIG WASH) อ้างถึง: คู่มือราชการสนาม อนุกรม FM 3-11 เขตเวลาทีใ่ ช้โดยตลอดทัว่ ทัง้ แผนยุทธการ/ค�าสัง่ ยุทธการ: เวลามาตรฐานกรีนนิช (ZULU) การจัดเฉพาะกิจ กองบัญชาการเตรียมความพร้อมประจ�าภูมิภาค ที่ ๑๐๐๗ กองร้อยวิทยาศาสตร์ (ท�าลายล้างพิษ) ที่ ๑๔๔๘ กองร้อยวิทยาศาสตร์ (ลว.) ที่ ๒๓๓๒ โรงพยาบาลสนาม ที่ ๔๐๗๗ ๑. สถานการณ์ ก. เหตุการณ์ ฝ่ายตรงข้ามระดับสากลได้สร้างกลไกการปล่อยกระจายสาร ๖ ชุด และได้ปล่อยกระจายไอของสาร ซาริน (GB) เข้าไปในระบบระบายอากาศของ อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในเมืองเบอร์มงิ แฮม รัฐอลาบามา นอกจากนัน้ ยังมีกลุม่ ไอของ สารดังกล่าวเล็ดลอดออกมาทางปล่องระบายอากาศบนหลังคา ท�าให้เกิดผลอันตรายใน ทิศทางใต้ลม สารซารินเป็นสารเคมีทใี่ ช้ในสงครามเคมีทมี่ นุษย์สงั เคราะห์ขนึ้ และจัดเป็น (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน.

170

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) สารประสาท สารประสาทเป็นสารที่มีอันตรายและออกฤทธิ์เร็วมากที่สุด ในบรรดา สารเคมีทางทหารที่รู้จักกันดี สารซารินเป็นของเหลวใส, ไม่มีสี, ไม่มีรส หากบริสุทธิ์ จะไม่มกี ลิน่ อย่างไรก็ตาม ซารินสามารถระเหยเป็นไอและแพร่กระจายไปในสิง่ แวดล้อมได้ ข. ข้อมูลที่ได้จากผู้ประสบภัย สารซารินได้สังหารผู้คนในอาคารไปแล้ว ประมาณ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังได้สังหารและท�าให้ผู้ตอบสนองเหตุได้รับบาดเจ็บเป็น จ�านวนมาก เจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บแสดงอาการหลายลักษณะ อาทิ รูม่านตาหด (รูม่านตาด�าหดเล็กลง), ปวดศีรษะ, น�้ามูกไหลไม่หยุด, น�้าลายหลั่งออกมามาก, แน่นหน้าอก, คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะ, กระวนกระวาย, กล้ามเนื้อกระตุก, ไร้สมรรถภาพ, เป็นตะคริวในช่องท้อง, ท้องเสีย และปัสสาวะและอุจจาระราดไม่รู้ตัว ค. สภาพแวดล้อม (๑) สภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมในเขตเมือง (๒) สภาพอากาศ (ใน ๑๒ ชม. ข้างหน้า) • อุณหภูมิ ๖๕ องศา ฟาเรนไฮต์ (ประมาณ ๑๘ องศาเซลเซียส) • ความชื้นสัมพัทธ์/หยาดน�้าฟ้า ๖๔% / ๑๐% • ความกดอากาศ ๒๙.๘๒ นิ้ว และเพิ่มสูงขึ้น • ความเร็วลม ๑๑ ไมล์/ชม. • ทิศทางลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ • ปริมาณบนท้องฟ้า ประมาณ ๒๕% • ข้อมูลทีเ่ กีย่ วกับแสงสว่าง ดวงอาทิตย์ขนึ้ ในเวลา ๐๖๕๒ และ ดวงอาทิตย์ตกในเวลา ๑๖๕๓ (๓) ข้อพิจารณาถึงประชาชนในพืน้ ที่ ผูเ้ สียชีวติ และได้รบั บาดเจ็บสาหัสมักเกิด จากล้มลงและถูกรถทับในระหว่างการเกิดภาวะตืน่ ตระหนกในท้องถนน มีความสูญเสีย โดยตรงอันเนือ่ งมาจากการโจมตีเพียงเล็กน้อย ยกเว้นภายในอาคารและอาคารประกอบ ทีม่ กี ารปนเปือ้ นของไอสารเคมีบริเวณผิวพืน้ ในระดับสูง มีอาคารและอาคารประกอบ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ต่อ)

171

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) ๓ หลัง ต้องปิดลงเนือ่ งจากมาตรการท�าลายล้างพิษ และ/หรือมีผลกระทบด้านจิตวิทยา ทีว่ ติ กถึงการใช้งานในอนาคต อย่างไรก็ตาม การท�าลายล้างพิษโดยใช้การพ่นอากาศและ ใช้นา�้ ในบริเวณสิง่ ปลูกสร้างข้างเคียงอย่างเพียงพอ ความต้องการในการติดต่อทีม่ อี ย่าง มากมายอาจเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร (ทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่) ในท้องถิน่ บริเวณนัน้ มีประชาชนสุขภาพดีจา� นวนมาก แต่รสู้ กึ วิตกกังวลจนเป็นปัญหา ล้นระบบการรักษาทางการแพทย์ ในสถานการณ์มกี ารสูญเสียนักผจญเพลิงไป ๓ ราย และเจ้าหน้าที่บริการแพทย์ฉุกเฉินไป ๓ ราย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะความพร้อม ส�าหรับเหตุการณ์อนื่ ๆ ในอนาคตอันใกล้ (๔) ภัยคุกคาม มีการเปือ้ นพิษสารซารินทีเ่ ป็นไอและหยดเหลวใน ๓ อาคาร และมีอนั ตรายใต้ลมจากไอสารซารินซึง่ เคลือ่ นทีไ่ ปในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง ประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร จากจุดเกิดเหตุ ส�าหรับอุปกรณ์เครื่องกระจายสารอันที่ สองยังไม่ได้ตรวจพิสูจน์ทราบ และฝ่ายตรงข้ามระดับสากลก็ยังไม่มีการตรวจสอบ ง. หน่วยงานรับการสนับสนุน หน่วยงานรับการสนับสนุนเป็นหน่วย ตอบสนองเหตุฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นและเมือง (หน่วยผจญเพลิง, หน่วยบังคับใช้ กฎหมาย, หน่วยบริการการแพทย์ฉกุ เฉิน และส�านักงานจัดการเหตุฉกุ เฉิน) จ. การบัญชาการเหตุการณ์ (๑) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถูกบริหารจัดการด้วยระบบบัญชาการเดียว หน่วยทหารที่ให้การสนับสนุนยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของกระทรวง กลาโหม (๒) ผู้บัญชาการเหตุการณ์ คือหัวหน้าสถานีดับเพลิงของเทศบาล เมืองเบอร์มงิ แฮม หน่วยทหารทีใ่ ห้การสนับสนุนควรเข้าไปรายงานตัว ณ ทีบ่ ญ ั ชาการ เหตุการณ์ เมื่อเคลื่อนที่ไปถึงพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อรับฟังค�าแนะน�าเพิ่มเติม ฉ. หน่วยตอบสนองเหตุ ส�าหรับชุดปฏิบัติการที่พร้อมในการตอบสนอง เหตุที่อาจได้รับการร้องขอการสนับสนุน ให้ประสานข้อมูลกับที่บัญชาการเหตุการณ์ โดยชุดปฏิบตั กิ ารต่อไปนีพ้ ร้อมให้การช่วยเหลือในการปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ต่อ)

172

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๑) การจัดการวัตถุอันตราย ชุดปฏิบัติการจัดการวัตถุอันตรายใน ระดับท้องถิ่นและเมือง (๒) การท�าลายล้างพิษ ชุดปฏิบัติการจัดการวัตถุอันตรายในระดับ ท้องถิ่นและเมือง และหน่วยทหาร, กองร้อยวิทยาศาสตร์ (ท�าลายล้างพิษ) ที่ให้การ สนับสนุน (๓) การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินใน ระดับท้องถิ่นและเมือง (๔) การบริการดับเพลิง สถานีดับเพลิงในระดับท้องถิ่นและเมือง (๕) การบังคับใช้กฎหมาย หน่วยบังคับกฎหมายในระดับท้องถิน่ , เมือง และระดับรัฐ (๖) โรงพยาบาล โรงพยาบาลของท้องถิ่นและเมือง (๗) หน่วยงานระดับรัฐ ส�านักงานจัดการเหตุฉุกเฉิน (๘) หน่ ว ยงานระดั บ ชาติ ส� า นั ก งานจั ด การเหตุ ฉุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ , กระทรวงความมั่นคงภายใน และกระทรวงกลาโหม (๙) องค์กรอาสาสมัครเอกชน กาชาด ช. สมมติฐาน ในแต่ละอาคารสันนิษฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ ประมาณ ๒,๐๐๐ คน และภายนอกอาคารยังมีประชาชนอาศัยอยู่โดยรอบอย่างหนา แน่น ประมาณ ๓,๙๐๐ คนต่อตารางไมล์ อาจมีความจ�าเป็นต้องอพยพและ/หรือมีที่ หลบภัยส�าหรับประชาชน ผูค้ นอีกนับหมืน่ คนจ�าเป็นต้องได้รบั การตรวจสอบการเปือ้ น พิษและการท�าลายล้างพิษ ในขณะทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้ออกจากอาคาร ประชาชนอีกนับ ร้อยอาจจ�าเป็นต้องส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สิ่งใดๆ ก็ตามที่ได้สัมผัสกับไอ สารเคมีในระดับความเข้มสูง ๆ จ�าเป็นต้องได้รับการท�าลายล้างพิษ รวมทั้งศพผู้เสีย ชีวิต อย่างไรก็ตาม สิ่งอุปกรณ์บางประเภทไม่สามารถท�าลายล้างพิษได้ หรือมีความ ยุ่งยากในการท�าลายล้างพิษ แม้ว่าสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินบางประเภทจะได้รับ การท�าลายล้างพิษไปแล้ว แต่อาจส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาในการใช้งานต่อไป ในอนาคต (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ต่อ)

173

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) ๒. ภารกิ จ กองบั ญ ชาการเตรี ย มความพร้ อ มประจ� า ภู มิ ภ าค ที่ ๑๐๐๗ ส่งหน่วยทหารวิทยาศาสตร์ (ท�าลายล้างพิษ) เข้าประจ�าการ เพื่อให้การสนับสนุน เหตุฉุกเฉินและการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก และทุกหน่วยภายใต้ กองบัญชาการเตรียมความพร้อมประจ�าภูมิภาค ที่ ๑๐๐๗ จะให้การสนับสนุน การบัญชาการเหตุการณ์ หน่วยท�าลายล้างพิษให้ข้อเสนอแนะแก่ ผบ.เหตุการณ์ ถึงลักษณะการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษทุกกรณี เพื่อช่วยเหลือในการเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยจากสารเคมีไปยังหน่วยบริการ/ที่รักษาพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วย ท�าลายล้างพิษยังให้ข้อเสนอแนะแก่ ผบ.เหตุการณ์ เกี่ยวกับการปิดล้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่เปื้อนพิษ และ/หรือลักษณะการท�าลายล้างพิษ เมื่อได้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไป หมดแล้ว กองบัญชาการเตรียมความพร้อมประจ�าภูมิภาค ที่ ๑๐๐๗ ยังส่งหน่วย ลาดตระเวนเคมีเข้าประจ�าการ เพือ่ ช่วยเหลือในการคัดกรองผูป้ ว่ ยในบริเวณทีเ่ กิดเหตุ หน่ ว ยลาดตระเวนเคมี ยั ง ให้ ข ้ อ เสนอแนะแก่ ผบ.เหตุ ก ารณ์ ถึ ง ลั ก ษณะการ คัดกรองผูป้ ว่ ยทุกกรณี กองบัญชาการเตรียมความพร้อมประจ�าภูมภิ าค ที่ ๑๐๐๗ ไปส่ง ยังหน่วยโรงพยาบาลสนามเข้าประจ�าพื้นที่ พร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทาง ด้านคลินิกรักษา เพื่อช่วยรักษาทางการแพทย์ให้แก่ผู้ป่วยจากสารเคมีในบริเวณ ที่เกิดเหตุ หน่วยสนับสนุนบริการสุขภาพ ให้ข้อเสนอแนะแก่ ผบ.เหตุการณ์เกี่ยวกับ ลั ก ษณะการรั ก ษาผู ้ ป ่ ว ยทุ ก กรณี ทุ ก หน่ ว ยภายใต้ ก องบั ญ ชาการเตรี ย ม ความพร้อมประจ�าภูมภิ าค ที่ ๑๐๐๗ เตรียมพร้อมเพือ่ ถอนก�าลังและเริม่ ปฏิบตั กิ ารฟืน้ ฟู เมือ่ ได้รบั แจ้งว่าไม่มคี วามจ�าเป็นต้องขอรับการสนับสนุนอีกต่อไป และ บก.หน่วยเหนือ อนุมัติให้ถอนก�าลังได้ ๓. การปฏิบัติ เจตนารมณ์ของ ผบ. เตรียมหน่วยสนับสนุนให้พร้อมส�าหรับ การส่งเข้าประจ�าการยังสถานที่เกิดเหตุ; ส่งหน่วยให้การสนับสนุนเข้าประจ�าการ; ด�าเนินการท�าลายล้างพิษ, การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และปฏิบัติการสนับสนุนการรักษา ทางการแพทย์; เตรียมการถอนก�าลัง, ถอนหน่วยให้การสนับสนุน และด�าเนินการ ปฏิบัติการฟื้นฟูโดยไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมาอีก (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ต่อ)

174

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) ก. แนวความคิดในการปฏิบัติ (๑) กิจส�าคัญ การปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยเป็นจ�านวนมาก, การ ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และการปฏิบัติการรักษาผู้ป่วย (๒) ผลลัพธ์สดุ ท้ายทีต่ อ้ งการ ผูป้ ว่ ยและผูท้ ไี่ ม่ใช่ผตู้ อบสนองเหตุทกุ คน ต้องถูกอพยพออกจากสถานทีเ่ กิดเหตุ ในขณะเดียวกันก็มกี ารควบคุมการแพร่กระจาย การเปื้อนพิษ มีการให้การรักษาทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยโดยไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น (๓) แนวความคิดในการปฏิบัติ (โดยทั่วไป) ก. ขั้น I, ก่อนส่งก�าลังเข้าประจ�าการ ด�าเนินการตรวจสภาพ ความพร้ อ มรบ, ซั ก ซ้ อ มการปฏิ บั ติ และด� า เนิ น การแถลงด้ า นความปลอดภั ย , ส่งก�าลังส่วนล่วงหน้าเข้าประจ�าการ และติดตั้งระบบการติดต่อและการสื่อสารกับ ผบ.เหตุการณ์ ข. ขัน้ II, ส่งก�าลังเข้าประจ�าการ, ส่งก�าลังเข้าประจ�าการในพืน้ ที่ เกิดเหตุ และไปรายงานตัว ณ ที่ตั้ง ที่บัญชาการเหตุการณ์ในท้องถิ่น ค. ขัน้ III, ให้ความช่วยเหลือในการด�าเนินการปฏิบตั กิ ารท�าลาย ล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก, ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย, ปฏิบัติการให้การรักษาผู้ป่วย และให้ขอ้ เสนอแนะแก่ ผบ.เหตุการณ์ ถึงลักษณะภารกิจให้การสนับสนุนทุกกรณี ตาม ความจ�าเป็น ง. ขัน้ IV, การปฏิบตั กิ ารได้โดยต่อเนือ่ ง, ก�าหนดและปฏิบตั กิ าร เพื่อด�ารงสภาพ ตามความจ�าเป็น จ. ขั้น V, การถอนก�าลัง ด�าเนินการปฏิบัติการถอนก�าลังเมื่อสั่ง ฉ. ขัน้ VI, การฟืน้ ฟู ส�านึกรับผิดชอบยุทโธปกรณ์ทอี่ อ่ นไหวด้วย การเอาใจใส่เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์, ด�าเนินการตรวจสอบและปรนนิบัติบ�ารุงรายการ ยุทโธปกรณ์ทั้งหมดที่น�าเข้าประจ�าการ และน�ากลับมาซ่อมหรือซ่อมเปลี่ยน ข. ค�าแนะน�าในการประสาน (๑) วันที่มีผลบังคับใช้ ค�าสั่งนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ได้รับค�าสั่ง (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ต่อ)

175

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) (๒) เครือ่ งแต่งกาย/ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันตน/ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันประจ�ากาย อาจจ�าเป็นต้องใช้เครื่องแต่งกายชุดออกก�าลังกาย/ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน/ยุทธภัณฑ์ ป้องกันประจ�ากาย ไปจนถึงเครื่องแต่งกายป้องกัน ระดับ A (๓) มาตรการควบคุมการลดความเสี่ยง จ�าเป็นต้องมีการด�ารงการ คัดกรองก่อนให้การรักษาทางการแพทย์, ตรวจสอบการขาดน�้า, ยุทธภัณฑ์ป้องกัน ตน/ยุทธภัณฑ์ป้องกันประจ�ากาย และวงรอบการท�างาน-การพัก อย่างต่อเนื่อง (๔) เคร่งครัดในเรื่องตารางเวลา ส่วนล่วงหน้าต้องเคลื่อนที่ออก ภายใน ๒ ชม. หลังจากได้รับค�าสั่ง และตามด้วยส่วนสนับสนุนที่มีความพร้อมที่จะ เคลื่อนที่ออกภายใน ๖ ชม. หลังจากได้รับค�าสั่งนี้ (๕) ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม มีอันตรายจากสารประสาท ซาริน และควบคุมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุ (๖) การซักซ้อมการปฏิบัติ/การตรวจสอบ การบัญชาการหน่วย ให้การสนับสนุนเพือ่ ให้มน่ั ใจว่ามีรายการตรวจสอบ-ตรวจความพร้อมรบ (PCC/PCI) และอนุญาตให้มีการซักซ้อมการปฏิบัติก่อนถูกส่งเข้าประจ�าการ (๗) การแถลงด้านความปลอดภัย มีการแถลงด้านความปลอดภัย ทุกประเด็นก่อนที่ทุกส่วนจะเข้าสถานที่เกิดเหตุ (๘) ทรัพยากรของพลเรือน ระบุถึงอ�านาจและสิทธิทางกฎหมาย ของพลเรือนต่อการครอบครองทรัพยากรต่างๆ ๔. การช่วยรบ ก. ยุทโธปกรณ์ หน่วยให้การสนับสนุนถูกส่งเข้าประจ�าการอย่างน้อย ๗๒ ชม. พึ่งตนเองด้วย สป. ตามอัตรามูลฐาน ส�าหรับ สป.๕ (กระสุน) จะแจกจ่ายตาม กฎการปะทะทีก่ า� หนดขึน้ ข. การบริการ การบริการที่จ�าเป็นเพื่อให้การปฏิบัติการด�าเนินไปอย่าง ต่อเนื่อง หลังจากผ่าน ๗๒ ไปแล้ว จะได้รับการประสานตามความจ�าเป็น ณ บริเวณ สถานที่เกิดเหตุ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ต่อ)

176

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

(การก�าหนดชั้นความลับ) ค. การสนับสนุนบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางการแพทย์แก่ก�าลังพล ของกองบัญชาการที่ ๑๐๐๗ เป็นเรื่องการด�าเนินการภายในกองบัญชาการ ซึ่งจะส่ง หน่วยแพทย์เข้าประจ�าการในโรงพยาบาลสนาม ง. การก� า ลั ง พล ความต้ อ งการการจั ด การก� า ลั ง พลจะประสานผ่ า น นายทหารก�าลังพลของหน่วย ตามความจ�าเป็น ๕. การบังคับบัญชาและการสื่อสาร ก. การบั ง คั บ บั ญ ชา ผบ.เหตุ ก ารณ์ มี ห น้ า ที่ บั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ นายทหารที่ มี อ าวุ โ สสู ง สุ ด ในบริ เวณที่ เ กิ ด เหตุ จ ะท� า หน้ า ที่ ก� า กั บ ดู แ ลทุ ก หน่ ว ย ภายใต้ สั ง กั ด กระทรวงกลาโหม เพื่ อ ให้ ก ารสนั บ สนุ น การบั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ นายทหารติดต่อเป็นผู้ท�าหน้าที่ประสานการปฏิบัติการสนับสนุนระหว่างที่บัญชาการ เหตุการณ์กับหน่วยทหารที่ให้การสนับสนุนทุกหน่วย ข. การสื่อสาร (๑) ภายใน ค�าแนะน�าการปฏิบัติการสื่อสาร (นปส.) ฉบับปัจจุบัน มีผลบังคับใช้ (๒) ภายนอก ได้รบั อนุมตั ใิ ห้ตดิ ต่อประสานงานโดยตรงกับ ผบ.เหตุการณ์ (๓) แบบฟอร์ม แบบฟอร์มส�าหรับการปฏิบัติการในระหว่างการ ตอบสนองเหตุการณ์ ควรใช้แบบฟอร์มทีง่ า่ ยทีก่ า� หนดไว้ในระบบจัดการเหตุการณ์แห่งชาติ (ลงชื่อ) (ชื่อ – สกุล) ผบ.หน่วย.................... การแจกจ่าย รับรองถูกต้อง ยศ. ชื่อ – สกุล ต�าแหน่ง......... ผนวก ตอบรับ (การก�าหนดชั้นความลับ) รูปที่ ก-๒ ตัวอย่างรูปแบบค�าสัง่ ยุทธการของหน่วย เพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (ต่อ)

177

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

หน่วยต่างๆ ภายใต้กระทรวงกลาโหม (Department of Defense Assets) ก-๘ หัวข้อต่อไปนีเ้ ป็นการกล่าวถึงหน่วย/ทรัพย์สมบัตทิ างทหาร ที่มีขีดความสามารถเพื่อปฏิบัติงานสนับสนุนเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน.

กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (United State Air Force) ก-๙ หน่วยของกองทัพอากาศเพื่อปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ประกอบด้วยชุดประเมินทางด้านรังสี, ชุดป้องกัน โรคระบาดในเขตยุทธบริเวณ, ชุดเก็บกูแ้ ละท�าลายวัตถุระเบิด และหน่วยอืน่ ๆ ที่ด�าเนินการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

ชุดปฏิบัติการประเมินผลทางด้านรังสี (Radiation Assessment Team) ก-๑๐ ชุดปฏิบัติการประเมินผลทางด้านรังสี เป็นชุดปฏิบัติการ ตอบสนองเหตุในระดับสากล, ชุดปฏิบัติการเป็นหน่วยที่มีความช�านาญ เฉพาะทางซึ่ ง ให้ ก ารสนั บ สนุ น ทางด้ า นฟิ สิ ก ส์ สุ ข ภาพและทางด้ า นรั ง สี ในการตอบสนองเหตุการณ์และอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรังสี ชุดปฏิบัติการ นี้ ยั ง ให้ ก ารสนั บ สนุ น ในการตรวจวิ เ คราะห์ รั ง สี ใ นสนาม เพื่ อ สนั บ สนุ น เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่บรรจุมอบประจ�ายุทธบริเวณ โดยมีหน้าที่ตรวจวัด, วิเ คราะห์ , และแปลผลจากตัวอย่างในสิ่งแวดล้ อ มและจากผู ้ ปฏิ บั ติง าน เพือ่ หาส่วนประกอบของสารรังสี นอกจากนัน้ ยังให้คา� แนะน�าระดับผูเ้ ชีย่ วชาญ เกีย่ วกับประเภท และระดับความเป็นอันตรายจากรังสีของก�าลังพลทีถ่ กู ส่งเข้า ประจ�าการก�าลังเผชิญอยู่ 178

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ก-๑๑ ชุดปฏิบัติการประเมินผลทางด้านรังสี ด�าเนินการวิเคราะห์ ส�าหรับการวิเคราะห์ดา้ นรังสีจากตัวอย่างทีไ่ ด้จากสิง่ แวดล้อม (จากการเช็ดถู, ตัวอย่างดิน, น�้า, อากาศ, สิ่งที่บริโภค) และตัวอย่างที่ได้จากผู้ปฏิบัติงาน (ทั่วทั้งร่างกาย, ลมหายใจ, ปัสสาวะ, อุจจาระ) ผลการวิเคราะห์ต้องได้รับ การแปลผล เพื่ อ หาผลกระทบต่ อ กองก� า ลั ง พลที่ ส ่ ง เข้ า ประจ� า การและ ก� า ลั ง พลที่ ไ ม่ เป็นทหาร ข้อมูลเหล่านี้มีก ารรวบรวมส� า หรั บน� า ไปใช้ โ ดย เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยง, ลด และประเมินผลจากการได้รับ ปริมาณรังสี รวมไปถึงความเสี่ยงในการสื่อสาร และก�าหนดความต้องการ เพิม่ เติมส�าหรับการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ

ชุดปฏิบัติการดูแลการระบาดวิทยาในยุทธบริเวณ (Theater Epidemiology Team) ก-๑๒ ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารดู แ ลการระบาดวิ ท ยาในยุ ท ธบริ เวณเป็ น ชุ ด ประเมิ น ผลด้ า นปั จ จั ย สิ่ ง แวดล้ อ มและจากปั จ จั ย การท� า งาน รวมทั้ ง การประมาณการความเสี่ ย งจากโรคติ ด ต่ อ และการเกิ ด โรค รวมไปถึ ง การเจ็ บ ป่ ว ยที่ ไม่ไ ด้เ กิดจากการรบแต่จ ากทุ ก ๆ สาเหตุ ชุ ด ปฏิ บั ติก ารนี้ ยังให้ข้อเสนอแนะในการเข้าแทรกแซงเพื่อให้ลดความด้อยประสิทธิภาพ ในการปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ของเจ้ า หน้ า ที่ ใ ห้ มี น ้ อ ยที่ สุ ด งานลั ก ษณะนี้ ส� า เร็ จ ลงได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสถานที่หรือยุทธบริเวณในขั้นต้นและ ในระหว่างการปฏิบัติการที่ด�าเนินไป ทั้งยังเป็นการประเมินภัยคุกคามต่อ สุขภาพจากเชื้อโรคและจากสิ่งแวดล้อม

179

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ก-๑๓ ชุดปฏิบัติการดูแลการระบาดวิทยาในยุทธบริเวณเป็นชุด ปฏิบัติการขนาดเล็ก มีความคล่องตัว ประกอบด้วยก�าลังพลที่มีองค์ความรู้ หลายแขนง และมี ยุ ท โธปกรณ์ ส� า หรั บ เก็ บ ตั ว อย่ า งจากการท� า งานและ จากสิ่งแวดล้อมอย่างจ�ากัด มีขีดความสามารถในด้านระบบประมวลผล ในระดับทันสมัยและหิ้วติดตัวไปได้และใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ซึ่งท�าให้ สามารถรวบรวมข้อมูลได้ทวั่ ทัง้ ยุทธบริเวณและการติดต่อประสานงานกับกอง ก�าลังร่วมเฉพาะกิจได้โดยสะดวก

ชุดปฏิบัติการเก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิด (Explosive Ordnance Disposal) ก-๑๔ ชุดปฏิบัติการเก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิด มีหน้าที่ก�าหนด ต�าแหน่ง, พิสูจน์ทราบ, ปลดชนวนอาวุธ, ท�าให้มีสภาพเป็นกลาง, เก็บกู้ และ ท�าลายวัตถุระเบิดอันตราย; นอกจากนั้นก็ยังมีขีดความสามารถเกี่ยวกับ วั ต ถุ ร ะเบิ ด เคมี , ชี ว ะ, เพลิ ง และระเบิ ด นิ ว เคลี ย ร์ รวมทั้ ง วั ต ถุ ร ะเบิ ด แสวงเครื่องของกลุ่มอาชญากรและจากพวกก่อการร้าย ชุดปฏิบัติการเก็บกู้ และท�าลายวัตถุระเบิดสามารถเข้าวางก�าลังได้ทั่วประเทศภายใน ๒๔ ชม.

หน่วยบริหารจัดการอื่นๆ ของกองทัพอากาศ (Other United States Air Force Management Assets) ก-๑๕ กองทัพอากาศยังคงด�ารงหน่วยประเภทระบุด้วยรหัสที่มี ขีดความสามารถในการสนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์ และมีขดี ความสามารถใน การตอบสนองเหตุด้าน คชรน. เป็นการเฉพาะ หน่วยประเภทระบุด้วยรหัส ลักษณะนี้มีความพร้อมส�าหรับการตอบสนองเหตุเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งได้ รับมอบกิจเฉพาะจากผูม้ อี า� นาจในระดับทีต่ งั้ หน่วยขึน้ ไปจนถึงระดับผูบ้ ญ ั ชาการ 180

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองบัญชาการรบ, ทหารช่างอากาศยุทธโยธา (civil engineer) ท�าหน้าทีเ่ ป็น ผู ้ เชี่ ย วชาญด้ า น คชรน. ส� า หรั บ เหล่ า ทั พ อากาศ ซึ่ ง ให้ ก ารสนั บ สนุ น รวมไปถึ ง การให้ ค� า แนะน� า ทางเทคนิ ค และการจั ด การชุ ด ปฏิ บั ติ ก าร ตอบสนองในการด� า เนิ น การวางแผนเพื่ อ ตรวจหาสาร คชรน., การก� า หนดโครงข่ า ยการตรวจหาภั ย คุ ก คาม และการปฏิ บั ติ เชิ ง รุ ก และเชิ ง รั บ ในการตรวจหา คชรน. ด้ ว ยวิ ธี ก ารก� า หนดเครื่ อ งมื อ และเครื อ ข่ า ยส� า หรั บ การตรวจหา ความพร้ อ มของช่ า งอากาศ ยุ ท ธโยธาจะก� า หนดขอบเขตร่ อ งรอยการเปื ้ อ นพิ ษ ในขั้ น ต้ น รวมไปถึ ง การประกาศพื้ น ที่ ค วบคุ ม การเปื ้ อ นพิ ษ และพื้ น ที่ ที่ ไ ม่ เ ปื ้ อ นพิ ษ รวมทั้ ง การก�าหนดเขตอันตรายในขั้นต้น นอกจากนั้น ความพร้อมของช่างอากาศ ยุทธโยธา คือการด�าเนินการตรวจพิสูจน์ทราบ คชรน. ในขั้นต้น ซึ่งเป็น ส่วนหนึง่ ของการริเริม่ ในการตรวจหาและด�าเนินการวางแผน, การเก็บตัวอย่าง และการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ทราบวัตถุ คชรน. ในการสนับสนุนการประเมิน ความเสี่ยงต่อการปฏิบัติการ ความเชี่ยวชาญเหล่านี้ คือการรวบรวมข้อมูล ทีเ่ น้นไปทีอ่ นั ตรายจาก คชรน. และก�าหนดภาพปฏิบตั กิ ารทัว่ ไป ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการอ่านค่าจากการเฝ้าตรวจโดยเน้นไปที่อันตรายจาก คชรน. จากการ เฝ้าตรวจด้านเคมีทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อก�าหนดร่องรอยของอันตราย รวมทั้งด�าเนินการเฝ้าตรวจหาอันตรายในพื้นที่ควบคุมการเปื้อนพิษ และ สถานี ค วบคุ ม การเปื ้ อ นพิ ษ ช่ า งอากาศยุ ท ธโยธายั ง ให้ ค� า แนะน� า ให้ แ ก่ ชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษในการท�าลายล้างพิษ คชรน. หลังการโจมตี และ สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษให้แก่ชดุ ปฏิบตั กิ ารจัดการวัตถุอนั ตราย ความพร้ อ มของช่ า งอากาศยุ ท ธโยธายั ง สนั บ สนุ น ทหารช่ า งสุ ข าภิ บ าล สิ่งแวดล้อม (bioenvironmental engineer) ในการเก็บตัวอย่างจาก สถานที่เกิดเหตุ ซึ่งรวมไปถึงการบรรจุหีบห่อ, การถนอมตัวอย่าง และ 181

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การขนส่ ง นอกจากนั้ น ยั ง สนั บ สนุ น ช่ า งอากาศยุ ท ธโยธาในการพั ฒ นา การเก็ บ รวบรวมและแผนการก� า จั ด กากของเสี ย อั น ตราย ซึ่ ง เป็ น ความ รับผิดชอบของแผนกสงครามเคมี ยิ่งไปกว่านั้นเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของช่าง อากาศยุทธโยธาที่มีความพร้อมและเป็นมืออาชีพยังให้ข้อเสนอแนะแก่ ผู้บังคับบัญชาเพื่อตกลงใจเลือกใช้ระดับ ลภ. รวมไปถึง แผนและการปฏิบัติ เพื่อสร้างแบบจ�าลองการเกิดอันตราย, การก�าหนดผังสถานการณ์ และ การรายงาน อีกทั้งยังต้องก�าหนดเครือข่ายการรายงานและการเตือนภัย ด้ า น คชรน. ผู ้ เชี่ ย วชาญที่ มี ค วามช� า นาญในเรื่ อ งนี้ ยั ง มี ห น้ า ที่ ก� า หนด การปิดกั้นเขตและก�าหนดผังพื้นที่อันตราย, การก�าหนดเส้นทางที่ปลอดภัย ส� า หรั บ ผู ้ ต อบสนองเหตุ , เขตที่ เริ่ ม ปฏิ บั ติ เ พื่ อ การป้ อ งกั น และก� า หนด สถานภาพของเขตที่อนุญาตให้ถอดเครื่องแต่งกายป้องกัน รวมทั้งการสั่งการ ให้ลาดตระเวน คชรน. ในขณะที่มีการประสานกับชุดทหารช่างสุขาภิบาล สิง่ แวดล้อม เพือ่ ก�าหนดพืน้ ทีอ่ นั ตรายใต้ลมและการจัดท�าแผนการเคลือ่ นย้าย หน่วยประเภทรหัส 4F9DA, ชุดปฏิบัติการป้องกัน 1200 เพื่อจัดการเหตุ ฉุกเฉินด้านเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (Unit Type Code 4F9DA, Emergency Manangement Chemical, Biological, Radiological, and Nuclear Defense 1200 Team) ก-๑๖ หน่วยประเภทรหัส 4F9DA, ชุดปฏิบัติการป้องกัน 1200 เพื่อจัดการเหตุฉุกเฉินด้าน คชรน. ให้การตอบสนองเหตุการณ์ภัยคุกคามต่อ ร่างกายในลักษณะเต็มย่านความขัดแย้งได้อย่างจ�ากัด ซึง่ ผนวกเอาศูนย์ควบคุม คชรน. เข้ากับการปฏิบตั ิ เพือ่ สนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์ตลอดเต็มห้วงของ การปฏิบัติการทางทหาร ไปจนถึงการเกิดสงครามขนาดใหญ่ รวมทั้งการ ตอบสนองเหตุการณ์ขนาดใหญ่และการเกิดภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ ขีดความสามารถ 182

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

และหน่วยได้รวมไว้อยู่ในการประเมินความเสี่ยง/ความล่อแหลมใน ขัน้ ต้นและการวิเคราะห์ภยั คุกคาม; ทัง้ ยังรวมไปถึงการวางแผน, การตรวจหา, การตรวจพิสูจน์ทราบ, การรายงานและการเตือนภัย; การปฏิบัติการท�าลาย ล้างพิษบางส่วนและการท�าลายล้างพิษแบบแสวงเครื่อง; ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ใน การตอบสนองภัยพิบตั ;ิ ข้อมูลเชิงเทคนิค; ขีดความสามารถด้านการเคลือ่ นถ่าย ยุทโธปกรณ์แบบเลื่อนเข้า-เลื่อนออก; และแท่นรองยุทโธปกรณ์ส�าหรับรถยก หน่วยประเภทรหัส 4F9DB, ชุดปฏิบัติการป้องกัน 600 เพื่อจัดการเหตุ ฉุกเฉินด้านเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (Unit Type Code 4F9DA, Emergency Manangement Chemical, Biological, Radiological, and Nuclear Defense 600 Team) ก-๑๗ หน่วยประเภทรหัส 4F9DB, ชุดปฏิบัติการป้องกัน 600 เพื่อจัดการเหตุฉุกเฉินด้าน คชรน. ให้การตอบสนองเหตุการณ์ภัยคุกคามใน ลักษณะเต็มย่านความขัดแย้งได้น้อยที่สุด ซึ่งผนวกเอาศูนย์ควบคุม คชรน. เข้ากับการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการป้องกันอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง (ตั้งแต่ การปฏิบตั กิ ารทางทหารไปจนถึงการเกิดสงครามขนาดใหญ่) รวมทัง้ การตอบ สนองเหตุการณ์ขนาดใหญ่และการเกิดภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ ขีดความสามารถ และหน่วยได้รวมอยู่ในการประเมินความเสี่ยง/ความล่อแหลมในขั้นต้นและ การวิเคราะห์ภยั คุกคาม; อีกทัง้ ยังรวมถึงการวางแผน, การตรวจหา, การตรวจ พิสจู น์ทราบ, การรายงานและการเตือนภัย; การปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษบางส่วน และการท�าลายล้างพิษแบบแสวงเครื่อง; ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการตอบสนอง ภัยพิบัติ; ข้อมูลเชิงเทคนิค; ขีดความสามารถด้านการเคลื่อนถ่ายยุทโธปกรณ์ แบบเลื่อนเข้า-เลื่อนออก; และแท่นรองยุทโธปกรณ์ส�าหรับรถยก 183

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผู้ตอบสนองเหตุรายแรก (First Responders) ก-๑๘ ตามค�านิยามของระบบจัดการเหตุการณ์ของกองทัพอากาศ ผู้ตอบสนองเหตุรายแรกเป็นก�าลังพลในชุดปฏิบัติการตอบสนองภัยพิบัติ ซึ่งถูกส่งเข้าประจ�าการทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ เพื่อให้การควบคุม บั ง คั บ บั ญ ชาในขั้ น ต้ น , ช่ ว ยชี วิ ต รวมทั้ ง การยั บ ยั้ ง และควบคุ ม อั น ตราย นักผจญเพลิง, เจ้าหน้าทีบ่ งั คับใช้กฎหมาย, เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัย และ เจ้าหน้าที่บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่สา� คัญ ซึ่งให้การตอบสนองเหตุการณ์ต่อ เหตุการณ์ใหญ่ๆ, ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ด้าน คชรน. ในขั้นต้น และเริ่มด�าเนินการทันที โดยที่ผู้ตอบสนองเหตุรายแรกทุกคนคือผู้ตอบสนอง เหตุฉกุ เฉิน แต่ผตู้ อบสนองเหตุฉกุ เฉินทุกคนอาจไม่ใช่ผตู้ อบสนองเหตุรายแรก

ผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (Emergency Responders) ก-๑๙ ตามค�านิยามของระบบจัดการเหตุการณ์ของกองทัพอากาศ ผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉินเป็นก�าลังพลในชุดปฏิบัติการตอบสนองภัยพิบัติที่ ถูกส่งเข้าประจ�าการตามหลังผู้ตอบสนองเหตุรายแรก เพื่อขยายขอบเขตการ ควบคุมบังคับบัญชาและให้การสนับสนุนเพิ่มเติม ผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน จะตามมาทีหลัง ซึ่งอาจเป็นนักผจญเพลิง, เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่การแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางเทคนิค, เจ้าหน้าที่จัดการและปฏิบัติการเหตุฉุกเฉิน (ช่างอากาศยุทธโยธาที่ช�านาญ การ), เจ้าหน้าที่เก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิด แพทย์, พยาบาล, และผู้ให้การ รักษาทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาล, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, ทหารช่าง สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม, เจ้าหน้าที่กิจการศพ และก�าลังพลของชุดปฏิบัติการที่ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 184

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ส่วนบัญชาการ, กองบัญชาการรบทางอากาศ (Headquarters, Air Combat Command) ก-๒๐ ส่ ว นบั ญ ชาการ กองบั ญ ชาการรบทางอากาศ ด� า รงไว้ ซึ่ ง ทรั พ ยากรเพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า กองบั ญ ชาการรบทางอากาศตอบสนองต่ อ กองก� า ลั ง เฉพาะกิ จ (นอกเหนื อ จากหน่ ว ยรบขี ป นาวุ ธ โจมตี ข ้ า มทวี ป ) ซึง่ มียทุ โธปกรณ์และได้รบั การฝึกส�าหรับการตอบสนองเหตุการณ์และอุบตั เิ หตุ ที่เกี่ยวข้องกับรังสีที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมทั้งเขตปกครองตนเองเปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จิน

ส่วนบัญชาการ, กองบัญชาการเคลื่อนที่ทางอากาศ (Headquarters, Air Mobility Command) ก-๒๑ ส่ ว นบั ญ ชาการ กองบั ญ ชาการเคลื่ อ นที่ ท างอากาศ ให้ การสนับสนุนการขนถ่ายทางอากาศ, การเติมน�้ามันกลางอากาศ และปฏิบัติ การสนับสนุนการเคลื่อนที่ทางอากาศภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีภัยคุกคาม ด้าน คชรน. นอกจากนัน้ กองบัญชาการเคลือ่ นทีท่ างอากาศยังให้การสนับสนุน ในลักษณะการส�ารวจทางอากาศ ส�าหรับการตรวจการณ์เหนือพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์ด้านนิวเคลียร์โดยกระทรวงพลังงาน กองบัญชาการ เคลื่อนที่อากาศยังมีบทบาทหลักในฐานะผู้น�าเพื่อด�าเนินการท�าลายล้างพิษ อากาศยานขนาดใหญ่ และจัดการตู้สินค้าที่เปื้อนพิษ รวมทั้งสนับสนุน ทรัพยากรส�าหรับการเคลื่อนย้ายทางอากาศส�าหรับผู้ป่วยจาก คชรน.

185

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ส่วนบัญชาการ, กองบัญชาการกองก�าลังห้วงอวกาศ (Headquarters, Air Force Space Command) ก-๒๒ ส่วนบัญชาการ กองบัญชาการกองก�าลังห้วงอวกาศ มีการ ด�ารงไว้, มียุทโธปกรณ์ และมีการฝึกส�าหรับเป็นกองก�าลังเพื่อตอบสนอง เหตุการณ์การยิงขีปนาวุธข้ามทวีปทีเ่ กีย่ วข้องกับรังสี หรือการเกิดอุบตั เิ หตุกบั ระบบขีปนาวุธข้ามทวีปของกองทัพอากาศเอง กองบัญชาการกองก�าลังอวกาศ ยังให้การสนับสนุนกองก�าลังเฉพาะกิจเพือ่ ตอบสนองเหตุการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับ ขีปนาวุธข้ามทวีป รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ ที่มีความพร้อม

ส่วนบัญชาการ, กองก�าลังทหารอากาศประจ�าภาคพื้นยุโรป (Headquarters, United States Air Forces in Europe) ก-๒๓ ส่วนบัญชาการ กองก�าลังทหารอากาศประจ�าภาคพื้นยุโรป มีการด�ารงไว้, มียุทโธปกรณ์ และมีการฝึกส�าหรับเป็นกองก�าลังเฉพาะกิจ ตอบสนองเหตุการณ์หรือการเกิดอุบตั เิ หตุทเี่ กีย่ วข้องกับรังสีภายในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ ของกองก�าลังที่ประจ�าการในภาคพื้นยุโรป

กองก�าลังรักษาความมั่นคงภายในส่วนที่เป็นทหารอากาศ (Air Nation Guard) ก-๒๔ กองก�าลังรักษาความมั่นคงภายในส่วนที่เป็นทหารอากาศ เป็ น หน่ ว ยที่ อ ยู ่ ภ ายใต้ ก องก� า ลั ง เฉพาะกิ จ -ท� า หน้ า ที่ ส นั บ สนุ น พลเรื อ น, จัดท�าแผน และผนวกรวมเข้ากับการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหม ทีก่ า� หนด ให้เป็นองค์กรหลักในการปฏิบัติการจัดการปัญหาจากเหตุการณ์ด้าน คชรน. ผ่านนายทหารประสานงานทีใ่ ห้การสนับสนุนกองบัญชาการหน่วยก�าลังรบของ กระทรวงกลาโหม กองก�าลังเฉพาะกิจสนับสนุนพลเรือนที่เป็นทหารอากาศ 186

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ถูกส่งเข้าประจ�าการในสถานทีเ่ กิดเหตุ เพือ่ จัดตัง้ ระบบการควบคุมบังคับบัญชา ก อ ง ก� า ลั ง ภ า ย ใ ต ้ ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม แ ล ะ ใ ห ้ ค ว า ม ช ่ ว ย เ ห ลื อ ทางทหารแก่ ห น่ ว ยงานหลั ก ที่ มี ห น้ า ที่ แ ก้ ไขปั ญ หา คชรน. กองก� า ลั ง เฉพาะกิ จ สนั บ สนุ น พลเรื อ นที่ เ ป็ น ทหารอากาศต้ อ งได้ รั บ ร้ อ งขอจาก หน่ ว ยงานหลั ก ที่รับผิดชอบเหตุก ารณ์และต้ อ งได้ รับอนุ มัติจากรั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม อีกทั้งต้องได้รับค�าสั่งจากกองบัญชาการกองก�าลัง ภาคพืน้ ภาคเหนือ (U.S. Northern Command) กองก�าลังเฉพาะกิจสนับสนุน พลเรือนที่เป็นทหารอากาศปฏิบัติหน้าทีแ่ ทนกองบัญชาการกองก�าลังภาคพืน้ ภาคเหนือ เมื่อต้องประสานกับระบบเฝ้าตรวจสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง กับรังสี รวมทั้งระบบแจ้งข่าวสารอย่างรวดเร็ว และให้เอกภาพในการบังคับ บัญชาการ เมือ่ เกิดเหตุการณ์ดา้ น คชรน. ก-๒๕ กองก�าลังรักษาความมั่นคงภายในส่วนที่เป็นทหารอากาศ เป็นชุดภายใต้ชุดปฏิบัติการสนับสนุนพลเรือนเมื่อมีภัยคุกคามจากอาวุธที่มี อ�านาจท�าลายสูง เข้าประจ�าการได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตอบสนอง เหตุเป็นรายแรกประจ�าท้องถิน่ เพือ่ ตรวจสอบลักษณะของเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ได้อย่างถูกต้อง, ให้การสนับสนุนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและให้ค�าแนะน�าทาง เทคนิค และเป็นแนวทางให้แก่การสนับสนุนทางทหารที่จะตามมาและการ ตรวจพิสจู น์ทราบ ถ้าไม่ใช่เหตุการณ์ในระดับชาติ, กองก�าลังรักษาความมัน่ คง ภายในส่วนที่เป็นทหารอากาศ ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการสนับสนุนพลเรือนยังคง เป็นหน่วยของกองก�าลังรักษาความมัน่ คงภายในประจ�ามลรัฐทีผ่ วู้ า่ รัฐสามารถ เรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว ภารกิจของชุดปฏิบตั กิ ารกองก�าลังรักษาความมัน่ คงภายใน ส่วนที่เป็นทหารอากาศ คือการประเมินถึงเหตุการณ์ที่มีการโจมตีด้วยอาวุธที่ มีอ�านาจท�าลายสูง โดยให้ค�าแนะน�าให้แก่เจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุด้วยการ ปฏิบัติการอย่างเหมาะสม และอ�านวยความสะดวกให้แก่ก�าลังทหารระดับรัฐ 187

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

และระดับชาติทมี่ าสมทบเพิม่ เติม ในแต่ละชุดปฏิบตั กิ ารประกอบด้วยก�าลังพล ที่เป็น ทหารอากาศและทหารบก จ�านวน ๒๒ นาย ปฏิบัติงานเต็มเวลา สามารถแบ่ ง ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารออกเป็ น ชุ ด ละ ๖ นาย ได้ ซึ่ ง ได้ รั บ การฝึ ก และมียุทโธปกรณ์พร้อม โดยมีขีดความสามารถในการร้องขอการสนับสนุน ผู้เชี่ยวชาญกลับไปยังเขตภายใน ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บัญชาการ เหตุการณ์ในด้าน .l การบังคับบัญชา l การปฏิบัติการ l การสื่อสาร l ด้านธุรการและการส่งก�าลังบ�ารุง l การแพทย์ l การส�ารวจ ก-๒๖ โดยปกติแล้ว ชุดปฏิบัติการนี้มีขีดความสามารถในลักษณะ จ�าเพาะ โดยที่ชุดปฏิบัติการนี้สามารถส่งเข้าประจ�าการได้อย่างรวดเร็ว ในเหตุการณ์ที่มีผู้ก่อการร้ายที่สงสัยว่ามีการโจมตีหรือเกิดการโจมตีขึ้นจริง นอกจากนั้นยังด�าเนินการลาดตระเวนพิเศษเพื่อตรวจสอบผลกระทบจาก การโจมตี เพื่อท�าให้เข้าใจสถานการณ์โดยผ่านช่องทางการบังคับบัญชาทาง ทหาร, เพื่ อ ให้ ค� า ปรึ ก ษาทางเทคนิ ค แก่ เจ้ า หน้ า ที่ ท ้ อ งถิ่ น ในการจั ด การ ผลกระทบจากการโจมตีให้มผี ลกระทบต่อพลเรือนให้นอ้ ยทีส่ ดุ และเอือ้ อ�านวย ความสะดวกต่อการสนับสนุนทางทหารทีต่ ามมาทีหลัง ด้วยการปรับแก้ไขให้มี การร้องขอรับการสนับสนุนแก่ฝ่ายพลเรือนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

188

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ส่วนบัญชาการ, ส�านักช่างยุทธโยธาสนับสนุนกองทัพอากาศ (Headquarters, Air Force Civil Engineer Support Agency) ก-๒๗ ส่วนบัญชาการ ส�านักช่างยุทธโยธาสนับสนุนกองทัพอากาศ ให้การสนับสนุนเหตุการณ์ด้าน คชรน. ผ่านทางศูนย์ปฏิบัติการเตรียมพร้อม ด้านยุทธโยธา กองทัพอากาศ

ส�านักอุตุนิยมวิทยา กองทัพอากาศ (Air Force Weather Agency) ก-๒๘ ส�านักอุตุนิยมวิทยา กองทัพอากาศ ช่วยให้มั่นใจว่ากอง อุตนุ ยิ มวิทยาประจ�าทีต่ งั้ หน่วย สามารถให้ขอ้ มูลสภาพอากาศ ส�าหรับจ�าลอง การแพร่กระจายของวัตถุ คชรน. (รวมทั้งสารเคมีอุตสาหกรรมอันตราย หรือ การประเมินวัตถุอุตสาหกรรมอันตราย) และท�าให้มั่นใจว่าชุดปฏิบัติการ อุตนุ ยิ มวิทยา ให้ขอ้ มูลด้านอุตนุ ยิ มวิทยาทีจ่ า� เป็นต่อการจัดท�าข่าวสารทิศทาง ใต้ลมส�าหรับสารเคมี (Chemical Downwind Messages: CDM) และข่าวสาร ทิศทางใต้ลมที่มีผลกระทบส�าหรับการตกของฝุ่นกัมมันตรังสี (Effective Downwind Messages: EDM)

ช่างสุขาภิบาลสิง่ แวดล้อม กองทัพอากาศ (Air Force Bioenvironmental Engineer) ก-๒๙ ช่างสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะเป็นการบัญชาการ เหตุการณ์ส�าหรับการปฏิบัติการฟื้นฟู ซึ่งมีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ เป็นภารกิจหลัก และอาจสนับสนุนการบัญชาการเหตุการณ์ตลอดห้วงที่มี เหตุการณ์ด้าน คชรน. โดยช่างสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมมีบทบาท .189

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

สนับสนุนการเตรียมความพร้อมของช่างยุทธโยธาด้วย การตรวจหาสาร คชรน. ในเชิงรุกและในเชิงรับ รวมทั้งการนิยามร่องรอย การเปื้อนพิษและบริเวณที่มีอันตราย เมื่อได้รับหรือมีการร้องขอก�าลังพล หรือมียุทโธปกรณ์ที่จ�าเป็นเพิ่มเติม l ด�าเนินการปฏิบัติการวางแผน, เก็บตัวอย่าง, วิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์ทราบวัตถุ คชรน. และเชื้อโรคในการสนับสนุนการประเมิน ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และการควบคุมอันตรายต่อสุขภาพ (แต่ไม่ใช่การ ประเมินความเสี่ยง) l ด�าเนินการตรวจพิสูจน์ทราบในระดับมีความเป็นไปได้ ส�าหรับสาร คชรน. l ตรวจหาระดั บ ขนาดของวั ต ถุ คชรน., เชื้ อ โรค และ ลักษณะอันตราย เพื่อสนับสนุนการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและการ ควบคุมอันตรายต่อสุขภาพ l ด� า เนิ น การเฝ้ า ตรวจในเชิ ง รุ ก และเชิ ง รั บ เพื่ อ ตรวจ สอบขอบเขตการเปื้อนพิษ, ลักษณะอันตรายที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการ ประมาณการได้รับรังสีของก�าลังพล เพื่อสนับสนุนการประเมินความเสี่ยง ต่อสุขภาพและการควบคุมอันตรายต่อสุขภาพ l ด� า เนิ น การเก็ บ ตั ว อย่ า งในสถานที่ เ กิ ด เหตุ (รวมไปถึ ง การบรรจุหบี ห่อ, การรักษาสภาพ และการขนส่งตัวอย่าง ด้วยความช่วยเหลือของ l

งานเตรียมความพร้อมของช่างยุทธโยธา) เพื่อสนับสนุนการประเมินความเสี่ยงต่อ สุขภาพและการควบคุมอันตรายต่อสุขภาพ l สนั บ สนุ น การจ� า กั ด กากของเสี ย ผ่ า นช่ อ งทางการประเมิ น ความเสี่ยง และการควบคุมอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อให้การป้องกันสุขภาพก�าลังรบ

อยู่ในระดับสูงสุด

190

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ประเมินผลและรับรองยุทธภัณฑ์ป้องกันตน l ส�าหรับใช้การปฏิบัติการจัดการวัตถุอันตราย l ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยความร่วมมือกับงาน เตรียมความพร้อมของช่างยุทธโยธา เพือ่ สนับสนุนการลดระดับ ลภ. ก่อนการ เสนอแนะไปยังผู้มีอ�านาจในการบังคับบัญชา l

หน่วยแพทย์ (Medical Assets) ก-๓๐ หน่วยเพิม่ เติมทีม่ คี วามพร้อมโดยหน่วยบริการทางการแพทย์ ของกองทัพอากาศ ผ่านทางหน่วยเคลื่อนที่เร็วประเภทหน่วยระบุรหัส และ ชุดปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุภายในประเทศ โดยมีขดี ความสามารถครอบคลุมการ บริการทางการแพทย์จากระดับเล็กที่สุด (ชุดปฏิบัติการเวชกรรมป้องกันใน ห้วงอากาศ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ที่ให้การรักษา, ช่างสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, และเจ้าหน้าที่เทคนิคทางการแพทย์อิสระที่ปฏิบัติการ ในห้ ว งอากาศ) ไปจนถึงการให้บริก ารที่รัก ษาทางการแพทย์ ข นาดใหญ่ (การบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่เร็ว +๒๕ [เป็นหน่วยมูลฐาน, ปรับขนาด ให้ เ หมาะสมได้ , ตอบสนองชุ ด บริ ก ารทางการแพทย์ ด ้ ว ยความรวดเร็ ว มีขีดความสามารถในการผ่าตัดและรับรักษาผู้ป่วยในได้ ๒๕ เตียง]) เป็น สื่อกลางให้กับชุดปฏิบัติการที่ถูกก�าหนดให้ท�าลายล้างพิษผู้ป่วย, การเก็บ ตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม, ด�าเนินการสอบสวนการเกิดโรคระบาด และจ่ายยา ให้แก่ผู้คนทั่วไป

191

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองทัพบกสหรัฐอเมริกา (United States Army) ก-๓๑ หน่วยที่ท�าหน้าที่ตอบสนองเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. ประกอบไปด้วย เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ของกองทัพบก, กองบัญชาการปฏิบัติการด้านเคมี ชีวะ รังสี, นิวเคลียร์ และวัตถุระเบิดแรงสูง (CBRNE), กองบัญชาการการช่วยรบกองทัพบก, เวชบริการชุมชน (medical community) และก�าลังกองหนุนในส่วนของกองทัพบก

เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา (United States Army Chemical Corps) ก-๓๒ เหล่าทหารวิทยาศาสตร์มีขีดความสามารถในการแก้ไข สถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ผ่านกองก�าลังด้าน คชรน. จากหน่วยระดับ กองร้อยไปจนถึงหน่วยระดับกองพลน้อย; ฝ่ายอ�านวยการที่เชี่ยวชาญจาก ระดับกองร้อยไปจนถึงฝ่ายอ�านวยการระดับยุทธบริเวณ; มีส่วนเพิ่มเติมก�าลัง ด้วยฝ่ายอ�านวยการที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ และหน่วยที่มีความเชี่ยวชาญ พิเศษในด้านการลาดตระเวน, การท�าลายล้างพิษ และมีขดี ความสามารถด้าน การรับรองทางเทคนิคให้แก่หน่วยต่างๆ

192

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองบัญชาการปฏิบัติการด้านเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ และวัตถุ ระเบิดแรงสูง (Chemical, Biological, Radiological, Nuclear, and High-Yield Explosives Operational Headquarters)

ก-๓๓ กองบัญชาการปฏิบตั กิ ารด้าน คชรน. และวัตถุระเบิดแรงสูง เป็นหน่วยหลักที่เน้นไปยังเป้าหมายต่อการปฏิบัติการก�าจัดอาวุธที่มีอ�านาจ ท�าลายสูง เพื่อสนับสนุนผู้บัญชาการหน่วยก�าลังรบ กองบัญชาการสนับสนุน ที่ ๒๐ (คชรน. และวัตถุระเบิดแรงสูง) เป็นกองบัญชาการหน่วยก�าลังรบขนาด ใหญ่ ข องสหรั ฐ อเมริ ก า ซึ่ ง มี ก ารจั ด หน่ ว ยในลั ก ษณะนี้ เ พี ย งหน่ ว ยเดี ย ว กองบัญชาการสนับสนุนที่ ๒๐ ให้การสนับสนุนส�าหรับการแก้ไขสถานการณ์ดว้ ย การสนับสนุนหน่วยทางด้าน คชรน. และชุดปฏิบัติการเก็บกู้และท�าลายวัตถุ ระเบิด เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ รวมทั้งให้ค�าแนะน�า ทางด้านเทคนิค อีกทั้งการสนับสนุนขีดความสามารถในการร้องขอรับการ สนับสนุนทางด้านเทคนิคกลับไปยังหน่วยงานระดับชาติ นอกจากนั้นยัง สนับสนุนชุดปฏิบัติการขนาดเล็กเพื่อด�าเนินการเก็บตัวอย่าง, การตรวจหา, การเฝ้าตรวจ และการตรวจวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการบัญชาการเหตุการณ์

กองบัญชาการประจ�าเขตภูมิภาคของกองทัพบก (Army Service Component Commands)

ก-๓๔ กองบัญชาการประจ�าเขตภูมิภาคของกองทัพบก ท�าหน้าที่ สนับสนุนการประเมินการแก้ไขสถานการณ์, การวางแผน, การเตรียมการ และการปฏิบัติงาน ในการสนับสนุนผู้บัญชาการทหารประจ�าเขตภูมิภาค ภายในพื้นที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบ กองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ ได้ แ สดงถึ ง ขอบเขตการสนั บ สนุ น ของกองบั ญ ชาการประจ� าเขตภู มิ ภ าค เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ดังต่อไปนี้ 193

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เป้ า หมายของกองบั ญ ชาการกองทั พ บกประจ� า เขต ภาคเหนือ คือการช่วยชีวติ ; ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ; ให้การสนับสนุนการ รักษาชีวิตในภาวะวิกฤตในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ด้าน คชรน. ภายในพื้นที่ ความรับผิดชอบของกองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ กองบัญชาการกองทัพบก ประจ�าเขตภาคเหนือเป็นหน่วยสังกัดกองทัพบก ของกองบัญชาการเขต ภาคเหนือ ท�าหน้าที่ปกป้องมาตุภูมิ และการสนับสนุนพลเรือนของกระทรวง กลาโหม รวมทั้งการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. l กองบัญชาการกองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ จัดตัง ้ ขึน้ เมือ่ เดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๐๕ ประกอบด้วยก�าลังรบประจ�าการ (active forces), ก�าลังกองหนุน, กองก�าลังกองทัพบกรักษาความมัน่ คงภายใน และ ก�าลังเจ้าหน้าทีพ่ ลเรือน ผูบ้ ญ ั ชาการกองก�าลังกองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ มาจากกองก�าลังรบประจ�าการ นายทหารยศพลโท (นายพล ๓ ดาว) l กองบัญชาการกองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ สามารถ จัดทีบ่ ญ ั ชาการยุทธการได้ ๒ แห่ง โดยแต่ละแห่งมีผบู้ ญ ั ชาการหน่วยก�าลังรบ, นายทหารยศพลโทและสามารถด�าเนินการปฏิบตั กิ ารในฐานะกองก�าลังเฉพาะ กิจร่วม หรือกองบัญชาการกองก�าลังทางบกร่วม และมีการเพิม่ เติมก�าลังใน ส่วนของฝ่ายอ�านวยการ ผูบ้ ญ ั ชาการควรฝึกปฏิบตั กิ ารควบคุมการยุทธ์ทเี่ ป็น ทรัพยากรของกระทรวงกลาโหม (ไม่นบั รวมไปถึงหน่วยบัญชาการสงคราม พิเศษ และเหล่าทหารช่างของกองทัพบก) ซึง่ ได้รบั มอบหมายให้ดา� เนินการ สนับสนุนหน่วยงานพลเรือน, มีนายทหารติดต่อกับหน่วยงานพลเรือนอย่าง เหมาะสม และรับมอบนายทหารติดต่อจากกองบัญชาการทหารอืน่ ๆ และจาก หน่วยงานอืน่ ๆ l

194

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองบัญชาการกองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ ยังคง ด�ารงไว้ ซึ่งนายทหารติดต่อ (เพื่อการประสานงานระหว่างส่วนต่างๆ ของ กระทรวงกลาโหมกับส�านักงานจัดการเหตุฉกุ เฉินแห่งชาติประจ�าเขตภูมภิ าค) เพือ่ ด�าเนินการวางแผน, ประสานงาน และบูรณาการ การสนับสนุนหน่วยงาน พลเรือนกับหน่วยงานในท้องถิ่น, หน่วยระดับรัฐ และหน่วยงานระดับชาติ l กองบัญชาการกองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ ด�าเนินการ ให้บรรลุภารกิจการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. โดยยึดมัน่ ตาม กรอบกฎหมายสาธารณะและนโยบายของกระทรวงกลาโหมอย่างเคร่งครัด การใช้ ก�าลั ง ของกองทั พ บกประจ� าเขตภาคเหนื อ เป็ น ไปตามค� าสั่ ง ของ ผู้บัญชาการ กองบัญชาการกองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ และอ�านาจ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ว่าการรัฐได้ร้องขอ ความช่วยเหลือในระดับชาติจากประธานาธิบดี หลังจากที่มีการประกาศ สถานการณ์ภยั พิบตั โิ ดยประธานาธิบดี ในการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนเจ้าหน้าที่ ฝ่ายพลเรือน กองทัพบกประจ�าเขตภาคเหนือ ยังคงเป็นองค์กรระดับชาติ ที่มีบทบาทน�าในการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. l

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ประจ�าพื้นที่ (Area Medical Laboratory)

ก-๓๕ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทางการแพทย์ ป ระจ� า พื้ น ที่ ใ ห้ ก ารตรวจ วิเคราะห์เพือ่ ยืนยัน และการแก้ไขเหตุการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ในระยะยาว ก-๓๖ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ประจ�าพื้นที่ เมื่อได้รับค�าสั่ง สามารถเข้าประจ�าการได้ทั่วโลก โดยจัดชุดปฏิบัติการให้มีความเหมาะสม เพื่อตรวจหาภัยคุกคามต่อสุขภาพ, ตรวจพิสูจน์ยืนยัน และเฝ้าระวังทาง การแพทย์เกี่ยวข้องกับสุขภาพจากการท�างานและจากสิ่งแวดล้อม, เชื้อโรค ประจ�าถิ่น และการแก้ไขสถานการณ์เพื่อป้องกันและด�ารงสภาพของสุขภาพ ของก�าลังพล ตลอดห้วงการปฏิบัติการทางทหารเต็มย่านความขัดแย้ง 195

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ชุดให้ค�าปรึกษาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเคมี-ชีวะ (Medical Chemical-Biological Advisory Team) ก-๓๗ ชุ ด ให้ ค� า ปรึ ก ษาทางการแพทย์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เคมี - ชี ว ะ เป็นแหล่งข้อมูลหลักทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผู้ป่วย จากสารที่ใช้สงครามเคมีส�าหรับรัฐบาลในระดับชาติ โดยผ่านทางส�านักงาน การสอบสวนกลาง (FBI) หรือหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงความมั่นคง ของมนุษย์และสุขภาพ ชุดปฏิบัติการนี้ยังให้ค�าปรึกษาแก่องค์กรในระดับรัฐ, ระดับเมือง และระดับท้องถิน่ นอกจากนัน้ ยังให้คา� แนะน�าในการเก็บตัวอย่าง ชีวภาพ (ของเหลวจากร่างกาย) ส�าหรับการตรวจพิ สูจน์ ยืนยั นจากการ ได้รับอันตรายจากสารเคมี ทั้งนี้อาจน�าไปใช้เพื่อเอื้ออ�านวยต่อการยืนยัน, การวินิจฉัย และเพื่อการรักษาผู้ป่วย ก-๓๘ ชุดให้ค�าปรึกษาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเคมี-ชีวะ คือ เจ้าหน้าทีผ่ เู้ ชีย่ วชาญจากสถาบันวิจยั แพทย์ทหาร กองทัพบก ส�าหรับการป้องกัน ทางด้านเคมี และสถาบันวิจัยแพทย์ทหาร กองทัพบกด้านโรคติดต่อ ชุดให้ ค�าปรึกษาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเคมี-ชีวะ ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลป้อนเข้าส�าหรับการพัฒนาระเบียบปฏิบัติ l การฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการผู้ป่วยจากสารเคมี – ชีวะ l ค� า แนะน� า ด้ า นคลิ นิ ก รั ก ษาและค� า ปรึ ก ษาในประเด็ น ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการผู้ป่วยจากสารเคมีในขั้นต้นและในระยะยาว l ข้อมูลทางการแพทย์ทจ ี่ า� เป็นในระหว่างขัน้ การปฏิบตั ิ เพือ่ การ ฟื้นฟูให้มีความปลอดภัยส�าหรับการกลับไปปฏิบัติงานตามปกติ l

การฝึกอบรม ณ สถานทีเ่ กิดเหตุ ส�าหรับการเป็นมืออาชีพ ด้านการแพทย์ เพื่อจัดการผู้ป่วยจากสารเคมี – ชีวะ l

196

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ชุดปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุเพิม่ เติมก�าลังทหารเหล่าแพทย์กรณีพเิ ศษ (Special Medical Augmentation Response Teams) ก-๓๙ กองบั ญ ชาการทหารเหล่ า แพทย์ ก องทั พ บกของสหรั ฐ ฯ (USAMEDCOM) และหน่ ว ยรอง ได้ มี ก ารจั ด ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารปฏิ บั ติ ก าร ตอบสนองเหตุเพิ่มเติมก�าลังทหารเหล่าแพทย์กรณีพิเศษ (Special Medical Augmentation Response Teams [SMARTs]) พร้อมด้วยก�าลังพลและ ยุทโธปกรณ์ เป็นหน่วยปฏิบัติงานเฉพาะกิจซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงานชั่วคราว โดยจัดจากการปฏิบตั งิ านตามภารกิจของทหารเหล่าแพทย์ปกติ ชุดปฏิบตั กิ ารนี้ จะให้การสนับสนุนหน่วยงานพลเรือนในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ, การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างทหาร-พลเรือน รวมทั้งการปฏิบัติการเพื่อ มนุษยธรรมและเหตุการณ์การบริการเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในประเทศ รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนเขตปกครองและดินแดนที่เข้าปกครอง ของสหรัฐฯ ตลอดจนพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของกองบัญชาการรวมนอกดินแดนของ สหรัฐฯ บทบาทหน้าที่ของ SMARTs ที่ได้ก�าหนดขึ้น มีดังนี้ l ตอบสนองเหตุทางการแพทย์ฉุกเฉิน l ด้าน คชรน. l การจัดการความเครียด l บังคับบัญชาทหารเหล่าแพทย์, การสือ ่ สาร และการรักษา ทางการแพทย์ระยะไกล l การแพทย์พื้นบ้าน l เวชกรรมป้องกัน/การเฝ้าระวังโรค l การรักษาแผลไหม้ l สัตวรักษ์ 197

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประเมินระบบสุขภาพและการให้ความช่วยเหลือ l การคัดแยกการบริการด้านการแพทย์ทางอากาศ l การส่งก�าลังบ�ารุง l การตอบสนองเหตุฉุกเฉินจากโรคฝีดาษ l การรักษาพยาบาลโรคฝีดาษโดยอาศัยความเชีย ่ วชาญพิเศษ l การตรวจสอบการใช้ตัวยาใหม่ ๆ l การให้ค�าปรึกษาทางการแพทย์ด้านรังสี ก-๔๐ บทบาทหน้าที่เพิ่มเติมของชุด SMARTs คือ อาจต้องได้รับ การจัดและได้รับมอบก�าลังพลและยุทโธปกรณ์ในอนาคต l

กองก�าลังกองหนุนของกองทัพบก (United States Army Reserve) ก-๔๑ ก�าลังกองหนุนของกองทัพบก ยังคงมีกองร้อย คชรน. ที่ท�า หลายหน้าที่ โดยมีภารกิจลาดตระเวน/ท�าลายล้างพิษผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ ภายในประเทศ ส�าหรับการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ฝ่าย พลเรือนในกรณีการแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ ก-๔๒ หน่วยเหล่านีท้ ไี่ ด้ถกู ก�าหนดให้เป็นหน่วยเพือ่ การวางก�าลังใน ต่างประเทศ แต่อาจได้รบั มอบกิจเฉพาะโดยรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ให้ปฏิบัติการสนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ที่เกิดขึ้น ภายในประเทศ หน่วยเหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาหรือไม่ได้มีเจตนาให้ท�าหน้าที่ ภายใต้ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ หรือให้เข้าปฏิบัติงานปกติแทนชุมชน ผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน แต่จะให้ขีดความสามารถเพิ่มเติมได้ตามความจ�าเป็น 198

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ก-๔๓ หน่ ว ยที่ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก ก� า หนดให้ เ ป็ น หน่ ว ยเคลื่ อ นที่ เร็ ว เพื่ อ ตอบสนองเหตุการณ์ แต่กส็ ามารถเคลือ่ นย้ายและเข้าวางก�าลังได้ภายใน ๑ วัน การสนับสนุนของหน่วยประเภทนีไ้ ด้ผา่ นทางนโยบายและกระบวนการร้องขอ ความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือน หน่วยประเภทนีเ้ ป็นหน่วยทีด่ ที สี่ ดุ ส�าหรับการส่งเข้าวางก�าลัง ในบริเวณต�าแหน่งทีก่ า� หนดไว้แล้วในการเตรียมการ ส�าหรับเหตุการณ์ที่มีภัยคุกคามสูง, เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน (เช่น มหกรรมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก) ก-๔๔ การลาดตระเวน/การท�าลายล้างพิษภายในประเทศ ซึง่ มอบหมาย ให้กองร้อย คชรน. จากกองก�าลังกองหนุนของกองทัพบก โดยมีหน่วย รองระดับหมวดที่มียุทโธปกรณ์ส�าหรับการตรวจหาและตรวจพิสูจน์ทราบ สาร คชรน. เพือ่ สนับสนุนการด�าเนินการประเมินผลการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ ง มาจาก คชรน. โดยอาศัยยุทโธปกรณ์พเิ ศษเพือ่ การท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก ในการสนับสนุนการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่เดินได้และที่เดินไม่ได้

ทหารเหล่านาวิกโยธิน (United States Marine Corps) ก-๔๕ หน่วยทหารเหล่านาวิกโยธินที่ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ประกอบด้วยกองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ และกองก�าลังนาวิกโยธิน เฉพาะกิจอากาศ-พื้นดิน

กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ (Chemical-Biological Incident Response Force) ก-๔๖ กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ จัดตัง้ ขึน้ ในปี ๑๙๙๖ เพื่อตอบสนองการโจมตีของผู้ก่อการร้าย หรือการโจมตีจากกลุ่มอื่นๆ ด้วย 199

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

อาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง ก่อนที่หน่วยจะเริ่มมีการขับเคลื่อน รัฐบาลกลาง ยังไม่มีขีดความสามารถในการตอบสนองที่มีความสอดคล้องกันต่อเหตุการณ์ ด้าน คชรน. หน่วยนีส้ ามารถด�าเนินการทัง้ ปวงในเรือ่ งการตรวจหา, การตรวจ พิสจู น์ทราบ, การคัดกรอง, การท�าลายล้างพิษขนาดใหญ่ และการคัดแยกผูป้ ว่ ย แนวความคิดในการใช้ทรัพยากรแหล่งเดียวได้รเิ ริม่ โดยนายพล ชาร์ล ซี. ครูลคั (Charles C. Krulak) ผู้บัญชาการทหารเหล่านาวิกโยธิน และเกียรติคุณ ริชาร์ด แดนซิก (Honorable Richard Danzig) รัฐมนตรีทบวงทหารเรือ เพื่อสนองตอบต่อค�าสั่งประธานาธิบดี ตามแผนการตอบสนองเหตุการณ์ แห่งชาติ (PPD-39) ของส�านักงานจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ (FEMA) ก-๔๗ กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะเป็นหน่วยที่มีขนาด เทียบเท่ากองพัน มีก�าลังพล เป็นเหล่านาวิกโยธินและทหารเรือร่วม ๕๐๐ นาย พร้อมด้วยก�าลังพลทีม่ คี วามช�านาญการทางทหารมากกว่า ๔๘ นาย และ สามารถปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการตอบสนองเหตุการณ์ได้อย่างกว้างขวาง เนือ่ งด้วย ธรรมชาติ ข องภั ย คุ ก คามจากอาวุ ธ ที่ มี อ� า นาจท� า ลายสู ง ท� า ให้ ก องก� า ลั ง ตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ ต้องเตรียมพร้อมวันละ ๒๔ ชัว่ โมง ตลอดปี ๓๖๕ วัน เพื่อตอบสนองการโจมตีได้อย่างทันท่วงที กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์ เคมี-ชีวะยังคงรักษาสภาพเป็นกองก�าลังเฉพาะกิจที่ปฏิบัติงานประจ�า ซึ่งรู้จัก กันในนาม “กองก�าลังตอบสนองเหตุในขัน้ ต้น” โดยทีก่ องก�าลังตอบสนองเหตุ ในขัน้ ต้นมีการจัดในลักษณะเฉพาะกิจ, ได้รบั การฝึก, มีกา� ลัง ที่พร้อมปฏิบัติการตอบโต้ด้วยก�าลังพลจากกองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์ เคมี-ชีวะ ประมาณ ๑๓๑ นาย ได้รับการบรรจุก�าลังพลและยุทโธปกรณ์ เพื่อ ให้สามารถตอบสนองเหตุในขั้นต้นได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ส�าหรับการ ปฏิบัติการภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปื้อนพิษ รวมไปถึง 200

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l l l

อย่างจ�ากัด

การควบคุมบังคับบัญชา การตรวจหาและตรวจพิสูจน์ทราบสาร คชรน. มีขดี ความสามารถในการเก็บกูแ้ ละท�าลายวัตถุระเบิดได้

การท�าลายล้างพิษให้แก่ชดุ ปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุและผูป้ ว่ ย l ป้องกันตนเองได้ด้วย สป. ที่มีอยู่อัตราของหน่วย ก-๔๘ กองก�าลังนี้สามารถด�ารงสภาพได้ด้วยระบบส่งก�าลังบ�ารุง ของตนเอง และพร้อมที่จะเข้าไปผนวกรวมกับเหตุการณ์ด้านพลเรือน หรือ เข้าร่วมกับกองบัญชาการรวม หรือเป็นส่วนหนึ่งของกองก�าลังเฉพาะกิจร่วม ภายใต้ ก ระทรวงกลาโหม เมื่ อ มี ก ารส่ ง ก� า ลั ง เข้ า ประจ� า การในฐานะ กองก�าลังตอบสนองเหตุในขั้นต้น กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ มีความพร้อมทันทีในฐานะชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุในขั้นต้นภายในเวลา ไม่กวี่ นิ าที หลังจากผ่านไป ๖ ชัว่ โมงต่อมา กองก�าลังนีจ้ ะปฏิบตั ติ ามกองก�าลัง ทีเ่ คลือ่ นทีต่ ามมาทีหลังเพือ่ ตอบสนองเหตุในขัน้ ต้น และ/หรือสามารถปฏิบตั กิ าร ตอบสนองเหตุการณ์ได้โดยอิสระส�าหรับสถานการณ์อื่นๆ ก-๔๙ กองก� า ลั ง นาวิ ก โยธิ น รบนอกประเทศที่ ๒ ท� า หน้ า ที่ ควบคุ ม ด้ า นยุ ท ธการกั บ กองก� า ลั ง ตอบสนองเหตุ ก ารณ์ เ คมี - ชี ว ะ และ ยั ง คงเป็ น จุ ด ประสานของก� า ลั ง นาวิ ก โยธิ น ส� า หรั บ กระบวนการร้ อ งขอ รับการสนับสนุนก�าลังรบ เพื่อการร้องขอก�าลังประกอบกองก�าลังตอบสนอง เหตุ ก ารณ์ เ คมี - ชี ว ะ การร้ อ งขอก� า ลั ง เพื่ อ ประกอบกองก� า ลั ง เริ่ ม จาก ประธานาธิบดีส่งค�าสั่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แล้วส่งต่อไป ยังกองบัญชาการกองก�าลังร่วม เมื่อได้รับอนุมัติการร้องขอก�าลังพลเพื่อ l

201

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ประกอบก�าลังแล้ว ก็จะบรรจุมอบจากกองบัญชาการกองก�าลังร่วม ให้แก่ กองก�าลังนาวิกโยธินและกองก�าลังนาวิกโยธินรบนอกประเทศไปด�าเนินการ และให้ ผู ้ บั ญ ชาการกองก� า ลั ง ตอบสนองเหตุ ก ารณ์ เ คมี - ชี ว ะส� า หรั บ การ ปฏิบัติการ กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ มักได้รับมอบกิจให้ เข้าประจ�าการ ก่อนจะมีเหตุการณ์เพื่อสนับสนุนเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ความมัน่ คงเป็นกรณีพเิ ศษ ซึง่ ได้รบั มอบหมายมาจากฝ่ายปฏิบตั งิ านลับ ถึงแม้วา่ โดยทั่ ว ไปเป็ น ที่ เข้ า ใจกั น ว่ า กองก� า ลั ง ตอบสนองเหตุ ก ารณ์ เ คมี - ชี ว ะ จะให้การสนับสนุนโดยตรงต่อกองก�าลังเฉพาะกิจร่วมที่รับผิดชอบในเขต รอบเมืองหลวง แต่กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ อาจได้รับมอบ กิจใดๆ ภายในดินแดนของสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากบริเวณพืน้ ทีภ่ าคเหนือ รอบเขตเมืองหลวง หรืออาจเป็นกิจภายนอกประเทศก็ได้ ภารกิจ (Mission) ก-๕๐ ค�าแถลงภารกิจของกองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ มีดังนี้ : “เมื่อสั่ง, ให้เคลื่อนก�าลังเข้าประจ�าการในแนวหน้า และ/หรือ ตอบสนองเหตุการณ์ทเี่ ชือ่ ว่าเป็นภัยคุกคามจาก คชรน. เพือ่ ให้ความช่วยเหลือ แก่หน่วยงานระดับท้องถิน่ , ระดับรัฐ หรือในระดับชาติ รวมทัง้ แก่ผบู้ ญ ั ชาการ รวมหน่วยก�าลังรบในการด�าเนินการเพือ่ ปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ กองก�าลัง ตอบสนองเหตุการณ์ เคมี-ชีวะ ปฏิบตั ภิ ารกิจเป็นผลส�าเร็จด้วยขีดความสามารถ ในการตรวจหา และตรวจพิสูจน์ทราบสาร คชรน.; ค้นหาผู้บาดเจ็บ, กู้ชีพ และท�าลายล้างพิษก�าลังพล; รวมทั้งการให้การรักษากรณีฉุกเฉินและรักษา สภาพก�าลังพลทีเ่ ปือ้ นพิษให้คงที”่ ข้อพิจารณาเพิม่ เติมส�าหรับการจัดท�าแผน อาจมีดังนี้ 202

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะอาจปฏิบัติการ ด้วยตนเองตามล�าพัง หรืออาจเป็นการปฏิบัติการร่วมกับหน่วยอื่นๆ ของ กระทรวงกลาโหม (เช่น ชุดปฏิบัติการสนับสนุนพลเรือนเพื่อต่อต้านอาวุธที่ มีอา� นาจท�าลายสูง ของกองก�าลังรักษาความมัน่ คงภายในภายใต้ทหารเหล่า นาวิกโยธิน, กองก�าลังมูลฐานมีขดี ความสามารถสูงเพือ่ ปฏิบตั กิ ารตอบสนอง ด้าน คชรน. หรือชุดจู่โจมของกองก�าลังรักษาฝั่ง) เพื่อตรวจหาและตรวจ พิสูจน์ทราบสารและ/หรือสสาร คชรน., รวมไปถึงการประเมินผลกระทบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง, ให้ ค�าแนะน�าแก่เจ้าหน้าทีใ่ นท้องถิน่ ในการจัดการผลกระทบทีเ่ กิดจากการโจมตี และให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมส�าหรับการสนับสนุนเพิม่ เติมเพือ่ ลดผลกระทบต่อประชาชนพลเรือนให้เหลือน้อยที่สุด l กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะมีความสามารถ ในการก�าหนดต�าแหน่ง และคัดกรองผู้ประสบภัยจากสภาพแวดล้อมที่ เปื้อนพิษ, ด�าเนินการคัดแยกผู้ป่วยและให้การรักษาในสภาพแวดล้อมที่ เปื้อนพิษ และด�าเนินการท�าลายล้างพิษผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วยจ�านวนมาก เพื่อ สนับสนุนผู้ตอบสนองเหตุรายแรกที่เป็นพลเรือนหรือที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหาร โดยทัว่ ไป ภาพเค้าโครงการตอบสนองเหตุการณ์ได้แบ่งออกเป็นขัน้ ๆ, ชุดปฏิบัติการสนับสนุนพลเรือนเพื่อต่อต้านอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง ในส่วนของก�าลังนาวิกโยธินจากกองก�าลังรักษาความมัน่ คงภายใน ซึง่ เป็นชุด ปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุระดับมูลฐานทีม่ ขี ดี ความสามารถสูง และขีดความสามารถ ของกองก� า ลั ง ตอบสนองเหตุ ก ารณ์ เ คมี - ชี ว ะ จะเป็ น ส่ ว นเพิ่ ม เติ ม และเป็นการปฏิบัติการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุฝ่าย พลเรือน ตาม l

203

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ระบบการจัดการเหตุการณ์แห่งชาติที่อาศัยระบบการบัญชาการเหตุการณ์ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การระบุถึงหน้าที่การแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูงมีความจ�าเป็นต่อการวิเคราะห์ ในฐานะหน่วยที่มีหน้าที่ ๒ วัตถุประสงค์ เนื่องจากมีสถานภาพในการ วางก�าลังได้ทวั่ โลก กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะยังสามารถส่งเข้า วางก�าลังสนับสนุน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ส�าหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ต่างประเทศ, เป็นส่วนสนับสนุนเพิม่ เติมก�าลังให้แก่ ผูบ้ ญ ั ชาการกองก�าลังร่วม, เป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ, หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วย งานอื่น ๆ เมื่อสั่งเพื่อการปฏิบัติกิจให้เป็นผลส�าเร็จ ก�าลังพลของกองก�าลัง ตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ ต้องได้รับการฝึกเพื่อปฏิบัติการจัดการวัตถุ อันตรายเป็นกรณีพิเศษ และได้รับยุทธภัณฑ์ป้องกันตน รวมทั้งการฝึกเพิ่ม เติมเกี่ยวกับลักษณะด้านเทคนิคส�าหรับการปฏิบัติหน้าที่ในยามปกติ และ หน้าที่พิเศษภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอันตราย ขีดความสามารถ (Capabilities) ก-๕๑ กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ รวมไปถึงชุดปฏิบัติ การตอบสนองเหตุระดับมูลฐาน เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจากอาวุธ ที่อ�านาจท�าลายสูงแบบเบ็ดเสร็จ และยังคงเป็นหน่วยของกระทรวงกลาโหม แหล่งเดียวที่สามารถให้การบังคับบัญชาและเป็นชุดปฏิบัติการสนับสนุน ที่จ�าเป็นต่อการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ในต่างประเทศ หรือภายในประเทศ หากจ�าเป็น, กองก�าลังตอบสนองเหตุการณ์เคมี-ชีวะ อาจแบ่งชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุในขั้นต้นออกได้ ๒ ชุด โดยที่สามารถ 204

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เข้ า วางก� า ลั ง และปฏิบัติก ารได้โดยอิสระต่อกั น หรื อ อาจปฏิ บั ติก ารเป็ น ส่วนเสริมให้กับชุดปฏิบัติการชุดแรกเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้โดยต่อเนื่อง ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุขั้นต้นในแต่ละชุด มีขีดความสามารถดังต่อไปนี้ l ตรวจหาและตรวจพิสจ ู น์ทราบสารเคมีทางทหารทีท่ ราบ กันดีอยู่แล้ว ตลอดจนสารชีวะ และวัตถุเคมีอุตสาหกรรมอันตราย รวมทั้ง วัตถุอุตสาหกรรมอันตรายมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ชนิด l ค้นหาและคัดกรองผู้บาดเจ็บ โดยมีก�าลังนาวิกโยธินที่ ผ่านการฝึกด้านเทคนิคการแพทย์ (ขัน้ พืน้ ฐาน) ซึง่ สามารถปฏิบตั งิ านภายใต้ ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน ระดับ A ไปจนถึงระดับ C มากกว่า ๑๕๐ นาย l ท�าลายล้างพิษบุคคลและท�าลายล้างพิษตนเอง ส�าหรับ ผู้ป่วยที่เดินได้และที่เดินไม่ได้ l ให้การรักษาทางการแพทย์และพยาบาลเพือ ่ ด�ารงสภาพ ผู้ป่วยโดยมีแพทย์ฉุกเฉิน, พยาบาล, ผู้ช่วยแพทย์ และนายสิบเสนารักษ์ จ�านวน ๕๐ นาย – ผู้ที่สามารถปฏิบัติงานภายใต้เครื่องแต่งกายยุทธภัณฑ์ ป้องกันตนอย่างเต็มที่ l การกูช ้ พี ด้วยวิธกี ารทางเทคนิค, โดยมีเจ้าหน้าทีน่ าวิกโยธิน ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการค้นหาและกู้ชีพในเมืองจากส�านักงานจัดการ เหตุฉุกเฉินแห่งชาติ (FEMA) ประมาณ ๓๕ นาย l ชุดเก็บกูแ ้ ละท�าลายวัตถุระเบิดของนาวิกโยธิน ซึง่ สามารถ ปฏิบตั งิ านภายใต้เครือ่ งแต่งกายยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันตนอย่างเต็มที่ 205

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พื้นดิน (Marine Air-Ground Task Force) ก-๕๒ กองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พื้นดิน จ�าเป็นต้องมี ยุทโธปกรณ์สา� หรับตรวจหา, ตรวจพิสจู น์ทราบ และยุทธภัณฑ์ปอ้ งกัน ซึง่ เกิน กว่าความต้องการในการป้องกันภัยคุกคามด้าน คชรน. ปกติ และท�าให้สามารถ ปฏิบตั กิ ารเฝ้าตรวจ/ส�ารวจ และการลาดตระเวนในสภาพแวดล้อมทีม่ อี นั ตราย จาก คชรน. ได้ทงั้ หมด ชุดสิง่ อุปกรณ์สา� หรับแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ของกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พื้นดิน คือชุดสิ่งอุปกรณ์ พิเศษเพือ่ การตรวจหาสาร, การตรวจพิสจู น์ทราบ และเพือ่ ป้องกัน คชรน. ซึง่ ถูกใช้โดยนายทหารป้องกัน คชรน. และผูเ้ ชีย่ วชาญพิเศษทีม่ ี ชกท.๕๗๐๒ และ ชกท.๕๗๑๑ รวมทัง้ ก�าลังพลทีไ่ ด้รบั การฝึก เพือ่ สนับสนุนผูบ้ ญ ั ชาการกองก�าลัง นาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พื้นดิน ในการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. และการปฏิบัติการประเมินผลกระทบจากวัตถุอุตสาหกรรมอันตราย ก-๕๓ ชุดสิ่งอุปกรณ์ด้าน คชรน. ของกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะ กิจอากาศ-พื้นดิน เพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าตรวจ/ส�ารวจ และการลาด ตระเวน คชรน. ของผูบ้ ญ ั ชาการกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พืน้ ดิน โดยท�าให้สามารถปฏิบัติการภายใต้สภาพแวดล้อมที่ทราบหรือยังไม่ทราบ ถึงอันตรายได้ อีกทั้งยังมีขีดความสามารถเพิ่มเติมในการตรวจหา และตรวจ พิสูจน์ทราบทั้ง คชรน. รวมทั้งวัตถุอุตสาหกรรมอันตราย ก-๕๔ สิ่งอุปกรณ์ด้าน คชรน. ของกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจ อากาศ-พื้นดิน ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในด้านการตรวจหาและการป้องกัน สุขภาพของส่วนก�าลังรบ ให้แก่ผู้บัญชาการกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจ อากาศ-พื้นดิน ซึ่งท�าให้สามารถด�าเนินการตรวจหา, ตรวจพิสูจน์ทราบ และ 206

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเก็บตัวอย่างสาร คชรน. รวมทัง้ ตัวอย่างวัตถุอตุ สาหกรรมอันตราย และเป็นการป้องกันชุดปฏิบัติการลาดตระเวนภายใต้สภาพแวดล้อมที่ทราบ และยังไม่ทราบถึงอันตราย ยุทโธปกรณ์ทจี่ า� เป็นส�าหรับการเพิม่ ขีดความสามารถนี้ อาจผสมผสานยุ ท โธปกรณ์ ที่ มี อ ยู ่ ต ามอั ต ราผนวกเข้ า กั บ ยุ ท โธปกรณ์ ที่มีจ�าหน่ายทั่วไปและยุทโธปกรณ์ที่จัดหาได้โดยง่าย ก-๕๕ ชุดปฏิบตั กิ ารของกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พืน้ ดิน เพือ่ ตอบสนองเหตุการณ์แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ประกอบด้วย l ชุดปฏิบัติการลาดตระเวนที่มีก�าลังพล ๓ ถึง ๔ นาย l ผู้ควบคุมเขตอันตราย (hot zone) l ผู้ควบคุมเขตปลอดภัย (cold zone) l ผูบ ้ญ ั ชาการ ณ สถานทีเ่ กิดเหตุ (on-scene commander) ก-๕๖ ส่วนสนับสนุนเพิ่มเติมที่มีความจ�าเป็น อาจประกอบด้วย l ส่วนรักษาความปลอดภัย l ส่วนท�าลายล้างพิษ l ส่วนให้ความช่วยเหลือด้านธุรการ l ส่วนแพทย์ l ส่วนเก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิด ก-๕๗ ผู้บัญชาการกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พื้นดิน ต้องมีขีดความสามารถในการด�าเนินการเฝ้าตรวจ/ส�ารวจ และปฏิบัติการ ลาดตระเวนต่อต้านกับอันตรายจาก คชรน. และวัตถุอตุ สาหกรรมอันตราย ชุด ปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ของกองก�าลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจอากาศ-พืน้ ดิน ได้เข้าวางก�าลังในสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการที่ได้รับมอบ 207

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

พัฒนาไปอย่างเต็มที่แล้ว เพื่อด�าเนินการลาดตระเวนภัยคุกคาม ด้าน คชรน. ทัง้ ทีท่ ราบและยังไม่ทราบ จากกองบัญชาการหน่วยรองขนาดใหญ่ หรือหน่วยที่เหนือกว่า ตามที่ได้มีการตรวจสอบจากผู้บัญชาการกองก�าลัง นาวิ ก โยธิ น เฉพาะกิ จ อากาศ-พื้ น ดิ น ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารเหล่ า นี้ อ าจถู ก ส่ ง เข้ า วางก�าลังเพื่อสนับสนุนทั่วไปแก่หน่วยงานอื่นๆ และสนับสนุนโดยตรงให้ แก่หน่วยแม่ ยุทโธปกรณ์ที่น�าเข้าประจ�าการเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ ประจ� า ตามที่ แ นะน� า ไว้ ใ นระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ รั ฐ บาลกลาง สหรั ฐ อเมริ ก า หมวด ๒๙ (29 CFR 1910.120)

กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา (United States Navy) ก-๕๘ หน่วยทีแ่ ก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ของกองทัพเรือ ประกอบไปด้วยหน่วยเวชกรรมป้องกันวางก�าลังในแนวหน้า, ชุดปฏิบัติงาน ตอบสนองเหตุดา้ นเทคนิคเพือ่ การป้องกัน, ส�านักงานการวิจยั กองทัพเรือ และ ห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งกองทัพเรือ

หน่วยเวชกรรมป้องกันวางก�าลังในแนวหน้าของกองทัพเรือ (Navy Forward-Deployed, Preventive-Medicine Unit) ก-๕๙ ด้วยชุดปฏิบัติก ารที่เข้าวางก�าลั ง ได้ อ ย่ า งรวดเร็ วในการ ตอบสนองเหตุ เพื่อการป้องกันภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. หน่วยเวชกรรม ป้องกันที่วางก�าลังในแนวหน้าของกองทัพเรือ มีหน้าที่ประเมิน, พิสูจน์ทราบ และบรรเทาผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพในระยะสั้ น และระยะยาว และแก้ ไข สถานการณ์การเกิดโรคจากลักษณะปัญหาด้านสาธารณสุข อาจมีชดุ ปฏิบตั กิ าร เพิ่มเติมก�าลังจากห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยทางการแพทย์ของกองทัพเรือ ณ สถานที่เกิดเหตุ 208

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ชุดปฏิบัติงานตอบสนองเหตุด้านเทคนิคการป้องกัน (Defense Technical Response Group) ก-๖๐ ชุดปฏิบตั งิ านตอบสนองเหตุดา้ นเทคนิคการป้องกัน สามารถ ให้การช่วยเหลือแก่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิดด้านอาวุธ นิวเคลียร์ และกลไกอาวุธนิวเคลียร์แบบแสวงเครื่อง

ส�านักงานการวิจยั กองทัพเรือและห้องปฏิบตั กิ ารวิจยั แห่งกองทัพเรือ (Office of Naval Research and Naval Research Laboratory) ก-๖๑ ห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งกองทัพเรือได้จัดตั้งขึ้นในต�าแหน่งที่ เป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก หลาย ๆ ส่วน, ด�าเนินการวิจยั ในหลากหลายสาขา ส�านักงานการวิจยั กองทัพเรือ และห้องปฏิบตั กิ ารวิจยั แห่งกองทัพเรือพร้อมทีจ่ ะส่งผูเ้ ชีย่ วชาญในเครือ่ งแบบ ในด้านจุลชีววิทยา ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกในสภาพภัยคุกคามจากเคมี-ชีวะ ให้ ส ามารถเข้ า ประจ� า การได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว เพื่ อ สนั บ สนุ น การสอบสวน ในภาคสนาม

ส�านักงานรักษาความมั่นคงภายใน (National Guard Bureau) ก-๖๒ ส�านักงานรักษาความมั่นคงภายใน มีกองก�าลังที่มีความ สามารถด้าน คชรน. ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะผู้บริหารประจ�ามลรัฐ ตามรัฐบัญญัติ หมวด ๓๒ แต่อาจปรับเปลี่ยนไปเป็นกองก�าลังแห่งชาติเพื่อ ตอบสนองเหตุได้ภายใต้รฐั บัญญัติ หมวด ๑๐ กองก�าลังดังกล่าวประกอบด้วย 209

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ชุดปฏิบตั กิ ารสนับสนุนพลเรือนต่อต้านอาวุธทีม่ อี า� นาจ ท�าลายสูง (WMD – CST) ซึ่งประกอบไปด้วยก�าลังพลจากกองก�าลังรักษา ความมั่ น คงภายในที่ เ ป็ น ทหารบกและทหารอากาศ และก� า หนดให้ มี ความสามารถพิเศษในการตอบสนองเหตุการณ์ดา้ น คชรน. โดยทีก่ ารปฏิบตั กิ าร หลักจะอยูภ่ ายใต้รฐั ธรรมนูญ มาตรา ๓๒ ส�าหรับการปฏิบตั กิ ารในประเทศและ เขตปกครองในอาณัตขิ องสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับทีก่ า� หนดไว้ตามรัฐบัญญัติ หมวด ๑๐ ส�าหรับการปฏิบัติการตอบสนองภายใต้อ�านาจของผู้ว่าการรัฐ กองก�าลังนี้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต่อเหตุการณ์ด้าน คชรน. ภายใน ประเทศ ด้วยการตรวจพิสูจน์ทราบสาร คชรน., การประเมินสถานการณ์ใน ขณะนั้นและที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด, การให้ค�าแนะน�าถึงมาตรการที่ใช้ใน การตอบสนอง และการให้ความช่วยเหลือต่อการร้องขอตามความเหมาะสม ส�าหรับให้การสนับสนุนเพิม่ เติม ชุดปฏิบตั กิ ารสนับสนุนพลเรือนต่อต้านอาวุธที่ มีอา� นาจท�าลายสูงอาจเป็นกองก�าลังของชาติ และถูกส่งเข้าประจ�าการในฐานะ เป็นส่วนหนึง่ ของก�าลังตอบสนองเหตุการณ์ภายในรัฐหรือภายนอกรัฐตามทีไ่ ด้ ก�าหนดไว้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือ ATP 3-11.46) l

กองก�าลังตอบสนองเหตุของกองก�าลังรักษาความมั่นคง ภายใน กองก�าลังนี้จัดให้ในทุก ๆ รัฐ ด้วยกองก�าลังที่พร้อมรบ ซึ่งสามารถส่งเข้า ประจ�าการในฐานะชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยซึ่งมีขนาดหน่วยเทียบเท่า กองร้อย ตามการร้องขอของผู้ว่าการรัฐหรือประธานาธิบดี ก�าลังตอบสนองเหตุ ของกองก�าลังรักษาความมั่นคงภายในอาจให้ความช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายของรัฐ ด้วยการป้องกันรักษาสถานที่ส�าคัญ, ปฏิบัติ หน้าที่ควบคุมการจราจร และด�าเนินการเพื่อปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยใน เขตปลอดภัย (cold-zone) ณ บริเวณที่เกิดเหตุการณ์ด้าน คชรน. l

210

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l

กองก�าลังมูลฐานขีดความสามารถสูงเพือ่ ตอบสนองเหตุดา้ น

คชรน. และวัตถุระเบิดแรงสูง (CERFP) กองก�าลังนี้มีขนาดหน่วยเทียบเท่า กองพัน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามหน่วยของกองก�าลังรักษาความมั่นคง ภายในที่มีอยู่ และถูกระดมสรรพก�าลังภายใต้รัฐบัญญัติ หมวด ๓๒ เพื่อให้ การสนองตอบในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ คชรน. ในส่วนภูมิภาค กองก�าลัง มูลฐานขีดความสามารถสูงเพื่อตอบสนองเหตุด้าน คชรน. เคลื่อนที่ตามมา ทีหลังชุดปฏิบัติการสนับสนุนพลเรือนต่อต้านอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูงและ กองก�าลังตอบสนองเหตุของกองก�าลังรักษาความมั่นคงภายใน ในระหว่างขั้น การตอบสนองเหตุเร่งด่วนและในขั้นการเสริมความเข้มแข็งในการตอบสนอง กองก�าลังมูลฐานขีดความสามารถสูงเพื่อตอบสนองเหตุด้าน คชรน. และวัตถุ ระเบิดแรงสูง ถูกส่งเข้าวางก�าลัง ณ สถานที่เกิดเหตุด้าน คชรน. เพื่อด�าเนิน ภารกิจที่กระทรวงกลาโหมให้การสนับสนุนแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และ สนับสนุนผู้บัญชาการเหตุการณ์ กองก�าลังมูลฐานขีดความสามารถสูงเพื่อ ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. และวัตถุระเบิดแรงสูง มักมีการจัดหน่วยปฏิบัติ กิจเฉพาะในรูปของกองก�าลังเฉพาะกิจ ซึง่ มีการบังคับบัญชาและมีฝา่ ยอ�านวยการ เช่ น เดี ย วกั บ หน่ ว ยในระดั บ กองพั น , มี ขี ด ความสามารถด้ า นการแพทย์ เทียบเท่าหน่วยระดับกองร้อย, ท�าหน้าที่คัดแยกผู้ป่วยและให้การรักษาเพื่อ ด�ารงสภาพผู้ปว่ ย (เช่น ชุดแพทย์ของกองก�าลังทหารอากาศรักษาความมัน่ คง ภายใน), มีอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ (อจย.) เช่นเดียวกับกองร้อย คชรน. เพื่อให้การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย และมีอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์เทียบเท่า กองร้อยทหารช่าง เพื่อการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วย กองก�าลังมูลฐาน ขีดความสามารถสูงเพือ่ ตอบสนองเหตุดา้ น คชรน. ยังคงด�ารงสภาพยุทโธปกรณ์ พิเศษเพิ่มเติม และได้รับการฝึกพิเศษเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้อย่าง ปลอดภัยภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. 211

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

หน่วยสนับสนุนอื่นๆ ของกระทรวงกลาโหม (Other Departmemt of Defense support Agencies) ก-๖๓ มี ชุ ด ปฏิ บั ติ ง านอื่ น ๆ ของกระทรวงกลาโหมเพื่ อ แก้ ไข สถานการณ์ ซึ่งไม่อยู่ในส่วนของเหล่าทัพ มีความสามารถให้การสนับสนุน การปฏิ บั ติ ก ารแก้ ไขสถานการณ์ อั น เนื่ อ งมาจาก คชรน. ชุ ด ปฏิ บั ติ ง าน ประกอบด้วย

กองก�าลังเฉพาะกิจร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน (Joint Task Force–Civil Support) ก-๖๔ เป้าหมายของกองก�าลังเฉพาะกิจร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าที่ ฝ่ายพลเรือน คือช่วยชีวติ , ป้องกันการได้รบั บาดเจ็บ และให้การสนับสนุนการ ด�ารงสภาพชีวิตในห้วงวิกฤตที่เกิดขึ้นชั่วคราวในระหว่างเกิดเหตุการณ์ด้าน คชรน. ภายในประเทศ หรือดินแดนในเขตปกครองของสหรัฐอเมริกา กองก�าลัง เฉพาะกิจร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน เป็นเพียงหน่วยเดียว ตามล�าพังที่จัดท�าแผนและบูรณาการก�าลังทหารของกระทรวงกลาโหม เพื่อ สนับสนุนเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือนในการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ก-๖๕ กองก�าลังเฉพาะกิจร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน เป็นกองก�าลังเฉพาะกิจร่วมหลักทีป่ ระกอบด้วยหน่วยรบหลัก, ก�าลังกองหนุน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือนของก�าลังรักษาความมั่นคงภายในที่เป็น ทหารบก, ทหารเรือ, ทหารอากาศ, นาวิกโยธิน, เจ้าหน้าที่กองก�าลังรักษาฝั่ง ของสหรั ฐ อเมริ ก า ภายใต้ ก ารบั ญ ชาการของนายทหารชั้ น นายพลจาก กองก�าลังรักษาความมั่นคงภายในที่เป็นทหารบก หน่วยนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม ปี ๑๙๙๙ กองก�าลังเฉพาะกิจร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือนเป็น 212

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

หน่ ว ยขึ้ น ตรงของกองบั ญ ชาการกองทั พ ภาคเหนื อ (U.S. Northern Command) และเป็นกองบัญชาการรวมของทหารหน่วยรบ ซึ่งจัดตั้งขึ้นใน เดือนตุลาคม ปี ๒๐๐๒ เพื่อวางแผน, จัดหน่วย และปฏิบัติภารกิจปกป้อง ประเทศชาติและสนับสนุนพลเรือน เมือ่ ได้รบั ค�าสัง่ จากประธานาธิบดีหรือจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพภาคเหนือให้ความ ช่วยเหลือทางทหารให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ด้วย ก-๖๖ กองก�าลังเฉพาะกิจร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ของตนให้ เ ป็ น ผลส� า เร็ จ โดยยึ ด มั่ น ในหลั ก ของกฎหมาย รั ฐ ธรรมนู ญ และกฎหมายสาธารณะอย่ า งเคร่ ง ครั ด การส่ ง ก� า ลั ง เฉพาะ กิจร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนเข้าประจ�าการ เป็นการสั่งการ ของผูบ้ ญ ั ชาการ กองทัพภาคเหนือ และในอ�านาจของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง กลาโหม ซึง่ ต้องได้รบั การร้องขอจากผูว้ า่ การรัฐ ในการร้องขอรับความช่วยเหลือ ในระดับชาติจากประธานาธิบดี ภายหลังจากทีป่ ระธานาธิบดีประกาศสถานการณ์ ภัยพิบตั แิ ล้วส�าหรับสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ ภายในประเทศ, ก�าลังเฉพาะกิจร่วม สนับสนุนเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือน ยังคงสนับสนุนทีบ่ ญ ั ชาการเหตุการณ์โดยตลอด ในห้วงการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

213

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองก�าลังตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์ (Consequence Management Response Force) ก-๖๗ กองก�าลังตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. และวัตถุระเบิดแรงสูง เป็นกองก�าลังเฉพาะกิจรบผสมเหล่า มีหน่วย ขนาดกรมผสม (พล.น้อย) ซึง่ สามารถปรับเปลีย่ นการจัดได้ตามความพยายาม เพิ่มเติมก�าลังให้แก่หน่วยงานกลาโหมสนับสนุนแก่หน่วยงานฝ่ายพลเรือน ส�าหรับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ คชรน. และปฏิบัติการภายใต้อ�านาจแห่ง รัฐบัญญัติ หมวด ๑๐ และสนับสนุนกองทัพภาคเหนือภายใต้กองก�าลังเฉพาะกิจ ร่วม – สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน กองก�าลังตอบสนองการแก้ไข สถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. และวัตถุระเบิดแรงสูง จะประกอบก�าลังเมือ่ มีความต้องการก�าลังเฉพาะกิจขนาดใหญ่เพือ่ เป็นก�าลังเฉพาะกิจร่วม – สนับสนุน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และเป็นกองก�าลังที่ปรับเปลี่ยนขีดความสามารถได้ (เช่น การท�าลายล้างผู้ป่วย, การปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย, การคัดแยก ผู้ป่วยรวมทั้งให้การรักษา, การบิน, การส่งก�าลังบ�ารุง และการขนส่ง)

ส�านักลดภัยคุกคามกลาโหม (Defense Threat Reduction Agency) ก-๖๘ ชุดปฏิบัติการให้ค�าแนะน�าในการแก้ไขสถานการณ์ของ ส�านักลดภัยคุกคามกลาโหม ส่งเข้าประจ�าการเพื่อเข้าร่วมการสนับสนุน ทางเทคนิคแก่ผู้บังคับบัญชา นอกจากนั้นยังเสนอแนะด้านความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ, ความต้องการ, ทรัพยากร, การควบคุมบังคับบัญชา, ฟิสิกส์สุขภาพ, กิจการพลเรือน, กิจการด้านกฎหมาย และข้อมูลพิเศษทาง ด้านเทคนิค ส�าหรับการตอบสนองเหตุการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ชุดปฏิบตั ิ 214

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การให้ ค� า แนะน� า การแก้ ไขสถานการณ์ โ ดยประสานการไหลของข้ อ มู ล จากความต้องการการควบคุมและการใช้ทรัพยากรผ่านไปยังศูนย์ปฏิบัติการ ทางยุทธวิธที ใี่ ห้การสนับสนุน ชุดปฏิบตั กิ ารให้คา� แนะน�าการแก้ไขสถานการณ์ สามารถจัดเป็นชุดเฉพาะกิจและส่งเข้าประจ�าการเพือ่ สนับสนุนผูบ้ งั คับบัญชา ในลักษณะให้คา� แนะน�าด้านเทคนิคเกีย่ วกับอุบตั ภิ ยั หรือเหตุการณ์ดา้ น คชรน. กองก�าลังชุดนี้มีการรักษาความปลอดภัยในการสื่อสาร, ได้รับการฝึกให้มี ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค, มีความสามารถในการสร้างแบบจ�าลองการ พยากรณ์อันตราย และมีขีดความสามารถในการร้องขอรับการสนับสนุนกลับ ไปยังเขตภายในระดับชาติด้วยความรวดเร็ว

สถาบันวิจัยชีววิทยารังสีทางทหาร (Armed Forces Radiobiology Research Institute) ก-๖๙ สถาบันวิจัยชีววิทยารังสีทางทหารสามารถให้การสนับสนุน ขี ด ความสามารถด้ า นเทคนิ ค ของกระทรวงกลาโหมเกี่ ย วกั บ อุ บั ติ ก ารณ์ หรือเหตุการณ์ด้านนิวเคลียร์/รังสี ชุดปฏิบัติการให้ค�าแนะน�าทางด้านรังสี การแพทย์ของสถาบันวิจัยชีววิทยารังสีทางทหาร ด�าเนินการตอบสนองโดย เป็นส่วนหนึ่งของชุดปฏิบัติการให้ค�าแนะน�าในการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. ของส�านักลดภัยคุกคามกลาโหมและมีความพร้อมอยู่ตลอด เวลา ชุดปฏิบัติการให้ค�าแนะน�าทางด้านชีววิทยารังสีการแพทย์ สามารถ เดินทางไปเพือ่ ฝึกให้แก่เจ้าหน้าทีด่ า้ นสุขภาพ ณ ทีต่ งั้ ของหน่วยรับการฝึกในด้าน การจัดการผู้ป่วยจากนิวเคลียร์หรือรังสี ชุดปฏิบัติการนี้ยังให้ความเชีย่ วชาญ และค�าแนะน�าที่ก้าวหน้าทันสมัยให้แก่ผู้บังคับบัญชาและผู้ให้การดูแลรักษา 215

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ในขั้ น ต้ น หลั ง จากที่เ กิดอุบัติภัยจากนิวเคลียร์ห รื อ รั ง สี (อาวุ ธนิวเคลียร์, เตาปฏิ ก รณ์ , หรื อ วั ส ดุ รั ง สี ) ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารให้ ค� า แนะน� า ทางด้ า นรั ง สี การแพทย์ ยั ง สามารถใช้ เ ครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ที่ ร ่ า งกายได้ รั บ (biodosimetry) หรือการวิเคราะห์ทางชีววิธี (bioassay) เพื่อสนับสนุน ผู้ตอบสนองเหตุการณ์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจ�าท้องถิ่น ก-๗๐ ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารให้ ค� า แนะน� า ทางด้ า นรั ง สี ก ารแพทย์ เ ป็ น แหล่ ง ข้ อ มู ล ด้ า นสุ ข ภาพทางการแพทย์ แ ละรั ง สี ท างการแพทย์ ใ นขั้ น ต้ น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการผู้ป่วยจากผลอันตรายของอาวุธนิวเคลียร์และ อุบตั เิ หตุทกี่ อ่ ให้เกิดการแพร่กระจายวัสดุรงั สี ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการแพทย์อาวุโส สามารถให้ค�าแนะน�าแก่แพทย์ผู้รักษา ณ สถานที่เกิดเหตุในด้าน .l เทคนิคการช่วยชีวิตส�าหรับการเจ็บป่วยจากรังสีและการ รักษาผู้ป่วยที่เปื้อนพิษจากรังสี l ใช้วิธีการบ�าบัดลักษณะคลีเลตเชิงสืบสวน (วิธีการคลีเลต เป็นกระบวนการบ�าบัดเพื่อก�าจัดโลหะหนักออกจากร่างกาย) ส�าหรับผู้ป่วยที่ มีสารกัมมันตรังสีเข้าไปอยู่ในร่างกาย l การใช้ยาบ�าบัดในลักษณะผสมผสานหลายขนานส�าหรับ ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีแบบเฉียบพลัน และการเป็นโรคติดเชื้อและการป้องกันจาก โรคที่ปรากฏอาการระยะสุดท้าย (เช่น โรคมะเร็ง) l วิ ธี ก ารรั ก ษาผู ้ ป ่ ว ยจากรั ง สี แ ละการประมาณการผล อันตรายรังสีที่มีผลด้านชีววิทยา

216

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กองก�าลังเฉพาะกิจ-เพื่อแก้ไขสถานการณ์ (Joint Task Force-Consequence Management) ก-๗๑ เมื่ อ ได้ รั บ ค� า สั่ ง กองบั ญ ชาการกองก� า ลั ง เฉพาะกิ จ เพื่ อ ตอบสนองเหตุการณ์ อาจต้องปฏิบัติงานหรือกิจเพื่อสนับสนุนที่บัญชาการ เหตุการณ์ในห้วงเกิดเหตุ ผู้บังคับบัญชาอาจรับผิดชอบในการควบคุมทาง ยุทธการกับหน่วยภายใต้กระทรวงกลาโหมทีเ่ ข้าร่วมปฏิบตั กิ าร (เป็นหน่วยทีต่ า�่ กว่ากองบัญชาการหน่วยปฏิบตั กิ ารพิเศษ และกองทัพน้อยทหารช่าง) รวมทัง้ การประสานการสนับสนุนทางทหารเพื่อปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์และ การถอนก�าลัง เมือ่ หมดความจ�าเป็นทีจ่ ะต้องใช้กา� ลังทหารอีกต่อไป ผูบ้ งั คับบัญชา จัดตั้งที่บัญชาการเพื่อปฏิบัติการได้ตลอดเวลาในบริเวณที่ใกล้ๆ กับที่เกิด เหตุภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังจากได้รับแจ้ง ผู้บังคับบัญชาต้องฝึกการควบคุม ทางยุทธการกับหน่วยภายใต้กระทรวงกลาโหมที่เข้าร่วมเพื่อให้การสนับสนุน ช่วยเหลือหน่วยงานพลเรือน อีกทัง้ การจัดนายทหารติดต่อกับหน่วยงานพลเรือนให้ เหมาะสม และรับเอานายทหารติดต่อจากหน่วยทหารหรือจากส�านักงานอืน่ ๆ ของกระทรวงกลาโหมตามความเหมาะสม ส�าหรับชุดปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุ อาจก�าหนดนายทหารติดต่อในขัน้ ต้นกับหน่วยงานพลเรือนทีร่ บั การสนับสนุน และประสานการสนับสนุนกับเจ้าหน้าทีท่ มี่ าสมทบในภายหลัง (ดูรายละเอียด เพิ่มเติมจากคู่มือ JP 3-41)

หน่วยอื่นๆ ในระดับชาติเพื่อแก้ไขสถานการณ์ (Other Federal Consequence Management Assets) ก-๗๒ ในหัวข้อต่อไปนี้จะกล่าวถึงหน่วยงานอื่นๆ ในระดับชาติ ที่ อาจได้รับมอบกิจเพื่อสนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. 217

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน (Department of Homeland Security) ก-๗๓ ระบบการตอบสนองทางการแพทย์ประจ�าเมืองใหญ่ปฏิบตั กิ าร เหมือนมีการประกอบก�าลังขึ้นเป็นชุดปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ชุด ปฏิบตั กิ ารนีม้ ขี ดี ความสามารถในการตรวจหาสาร รวมทัง้ การตรวจพิสจู น์ทราบ, การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย, การคัดแยกผู้ป่วยเพื่อการรักษา, การเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล และการประสานการปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ที่บังคับใช้กฎหมาย ในสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการลักษณะนี้ จ�านวน ๒๗ ชุด ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๐๐๗ มีระบบตอบสนองทางการแพทย์ประจ�า เมืองใหญ่ (Metropolitan Medical Response System) จ�านวน ๑๒๕ เมือง และในจ�านวน ๑๑๓ แห่ง บรรลุขีดความสามารถในระดับขั้นพื้นฐาน ก-๗๔ ก�าลังจู่โจมจากกองก�าลังรักษาฝั่งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ถูกส่งเข้าประจ�าการด้วยความรวดเร็วซึ่งประกอบด้วยก�าลังพลที่เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิค, มียุทโธปกรณ์พิเศษ พร้อมด้วยผู้บัญชาการเหตุการณ์ที่เป็น ผูน้ า� การแก้ไขสถานการณ์ และผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์ประจ�าในทีเ่ กิดเหตุเกีย่ วกับ เหตุการณ์ทมี่ นี า�้ มันรัว่ ไหล, หรือวัตถุอนั ตราย รวมทัง้ เหตุการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับ อาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง

การบริการด้านสาธารณสุขและความมั่นคงของมนุษย์ (Health and Human Services) ก-๗๕ ขีดความสามารถของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค [Center for Disease Control and Prevention (CDC)] คือการเฝ้าระวังการเกิดโรค ระบาด, การตรวจพิสจู น์ทราบสารชีวะ รวมทัง้ การให้คา� ปรึกษาและตอบสนอง 218

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ด้ า นสาธารณสุ ข ศู น ย์ ค วบคุ ม และป้ อ งกั น โรคยั ง คงรั ก ษาสิ่ ง อุ ป กรณ์ ตามยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ซึ่ ง สามารถบรรจุ เข้ า หี บ ห่ อ เพื่ อ การขนส่ ง ส� า หรั บ มาตรการตอบโต้วกิ ฤตการณ์ดา้ นเคมีและชีวะ ณ ต�าแหน่งใดๆ ในดินแดนของ สหรัฐฯ ภายใน ๑๒ ชัว่ โมง นอกจากนัน้ การสะสมสิง่ อุปกรณ์ตามยุทธศาสตร์ชาติ ยังสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ยาทางพลเรือนเพิม่ เติมผ่านทางบริษทั ผูค้ า้ เวชภัณฑ์ ก-๗๖ ส�านักงานเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขและชุดปฏิบัติ การตอบสนองเหตุ ด ้ า นการแพทย์ แ ห่ ง ชาติ ซึ่ ง ด� า เนิ น งานโดยบุ ค ลากร ทางการแพทย์ ชุดปฏิบัติการเหล่านี้มีขีดความสามารถในการตรวจพิสูจน์ ทราบสาร คชรน., การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย, การคัดแยกผู้ป่วย และให้การ รักษาทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนระบบสุขภาพในท้องถิ่น มีชุดปฏิบัติการ ตอบสนองเหตุทางแพทย์แห่งชาติ ๓ ชุด

ส�านักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation) ก-๗๗ ส�านักงานสอบสวนกลางมีอ�านาจสอบสวนเหตุการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับวัตถุ คชรน.

ส�านักงานเตรียมความพร้อมภายในแห่งชาติ (National Domestic Preparedness Office) ก-๗๘ ด้วยส�านักงานอยูภ่ ายใต้สา� นักงานสอบสวนกลาง, กระทรวง ยุติธรรม ส�านักงานเตรียมความพร้อมภายในแห่งชาติจึงต้องประสานกับทุกๆ ความพยายาม เพื่อช่วยผู้ตอบสนองเหตุในระดับรัฐและในระดับท้องถิ่น โดยการวางแผน, การฝึก, ยุทโธปกรณ์ และการฝึกปฏิบัติตามความจ�าเป็น เพื่อตอบสนองเหตุการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. 219

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ก-๗๙ ส�านักงานเตรียมความพร้อมภายในแห่งชาติ  ขอบเขตสนับสนุนตามหน้าที่คือการเตรียมความพร้อม ภายในประเทศ การข่าวกรองทีไ่ ด้รบั การปรับปรุงและเครือ่ งมือการแลกเปลีย่ น ข้อมูลเป็นรากฐานการบริการสนับสนุนแก่เจ้าหน้าที่ผู้ตอบสนองเหตุในระดับ ชาติ, ระดับรัฐ และในระดับท้องถิ่นเพื่อกระจายการเรียนรู้, อีกทั้งสนับสนุน หน่วยและขีดความสามารถ และความพร้อมด้านความรู้ทั่วไป  ประสานการจั ด ให้ มี ห ลั ก สู ต รการฝึ ก และความมี มาตรฐาน ส� า หรั บการฝึก ผู้ตอบสนองเหตุเ พื่อให้ เ กิ ด ความคงเส้ นคงวา, อยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ในการฝึก และปรับเปลี่ยนโอกาสการจัดการ ฝึกเพื่อให้บรรลุกับความต้องการของผู้ตอบสนองเหตุ  เอื้ อ อ� า นวยและประสานกั บ ความพยายามของรั ฐ บาล เพื่อเสนอให้แก่ผู้ตอบสนองเหตุ ด้วยการตรวจหา, การป้องกัน, การวิเคราะห์ และยุ ท โธปกรณ์ ท� า ลายล้ า งพิ ษ ที่ จ� า เป็ น เพื่ อ เตรี ย มการและตอบสนอง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ คชรน.  แสวงหาทรัพยากรและความเชีย ่ วชาญทีจ่ า� เป็นเพือ่ เสนอ ให้แก่คณะบริหารประจ�ารัฐและผูบ้ ริหารระดับท้องถิน่ เพือ่ ออกแบบ, ด�าเนินการ, ประเมินผลการฝึกภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูง  สามารถตอบสนองจากการประสานงานด้านการวางแผน, การเตรียมความพร้อม และนโยบายด้านอาวุธที่มีอ�านาจท�าลายสูงในระดับ ชาติ, ระดับรัฐ และในระดับท้องถิ่น

220

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

หน่วยตอบสนองเหตุวัตถุอันตราย (Hazardous Materials Response Unit) ก-๘๐ หน่วยตอบสนองเหตุวัตถุอันตรายมีขีดความสามารถในการ เก็บตัวอย่าง, การตรวจหา และการตรวจพิสูจน์ทราบสาร คชรน. เป็นกรณี พิเศษ หน่วยนีจ้ ะได้รบั การบรรจุยทุ โธปกรณ์กภู้ ยั ทีห่ ลากหลาย และยุทธภัณฑ์ ป้องกันตนตั้งแต่ระดับ A (Level A) ไปจนถึงระดับ C

ชุดปฏิบัติการตอบสนองต่อหลักฐานพยาน (Evidence Response Teams) ก-๘๑ หน้าที่หลักของชุดปฏิบัติการตอบสนองหลักฐานพยาน คือ การจั ด ท� า เอกสารหลั ก ฐานและการเก็ บ ตั ว อย่ า งวั ต ถุ พ ยานทางด้ า น อาชญากรรม เพื่อสนับสนุนการสอบสวนด้านอาชญากรรม ชุดปฏิบัติการ บางชุดอาจได้รับการฝึกด้านจัดการวัตถุอันตราย

กลุ่มปฏิบัติงานตอบสนองเหตุวิกฤต (Critical-Incident Response Group) ก-๘๒ กลุ่มปฏิบัติงานตอบสนองเหตุวิกฤตประกอบก�าลังขึ้นเป็น พิเศษ เพื่อด�าเนินการปฏิบัติทางยุทธวิธี และความพยายามจัดการเหตุวิกฤต

งานวิเคราะห์และรวบรวมข่าวกรอง (Intelligence Collection and Analysis) ก-๘๓ ส�านักงานสอบสวนกลาง (FBI) มีความเชี่ยวชาญซึ่งมีส่วน สนับสนุนและประสานการด�าเนินการเพื่อประเมินภัยคุกคามในรายละเอียด เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน 221

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ส�านักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) ก-๘๔ ส�านักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมรับผิดชอบในความพยายาม ก�าจัดและท�าลายในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. หน่วยนี้มี ขีดความสามารถในการท�าลายล้างพิษ, ขีดความสามารถในการจัดการตัวอย่าง และขีดความสามารถในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบตั กิ าร เพือ่ สนับสนุนภารกิจ การแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน.

ผู้บัญชาการเหตุการณ์ในที่เกิดเหตุ (On-Scene Commander) ก-๘๕ ภายใต้อ�านาจตามแผนแก้ปัญหาฉุกเฉินด้านมลพิษจากวัตถุ อันตรายและคราบน�้ามัน (National Oil and Hazardous Substances Pollution Contingency Plan) ผู้บัญชาการเหตุการณ์จากส�านักงานพิทักษ์ สิ่งแวดล้อมต้องประสานกับความพยายามและทรัพยากรในระดับชาติเพื่อ กักเก็บ, เคลื่อนย้าย, และก�าจัดในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์

ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (Emergency Response Team) ก-๘๖ ชุดปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุฉกุ เฉินสามารถเข้าถึงยุทโธปกรณ์ ท�าลายล้างพิษแบบพิเศษได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ในกรณีที่มีสารเคมีรั่วไหล แพร่ ก ระจาย และให้ ข ้ อ เสนอแนะแก่ ผู ้ บั ญ ชาการในที่ เ กิ ด เหตุ เ กี่ ย วกั บ การประมาณการอันตรายทีเ่ กิดขึน้ , การประเมินความเสีย่ ง, การวิเคราะห์และ การเก็บตัวอย่างจากตัวกลางหลากหลายประเภท, การดูแลด้านความปลอดภัย ในที่เกิดเหตุ รวมทั้งเทคนิคการช�าระล้างสารตกค้าง ชุดปฏิบัติการตอบสนอง 222

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เหตุฉุกเฉินมียุทโธปกรณ์ที่ใช้ตรวจหาสารเคมีแบบหิ้วได้ ซึ่งสามารถ ตรวจหาและตรวจพิสูจน์ทราบสารเคมีที่มีระดับความเข้มข้นที่ต�่าและต�่า มากๆ (ในล้านส่วน) และมีขีดความสามารถเข้าไปในที่เกิดเหตุด้วยการใช้ เครื่องแต่งกายป้องกันระดับ A ไปจนถึงระดับ C

ชุดปฏิบัติตอบสนองเหตุฉุกเฉินด้านรังสี (Radiological Emergency Response Team) ก-๘๗ ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุฉุกเฉินด้านรังสีให้การเฝ้าตรวจ และเป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ในบริเวณที่เกิดเหตุส�าหรับการวิเคราะห์ ตัวอย่างในสนาม, มีความเชีย่ วชาญด้านฟิสกิ ส์สขุ ภาพจากรังสี และการประเมิน ความเสี่ยง ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุฉุกเฉินด้านรังสีพร้อมตอบสนอง เหตุการณ์ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

การร้องขอการสนับสนุนด้านเทคนิคกลับไปยังเขตภายใน (Technical Reachback) ก-๘๘ ร้องขอการสนับสนุนด้านเทคนิคกลับไปยังเขตภายใน เป็นการ สนั บ สนุ น ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาในด้ า นความเชี่ ย วชาญและองค์ ค วามรู้ เ พิ่ ม เติ ม เมือ่ มีความจ�าเป็นในระหว่างการด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์ ก-๘๙ การร้องขอการสนับสนุนด้านเทคนิคกลับไปยังเขตภายใน เป็นขีดความสามารถเพื่อประสานในเรื่องทางเทคนิค เมื่อมีความต้องการ ข้อมูลมากกว่าความรูพ้ นื้ ฐานของหน่วยงานในระบบการบัญชาการเหตุการณ์ เพื่อตอบสนองเหตุวิกฤต การรับรู้สถานการณ์ทั่วไประหว่างหน่วย 223

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ทุกหน่วยในทีเ่ กิดเหตุระหว่างหน่วยทหารและพลเรือนมีความส�าคัญที่ ไม่อาจละเลยได้ การตกลงใจส�าหรับการบังคับบัญชาในภาวะวิกฤตมักขึ้นอยู่ กับข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ซึ่งรวมทั้งข้อมูลจากการร้องขอการสนับสนุน กลับไปยังเขตภายใน ในตารางที่ ก-๒ แสดงถึงตัวอย่างรายชื่อหน่วยงานที่ สามารถให้การสนับสนุนด้านเทคนิคกลับไปยังเขตภายใน ก-๙๐ การร้องขอรับการสนับสนุนกลับไปยังเขตภายในควรก�าหนด ไว้เป็นระเบียบการ ซึ่งการร้องขอการสนับสนุนด้านเทคนิคกลับไปยังเขต ภายใน สามารถให้การสนับสนุนตามความต้องการต่อไปนี้  การตรวจพิสูจน์ทราบสารที่ไม่ใช่สารมาตรฐานซึ่งใช้ ในสงครามเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ รวมทั้งสารอุตสาหกรรมอันตราย ก�าลังพลทางทหารที่เข้าตอบสนองเหตุต้องได้รับการฝึกเพื่อตรวจหา และ ตรวจพิสูจน์ทราบสารทางทหารที่เลือกน�ามาใช้ หากเป็นการเลือกใช้วัตถุ อุตสาหกรรมอันตรายหรือเป็นวัตถุตอ้ งสงสัย เจ้าหน้าทีใ่ นระบบการบัญชาการ เหตุตอ้ งได้รบั ข้อมูลทางด้านเทคนิคเพิม่ เติม ข้อมูลทางด้านเทคนิคดังกล่าวอาจ ได้แก่ สภาพความคงทน, ผลกระทบทางด้านการแพทย์, วิธกี ารท�าลายล้างพิษ และ/หรือความจ�าเป็นในการป้องกัน  แบบจ� า ลอง ในระหว่างการปฏิบต ั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ อันเนือ่ งมาจาก คชรน. ต้องมีการจ�ากัดการแพร่กระจายการเปือ้ นพิษ การร้องขอ การสนับสนุนกลับไปยังเขตภายใน สามารถช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ใน รายละเอียดเกีย่ วกับพืน้ ทีเ่ พือ่ ช่วยในการตรวจสอบพืน้ ทีอ่ นั ตรายใต้ลม รวมทัง้ การ ก�าหนดต�าแหน่งพืน้ ทีพ่ กั รอ, ศูนย์ปฏิบตั กิ าร และสถานทีท่ า� ลายล้างพิษ อีกทัง้ การตกลงใจในจัดสร้างทีห่ ลบภัยเพือ่ สับเปลีย่ นก�าลังในทีเ่ กิดเหตุและการด�าเนิน การเคลือ่ นย้ายผูป้ ว่ ย 224

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การวิเคราะห์และส่งกลับตัวอย่างเคมี ชีวะ รังสีและ นิวเคลียร์ การวิเคราะห์และส่งกลับตัวอย่างสามารถใช้การสนับสนุนทาง เทคนิ ค กลั บ ไปยั ง เขตภายใน เพื่ อ ให้ ไ ด้ ข ้ อ มู ล ที่ ส� า คั ญ ส� า หรั บ การรั ก ษา ผู้ป่วย การส่งกลับตัวอย่างสามารถใช้เป็นวัตถุพยานในการสอบสวนทางด้าน นิติวิทยาศาสตร์  การพยากรณ์ อั น ตราย ผู ้ เชี่ ย วชาญทางด้ า นเทคนิ ค สามารถใช้แบบจ�าลอง เพื่อแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับบริเวณที่อาจ เกิดอันตรายจากกลุ่มไอ, หยดเหลว และแอโรซอล การวางแผนก่อนการเกิด เหตุการณ์สามารถระบุถึงแหล่งที่สามารถขอรับการสนับสนุนทางด้านเทคนิค กลับไปยังเขตภายใน ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้, สามารถยืนยันความถูกต้อง และเชือ่ ถือได้ ขัน้ ตอนการวางแผนและการปฏิบตั ิ ช่วยในการตรวจสอบคุณค่าแห่งการปฏิบัติการจากขีดความสามารถเหล่านี้ ส�าหรับข้อพิจารณาอื่น ๆ ส�าหรับการวางแผน อาจได้แก่  มีความพร้อมในการสนับสนุนทางเทคนิคกลับไปยังเขต ภายใน ในที่เกิดเหตุหรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง  การติดต่อสื่อสารจ�าเป็นต้องใช้ขีดความสามารถในรักษา ความปลอดภัยหรือไม่ต้องรักษาความปลอดภัย และ/หรือขีดความสามารถ ในด้านเสียงหรือวีดิทัศน์  มีแหล่งงบประมาณรายปีหรือไม่ เพือ ่ สนับสนุนการร้องขอ การสนับสนุนทางด้านเทคนิคกลับไปยังเขตภายในตลอด ๒๔ ชั่วโมง ในห้วง ๗ วัน ต่อสัปดาห์



225

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๒ การประสานข้อมูลเพือ่ สนับสนุนทางด้านเทคนิคกลับไปยังเขต ภายใน ขีดความสามารถ ค. ช. ร. น. กระทรวงกลาโหม Armed Forces Radiobiological (301) 295Research Institute 0316/0530 (สถาบันวิจัยชีววิทยารังสีทางทหาร) Defense Threat Reduction (877) 240-1187 × Agency (ส�านักลดภัยคุกคามกลาโหม) Edgewood Chemical-Biological 800) 831-4408 × Center (ศูนย์วิจัยอาวุธเคมี-ชีวะ แห่งเอ็ดวูด) U.S. Army Medical Research Insitute of Infection Desease (สถาบันวิจัยทางการแพทย์ด้านโรคติด เชื้อของ ทบ. สหรัฐฯ)

(888) 872-7443

U.S. Army Medical Research Insitute for Chemical Defense (สถาบันวิจัยทางการแพทย์เพื่อการ ป้องกันอาวุธเคมีของ ทบ. สหรัฐฯ) U.S. Army Center for Health Promotion and preventive Medicine (ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและ เวชกรรมป้องกันของ ทบ.สหรัฐฯ)

(410) 436-3277 ×

226

(800) 222-9698 ×

×

×

×

×

×

×

×

×

×

×

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๒ การประสานข้อมูลเพือ่ สนับสนุนทางด้านเทคนิคกลับไปยังเขต ภายใน (ต่อ) ขีดความสามารถ ค. กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน National Response Center, (800) 424-8802 Chemical Terrorism/ หรือ (202) 267Chemical-Biological Hotline 2675 (ศูนย์ตอบสนองแห่งชาติจากการก่อการ ร้ายด้วยอาวุธเคมี/สายด่วน ทางด้านอาวุธเคมี-อาวุธชีวะ)

ช.

ร. น.

× ×

Federal Emergency (800) 621Management Agency FEMA (3362) (ส�านักงานจัดการเหตุฉกุ เฉินแห่งชาติ) หน่วยงานอื่น ๆ ในระดับชาติ

× × × ×

Center for Desease Control and (800) CDC-INFO Prevention (232-4636) (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค)

× ×

Department of Energy, Radiation Emergency Assistance Center (ศูนย์ให้ความช่วยเหลือเหตุฉุกเฉิน ด้านรังสี, กระทรวงพลังงาน)

(865) 576-3131

× ×

227

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๒ การประสานข้อมูลเพือ่ สนับสนุนทางด้านเทคนิคกลับไปยัง เขตภายใน (ต่อ) ขีดความสามารถ

ค. ช. ร. น. หน่วยงานอื่น ๆ ในระดับชาติ Environmental Protection (732) 321-6743 Agency, Environmental Response Team (ชุดปฏิบัติการตอบสนองสิ่งแวดล้อม, ส�านักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม) National Institute for (800)-35-NIOSH Occupational Safty and Health (356-4674) (สถาบันอาชีวอนามัยแห่งชาติ) National Atmospheric Realease 202) 586-8100 Advisory Center (ศูนย์แห่งชาติให้ค�า ปรึกษาเกี่ยวกับแพร่กระจายจากผล กระทบของสภาพบรรยากาศ) หน่วยงานอื่น ๆ ในระดับรัฐ State Emergency (202) 646-2500 Management Agencies (ส�านักงานจัดการเหตุฉกุ เฉินรัฐต่าง ๆ) อธิบายศัพท์ ค. ช. ร. น.

228

เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์

× × × ×

× ×

×

×

×

×

×

×

×

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support) ก-๙๑ ในตารางที่ ก-๓ แสดงตัวอย่างรายการตรวจสอบตามแผนการ สนับสนุนบริการสุขภาพ เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ ง มาจาก คชรน. ตารางที่ ก-๓ ตั ว อย่ า งรายการตรวจสอบตามแผนการสนั บ สนุ น บริการสุขภาพ  ระบุขีดความสามารถในการตอบสนองเหตุและจัดเตรียมรายการเครื่องมือ พิเศษ รวมทั้งการก�าหนดที่รักษาทางการแพทย์ในที่เกิดเหตุ การเคลื่อนย้าย ผู้ป่วย, การบริการด้านเวชกรรมป้องกัน, การบริการด้าน สัตวแพทย์, เจ้า หน้าที่ดูแลพฤติกรรมด้านสุขอนามัย, ฝ่ายอ�านวยการด้านการควบคุมบังคับ บัญชา, การส่งก�าลังบ�ารุงด้านการบริการสุขภาพ, ขีดความสามารถในการ พักรักษาในโรงพยาบาล และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อรับตัวอย่าง และตัวอย่างทางการแพทย์ที่ส่งตรวจ ตามความจ�าเป็น  ระบุขีดความสามารถ (รวมถึงความต้องการยุทธภัณฑ์ป้องกันตน/ยุทธภัณฑ์ ป้องกันประจ�ากาย) ของเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยสนับสนุนบริการสุขภาพและการจัดหน่วย เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ด้าน คชรน.  นิยามบทบาทและความรับผิดชอบของก�าลังพลสังกัดกระทรวงกลาโหม ทีเ่ พิม่ เติม ก�าลังให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น, ระดับรัฐ, ชาติเจ้าบ้าน หรือหน่วยงานและ สถานบริการทางการแพทย์อื่น ๆ  อธิบายถึงต�าแหน่งที่ตั้งและความรับผิดชอบของก�าลังพลสายแพทย์ ที่ให้การ สนับสนุนการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก  ระบุความจ�าเป็นในการตรวจสอบอาหารและน�้าดื่มเพื่อหาการเปื้อนพิษ  กล่าวถึงการด�าเนินงานการประเมินความล่อแหลมด้านอันตรายต่อสุขภาพ, การเฝ้าระวังทางการแพทย์ และการเฝ้าระวังด้านสุขอนามัยจากสิ่งแวดล้อม และจากการท�างาน

229

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๓ ตั ว อย่ า งรายการตรวจสอบตามแผนการสนั บ สนุ น บริการสุขภาพ (ต่อ)  กล่าวถึงระเบียบปฏิบัติในการดูแลรักษาสัตว์  ให้มีการประสานข้อมูลที่ได้รับจากการสนับสนุนทางเทคนิคกลับไปยังเขต ภายในจาก USAMEDCOM, USAMRICD, USAMRIID, ArmedForces Radiobiology Research Institute, CDC และ USACHPPM ส�าหรับค�า แนะน�าและการสนับสนุนทางเทคนิค  ก�าหนดนายทหารติดต่อกับท้องถิ่น, ระดับรัฐ, ระดับชาติ และหน่วยงานของ ชาติเจ้าบ้าน ตามความจ�าเป็น  จัดให้มีค�าแนะน�าให้แก่หน่วยตอบสนองเหตุหรือเจ้าหน้าที่มีสัมพันธภาพ กับท้องถิ่น, ระดับรัฐ, ระดับชาติ และหน่วยงานของชาติเจ้าบ้าน ในฐานะที่ เกี่ยวข้องกับการตอบสนองเหตุการแก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน.  ก�าหนดโครงร่างระเบียบปฏิบัติส�าหรับหน่วยตอบสนองเหตุทางการแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับการสนับสนุนจาก USAMEDCOM SMARTs โดย กล่าวถึง  การป้องกันการเกิดโรคในหมู่ชนจ�านวนมาก  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการเข้าที่หลบภัยเพื่อสับเปลี่ยนก�าลังในที่ เกิดเหตุ  ค�าแนะน�าในการให้วัคซีนและการป้องกันการเกิดโรค  ความสามารถที่ขยายการรองรับผู้ป่วยที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ขีดความสามารถในการท�าลายล้างพิษและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  ข้อจ�ากัดในการเคลือ่ นที,่ การคัดแยก และระเบียบปฏิบตั ใิ นการรับผูป้ ว่ ย  ก�าหนดให้มีพื้นที่พักรอส�าหรับหน่วย และเจ้าหน้าที่ที่ท�าหน้าที่ตอบสนอง เหตุการณ์

230

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๓ ตั ว อย่ า งรายการตรวจสอบตามแผนการสนั บ สนุ น บริการสุขภาพ (ต่อ)  จัดให้มรี ะเบียบปฏิบตั สิ า� หรับการแจ้งเตือนหน่วยหรือเจ้าหน้าทีต่ อบสนองเหตุ, ก�าหนดการควบคุมบังคับบัญชาทางการแพทย์สา� หรับหน่วยหรือเจ้าหน้าทีต่ อบ สนองเหตุ, ก�าหนดระเบียบปฏิบตั ใิ นการติดต่อประสานงาน, การแถลงภารกิจ ให้แก่หน่วยหรือเจ้าหน้าทีต่ อบสนองเหตุ, การส่งหน่วยและหรือเจ้าหน้าทีต่ อบ สนองเหตุออกไปปฏิบตั งิ าน, การตรวจสอบการปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุ และ การร้องขอรับการสนับสนุนเพิม่ เติม ตามความจ�าเป็น โดยกล่าวถึง  การซักไซ้ผู้ท�าหน้าที่ตอบสนองเหตุทุกนายอย่างละเอียด  การจัดเตรียมการทบทวนหลังการปฏิบัติ  การเบิก สป. และยุทโธปกรณ์สิ้นเปลืองสายแพทย์ให้เต็มตามอัตรา  หมุนเวียน สป. สายแพทย์ที่ก�าหนดอายุที่ส่งไปยังที่รักษาพยาบาล และรักษาสถานภาพวันส่งก�าลังให้เป็นปัจจุบัน และป้องกัน สป. หมดอายุการใช้งาน  การปลดปล่อยหน่วยและเจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ ท�าลายล้างพิษออกจากสถานที่เกิดเหตุ เพื่อเตรียมการในกรณีที่อาจ เกิดเหตุการณ์ท�านองเดียวกันในบริเวณอื่น ๆ อีก  ให้ค�าแนะน�าทางการแพทย์แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น, เทศบาล, ระดับรัฐ, ระดับชาติ และหน่วยงานของชาติเจ้าบ้าน รวมถึงชุดปฏิบัติการและ เจ้าหน้าที่เพื่อการฟื้นสภาพบริเวณสถานที่เกิดเหตุ  จัดการบรรจุมอบให้แก่หน่วยหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบภารกิจ  รับมอบหน่วยตอบสนองเหตุและเจ้าหน้าทีเ่ พือ่ ปฏิบตั หิ น้าทีท่ ไ่ี ด้รบั มอบ

231

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๓ ตั ว อย่ า งรายการตรวจสอบตามแผนการสนั บ สนุ น บริการสุขภาพ (ต่อ)  เก็บรวบรวมสิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ออกเป็นชุด ๆ ตามการใช้ งาน หรือตามที่ได้รับค�าสั่งจาก ผู้บังคับบัญชา หรือฝ่ายอ�านวยการที่ ท�าหน้าที่วางแผน  จัดเก็บสิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ตามที่ได้สั่งการ เพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ได้รับการปกป้อง และมั่นใจว่ายาแก้พิษ สารประสาท, ยากันชัก และเวชภัณฑ์อื่น ๆ ได้รับการเก็บรักษาอย่าง เหมาะสม (ได้แก่ จัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม)  การร้องขอเครื่องช่วยฝึกและเอกสารคู่มือ รวมถึงค�าแนะน�าในการ ปฏิบัติเพื่อตอบสนองเหตุการณ์ รวมทั้งหน่วยและเจ้าหน้าที่ที่ให้การ ฝึก เพื่อให้บรรลุความต้องการในการตอบสนองเหตุการณ์  การปิดสถานการณ์ส�าหรับหน่วยและเจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุทุกแห่ง  ยุติการปฏิบัติการและเตรียมการเพื่อยุติการปฏิบัติการตอบสนองใน สถานที่เกิดเหตุ  ให้การท�าลายล้างพิษก�าลังพลที่ตอบสนองเหตุก่อนที่จะออกจาก บริเวณที่เกิดเหตุ  ท�าลายล้างพิษยุทธภัณฑ์และยุทโธปกรณ์ที่ยังไม่ได้ใช้, จัดวางรายการ สิ่งของสิ้นเปลืองที่เปื้อนพิษในบริเวณที่ก�าหนดไว้เป็นที่จ�ากัดสิ่งของ เปื้อนพิษ และด�าเนินการปิดสถานีท�าลายล้างพิษ  ปฏิบัติเฝ้าตรวจอย่างต่อเนื่องในระหว่างการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษใน บริเวณนอกที่เกิดเหตุ และให้ข้อเสนอแนะในการค้นหาการเปื้อนพิษใน ระหว่างกระบวนการเฝ้าตรวจ

232

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๓ ตั ว อย่ า งรายการตรวจสอบตามแผนการสนั บ สนุ น บริการสุขภาพ (ต่อ) อธิบายศัพท์ C2 CBRN CDC CM DOD EMT HN HSS IPE MCD MTF OEH PPE PVNTMED

command and control (การควบคุมบังคับบัญชา) Chemical, Biological, Radiological and Nuclear (เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์) Center of Desease Control and Prevention (ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค) consequence management (การแก้ไขสถานการณ์) Department of Defense (กระทรวงกลาโหม) emergency medical treatment (การรักษาทางการแพทย์ฉกุ เฉิน) host nation (ชาติเจ้าบ้าน) health service support (การสนับสนุนบริการสุขภาพ) individual protective equipment (ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน) mass casualty decontamination (การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย จ�านวนมาก) medical treatment facility (ที่รักษาพยาบาล) occupational and environmental health (สุขอนามัยจากการ ท�างานและจากสิ่งแวดล้อม) personal protective equipment (ยุทธภัณฑ์ป้องกันประจ�ากาย) preventive medicine (เวชกรรมป้องกัน)

233

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ก-๓ ตั ว อย่ า งรายการตรวจสอบตามแผนการสนั บ สนุ น บริการสุขภาพ (ต่อ) อธิบายศัพท์ SIP SMART

shelter in place (ที่หลบภัยเพื่อสับเปลี่ยนก�าลังในที่เกิดเหตุ) special medical augmentation response team (ชุดปฏิบัติ การตอบสนองเพิ่มเติมพิเศษด้านการแพทย์) USACHPPM United States Army Center for Health Promotion and Preventive Medicine (ศูนย์สง่ เสริมสุขภาพและเวชกรรมป้องกันกองทัพบก สหรัฐอเมริกา) USAMEDCOM United States Army Medical Command (กองบัญชาการทหาร เหล่าแพทย์กองทัพบก สหรัฐอเมริกา) USAMRICD United States Army Medical Research Institute for Chemical Defense (สถาบันวิจัยทางการแพทย์เพื่อการป้องกันอาวุธเคมีกองทัพบก สหรัฐอเมริกา) USAMRIID United States Army Medical Research Institute of Infectious Diseases (สถาบันวิจยั ทางการแพทย์ดา้ นโรคติดเชือ้ กองทัพบก สหรัฐอเมริกา)

-----------------------------

234

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผนวก ข ยุ ทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติเพื่อการเตรียมการ การเตรี ย มการเป็ น การน� า เอาผลจากแผนที่ ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ แ ละ ข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง เพื่อท�าให้บรรลุผลส�าเร็จต่อความพร้อม ตลอดจนถึง การฝึก, การฝึกปฏิบัติ และการออกประกาศนียบัตรรับรอง

มาตรการลดความล่อแหลม (Vulnerability Reduction Measures) ข-๑ ส่วนส�าคัญของการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดความมั่นใจ คือการรับรู้และการก�าจัดความล่อแหลม มาตราลดความล่อแหลมช่วยให้ หน่วยปรับแก้ไขความอ่อนแอตามทีไ่ ด้รบั ทราบในระหว่างการประเมินความ ล่อแหลม รายการทีแ่ สดงต่อไปนีเ้ ป็นมาตรการลดความล่อแหลมทีม่ งุ่ เน้นไป ทีก่ ารฝึก, การส่งก�าลังบ�ารุง, ก�าลังพล และความพร้อม ซึง่ สามารถน�าไปใช้เพือ่ ช่วยเหลือหน่วยในการเตรียมการ เพือ่ ด�าเนินการหรือสนับสนุนการปฏิบตั กิ าร แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. (มาตรการลดความล่อแหลมอย่างอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ คชรน. สามารถศึกษาได้จากคูม่ อื ATTP 3-11.36 Multi-Service Tactics, Techniques, and Procedures for Chemical, Biological, Radiological, and Nuclear Aspect of Command and Control) l พัฒนาระเบียบปฏิบต ั ปิ ระจ�าทัว่ ๆ ไป และยุทธวิธ,ี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติที่คาดหวังจากส่วนรับการสนับสนุน และส่วนให้การ สนับสนุน l มีการจัดเฉพาะกิจเพื่อเติมเต็มช่องว่างในด้านหน้าที่และ ความรับผิดชอบ 235

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

จัดการฝึกก�าลังพลและผู้น�าหน่วยด้วยศัพท์และระเบียบ ปฏิบตั ทิ ไี่ ม่ใช้ศพั ท์ทางทหาร ในระหว่างการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนื่องมาจาก คชรน. (เช่น ระบบการจัดการเหตุการณ์แห่งชาติ และระบบ บัญชาการเหตุการณ์) l ให้ได้มาซึ่ง (ผ่านช่องทางการฝึก) ประกาศนียบัตรรับรอง ส�าหรับก�าลังพลระดับน�า (เช่น เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านวัตถุอันตราย หรือการ ฝึกการบัญชาการเหตุการณ์) l ฝึกปฏิบัติและปรับปรุงพัฒนาแผนจากผู้ร่วมงานทั้งฝ่าย ทหารและพลเรือน l รับเอายุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมส�าหรับการป้องกัน, การ ตรวจหา, การท�าลายล้างพิษอันตรายที่ได้ตรวจสอบแล้ว l พัฒนา, ร้องขอ และด�ารงไว้ซึ่งบรรจุภัณฑ์ยุทโธปกรณ์ แบบแท่นผลักดัน (push package) ส�าหรับการส่งก�าลังเพิ่มเติมที่ตามมา รวมถึงการซ่อมบ�ารุงสิ่งอุปกรณ์ทุกประเภทในการสนับสนุนการปฏิบัติการ ที่ยืดเยื้อออกไป l เตรียมการและรักษาบันทึกประวัตท ิ างการแพทย์สา� หรับ ก�าลังพลทุกนายให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้มั่นใจว่าสภาพร่างกาย, การได้รับ ภูมิคุ้มกัน และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ส�าหรับการปฏิบัติหน้าที่ที่มีลักษณะ อันตรายจ�าเพาะ (เช่นก�าลังพลที่เข้าไปในสถานที่เกิดเหตุ) l มั่นใจว่ายุทโธปกรณ์การติดต่อสื่อสารทั้งหมด, การรักษา ความปลอดภัยในการสื่อสาร และรายการที่ควบคุมด้วยการเข้ารหัส ยัง สามารถใช้การได้และพร้อมถูกส่งเข้าประจ�าการ สิ่งนี้รวมไปถึงการตรวจ สอบขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์สื่อสารกับผู้ที่คาดว่าเป็นผู้ตอบสนอง เหตุรายอื่น ๆ ด้วย l

236

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ข-๒ ในระหว่างการเตรียมการ รายการตรวจสอบของหน่วยต้อง ได้รับการทบทวนและปรับให้เป็นปัจจุบัน รายการตรวจสอบเป็นเครื่องมือ ที่ทรงคุณค่าเพื่อช่วยหน่วยในการตอบสนองเหตุการณ์ รายการตรวจสอบ ต่อไปนีเ้ ป็นตัวอย่างการปฏิบตั ิ ซึง่ ควรได้ดา� เนินการเมือ่ มีการปฏิบตั กิ ารตอบ สนองเหตุการณ์อนั เนื่องมาจาก คชรน. ตัวอย่างดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมทุก ประเด็นส�าหรับทุก ๆ หน่วย และควรได้รับการทบทวนเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ที่ได้จัดท�าขึ้นจากความต้องการของเหล่าทัพที่มีลักษณะจ�าเพาะ ในตาราง ที่ ข-๑ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. (วัตถุอนั ตราย) ส�าหรับตารางที่ ข-๒ แสดงถึงรายการตรวจสอบ ส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. (การท�าลายล้างพิษ ตามขั้นตอนทางเทคนิค) ตารางที่ ข-๑ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน. (วัตถุอันตราย) ก่อนเกิดเหตุการณ์

 ก�าหนดตัวก�าลังพลในชุดปฏิบตั กิ ารเพือ่ แก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน.  ด�ารงรักษาบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับการเตรียมพร้อมให้เป็นปัจจุบัน  ด�ารงรักษาบรรจุภณ ั ฑ์ยทุ โธปกรณ์พเิ ศษเมือ่ ได้รบั การแจ้งเตือนให้เตรียมพร้อม ส�าหรับก�าลังพลทุกนาย  มัน่ ใจว่ายุทโธปกรณ์ชว่ ยหายใจได้รบั การรักษาไว้และได้ฝกึ ใช้ตามระเบียบ ทบ. ๑๑-๓๔ (AR 11-34) และตามระเบียบข้อบังคับรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกา หมวด ๒๙ (29 CFR 1910.34)  มั่นใจการตอบสนองเหตุฉุกเฉินด้านวัตถุอันตรายบรรลุตามข้อก�าหนด ในระเบียบข้อบังคับรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกา หมวด ๒๙ [29 CFR 1910.120(q)]  มั่นใจว่าขีดความสามารถที่มีอยู่สามารถตรวจสอบสภาพบรรยากาศ และ การตรวจหาที่จ�าเป็นต่อการตรวจสอบระดับและขอบเขตของการเปื้อนพิษ จากสารเคมี ชีวะ และรังสี

237

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๑ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ดา้ น คชรน. (วัตถุอนั ตราย) (ต่อ)

 มั่นใจว่าชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษได้รับการฝึกสวมใส่ยุทธภัณฑ์ป้องกัน ประจ�ากายมาอย่างดี และผ่าน การฝึก รวมทั้งได้ประกาศนียบัตรรับรอง เกี่ยวกับการใช้ยุทโธปกรณ์ทุกประเภทที่น�ามาใช้งาน  ประสานการคัดกรองผู้ป่วยที่เปื้อนพิษกับชุดบริการดับเพลิงและชุดปฏิบัติ การตอบสนองเหตุฉุกเฉินในพื้นที่  มั่นใจว่าการฝึกจัดการวัตถุอันตรายเป็นไปตามข้อก�าหนดในระเบียบข้อ บังคับรัฐบาลกลาง หมวด ๒๙ (29 CFR 1910.120); NFPA 472; และ ระเบียบที่เหมาะสมในระดับชาติ, ระดับรัฐ หรือของชาติเจ้าบ้าน ซึ่งมี ผลบังคับไปถึงผู้ให้บริการดูแลรักษาก่อนถึงโรงพยาบาล (การปฏิบัติการ หน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน)  จัดให้มีข้อก�าหนดส�าหรับการฝึกก�าลังพลในที่ตั้งหน่วย ซึ่งเป็นผู้ที่จัดการ หรือใช้วัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามข้อก�าหนดในค�าสั่ง กห. (DODI) ที่ 6050.05  พัฒนาและด�ารงไว้ซึ่งประสิทธิภาพส�าหรับกิจส�าคัญด้าน คชรน.  พัฒนาและด�ารงไว้ซึ่งรูปแบบระบบบัญชาการเหตุการณ์ ในระหว่างการเกิดเหตุการณ์

 จัดตั้งที่บัญชาการเหตุการณ์เพื่อสนับสนุนระบบบัญชาการเหตุการณ์  ด�าเนินการติดต่อสื่อสารขั้นต้นกับศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  ด�าเนินการป้องกันก�าลังพลในขัน้ ต้นและด�าเนินมาตรการด้วยความรับผิดชอบ  ด�าเนินการทดสอบแรงดันสูงและต�่ากว่าบรรยากาศ เมื่อสวมใส่เครื่องช่วย หายใจเพื่อให้มั่นใจถึงความกระชับและการท�างานระบบวาล์ว  ตรวจสอบทิศทางลมก่อนที่จะเข้าไปในที่เกิดเหตุ  ก�าหนดต�าแหน่งและประเมินสถานที่เกิดเหตุ

238

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๑ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ดา้ น คชรน. (วัตถุอนั ตราย) (ต่อ)

 ด�าเนินการคัดกรองผูป้ ว่ ยทีเ่ ปือ้ นพิษ โดยการประสานกับชุดบริการดับเพลิง และชุดปฏิบัติการจัดการเหตุฉุกเฉิน เพื่อคัดแยกผู้ป่วยและให้บริการทาง การแพทย์ฉุกเฉิน หากจ�าเป็น  ค้นหาวัตถุอันตรายที่จะตามเป็นครั้งที่สอง โดยประสานกับชุดปฏิบัติการ เก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิด  ตรวจหาอันตรายจากสาร คชรน.  ตรวจพิสูจน์ทราบสารเคมี-ชีวะ  ก�าหนดขีดจ�ากัดในการได้รบั อันตรายและเวลาทีค่ งค้างอยูใ่ นพืน้ ที่ ซึง่ จ�าเป็น ต้องใช้ยุทธภัณฑ์ป้องกันที่ขึ้นอยู่กับประเภทสารอันตราย; ความเข้มข้น, หากทราบ และสภาพอุณหภูมิปกติ (๒๕ °C) การหมุนเวียนก�าลังพลขึ้น อยู่กับระดับการได้รับสารอันตราย และเวลาที่ค้างอยู่ในพื้นที่  ด�าเนินการส�ารวจเพื่อวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนถ่ายสารที่ท�าให้การเปื้อนพิษ แพร่กระจายออกไป  ริเริ่มการรายงานขั้นต้นไปยังผู้บัญชาการเหตุการณ์  จัดวางต�าแหน่งของเครื่องตรวจ  ติดตั้งป้ายเตือนภัยในบริเวณพื้นที่เปื้อนพิษเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้บาดเจ็บ และไม่ให้แพร่กระจายอันตรายออกไป  ตรวจสอบขนาดการปิดล้อมพื้นที่ในขั้นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของสาร อันตรายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้  ก�าหนดเขตแนวของการเปื้อนพิษ หรือแนวเขตอันตราย  ก�าหนดจุดควบคุมการเข้าและออกเพื่อไปยังแนวควบคุมการเปื้อนพิษ ซึ่งอยู่เหนือทิศทางลมของสถานที่เกิดเหตุ มั่นใจว่ามีการรักษาความ ปลอดภัยอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าไปจากจุดอื่น ๆ นอกเหนือจากช่องทางเข้า

239

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๑ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ดา้ น คชรน. (วัตถุอนั ตราย) (ต่อ)

 ติดต่อสื่อสารกับผู้บัญชาการเหตุการณ์ตลอดทั่วทั้งที่บัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งมีการก�าหนดขอบเขตที่เกิดเหตุ  ประเมินขนาดของพื้นที่ที่ปิดล้อมอีกครั้งหนึ่ง และก�าหนดจุดควบคุมการ เข้าพื้นที่ตามสภาพอากาศ รวมทั้งการปฏิบัติการเพื่อการฟื้นฟู  ตรวจสอบหากว่าสถานที่เกิดเหตุเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม และประสาน กับชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย ส�าหรับการคุ้มครองและจัดการกับ วัตถุพยานตามขอบเขตอ�านาจของกฎหมาย หากจ�าเป็น  ด�ารงการสื่อสารกับผู้บัญชาการเหตุการณ์, ที่บัญชาการเหตุการณ์ และ หน่วยงานตอบสนองเหตุอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง  ด�ารงการประสานกับที่รักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และการเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยไปยังที่รักษาพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อคงสภาพ ผู้ป่วยไว้ให้ได้นานเท่าที่เป็นไปได้  ประสานกับส่วนสนับสนุนทางธุรการและการส่งก�าลังบ�ารุง เพื่อให้การ ปฏิบัติการด�าเนินไปอย่างต่อเนื่องภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปื้อนพิษ  จัดตั้งสถานีท�าลายล้างพิษก�าลังพลและยุทโธปกรณ์ โดยมีก�าลังพลสาย แพทย์ร่วมปฏิบัติด้วย  รักษาความปลอดภัยแหล่งน�้าส�าหรับสถานีท�าลายล้างพิษ  จัดให้มีสถานีช�าระล้าง ส�าหรับสถานีท�าลายล้างพิษ  เริ่มปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ กักเก็บอันตรายและน�้าที่ไหลออกมาจากการ ท�าลายล้างพิษ  เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เปื้อนพิษไปยังสถานีท�าลายล้างพิษ  ด�าเนินการท�าลายล้างพิษก�าลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างจ�ากัด เพื่อให้การ ปฏิบัติการด�าเนินไปอย่างต่อเนื่อง และจ�ากัดการแพร่กระจายการเปื้อน พิษ

240

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๑ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ดา้ น คชรน. (วัตถุอนั ตราย) (ต่อ)

 เก็บรวบรวมตัวอย่างที่เป็นแอโรซอล, สิ่งแวดล้อม, พืชพรรณ, สัตว์ และ ตัวอย่างทางการแพทย์  จัดเตรียมและส่งตัวอย่างตรงไปยังห้องปฏิบัติการ ส�าหรับการวิเคราะห์ โดยละเอียดและการตรวจพิสูจน์ทราบ  ช่วยเหลือในการพยากรณ์ เพื่อการเตือนล่วงหน้าได้อย่างจ�ากัด  ยืนยันผลการเฝ้าตรวจสภาพอากาศและการตรวจหา โดยห้องปฏิบัติการที่ ได้รับอนุมัติและที่ได้ก�าหนดไว้ส�าหรับการตรวจวิเคราะห์  ท�าการร้องขอในขั้นต้นไปยังผู้บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อขอรับการ สนับสนุนจากภายนอกเพิ่มเติม หากมีการใช้ขีดความสามารถของชุด ปฏิบัติการด้าน คชรน. มากเกินไปแล้ว  ย้ายต�าแหน่งที่ตั้งเครื่องตรวจในบริเวณที่คาดว่าเป็นต�าแหน่งของสาร และ ยืนยันการพยากรณ์อันตราย  บันทึกการได้รับสารอันตรายส�าหรับก�าลังพลในชุดปฏิบัติการด้าน คชรน.  ประสานกับชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุด้านการศพจากภัยพิบัติ/การ ทะเบียนศพ ส�าหรับการเปื้อนพิษที่ติดค้างอยู่กับศพ หลังจากเกิดเหตุการณ์

 ให้การสนับสนุนด้านวัตถุอันตรายแก่ที่บัญชาการเหตุการณ์ตลอดห้วงการ ปฏิบัติการฟื้นฟู  พัฒนาและจัดข้อมูลป้อนเข้าในเหตุการณ์หลังจากการทบทวนการปฏิบัติ

241

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

อธิบายศัพท์

AR CFR DODI EOD IC ICS MTF NFPA NIMS PPE

Army regulation (ระเบียบกองทัพบก) Code of Federal Regulations (ระเบียบข้อบังคับรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกา) Department of Defense instruction (ค�าสัง่ กระทรวงกลาโหม) explosive ordnance disposal (ชุดปฏิบัติการเก็บกู้และ ท�าลายวัตถุระเบิด) incident commander (ผู้บัญชาการเหตุการณ์) Incident Command System (ระบบบัญชาการเหตุการณ์) medical treatment facility (ที่รักษาพยาบาล) National Fire Protection Association (สมาคมป้องกัน อัคคีภัยแห่งชาติ) National Incident Management System (ระบบจัดการ เหตุการณ์แห่งชาติ) personal protective equipment (ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันประจ�ากาย)

ตารางที่ ข-๒ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน. (การท�าลายล้างพิษผู้ตอบสนองเหตุ) ก่อนการปฏิบัติการ

 จัดให้มีการส่งก�าลังน�้า หากจ�าเป็น  มั่นใจว่ามีปริมาณสารละลายส�าหรับการท�าลายล้างพิษเพียงพอ และมี ยุทโธปกรณ์พร้อมให้การสนับสนุน  ประสานการแต่งกายของชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษให้เป็นไปตาม มาตรฐานความปลอดภัย  มั่นใจว่ามีอุปกรณ์พร้อมเพื่อให้การป้องกันได้อย่างเพียงพอต่อระบบทาง เดินหายใจ

242

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๒ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน. (การท�าลายล้างพิษผู้ตอบสนองเหตุ)

 มั่นใจว่าพื้นที่ท�าลายล้างพิษมีระดับสูงหรือลาดเอียงไปยังช่องทางเข้าพื้นที่ ที่เกิดเหตุ  มั่นใจว่าต�าแหน่งของพื้นที่ท�าลายล้างพิษอยู่บนพื้นดินและมีลมพัด/กระแส ลมไหลผ่าน  จัดตั้งพื้นที่ท�าลายล้างพิษในเขตเฝ้าระวัง ณ ช่องทางออกจากพื้นที่ อันตราย  ประสานการเลือกวิธีการและระเบียบปฏิบัติในการท�าลายล้างพิษ กับเจ้า หน้าที่ดูแลความปลอดภัยของสถานที่ และกับผู้บัญชาการเหตุการณ์  พิสูจน์ทราบวัตถุอันตรายด้าน คชรน.  มั่นใจว่าสถานีท�าลายล้างพิษมีป้ายแสดงอย่างชัดเจนและมีการก�าหนดชื่อ ให้แต่ละสถานี  ตรวจสอบซ�้าในข้อพิจารณาถึงน�้าเสียที่เกิดจากการท�าลายล้างพิษ  จัดให้มีภาชนะก�าจัดการเปื้อนพิษ  จัดท�าร่องระบายน�้า  มั่นใจว่ามีภาชนะบรรจุกากของเสียอย่างเพียงพอและจัดวางอยู่ในบริเวณ ที่มีวัสดุเปื้อนพิษ  มั่นใจว่าอุปกรณ์ช่วยหายใจอะไหล่มีไว้พร้อมส�าหรับเจ้าหน้าที่ท�าลายล้าง พิษและชุดปฏิบัติการที่เข้าพื้นที่  ผสมสารละลายส�าหรับท�าลายล้างพิษ  มั่นใจว่าจุดช่องทางเข้าและออกสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน  ให้ค�าแนะน�าและเตรียมเจ้าหน้าที่บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน  ก�าหนดต�าแหน่งการท�าลายล้างพิษและท�าความสะอาดยุทโธปกรณ์  มั่นใจว่าชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษสวมใส่เครื่องแต่งกายป้องกันอย่าง เหมาะสม

243

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๒ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน. (การท�าลายล้างพิษผู้ตอบสนองเหตุ) (ต่อ)

 บรรยายสรุปให้แก่ชุดปฏิบัติการเข้าพื้นที่ให้ทราบถึงระเบียบปฏิบัติในการ ท�าลายล้างพิษ ในระหว่างการปฏิบัติการ

 เมื่อเข้าพื้นที่ท�าลายล้างพิษ • วางอุปกรณ์ เครื่องมือทั้งหมดไว้ในฝั่งที่เปื้อนพิษ • ให้การรับรองว่าก�าลังพลที่เข้าไปในพื้นที่จะได้รับการปกป้องและมีการ ป้อนอากาศให้อย่างเพียงพอ • จัดล�าดับความเร่งด่วนเจ้าหน้าที่ที่เข้ารับการท�าลายล้างพิษ โดย พิจารณาจากปริมาณอากาศที่เหลืออยู่  ก�าจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปื้อนพิษ • ก้าวเข้าในภาชนะก�าจัดการเปื้อนพิษ • ตรวจดูตามเครื่องแต่งกายป้องกัน • เช็ดถูเครื่องแต่งกายป้องกันตรงบริเวณที่เปื้อนพิษด้วยสารที่ใช้ท�าลาย ล้างพิษ • ปล่อยทิ้งไว้สักครู่รอให้สารท�าลายล้างพิษท�าปฏิกิริยา • ช�าระล้างเครื่องแต่งกายป้องกันด้วยน�้า  ด�าเนินการถอดเปลี่ยนถังอากาศอัดช่วยหายใจ หากต้องกลับเข้าไปใน พื้นที่อันตรายอีกครั้งหนึ่ง  ถอดเครื่องแต่งกายป้องกัน ระดับ A  ถอดเครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจประกอบเครื่องแต่งกาย ระดับ A หรือ  ถอดเครื่องแต่งกายป้องกัน ระดับ B  ถอดเครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจประกอบเครื่องแต่งกาย ระดับ B  ถอดยุทธภัณฑ์ป้องกันตน หากจ�าเป็น  เช็ดตัวให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าชุดใหม่

244

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๒ แสดงถึงรายการตรวจสอบส�าหรับหน่วยแก้ไขสถานการณ์ด้าน คชรน. (การท�าลายล้างพิษผู้ตอบสนองเหตุ) (ต่อ)

 ประเมินถึงการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน  ประสานกับชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุกิจการศพจากภัยพิบัติ/ทะเบียน การศพส�าหรับศพที่ยังเปื้อนพิษ  คัดแยกและบรรจุวัสดุที่ต้องก�าจัดลงในถุง น�าไปทิ้งไว้ในภาชนะที่เหมาะสม  ปิดผนึก, ท�าเครื่องหมาย และคัดแยกภาชนะบรรจุวัสดุที่เปื้อนพิษทั้งหมด  ท�าความสะอาดและขึ้นบัญชียุทโธปกรณ์ทั้งหมด  พิสูจน์ทราบยุทโธปกรณ์ที่จ�าเป็นต้องคัดแยกเพื่อวิเคราะห์โดยละเอียดหรือ เพื่อการท�าลายล้างพิษ  ท�าความสะอาดเจ้าหน้าที่ท�าลายล้างพิษ  จัดการและท�าลายสารละลายที่ใช้ท�าลายล้างพิษ  เบิก สป. ที่ใช้ท�าลายล้างพิษทดแทนให้เต็มอัตรา  ยุติการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ

การจัดหน่วย (Organization)

ข-๓ การจัดหน่วยเพื่อตอบสนองเหตุ ส� า หรั บแก้ ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ท�าให้ผู้บังคับบัญชามีขีดความสามารถในการปฏิบัติ ภารกิจที่ได้รับมอบ การวิเคราะห์ภารกิจท�าให้ทราบถึง กิจเฉพาะส�าคัญยิ่ง ส�าหรับภารกิจ ข-๔ การเปลีย่ นแปลงอาจจ�าเป็นส�าหรับหน่วย คชรน. เพือ่ ประเมิน ผลซ�้าถึงวิธีการด�าเนินการและสนับสนุนภารกิจ ก�าลังพลของหน่วยควรได้รับ การฝึ ก และมี ยุ ท โธปกรณ์ ที่ จ� า เป็ น เพื่ อ ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ หน่ ว ยอาจจ� า เป็ น ต้องมียุทโธปกรณ์ใหม่และได้รับการฝึกเพื่อท�าให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น 245

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

มาใหม่ เทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ย ท� า ให้ มี ก ารผลิ ต ยุ ท โธปกรณ์ ใ หม่ ๆ ซึ่งได้รับการจัดหาให้แก่หน่วยตอบสนองเหตุเพื่อให้มีขีดความสามารถสูง ขึ้น โครงสร้างการจัดหน่วยควรมีการทบทวนเพื่อปรับให้เหมาะกับขีดความ สามารถใหม่ ยุทโธปกรณ์ที่ได้รับมาใหม่ต้องควบคู่ไปกับการฝึกเพื่อสนับสนุน ยุทธวิธี, เทคนิค และระเบียบปฏิบัติ

ยุทโธปกรณ์ (Equipment)

ข-๕ ยุทโธปกรณ์สา� หรับหน่วยตอบสนองเหตุเพือ่ แก้ไขสถานการณ์ อันเนือ่ งมาจาก คชรน. มักเป็นการผสมผสานระหว่างยุทโธปกรณ์ทมี่ มี าตรฐาน ทางทหาร และยุทโธปกรณ์ทมี่ จี า� หน่ายทัว่ ไป รวมทัง้ ยุทโธปกรณ์ทสี่ ะสมไว้เพือ่ รอการจ�าหน่ายทางการค้า ผู้น�าหน่วยมั่นใจว่า .l ชุดของยุทโธปกรณ์ควรได้รับการปรับเปลี่ยน เพื่อให้การ เข้าประจ�าการด้วยแผนการบรรทุกของหน่วยที่มีประสิทธิภาพ l แผนการบรรทุกของหน่วยควรได้รบ ั การปรับเปลีย่ น ส�าหรับ การเข้าประจ�าด้วยการเคลือ่ นย้ายทางถนน, การเคลือ่ นย้ายด้วยรถไฟ และการ เคลือ่ นย้ายทางอากาศ l ยุทโธปกรณ์ควรได้รบ ั การซ่อมบ�ารุงให้เป็นไปตามคูม่ อื ทาง เทคนิคของรัฐบาลและ/หรือทางการค้า l ก�าลังพลของหน่วยควรได้รับการฝึกให้สามารถใช้งานได้ รวมทั้งการซ่อมบ�ารุงในระดับหน่วย ซึ่งเป็นไปตามการตรวจสอบเพื่อ ปรนนิบัติบ�ารุงและรายการตรวจสอบเพื่อการบริการ l มีการเตรียมหีบห่อยุทโธปกรณ์ที่สนับสนุนการส่งก�าลัง บ�ารุงให้แก่หน่วย ด้วยรายการ สิ่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนซ่อมที่จ�าเป็นส�าหรับ การปรนนิบัติบ�ารุงในระดับหน่วยใช้ 246

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ต้องมีการเตรียมการสนับสนุนตามข้อตกลง เพื่อให้มั่นใจ ว่าการสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุง (สูงกว่าระดับหน่วยใช้) ซึ่งจ�าเป็นต่อการ ปฏิบัติการได้โดยต่อเนื่องในระหว่างที่เข้าประจ�าการ l การฝึกปฏิบัติควรผนวกรวมเข้ากับการฝึกที่เกี่ยวข้องกับ ภารกิจ ซึ่งรวมไปถึงการใช้ยุทโธปกรณ์ในอัตรา l

ผูน้ า� หน่วยและก�าลังพลในหน่วยควรท�าความเข้าใจเกีย่ วกับการ แจกจ่ายยุทโธปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย l

l

เป็นปัจจุบัน

ควรด�ารงการเก็บรักษายุทโธปกรณ์และปรับสถานภาพให้

ปฏิบัติตามค�าแนะน�าในการเก็บรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพง่าย และสิ่งอุปกรณ์ที่ก�าหนดอายุการเก็บรักษา ข-๖ การจัดหน่วยเพื่อด�าเนินการสนับสนุนการปฏิบัติการแก้ไข สถานการณ์ อั นเนื่องมาจาก คชรน. จ�าเป็น ต้ อ งท� า ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการซึ่งหน่วยต้องปฏิบัติงานยุทโธปกรณ์พิเศษที่ใช้ ส�าหรับการป้องกันและการตรวจหาควรน�ามาใช้เมื่อมีการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ในหลายกรณี ชุดยุทโธปกรณ์มาตรฐานได้น�ามาใช้ เมื่อมีการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ต้องได้รับ การอนุ มั ติ จ ากสถาบั น แห่ ง ชาติ ด ้ า นอาชี ว อนามั ย เมื่ อ มี ก ารน� า ไปใช้ ใ น สภาพแวดล้อมที่มีอันตราย หน่วยตอบสนองเหตุต้องไม่รับยุทโธปกรณ์ใหม่ ที่มีการจ�าหน่ายในเชิงพาณิชย์หรือยุทโธปกรณ์ที่สะสมเพื่อการค้า เว้นแต่ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้อนุมัติให้จัดหาเมื่อเปรียบเทียบกับยุทโธปกรณ์ เชิงพาณิชย์และที่สะสมเพื่อการค้า, การแจกจ่ายยุทโธปกรณ์มาตรฐานยังคง เป็นแนวทางหลักส�าหรับยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในสนาม l

247

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การฝึกและประกาศนียบัตรรับรอง (Training and Certification) ข-๗ ตารางที่ ข-๒ และตารางที่ ข-๓ จะกล่าวถึงภาพรวมเกี่ยวกับ การฝึกและประกาศนียบัตรรับรองซึ่งจ�าเป็นส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุด้าน คชรน. รวมทัง้ ก�าลังพลอืน่ ๆ ทีเ่ ข้าร่วมการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ ง มาจาก คชรน. ตารางที่ ข-๓ แนวทางเพื่อก�าหนดระดับขีดความสามารถในการตอบสนองเหตุ ระดับ ความเร่งด่วน

ขีดความสามารถของ ผู้ตอบสนองเหตุที่เป็น เป้าหมาย

ความเร่งด่วนสูง สมรรถนะในการปฏิบตั กิ าร (ผู้ช�านาญการ ประกอบกับความสามารถ ทางเทคนิค/ผู้มี • ปฏิบัติงานได้โดยไม่ ขีดความสามารถ ถูกขัดขวางจากการ เป็นพิเศษ) ขาดแคลน ยุทโธปกรณ์ในสภาพ แวดล้อมที่เปื้อนพิษ • ด�าเนินตามระเบียบ ปฏิบัติในการเก็บ ตัวอย่างให้ปลอดภัย ในสภาพแวดล้อมที่ เปื้อนพิษ

248

ยุทโธปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง

การสนับสนุนด้าน หลักสูตรการฝึก

ยุทโธปกรณ์ระดับก้าวหน้า • การฝึกแก้ปัญหา • ยุทโธปกรณ์ตรวจหา วัตถุอันตราย (เชิง ที่ทันสมัย รุก/ปฏิบัติงานใน • ฐานข้อมูลในระบบ เขตอันตราย) คอมพิวเตอร์ใช้ ระดับช�านาญการ อ้างอิง ทางเทคนิค/ • โปรแกรม เชี่ยวชาญพิเศษ คอมพิวเตอร์ส�าหรับ • การฝึกส�าหรับเจ้า เครื่องตรวจ หน้าที่เชี่ยวชาญ • ยุทโธปกรณ์ตรวจหา พิเศษด้าน เพื่อให้การป้องกันผู้ สาธารณสุข, การ ตอบสนองเหตุ พยาบาล และ แพทย์ • การฝึกตรวจหา และการประเมิน เหตุฉุกเฉิน

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๓ แนวทางเพื่อก�าหนดระดับขีดความสามารถในการตอบสนองเหตุ (ต่อ) ระดับ ขีดความสามารถของ ความเร่ง ผู้ตอบสนองเหตุที่เป็น ด่วน เป้าหมาย ความเร่งด่วน สมรรถนะขั้นพื้นฐาน ประกอบ ปานกลาง กับความสามารถ .(ขีดความ • ปฏิบัตกิ ารร่วมกับชุด สามารถใน ปฏิบัตกิ ารจัดการวัตถุ การปฏิบัติ อันตราย (การปฏิบัติการ การ) เชิงรับเพียงอย่างเดียว) • ด�าเนินการตรวจหาในขั้น ต้นและการเฝ้าตรวจ (เชิงรับ, ในบริเวณนอก เขตอันตราย หรือในเขต เฝ้าระวัง) • จัดให้มีการท�าลายล้างพิษ ผู้ป่วยจ�านวนมาก/ระบบ การรักษาพยาบาล • ก�าหนดให้มีการเคลื่อน ย้ายผู้ป่วยจ�านวนมาก (เฉพาะที่ผ่านการท�าลาย ล้างพิษทั้งหมด) • ด�าเนินการตามแผน เคลื่อนย้ายผู้ป่วย • ประยุกต์ใช้มาตรการการ แต่งกายป้องกันตนขั้นสูง (หากได้รับการฝึก) • ด�าเนินการปฏิบัติการภาย ใต้สภาพแวดล้อมทีเ่ ปือ้ นพิษ

ยุทโธปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง

การสนับสนุนด้าน หลักสูตรการฝึก

ยุทโธปกรณ์ในระดับ • ระดับการฝึกเพื่อ ปานกลาง ปฏิบัติการส�าหรับ • ยุทธภัณฑ์ นักผจญเพลิง และ ป้องกันตน ระดับ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็น A, ระดับ B และ เจ้าหน้าที่รักษาความ ระดับ C ปลอดภัย, • ถังอากาศอัดช่วย ผู้บริการแพทย์ หายใจ (SCBA) ฉุกเฉิน, ปฏิบัติงาน • การท�าลายล้างพิษ สาธารณะ, แพทย์, • การตรวจหา พยาบาล และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข • ระดับการฝึกเป็น ผู้ช�านาญการส�าหรับ ชุดปฏิบัติการด้าน วัตถุอันตราย หรือ ก�าลังพลที่คาดว่าจะ ปฏิบัติงานในเขต อันตราย • การฝึกด้าน คชรน. ส�าหรับผู้รับการฝึกให้ ตอบสนองเหตุฉกุ เฉิน ในที่ตั้ง รวมทั้งผู้วาง แผนในการฝึกและ ประจ�าอยู่ในที่ตั้ง หน่วย

249

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๓ แนวทางเพื่อก�าหนดระดับขีดความสามารถในการตอบสนองเหตุ (ต่อ) ระดับ ขีดความสามารถของ ความเร่ง ผู้ตอบสนองเหตุที่เป็น ด่วน เป้าหมาย ความเร่งด่วน • สามารถใช้มาตรการ ระดับต�่า ป้องกันตนเองได้ (ขีดความ • สามารถป้องกันฝูงชน สามารถใน ทัว่ ไปไม่ให้เกิดการเปื้อน การตระหนัก พิษมากจนเกินไป รู้)

250

ยุทโธปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง

การสนับสนุนด้าน หลักสูตรการฝึก

ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันตน • หลักสูตรการ รวมไปถึงขีดความ ตระหนักรู้ส�าหรับผู้ สามารถด้าน ตอบสนองเหตุ ยุทโธปกรณ์, การตรวจ • ระดับการฝึกการ หา และการท�าลาย ตระหนักรู้, รวมทั้งใน ล้างพิษ ตามความ เรื่องอื่น ๆ ที่ เหมาะสม เกี่ยวข้อง (ยกเว้นนัก ผจญเพลิง อย่างน้อย ที่สุดควรได้รับการฝึก ในระดับปฏิบัติการ) • การอบรมเชิงปฏิบตั ิ การส�าหรับการบังคับ บัญชาและการอ�านวย การ

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตาราง ข-๔ วัตถุประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะ การตระหนักรู้

ระดับของสมรรถนะ

คนงาน ตัวอย่างคนงานที่มีระดับสมรรถนะ คนงานในอาคาร การสนับสนุน ในโรงพยาบาล, พนักงาน ท� า ความสะอาด, เจ้ า หน้ า ที่ รั ก ษา ความปลอดภัย ขอบเขตด้านสมรรถนะ ส�าหรับเหตุการณ์ด้าน คชรน.

ผู้ช�านาญการ/ ผู้เชี่ยวชาญ

ผู้บัญชาการ เหตุการณ์

IRT, ผู้ให้บริการ ทางการแพทย์ ฉุกเฉิน, นักผจญ เพลิง, เจ้าหน้าที่ สนับสนุนในที่เกิด เหตุ

ผู้เชี่ยวชาญด้านIRT, สมาชิ ก /ผู ้ ช� า นาญ การในชุดปฏิบตั กิ าร ด้ า นวั ต ถุ อั น ตราย, บุ ค ลากรทางการ แพทย์

IC, OSC

ผู้ตอบสนองเหตุ การปฏิบัติการ ในขั้นต้น, เจ้า หน้าที่ต�ารวจ, ผู้รับแจ้งเหตุ 911, ผู้มีหน้าที่ รับลงทะเบียน

หมายเหตุ (ดูอธิบายศัพท์)

๑. รูถ้ งึ โอกาสทีผ่ กู้ อ่ การร้าย C อาจใช้ คชรน. รวมทั้ง F • การพิสูจน์ทราบสารที่ M ใช้เป็นอาวุธ คชรน. m • อั น ตรายและความ เสี่ยงที่เกิดร่วมพร้อมกัน • ต�าแหน่งที่มักมีการใช้ อาวุธ • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก เหตุการณ์ด้าน คชรน. • สัญญาณบ่งชี้ถึงโอกาส ที่ เ กิ ด อาชญากรรมหรื อ การกระท� า ของผู ้ ก ่ อ การ ร้ายที่เกี่ยวข้องกับสารนั้น • พฤติ ก รรมของสาร คชรน. ๒ก. รู ้ ถึ ง สั ญ ญาณบ่ ง ชี้ , C อากัปกิริยา,และอาการบ่ง F ชี้ถึงการได้รับอันตรายจาก M สาร คชรน. ; และการ m พิ สู จ น์ ท ราบสาร คชรน. หากเป็นไปได้

































































251

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตาราง ข-๔ วัตถุประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะ (ต่อ) ขอบเขตด้านสมรรถนะ ส�าหรับเหตุการณ์ด้าน คชรน.

หมายเหตุ (ดูอธิบายศัพท์)

๒ข. รู้ถึงข้อค�าถามเพื่อซัก ถามผู้ที่โทรเข้ามา โดย พยายามซักไซ้เพื่อให้ได้ ข้อมูลส�าคัญที่เกี่ยวกับ เหตุการณ์ คชรน.

m G

๒ค. ส�านึกรู้ถึงแนวโน้ม เหตุการณ์ที่ไม่ปกติ ซึ่งบ่ง ชี้ถึงเหตุการณ์ด้าน คชรน.

M G

๓. มีความเข้าใจเกี่ยวกับ แผนการตอบสนอง, รปจ. และบทบาทที่หน่วยต้อง ไปเกี่ยวข้อง

C F M m

๔. ส�านึกรู้และสื่อสารถึง ความต้องการทรัพยากร เพิ่มเติม

 (เฉพาะ 911 เท่านั้น) 

















C F M G











๕. ท�าการแจ้งเตือนและ สื่อสารเกี่ยวกับอันตราย อย่างเหมาะสม

C F M m











๖. ท�าความเข้าใจ • ค�าอธิบายศัพท์ด้าน คชรน. • ค�าอธิบายศัพท์ด้าน พิษวิทยาจากสาร คชรน.

C F m











๗. ใช้การป้องกันเป็น บุคคล • ใช้มาตรการ ป้องกันตน • ใช้ยุทธภัณฑ์ป้องกัน ตนอย่างเหมาะสม • เลือกและใช้ ยุทโธปกรณ์ป้องกันอย่าง เหมาะสม

C F M m



















252

 (เฉพาะผู ้ บ ริ ก าร แพทย์ฉุกเฉิน)



การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตาราง ข-๔ วัตถุประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะ (ต่อ) การตระหนักรู้ ระดับของสมรรถนะ

การ ปฏิบัติ การ

ผู้ช�านาญ การ/ ผู้เชี่ยวชาญ

ผูบ้ ญ ั ชาการ เหตุการณ์





คนงาน

ผู้ตอบ สนอง เหตุ

























 (ยกเว้น 911)







๘ก รู้ถึงมาตรการป้องกันและวิธีการ ปฏิบัติขั้นต้นเพื่อป้องกันบุคคลอื่น รวมทั้งการปกป้องทรัพย์สินด้วย

F M

๘ข รู้ถึงมาตรการอพยพก�าลังพลที่อยู่ใน พื้นที่อันตรายใต้ลม

F M G

๙. รู้ถึงขั้นตอนการท�าลายล้างพิษให้ ตนเอง, ผู้ประสบภัย, สถานที่, ยุทโธปกรณ์ และผู้ป่วยจ�านวนมาก • มีความเข้าใจและน�าไปปฏิบัติ • ตรวจสอบตนเอง

C F M m

๑๐ก รู้ถึงภาพเค้าโครงอาชญากรรม และการอนุรักษ์วัตถุพยาน

F M m

๑๐ข รู้ถึงขั้นตอนและข้อควรระวังด้าน ความปลอดภัยส�าหรับการรวบรวมวัตถุ พยานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

F m G









๑๑. รู้ถึงขั้นตอนการเข้าถึงและ โครงสร้างพื้นฐานการสนับสนุนใน ระดับชาติและการสนับสนุนอื่น ๆ

C F M m

 (เฉพาะ 911)







๑๒. ท�าความเข้าใจเกี่ยวกับความ เสี่ยงในการปฏิบัติการภายใต้เครื่อง แต่งกายป้องกัน

C F m









๑๓. ท�าความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการ บริการฉุกเฉินและการปฐมพยาบาลเมื่อ ได้รับอันตรายจากสาร คชรน. และหลัก การการคัดแยกผู้ป่วย

F M















253

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตาราง ข-๔ วัตถุประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะ (ต่อ) การตระหนักรู้

ระดับของสมรรถนะ

คนงาน

ผู้ช�านาญการ/ ผู้เชี่ยวชาญ

ผู้บัญชาการ เหตุการณ์

















 







ผู้ตอบสนอง การปฏิบัติการ เหตุ

๑๔. รู้วิธีการปฏิบัติงานอันตรายและ การประเมินความเสี่ยง

C F M m

๑๕. มีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการ ยุติการปฏิบัติและทุกอย่างมีความ ปลอดภัย

C F m



๑๖. มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ บัญชาการเหตุการณ์และระบบการ จัดการเหตุการณ์ • หน้าที่ตามบทบาท • การน�าไปปฏิบัติ

C F M



๑๗ก รู้วิธีการด�าเนินการควบคุมการ C เปื้อนพิษ และการปฏิบัติการกักเก็บการ F M เปื้อนพิษ รวมถึงการเสียชีวิตจากการ เปื้อนพิษ m



๑๗ข เข้าใจขั้นตอนและยุทโธปกรณ์ ส�าหรับการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ที่เปื้อนพิษ ด้วยความปลอดภัย

F m G







๑๘. รู้จักการแบ่งประเภท, การตรวจ หา, การตรวจพิสูจน์ทราบ, และการ ยืนยันถึงวัตถุด้าน คชรน. โดยการใช้ เครื่องมือตรวจที่ใช้ในสนาม รวมทั้งวิธี การเก็บตัวอย่างที่อยู่ในรูปของแข็ง, ของเหลว และก๊าซ

C F M m







๑๙. รู้วิธีการคัดกรองผู้ป่วยให้มีความ ปลอดภัย และขั้นตอนการฉีดยาแก้พิษ สารเคมีและสารชีวะ

F m







๒๐. รู้วิธีการประเมินผู้ป่วยและขั้นตอน การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

M m G

  เฉพาะ(จนท. เฉพาะ(จนท. ทางการแพทย์) ทางการแพทย์)

๒๑. คุ้นเคยกับสาร คชรน. ที่เกี่ยวข้อง ด้านสาธารณสุขและผลจากการบริการ ทางการแพทย์ในระดับท้องถิ่น

G

  เฉพาะ(จนท. เฉพาะ(จนท. ทางการแพทย์) ทางการแพทย์)

254







การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตาราง ข-๔ วัตถุประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะ (ต่อ) การตระหนักรู้

ระดับของสมรรถนะ

คนงาน

ผู้ตอบ สนองเหตุ 

การปฏิบัติ การ

ผู้ช�านาญ การ/ ผู้เชี่ยวชาญ

  เฉพาะ(จนท. เฉพาะ(จนท. ทางการแพทย์) ทางการแพทย์)

๒๒. รู้ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

F G

๒๓. มีความสามารถในการด�าเนินการ คัดแยกผู้ป่วยและให้รักษาพยาบาลใน ขั้นต้น

G

  เฉพาะ(จนท. เฉพาะ(จนท. ทางการแพทย์) ทางการแพทย์

๒๔. รู้จักห้องปฏิบัติการที่พิสูจน์ทราบ และการวินิจฉัยที่เกี่ยวกับสารชีวะ

G

 เฉพาะ(จนท. ทางการแพทย์)

๒๕. มีความสามารถในการพัฒนาแผน ท�าให้สถานที่มีความปลอดภัย และ พัฒนาแผนการควบคุม

C F



๒๖. มีความสามารถในการพัฒนา แผนการตอบสนองเหตุ คชรน. และ ด�าเนินการฝึกปฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุ

G m

ผู้บัญชาการ เหตุการณ์ 





อธิบายศัพท์

CBRN

29 CFR 1910.120 (ระเบียบข้อบังคับรัฐบาลกลาง ว่าด้วยการจัดการตอบสนองเหตุฉุกเฉินและกากของเสีย อันตราย) chemical, biological, radiological, and nuclear (เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์)

EMT

emergency medical treatment (การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน)

F

NFPA 472 and/or NFPA 473 (ระเบียบของส�านักป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ ข้อ 472 และ/หรือข้อ 473)

G

focus group workshop (เน้นไปที่กลุ่มคณะท�างาน)

IC

incident commander (ผู้บัญชาการเหตุการณ์)

ICS

Incident Command System (ระบบบัญชาการเหตุการณ์)

IRT

incident response team (ชุดปฏิบัติการตอบสนองเหตุการณ์)

M

macro objectives developed by a training subgroup of the senior interagency coordinating group

C

(วัตถุประสงค์หลักที่พัฒนาโดยการฝึกกลุ่มย่อยของกลุ่มประสานงานอาวุโสเพื่อปฏิบัติงานร่วมหลายหน่วยงาน)

255

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

m OSC PPE SOP   

micro objectives developed by the U.S. Research, Development, and Engineering Command (วัตถุประสงค์ย่อยที่พัฒนาโดยส่วนวิจัยและพัฒนา กองบัญชาการทหารช่าง) on-scene commander (ผู้บัญชาการประจ�าที่เกิดเหตุ) personal protective equipment (ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน) standing operating procedure (ระเบียบปฏิบัติประจ�า [รปจ.]) basic level (ขั้นพื้นฐาน) specialized level (ขั้นเชี่ยวชาญ) advanced level (ขั้นสูง)

ข-๘ ก�าลังพลของหน่วยตอบสนองเหตุเพื่อแก้ไขสถานการณ์ อั น เนื่ อ งมาจาก คชรน. จ� า เป็ น ต้ อ งบรรลุ ถึ ง ตามแนวทางพั ฒ นาขี ด ความสามารถและวัตถุการเสริมสร้างสมรรถนะตามทีก่ า� หนดไว้ในตารางที่ ข-๓ และตารางที่ ข-๔ ผูน้ า� หน่วยต้องก�าหนดหัวข้อเหล่านัน้ ภายในหน่วยของตน ซึ่งต้องมีขีดความสามารถในขั้นตระหนักรู้, ขั้นปฏิบัติการ และขั้นช�านาญ การ/ขั้นเชี่ยวชาญ ข-๙ ภารกิจที่ได้รับมอบและกิจที่ต้องปฏิบัติ อาจจ�าเป็นที่ก�าลัง พลของหน่วยต้องปฏิบัติงานในเขตอันตราย ดังนั้นผู้น�าหน่วยต้องมั่นใจว่า ก�าลังพลเหล่านั้นได้รับการฝึกในขั้นผู้ช�านาญการหรือขั้นผู้เชี่ยวชาญ ข-๑๐ ผู้นา� หน่วยมีการจัดท�าแผนซึ่งต้องก�าหนดขอบเขตโครงการ การฝึกส�าหรับหน่วยของตนไว้ด้วย ตามแผนนั้นมักครอบคลุมไปถึงการ ก�ากับส�าหรับการฝึกภายในหน่วย (เช่น การด�าเนินการของหน่วยได้อย่าง ต่อเนื่อง) และการฝึกภายนอกหน่วย (เช่น การส่งก�าลังพลไปเข้าหลักสูตร การฝึกที่จัดโดยหน่วยงานอื่น) หน่วยด�ารงรักษาบันทึกสถานภาพการฝึก ของก�าลังพลแต่ละคนเพื่อให้มั่นใจว่าสถานภาพการฝึกเป็นปัจจุบัน

256

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

กิจร่วมสากล (Universal Tasks) ข-๑๑ บทสรุปของรายการกิจร่วมของกระทรวงรักษาความมั่นคง ภายในเกี่ยวกับอันตรายทั้งปวง เป็นไปตามหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ในขณะ ที่ผู้ตอบสนองเหตุสังกัดกระทรวงกลาโหมต้องได้รับการฝึกให้มีมาตรฐาน การปฏิบัติกิจทางยุทธวิธีที่มีลักษณะจ�าเพาะของแต่ละเหล่าทัพเพื่อแก้ไข สถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ดังนัน้ ก�าลังพลจึงต้องเข้าใจวิธกี ารประยุกต์ การปฏิบตั กิ จิ ให้เข้ากับกิจของกระทรวงรักษาความมัน่ คงภายในทีเ่ กีย่ วข้องกับ การแก้ไขสถานการณ์ ข-๑๒ รายการกิจร่วมของกระทรวงรักษาความมัน่ คงภายในทีเ่ กีย่ วกับ อันตรายทั้งปวง ได้น�าไปใช้ในการเตรียมพร้อมของชาติ รายการดังกล่าว ประกอบด้วยกิจส�าคัญ ๆ ๔ ด้าน ได้แก่ การป้องกัน, การปกป้อง, การตอบ สนอง และการฟื้นฟู ส�าหรับการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. มักอยู่ในขอบเขตการปฏิบัติใน ๒ ประเด็นหลัง (การตอบสนองและ การฟื้นฟู) การเข้าร่วมของกระทรวงกลาโหมเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่อง มาจาก คชรน. มักมุง่ เน้นไปทีข่ อบเขตของการปฏิบตั กิ ารตอบสนองเป็นส�าคัญ

การตอบสนอง (respond) ข-๑๓ กิจย่อยในการให้การสนับสนุนการตอบสนองเหตุ ได้แก่ l ประเมินเหตุการณ์  ท�าการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ประเมินอันตรายและแก้ไขสถานการณ์  ด�าเนินการติดต่อสื่อสารภายใน 257

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์



l

l



ลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด  จัดการเหตุการณ์  ตอบสนองต่ออันตราย  ด�าเนินการปฏิบัติเพื่อการป้องกัน  ด�าเนินการค้นหาและกู้ชีพ การดูแลรักษาด้านสาธารณะ  ให้การรักษาทางการแพทย์  เผยแพร่วิธีการป้องกันโรค  ดูแลรักษาผู้ป่วยจ�านวนมาก  จัดการกับผู้ป่วย

การฟื้นฟู (Recover) ข-๑๔ โดยปกติแล้วกิจจะลักษณะนีม้ กั ด�าเนินการโดยหน่วยงานระดับ ชาติอนื่ ๆ หรืออาจเป็นหน่วยงานระดับรัฐ หรือหน่วยงานประจ�าท้องถิน่ (เช่น ส�านักจัดการเหตุฉกุ เฉินแห่งชาติ) ส�าหรับกิจย่อยทีส่ นับสนุนการฟืน้ ฟู มีดงั นี้ l ให้ความช่วยเหลือแก่สาธารณะ  ให้การดูแลรักษาผลกระทบในระยะยาว  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฟื้นฟู  ให้การบริการด้านสังคม l ฟื้นสภาพสิ่งแวดล้อม  ด�าเนินการท�าความสะอาดสถานที่เกิดเหตุ 258

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l



ก�าจัดวัสดุที่เปื้อนพิษ  ด�าเนินการปรับสภาพสถานที่ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม  ฟื้นสภาพแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นสภาพสิ่งปลูกสร้าง  สร้างส�านักบริการของรัฐขึ้นมาใหม่  สร้างทรัพย์สินขึ้นมาใหม่  ฟื้นสภาพวิถีการด�ารงชีวิตของประชาชน  ฟื้นสภาพสถาบันทางด้านเศรษฐกิจ 

การฝึกปฏิบัติ (Exercises) ข-๑๕ หน่วยตอบสนองเหตุมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติเพื่อแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. การออกแบบการฝึกปฏิบัติต้องจัดให้มี ภาพที่แสดงถึงสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ให้สมจริงมากทีส่ ดุ เค้าโครงภาพเหตุการณ์ตอ่ ไปนีเ้ ป็นแนวทางส�าหรับ หน่วยตอบสนองเหตุและแนวทางตามเค้าโครงภาพเหตุการณ์เหล่านี้ สามารถ น�าไปใช้สนับสนุนเป็นฐานอ้างอิงส�าหรับการออกแบบการฝึก ข-๑๖ ตารางที่ ข-๕; ตารางที่ ข-๖ และตารางที่ ข-๗ เป็นตัวอย่าง เค้าโครงภาพเหตุการณ์การฝึกส�าหรับการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ ง มาจาก คชรน. เค้าโครงภาพเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์รวมทัง้ ภาพเหตุการณ์ ย่อยหลาย ๆ เรือ่ ง

259

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๕ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ

เค้าโครงภาพเหตุการณ์: การประเมินผลอันตรายจาก คชรน., การท�าลายล้างพิษ ผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก – สภาพแวดล้อมการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ภายใน ประเทศ และการท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก ณ สถานทีเ่ กิดเหตุ – สนามบิน รถยนต์ ไ ด้ บ รรทุ ก สารที่ ไ ม่ ท ราบชนิ ด มี ลั ก ษณะเป็ น ผงได้ เ กิ ด ระเบิ ด ขึ้ น บริ เวณ ด้านนอกของสนามบินหลักที่ส�าคัญ กระทรวงรักษาความมั่นคงภายในได้ร้องขอรับ การสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอนุมัติการ สนับสนุนโดยใช้หน่วยทหารที่มีฐานที่ตั้งในท้องถิ่นเข้าปฏิบัติการ ก. ภาพฉากที่ ๑ (การประเมินผลอันตรายจาก คชรน.) (๑) สถานการณ์ หน่ ว ยทหารมี ฐ านที่ ตั้ ง ใกล้ บ ริ เวณที่ เ กิ ด เหตุ ไ ด้ รั บ การร้องขอให้การสนับสนุนที่บัญชาการเหตุการณ์ ณ สนามบินในท้องถิ่นจากการ โจมตีของกลุ่มก่อการร้าย (๒) ภารกิจ หน่วยทหารได้รบั มอบหมายให้ดา� เนินการประเมินผลอันตราย ด้าน คชรน. จากพืน้ ทีท่ ถี่ กู โจมตี เพือ่ ช่วยในการตรวจสอบความจ�าเป็นเพือ่ การสนับสนุน เพิม่ เติมทีจ่ ะตามมา (๓) การปฏิบตั ิ กิจทีต่ อ้ งปฏิบตั มิ ดี งั นี้ l วางแผน l เตรียมการและประสานงาน l ด�าเนินการเคลือ่ นย้าย l ปฏิบตั กิ ารยุทธบรรจบ (linkup) l ตรวจหา l ตรวจพิสจู น์ทราบ l ติดตัง้ เครือ่ งหมายเตือนภัย l ประเมินผลอันตราย l รายงาน l เก็บตัวอย่าง l ส่งกลับตัวอย่าง l ท�าลายล้างพิษ (ตามขัน้ ตอนทางเทคนิค)

260

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๕ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ (ต่อ)

ส่งก�าลัง สป. เพิม่ เติมให้เต็มอัตรา ฟืน้ ฟู (๔) การช่วยรบ หน่วยด�าเนินการสนับสนุนการบัญชาการเหตุการณ์ ตามความจ�าเป็น (๕) การบังคับบัญชาและการสื่อสาร หน่วยยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม บังคับบัญชาทางทหาร หน่วยรายงานการประเมินผลอันตรายด้าน คชรน. ไปยัง ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ข. ภาพฉากที่ ๒ การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก) (๑) สถานการณ์ หน่วยทหารมีฐานที่ตั้งใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ ได้รับการ ร้องขอให้การสนับสนุนที่บัญชาการเหตุการณ์ ณ สนามบินในท้องถิ่นจากการ โจมตีของกลุ่มก่อการร้าย (๒) ภารกิจ หน่วยทหารสนับสนุนผู้ตอบสนองเหตุประจ�าท้องถิ่นและใน ระดับรัฐ เพื่อด�าเนินการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก ซึ่งคือหมู่ประชาชนที่ได้ รับบาดเจ็บจากการระเบิดและมีฝุ่นผงของสารที่ปะทุออกมา (๓) การปฏิบตั ิ กิจทีต่ อ้ งปฏิบตั มิ ดี งั นี้ l วางแผน l เตรียมการและประสานงาน l ด�าเนินการเคลือ่ นย้าย l การยุทธบรรจบ l ท�าลายล้างพิษ (ตามขัน้ ตอนทางเทคนิค) l จัดตัง้ สถานีทา� ลายล้างพิษผูป้ ว่ ย l ท�าลายล้างพิษ (ผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก) l เบิก สป. เพิม่ เติมให้เต็มอัตรา l ฟืน้ ฟู (๔) การช่วยรบ หน่วยด�าเนินการสนับสนุนการบัญชาการเหตุการณ์ ตาม ความจ�าเป็น (๕) การบังคับบัญชาและการสื่อสาร หน่วยยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม บังคับบัญชาทางทหาร l l

261

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๕ ตัวอย่างเค้าโครงเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ (ต่อ) อธิบายศัพท์

C2 CBRN CM DHS DOD MCD

command and control (การควบคุมบังคับบัญชา) chemical, biological, radiological, and nuclear (เคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์) consequence management (การแก้ไขสถานการณ์) Department of Homeland Security (กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน) Department of Defense (กระทรวงกลาโหม) mass casualty decontamination (การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก)

ตารางที่ ข-๖ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ในต่างประเทศ

เค้าโครงภาพเหตุการณ์: การประเมินผลอันตรายด้าน คชรน., ในสภาพแวดล้อมที่ เป็นการแก้ไขสถานการณ์ในต่างประเทศ, ประเทศทรีแลนด์ (Treeland) หน่วยทหารสหรัฐฯ มีที่ตั้งอยู่ในประเทศทรีแลนด์ อยู่ในสถานะป้องกันก�าลังรบ (FPCON) ระดับบราโว่ (bravo) ประเทศทรีแลนด์ไม่ถอื ว่าเป็นเขตพืน้ ทีก่ ารรบ กอง ก�าลังทหารสหรัฐฯ ก�าลังด�าเนินการปฏิบตั กิ ารในเขตทวีปอืน่ แต่ใช้ประเทศทรีแลนด์ เป็นฐานการส่งก�าลังบ�ารุงส�าหรับการปฏิบตั กิ ารทางทหาร ก. ภาพฉากที่ ๑ (การประเมินอันตรายด้าน คชรน.) (๑) สถานการณ์ ผูก้ อ่ การร้ายได้ขบั อากาศยานประเภทปีกติดล�าตัวขนาดเล็ก พุง่ ชนอาคารกองบัญชาการทหารสหรัฐฯ ทีต่ งั้ อยูใ่ นเมืองยิว (Yew) ประเทศทรีแลนด์ มีรายงานพบผูเ้ จ็บป่วยซึง่ อยูใ่ นทิศทางใต้ลมจากบริเวณทีเ่ ครือ่ งบินตก โดยสงสัยว่าจะ มีวตั ถุอนั ตรายแพร่กระจายออกมาในระหว่างเกิดการโจมตี (๒) ภารกิจ หน่วยทหารทีต่ งั้ อยูใ่ กล้บริเวณกองบัญชาการทางทหารถูกสัง่ ให้ ประเมินผลอันตรายด้าน คชรน. ในบริเวณทีเ่ ครือ่ งบินตก

262

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๖ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ในต่างประเทศ (ต่อ)

(๓) การปฏิบตั ิ มีกจิ ทีต่ อ้ งปฏิบตั ิ ดังนี้ l วางแผน (ใช้ระเบียบการน�าหน่วย) l เตรียมการและประสานงาน l ด�าเนินการเคลือ่ นย้าย l การยุทธบรรจบ l ตรวจหา l ตรวจพิสจู น์ทราบ l ประเมินผลอันตราย l รายงาน l ท�าลายล้างพิษ (ตามขัน้ ตอนทางเทคนิค) l ฟืน้ ฟู (๔) การช่วยรบ หน่วยให้การสนับสนุนแก่ผบู้ ญั ชาการหน่วยทหารระดับอาวุโส (๕) การบังคับบัญชาและการสื่อสาร หน่วยให้ข้อเสนอแนะส�าหรับการ สนับสนุนที่ก�าลังตามมาทีหลังให้แก่ สธ.๓ (ร่วม) ในระดับยุทธบริเวณ ซึ่งจะมา ถึงที่เกิดเหตุภายใน ๒ ชั่วโมง ข. ฉากภาพที่ ๒ (การประเมินผลอันตรายด้าน คชรน.) (๑) สถานการณ์ รถยนต์บรรทุกได้เกิดการระเบิดขึ้นที่หน้าสถานทูต สหรัฐฯ ในเมืองขนาดใหญ่, ประเทศ ทรีแลนด์ มีผู้บาดเจ็บเป็นชาวสหรัฐฯ และ ประชาชนของประเทศเจ้าบ้านเป็นจ�านวนมาก ในบริเวณใกล้ ๆ กับสถานทูต (๒) ภารกิจ หน่วยทหารที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสถานทูตในประเทศทรีแลนด์ ได้รับค�าสั่งให้ด�าเนินการประเมินผลอันตรายด้าน คชรน. ในบริเวณสถานทูต ซึ่ง จ�าเป็นต้องประสานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยตอบสนองเหตุของชาติเจ้าบ้าน (๓) การปฏิบัติ มีกิจที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้ l วางแผน (ใช้ระเบียบการน�าหน่วย) l เตรียมการและประสานงาน l ปฏิบัติการยุทธบรรจบ l ตรวจหา

263

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๖ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์การแก้ไขสถานการณ์ในต่างประเทศ (ต่อ)

ตรวจพิสูจน์ทราบ ประเมินผลอันตราย l รายงาน l ท�าลายล้างพิษ (ตามขั้นตอนทางเทคนิค) l ฟื้นฟู (๔) การช่วยรบ หน่วยให้การสนับสนุนผู้บัญชาการหน่วยทหารระดับสูง, ผู้บัญชาการเหตุการณ์ของชาติเจ้าบ้าน และกระทรวงการต่างประเทศ (๕) การบังคับบัญชาและการสื่อสาร หน่วยให้ข้อเสนอแนะส�าหรับการ สนับสนุนที่ตามมาทีหลังให้แก่ สธ.๓ (ร่วม) ในระดับยุทธบริเวณ และกระทรวง การต่างประเทศ ซึ่งจะถึงที่เหตุภายในเวลา ๒ ชั่วโมง l l

อธิบายศัพท์

CBRN DOS FPCON HN IC J-3 TLP

264

chemical, biological, radiological, and nuclear (เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์) Department of State (กระทรวงการต่างประเทศ) force protection condition (สภาพการป้องกันก�าลังรบ) host nation (ชาติเจ้าบ้าน) incident commander (ผู้บัญชาการเหตุการณ์) operations directorate of a joint staff (ส�านักยุทธการของ คณะเสนาธิการร่วม) troop leading procedures (ระเบียบการน�าหน่วย)

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๗ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ

เค้าโครงภาพเหตุการณ์: การประเมินผลอันตรายด้าน คชรน./การท�าลายล้างพิษ ผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก, การสนับสนุนโรงพยาบาลทีร่ บั ผูป้ ว่ ย, การประเมินผลอันตราย ด้าน คชรน. – เมือ่ มีเหตุการณ์พเิ ศษเกีย่ วข้องกับความมัน่ คง ของชาติ เหตุการณ์ การแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพ, มีนักกีฬา จากทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขัน เหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุการณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงของชาติ โดยให้อ�านาจกระทรวงกลาโหมเข้าด�าเนินการสนับสนุนหากมี เหตุการณ์การโจมตีจากกลุม่ ก่อการร้าย หน่วยทหารของกระทรวงกลาโหมหลากหลาย หน่วยทั่วทั้งประเทศถูกเรียกมาปฏิบัติการร่วมกันในบริเวณสถานที่เกิดเหตุ ก. ภาพฉากที่ ๑ (เหตุการณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ, การ ท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก) (๑) สถานการณ์ รถยนต์ที่ซุกซ่อนระเบิด (car bomb) ได้ระเบิดขึ้นเป็น จ�านวนมาก ตามแนวถนนที่มุ่งไปสู่สนามกีฬาที่เจ้าภาพเป็นทีมเหย้า เหตุระเบิดครั้ง นี้ท�าให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจ�านวนมากในรัศมี ๑๐ ไมล์ รอบสนามกีฬา ผู้ป่วยเป็น จ�านวนมากมีอาการหายใจล�าบาก, รูส้ กึ ปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนังรวมทัง้ ในล�า คอด้วย และมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายรายมีอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้ (๒) ภารกิจ หน่วยทหาร ๓ หน่วย ได้รบั มอบกิจให้ปฏิบตั กิ ารสนับสนุนการ ท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก ณ บริเวณโรงพยาบาลที่ก�าหนดให้เป็นสถานที่แรก รับผู้ป่วยเหล่านี้ (๓) การปฏิบัติ มีกิจที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้ l วางแผน (ใช้ระเบียบการน�าหน่วย) l เตรียมการและประสานงาน l ด�าเนินการเคลื่อนย้าย l ปฏิบัติการยุทธบรรจบ l รายงาน l ท�าลายล้างพิษ (ตามขั้นตอนทางเทคนิค) l จัดตั้งสถานีท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก

265

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๗ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ

ท�าลายล้างพิษ (ผู้ป่วยจ�านวนมาก) l เบิกสิง่ อุปกรณ์ทดแทน l ฟืน้ ฟู (๔) การช่วยรบ หน่วยให้การสนับสนุนทีบ่ ญั ชาการเหตุการณ์ ตามความจ�าเป็น (๕) การบังคับบัญชาและการสือ่ สาร หน่วยยังคงอยูภ่ ายใต้การควบคุมบังคับ บัญชาทางทหาร ข. ภาพฉากที่ ๒ (เหตุการณ์พเิ ศษทีเ่ กีย่ วข้องกับความมัน่ คงของชาติ, การประเมิน ผลอันตรายด้าน คชรน.) (๑) สถานการณ์ รถยนต์ที่ซุกซ่อนระเบิด (car bomb) ได้เกิดระเบิด ขึ้นเป็นจ�านวนมาก ตามแนวถนนที่มุ่งไปสู่สนามกีฬาที่เจ้าภาพเป็นทีมเหย้า เหตุระเบิดครั้งนี้ท�าให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจ�านวนมากในรัศมี ๑๐ ไมล์ รอบ สนามกีฬา ผู้ป่วยเป็นจ�านวนมากมีอาการหายใจล�าบาก, รู้สึกปวดแสบปวดร้อน บริเวณผิวหนังรวมทั้งในล�าคอด้วยและมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายรายมีอาการเวียน ศีรษะและคลื่นไส้ (๒) ภารกิจ หน่วยทหารหน่วยหนึง่ ได้รบั ค�าสัง่ ให้ไปรายงานต่อผูบ้ ญ ั ชาการ เหตุการณ์ และด�าเนินการประเมินผลอันตราย เพือ่ ตรวจสอบลักษณะอันตรายด้าน คชรน. และด�าเนินการเก็บตัวอย่าง (๓) การปฏิบตั ิ มีกจิ ต้องปฏิบตั ิ ดังนี้ l วางแผน (ใช้ระเบียบการน�าหน่วย) l เตรียมการและประสานงาน l ด�าเนินการเคลื่อนย้าย l ปฏิบัติการยุทธบรรจบ l ตรวจหา l ตรวจพิสูจน์ทราบ l ประเมินผลอันตราย l เบิกสิง่ อุปกรณ์ทดแทน l ฟืน้ ฟู l

266

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๗ ตัวอย่างเค้าโครงภาพเหตุการณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ (ต่อ)

(๔) การช่วยรบ หน่วยให้การสนับสนุนทีบ่ ญั ชาการเหตุการณ์ ตามความจ�าเป็น (๕) การบังคับบัญชาและการสื่อสาร หน่วยยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม บังคับบัญชาทางทหาร อธิบายศัพท์

C2 CBRN DOD MCD NSSE TLP

command and control (การควบคุมบังคับบัญชา) chemical, biological, radiological, and nuclear (เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์) Department of Defense (กระทรวงกลาโหม) mass casualty decontamination (การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย จ�านวนมาก) national special-security event (เหตุการณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงของชาติ) troop leading procedures (ระเบียบการน�าหน่วย)

ข-๑๗ สภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นคู่พันธมิตรกับกระทรวง รั ก ษาความมั่ น คงภายใน และหน่ ว ยงานรั ก ษาความมั่ น คงภายในระดั บ ท้องถิน่ , ระดับรัฐ และระดับชาติ ได้พยายามพัฒนาเค้าโครงภาพเหตุการณ์เพือ่ การวางแผนส�าหรับอันตรายทุกประเภท จ�านวน ๑๕ ภาพเหตุการณ์ ทัง้ นีเ้ พือ่ ใช้ในการด�าเนินการเตรียมความพร้อมในด้านการรักษาความมัน่ คงภายในระดับ ท้องถิ่น, ระดับรัฐ และระดับชาติ ตัวอย่างภาพเหตุการณ์ต่อไปนี้ได้กลั่นกรอง มา ๓ ภาพเหตุการณ์ที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงเหตุการณ์ด้าน คชรน.

267

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ภาพเหตุการณ์ที่ ๑ (ดูตาราง ข-๘) เกิดการระเบิด ของอาวุธนิวเคลียร์: อาวุธนิวเคลียร์แบบแสวงเครื่องขนาด ๑๐ กิโลตัน ใน ภาพเหตุการณ์นี้ สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามในระดับสากล ได้ประกอบอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้กลไกจุดระเบิดแบบปืน (gun type) โดย ได้ขโมยเอายูเรเนียมเสริมสมรรถนะเข้มข้นจากโรงงานนิวเคลียร์ที่ตั้งอยู่ ดิ น แดนของอดี ต สหภาพโซเวี ย ต (ในบริ บ ทนี้ ยู เรเนี ย มเสริ ม สมรรถนะ เข้ ม ข้ น คื อ ยู เรเนี ย มที่ ใช้ ท� า อาวุ ธ ) ส่ ว นประกอบของอาวุ ธ นิ ว เคลี ย ร์ ไ ด้ ลักลอบเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา อาวุธนิวเคลียร์ขนาด ๑๐ กิโลตัน ได้ ประกอบขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์กลางเมืองที่ส�าคัญโดยการใช้รถตู้ ในการขนส่ง ผู้ก่อการร้ายได้ขนส่งอาวุธไปยังบริเวณศูนย์กลางทางธุรกิจ ของเมืองแล้วจุดระเบิด สิ่งปลูกสร้างทุกชนิดที่อยู่ในรัศมี ๑,๐๐๐ เมตร (ประมาณ ๓,๒๐๐ ฟุ ต ) โดยรอบจุ ด ศู น ย์ ก ลางของการระเบิ ด เกิ ด ความเสียหายอย่างหนัก การบาดเจ็บเกิดจากเศษปรักหักพังปลิวมาใส่อาจ เกิดขึ้นได้ไกลถึง ๖ กิโลเมตร (ประมาณ ๓.๗ ไมล์) ห้วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ท�าความเสียหายต่ออุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ภายในรัศมี ๕ กิโลเมตร (ประมาณ ๓ ไมล์) กลุม่ เมฆรูปดอกเห็ดพุง่ ขึน้ ปกคลุมเหนือตัวเมืองและเริม่ เคลือ่ นไปทาง ทิศตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือ l ภาพเหตุการณ์ที่ ๒ (ดูตาราง ข-๙) การโจมตีด้วยอาวุธ ชีวะ: สปอร์เชื้อแอนแทร็กซ์ถูกแพร่กระจายออกมาจากเครื่องพ่นละออง ท�าให้หายใจเอาเชื้อแอนแทร็กซ์เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเชื้อได้พัฒนาแพร่พันธุ์เมื่อ เชื้อแบคทีเรีย, แบคซิลลัส แอนทราซิส (bacillus anthracis) เมื่อลมหายใจ พัดพาเข้าสู่ปอดและเริ่มพัฒนาจนเกิดโรค ภาพฉากเหตุการณ์นี้อธิบายถึง การโจมตีด้วยแอโรซอลเชื้อแอนแทร็กซ์เพียงครั้งเดียว โดยใช้รถยนต์บรรทุก ที่ปกปิดเครื่องพ่นละอองไว้อย่างมิดชิด ซึ่งน�าไปใช้งานในบริเวณกลางเมือง ทีม่ ปี ระชากรอยูอ่ ย่างหนาแน่น โดยเป็นผูท้ า� งานแบบเดินทางไปกลับเป็นประจ�า l

268

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ยังไม่นบั รวมถึงความเป็นไปได้ทอ่ี าจเกิดการโจมตีหลายครัง้ ในเมืองอืน่ ๆ หรือ การโจมตีในเวลาที่เหลื่อมกัน (เช่น การเติมเชื้อลงในถังพ่นละออง) ส�าหรับ วัตถุประสงค์ในการวางแผนระดับชาติอาจตั้งสมมติฐานว่าข้าศึกหรือฝ่ายตรง ข้ามในระดับสากล มีการโจมตีในพื้นที่เขตเมือง ๕ แห่ง ที่ไม่ได้อยู่ติดกันใน ลักษณะที่เป็นลูกโซ่ อาจโจมตีใน ๓ เมืองก่อน และอีก ๒ เมืองโจมตีทีหลัง หรืออาจโจมตีในอีก ๒ สัปดาห์ ต่อมา l ภาพเหตุ ก ารณ์ ที่ ๓ (ดู ต าราง ข-๑๐) การโจมตี ด ้ ว ย อาวุธเคมี: สารประสาทซาริน ซึง่ รูจ้ กั ในชือ่ GB เป็นสารเคมีทางทหารทีม่ นุษย์ สังเคราะห์ขนึ้ จัดประเภทเป็นสารประสาท สารประสาทเป็นสารอันตรายมาก ที่สุด ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วในบรรดาสารเคมีทางทหารที่รู้จักกัน สารซาริน เป็นของเหลวใส, ไม่มีสี และไม่มีรส และไม่มีกลิ่นหากบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม สารซารินสามารถระเหยกลายเป็นไอและแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ ใน ฉากภาพเหตุการณ์นี้ ฝ่ายตรงข้ามในระดับสากลได้ประดิษฐ์อปุ กรณ์พน่ ละออง ขึน้ มา ๖ ชุด เพือ่ ปล่อยกระจายไอสารซารินเข้าสูร่ ะบบการระบายอากาศของ อาคารส�านักงานการค้าขนาดใหญ่ที่อยู่ในใจกลางเมือง สารซารินนี้ได้สังหาร ผู้คนที่อยู่ในอาคารไปประมาณ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ และยังได้สังหารและท�าให้ ผู้ตอบสนองเหตุบาดเจ็บเป็นจ�านวนมาก นอกจากนั้น ไอของสารเคมีบาง ส่วนยังเล็ดลอดออกทางปล่องควันทีต่ ดิ ตัง้ อยูบ่ นหลังคา ท�าให้เกิดอันตรายใน ทิศทางใต้ลม ส�าหรับวัตถุประสงค์เพือ่ การประมาณการถึงความจ�าเป็นในการ ตอบสนองเหตุระดับชาติ, ในแต่ละอาคารประมาณการว่ามีผู้คนติดอยู่ภายใน จ�านวน ๒,๐๐๐ คน (อาคารมี ๒๐ ชั้น แต่ละชั้นมีคนอยู่ ๑๐๐ คน) และ มีผคู้ นอยูภ่ ายนอกและในชัน้ ใต้ดนิ ในบริเวณพืน้ ทีโ่ ดยรอบอาคาร ทีม่ คี วามหนาแน่น ประมาณ ๓,๙๐๐ คน ต่อตารางไมล์ (ประมาณ ๑ ใน ๑๐ ของจ�านวนประชากร ที่อยู่ในบริเวณไทม์ สแควร์ [Time Square] เมืองนิวยอร์ก) 269

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๘ ข้อมูลประกอบภาพเหตุการณ์ที่ ๑ จ�านวนผู้บาดเจ็บ ความเสียหายของสิ่งปลูกสร้าง การอพยพ/การขนย้ายผู้คน การเปื้อนพิษ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โอกาสที่จะเกิดเหตุซ�้า เส้นเวลาเพื่อการฟื้นฟู

อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากมาย อย่างสิ้นเชิงภายในรัศมี ๐.๕ ถึง ๑.๐ ไมล์ ๔๕๐,๐๐๐ คน หรือมากกว่านี้ ประมาณ ๓,๐๐๐ ตารางไมล์ หลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี ใช้เวลานานหลายปี

ตารางที่ ข-๙ ข้อมูลประกอบภาพเหตุการณ์ที่ ๒ จ�านวนผู้บาดเจ็บ ความเสียหายของสิ่งปลูกสร้าง การอพยพ/การขนย้ายผู้คน การเปื้อนพิษ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โอกาสที่จะเกิดเหตุซ�้า เส้นเวลาเพื่อการฟื้นฟู

270

มี ผู้ ล้ ม ตายและได้ รั บ บาดเจ็ บ ประมาณ ๑๓,๐๐๐ คน มีน้อยที่สุด, นอกจากเกิดการเปื้อนพิษ อาจเป็นไปได้ ขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวาง หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีโอกาส นานหลายเดือน

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ข-๑๐ ข้อมูลประกอบภาพเหตุการณ์ที่ ๓ จ�านวนผู้บาดเจ็บ

มีผู้ล้มตาย ๖,๐๐๐ คน (๙๕% ของผู้ที่อยู่ใน อาคาร) ได้รับบาดเจ็บ ๓๕๐ คน

ความเสียหายของสิ่งปลูกสร้าง การอพยพ/การขนย้ายผู้คน การเปื้อนพิษ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โอกาสที่จะเกิดเหตุซ�้า เส้นเวลาเพื่อการฟื้นฟู

มีน้อยที่สุด, นอกจากเกิดการเปื้อนพิษ ต้องอพยพ ขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวาง ๓๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นไปอย่างกว้างขวาง นาน ๓ ถึง ๔ เดือน

การซักซ้อมการปฏิบัติ (Rehearsals)

ข-๑๘ การปฏิบตั กิ ารทางทหารใด ๆ ก็ตาม การด�าเนินการซักซ้อม การปฏิบัติเป็นวิธีการที่ท�าให้เกิดความแตกต่างระหว่างความส�าเร็จและ ความล้มเหลว การซักซ้อมการปฏิบัติท�าให้ก�าลังพลแต่ละคนและหน่วย สามารถก�าหนดบทบาท, ความรับผิดชอบ และหน้าที่ในภารกิจที่มอบให้ และท�าให้เห็นถึงวิธีที่จะปรับตนเองให้เข้ากับผังการปฏิบัติขนาดใหญ่ได้ นอกจากนั้นยังเผยให้เห็นถึงข้อบกพร่องและจุดอ่อนของแผนเพื่อด�าเนินการ แก้ไขก่อนน�าไปปฏิบัติจริง -----------------------------

271

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผนวก ค ยุ ทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติ เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ การตอบสนองเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนการขับเคลื่อนให้ การปฏิบตั กิ ารฟืน้ ฟูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทัง้ ยังจ�ากัดความรุนแรงของ เหตุการณ์ดา้ น คชรน. ต่อการปฏิบตั กิ าร และท�าให้จา� นวนผูไ้ ด้รบั อันตรายลดลง ในภาพรวม การแจ้งเตือน, การเตือนภัย, การรายงาน นับเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ เกิดการปกป้องเพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพยากรสัมผัสหรือได้รับสารอันตราย

การควบคุมบังคับบัญชา (Command and Control) ค-๑ การควบคุมบังคับบัญชาที่ก�าหนดไว้อย่างชัดเจนและเป็นที่ เข้าใจกันทัว่ ไป ในระหว่างการแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ย่อม ท�าให้การปฏิบัติการร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การควบคุมบังคับบัญชาและการประสานสอดคล้อง (Command and Control and Synchronization) ค-๒ การควบคุมบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพมีความจ�าเป็นต่อ การใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูไ่ ด้มากทีส่ ดุ เพือ่ ให้บรรลุภารกิจการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจาก คชรน. ความสัมพันธ์ในการควบคุมบังคับบัญชาอาจปรับ เปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่มีลักษณะจ�าเพาะ รวมทั้งลักษณะการปฏิบัติ ในประเทศหรื อ ในต่ า งประเทศ เอกภาพในความพยายามได้ มุ ่ ง ไปที่ เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาและด�ารงการประสานงานกับผู้บัญชาการ เหตุการณ์ ระบบการควบคุมบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพสนับสนุนให้มี 272

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประสานสอดคล้องในการปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยทหารกับหน่วย งานพลเรือน เพื่อให้มั่นใจว่าการตอบสนองสัมฤทธิผลและมีประสิทธิภาพ ส�าหรับการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ค-๓ ดังทีก่ ล่าวมาแล้วในบทที่ ๑ หน่วยทหารทีท่ า� หน้าทีต่ อบสนอง ยังคงอยูภ่ ายใต้การควบคุมบังคับบัญชาและสายการบังคับบัญชาทางทหาร ที่บัญชาการคือส�านักงานในสนามส�าหรับหน่วยปฏิบัติการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน ณ สถานที่เกิดเหตุ และจ�าเป็นต่อการเข้าถึงเพื่อการสื่อสาร, การได้ รับข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนทางธุรการอืน่ ๆ ทีบ่ ญ ั ชาการควรจัดตัง้ ในบริเวณที่สามารถสังเกตเห็นเหตุการณ์ ซึ่งวิธีนี้ท�าให้ผู้บังคับบัญชาก�ากับ และควบคุมการปฏิบัติให้บรรลุภารกิจตามที่ได้รับมอบ ขีดความสามารถ ด้านต่าง ๆ ควรจัดให้พร้อมไว้ในที่บัญชาการ รวมไปถึง .l การสื่อสาร l สิง ่ ส�าคัญเพือ่ การอ้างอิง (อาจอยูใ่ นรูปของสือ่ อิเล็กทรอนิกส์/ เอกสารทีเ่ กีย่ วข้อง) l สถานะการรับรู้สถานการณ์ l แผนที่ l การสนับสนุนด้านธุรการทั่วไป

273

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การแจ้งเตือน (Notification) ค-๔ การร้องขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมเริ่มจาก หน่วยงานพลเรือน (กระทรวงรักษาความมั่นคงภายในหรือกระทรวงการ ต่างประเทศ) ทีป่ ระสบปัญหาทีเ่ กิดจากเหตุการณ์ดา้ น คชรน. เมือ่ การร้องขอ ผ่านไปในช่องทางที่เหมาะสม, กระทรวงกลาโหมจะจัดทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อ ให้ความช่วยเหลือผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์เพือ่ ตอบสนองเหตุการณ์ดา้ น คชรน. หลังจากได้รับการแจ้งเตือนแล้ว, หน่วยทหารที่ตอบสนองเข้าประจ�าการเพื่อ สนับสนุนการบัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งมีการปฏิบัติกิจเฉพาะด้วยการจัดการ ประสานกับหน่วยงานตอบสนองในระดับชาติส�าหรับเหตุการณ์ด้าน คชรน. นายทหารประสานงานกลาโหม มักเป็นผูแ้ ทนในการควบคุมการปฏิบตั กิ ารของ หน่วยตอบสนองของ กระทรวงกลาโหมที่ได้รับมอบให้เข้าปฏิบัติการ เมื่อเริ่ม การปฏิบตั กิ าร, นายทหารประสานงานกลาโหมเริม่ จัดขีดความสามารถในการ ตอบสนอง, แต่งตัง้ นายทหารติดต่อกับส่วนปฏิบตั กิ ารทางทหารเพือ่ ตอบสนอง, ส่วนสนับสนุนการจัดการในภาวะวิกฤต และการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ที่ เกีย่ วข้องกับเหตุการณ์ดา้ น คชรน., และด�าเนินการปฏิบตั ติ ามขัน้ ตอนทีส่ า� คัญ ในห้วงก่อนการเข้าประจ�าการและในระหว่างเข้าประจ�าการ ค-๕ หน่วยตอบสนองมักได้รบั ค�าสัง่ เตรียมเพือ่ แจ้งเตือนในขัน้ ต้น ถึงการเข้าประจ�าการในสถานทีเ่ กิดเหตุ ณ จุดนี้ หน่วยเริม่ ปฏิบตั ติ ามระเบียบ การระดมพล, การประกอบก�าลัง, กระตุ้นเตือนการขอรับการสนับสนุนกลับ ไปยังหน่วยงานระดับชาติ และสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุงแบบบูรณาการ, ก�าหนดข้อมูลที่จ�าเป็น และแผนการส่งก�าลังเข้าประจ�าการ

274

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๖ หลังจากได้รับการแจ้งเตือน, ผู้บังคับบัญชามักต้องการเข้า ถึงแหล่งข้อมูลที่ส�าคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์เพื่อให้การสนับสนุนที่จ�าเป็นต่อขั้น การวางแผน เพื่อการสนับสนุนเท่าที่จ�าเป็นเหล่านี้, ผู้บังคับบัญชาอาจได้รับ อนุญาตให้ส่งชุดปฏิบัติการส่วนล่วงหน้าเข้าประจ�าการในขั้นต้น หน้าที่ของ ชุดปฏิบัติการส่วนล่วงหน้า ได้แสดงไว้ในตารางที่ ค-๑ ตารางที่ ค-๑ หน้าที่ของชุดปฏิบัติการส่วนล่วงหน้า เมื่อมาถึงสถานที่เกิด เหตุ

ด�าเนินการประเมินใน ขั้นต้น

ด�าเนินการวิเคราะห์ อันตรายและ/หรือ เตรียมแผนด้านความ ปลอดภัยสถานที่

รายงานต่อผู้บัญชาการเหตุการณ์ รับทราบรายงานสถานการณ์ รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับระบบบัญชาการเหตุการณ์ ประสานเรื่องพื้นที่พักรอ ประสานการจัดผังส�าหรับส่วนปฏิบัติการต่าง ๆ รับทราบเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการเหตุการณ์ส�าหรับ การวางก�าลังชุดปฏิบัติการตอบสนอง รับทราบเป้าหมายยุทธศาสตร์ส�าหรับเหตุการณ์นี้ ด�าเนินการประเมินสถานที่และประสานกับหน่วยงานตอบ สนองเหตุอื่น ๆ ตรวจสอบสถานที่ว่ามีการระวังป้องกันจากการกระท�าของ ฝ่ายศัตรูหรือไม่ รับทราบแผนผังสถานที่ (รวมทั้งการกั้นเขตอันตราย, เขตเฝ้าระวัง และเขตปลอดภัย) รั บ ทราบข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การพิ สู จ น์ ท ราบหรื อ ต้ อ งสงสั ย เกี่ยวกับสาร คชรน.

275

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๑ หน้าที่ของชุดปฏิบัติการส่วนล่วงหน้า (ต่อ) ตรวจสอบยืนยันถึงความต้องการในการจัดตัง้ สถานีทา� ลายล้างพิษ ตรวจสอบยืนยันถึงการส�ารวจช่องทางด่วนในบริเวณสถานทีเ่ กิดเหตุ เฝ้าตรวจพื้นที่ปฏิบัติของหน่วยตอบสนองที่ได้รับมอบหมาย ด�าเนินการ ตรวจสอบยืนยันและท�าเครื่องหมายเขตอันตราย ประสานงาน ช่วยในการจัดท�าแผนผังบริเวณที่เกิดเหตุ ให้ค�าแนะน�าแก่ก�าลังพลและยุทโธปกรณ์ของกองก�าลังหลัก เพื่อเข้าพื้นที่ พัฒนาแผนขั้นต้น, ประสานกับผู้บัญชาการเหตุการณ์เพื่อตรวจสอบบริเวณพื้นที่ จัดล�าดับความเร่ง พักรอที่เหมาะสมส�าหรับชุดปฏิบัติการส�ารวจและเจ้าหน้าที่ ด่วนของงาน, และ ทางการแพทย์ ร่างความต้องการ มัน่ ใจว่านายทหารยุทธการได้จดั ความต้องการข่าวสารทีส่ า� คัญ ข่าวสารส�าคัญยิ่ง ยิ่งส�าหรับผู้บังคับบัญชา เพื่อเสนอต่อรองผู้บัญชาการและแก่ ส�าหรับผู้บังคับ กองก�าลังหลัก โดยอยู่บนพื้นฐานของการประเมินผลในขั้นต้น บัญชา รวมทั้งการบรรยายสรุปในขั้นต้นแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ อธิบายศัพท์ AO area of operations (พื้นที่ปฏิบัติการ) CBRN chemical, biological, radiological, and nuclear (เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์) IC incident commander (ผู้บัญชาการเหตุการณ์) ICS Incident Command System (ระบบบัญชาการเหตุการณ์) SITREP situation report (รายงานสถานการณ์)

276

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๗ เมื่อได้รับการแจ้งเตือนและได้รับค�าสั่งให้ประจ�าการอย่าง ถูกต้อง หน่วยตอบสนองเหตุเข้าประจ�าการในพื้นที่พักรอที่ก�าหนดไว้ใน พื้นที่ปฏิบัติการ เมื่อเคลื่อนที่มาถึง, หน่วยเริ่มประสานกับผู้บัญชาการ เหตุ ก ารณ์ ป ระจ� า ท้ อ งถิ่ น และ/หรื อ หน่ ว ยงานตอบสนองเหตุ ฉุ ก เฉิ น เพื่อแจ้งเตือนหน่วยและส่วนบังคับบัญชาที่เคลื่อนที่มาถึง ต้องใช้แผนผัง ข้อมูลส�าคัญเกี่ยวกับสถานที่และ/หรือปรับให้เป็นปัจจุบันเพื่อการจัดวาง ต�าแหน่งให้เข้าที่ได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลเหล่านี้ อาจรวมไปถึง – l เขตควบคุมอันตราย (เขตปลอดภัย, เขตเฝ้าระวัง และ. เขตอันตราย และระยะปลอดภัยที่สั้นที่สุด) l สภาพภูมิประเทศบริเวณสถานที่เกิดเหตุ l เส้นทางเข้าและออก l การเข้าถึงสถานทีโ ่ ดยใช้ยานพาหนะหรือด้วยการเดินเท้า l ประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมนอกบริเวณสถานที่เกิดเหตุที่ อาจมีความเสี่ยง l สภาพลมฟ้าอากาศ (ความเร็วและทิศทางลม, อุณหภูมิ, หยาดน�้าฟ้า, ความชื้น และการพยากรณ์) l แผนที่บริเวณสถานที่เกิดเหตุ (รายละเอียดและตรงตาม มาตราส่วน)

277

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การรายงาน (Reporting) ค-๘ การประสานการปฏิบตั เิ พือ่ การรายงานและการเตือนภัย ใน ระหว่างการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. มีความส�าคัญอย่าง ยิ่งส�าหรับการด�ารงสภาพการรับรู้สถานการณ์ หน่วยตอบสนองเหตุด�าเนิน การรายงานไปยังส่วนควบคุมบังคับบัญชา ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้นายทหารติดต่อ ค-๙ การรายงานในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์หรือมีเหตุฉุกเฉิน ด้าน คชรน. มีลักษณะที่ส�าคัญต่อการตอบสนองเหตุ หน่วยตอบสนองต้อง มีข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการตอบสนองเหตุ รวมทัง้ กระบวนการแสวงข้อตกลงใจในทุก ๆ ขัน้ ของการตอบสนองได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างรายงานที่หน่วยต้องจัดท�ารายงานสรุป แสดงไว้ใน ตารางที่ ค-๒ ตารางที่ ค-๒ ล�าดับขั้นเวลาในการรายงาน รายงานการเข้าประจ�าการ

ไม่ช้าไปกว่าเวลา.................หลังจากเคลื่อนที่ออก และเดินทางมาถึง รายงานสถานการณ์ (SITREP) ตามความจ�าเป็น การร้องขอรับการสนับสนุน (RFS) ตามความจ�าเป็น ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ การร้องขอข้อมูลข่าวสาร (RFI) ตามความจ�าเป็น รายงานการถอนก�าลัง ไม่ช้าไปกว่าเวลา................หลังจากเคลื่อนที่ออก และกลับสู่ที่ตั้งปกติ รายงานการปฏิบัติการ (OPREP) ตามค�าแนะน�าของ บก.หน่วยเหนือ รายงานหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ ตามค�าแนะน�าของ บก.หน่วยเหนือ

278

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

อธิบายศัพท์

NLT OPREP RFI RFS SITREP

not later than (ไม่ช้าไปกว่าเวลานี้) operational report (รายงานการปฏิบัติการ) request for information (การร้องขอข้อมูลข่าวสาร) request for support (การร้องขอรับการสนับสนุน) situation report (รายงานสถานการณ์)

ค-๑๐ ล�าดับขัน้ เวลาและความถีใ่ นการรายงาน ต้องสอดคล้องตาม ล�าดับขั้นเวลาในลักษณะจ�าเพาะตามค�าสั่งยุทธการ/แผนยุทธการที่บังคับใช้ รวมทั้งค�าสั่งผู้บัญชาการเหตุการณ์หรือฝ่ายอ�านวยการที่มีการแจกจ่ายใน ระหว่างการปฏิบตั กิ าร, ล�าดับการรายงานควรจะเริม่ จากหน่วยไปยังหน่วยแม่ ของตน (ที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุ) และไปยังหน่วยปฏิบัติอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณ สถานที่เกิดเหตุ (ตามที่ก�าหนดไว้ในค�าสั่งให้แก่หน่วยตอบสนองอย่างเป็น ลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจา) ค-๑๑ รายงานต้องทันเวลา สัน้ กระชับ และมีขอ้ มูลเพียงพอส�าหรับ การน�าไปแถลงแล้วสามารถเข้าใจถึงสถานการณ์ได้อย่างครบถ้วน รายงานการ ปฏิบัติ, รายงานการเข้าประจ�าการ, รายงานสถานการณ์, รายงานร้องขอรับ การสนับสนุน รวมถึงรายงานทีใ่ ช้ในระหว่างการถอนก�าลัง จะถูกส่งไปตามสาย การบังคับบัญชาตามความจ�าเป็น ซึง่ ก�าหนดไว้ในแผนยุทธการ, ค�าสัง่ ยุทธการ และระเบียบปฏิบัติประจ�า ค-๑๒ การแลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสารจากการรายงานตามห้วงระยะ เวลาและรายงานสถานการณ์ เป็นการสนับสนุน .-

279

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การจัดล�าดับความเร่งด่วนในความพยายามและการแบ่ง มอบทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง l การแก้ไขปัญหาการแจกจ่าย l ระบุการขาดแคลนทรัพยากร l การใช้การตกลงใจของผู้บัญชาการเหตุการณ์ l การรับรู้สถานการณ์ ค-๑๓ ขึ้นอยู่กับค�าแนะน�าในการแบ่งประเภทเอกสารตามที่ได้ ก�าหนดไว้ การรักษาความปลอดภัยทางการสือ่ สารอาจเป็นสิง่ จ�าเป็น รายงานต่าง ๆ ที่ปรับสถานการณ์ให้เป็นปัจจุบันแล้ว เป็นข้อมูลพื้นฐานใกล้เคียงกับ เวลาที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ทั้ ง นี้ ก็ ขึ้ น อยู ่ กั บ การน� า ไปใช้ ด ้ ว ย (ส่ ว นควบคุ ม การ บังคับบัญชาทางทหาร, ผู้บัญชาการเหตุการณ์, ที่บัญชาการในพื้นที่) รายงานที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและสั ม ฤทธิ ผ ลเป็ น สิ่ ง จ� า เป็ น และกรอบระยะ เวลาก็มีความส�าคัญมาก รายงานทุกฉบับให้ข้อมูลพื้นฐานตามห้วงระยะเวลา อย่างไรก็ตาม รายงานสถานการณ์บางฉบับอาจเกี่ยวข้องกับประเด็น ที่มีความเร่งด่วนสูงสุด รวมทั้งการจัดส่งก็เป็นไปตามความต้องการตาม ความเร่งด่วน (เช่น การจัดการเหตุฉุกเฉินในที่เกิดเหตุ) ค-๑๔ ความต้ อ งการข่ า วสารอาจเปรี ย บเที ย บได้ กั บ รายงาน สถานการณ์หรือรายงานการปฏิบัติ ความต้องการข่าวสาร ซึ่งครอบคลุมไปถึง l การพิสูจน์ทราบอันตรายด้าน คชรน. l การจัดการกับผู้ป่วยจาก คชรน. l การมาถึงหรือการเคลื่อนที่จากไปของหน่วย คชรน. l การบาดเจ็บหรือเหตุการณ์ทเี่ กีย ่ วข้องกับการปฏิบตั กิ าร ด้านก�าลังพลในเขตอันตราย l

280

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l l

การสูญเสียอย่างมีนยั ส�าคัญหรือยุทโธปกรณ์ทเี่ ปือ้ นพิษ อันตรายที่ได้พิสูจน์ทราบเพิ่มเติมในสถานที่เกิดเหตุ

นายทหารติดต่อ (Liaison) ค-๑๕ หน่วยทหารที่ท�าหน้าที่ตอบสนองด�าเนินการติดต่อและ ประสานงาน รวมทั้งรับรายงาน เพื่อให้ข้อมูลด้านการปฏิบัติการที่ส�าคัญ, ด้านก�าลังพล และด้านการส่งก�าลังบ�ารุงที่ยังคงเป็นปัจจุบัน ข้อมูลอื่น ๆ ภายในผนวกนี้ (เช่น ข้อมูลการประสานงาน และลักษณะการประเมินสถานที่ เกิดเหตุ) เป็นแหล่งข้อมูลที่ส�าคัญซึ่งได้จากกระบวนการติดต่อประสานงาน หน่วยตอบสนองใช้ขอ้ มูลเหล่านีเ้ พือ่ สนับสนุนการปฏิบตั กิ จิ หลายรายการ กิจ ดังกล่าวอาจรวมไปถึง l รายงานการเตรี ย มการ, การประเมิ น , การวิ เ คราะห์ ความล่อแหลม, และการพยากรณ์อันตราย l เฝ้าติดตามชุดปฏิบต ั กิ ารตอบสนองของหน่วยทหารและ พลเรือน ที่เพิ่มเติมเข้ามาในสถานที่เกิดเหตุ l ด� า รงรั ก ษาข้ อ มู ล ของหน่ ว ยเกี่ ย วกั บ เหตุ ก ารณ์ อ ย่ า ง กว้าง ๆ ซึ่งรวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น, เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย, การสรุปความเสียหาย, สถานภาพลมฟ้าอากาศและการอพยพ, สถานภาพ ของที่หลบภัยและสถานที่ปิด, สถานภาพของทรัพยากร, จ�านวนเตียงใน โรงพยาบาลทีส่ ามารถรองรับผูป้ ว่ ย, สัญญาและข้อตกลง และการจดบันทึก เหตุการณ์ l ด�าเนินการรวบรวม, ด�าเนินกรรมวิธี และแจกจ่ายข้อมูล เกี่ยวกับเหตุการณ์ให้แก่ชุดปฏิบัติการอื่น ๆ 281

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การใช้หน่วย เพื่อ การใช้หน่วยตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพให้มากที่สุด l ด� า เนิ น การวิ เ คราะห์ เชิ ง คาดการณ์ เพื่ อ พิ สู จ น์ ท ราบ ความล่อแหลม ณ สถานที่เกิดเหตุ และให้ค�าแนะน�าผู้บัญชาการเหตุการณ์ ถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น l รับทราบข้อมูลที่จ�าเป็นต่อการวิเคราะห์ตัวอย่าง และ/ หรือการพิสูจน์ทราบสารที่ยังไม่ทราบชนิด l ใช้ ก ารเชื่ อ มโยงการสื่ อ สารกลั บ ไปยั ง เขตภายใน เพื่ อ ติดต่อกับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ก�าหนดไว้แล้วรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขา วิชาชีพเฉพาะ เพื่อขอข้อมูลด้านค�าแนะน�า, ข้อมูลยืนยัน และข้อมูลทาง เทคนิค l ติดตามการด�าเนินการส�ารวจเพื่อให้การประเมินบรรลุ ผลส�าเร็จ ตามความจ�าเป็น l ให้ ค� า แนะน� า เกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารจั ด การกั บ สารเคมี ท าง ทหาร, สารตั้งต้นสารเคมีทางทหาร, สารชีวะที่ทราบประเภทแล้ว, สารชีวะ ที่ยังไม่ทราบประเภท, การสาดกระจายวัสดุรังสี และวัตถุอุตสาหกรรม อันตราย l ให้คา � แนะน�าแก่ผบู้ ญ ั ชาการเหตุการณ์เกีย่ วกับขีดความ สามารถเพิ่มเติมของหน่วย ซึ่งอาจช่วยบรรเทาผลกระทบด้าน คชรน. ใน บริเวณสถานที่เกิดเหตุ l ช่วยเหลือผูบ ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์ในการพัฒนาการร้องขอ รับการสนับสนุนความช่วยเหลือส�าหรับขีดความสามารถในการตอบสนอง เพิม่ เติม, การให้ขอ้ มูลแก่หน่วยทีก่ า� หนดไว้ให้ทา� หน้าทีต่ อบสนอง, และเป็น สะพานเชื่อมช่องว่างการสื่อสารระหว่างหน่วยทหารกับหน่วยงานพลเรือน l

282

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การประสานงาน (Coordination) ค-๑๖ การประสานงานทีบ่ รรลุผลส�าเร็จ ช่วยสนับสนุนความต้องการ ทัง้ ภายนอกและภายใน ความต้องการในการประสานงานภายในโครงสร้างของ หน่วยตอบสนอง อาจช่วยให้ง่ายขึ้นด้วยระเบียบปฏิบัติ, รายการตรวจสอบ (checklist) และบันทึกความเข้าใจทัว่ ไปเกีย่ วกับกรอบการท�างานของระบบที่ บัญชาการเหตุการณ์ ค-๑๗ ความต้องการประสานงานภายนอกก็ใช้ประโยชน์จากระเบียบ ปฏิบตั ,ิ รายการตรวจสอบ และบันทึกความเข้าใจทัว่ ไปเกีย่ วกับกรอบการท�างาน ของระบบที่บัญชาการเหตุการณ์ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าเหตุการณ์การแก้ไข สถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ทุกเหตุการณ์จะมีความแตกต่างกัน กรอบ การท�างานมีระบบการบัญชาการเหตุการณ์เป็นศูนย์กลาง เป็นจุดรวม มาตรการการประสานงาน ส�าหรับหน่วยทหารที่ท�าหน้าที่ตอบสนอง, จุด ประสานงานมักก�าหนดไว้ในค�าสั่งยุทธการของหน่วยเหนือ หากการประสาน ได้รบั อ�านาจโดยเปิดเผยภายในโครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ดูใน รูปที่ ค-๑ ส�าหรับโครงสร้างการจัดระบบทีบ่ ญ ั ชาการเหตุการณ์ และในตาราง ที่ ค-๓ จุดประสานหลักภายนอก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ หน้าที่ภายในของสาขาวัตถุอันตราย, ในส่วนการปฏิบัติการ หมายเหตุ: หน่วยตอบสนองไม่ควรเข้าไปหาข้อมูลเอาเองจากแต่ละส่วนภายใน โครงสร้างของระบบที่บัญชาการเหตุการณ์ แต่ควรใช้จุดรวมการประสานงานหลัก จุ ด รวมการประสานงานหลั ก มั ก เป็ น นายทหารติ ด ต่ อ ภายในระบบที่ บั ญ ชาการ เหตุการณ์, นายทหารติดต่อของส่วนการปฏิบัติการด้านวัตถุอันตราย และ/หรือส่วน วางแผน

283

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การบังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ ประสานงาน

ส่วนปฏิบัติการ

ส่วนแผน

ส่วนส่งก�าลังบ�ารุง

ส่วนธุรการ/ การเงิน

รูปที่ ค-๑ โครงสร้างระบบที่บัญชาการเหตุการณ์

ตารางที่ ค-๓ จุดประสานงานระบบการบัญชาการเหตุการณ์ ส่วนปฏิบัติการ การจัดการ, การประสานงาน และการควบคุมการปฏิบัติการทางเทคนิคทุกกรณีใน สถานที่เกิดเหตุ การจัดการด้านวัตถุอันตราย ด้านความปลอดภัย แผนด้านความปลอดภัยในสถานที่เกิดเหตุ สุขภาพและความปลอดภัย (รวมไปถึงวงรอบการพัก ของชุดปฏิบัติการที่เข้าพื้นที่) ค�าแนะน�าในการป้องกันอันตราย ค�าแนะน�าในการได้รับสารอันตราย/การเฝ้าระวังสาร อันตราย การติดต่อประสานงานด้าน การประสานงานระหว่างสาขาวัตถุอันตรายและหน่วย วัตถุอันตราย บริการเหตุฉุกเฉินและกับหน่วยงานอื่น ๆ

284

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๓ จุดประสานงานระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (ต่อ) ข้อมูลด้านวัตถุอันตราย/ ข้อมูลทางเทคนิค ชุดปฏิบัติการวิจัย ข้อมูลจากการเฝ้าตรวจ รวมทั้งการวิเคราะห์ตัวอย่าง การเลือกและการใช้ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน การคาดการณ์ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ชุดปฏิบัติการที่เข้าไปใน ประสานการเข้าพื้นที่กับชุดท�าลายล้างพิษและชุดสาขา พื้นที่ ด้านการแพทย์ การสั่งให้ปฏิบัติการกู้ชีพภายในเขตอันตราย หากจ�าเป็น ด�าเนินการเชิงรุกและเชิงรับเพื่อบรรเทา/ควบคุมการ ปฏิบัติ ณ สถานที่เกิดเหตุ ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารท� า ลายล้ า ง ให้การท�าลายล้างพิษในระดับที่เหมาะสม พิษ ด�าเนินการตามขั้นตอนการท�าลายล้างพิษตามที่ได้รับข้อ เสนอแนะ (รวมไปถึงความจ�าเป็นในการก�าหนดพื้นที่, วิธีการ, ขั้นตอน, เจ้าหน้าที่ และยุทธภัณฑ์ป้องกันตน ประสานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยที่ผ่านการท�าลายล้างพิษ และ จ�าเป็นต้องได้รับการรักษา ตรวจสอบประสิทธิภาพของการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ ควบคุมก�าลังพลที่ผ่านเข้าและปฏิบัติงานภายในพื้นที่ ปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ ชุดปฏิบัติการทางการ เฝ้าตรวจสอบทางการแพทย์ส�าหรับก�าลังพลก่อนเข้า/หลัง แพทย์ เข้าพื้นที่ ให้การรักษาทางการแพทย์

285

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๓ จุดประสานงานระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (ต่อ) ส่วนวางแผน รวบรวม, ประเมินค่า และแจกจ่ายข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในขณะนั้น และการคาดการณ์สถานการณ์, สถานภาพ ของทรัพยากรในสถานที่เกิดเหตุ และการจัดหาผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ส่วนส่งก�าลังบ�ารุง สนับสนุนความต้องการ รวมทั้งสิ่งอ�านวยความสะดวก, การบริการ และสิ่งอุปกรณ์ ส�าหรับเหตุการณ์ทุก ๆ เหตุการณ์ ส่วนธุรการและการเงิน ด�าเนินการคิดค่าใช้จ่ายและด�าเนินการด้านเงินส�าหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

การประเมินสถานที่เกิดเหตุ (Incident Site Assessment) ค-๑๘ การประเมินสถานที่เกิดเหตุเป็นการท�าให้ผู้บัญชาการ เหตุการณ์ รับรู้สถานการณ์ด้านสภาพแวดล้อมและอันตรายซึ่งมีอยู่ใน สถานที่เกิดเหตุ การรับรู้สถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่องมาจากข้อมูลข่าวสาร ที่ได้รับมาจากการอธิบายถึงลักษณะของสถานที่เกิดเหตุ ข้อมูลที่รวบรวม มาได้ในระหว่างขั้นตอนการอธิบายลักษณะสถานที่เพื่อสนับสนุนความ ต้องการในการตกลงใจ ข้อมูลจากการลาดตระเวนและการเฝ้าตรวจ รวม ทั้งการเก็บตัวอย่าง ได้น�าไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนส�าหรับความพยายาม อธิบายลักษณะและการประเมินผลและยังสนับสนุนขั้นการพิสูจน์ทราบ สาร คชรน. เมื่ออันตรายด้าน คชรน. ได้พิสูจน์ทราบแล้ว การด�าเนินการ ให้ค�าแนะน�าและความช่วยเหลือก็เป็นมาตรการที่ควรให้ความสนใจเพื่อ ช่วยบรรเทาผลอันตรายด้าน คชรน. 286

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การอธิบายลักษณะสถานที่ (Characterization)

ค-๑๙ การอธิบายลักษณะสถานที่เกิดเหตุเริ่มต้นขึ้นเมื่อเหตุการณ์ ได้เป็นที่รับรู้เป็นครั้งแรก ข้อมูลที่รวบรวมมาได้รวมทั้งข้อมูลในอดีตสามารถ ช่วยในการอธิบายลักษณะสถานที่เกิดเหตุได้ การอธิบายลักษณะสถานที่ เกิ ด เหตุ เ ป็ น ขั้ น ตอนการด� า เนิ น งานอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตามสถานการณ์ ที่ มี การเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา ในขณะทีก่ ารปฏิบตั กิ ารยังคงคืบหน้าไปเรือ่ ย ๆ การอธิบายลักษณะแบ่งออกได้ ๒ ประเภท คือการอธิบายลักษณะทั่วไป และการอธิบายลักษณะเชิงเทคนิค ส�าหรับการอธิบายลักษณะแต่ละประเภท มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบดูว่ามีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง หรือมีใครได้รับผลกระทบ จากเหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น , ตรวจสอบว่ า มี อ ะไรที่ เ กิ ด ขึ้ น , เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ไร พื้ น ที่ ที่ ไ ด้ รับ ผลกระทบเกิดที่บริเวณไหน และท� า ไมถึ ง เกิ ดเหตุ ก ารณ์ นั้น ถ้าทราบ การอธิบายลักษณะสถานที่เกิดเหตุยังรวมไปถึงการประเมินผลด้าน อื่น ๆ ดังนี้ l ลักษณะทางกายภาพและอันตรายทีเ่ กิดขึน ้ ในสถานทีเ่ กิดเหตุ l ความต้องการยุทธภัณฑ์ป้องกันตน ส�าหรับก�าลังพลที่ต้อง เข้าไปในเขตเฝ้าระวังและเขตอันตราย l ความต้องการในการท�าลายล้างพิษ l ความต้องการในการจัดการกับการเปื้อนพิษ l การรักษาความปลอดภัยจุดทางเข้าและสถานที่เกิดเหตุ ค-๒๐ ในตารางที่ ค-๔ เป็นตัวอย่างรายการตรวจสอบการอธิบาย ลักษณะสถานที่ ซึ่งมีส่วนช่วยให้หน่วยตอบสนองเหตุได้รับรู้สถานการณ์ที่ จ�าเป็น หน่วยตอบสนองเหตุไม่จ�าเป็นต้องทราบข้อมูลทั้งหมดที่แสดงไว้ใน ตารางที่ ค-๔ ผูบ้ งั คับบัญชาเป็นผูต้ ดั สินใจว่าต้องการข้อมูลอะไรบ้างทีม่ คี วาม ส�าคัญต่อภารกิจ 287

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๔ รายการตรวจสอบการอธิบายลักษณะสถานที่ ประเภทวัตถุ คชรน.

 วัตถุ คชรน. ที่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ  ประเด็นปัญหาจากสภาพความ ไวไฟ  ประเด็นปัญหาจากความไวใน การท�าปฏิกิริยา  คุณสมบัติทางด้านกายภาพ  ระยะกั้นเขต/ระยะอพยพ

 เครื่องแต่งกายป้องกันที่จ�าเป็น  เขตอันตราย (มิติของพื้นที่, การป้องกัน ที่จ�าเป็น)  เขตเฝ้าระวัง (มิติของพื้นที่, การป้องกัน ที่จ�าเป็น)  เมื่อมีการก�าหนดเขตอันตรายและเขต เฝ้าระวัง

สภาพลมฟ้าอากาศ

 ความเร็วลม  ทิศทางลม  อุณหภูมิ

 หยาดน�้าฟ้า  ความชื้น  การพยากรณ์อากาศ การท�าลายล้างพิษ

 ต�าแหน่งที่ด�าเนินการท�าลาย ล้างพิษ  การปฏิบัติ (ท�าลายล้างพิษ ฉุกเฉิน)

 การปฏิบัติ (ท�าลายล้างพิษตามขั้นตอน ทางเทคนิค)  การปฏิบัติ (ท�าลายล้างพิษผู้ป่วย จ�านวนมาก) ผู้ป่วย

 จ�านวน  ประเภท

 ได้รับอันตรายจากสารที่ได้พิสูจน์ ทราบแล้ว การแพร่กระจายสาร คชรน.

 มีการแพร่กระจายหรือไม่  แพร่กระจายสารอะไรออก มาบ้าง  ห้วงระยะเวลาที่เกิดการแพร่ กระจาย

288

 ประมาณการเขตทีม่ กี ารแพร่กระจาย  แพร่กระจายแล้วท�าให้เกิดการเปื้อน พิษหรือไม่  เกิดขึ้นที่ไหน

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๔ รายการตรวจสอบการอธิบายลักษณะสถานที่ (ต่อ) ข้อห่วงใยอื่น ๆ

 เกิดเพลิงไหม้ด้วยหรือไม่  มีขอบเขตจ�ากัดหรือไม่  โอกาสเกิดความเสียหายหรือ เปื้อนพิษมากขึ้น  สิ่งอ�านวยความสะดวกอื่น ๆ ที่มี ความเสี่ยง

 ห้วงเวลาที่คาดว่าจะเกิด เหตุการณ์  น�ามาตรการการอพยพมาใช้  น�ามาตรการเข้าที่หลบภัยใน บริเวณเกิดเหตุมาใช้

ทรัพยากรสนับสนุน

 ทางด้านการแพทย์  การเก็บกู้และท�าลายวัตถุระเบิด  การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค

 ห้องปฏิบัติการ  การส่งกลับตัวอย่างไปยังห้อง ปฏิบัติการ  ทรัพยากรด้าน คชรน. อื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

 ขีดความสามารถร้องขอการ สนับสนุนทางเทคนิคไปยังเขต ภายใน  คู่มือเอกสารที่น�ามาใช้

 ระบบฐานข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์ ที่น�ามาใช้  การสื่อสาร การสื่อสาร

 ความถี่ที่ใช้

 วิธีการสื่อสารที่มีอยู่ ข้อมูลที่ได้จากส่วนลาดตระเวน

 รายการตรวจสอบ  ผังสถานที่เกิดเหตุ  ภาพถ่าย

 ซักถามก�าลังพล  แผ่นบริวารแสดงการเปื้อนพิษ

289

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๔ รายการตรวจสอบการอธิบายลักษณะสถานที่ (ต่อ) การส่งก�าลังบ�ารุง

 สถานที่สนับสนุนการช่วยชีวิต  สนับสนุนการส่งก�าลังและซ่อม บ�ารุง (หน่วยทหาร)

 สนับสนุนการส่งก�าลังและซ่อม บ�ารุง (การสนับสนุนการส่งก�าลัง บ�ารุงของบริษัทตามพันธสัญญา)

การลาดตระเวนและการเฝ้าระวัง (Reconnaissance and Surveillance)

ค-๒๑ การด�าเนินการปฏิบัติการลาดตระเวนและเฝ้าระวังช่วยใน การอธิบายลักษณะสถานที่ การส�ารวจสถานที่เกิดเหตุท�าให้สามารถระบุถึง ต�าแหน่งทีเ่ ปือ้ นพิษ และลักษณะอันตรายทางกายภาพซึง่ อาจเป็นอุปสรรคต่อ การบรรเทาผลอันตรายทีเ่ กิดขึน้ นอกจากนัน้ การลาดตระเวนและการเฝ้าระวัง เป็นการให้ขอ้ มูลแก่ผบู้ ญ ั ชาการเหตุการณ์ และชุดปฏิบตั กิ ารทีจ่ ะเข้าพืน้ ทีเ่ พือ่ จัดล�าดับความเร่งด่วนในความพยายามบรรเทาผลกระทบ การลาดตระเวน และการเฝ้าระวังยังให้ข้อมูลที่อาจเป็นไปได้ในการปฏิบัติการเก็บตัวอย่าง การลาดตระเวนอยูใ่ นระหว่างการปฏิบตั กิ จิ ส�าคัญมากทีส่ ดุ ส�าหรับการจัดการ เหตุการณ์ด้าน คชรน. การลาดตระเวนใช้ข้อมูลสนับสนุนจากหลายแหล่ง (เช่น อุปกรณ์ส่งสัญญาณและการเฝ้าตรวจ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ตรวจหา) การเฝ้าตรวจหรือการเฝ้าระวัง (เกี่ยวกับสารชีวะและทางการแพทย์) ยัง ให้ ข ้ อ มู ล เพื่ อ สนั บ สนุ น ความต้ อ งการในการอธิ บ ายสถานที่ เ กิ ด เหตุ ด ้ ว ย การรวบรวมข้อมูลจากการลาดตระเวนและการเฝ้าระวังบรรลุผลส�าเร็จลงได้ ด้วยการด�าเนินการตามหลักการอย่างต่อเนื่อง ความพยายามในการรวบรวม ข้อมูลจากการลาดตระเวนและการเฝ้าระวังควรแยกการประสานออกจาก ความพยายามในการจัดการกับกากของเสีย 290

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การลาดตระเวน (Reconnaissance) ค-๒๒ มาตรการการลาดตระเวนอาจหมายรวมไปถึ ง การตรวจการณ์ที่อาศัยสัญญาณบ่งชี้ตามที่ตามองเห็นและการใช้เครื่องมือ เฝ้าตรวจ รายละเอียดเกี่ยวกับยุทธวิธี, เทคนิคและระเบียบปฏิบัติด้าน การลาดตระเวน สามารถศึกษาได้จากคู่มือ ATP 3-11.37 Multiservice Tactics, Techniques, and Procedures for Nuclear, Biological, and Chemical Reconnaissance and Surveillance. ค-๒๓ การลาดตระเวนขั้ น ต้ น อาจใช้ สั ญ ญาณบ่ ง ชี้ จ ากการ ตรวจการณ์ต่อไปนี้ เพื่อสนับสนุนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น l ถิน ่ ทีอ่ ยูแ่ ละบริเวณทีต่ งั้ สถานทีเ่ กิดเหตุอาจอยูใ่ นบริเวณ ที่เป็นแหล่งผลิต, เก็บรักษา หรือเส้นทางส�าหรับขนส่งสาร คชรน. l ลั ก ษณะภาชนะ/อุ ป กรณ์ บ รรจุ สิ น ค้ า ขนาด, รู ป ร่ า ง และลักษณะการสร้างอาจเป็นลักษณะบ่งชีเ้ พือ่ ให้จดจ�าถึงโอกาสทีเ่ กีย่ วข้อง กับวัตถุ คชรน. ภาชนะบรรจุ (หรืออุปกรณ์ทใี่ ช้แพร่กระจาย) อาจเป็นภาชนะ บรรจุทที่ า� ขึน้ อย่างง่าย ๆ ด้วยวัสดุทเี่ ป็นพลาสติก หรืออาจเป็นถุงบรรจุขนาด ใหญ่ (ไม่ใช่หบี ห่อขนาดใหญ่) ภาชนะบรรจุแอโรซอล, ตูบ้ รรจุสนิ ค้าขนาดใหญ่ หรือภาชนะบรรจุที่อัดแรงดัน l เครื่ อ งหมายและสี สั ญ ลั ก ษณ์ ภาชนะบรรจุ อ าจมี เครื่องหมายหรือสีที่กา� หนดไว้เป็นการเฉพาะซึ่งบ่งชี้ถึงอันตรายหรือสิ่งของ ที่บรรจุอยู่ภายใน สัญลักษณ์บ่งชี้เหล่านี้อาจรวมไปถึงรหัสสี, หมายเลข ก�ากับเป็นการเฉพาะที่ภาชนะบรรจุ, ป้ายสัญญาณค�าพูด หรือป้ายชื่อสิ่งที่ บรรจุภายในและลักษณะอันตรายที่เกิดขึ้น 291

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

แผ่นป้ายและป้ายสัญลักษณ์ แผ่นป้ายและป้ายสัญลักษณ์ ที่ แ ปะติ ด กั บ ภาชนะบรรจุ สิ่ ง ของ (ภาชนะบรรจุ สิ น ค้ า เพื่ อ การขนส่ ง , แท๊งค์บรรจุของเหลวเพื่อการขนส่ง) ซึ่งท�าหน้าที่เป็นสัญลักษณ์บ่งชี้เพื่อ สนับสนุนการพิสูจน์ทราบเกี่ยวกับอันตรายจาก คชรน. l เอกสารประกอบการขนส่ ง และใบอนุ ญ าตเกี่ ย วกั บ โรงงาน เอกสารประกอบการขนส่งยังให้ขอ้ มูลส�าคัญเกีย่ วกับธรรมชาติของ วัตถุที่ด�าเนินการขนส่ง l ประสาทสัมผัส ประสาทสัมผัสไม่ใช่เครื่องมือหลักที่จะ น�ามาใช้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับกลิ่นของกับสาร รวมทั้ง ลักษณะที่ปรากฏ (สี), อากัปกิริยา และลักษณะอาการที่มีลักษณะเด่นชัดที่ สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ค-๒๔ การเฝ้าตรวจ, การตรวจหา และการเก็บตัวอย่างเป็นเครือ่ งมือ ที่ส�าคัญที่น�ามาใช้เพื่อ .l ตรวจสอบระดับการใช้ยุทธภัณฑ์ป้องกันตนที่เหมาะสม l ตรวจสอบขนาดและต�าแหน่งทีต ่ งั้ ของเขตควบคุมอันตราย l พัฒนาข้อเสนอแนะและแนวทางเกีย ่ วกับการปฏิบตั เิ ชิงป้องกัน l ประเมินผลอันตรายต่อสุขภาพทีม ่ โี อกาสได้รบั สารอันตราย l ตรวจสอบเมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความปลอดภัย และ อนุญาตให้ผู้ที่เคยอยู่อาศัยกลับเข้าสู่ถิ่นที่อยู่เดิม ค-๒๕ เทคนิคการลาดตระเวนทีน่ า� มาใช้ในเขตอันตรายต้องมีการ ประสานกับส่วนปฏิบัติการของที่บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ บูรณาการ, ประสานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในระดับยุทธวิธี l

292

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๒๖ ยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติที่เจาะจงส�าหรับการ ลาดตระเวนทางด้านเคมี ชีวะ และรังสี ได้กล่าวไว้ในคู่มือ ATTP 3-11.37 Multiservice Tactics, Techniques, and Procedures for Nuclear, Biological, and Chemical Reconnaissance and Surveillance และ ขึน้ อยูก่ บั เครือ่ งมือตรวจหาและการเฝ้าตรวจทัง้ ของทางราชการและทีม่ ขี าย ทัว่ ไปและหาได้งา่ ย ค�าแนะน�าการใช้ตามคูม่ อื อาจจ�าเป็นต้องปรับเปลีย่ นบ้าง เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์การปฏิบัติการ ค-๒๗ หน่วยตอบสนอง (ที่มียุทโธปกรณ์เฝ้าตรวจ) ใช้ยุทธศาสตร์ ในการเฝ้าตรวจที่ค�านึงถึงความท้าทายในการปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ l การเลือกเครื่องมือเฝ้าตรวจที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การใช้วตั ถุ คชรน./วัตถุอตุ สาหกรรมอันตราย ทัง้ ทีท่ ราบชนิดและยังไม่ทราบ ชนิด ยุทโธปกรณ์เฝ้าตรวจทีก่ ล่าวถึงนัน้ ควรมีขดี ความสามารถในการตรวจ หาลักษณะของอันตรายที่เกิดขึ้นได้, สามารถวัดปริมาณความเข้มข้นและ สามารถน�าไปใช้ในสภาพแวดล้อมในสนาม ณ บริเวณสถานที่เกิดเหตุได้ l ตรวจสอบสภาพความเป็นอันตรายที่มีอยู่ในบริเวณนั้น แม้เครื่องตรวจจะไม่ส่งสัญญาณบวกจากการมีสาร คชรน. ในบริเวณนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสิ่งเปื้อนพิษอยู่ในบริเวณนั้น ความเข้มข้นของสิ่ง เปื้อนพิษอาจแปรเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากกระแสลม, อุณหภูมิ, ความชื้น หรือสิ่งรบกวนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเฝ้าตรวจได้ ในทางกลับกัน, ชุด ปฏิบัติการเฝ้าตรวจต้องไม่คิดว่ามีอันตรายเพียงอย่างเดียวในบริเวณนั้น l ก�าหนดระดับการปฏิบัติตามผลที่ได้จากการเฝ้าตรวจ

293

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๒๘ การปฏิบัติในการลาดตระเวนอาจมีการเก็บตัวอย่างเพื่อ สนับสนุนกระบวนการตรวจพิสจู น์ทราบ กระบวนการเก็บตัวอย่างทางทหาร ปรากฏอยู่ในคู่มือ ATTP 3-11.37 Multiservice Tactics, Techniques, and Procedures for Nuclear, Biological, and Chemical Reconnaissance and Surveillance. อย่างไรก็ตาม หน่วยทหารที่ท�า หน้าที่ตอบสนองควรคาดการณ์ถึงการใช้เทคนิคการเก็บตัวอย่างในบริเวณ ทีเ่ กิดเหตุ คุณค่าของตัวอย่างจะหมดไปทันทีหากมีการใช้ระเบียบการปฏิบตั ิ ในการเก็บตัวอย่างไม่สอดคล้องต้องกัน

การเฝ้าระวัง (Surveillance) ค-๒๙ การเฝ้าระวังทางการแพทย์และการเฝ้าระวังด้านสารชีวะ มีบทบาทส�าคัญในการสนับสนุนการประเมินสถานที่เกิดเหตุ การประเมิน ภัยคุกคามย่อมมีผลต่อการเลือกใช้ยุทโธปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง และ/ หรือการตรวจหาส�าหรับการเฝ้าระวังด้านชีวะ ส�าหรับ ยุทธวิธี เทคนิค และ ระเบียบปฏิบัติในการเฝ้าระวังด้านชีวะ สามารถศึกษาได้จากคู่มือ ATTP 3-11.37/MCWP 3-37.4/NTTP 3-11.29/AFTTP 3-2.44. ส่วนการเฝ้า ระวังทางการแพทย์ดา� เนินการบนหลักการอย่างต่อเนือ่ ง โดยทีก่ ารเฝ้าระวัง ทางการแพทย์เป็นผลจากการเฝ้าตรวจสถานภาพด้านสุขภาพของชุดปฏิบตั ิ การตอบสนองเพื่อแก้ไขสถานการณ์ (ดูรายละเอียดในคู่มือ FM 4-02.7/ MCRP 4-11.1F/NTTP 4-02.7/AFTTP 3-42.3 วิธปี ฏิบตั เิ กีย่ วกับเวชกรรม ป้องกันของหน่วยทหาร ซึง่ ให้รายละเอียดเกีย่ วกับการประเมินความเสีย่ งต่อ สุขภาพ รวมทัง้ การปฏิบตั กิ ารและการให้คา� แนะน�าภายในระบบทีบ่ ญ ั ชาการ เหตุการณ์) 294

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การพิสูจน์ทราบ (Identification)

ค-๓๐ หน่วยทหารทีใ่ ห้การสนับสนุนในการตอบสนอง ใช้ขดี ความ สามารถด้านยุทโธปกรณ์ในอัตราทีเ่ ป็นของทางราชการและทีจ่ ดั หาเพิม่ เติม เพือ่ พิสจู น์ทราบสาร คชรน. ทีก่ อ่ ให้เกิดการเปือ้ นพิษ ระดับความเชือ่ มัน่ ควร สอดคล้องกับผลการตรวจพิสูจน์ทราบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งก�าเนิดอันตราย ด้วย ตัวอย่างเช่น เครือ่ งมือตรวจหาสารชีวะ (อุปกรณ์เครือ่ งตรวจแบบมือถือ) จะให้ผลการตรวจพิสูจน์ทราบในระดับมีความเป็นไปได้ (presumptive) ซึ่งเป็นการบอกให้ทราบถึงความเชื่อมั่นในระดับที่สูงกว่า กระบวนการ ตรวจพิสจู น์ทราบยังมีการน�ามาใช้เพือ่ ผลการวิเคราะห์และพิสจู น์ทราบสาร ตัวอย่างที่เก็บมาได้ในระหว่างขั้นตอนการลาดตระเวน ค-๓๑ หน่วยทหารที่ท�าหน้าที่ตอบสนองมีขีดความสามารถ แต่ยัง มี ข ้ อ จ� า กั ด โดยให้ ก ารสนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ / หน่ ว ยในบริ เวณที่ เ กิ ด เหตุ ไ ด้ พอสังเขปเท่านั้น ขีดความสามารถในการร้องขอการสนับสนุนทางด้าน เทคนิคกลับไปหน่วยงานระดับชาติอาจน�ามาใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการ ตรวจพิสูจน์ทราบ ค-๓๒ ข้อมูลทีช่ ว่ ยในกระบวนการตรวจพิสจู น์ทราบอาจใช้สนับสนุน เพื่อให้ค�าแนะน�า รวมทั้งพันธกิจให้การช่วยเหลือและการตกลงใจในการ บัญชาการที่เกิดเหตุ การวางแผนท�าให้มั่นใจว่ามีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค และมีหน่วยรองรับพร้อม ตามความจ�าเป็น หากมีการเปื้อนพิษ คชรน. ใน ลักษณะต่าง ๆ ค-๓๓ ตราบเท่าที่จ�าเป็น, หน่วยตอบสนองอาจต้องบรรจุหีบห่อ ตัวอย่างและส่งผ่านไปตามสายการคุม้ ครองวัตถุพยานไปยังหน่วยรับทีเ่ หมาะสม กระบวนการตรวจพิสูจน์ทราบสามารถติดต่อได้โดยตรงกับงานการสนับสนุน ทางทหารอื่น ๆ (คุณลักษณะ, การให้ค�าแนะน�า และการให้ความช่วยเหลือ) และให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพที่ปรากฏออกมาอย่างมีมิติอย่างเต็มที่เพื่อเสนอแก่ ผู้บังคับบัญชา 295

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การให้ค�าแนะน�า (Advice) ค-๓๔ หน่วยตอบสนองอาจจัดก�าลังส่วนเพิ่มเติม (ก�าลังทหารโดย เฉพาะก�าลังกองหนุน อาจได้รบั มอบหมายหน้าทีพ่ เิ ศษในหน่วยทหาร เพือ่ เติม เต็มในต�าแหน่งทีข่ าดแคลนหรือให้มคี วามช�านาญการเป็นพิเศษ) ให้แก่สว่ นแผน และ/หรือส่วนปฏิบัติการของระบบบัญชาการเหตุการณ์ เพื่อให้ค�าแนะน�า ลักษณะเชิงเทคนิคในการตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการปฏิบัติการตอบสนอง, ก�าลังส่วนเพิ่ม เติมอาจให้ขอ้ เสนอแนะถึงมาตรการอืน่ ๆ เช่นขีดความสามารถ (ประเภทของ หน่วย, ยุทโธปกรณ์ และสิง่ อุปกรณ์) ทีต่ ามมาทีหลัง ซึง่ จ�าเป็นต่อการสนับสนุน มาตรการบรรเทาผลกระทบในบริเวณทีเ่ กิดเหตุ ภายหลังเหตุการณ์, ผูบ้ งั คับ บัญชาอาจให้ค�าแนะน�าถึงมาตรการอื่น ๆ เช่น การเตรียมแผนการเพื่อ เปลี่ยนผ่าน ซึ่งแผนนี้จะช่วยสนับสนุนการผละออกจากการปฏิบัติการของ หน่วยทหารเพือ่ ถอนก�าลังกลับสูท่ ตี่ งั้ ปกติ ส�าหรับค�าแนะน�าอืน่ ๆ ทีส่ นับสนุน การปฏิบัติหน้าที่อาจรวมไปถึงการปฏิบัติการร่วมกันหลายงาน เพื่อให้ความ เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและเป็นที่ปรึกษาให้แก่เจ้าหน้าที่ประจ�าท้องถิ่น ก�าลังส่วนเพิ่มเติมอาจให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการด�าเนินการท�าลายล้างพิษ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบจากเหตุการณ์ให้เหลือ น้อยที่สุด

การให้ความช่วยเหลือ (Assistance) ค-๓๕ หน่วยปฏิบัติการตอบสนองให้การสนับสนุนแก่ผู้บัญชาการ เหตุการณ์ ด้วยขีดความสามารถเพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์ การให้ความช่วยเหลือลักษณะนี้อาจเป็นการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตอบสนอง 296

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เหตุฉุกเฉิน เพื่อค้นหาช่องว่างด้านขีดความสามารถและเตรียมการร้องขอรับ ความช่วยเหลือจากกระทรวงกลาโหม ความช่วยเหลือจากหน่วยตอบสนอง เป็นการช่วยให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์เห็นภาพการปฏิบัติการทั่วไป (COP) ในบริเวณที่เกิดเหตุ หน่วยตอบสนองอาจช่วยตรวจสอบวิธีการปรับเปลี่ยน ขีดความสามารถให้เหมาะสมกับความต้องการการปฏิบัติภารกิจครั้งใหม่ เมือ่ มีกจิ ทีไ่ ม่ได้เตรียมการป้องกันไว้ลว่ งหน้าเพิม่ มากขึน้ หน่วยทหารทีท่ า� หน้าที่ ตอบสนองมีขดี ความสามารถทีห่ ลากหลาย และมีความยืดหยุน่ เพือ่ ตอบสนอง ต่อความท้าทายใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี

ความปลอดภัยของสถานที่ (Site Safety) ค-๓๖ หน่ ว ยตอบสนองปรั บ ข้ อ มู ล ที่ น� า เสนอต่ อ ผู ้ บั ญ ชาการ เหตุการณ์ให้เป็นปัจจุบนั อยูเ่ สมอ เครือ่ งมือ (เช่น แผนความปลอดภัยของสถานที)่ ควรปรับให้เป็นปัจจุบันตามวงรอบเพื่อให้มั่นใจว่าเกิดความปลอดภัยต่อเจ้า หน้าที่ตอบสนองและพลเรือน กิจหรืองานด้านความปลอดภัยของสถานที่ ซึ่งเป็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทางทหารที่ให้สนับสนุน มีดังนี้ l การวิเคราะห์อันตรายในบริเวณที่เกิดเหตุ และด�าเนิน การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายเหล่านั้น l ด� า รงรั ก ษาและปรั บ แผนที่ แ ละภาพจ� า ลองสถานที่ ใ ห้ เป็นปัจจุบัน l ปรับเขตควบคุมสถานที่ (เขตอันตราย, เขตเฝ้าระวัง และ เขตปลอดภัย) ให้เป็นปัจจุบัน l เฝ้าตรวจหาอันตรายในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการท�าลาย ล้างพิษ 297

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

มั่นใจว่าผังเครือข่ายการสื่อสารบริเวณสถานที่เกิดเหตุ ยังคงทันสมัยและเป็นปัจจุบัน l ปรับข้อมูลเกีย ่ วกับต�าแหน่งทีต่ งั้ ทีบ่ ญ ั ชาการเหตุการณ์ หรือศูนย์บัญชาการให้ทันสมัย l ด�ารงรักษาและปรับข้อมูลบนแผ่นบริวารเกี่ยวกับการ เฝ้าตรวจและผลจากการเฝ้าตรวจอันตรายให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน l

กรอบการปฏิบัติงานในบริเวณสถานที่เกิดเหตุ (Incident Site Framework) ค-๓๗ จากมุมมองด้านยุทธวิธี กรอบการปฏิบตั งิ านในบริเวณสถานที่ เกิดเหตุอาจจ�าแนก ออกเป็นกลุ่มงานย่อย ซึ่งอาจรวมไปถึง (ไม่จ�ากัดแต่ เฉพาะ) ในเรื่องต่อไปนี้ l รั บ ภาระการบั ญ ชาการและก� า หนดการควบคุ ม ใน บริเวณสถานที่เกิดเหตุ l มั่ น ใจว่ า หน่ ว ยตอบสนองเข้ า ใกล้ แ ละวางต� า แหน่ ง ใน ที่เกิดเหตุด้วยความปลอดภัย l ก� า หนดให้ มี พื้ น ที่ พั ก รอเพื่ อ ควบคุ ม ทรั พ ยากรที่ เ พิ่ ง เคลื่อนที่มาถึง l ก�าหนดเขตควบคุมอันตราย l ประเมินความจ�าเป็นในการปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน (การกู้ ชีพ) และเริม่ ใช้การปฏิบตั เิ พือ่ การป้องกัน (อพยพหรือเข้าทีห่ ลบภัยในบริเวณ ที่เกิดเหตุ) 298

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การบังคับบัญชา (Command) ค-๓๘ การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. จ�าเป็นต้องมีการบังคับบัญชาแบบรวมศูนย์ การบังคับบัญชาแบบรวมศูนย์ โดยที่จะ.มอบหน้าที่ความรับผิดชอบในการบังคับบัญชาให้แก่ บุคคลที่มีคุณสมบัติจ�าเพาะ โดยอาศัยระบบการก�าหนดมาตรฐาน l

มั่นใจว่าได้ก�าหนดการบัญชาการด้วยความเข้มแข็ง, มี การก�ากับการและเห็นเป็นที่ประจักษ์ได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่ท�าได้ l

ก�าหนดกรอบการปฏิบตั ใิ นการจัดการ โดยทีม่ กี รอบของ เป้าหมายและขอบเขตพันธกิจในการปฏิบัติการอย่างชัดเจน l

ค-๓๙ ในฐานะทีเ่ ป็นส่วนหนึง่ ของโครงสร้างการบังคับบัญชาแบบ รวมศูนย์ หน่วยตอบสนองต้องได้รบั การแจ้งให้ทราบถึงโครงสร้างการบังคับ บัญชา และต้องทราบถึงต�าแหน่งที่ตั้งของที่บัญชาการเหตุการณ์ ส�าหรับ ผูบ้ งั คับบัญชาทีม่ ปี ระสบการณ์อาจตัดสินใจเลิกข้อได้เปรียบของทีบ่ ญ ั ชาการ เหตุการณ์ทอี่ ยูป่ ระจ�าทีเ่ มือ่ มีความจ�าเป็นทีผ่ บู้ ญ ั ชาการเหตุการณ์ตอ้ งเข้าไป อยูใ่ นต�าแหน่งเขตหน้าสุด เพือ่ สัง่ การโดยตรงกับผูป้ ฏิบตั กิ ารตอบสนองเหตุ ฉุกเฉิน ในแต่ละกรณี, ผู้บัญชาการเหตุการณ์ยังคงต้องรักษาสถานภาพการ บังคับบัญชาไว้ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องก�าหนดพื้นที่พักรอในบริเวณที่ เข้าถึงได้ง่าย และแจ้งให้ก�าลังพลและยุทโธปกรณ์ที่เพิ่งมาถึงได้ทราบถึง ต�าแหน่งที่ตั้งของพื้นที่พักรอ 299

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเข้าหาและวางต�าแหน่งในที่เกิดเหตุ (Approach and Positioning) ค-๔๐ ผูต้ อบสนองเหตุเคลือ่ นทีเ่ ข้าหาและวางต�าแหน่งในทีเ่ กิดเหตุ โดยให้มรี ะยะปลอดภัย ซึง่ ส�าคัญต่อการจัดการเหตุการณ์ในภาพรวม ตัวอย่าง เช่นหากผูต้ อบสนองเหตุเกิดการเปือ้ นพิษ แผนการปฏิบตั จิ ะเปลีย่ นจากการ ป้องกันต่อสาธารณะไปเป็นการกูช้ พี และท�าลายล้างพิษผูต้ อบสนองเหตุแทน ค-๔๑ หากเป็นไปได้ ให้ผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉินเคลื่อนที่เข้าหา ที่เกิดเหตุในทิศทางลงจากเนินในทิศทางเหนือลม ผู้ตอบสนองเหตุควรมอง หาสิง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดการเปือ้ นพิษในทางกายภาพ หลีกเลีย่ งพืน้ ทีเ่ ปียก, บริเวณ กลุม่ หมอกไอและบริเวณทีม่ วี สั ดุตกหล่น สภาพแวดล้อมในบริเวณทีเ่ กิดเหตุ อาจเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องไม่อนุญาต ให้เข้าไปวางต�าแหน่งในบริเวณใกล้กับที่เกิดเหตุจนกว่าจะได้ด�าเนินการ ประเมินให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์และเหมาะสม

พื้นที่พักรอ (Staging Area) ค-๔๒ พื้นที่พักรอเป็นบริเวณที่ก�าหนดขึ้นเพื่อให้ทรัพยากร (ก�าลัง พลและยุทโธปกรณ์) ส�าหรับตอบสนองเหตุฉุกเฉินเข้าไปพักรอจนกว่าจะถูก เรียกใช้ในเขตอันตราย การพักรอเป็นหน้าที่ของส่วนปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ ประจ�าพื้นที่พักรอต้องรับผิดชอบต่อทุกหน่วยตอบสนองเหตุฉุกเฉินที่เพิ่ง เคลื่อนที่มาถึง การจ่ายงานส�าหรับทรัพยากรเพื่อตอบสนองเหตุฉุกเฉินเป็น ไปตามการร้องขอของผู้บัญชาการเหตุการณ์ และหากจ�าเป็นอาจร้องขอ ทรัพยากรตอบสนองเหตุฉุกเฉินเพิ่มเติม 300

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๔๓ พืน้ ทีพ่ กั รอในเชิงอุดมคติควรเป็นบริเวณทีอ่ ยูใ่ กล้มากพอกับ ทีเ่ กิดเหตุ เพือ่ ลดระยะเวลาการตอบสนองเหตุลงอย่างมีนยั ส�าคัญ และยังไกล มากพอเพื่อให้หน่วยที่มีความคล่องแคล่วสูงสามารถเข้าตอบสนองเหตุด้วย ความรวดเร็ว การพักรอที่มีประสิทธิภาพเมื่อผู้บัญชาการเหตุการณ์ตีความ ว่าต้องการทรัพยากรตอบสนองเหตุฉุกเฉินเพิ่มเติม และสั่งให้ชุดปฏิบัติการ ตอบสนองเข้าไปยังพื้นที่ที่ก�าหนดไว้ขั้นต้นภายในเวลา ๓ นาที จากที่เริ่มเกิด เหตุการณ์ ค-๔๔ พื้นที่พักรอควรมีการระบุด้วยสัญลักษณ์, ธงรหัสสีหรือ แสง หรือวิธีการอื่นใดที่เหมาะสม เพื่อสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ต�าแหน่งทีแ่ น่นอนของพืน้ ทีพ่ กั รอขึน้ อยูก่ บั สภาพของลมทีพ่ ดั อยูใ่ นขณะนัน้ รวมทั้งธรรมชาติของเหตุฉุกเฉินด้วย ค-๔๕ ส�าหรับเหตุการณ์ คชรน. ขนาดใหญ่ อาจต้องน�าเอา ทรัพยากรจ�านวนมากเข้าไปในบริเวณทีเ่ กิดเหตุ ซึง่ อาจมีความจ�าเป็นต้องใช้ ทรัพยากรเหล่านั้นในแต่ละห้วงเวลาที่แตกต่างกันตลอดห้วงเวลาที่เกิดเหตุ ฉุกเฉิน หากทรัพยากรไม่มคี วามจ�าเป็นในบางห้วงเวลาผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์ อาจก�าหนดให้อยู่ในพื้นที่พักรอหลักและพื้นที่พักรอส�ารองก็ได้

การกั้นเขตและปิดล้อมที่เกิดเหตุ (Isolation and Perimeter) ค-๔๖ การกั้นเขตพื้นที่อันตรายและการก�าหนดการปิดล้อมเป็น ข้อพิจารณาทางยุทธวิธีล�าดับแรก ๒ เรื่อง ที่ต้องปฏิบัติส�าหรับการปฏิบัติ การแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. 301

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๔๗ เป้าหมายแรกส�าหรับการกัน้ เขตภายหลังจากทีม่ กี ารกูช้ พี แล้ว คือการจ�ากัดจ�านวนพลเรือนและเจ้าหน้าทีต่ อบสนองเหตุไม่ให้ได้รบั อันตราย จากสาร คชรน. ทีเ่ กิดขึน้ อย่างทันทีทนั ใด ด้วยวิธนี จี้ ะเริม่ จากการตรวจพิสจู น์ ทราบและก�าหนดการกัน้ เขต เมือ่ ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ทอี่ ยูภ่ ายใน สิง่ ปลูก สร้างบริเวณกัน้ เขตทีด่ ที สี่ ดุ คือตรงประตูใหญ่ทเี่ ป็นทางเข้าสูอ่ าคาร เมือ่ มีการรักษา ความปลอดภัยทีป่ ระตูทางเข้าแล้วจะปฏิเสธไม่ให้กา� ลังพลทีไ่ ม่ได้รบั อนุญาต ผ่านเข้าไป ชุดปฏิบตั กิ ารตอบสนองอาจเริม่ กัน้ เขตด้านเหนือหรือด้านใต้ของ แหล่งอันตรายก็ได้ และสวมใส่เครื่องแต่งกายป้องกันและใช้ยุทธภัณฑ์ ป้องกันที่เหมาะสม ค-๔๘ ประยุกต์ใช้แนวความคิดลักษณะนี้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภายนอกอาคาร อันดับแรกต้องกัน้ เขตตรงบริเวณจุดทางเข้าแล้วกัน้ เขตและ ปิดล้อมรอบแหล่งอันตราย เริม่ ควบคุมตรงบริเวณสีแ่ ยก, ทางเบีย่ งเข้า/ออก ถนน, ทางคูข่ นานกับเส้นทางหลัก หรือเส้นทางอืน่ ๆ ทีม่ งุ่ ไปยังทีเ่ กิดเหตุ ณ จุดนี้ ชุดปฏิบัติการลาดตระเวนอาจเริ่มการประเมินลักษณะอันตราย ค-๔๙ ผู ้ บั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ ค วรมอบหมายให้ มี ก ารกั้ น เขต และปิ ด ล้ อ มที่ เ กิ ด เหตุ โ ดยเร็ ว ที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะท� า ได้ ก� า ลั ง พลฝ่ า ยรั ก ษา ความปลอดภัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปิดล้อมที่เกิดเหตุซึ่งต้องทราบ ถึงลักษณะของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและความเสี่ยงที่จะปรากฏขึ้น หาก มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับสารอันตรายตามการ ปิดล้อมพื้นที่ที่ขยายเขตมากขึ้น เจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องได้รับยุทโธปกรณ์ ด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม และทราบถึงทิศทางเป็นการเฉพาะในกรณี ที่ต้องเคลื่อนย้าย 302

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การปฏิบัติเชิงป้องกัน (Protective Actions) ค-๕๐ การปฏิบตั เิ ชิงป้องกันในขัน้ ต้น (การเข้าทีห่ ลบภัยในทีเ่ กิดเหตุ, การเคลื่อนย้าย) เป็นกลยุทธ์ทางยุทธวิธีของผู้บัญชาการเหตุการณ์เพื่อ ปกป้องประชาชนทั่วไปจากวัสดุ คชรน. กลยุทธ์ทางยุทธวิธีนี้ได้ถูกน�ามา ใช้หลังจากที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้ด�าเนินการปิดล้อมที่เกิดเหตุ และได้ ก�าหนดเขตควบคุมอันตรายส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว ค-๕๑ การแสวงข้อตกลงใจได้ใช้การผสมผสานจากปัจจัยต่าง ๆ เพือ่ ตรวจสอบการปฏิบตั เิ ชิงป้องกัน รวมไปถึงขนาดและธรรมชาติของการแพร่ กระจาย, ลักษณะทีเ่ กีย่ วข้องกับวัตถุอนั ตราย, สภาพอากาศ, ประเภทของ สิ่ ง ปลู ก สร้ า ง และสภาพโครงสร้ า งที่ มี ผ ลต่ อ การไหลเวี ย นของอากาศ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค�าแนะน�าในการอพยพและการเข้าที่หลบภัย ในทีเ่ กิดเหตุจากคูม่ อื FM 3-11.4/MCWP 3-37.2/NTTP 3-11.27/AFTTP (I) 3-2.46 and TM 3-11.42/MCWP 3-38.1/NTTP 3-11.36/AFTTP 3-2.83)

เขตควบคุมอันตราย (Hazard Control Zones) ค-๕๒ เมือ่ มีการรักษาความปลอดภัยแนวปิดล้อมทีเ่ กิดเหตุในขัน้ ต้นแล้ว ผูบ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์อาจก�าหนดเขตควบคุมอันตราย ผูบ้ ญ ั ชาการ เหตุการณ์ได้แบ่งพืน้ ทีอ่ อกเป็น ๓ เขต ทีแ่ ตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยทีเ่ ริม่ จาก บริเวณทีเ่ กิดเหตุและด�าเนินการในทิศทางออกไปยังขอบเขตทีป่ ดิ ล้อมพืน้ ที่ เขต ควบคุมอันตรายก�าหนดจากเขตทีม่ อี นั ตรายมากทีส่ ดุ ไปหาเขตทีม่ อี นั ตรายน้อย ทีส่ ดุ แบ่งออกเป็นเขตอันตราย (hot zone), เขตเฝ้าระวัง (warm zone) และ เขตปลอดภัย (cold zone) 303

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๕๓ เป้าประสงค์หลักในการก�าหนดเขตควบคุมอันตรายภายใน พืน้ ทีท่ ถี่ กู ปิดล้อม คือก�าหนดระดับการควบคุมไว้สงู สุด และเป็นการรับผิดชอบ ต่อก�าลังพลผูต้ อบสนองเหตุทปี่ ฏิบตั งิ านในทีเ่ กิดเหตุ การก�าหนดเขตเพือ่ ให้ มัน่ ใจว่าผูต้ อบสนองเหตุจะไม่ขา้ มไปสูพ่ นื้ ทีเ่ ปือ้ นพิษโดยไม่ตงั้ ใจ หรือพาตนเอง ไปอยูใ่ นบริเวณทีม่ ภี ยั คุกคามทีเ่ กิดขึน้ ทันทีทนั ใดจากการระเบิด หรือการเคลือ่ น ย้ายไปสูบ่ ริเวณทีม่ กี ลุม่ หมอกไอ ค-๕๔ ตามกฎแล้ว ทีบ่ ญ ั ชาการเหตุการณ์ภาคสนามและก�าลังพล ส่วนสนับสนุนมักอยูใ่ นบริเวณเขตปลอดภัย ก�าลังพลทีป่ ฏิบตั กิ ารฉุกเฉินเพือ่ สนับสนุนชุดปฏิบตั กิ ารด้านวัตถุ คชรน. อันตราย มักมีทตี่ งั้ อยูใ่ นเขตปลอดภัย และเขตเฝ้าระวัง ชุดปฏิบตั กิ ารทีเ่ ข้าไปในทีเ่ กิดเหตุจะเข้าไปอยูใ่ นเขตอันตราย เท่าทีจ่ า� เป็น ค-๕๕ เขตควบคุมอันตรายควรมีการท�าเครือ่ งหมายในเชิงกายภาพ และแสดงอยู่ในผังการควบคุมบังคับบัญชาของผู้บัญชาการเหตุการณ์ เขต อันตรายอาจแสดงด้วยการใช้แถบรหัสสีที่เด่นชัด หรือใช้กรวยจราจรหรือ แท่งเปล่งแสงสว่าง ส�าหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนอกอาคาร เขตควบคุม อันตรายอาจก�าหนดขึ้นโดยใช้จุดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ที่ส�าคัญ (ก�าแพงขวาง กั้นรถถัง, แนวรั้ว, ชื่อถนน) พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ควรมีการสื่อสารกันได้ด้วย การใช้เสียงผ่านทางวิทยุสอื่ สาร หรือมีการแถลงสรุปด้วยวาจาระหว่างผูบ้ ญั ชาการ เหตุการณ์กบั เจ้าหน้าทีข่ องส่วนต่าง ๆ หากอันตรายเกิดขึน้ ภายในขอบเขตของ อาคาร เขตควบคุมอันตรายอาจก�าหนดขึ้นภายในอาคารนั้นก็ได้

304

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เขตอันตราย (Hot Zone) ค-๕๖ เขตอันตรายเป็นเขตทีย่ งั มีอนั ตรายทีอ่ าจก่อให้เกิดผลกระทบ อย่างรุนแรงต่อก�าลังพลทีไ่ ม่มรี ะดับการป้องกันตนทีเ่ หมาะสม ก�าลังพลเหล่านัน้ ควรรีบเคลือ่ นทีอ่ อกหรือเข้าทีห่ ลบภัยในทีเ่ กิดเหตุอย่างเร่งด่วนทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั สถานการณ์ ระยะการกั้นเขตขั้นต้นสามารถค้นหาได้จากคู่มือ Emergency Response Guidebook (คูม่ อื ระงับภัยเบือ้ งต้น) ซึง่ เป็นระยะทางในขัน้ ต้นทีป่ ดิ กั้นที่เกิดเหตุเพื่อควบคุมอันตรายและปกป้องก�าลังพล ขนาดของการปิดล้อม ทีเ่ กิดเหตุขนั้ ต้นมักขึน้ อยูก่ บั ลักษณะของอันตราย, สภาพอากาศ และผลกระทบ จากพื้นที่ เขตที่เริ่มปฏิบัติในเชิงป้องกันก็สามารถหาได้จากคู่มือ Emergency Response Guidebook ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจมีอันตรายในทิศทาง ใต้ลม ทั้งนี้ก็ข้ึนอยู่กับกับสภาพอากาศและภูมิประเทศในบริเวณที่เกิดเหตุ การปิดล้อมทีเ่ กิดเหตุขนั้ ต้นและเขตทีเ่ ริม่ ปฏิบตั ใิ นเชิงป้องกันได้รวมอยูใ่ นเขต อันตราย ซึง่ เป็นเขตกันชนเพิม่ เติมเพือ่ กัน้ อันตรายทีอ่ าจเกิดขึน้ ก่อนทีจ่ ะผ่าน เข้าไปยังเขตเฝ้าระวัง

เขตเฝ้าระวัง (Warm Zone) ค-๕๗ เขตเฝ้าระวัง (บางครัง้ อาจหมายถึงเขตท�าลายล้างพิษ) เป็นพืน้ ที่ ทีอ่ ยูล่ อ้ มรอบเขตอันตราย การลดการเปือ้ นพิษและการปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษ มักด�าเนินการในเขตนี้ เพือ่ จ�ากัดการแพร่กระจายของการเปือ้ นพิษไม่ให้เข้าไปสู่ เขตปลอดภัย (ดูในผนวก ง เป็นรายละเอียดเกีย่ วกับเขตเฝ้าระวัง)

305

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เขตปลอดภัย (Cold Zone) ค-๕๘ เขตปลอดภัย (ยังอาจหมายถึงเขตสนับสนุนด้วย) เป็นพื้นที่ ทีอ่ ยูล่ อ้ มรอบเขตเฝ้าระวังและเขตอันตราย ซึง่ เป็นบริเวณทีม่ กี ารประสานการ ปฏิบตั เิ พือ่ การสนับสนุนเหตุการณ์ ก�าลังพลทีอ่ ยูใ่ นเขตปลอดภัยไม่จา� เป็นต้อง สวมใส่ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน แต่ก็ต้องมีเครื่องยุทธภัณฑ์ป้องกันตนไว้กับตัวใน กรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างทันทีทันใด

ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ (Decontamination Corridor) ค-๕๙ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษถูกจัดตัง้ ขึน้ ในเขตเฝ้าระวัง เพือ่ ให้การสนับสนุนการท�าลายล้างพิษและควบคุมการแพร่กระจายของการเปือ้ นพิษ อาจจัดตั้งช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษในบริเวณที่เกิดเหตุขึ้นหลายเส้น ทางก็ได้ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษได้จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ท่ีไม่เปื้อนพิษแต่ อยู่นอกเขตซึ่งติดต่อกับเขตอันตรายที่เปื้อนพิษ เมื่อก�าลังพลที่เปื้อนพิษผ่าน ได้โดยด�าเนินตามกระบวนการผ่านช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ การผ่าน เข้าสู่ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษต้องถูกควบคุม เพื่อกีดกันก�าลังพลที่ไม่มี การป้องกันผ่านเข้าไปได้ (ศึกษารายละเอียดเพิม่ เติมได้ในบทที่ ๕ และ ผนวก ง)

การสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support) ค-๖๐ การให้การสนับสนุนบริการสุขภาพในระหว่างขั้นการตอบ สนองการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ได้รวมขอบเขต งานไว้ในหลาย ๆ ส่วนรายการตรวจสอบทีไ่ ด้แสดงไว้ในตารางที่ ค-๕ เป็นการ ให้ข้อมูลเพื่อช่วยในการปฏิบัติการตอบสนองการสนับสนุนบริการสุขภาพ

306

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๕ รายการตรวจสอบเพื่อการปฏิบัติการสนับสนุนบริการ สุขภาพ การสนับสนุนทางการแพทย์  จัดให้มีการสนับสนุนทางการแพทย์ส�าหรับประชาชนที่มีข้อจ�ากัดในการเคลื่อน ย้ายหรือรับประกันเพื่อทรงสภาพ  จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ตามความจ�าเป็น  จัดให้มีการจัดการความเครียด ตามความจ�าเป็น  จัดให้มีการสนับสนุนด้านเวชกรรมป้องกัน ตามความต้องการ การบริการห้องปฏิบัติการ  ให้การยืนยันผลการตรวจพิสูจน์ทราบสารตัวอย่าง  ให้การตรวจพิสูจน์ทราบสารตัวอย่างในระดับยืนยันถูกต้องแน่นอน การร้องขอรับการสนับสนุนทางการแพทย์กลับไปยังเขตภายใน  จัดตั้งเครือข่ายการสื่อสารกลับไปยังเขตภายในกับกองบัญชาการทหารเหล่า แพทย์, สถาบันวิจัยแพทย์ทหารส�าหรับการป้องกันอาวุธเคมี, สถาบันวิจัยแพทย์ ทหารกองทัพบกส�าหรับโรคติดเชื้อ, สถาบันวิจัยทางด้านรังสีทางทหาร, ศูนย์ ควบคุมและป้องกันโรค และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและเวชกรรมป้องกันของ กองทัพบก เพื่อขอความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค หากจ�าเป็น  สั่งให้ชุดปฏิบัติการตอบสนองที่มีความช�านาญทางการแพทย์เข้าประจ�าการ  ใช้ข้อมูลการเฝ้าระวังทางการแพทย์จากพื้นที่เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และ วางแผนส�าหรับประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ด้าน คชรน.

307

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๕ รายการตรวจสอบเพื่อการปฏิบัติการสนับสนุนบริการ สุขภาพ (ต่อ) การควบคุมบังคับบัญชา  จัดการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยหรือเจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุทางการแพทย์  จัดค�าแนะน�าในการสื่อสารให้แก่หน่วยหรือเจ้าหน้าที่ตอบสนองทางการแพทย์  จัดให้มีการสมทบหน่วยหรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ไปยังพื้นที่ตอบสนองที่ได้ ก�าหนดไว้  ประสานการปฏิบัติการตอบสนองของกระทรวงกลาโหมกับที่บัญชาการ เหตุการณ์ และกับหน่วยงานตอบสนองเหตุในระดับท้องถิ่น, ระดับรัฐ, ระดับ ชาติ และหน่วยงานของชาติเจ้าบ้าน  จัดให้มีที่ตั้งส�าหรับการรักษาพยาบาลส�ารอง ตามความจ�าเป็น การบริการทางด้านเวชกรรมป้องกัน  ด�าเนินการประเมินความล่อแหลมด้านอันตรายต่อสุขภาพ และปรับผลการ ประเมินให้ทันสมัยทุกวันหรือบ่อย ๆ ตามความต้องการ เพื่อรักษาสถานภาพ การประเมินความล่อแหลมในขณะนั้น  ด�าเนินการเฝ้าระวังทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง รายงานข้อมูลการเฝ้าระวัง ทางการแพทย์หากมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป  ด�าเนินการเฝ้าตรวจหาอันตรายส�าหรับหน่วย, เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ถูก จ�ากัดในการเคลื่อนย้าย หรือมีการรับประกันเพื่อทรงสภาพ  ด�ารงการปฏิบัติการเฝ้าระวังด้านอาชีวอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน  เฝ้าตรวจหาอันตรายตามแหล่งน�้าใช้ ด�าเนินการเก็บตัวอย่างน�้า ตามความ จ�าเป็น  เฝ้าตรวจหาอันตรายในการประกอบอาหาร ให้ข้อเสนอแนะ ตามความจ�าเป็น  เฝ้าตรวจหาอันตรายในการปฏิบัติการเข้าที่หลบภัยในที่เกิดเหตุ  ให้ข้อเสนอแนะส�าหรับการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ

308

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๕ รายการตรวจสอบเพื่อการปฏิบัติการสนับสนุนบริการ สุขภาพ (ต่อ) การบริการด้านสัตวแพทย์  เฝ้าตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อรักษามาตรฐานอาหารปลอดภัย  ให้ค�าแนะน�าเกี่ยวกับการจัดการการส่งก�าลังผลิตภัณฑ์อาหาร  ให้ค�าแนะน�าเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายรายการอาหารที่ไม่ปลอดภัย  ให้การดูแลรักษาสัตว์ส�าหรับสัตว์ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ  ให้การดูแลรักษาและจัดการสัตว์ภายในประเทศ  ให้การดูแลรักษาสัตว์ส�าหรับสัตว์ที่อยู่ภายในประเทศเท่าที่มีขีดความสามารถ  ให้ค�าแนะน�าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารภายในประเทศรวมทั้งการส่งก�าลังอาหาร การควบคุมความเครียดจากการปฏิบัติการรบ/สุขภาพเชิงพฤติกรรม  ด�าเนินการสนับสนุนการจัดการความเครียดส�าหรับชุดปฏิบัติการตอบสนอง  ให้ค�าแนะน�าในการจัดการความเครียดส�าหรับประชาชนในท้องถิ่น  ด�าเนินการสนับสนุนการจัดการความเครียดส�าหรับประชาชนในท้องถิ่นด้วยขีด ความสามารถของเจ้าหน้าที่ การส่งก�าลังบ�ารุงด้านการบริการสุขภาพ  ให้การสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ให้แก่หน่วยและเจ้าหน้าที่ตอบสนอง  รักษาความสัมพันธ์กับผู้ค้ารายใหญ่เพื่อให้มั่นใจว่าเวชภัณฑ์ที่จ�าเป็นได้ถูกจัดส่ง ได้ทันเวลาในลักษณะที่ยังคงรักษาปริมาณเวชภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการ  ให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมส�าหรับยุทโธปกรณ์สายแพทย์  ให้ความช่วยเหลือหน่วยและเจ้าหน้าที่ตอบสนองในการก�าหนดยุทโธปกรณ์และ สิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ทดแทน ตามความจ�าเป็น

309

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๕ รายการตรวจสอบเพื่อการปฏิบัติการสนับสนุนบริการ สุขภาพ (ต่อ) ผู้ตอบสนองเหตุเป็นรายแรก  มั่นใจว่ามีการประยุกต์ใช้มาตรการป้องกันเป็นบุคคลในบริเวณที่เกิดเหตุ  จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน  ช่วยในการปฏิบัติการกู้ชีพผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ  ร้องขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ ตามความจ�าเป็น อธิบายศัพท์ C2 command and control (การควบคุมบังคับบัญชา) CBRN chemical, biological, radiological, and nuclear (เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์) EMT emergency medical treatment (การบริการทางการแพทย์ ฉุกเฉิน) PVNTMED preventive medicine (เวชกรรมป้องกัน)

การบริการห้องปฏิบัติการ (Laboratory Services) ค-๖๑ การบริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มักจัดตั้งในหน่วย ระดับยุทธการ (เช่น ห้องปฏิบตั กิ ารทางการแพทย์กองทัพภาคของกองทัพบก สหรั ฐ อเมริ ก า; ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารและหน่ ว ยเวชกรรมป้ อ งกั น ในกองก� า ลั ง ส่วนหน้าของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา; ชุดปฏิบัติการระเบิดวิทยาในระดับ ยุทธบริเวณของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา; หรือห้องปฏิบัติการในระดับ ท้องถิน่ , ระดับรัฐ, ระดับชาติ และห้องปฏิบตั กิ ารของชาติเจ้าบ้าน) การบริการ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารที่ อ ยู ่ ภ ายในที่ รั ก ษาพยาบาลสามารถให้ ก ารตรวจพิ สู จ น์ ทราบได้อย่างจ�ากัดด้านสารที่ต้องสงสัย ซึ่งมาจากตัวอย่างที่เก็บได้จาก ผูป้ ว่ ยทีเ่ ข้ารับการรักษา นอกจากนัน้ ยังไม่มเี จ้าหน้าทีแ่ ละอุปกรณ์ทเี่ หมาะสม เพือ่ ด�าเนินการตรวจวิเคราะห์ตวั อย่างทีเ่ ก็บจากบริเวณรอบนอกทีร่ กั ษาพยาบาล 310

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ค-๖๒ การอธิบายถึงลักษณะระดับห้องปฏิบตั กิ าร อาจก�าหนดด้วย ขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการที่ให้การสนับสนุน หน่วยห้องปฏิบัติการ ระดับยุทธการทางการแพทย์ของกระทรวงกลาโหม สามารถให้การตรวจพิสจู น์ ทราบระดับยืนยันในสนามส�าหรับสารที่ต้องสงสัย สถาบันวิจัยแพทย์ทหาร กองทัพบกส�าหรับโรคติดเชือ้ , ศูนย์วจิ ยั แพทย์ทหารกองทัพเรือ และศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค จะให้การตรวจพิสูจน์ทราบในระดับยืนยันความถูกต้อง ส�าหรับเชือ้ สารชีวะทีต่ อ้ งสงสัย ห้องปฏิบตั กิ ารทีใ่ ห้การสนับสนุนต้องประสาน กับห้องปฏิบตั กิ ารในระดับท้องถิน่ , ระดับรัฐ, ระดับชาติ และกับห้องปฏิบตั กิ าร ของชาติเจ้าบ้าน เพือ่ ให้มน่ั ใจว่าข้อมูลเกีย่ วกับตัวอย่างได้จดั ส่งไปยังหน่วยงาน ทีร่ บั ผิดชอบอย่างเหมาะสม ค-๖๓ ห้องปฏิบัติการของประเทศและของประเทศเจ้าบ้าน อาจมี ขีดความสามารถในการตรวจพิสูจน์ทราบสารชีวะที่ต้องสงสัยในระดับยืนยัน ความถูกต้อง อย่างไรก็ตามอาจต้องมีการประสานงานกับห้องปฏิบตั กิ ารเหล่านี้ เพือ่ ตรวจสอบขีดความสามารถของห้องปฏิบตั กิ ารดังกล่าวด้วย ค-๖๔ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคจัดตั้งเครือข่ายห้องปฏิบัติการ ตอบสนองเหตุ ซึ่งสามารถตอบสนองเหตุการก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวะ, การก่อการร้ายด้วยอาวุธเคมี และเหตุฉกุ เฉินต่อสุขภาพของสาธารณชนอืน่ ๆ เครือข่ายห้องปฏิบัติการตอบสนองเหตุเป็นเครือข่ายสาธารณสุขระดับชาติที่ เชือ่ มโยงกับหน่วยงานในระดับท้องถิน่ , ระดับรัฐ และในระดับชาติ; เป็นเครือข่าย การตรวจสอบอาหาร; การวินิจฉัยโรคในสัตว์; เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม; เครือข่ายของกระทรวงกลาโหม และเครือข่ายห้องปฏิบัติการนานาชาติ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานส�าหรับห้องปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการ 311

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตอบสนองเหตุจากลัทธิกอ่ การร้ายด้วยอาวุธเคมีและอาวุธชีวะ รวมทัง้ เหตุฉกุ เฉิน ด้านสุขภาพของสาธารณชน ห้องปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเป็นเครือข่ายในการ ตอบสนองมั ก รวมเข้ า กั บ หน่ ว ยงานในระดั บ ชาติ , ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารของ กระทรวงกลาโหม, หุ้นส่วนในระดับนานาชาติ และกระทรวงสาธารณสุขใน ระดับท้องถิ่น/ระดับรัฐ (ดูในตารางที่ ค-๖ ส�าหรับรายละเอียดเกี่ยวกับระดับ เครือข่ายห้องปฏิบัติการตอบสนองและขีดความสามารถ) ค-๖๕ ห้องปฏิบัติการระดับชาติอาจรวมไปถึงศูนย์ควบคุมและ ป้องกันโรค, สถาบันวิจัยแพทย์ทหารกองทัพบกส�าหรับโรคติดเชื้อ และ ศูนย์วจิ ยั แพทย์ทหารกองทัพเรือ รับผิดชอบในการจ�าแนกคุณลักษณะสายพันธุ์ ของเชื้อจุลินทรีย์, นิติวิทยาศาสตร์ด้านชีวภาพ, คัดเลือกเชื้อที่ยังออกฤทธิ์ และจัดการกับสารชีวะที่ก่อให้เกิดอัตราการติดเชื้อสูง และให้การยืนยันถึง คุณลักษณะของสาร คชรน. ค-๖๖ ห้องปฏิบัติการอ้างอิงรับผิดชอบในการสอบสวนและ/หรือ อ้างอิงส�าหรับตัวอย่างที่ส่งตรวจ ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ประกอบด้วยห้อง ปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุข, ห้องปฏิบัติการของกองทัพ, ห้องปฏิบัติ การนานาชาติ, ห้องปฏิบัติการด้านสัตวแพทย์, ห้องปฏิบัติการเกษตรกรรม และอาหาร และห้องปฏิบัติการทดสอบน�้า ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ให้การ ยืนยันถึงคุณลักษณะของสาร คชรน. ค-๖๗ ห้องปฏิบตั กิ ารเฝ้าระวังมีบทบาททีส่ า� คัญในการตรวจหาสารชีวะ ได้แต่เนิ่น ๆ ห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังให้บริการตรวจวินิจฉัยเป็นประจ�า และ ก�าหนดข้อบังคับรวมทั้งก�าหนดขั้นตอนตามกระบวนการตรวจพิสูจน์ทราบ ตามล�าดับ ในขณะที่ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ไม่ได้มีเครื่องมือ และการด�าเนิน การในลั ก ษณะเช่ นเดียวกับห้องปฏิบัติก ารอ้างอิ ง แต่ ก็ ส ามารถทดสอบ ตัวอย่างและให้การยืนยันถึงคุณลักษณะของสาร คชรน. ได้ 312

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๖ เครือข่ายห้องปฏิบัติการตอบสนอง ห้องปฏิบัติ นิยาม (ข้อก�าหนด) การ ห้องปฏิบัติ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ, รวมไปถึงห้องปฏิบัติการที่ด�าเนิน การแห่งชาติ การโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค, สถาบันวิจัยทางการ แพทย์ด้านโรคติดเชื้อของกองทัพบก, ศูนย์วิจัยทางการ แพทย์กองทัพเรือ ซึ่งรับผิดชอบในการพิสูจน์ทราบ ลักษณะของสายพันธุ์เชื้อที่ก่อให้เกิดโรค, นิติวิทยาศาสตร์ ด้านชีวะ, การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเชื้อที่เลือกศึกษา และ การจัดการเกี่ยวกับสารชีวะที่มีอัตราการติดเชื้อได้ง่าย ห้องปฏิบัติ ห้องปฏิบัติการอ้างอิงรับผิดชอบในการสอบสวนและ/หรือ การอ้างอิง อ้างอิงส�าหรับตัวอย่างที่ส่งตรวจ ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุข, ห้องปฏิบัติการของกองทัพ, ห้องปฏิบัติการนานาชาติ, ห้องปฏิบัติการด้านสัตวแพทย์, ห้องปฏิบัติการเกษตร กรรมและอาหาร และห้องปฏิบัติการทดสอบน�้า ห้องปฏิบัติ ห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังมีบทบาทอย่างส�าคัญในการตรวจ การเฝ้าระวัง หาสารชีวะได้แต่เนิ่น ๆ ห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังให้บริการ ตรวจวินิจฉัยเป็นประจ�า และก�าหนดข้อบังคับรวมทั้ง ก�าหนดขั้นตอนตามกระบวนการตรวจพิสูจน์ทราบตาม ล�าดับ ในขณะที่ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ไม่ได้มีเครื่องมือ และการด�าเนินการในลักษณะเช่นเดียวกับห้องปฏิบัติการ อ้างอิง

ระดับการตรวจ คุณลักษณะ พิสูจน์ทราบถึง คุณลักษณะที่ถูกต้อง แน่นอน

ตรวจสอบยืนยันความ ถูกต้อง

รับรู้ผลการตรวจสาร อันตราย, ก�าหนดข้อ บังคับในการตรวจ และ/หรือใช้สา� หรับ อ้างอิง

อธิบายศัพท์ CDC NMRC USAMRIID

Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค) Naval Medical Research Center (ศูนย์วิจัยแพทย์ทหารกองทัพเรือ) United States Army Medical Research Institute of Infectious Diseases (สถาบันวิจัยทางการแพทย์ด้านโรคติดเชื้อของกองทัพบก สหรัฐอเมริกา)

313

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การบริการด้านสัตวแพทย์ (Veterinary Services) ค-๖๘ ในฐานะที่เป็นหน่วยบริการด้านสัตวแพทย์ที่ส�าคัญของ กระทรวงกลาโหม ทหารเหล่ า การสั ต ว์ ข องกองทั พ บก สหรั ฐ อเมริ ก า ให้การสนับสนุนให้แก่ทุกเหล่าทัพภายใต้กระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ บริเวณที่เกิดเหตุการณ์ การบริการด้านสัตวแพทย์อาจด�าเนินการโดยหน่วย หรือก�าลังพลของทหารเหล่าการสัตว์ที่ส่งเข้าประจ�าการได้และที่ไม่สามารถ ส่งเข้าประจ�าการได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือ FM 4-02.7/MCRP 4-11.1F/NTTP 4-02.7/AFTTP 3-42.3, FM 4-02.18 และ ATP 4-02.42) การบริการด้านสัตวแพทย์อาจรวมไปถึงและไม่ได้จา� กัดแต่เฉพาะในเรือ่ งต่อไปนี้ l การเฝ้ า ตรวจสอบการรั ก ษาความปลอดภั ย และการ ป้องกันปัจจัยการด�ารงชีวิตภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. l ส�ารวจปัจจัยการด�ารงชีวิตและให้ค�าแนะน�าในการปรับ เปลี่ยนต�าแหน่งที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. l การเฝ้าตรวจสอบการท�าลายล้างพิษปัจจัยการด�ารงชีวิต ทีเ่ ปือ้ นพิษ คชรน., สุนขั ทีใ่ ช้งานทางทหาร และสัตว์อนื่ ๆ ทีเ่ ป็นของรัฐบาล l การรักษาสุนข ั ทีใ่ ช้งานทางทหารและสัตว์อนื่ ๆ ทีเ่ ป็นของ รัฐบาล ซึ่งกลายเป็นสัตว์ป่วยจาก คชรน. l ให้ค�าปรึกษาและค�าแนะน�าเกี่ยวกับการดูแลรักษาสัตว์ และความปลอดภัยด้านอาหารส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ สังกัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ด้าน คชรน. l ให้ความช่วยเหลือสัตว์ที่เป็นของเอกชนในกรณีที่มีการ เคลื่อนย้ายสัตว์ 314

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l

ห้องปฏิบัติการ l

จัดให้มคี วามสามารถในการทดสอบอาหารและน�า้ ดืม่ ทาง รายงานด้านข่าวกรองผ่านทางสายการบังคับบัญชา

การส่งก�าลังบ�ารุงด้านการบริการสุขภาพ (Health Service Logistics) ค-๖๙ ระบบการส่ ง ก� า ลั ง บ� า รุ ง ด้ า นบริ ก ารสุ ข ภาพเป็ น การ สนับสนุนสิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์สายแพทย์ส�าหรับการตอบสนอง เหตุการณ์ด้าน คชรน. ในพื้นที่ปฏิบัติการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ความมัน่ คงภายในประเทศ เพือ่ ตอบสนองเหตุการณ์การก่อการร้ายภายใน ประเทศหรือในต่างประเทศ ในการปฏิบัติการร่วม ผู้บัญชาการกองก�าลัง อาจก�าหนดให้เหล่าทัพใดเหล่าหนึ่งท�าหน้าที่จัดการในด้านการส่งก�าลัง บ�ารุงสายแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานบูรณาการพันธกิจด้านการส่งก�าลังบ�ารุง สายแพทย์ส�าหรับการปฏิบัติการของแต่ละเหล่าทัพภายในพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่ อ แก้ ไขสถานการณ์ การบู ร ณาการด้ า นจั ด การส่ ง ก� า ลั ง บ� า รุ ง สาย แพทย์เพียงจุดเดียว ได้ครอบคลุมไปถึงการก�ากับสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์, การซ่อมแซมและซ่อมบ�ารุงยุทโธปกรณ์สายแพทย์, การจัดการด้านธนาคาร เลือด, การจัดการผู้สนับสนุน สป. ตามพันธสัญญา, การก�ากับการเคลื่อน ย้ายผู้ป่วย และการบริการด้านสายตาให้แก่ทุกเหล่าทัพในพื้นที่ปฏิบัติ การ รวมไปถึงเรือของกองทัพเรือเพื่อกิจการทั่วไปแต่น�ามาใช้ในการปฏิบัติ การเหตุฉุกเฉิน ด้วยการฝึกใช้อ�านาจการสั่งการครอบคลุมขอบเขตการส่ง ก�าลังบ�ารุงด้านบริการสุขภาพ เพื่อปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบให้บรรลุผล ส�าเร็จ ผู้บัญชาการกองก�าลังอาจใช้การควบคุมในลักษณะรวมศูนย์เพื่อลด 315

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ความซ�า้ ซ้อนของการบริการ และให้การสนับสนุนในลักษณะทีป่ ระหยัดและ มีประสิทธิภาพมากกว่า ส�าหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งก�าลัง บ�ารุงด้านการบริการสุขภาพ ดูในภาคผนวก ง (ยุทธวิธ,ี เทคนิค และระเบียบ ปฏิบัติการสนับสนุนบริการสุขภาพเพื่อการฟื้นฟู)

ความเครียดจากการสูร้ บและจากการปฏิบตั กิ าร/สุขภาพเชิงพฤติกรรม (Combat and Operational Stress/Behavioral health) ค-๗๐ การทีม่ สี าร คชรน. คงค้างอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมเป็นความท้าทาย หลายประการต่อการปฏิบัติการทางทหารเมื่อค�านึงความเครียดจากสภาพ การปฏิบัติการรบ การรับรู้ว่ามีภัยคุกคามด้าน คชรน. ไม่ว่าจะมีอยู่จริงหรือ ไม่ก็ตาม ก็มีโอกาสสูงที่จะสร้างภาวะความเครียดจากการปฏิบัติการสู้รบ ต่อก�าลังพลที่เป็นทหาร ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ท�าให้เกิดภาวะเจ็บป่วยจาก ปฏิกิริยาที่เกิดภาวะเครียดจากการปฏิบัติการสู้รบ ดังนั้นผู้บังคับบัญชา และผู้น�าหน่วยต้องด�าเนินการป้องกัน หรือลดจ�านวนผู้ป่วยจากปฏิกิริยา ที่เกิดจากภาวะความเครียดและจากการสู้รบ และปฏิกิริยาตอบสนองจาก ความเครียดในการปฏิบตั กิ าร การปฏิบตั งิ านในสภาพแวดล้อมทีม่ อี นั ตราย คชรน. อยูจ่ ริง และเป็นเพียงแค่ความรูส้ กึ ทีม่ ตี อ่ ก�าลังทหารทีก่ า� ลังปฏิบตั กิ าร ทางทหาร ลักษณะอาการลวงอาจได้รบั ประสบการณ์โดยเชือ่ กันว่าก�าลังพล เหล่านั้นได้รับสารที่ก่อให้เกิดอันตราย หรืออาจเกิดความเครียดเกินกว่า จะรับมือไหว ซึง่ เป็นผลมาจากการใช้สาร คชรน. ไม่วา่ จะมีภยั คุกคามอยูจ่ ริง หรือเป็นเพียงแค่ความรู้สึก แต่เมื่อปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มี คชรน. อยู่ ล�าพังเฉพาะมาตรการป้องกันก็อาจสร้างภาวะความเครียดต่อก�าลัง ทหารได้อย่างมีนยั ส�าคัญเมือ่ จ�าเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันเหล่านี้ การดูแล 316

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

รักษาความเครียดจากการปฏิบัติการรบภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. เป็น ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา การส่งมอบการดูแลรักษาความเครียด จากการปฏิบตั กิ ารรบ อาจด�าเนินการโดยให้ความช่วยเหลือแก่กองบัญชาการ ผ่านหลายช่องทาง รวมไปถึงปัญหาด้านสุขภาพเชิงพฤติกรรมของหน่วย ด้วย ปัจจัยที่ประสบความส�าเร็จในการดูแลรักษาความเครียดจากการปฏิบัติ การรบภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน. คือการปฏิบตั ใิ นเชิงป้องกันซึง่ ควรด�าเนิน การก่อนที่จะมีเหตุการณ์ คชรน. ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งรวมไปถึง l การฝึ ก ภายใต้ เ ครื่ อ งแต่ ง กายป้ อ งกั น ระดั บ ลภ.๔ เพื่ อ ให้ก�าลังพลเกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเมื่อสวมใส่เครื่อง แต่งกายป้องกันครบชุด l การฝึกโดยสวมหน้ากากป้องกันบ่อย ๆ ให้สวมใส่ซ�้า ๆ และใช้เวลาให้คุ้นชินกับสภาพอากาศ และเอาชนะความรู้สึกกลัวในที่ ปิดทึบแคบ ๆ ในยามที่ต้องสวมหน้ากากป้องกัน l เน้ น ไปที่ ร ะบบเพื่ อ นคู ่ หู (buddy system) เป็ น วิ ธี ที่ เฝ้ า จั บ ตาดู ซึ่ ง กั น และกั น การสนั บ สนุ น ที่ เ ท่ า เที ย มกั น มี ส ่ ว นส� า คั ญ ใน การลดปฏิกริ ยิ าตอบสนองความเครียดจากการปฏิบตั กิ ารและจากการสูร้ บ ในระดับหน่วย

การบริการด้านเวชกรรมป้องกัน (Preventive-Medicine Services) ค-๗๑ หน่วย/ก�าลังพลด้านเวชกรรมป้องกันให้การสนับสนุน และ ให้คา� ปรึกษาในขอบเขตเกีย่ วกับโรคและการบาดเจ็บทีไ่ ม่ได้เกิดจากการรบ, สุขอนามัยในสนาม, กีฏวิทยา, การสุขาภิบาลบริเวณสิ่งปลูกสร้าง และ การระบาดวิทยาเพือ่ ลดผลกระทบการเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อม, การเกิดโรค 317

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ในระบบทางเดินอาหาร, การติดเชือ้ โรคจากสัตว์พาหะ และภัยคุกคามอืน่ ๆ ต่อสุขภาพของก�าลังพลให้เหลือน้อยที่สุด การบริการเวชกรรมป้องกันอาจ รวมไปถึงและไม่ได้จ�ากัดแต่เฉพาะในเรื่องต่อไปนี้ l ประสานการเก็ บ ชิ้ น ตั ว อย่ า งที่ สั ม พั น ธ์ กั บ คชรน. และ ตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม, การเฝ้าตรวจสอบและการประเมินผลการรักษา รวมไปถึงการประสานกับห้องปฏิบัติการด้าน คชรน. และกับฝ่ายข่าวใน สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ l การเฝ้าติดตามผูป ้ ว่ ย, การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และการรายงานการชันสูตรผูเ้ สียชีวติ เพือ่ หาสิง่ บ่งชีถ้ งึ สารเคมีและสารชีวะ ที่ใช้ในสงคราม l ก ารเก็ บ ตั ว อย่ า งจากสิ่ ง แวดล้ อ มและชิ้ น ตั ว อย่ า ง และ ด�าเนินการเลือกการวิเคราะห์หรือการประเมินผล เพื่อช่วยในการประเมิน ผลด้านภัยคุกคามต่อสุขภาพ l เฝ้ า ตรวจสุ ข อนามั ย ในสนาม, การบ� า บั ด น�้ า และแหล่ ง จัดเก็บ, การก�าจัดน�า้ เสีย และการฝึกการควบคุมการเจ็บป่วยจากโรคติดเชือ้ และการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่จากการรบ รวมทั้งให้ค�าแนะน�าและการฝึกตาม ความจ�าเป็น l ท�าการสอบสวนและประเมินด้านสุขอนามัย, น�า ้ ดืม่ น�า้ ใช้, การด�าเนินการก�าจัดของเสีย และปัญหาจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะถึงมาตรการการแก้ไขให้ถูกต้อง ตามความจ�าเป็น

318

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ด�าเนินการเฝ้าระวังด้านสุขภาพในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร ซึง่ รวม ไปถึงการประสาน, การปฏิบตั ติ าม, การวิเคราะห์ และการรายงานข้อมูลจาก การเฝ้าระวัง เพื่อช่วยในการประเมินผลด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของก�าลังพลที่รับการสนับสนุน l ด�าเนินการสอบสวนด้านการระบาดวิทยา l

การส่งก�าลังบ�ารุง (Logistics) ค-๗๒ การส่งก�าลังบ�ารุงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการแก้ไข สถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. และต้องน�ามาพิจารณาในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นการวางแผนไปจนถึงขั้นการปฏิบัติการฟื้นฟู

การปฏิบัติการตอบสนอง (Response) ค-๗๓ การส่งก�าลังบ�ารุงต้องมีการวางแผนและผนวกรวมอยู่ใน ขัน้ ตอนแรกของการตอบสนอง การแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพ ความท้าทายในการส่งก�าลังบ�ารุงคือการบูรณาการ ด้านการส่งก�าลังบ�ารุงที่มีประสิทธิภาพของกระทรวงกลาโหมภายในแต่ละ เหล่าทัพ และกับหน่วยปฏิบัติเพื่อให้ด�าเนินการปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง รวมทัง้ หน่วยสนับสนุนและหน่วยงานในระดับท้องถิน่ , ระดับรัฐ, ระดับชาติ และของชาติเจ้าบ้าน เท่าที่จ�าเป็น หากไม่ค�านึงถึงขนาดของการปฏิบัติการ แก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. อาจต้องการระดับการสนับสนุน การส่งก�าลังบ�ารุงในระดับหนึ่ง ตารางที่ ค-๗ ได้แสดงถึงรายการตรวจสอบ ส�าหรับการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนด้านการส่งก�าลังบ�ารุงในระหว่างการปฏิบตั ิ การตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. 319

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๗ รายการตรวจสอบการสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุง การส่งก�าลัง  จัดวางยุทธภัณฑ์ในบริเวณส่วนหน้าหรือใกล้กับจุดที่ได้วางแผนไว้ ส�าหรับ น�าไปใช้หรือในบริเวณที่ได้เลือกไว้ล่วงหน้าเพื่อลดระยะเวลาการสนองตอบ ท�าให้มั่นใจว่ามีการสนับสนุนกองก�าลังที่ปฏิบัติกิจในลักษณะจ�าเพาะได้ทัน เวลาในห้วงเริ่มต้นของการปฏิบัติการ  ด�าเนินการประสานและประสานสอดคล้องกับพันธกิจส่งก�าลังกับส่วนส่ง ก�าลังบ�ารุงของกองบัญชาการเหตุการณ์ ที่ให้การสนับสนุน  ประสานการสนับสนุน (ตามความจ�าเป็น) กับบริษทั ผูค้ า้ หรือกับจุดประสาน ของบริษัทที่มีพันธสัญญากับรัฐบาลกลาง เพื่อส่งก�าลังสิ่งอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือสิง่ ของทีม่ ขี ายกันตามท้องตลาด (เช่น น�า้ ยาฟอกขาว) หรือการบริการอืน่ ๆ (เช่น การเติมอากาศหายใจเพือ่ อัดลงถังอัดอากาศช่วยหายใจ)  ควบคุมการแบ่งมอบทรัพยากรด้านการส่งก�าลังบ�ารุงที่มีความต้องการสูง เช่น สิ่งอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย (เครื่องตรวจหา และเครื่องมือเฝ้าตรวจ)  ก�าหนดระเบียบปฏิบัติในการเฝ้าตรวจสอบและติดตามการแจกจ่ายสิ่ง อุปกรณ์ไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน กระบวนการนี้เป็นการสนับสนุนการ ด�ารงไว้ซึ่งการควบคุมส�าหรับเรียกร้องค่าใช้จ่ายภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ  เฝ้าตรวจสอบและเห็นชอบกับระดับสะสมสิ่งอุปกรณ์ด้าน คชรน.  เห็นชอบให้มีการส่งคืนชิ้นส่วนหรือระบบของอุปกรณ์ด้าน คชรน. ที่จัดหาได้ ตามท้องตลาดหรือที่มีขายทั่วไป เพื่อการซ่อมแซมหรือจัดหาทดแทน  ตรวจสอบการรับ, การเก็บรักษา และการแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ด้าน คชรน. ตัวอย่างเช่น สิ่งอุปกรณ์บางรายการอาจต้องจัดเก็บในที่ที่มีการควบคุม อุณหภูมิ หรือบางรายการต้องจัดเก็บแยกไว้ต่างหาก/ต้องมีการระวังป้องกัน

320

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ค-๗ รายการตรวจสอบการสนับสนุนการส่งก�าลังบ�ารุง (ต่อ) การขนส่ง  มั่นใจว่าทรัพยากรทางทหารที่จ�าเป็นได้จัดส่งถึงบริเวณที่เกิดเหตุได้ทันเวลา โดยมีทั้งสิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ที่จ�าเป็น  ประสานเรื่องขั้นเวลาในการสนับสนุนทรัพยากรทางทหารกับที่บัญชาการ เหตุการณ์ที่รับการสนับสนุน  เฝ้าติดตามการขนส่งยุทโธปกรณ์ที่ส่งซ่อม เช่น เครื่องมือตรวจหาและ เครื่องมือเฝ้าตรวจ  การขนส่งตัวอย่างออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ การซ่อมบ�ารุง

 ประสานการปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินและการปฏิบัติตามวงรอบ เพื่อรักษาให้ ก�าลังพลและยุทโธปกรณ์อยู่ในสภาพปลอดภัย และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน  ประสานเพื่อการซ่อมเปลี่ยน หรือซ่อมแซมยุทโธปกรณ์ที่ส�าคัญยิ่งต่อภารกิจ ที่เสียหาย หรือเกิดการเปื้อนพิษ

การสนับสนุนผู้ตอบสนอง (Responder Support) ค-๗๔ กระบวนการส่งก�าลังบ�ารุงช่วยเอือ้ ให้เกิดการรับ, การซ่อมบ�ารุง, การจัดเก็บ, การเคลื่อนย้าย และสะสมทรัพยากรที่ใช้ในการตอบสนอง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ คชรน. ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนการขนส่งเพื่อ ช่วยในการเคลือ่ นย้ายทรัพย์สนิ ทรงคุณค่า (ก�าลังพลและยุทโธปกรณ์) ส�าหรับ ตอบสนองเหตุการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ซึง่ รวมไปถึงการคุม้ กันวิธกี ารขนส่ง และผูป้ ฏิบตั งิ านทีใ่ ห้การสนับสนุนการตอบสนอง องค์ประกอบในขัน้ ตอนการ ตอบสนองให้ดา� เนินการได้อย่างต่อเนือ่ งซึง่ น�ามาใช้ในการตอบสนองเหตุการณ์ อาจรวมไปถึงการสนับสนุนการท�าสัญญา, การสนับสนุนการเจรจาข้อตกลงกัน, การสนับสนุนทางทหาร และการสนับสนุนจากหน่วยระดับชาติอนื่ ๆ 321

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การสนับสนุนตามพันธสัญญา (Contracting Support) ค-๗๕ การท�าข้อตกลงในพันธสัญญา, การจัดซื้อ, การเช่า หรือ การเช่าซื้อสิ่งอุปกรณ์หรือการบริการจากแหล่งที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานของ รัฐ มักเป็นวิธที มี่ ปี ระสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเพือ่ ให้การสนับสนุนในภาวะ วิกฤต โดยรวมไปถึงการส่งก�าลังและซ่อมบ�ารุงสิง่ อุปกรณ์ทกุ ประเภททีน่ า� ไป ใช้ในสถานการณ์ดา้ น คชรน. ในระหว่างการปฏิบตั กิ ารในขัน้ ต้น นายทหาร ที่ท�าหน้าที่ท�าสัญญามีความส�าคัญต่อการจัดหาสิ่งอุปกรณ์และการบริการ

การสนับสนุนการเจรจาตกลง (Negotiated Support) ค-๗๖ ในบางกรณี หน่วยงานพลเรือนมีทรัพยากรเพียงพอส�าหรับ การสนับสนุนตนเอง และยังสามารถให้การสนับสนุนหน่วยทหารทีเ่ ข้าปฏิบตั ิ การให้ความช่วยเหลือด้วย ตัวอย่างเช่น หน่วยงาน พลเรือนสามารถจัดทีพ่ กั , อาหาร และน�า้ มันเชือ้ เพลิงสนับสนุนแก่หน่วยทหาร ดังนัน้ การสนับสนุนจึง ต้องการการเจรจาตกลงกันเป็นกรณี ๆ ไป โดยขึ้นอยู่กับหน่วยงานพลเรือน

การสนับสนุนทางทหาร (Military Support) ค-๗๗ ค่ายทหารยังคงมีความสัมพันธ์กบั หน่วยทหารเป็นปกติ แต่ อาจต้องให้การสนับสนุนแก่เจ้าหน้าที่ที่ไม่เคยถูกก�าหนดให้มีความสัมพันธ์ ในเชิงสนับสนุน เจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจรวมไปถึงเจ้าหน้าที่พลเรือนและ ส่วนปฏิบัติการจากเหล่าทัพอื่น ๆ หากค่ายทหารหรือแหล่งสนับสนุนอื่น ๆ ไม่สามารถให้การสนับสนุนโดยตรงได้ ผูว้ างแผนจ�าเป็นปรับเปลีย่ นการสนับสนุน ให้แก่ก�าลังเฉพาะกิจได้

322

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติอื่น ๆ (Support From Other Federal Agencies) ค-๗๘ หน่วยงานระดับชาติ (เช่น ส�านักงานการบริการทั่วไป [General Services Administration]) ซึ่งให้การสนับสนุนแก่เจ้าหน้าที่ ฝ่ า ยพลเรื อ น ส� า นั ก งานนี้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น สิ่ ง อุ ป กรณ์ แ ละการบริ ก าร ในเรื่องทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปมากกว่าที่จะเป็นงานของกระทรวงใด กระทรวงหนึ่ง ขณะเดียวกัน ส�านักงานการบริการทั่วไปยังอาจให้การ สนับสนุนเพิ่มเติมแก่กระทรวงกลาโหมด้วย และหน่วยงานระดับชาติหรือ ส�านักงานอื่น ๆ อาจให้ความช่วยเหลือด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ, ขอบเขต และห้วงระยะเวลาในการปฏิบัติการ

การสนับสนุนเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ (Miscellaneous Support) ค-๗๙ ชุดอุปกรณ์สา� หรับเหตุการณ์ทมี่ คี วามพิเศษอาจประกอบด้วย รายการสิ่งอุปกรณ์ เช่น ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการท�าลายล้างพิษ, ยุทโธปกรณ์ ที่ใช้ในการตรวจหา และยุทโธปกรณ์สายแพทย์ อาจส่งเข้าประจ�าการใน บริเวณที่ก�าหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเตรียมความพร้อม ยุทโธปกรณ์เหล่านี้อาจจัดส่งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน พร้อมกับบันทึก ข้อความสัน้ ๆ ส�าหรับให้เจ้าหน้าทีต่ อบสนองเหตุฝา่ ยพลเรือนรวมทัง้ ชุดปฏิบตั ิ การทหารที่ให้การสนับสนุนสามารถน�าไปใช้งานได้ -----------------------------

323

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผนวก ง ยุ ทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติเพื่อการฟื้ นฟู ระเบียบปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟูเป็นมาตรวัดถึงขีดความสามารถ ในการฟื้นฟู จากการสูญเสียทรัพย์สินที่ส�าคัญและโครงสร้างพื้นฐานแบบ ชั่วคราวหรือแบบถาวร อันเป็นผลเนื่องมาจากเหตุการณ์ด้าน คชรน. ฝ่าย อ�านวยการก�าหนดระเบียบปฏิบตั เิ พือ่ การฟืน้ ฟู เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ายังคงมีความ สามารถปฏิบัติภารกิจต่อไปได้ในอนาคต

การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ (Decontamination Operations)

ง-๑ ยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบัติส�าหรับปฏิบัติการ ฟื้นฟู รวมไปถึงการท�าลายล้างพิษประเภทต่าง ๆ (การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย จ�านวนมาก, การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค และการท�าลาย ล้างพิษฉุกเฉิน) นอกจากนัน้ ยังรวมไปถึงยุทธวิธี เทคนิค และระเบียบปฏิบตั ิ ในการสนับสนุนบริการสุขภาพ, การส่งก�าลังบ�ารุง และการเปลี่ยนผ่านใน ระหว่างการฟื้นฟูเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ง-๒ กระบวนการท� า ลายล้ า งพิ ษ เริ่ ม ต้ น ขึ้ น ในเขตเฝ้ า ระวั ง ตรงจุดควบคุมทางเข้ามีเครื่องหมายที่แสดงถึงช่องทางเข้าสู่ช่องเส้นทาง การท�าลายล้างพิษ และจุดควบคุมทางออกมีเครือ่ งหมายแสดงถึงช่องทางออก ไปสู่แนวควบคุมไอ (จุดเปลี่ยนผ่านระหว่างเขตเฝ้าระวังกับเขตปลอดภัย) อาจจัดให้มชี อ่ งเส้นทางการท�าลายล้างพิษมากกว่า ๑ ประเภท ในเขตเฝ้าระวัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจ�าเป็นด้านสถานการณ์ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ หลักที่ใช้ในการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. เป็น การท� า ลายล้ า งพิ ษ ฉุ ก เฉิ น , การท� า ลายล้ า งพิ ษ ตามขั้ น ตอนทางเทคนิ ค , การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย และการท�าลายล้างพิษผู้ได้รับบาดเจ็บ รายละเอียด การท�าลายล้างพิษแต่ละประเภทจะได้กล่าวถึงในผนวกนี้ 324

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ง-๓ เป็นไปตามล�าดับเวลา ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ฉุกเฉินมักจัดตั้งขึ้นโดยผู้ตอบสนองเหตุเป็นรายแรก (ชุดปฏิบัติการวัตถุ อันตรายประจ�าท้องถิน่ ) เพือ่ ตอบสนองได้ทนั ที และเป็นการท�าลายล้างพิษ ให้แก่กา� ลังพลทีเ่ ข้าไปอยูใ่ นเขตอันตรายเมือ่ มีเหตุฉกุ เฉิน การท�าลายล้างพิษ ฉุกเฉินด�าเนินการด้วยการใช้น�้าในปริมาณมากเพื่อเจือจางสารอันตรายให้ ลดลง ส�าหรับส่งก�าลังพลผู้นั้นให้ไปอยู่ในความดูแลของแพทย์โดยเร็วที่สุด เท่าที่จะท�าได้ เมื่อมีการจัดตั้งช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอน ทางเทคนิค และ/หรือการท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมากแล้ว ช่องเส้นทาง การท�าลายล้างพิษฉุกเฉินอาจไม่จ�าเป็นอีกต่อไป ง-๔ การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิคจัดตั้งขึ้นตาม มาทีหลัง ส�าหรับผู้ตอบสนองเหตุผู้ที่มีเครื่องแต่งกายป้องกันแบบพิเศษ ซึง่ จ�าเป็นต้องใช้ความเข้มข้นของสารละลายท�าลายล้างพิษทีส่ งู ขึน้ กว่าปกติ ก่อนที่จะถอดเครื่องแต่งกายป้องกันนั้นออก โดยปกติแล้ว ผู้ตอบสนองเหตุ เป็นรายแรกเป็นผู้ที่จัดตั้งช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทาง เทคนิค โดยทีช่ อ่ งเส้นทางการท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิคมักอยูใ่ น บริเวณทีท่ า� ให้ผตู้ อ้ งเคลือ่ นย้ายรายอืน่ ๆ ไม่สบั สนระหว่างการท�าลายล้างพิษ ตามขัน้ ตอนทางเทคนิคกับการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน หรือกับการท�าลายล้างพิษ ผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก ซึง่ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิค จะจ�ากัดไว้ให้แต่เฉพาะเจ้าทีต่ อบสนองเหตุเท่านัน้ ส�าหรับผูต้ อ้ งเคลือ่ นย้ายรายอืน่ ๆ ให้เข้าไปยังช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน หรือช่องเส้นทางการ ท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก

325

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ง-๕ ส�าหรับช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก อาจเป็นช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษสุดท้ายที่จัดตั้งโดยผู้ตอบสนอง เหตุฉุกเฉิน ซึ่งมีกิจที่เกี่ยวข้องกับการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก เป็น ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษขนาดใหญ่ โดยก�าหนดให้มขี นั้ ตอนการปฏิบตั ิ ที่ต้องใช้ก�าลังพลเป็นจ�านวนมากขณะที่มีเวลาการปฏิบัติค่อนข้างจ�ากัด ในบางสถานการณ์ การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. อาจไม่จ�าเป็นต้องจัดตั้งช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์นนั้ เกีย่ วข้องเฉพาะผูต้ อบสนองเหตุเป็นรายแรกและ ผูต้ อบสนองเหตุฉกุ เฉิน จึงไม่จา� เป็นต้องจัดตัง้ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ผู้ป่วยจ�านวนมาก ส�าหรับช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยก็มีลักษณะ เช่ น เดี ย วกั บ ช่ อ งเส้ น ทางการท� า ลายล้ า งพิ ษ ล้ า งพิ ษ ผู ้ ป ่ ว ยจ�า นวนมาก โดยปกติแล้ว มักจัดตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่รักษาพยาบาล

การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน (Emergency Decontamination) ง-๖ การท�าลายล้างพิษฉุกเฉินเป็นการก�าจัดการเปือ้ นพิษออกจาก ก�าลังพลให้รวดเร็วที่สุด เพื่อช่วยชีวิต, ลดภาวะเจ็บป่วยให้เหลือน้อยที่สุด และจ�ากัดการเปื้อนพิษไม่ให้แพร่กระจายออกไป อีกทั้งยังเอื้อให้มีการดูแล การทางแพทย์ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยทีไ่ ม่ทา� ให้การเปือ้ นพิษผ่องถ่ายไป ยังก�าลังพล หรือไปยังยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ขั้นตอนการปฏิบัติที่แสดงต่อไปนี้ สามารถน�ามาประยุกต์ใช้เมื่อยังไม่ทราบแน่ชัดถึงประเภทของอันตราย ขั้นตอนการปฏิบัติอาจปรับเปลี่ยนได้หากทราบถึงประเภทของอันตราย (ตัวอย่างเช่น วัสดุท�าปฏิกิริยาในลักษณะเกิดการกัดกร่อนเมื่อมีการสัมผัส กับน�า้ , ความเร็วจากผลอันตรายทีม่ ตี อ่ ผิวหนัง ซึง่ บีบบังคับให้รบี ถอดเสือ้ ผ้า ที่เปื้อนพิษออกก่อนที่ผู้นั้นจะถูกฉีดช�าระด้วยน�้า หรือการท�าลายล้างพิษ 326

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

สารชีวะและสารรังสี มีความแตกต่างจากสถานการณ์ด้านเคมีและวัตถุ อุตสาหกรรมอันตราย) นอกจากนั้น การค�านึงถึงการปรับเปลี่ยนช่อง เส้นทางท�าลายล้างพิษอาจมีความจ�าเป็น ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง การปฏิบัติการในสภาพอากาศหนาว รูปที่ ง-๑ แสดงถึงตัวอย่างการปฏิบัติ การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน กระบวนการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน/ท�าลายล้างพิษตนเอง พื้นที่เปื้อนพิษ

กระบวนกำรท�ำลำยล้ำงพิษตนเอง

พื้นที่รักษาพยาบาล

กระบวนกำรท�ำลำยล้ำงพิษฉุกเฉิน

แนะน�ำกำร เคลื่อนย้ำย ผู้ประสบภัยออก พ้นเขตอันตรำย จุดรวบรวม ผู้ป่วย

ถอดเสื้อผ้ำชั้นนอก และยุทธภัณฑ์ ประจ�ำกำย (ชโลมเสื้อผ้ำให้ เปียกก่อนถอดหำก สงสัยว่ำเปื้อนพิษ สำรชีวะหรือ สำรรังสี

ห่อหรือกองสุม เสื้อผ้ำใส่ถุง รวมทั้ง ยุทธภัณฑ์ ประจ�ำกำย

ใช้ผ้ำพับ, ขัดถู, ซับ หรือ ช�ำระล้ำงหยดเหลว ออกจำกผิวหนัง

เข้ำพื้นที่อำบน�้ำ (น�้ำมำก, แรงดัน ต�่ำ) ล้ำงมือและโกรก นัยน์ตำ ช�ำระให้ทั่วทั้ง ร่ำงกำย

ตรวจสอบผู้ประสบ ภัยด้วยสำยตำและ กำรพูดคุย ท�ำลำยล้ำงพิษเพิ่ม เติมหำกจ�ำเป็น

เช็ดตัวให้แห้งและ สวมใส่เสื้อผ้ำ ชุดใหม่

ทิศทางลม เขตอันตราย

เขตเฝ้าระวัง

เขตปลอดภัย

รูปที่ ง-๑ การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน

จุดรวบรวมผู้ป่วย (Casualty Collection Point) ง-๗ จุดรวบรวมผู้ป่วยจัดตั้งขึ้นในเขตอันตรายหรือในพื้นที่ใกล้ กับเขตอันตราย ผู้ป่วยทั้งหมดจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังจุดรวบรวมผู้ป่วย เจ้าหน้าทีส่ ายแพทย์ทา� หน้าทีค่ ดั แยกผูป้ ว่ ยขัน้ ต้นในบริเวณนี้ ส�าหรับผูป้ ว่ ย บางรายที่จ�าเป็นต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน จะได้รับการแนะน�าหรือให้ 327

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

เคลื่อนย้ายไปยังสถานีรักษาพยาบาลฉุกเฉินส�าหรับผู้ป่วยที่เปื้อนพิษเพื่อ ด�าเนินตามกระบวนการช่วยชีวติ ผูป้ ว่ ยคนอืน่ จะได้รบั ค�าแนะน�าให้เข้าช่อง เส้นทางการท�าลายล้างพิษ

สารที่ใช้ท�าลายล้างพิษ (Decontaminants) ง-๘ สารที่ ใ ช้ ท� า ลายล้ า งพิ ษ ที่ ผิ ว หนั ง และบาดแผลได้ อ ย่ า ง ปลอดภัย ศึกษารายละเอียดเกีย่ วกับกระบวนการท�าลายล้างพิษฉุกเฉินเป็น บุคคลได้จากคู่มือ FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/NTTP 3-11.26/AFTTP(I) 3-2.60

ยุทโธปกรณ์ดับเพลิง (Firefighting Equipment) ง-๙ ยุ ท โธปกรณ์ ดั บ เพลิ ง อาจน� า มาใช้ ใ นลั ก ษณะแสวงเครื่ อ ง เพือ่ ด�าเนินการท�าลายล้างพิษเจ้าหน้าทีท่ เี่ ปือ้ นพิษจ�านวนมาก มีรายละเอียด เกี่ยวกับทรัพยากรและผังการท�างานดังต่อไปนี้

ทรัพยากร (Resources) ง-๑๐ การใช้ทรัพยากรซึ่งมีการจ่ายน�้าในปริมาณที่มากขึ้นอย่างมี นัยส�าคัญเพื่อท�าลายล้างพิษแก่ก�าลังพลจ�านวนมาก ปริมาณน�้าที่เพิ่มมาก ขึ้นซึ่งจ�าเป็นต่อการปฏิบัติการครั้งนี้และการควบคุมน�้าจากการท�าลายล้าง พิษกระท�าได้ยาก อย่างไรก็ตาม ระดับการเปื้อนพิษจะลดลงไปด้วยการ เจือจางด้วยน�้าในระหว่างการปฏิบัติท�าลายล้างพิษ

328

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ช่องเส้นทางเดินการท�าลายล้างพิษ (Decontamination Corridor) ง-๑๑ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษจัดตั้งขึ้นโดยใช้ก๊อกน�้า หัวดับเพลิง, สายฉีดดับเพลิง, หัวฉีดดับเพลิง; รถยนต์บรรทุกปั๊มน�้า และ รถดับเพลิงที่มีกระเช้าบันไดดับเพลิง ในแต่ละกรณี ควรปรับหัวฉีดดับเพลิง ให้จ่ายน�้าผ่านหัวจ่ายน�้าด้วยแรงดันต�่าในลักษณะที่เป็นฝอย หากเป็นไปได้ ควรใช้ระบบนี้อย่างนี้ ๒ ระบบขึ้นไป เพื่อเพิ่มปริมาณน�้าและเพิ่มพื้นที่ฝอย น�้าให้มากขึ้นเมื่อกระแสผู้ป่วยเคลื่อนที่ผ่านช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ หากมี เวลาและยุ ท โธปกรณ์ ค วรสร้ า งฉากกั้ น ระหว่ า งช่ อ งเส้ น ทางการ ท�าลายล้างพิษส�าหรับผู้ชายกับช่องเส้นทางท�าลายล้างพิษส�าหรับผู้หญิง และเด็กเล็ก ฉากกั้นดังกล่าวควรมีความสูงและความยาวเพียงพอส�าหรับ ความเป็นส่วนตัวระหว่างช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ การก�าบังความเป็น ส่วนตัวควรจัดวางให้อยู่ในต�าแหน่งที่แยกพื้นที่อาบน�้าที่ไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้า ออกจากพื้นที่แต่งตัวเพื่อสวมเสื้อผ้าชุดใหม่

หัวก๊อกน�้าดับเพลิง, สายฉีดดับเพลิง และหัวฉีดดับเพลิง (Fire Hydrant, Fire Hoses, and Nozzles) ง-๑๒ เมื่ อ มี หั ว ก๊ อ กน�้ า ดั บ เพลิ ง สายฉี ด ดั บ เพลิ ง และหั ว ฉี ด ดับเพลิง แท่นวางบนรถยนต์บรรทุกควรสามารถยกสายฉีดและหัวฉีด ดับเพลิงให้มรี ะดับความสูงขึน้ เหนือพืน้ ดิน ปรับหัวฉีดเพือ่ ให้พน่ ฝอยน�า้ แรง ดันต�า่ เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยเดินลอดผ่านฝอยน�า้ แรงดันของหัวฉีดควรอยูร่ ะหว่าง ๕๐ ถึง ๘๐ ปอนด์ตอ่ ตารางนิว้ (เทียบเท่ากับหัวฉีดฝักบัวทีใ่ ช้ภายในบ้าน) สายฉีด น�้าควรจัดวางในต�าแหน่งที่ไม่สร้างอันตรายจากการก้าวข้ามของผู้ป่วย

329

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

รถดับเพลิง (Pumper Trucks) ง-๑๓ เมื่ อ มี ร ถดั บ เพลิ ง ปื น ฉี ด น�้ า ดั บ เพลิ ง และสายดั บ เพลิ ง สามารถน�ามาใช้ฉีดฝอยน�้าคลุมพื้นที่

บันไดท่อดับเพลิงส�าหรับการท�าลายล้างพิษ (Ladder Pipe Decontamination) ง-๑๔ เมื่อมีรถบรรทุกพร้อมด้วยบันไดท่อดับเพลิง ให้ยกสาย ฉีดดับเพลิงให้สูงเหนือระดับพื้นดิน และสร้างฝอยน�้าแรงดันต�่า แรงดันจาก หัวฉีดควรอยู่ระหว่าง ๕๐ ถึง ๘๐ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค (Technical Decontamination) ง-๑๕ มีการด�าเนินการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค ในระหว่างการตอบสนอง เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจาก คชรน. ซึ่งด�าเนินการโดยผู้ตอบสนองเหตุที่ได้รับการฝึกเพื่อปฏิบัติการบรรเทา ผลอันตราย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือเกี่ยวข้อง กับการก่อการร้าย ซึ่งอาจสัมพันธ์กับอันตรายจาก คชรน. อันตรายวัตถุ อุตสาหกรรมอันตราย หรือมีอันตรายในลักษณะผสมผสานกัน ผู้ตอบสนอง เหตุอาจจ�าเป็นต้องใช้อากาศช่วยหายใจ (เช่น ถังอากาศอัดช่วยหายใจ หรื อ เครื่ อ งช่ ว ยหายใจระบบหมุ น เวี ย นอากาศโดยมี ร ะบบดู ด ซั บ ก๊ า ซ คาร์ บ อนไดออกไซด์ ) พร้ อ มกั บ เครื่ อ งแต่ ง กายที่ ป ิ ด สนิ ท มิ ด ชิ ด หรื อ เครื่องแต่งกายป้องกันต้านทานสารที่กระเด็นมาเกาะติด 330

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ง-๑๖ การวางแผนและการปฏิบัติเพื่อปฏิบัติการท�าลายล้างพิษ ตามขั้นตอนทางเทคนิค เป็นการรวมเอายุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน มากกว่าการใช้การปฏิบัติการที่มีลักษณะจ�าเพาะทางทหาร เมื่อมีการวาง แผนการท�าลายล้างพิษตามขัน้ ตอนทางเทคนิค ควรค�านึงถึงขัน้ ตอนการปฏิบตั ิ ดังนี้ l แนะน�าขั้นตอนการท�าลายล้างพิษไปยังส่วนกักเก็บสารที่ ใช้ท�าลายล้างพิษภายในเขตอันตรายและช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ให้ พิจารณาถึงโอกาสที่อาจเกิดผลอันตรายจากกระบวนการท�าลายล้างพิษที่มี ต่อก�าลังพลที่ท�าหน้าที่ตอบสนองเมื่อมีการพัฒนาแผนและก�าหนดมาตรการ ตอบโต้ (เช่น วงรอบการปฏิบัติงาน-การพักผ่อนอย่างเพียงพอ) l ตรวจสอบวิ ธี ก ารและขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ ใ นการท� า ลาย ล้างพิษที่เหมาะสมก่อนเกิดเหตุการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมใน ด้านการวางแผนก่อนเกิดเหตุการณ์ การประเมินอันตราย และกระบวนการ ประเมินผลด้านความเสี่ยง ต้องไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปในเขตอันตรายจนกว่า จะได้จัดให้มีวิธีการและขั้นตอนการท�าลายล้างพิษที่เหมาะสมเสียก่อน ง-๑๗ การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิคเป็นขั้นตอนการ ปฏิบัติไปตามล�าดับขั้น เพื่อลดการเปื้อนพิษต่อก�าลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ตอบ สนองให้อยู่ในระดับปลอดภัย และป้องกันการแพร่กระจายการเปื้อนพิษออก ไปนอกพื้นที่เปื้อนพิษ ขั้นตอนการปฏิบัติที่น�ามาใช้มักขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ ในสนามทีเ่ กีย่ วข้องกับอันตรายและความเสีย่ ง การวิเคราะห์ในสนามประกอบ ด้วยผลจากการตรวจหาและการใช้แหล่งอ้างอิงทางเทคนิคเพื่อตรวจสอบ อันตรายทั่ว ๆ ไป (สภาพความไวไฟ และสภาพความเป็นพิษ) รวมทั้งการ ประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเปื้อนพิษ (ตัวอย่างเช่น ไอเมื่อเทียบ กับหยดเหลว สารพุพองเทียบกับสารประสาท และอันตรายจากรังสีเทียบกับ อันตรายจากเคมี-ชีวะ) 331

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ง-๑๘ การท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิคสามารถปฏิบัติ ให้เป็นผลส�าเร็จได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะอันตราย โดยปกติแล้ว มักประกอบด้วยการท�าลายล้างพิษแบบเปียก ซึ่งผู้รับการท�าลายล้างพิษ ด�าเนินการล้างช�าระด้วยน�า้ เพือ่ ขจัดหรือเจือจางสิง่ เปือ้ นพิษให้ออกไป การท�า ลายล้างพิษแบบแห้ง เช่นการใช้แปรงปัดและการครูดเป็นวิธีทางเลือกที่ เหมาะสมส�าหรับการขจัดการเปือ้ นพิษในลักษณะอืน่ ๆ (การเปือ้ นพิษฝุน่ กัมมันตรังสี ในทางกายภาพ) ข้อพิจารณาอืน่ ๆ เช่น อันตรายจากความไวปฏิกริ ยิ ากับน�า้ หรือสารท�าละลายเป็นปัจจัยทีต่ อ้ งตรวจสอบถึงวิธกี ารท�าลายล้างพิษทีเ่ หมาะสม ง-๑๙ การท� า ลายล้ า งพิ ษ ตามขั้ น ตอนทางเทคนิ ค อาจมี ส ถานี ท�า ลายล้ า งพิ ษ ตั้ ง แต่ห นึ่งสถานีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู ่ กั บอั นตราย ชุ ด ปฏิ บั ติ การท� า ลายล้ า งพิ ษ ต้ อ งพร้ อ มที่ จ ะให้ ค� า แนะน� า และให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ในกระบวนการท�าลายล้างพิษก�าลังพล ชุดปฏิบัติการที่ผ่านฝึกมาแล้วได้ให้ ความช่วยเหลือก�าลังพลเพือ่ ท�าลายล้างพิษเครือ่ งแต่งกายป้องกันชัน้ นอกตัง้ แต่ ศีรษะจรดปลายเท้า (ซึง่ เป็นการเคลือ่ นย้ายสิง่ ทีท่ า� ให้เกิดการเปือ้ นพิษลงสูพ่ นื้ ) ง-๒๐ ควรมีการใช้นา�้ แรงดันต�า่ และฉีดเป็นฝอยคลุมหรือในลักษณะ สาดกระเซ็นเป็นละอองเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของสารที่ก่อให้เกิด การเปื้อนพิษ สถานที่ท�าลายล้างพิษควรจัดตั้งในบริเวณที่สามารถควบคุม การไหลของน�้าจากการท�าลายล้างพิษได้ ในรูปที่ ง-๒ แสดงถึงตัวอย่าง การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค หมายเหตุ: จ�านวนสถานีท�าลายล้างพิษที่จ�าเป็นส�าหรับการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเภทของสารอันตรายและสภาพอากาศ

332

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

พื้นที่เปื้อนพิษ ทิศทางที่ ชป. เคลื่อนที่กลับ

กระบวนการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน/ท�าลายล้างพิษตนเอง พื้นที่ท�าลายล้างพิษ

พื้นที่รักษาพยาบาล

กระบวนกำรท�ำลำยล้ำงพิษฉุกเฉินตำมขั้นตอนทำงเทคนิค เคลื่อนย้ำยผู้ป่วย กระบวนกำรท�ำลำยล้ำงพิษตำมขั้นตอนทำงเทคนิค จุดเฝ้ำตรวจ ท�ำลำยล้ำงพิษ ้อผ้ำป้องกัน/ ถอดเสื้อผ้ำป้องกัน ถอดเสื กำรเปื้อนพิษ ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน เครื่องช่วยหำยใจ*

อำบน�้ำและ เปลี่ยนเสื้อผ้ำ

เปลี่ยนถังอากาศ อัดช่วยหายใจ * ถอดเสื้อผ้า, อาบน�้า, การเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่อาจไม่จ�าเป็น หากการเปื้อนพิษไม่ได้แทรกซึมผ่านเครื่องแต่งกายป้องกัน

ทิศทางที่ ชป. เคลื่อนที่เข้า ทิศทางลม เขตอันตราย

เขตเฝ้าระวัง

เขตปลอดภัย

รูปที่ ง-๒ การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษตามขั้นตอนทางเทคนิค

ง-๒๑ จุ ด ทางเข้ า ต้ อ งก� า หนดให้ สั ง เกตเห็ น ได้ อ ย่ า งชั ด เจน มี การแสดงไว้ในจุดเริ่มต้นของช่องทางเดินการท�าลายล้างพิษ ผู้ตอบสนองเหตุ ต้ อ งทราบถึ ง ต� า แหน่ ง ที่ ตั้ ง ช่ อ งทางเดิ น การท� า ลายล้ า งพิ ษ ตามขั้ น ตอน ทางเทคนิคก่อนที่จะเคลื่อนที่เข้าเขตอันตราย จุดมุ่งหมายของจุดทางเข้าคือ การสร้างความมั่นใจว่าก�าลังพลที่เคลื่อนที่ออกจากเขตอันตรายได้ด�าเนิน กรรมวิธีผ่านช่องทางเดินการท�าลายล้างพิษ ทั้งนี้ เพื่อควบคุมการแพร่ กระจายของการเปื ้ อ นพิ ษ ตรงจุ ด บริ เวณทางเข้ า ต้ อ งจั ด ให้ มี ส องช่ อ ง ทางแยกจากกัน คือช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษหลักและช่องเส้นทางการ ท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ช่องทางเดินการท�าลายล้างพิษมีพื้นที่ควบคุมการ เปื้อนพิษหลักอยู่ ๒ แห่ง คือพื้นที่ควบคุมหยดเหลวและพื้นที่ควบคุมไอ 333

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ง-๒๒ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษหลักต้องการเพียงสถานี ที่จ�าเป็นต่อการท�าลายล้างพิษก�าลังพลตอบสนองเหตุให้บรรลุผลส�าเร็จและ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เป้ า หมายพื้ น ฐาน คื อ ความต้ อ งการก� า จั ด สิ่ ง เปื ้ อ นพิ ษ ในลักษณะทีป่ ลอดภัยและเหมาะสม ในแต่ละสถานีควรได้รบั การจัดการโดยผู้ ผ่านการฝึกพร้อมด้วยยุทโธปกรณ์ทเี่ หมาะสม เพือ่ ให้คา� แนะน�าและช่วยเหลือ ก�าลังพลที่อยู่ในกระบวนการท�าลายล้างพิษ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ฉุกเฉินเปิดการใช้งานเมื่อผู้ตอบสนองเหตุจ�าเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกโดย เร่งด่วนหรือต้องการการดูแลรักษาทางการแพทย์ เมื่อเริ่มปฏิบัติการใน ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษปกติตอ้ ง ยุติไว้ก่อนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย การปฏิบัติการปกติจะเริ่มต้นขึ้น อีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้ประสบภัยผ่านการด�าเนินกรรมวิธีได้อย่างปลอดภัยโดย ผ่านช่องเส้นทางเดินการท�าลายล้างพิษฉุกเฉินตามขั้นตอนทางเทคนิค

การปลดเปลื้องยุทโธปกรณ์ (Equipment Drop) ง-๒๓ การปลดเปลื้องยุทโธปกรณ์อาจมีผ้ายางปูพื้นหรือปูโต๊ะ ส�าหรับวางยุทโธปกรณ์ทไี่ ด้นา� ไปใช้ในเขตอันตราย การปลดเปลือ้ งยุทโธปกรณ์ ได้ ป ระโยชน์ ส องประการ คื อ มั่ น ใจว่ า ยุ ท โธปกรณ์ ที่ มี โ อกาสเปื ้ อ นพิ ษ ยังคงอยูภ่ ายในพืน้ ทีเ่ ปือ้ นพิษ และท�าให้ยทุ โธปกรณ์นนั้ ได้รบั การท�าลายล้างพิษ บางส่ ว นและน� า ไปใช้ ง านได้ อี ก ครั้ ง ในเขตอั น ตราย โดยวิ ธี นี้ เ ป็ น การลด จ�านวนยุทโธปกรณ์ท่ีน�าเข้าไปใช้งานในเขตอันตราย ซึ่งท�าให้เสียเวลาในการ ท�าลายล้างพิษในภายหลังหรืออาจต้องก�าจัดยุทโธปกรณ์นั้นทิ้งไป

334

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การท�าลายล้างพิษยุทธภัณฑ์ป้องกันตน (Personal Protective Equipment Decontamination) ง-๒๔ การขจัดการเปื้อนพิษปริมาณมากออกจากรองเท้าและ ถุงมือป้องกัน (ซึ่งมักเป็นแหล่งที่มีการเปื้อนพิษที่ส�าคัญ) ก่อนเริ่มขั้นตอน การท� า ลายล้ า งพิ ษ ซึ่ ง เป็ น การช่ ว ยควบคุ ม การแพร่ ก ระจายของ การเปื้อนพิษให้ขัดรองเท้าและถุงมือป้องกันด้วยแปรงด้ามยาวซึ่งจุ่มอยู่ถัง หรือกระบะที่บรรจุด้วยสารท�าลายล้างพิษก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการขจัด สิ่งเปื้อนพิษได้อย่างหมดจด

จุดเฝ้าตรวจหาการเปื้อนพิษ (Monitoring Point) ง-๒๕ ก�าลังพลควรถูกตรวจสอบหาการเปื้อนพิษที่ยังหลงเหลือ อยู่หลังจากที่ได้ผ่านการท�าลายล้างพิษและช�าระล้างร่างกายเสร็จสิ้นแล้ว การเฝ้าตรวจ (ใช้เครื่องมือตรวจหาสารเคมี, เครื่องตรวจวัดรังสีส่วนบุคคล, เครื่องมือวัดที่มีขายทั่วไป) สามารถน�ามาใช้ในพันธกิจนี้ได้หากทราบถึง ประเภทของอันตราย หากต้องปฏิบัติกับสารที่ยังไม่ทราบประเภทหรือไม่มี เครื่องมือเฝ้าตรวจวิธีการสังเกตด้วยสายตาถึงลักษณะบ่งชี้และลักษณะ อาการทีเ่ ด่นชัดจากการได้รบั สารอันตรายอาจเป็นทางเลือกในการเฝ้าตรวจ หากยังมีการเปื้อนพิษอยู่หลังจากได้ท�าลายล้างพิษแล้ว (อาศัยการสังเกต ด้วยสายตาหรือการตรวจด้วยเครื่องมือ) ก�าลังพลที่ได้รับผลกระทบต้อง กลับไปเริ่มต้นใหม่ในช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ เพื่อเริ่มขั้นตอนการ ท�าลายล้างพิษซ�้าอีกรอบหนึ่ง โดยให้เน้นเป็นพิเศษตรงบริเวณที่สังเกตพบ หรือบริเวณที่มีสัญญาณแจ้งเตือนจากเครื่องตรวจ) 335

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การถอดเครื่องแต่งกายป้องกัน (Protective Clothing Removal) ง-๒๖ ก�าลังพลควรได้รบั การช่วยเหลือในการถอดชุดเครือ่ งแต่งกาย ป้องกันก่อนทีจ่ ะข้ามแนวควบคุมหยดเหลวเมือ่ เครือ่ งตรวจไม่แสดงสัญญาณ ตรวจพบการเปือ้ นพิษ ในระหว่างการถอดชุดเครือ่ งแต่งกายป้องกัน ระดับ B (Level B) ผู้ช่วยเหลือต้องจับถังอากาศอัดช่วยหายใจไว้ในขณะที่ชุด เครื่องแต่งกายป้องกันถูกถอดออก ผู้ที่ช่วยเหลือยังคงควบคุมเครื่องช่วย หายเอาไว้จนกว่าจะถอดเครื่องช่วยหายใจออกในสถานีที่ ๕ ก�าลังพลในชุด ปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษต้องมัน่ ใจว่าได้สมั ผัสเพียงบริเวณภายนอกของชุด เครือ่ งแต่งกายป้องกันเท่านัน้ ก�าลังพลทีอ่ ยูภ่ ายใต้ชดุ เครือ่ งแต่งกายป้องกัน ที่มีส่วนช่วยในการถอดได้สัมผัสเฉพาะบริเวณภายในชุดเท่านั้น ก�าลังพล ของชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษน�าเอาชุดเครื่องแต่งกายป้องกันใส่ลงใน ถุงพลาสติกหนาเพื่อน�าออกไปให้พ้นห่างจากก�าลังพลทั้งหมดที่ผ่านการ ท�าลายล้างพิษแล้ว หมายเหตุ: การถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่กับตัว, การอาบน�้า และการสวมใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ อาจไม่จ�าเป็น หากการเปื้อนพิษไม่สามารถซึมผ่านชุดเครื่องแต่งกายป้องกันไปได้ เครื่องมือเฝ้าตรวจควรน�ามาใช้ เพื่อตรวจสอบการเปื้อนพิษที่ซึมผ่านชุดเครื่องแต่งกายป้องกัน

การถอดเสื้อผ้า/เครื่องช่วยหายใจ (Clothing/Respirator Removal) ง-๒๗ ก�าลังพลถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ภายใต้ชุดเครื่องแต่งกาย ป้องกันแล้วน�าไปใส่ลงในถุงพลาสติกหนาเพือ่ ให้ชดุ ปฏิบตั กิ ารท�าลายล้างพิษ ขนย้ายไปให้ไกล เครือ่ งช่วยหายใจถอดออกจากการสะพายหลัง หากจ�าเป็น 336

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ผูช้ ว่ ยเหลือควรควบคุมเครือ่ งสะพายหลัง ก่อนการถอดหน้ากากออกก�าลังพล ควรหลับตาและกลั้นหายใจ จากนั้นถอดหน้ากากออกและปล่อยทิ้งไว้ใน ขณะทีก่ า้ วข้ามแนวควบคุมการเปือ้ นพิษและเข้าสูเ่ ขตปลอดภัย ผูช้ ว่ ยเหลือ น�าหน้ากากใส่ลงในถุงพลาสติกหนาและน�าออกไปให้ห่าง

การอาบน�้าและแต่งตัวอีกครั้ง (Shower and Redress) ง-๒๘ หากจ� า เป็ น ก� า ลั ง พลควรอาบน�้ า และแต่ ง ตั ว ก่ อ นการ ประเมินผลทางการแพทย์หลังจากได้เข้าไปอยู่ในเขตอันตราย

การประเมินผลทางการแพทย์ (Medical Evaluation) ง-๒๙ หลังจากที่ผู้ตอบสนองเหตุได้เข้าไปในเขตอันตรายแล้ว ก�าลังพลเหล่านั้นต้องเข้ารับการประเมินผลทางการแพทย์ เพื่อช่วยในการ ค้นหาประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่เข้า ปฏิบัติการ ง-๓๐ กระบวนการท�าลายล้างพิษและการเฝ้าตรวจหามีลกั ษณะ จ�าเพาะส�าหรับในแต่ละอุบัติการณ์/เหตุการณ์ เทคนิคการท�าลายล้างพิษ อาจใช้เทคนิคด้านกายภาพและ/หรือด้านเคมี วิธีการท�าลายล้างพิษที่เลือก มาใช้ควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะของอันตราย, ผู้ตอบสนองเหตุ, ต�าแหน่งที่ตั้ง และยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ ไม่ส�าคัญว่าจะใช้วิธีการใด ๆ แต่ หวั ง ผลลั พ ธ์ คื อ การก� า จั ด หรื อ ลดการเปื ้ อ นพิ ษ ลงมาอยู ่ ใ นระดั บ ที่ มี ความปลอดภัย ในขณะที่กักอันตรายไว้ให้อยู่แต่ในเฉพาะเขตอันตรายและ ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ 337

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก (Mass Casualty Decontamination) ง-๓๑ การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก หมายถึงการท�าให้ เป็นกลางหรือขจัดสาร คชรน. จากผู้ป่วยจ�านวนมากที่เปื้อนพิษ อีกทั้ง ยังเป็นการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพให้เหลือน้อยที่สุด และเอื้ออ�านวยต่อ การรักษาที่จะตามมาในภายหลัง

การจัดตั้งสถานที่ท�าลายล้างพิษ (Site Setup) ง-๓๒ ก�าลังทหารที่รับผิดชอบในการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวน มากอาจให้ ก ารสนับสนุนโดยฝ่ายพลเรือนมีบทบาทน� า ในการปฏิ บั ติใน ช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ยทีเ่ ดินได้และผูป้ ว่ ยทีเ่ ดินไม่ได้ ในทางกลับ กันผู้ตอบสนองเหตุฝ่ายทหารที่ด�าเนินการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก อาจรั บ ผิ ด ชอบในการจั ด ตั้ ง สถานที่ ท� า ลายล้ า งพิ ษ ผู ้ ป ่ ว ยจ� า นวนมาก อีกนัยหนึง่ คือการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยทหารยังมีผลบังคับอยูใ่ นบริเวณนัน้ ง-๓๓ ด้วยภาวะผู้น�าทางทหารได้มีการประสานอย่างเป็นทางการ ด้วยความเหมาะสม (เป็นส่วนหนึ่งของการส�ารวจสถานที่) เพื่อเลือกสถานที่ ที่อยู่เหนือลมและบนเนินสูงจากแหล่งเปื้อนพิษ สถานที่นั้นควรมีการส่งน�้าได้ อย่างเพียงพอ มีการระบายน�้าได้ดี และยานพาหนะเข้าถึงได้โดยสะดวก ง-๓๔ การวางแผนเป็ น สิ่ ง ที่ ช ่ ว ยตกลงใจถึ ง บริ เวณที่ จ ะจั ด ตั้ ง สถานีเพื่อสนับสนุนการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่เดินได้และผู้ป่วยบนเปลหาม ผู้น�าชุดปฏิบัติการท�าลายล้างพิษวางผังสถานที่พร้อมกับ .l ทบทวนผังของเขตอันตราย เขตเฝ้าระวัง และเขตปลอดภัย l ก�าหนดจุดทางเข้าและทางออก 338

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

l

l

l

ก�าหนดแนวควบคุมหยดเหลวและควบคุมไอ ก�าหนดขัน้ ตอนการควบคุมน�า้ ทีเ่ กิดจากการท�าลายล้างพิษ ตรวจสอบถึงความจ�าเป็นในการป้องกัน เท่าที่จ�าเป็น

การปฏิบัติการ (Operations) ง-๓๕ ชุดปฏิบตั กิ ารจัดตัง้ สถานทีท่ า� ลายล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก ทรัพยากรได้ถูกก�าหนดไว้เพื่อให้การปฏิบัติงานแต่ละส่วนบรรลุผลส�าเร็จ (แต่ละสถานี) ส�าหรับการปฏิบัติการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก ชุดควบคุมบังคับบัญชาคอยให้ค�าแนะน�าในบริเวณสถานที่ท�าลายล้างพิษ ผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก ชุดควบคุมบังคับบัญชาด�ารงการติดต่อสือ่ สารกับก�าลังพล ทีป่ ฏิบตั กิ ารในเขตปลอดภัย เขตเฝ้าระวัง และในเขตอันตราย ชุดควบคุมบังคับ บัญชาจัดล�าดับความเร่งด่วนและจัดหาทรัพยากรเพิม่ เติม (ตามความจ�าเป็น) ขัน้ ตอนการปฏิบตั ดิ งั ทีแ่ สดงไว้ในด้านล่างสามารถน�ามาประยุกต์ใช้เมือ่ ทราบ ประเภทของอันตราย ขัน้ ตอนการปฏิบตั สิ ามารถปรับเปลีย่ นได้หากได้ทราบ ถึงประเภทของอันตราย (ตัวอย่างเช่น วัตถุทที่ า� ปฏิกริ ยิ าในลักษณะกัดกร่อน เมื่อสัมผัสกับน�้า, ระยะเวลาที่เกิดอันตรายต่อผิวหนังซึ่งเป็นการเปื้อนพิษ ที่เสื้อผ้าก่อนที่จะถูกถอดออกก่อนเพื่อช�าระร่างกาย หรือความต้องการ ในการท�าลายล้างพิษสารชีวะหรือสารรังสี แตกต่างจากการเปือ้ นพิษสารเคมี หรือวัตถุอุตสาหกรรมอันตราย) นอกจากนั้น อาจจ�าเป็นต้องพิจารณาถึง การปรับเปลีย่ นการก�าหนดต�าแหน่งช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ ส�าหรับ การปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุการณ์ในสภาพอากาศหนาว (รายละเอียดเพิ่ม เติมเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติในการท�าลายล้างพิษ ศึกษาได้จากคู่มือ 339

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

FM 4-02.7/MCRP 4-11.1F/NTTP 4-02.7/AFTTP 3-42.3; คู่มือ Emergency Response Guidebook; และคู่มือ FM 3-11.5/MCWP 3-37.3/ NTTP 3-11.26/AFTTP(I) 3-2.60) ในรูป ง-๓ แสดงตัวอย่างการปฏิบตั กิ าร ท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก หมายเหตุ: จ�านวนสถานีและก�าลังพลที่จ�าเป็นต่อการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยเป็นจ�านวน มาก จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น จ�านวนและประเภทของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ, สารที่ น�ามาใช้ และสภาพอากาศ อาจไม่จ�าเป็นต้องจัดตั้งครบทุกสถานีตามที่ได้อธิบายไว้ใน หัวข้อนี้ กระบวนการท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน/ท�าลายล้างพิษตนเอง พื้นที่ท�าลายล้างพิษ

พื้นที่เปื้อนพิษ ทิศทางการ เคลื่อนที่ กำกของเสียที่ เปื้อนพิษ

ห่อของใช้ส่วนตัวใส่ถุงพลาสติกหนา

พื้นที่รักษาพยาบาล ต�ารวจ

ท�าลายล้างพิษตนเอง ขจัดสิ่งปนเปื้อน/ จุดเฝ้าตรวจหาการ พื้นที่สวมใส่ ฉุกเฉิน (มีบาดแผล/ ถอดเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว อาบน�้า เปื้อนพิษ เสื้อผ้า แผลไหม้ และชโลม ถ้ำกำรท�ำลำยล้ำงพิษไม่สมบูรณ์ ให้เปียกน�้า)*

จุดเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

กำรท�ำลำยล้ำงพิษผู้ป่วยที่เดินได้ กำรท�ำลำยล้ำงพิษผู้ป่วยที่เดินไม่ได้

จุดรวบรวม ผู้ป่วย/บันทึกเข้ำ

ท�าลายล้างพิษตนเอง ฉุกเฉิน (มีบาดแผล/ แผลไหม้ และชโลม ให้เปียกน�้า)*

เคลื่อนย้ายผู้ป่วย

พื้นที่รักษาพยาบาล ที่ปลอดภัย

ถ้าการท�าลายล้างพิษไม่สมบูรณ์ ห่อของใช้ส่วนตัวใส่ถุงพลาสติกหนา

ต�ารวจ

ให้การรักษาฉุกเฉิน (หากจ�าเป็น) ทิศทางลม * ชโลมศีรษะและเสื้อผ้าให้เปียกน�้าก่อนถอดเสื้อผ้าออก ในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารชีวะและสารรังสี เขตอันตราย

เขตเฝ้าระวัง

รูปที่ ง-๓ การปฏิบัติการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก

340

เขตปลอดภัย

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

จุดรวบรวมผู้ป่วย (Casualty Collection Point) ง-๓๖ งานที่จุดนี้หมายถึงการรวบรวมผู้ป่วย บันทึกเข้าและ เตรี ย มการเพื่ อ คั ด แยกผู ้ ป ่ ว ย อาจจ� า เป็ น ต้ อ งใช้ ม าตรการควบคุ ม ฝู ง ชน เพื่อจัดการผู้ประสบภัยที่อาจเป็นฝ่ายตรงข้าม ที่สถานีนี้ด�าเนินการรับผู้ป่วย ให้ผ่านไปอย่างรวดเร็วและเจ้าหน้าที่สายแพทย์เป็นผู้จัดล�าดับความเร่งด่วน ผูป้ ว่ ยทีเ่ ดินได้จะถูกคัดแยกออกจากผูป้ ว่ ยทีเ่ ดินไม่ได้ ผูป้ ว่ ยทีเ่ ดินได้ให้ตรงไป ยังสถานีคัดแยกผู้ป่วย ส�าหรับผู้ป่วยที่เดินไม่ได้จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังสถานี คัดแยกผู้ป่วยโดยใช้พลเปล ที่สถานีนี้ใช้ก�าลังพลอย่างน้อย ๒ นาย หมายเหตุ: ในขณะที่ก�าลังเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องใช้ก�าลังพลในจ�านวนที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับบาดเจ็บเพิ่ม

ง-๓๗ งานอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติให้ส�าเร็จที่สถานีนี้ มีดังนี้ l คั ด แยกผู ้ ป ่ ว ย งานที่สถานีนี้จ�าเป็นต้องด�าเนินการโดย บุคลากรทางการแพทย์ ผูป้ ว่ ยได้รบั การคัดแยกและถูกก�าหนดความเร่งด่วน ในการรักษา ซึง่ ด�าเนินงานโดยเจ้าหน้าทีท่ างการแพทย์ทไี่ ด้รบั มอบหมายให้ ประจ�าอยู่สถานีรวบรวมผู้ป่วย l พืน ้ ทีใ่ ห้การรักษาทางการแพทย์ฉกุ เฉิน (เช่น การห้ามเลือด) ต้องมีผู้ให้การรักษาทางการแพทย์อย่างน้อย ๑ คน อยู่ประจ�าการที่สถานีนี้ l ผู้ป่วยที่ถูกบันทึกเข้า (เขตเฝ้าระวัง) ผู้ดูแลการท�าลาย ล้างพิษผูป้ ว่ ยจ�านวนมาก บันทึกจ�านวนผูป้ ว่ ยทีเ่ ข้ามา รวมทัง้ บันทึกรายการ สิ่งของที่มีค่าและสิ่งของอื่น ๆ ที่ไม่ต้องด�าเนินการท�าลายล้างพิษ ผู้ดูแล ก�าหนดหมายเลขให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งเตรียมการบันทึกการด�าเนินกรรมวิธี ผู้ป่วยในแต่ละรายและบันทึกรายการทรัพย์สินของผู้ป่วย รวมทั้งสภาพ ทางด้านการแพทย์ซึ่งมักด�าเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ที่ท�าหน้าที่คัดแยกผู้ป่วย 341

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

บันทึกเกีย่ วกับการให้การรักษาอย่างเป็นทางการซึง่ ควรได้รบั การเก็บรักษา ไว้ที่สถานีนี้ต้องการเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จ�านวน ๑ คน l พื้ น ที่ จั ด การกากของเสี ย ที่ เ ปื ้ อ นพิ ษ ควรมี ก ารจั ด ตั้ ง สถานที่กักเก็บกากของเสียอันตราย ด�าเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ส่งก�าลังบ�ารุง เพื่อรับและจัดการกากของเสียที่เปื้อนพิษ ผู้ดูแลสถานีนี้น�าเอาภาชนะ ส�าหรับใส่กากของเสียที่เปื้อนพิษไว้ตามช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษ จัดเตรียม และท�าเครือ่ งหมายส�าหรับเป็นจุดรวบรวมกากของเสียให้ชดั เจน ป้องกันผิวดินด้วยการปูด้วยผ้าใบกันน�้า ระวังป้องกันวัสดุที่เปื้อนพิษด้วย ถุงพลาสติกหนา ๆ และควบคุมการหยดของน�้าที่เปื้อนพิษจากเสื้อผ้า ที่ผ่านการท�าลายล้างพิษแล้ว l การรับของใช้ส่วนตัว สถานีแรกเข้าด�าเนินการรับและ จัดท�าบัญชีของใช้ส่วนตัว และตรวจสอบความเร่งด่วนในการท�าลายล้าง พิษของใช้เหล่านี้ ที่ส�าหรับท�าลายล้างพิษของใช้ส่วนตัวและอุปกรณ์ต่าง ๆ ควรจัดตั้งในบริเวณใกล้เคียงกับช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษผู้ป่วย การท�าลายล้างพิษสิง่ ของเหล่านีซ้ งึ่ อาจเป็นสิง่ ของทีไ่ ด้รบั มาหรือเป็นสิง่ ของ ทีจ่ บั ถือในการด�าเนินกรรมวิธที า� ลายล้างพิษ สถานีนใี้ ช้ผดู้ แู ล จ�านวน ๑ คน ในการสนับสนุนการปฏิบตั กิ ารครัง้ นี้ ของใช้สว่ นตัวทีร่ บั มาจากถุงของแต่ละ คนถูกช�าระล้างด้วยสารละลายที่ท�าให้เป็นกลาง (neutralizing solution) ผู ้ ดู แ ลสถานี ค วรปล่ อ ยให้ ส ารละลายท� า หน้ า ที่ ท� า ลายล้ า งพิ ษ ให้ น าน พอจนกว่าความเปื้อนพิษจะหมดไป จากนั้นก็ส่งสิ่งของนั้นไปตรวจหา ความเปือ้ นพิษต่อไป ผูป้ ฏิบตั งิ านในสถานีนตี้ รวจสอบความสมบูรณ์ของการ ท�าลายล้างพิษก่อนส่งคืนให้แก่ผู้ป่วย หมายเหตุ: ให้ชโลมผมและเสื้อผ้าให้เปียกน�้าก่อนเริ่มการถอดเสื้อผ้า ในระหว่างที่เกิด เหตุการณ์ด้านชีวะและรังสี

342

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ขั้นตอนการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก (Mass Casualty Decontamination Procedures) ง-๓๘ การปฏิ บั ติ ก ารท� า ลายล้ า งพิ ษ ในเขตเฝ้ า ระวั ง ได้ แ บ่ ง การปฏิบตั อิ อกเป็นขัน้ ๆ ตามล�าดับ โดยทัว่ ไปแล้ว มักเกีย่ วข้องกับการถอด เสื้อผ้าและการอาบน�้าและการขจัดสิ่งเปื้อนพิษทั้งหมดออกจากตัวผู้ป่วย ส�าหรับขั้นตอนการปฏิบัติ มีดังนี้ l การท�าลายล้างพิษฉุกเฉิน ขั้นตอนการท�าลายล้างพิษ ฉุกเฉิน (มีแผลเปิด, แผลไฟไหม้, ภาวะหมดสติจากการสูญเสียของเหลวใน ร่างกาย) ซึง่ ด�าเนินการโดยเจ้าหน้าทีท่ างด้านการแพทย์ ก่อนทีผ่ ปู้ ว่ ยจะเข้า ด�าเนินกรรมวิธีตามช่องเส้นทางการท�าลายล้างพิษผู้ป่วยจ�านวนมาก l การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่เดินได้  การถอดเสื้ อ ผ้ า และของใช้ ส ่ ว นตั ว ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง าน ประจ�าสถานีรับผู้ป่วยและให้ค�าแนะน�าในการถอดเสื้อผ้า ผู้ป่วยบางรายอาจ ต้องการความช่วยเหลือในการถอดเสื้อผ้า ผู้ปฏิบัติงานประจ�าสถานีควรมี อุปกรณ์ที่ใช้ตัด (กรรไกร, มีดนิรภัย) เพื่อช่วยในการถอดเสื้อผ้า ผ้าพันแผล ที่รัดตึงและเฝือกไม่ต้องถอดออก ให้ตัดเสื้อผ้ารอบ ๆ บริเวณผ้าพันแผลและ โดยรอบเฝือก หากมีวัสดุอย่างอื่นที่อยู่ใต้ผ้าพันแผลและเฝือกให้ปล่อยทิ้งไว้ อย่างนั้น ต้องใช้ก�าลังพล ๑ คน ปฏิบัติงานประจ�าสถานีถอดเสื้อผ้า  การขจัดสิ่งเปื้อนพิษและการอาบน�้า ผู้ปฏิบัติงาน ประจ�าสถานีรับผู้ป่วยและน�าไปสู่บริเวณอาบน�้า ผู้ปฏิบัติงานประจ�าสถานี แนะน�าขั้นตอนการอาบน�้าเพื่อความมั่นใจอีกครั้ง ผู้ป่วยเข้าไปยังต�าแหน่ง กึ่งกลางที่มีน�้าไหลออกจากหัวฉีดฝักบัว โดยยกแขนและมือขึ้นเพื่อให้น�้าไหล ผ่านให้ทวั่ ทัง้ ร่างกายตราบเท่าทีเ่ งือ่ นไขทางการแพทย์เอือ้ อ�านวย ถ้ามีฟองน�า้ ถู ตัวให้ผปู้ ว่ ยถูผวิ หนังด้วยฟองน�า้ ตัง้ แต่ศรี ษะจรดปลายเท้า ถ้าผูป้ ว่ ยไม่สามารถ 343

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ฉีดช�าระแขนและมือได้ ผูด้ แู ลประจ�าสถานีควรใช้ความพยายามเพือ่ ให้มนั่ ใจว่า น�้าสามารถฉีดครอบคลุมไปถึงแขนและมือ ผู้ดูแลประจ�าสถานีเปิดน�้าและ ปรับหัวฉีดในแนวตัง้ ขึน้ ให้ฉดี ได้ถงึ ศีรษะ ปรับแนวฉีดน�า้ ด้านข้างให้สามารถฉีด เข้าถึงจุดซ่อนเร้นของร่างกาย และมัน่ ใจว่าบริเวณปิดผ้าพันแผล/เฝือกถูกโกรก ด้วยน�า้ อย่างทัว่ ถึง ผูด้ แู ลประจ�าสถานีปดิ การไหลของน�า้ เมือ่ มัน่ ใจว่าผูป้ ว่ ยได้ ช�าระร่างกายแล้วอย่างทัว่ ถึง และแนะน�าให้ผปู้ ว่ ยเคลือ่ นย้ายไปยังสถานีถดั ไป ต้องใช้ก�าลังพลปฏิบัติงานประจ�าสถานีช�าระร่างกาย ๑ คน  จุดเฝ้าตรวจหาการเปื้อนพิษ ผู้ป่วยต้องได้รับการ ตรวจสอบหาความสมบูรณ์ของการท�าลายล้างพิษ และได้บันทึกสถานภาพ การท�าลายล้างพิษในบัตรที่ใช้แสดงการผ่านการท�าลายล้างพิษมาแล้ว ต้องใช้ก�าลังพลปฏิบัติประจ�าสถานีเฝ้าตรวจ ๑ คน l การท�าลายล้างพิษผู้ป่วยที่เดินไม่ได้  การถอดเสื้ อ ผ้ า และของใช้ ส ่ ว นตั ว ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง าน ประจ�าสถานีรับผู้ป่วยซึ่งนอนอยู่บนเปลใช้อุปกรณ์ส�าหรับตัด ผู้ปฏิบัติงาน ประจ�าสถานีตัดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก ต้องใช้เจ้าหน้าที่ ๑ คน คอยพยุงผู้ป่วย ทีน่ อนอยูบ่ นเปล ผูป้ ฏิบตั งิ านประจ�าสถานีอาจร้องขอให้ชว่ ยเหลือในการยก ตัวผู้ป่วย โดยใช้ก�าลังพล ๔ คน เพื่อยกเปลผู้ป่วยและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ไปยังเปลที่สะอาดชุดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะพาผู้ป่วยไปยังสถานีถอดเสื้อผ้า เปลผู้ป่วยถูกน�าไปวางบนรางลูกกลิ้งโดยเอาศีรษะเข้าก่อน และเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยบนลูกกลิ้งให้ผ่านการฉีดช�าระด้วยน�้า หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่สายแพทย์เฝ้าตรวจผู้ป่วยในทุกขั้นตอนของการท�าลายล้างพิษ – โดยเฝ้าดูอาการบ่งชี้ถึงภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต�่าเกินไป, การจัดการกับผ้าพันแผล และเฝือก และให้การรักษาทางการแพทย์ ตามความจ�าเป็น

344

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การขจัดสิง่ เปือ้ นพิษและการอาบน�า้ ชุดปฏิบตั กิ าร สนับสนุนการช�าระร่างกายของผู้ป่วยด้วยน�้าจากฝักบัวและหัวฉีดฝอยน�้า ด้านข้าง ผู้ป่วยถูกเคลื่อนย้ายบนลูกกลิ้งอย่างช้า ๆ ผ่านน�้าที่ไหลออกจาก ฝักบัวให้นานพอที่จะขจัดสิ่งเปื้อนพิษออกไปได้ทั้งหมด สถานีนี้ต้องการ ผู้ดูแลสนับสนุนการปฏิบัติ จ�านวน ๒ คน  จุดเฝ้าตรวจหาการเปื้อนพิษ ที่สถานีนี้ผู้ป่วยได้รับ การเฝ้าตรวจเพือ่ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการท�าลายล้างพิษ และบันทึก สถานภาพการท�าลายล้างพิษในบัตรทีไ่ ด้แสดงถึงการผ่านการท�าลายล้างพิษ ต้องใช้ก�าลังพลปฏิบัติประจ�าสถานีเฝ้าตรวจ จ�านวน ๓ คน l พืน ้ ทีส่ วมใส่เสือ้ ผ้าหลังผ่านการท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ย จ�านวนมาก (เขตปลอดภัย) ผู้ป่วยได้รับการปิดคลุม (เสื้อคลุมทางการ แพทย์, ผ้าปูที่นอน, เสื้อกันฝน และผ้าคลุมใช้ครั้งเดียว) ก่อนถูกส่งต่อไปยัง การประเมินผลทางการแพทย์และพื้นที่รักษาพยาบาลในพื้นที่ปลอดภัย l การประเมินผลทางการแพทย์หลังผ่านการท�าลายล้าง พิษผู้ป่วยจ�านวนมาก (เขตปลอดภัย)  การคัดแยกผูป ้ ว่ ยหลังผ่านการท�าลายล้างพิษผูป้ ว่ ย จ�านวนมาก ที่สถานีนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินผลอย่างละเอียดโดย เจ้าหน้าทีท่ างการแพทย์ทเี่ ป็นก�าลังส่วนเพิม่ เติม โดยไม่มขี อ้ จ�ากัดในการปฏิบตั ิ การจากการใช้ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน  การรักษาพยาบาลฉุกเฉินหลังผ่านการท�าลายล้าง พิษผู้ป่วยจ�านวนมาก การปฏิบัติการที่สถานีนี้ ท�าให้เกิดการแทรกแซง ทางการแพทย์โดยไม่มีข้อจ�ากัดจากการใช้ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน 

345

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย มีการชุมนุมผู้ป่วยที่สถานี นี้และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือได้รับการเคลื่อนย้ายไปยังสถานรักษา พยาบาลทีใ่ ห้การสนับสนุน หากมีเจ้าหน้าทีท่ างการแพทย์พร้อม ผูป้ ว่ ยก็จะ ได้รบั การเฝ้าตรวจในระหว่างกระบวนการเคลือ่ นย้าย เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าสุขภาพ ของผู้ป่วยยังคงทรงสภาพเป็นปกติ 

การสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support) ง-๓๙ การสนับสนุนบริการสุขภาพในขั้นการปฏิบัติการฟื้นฟู ไม่ได้จ�ากัดแต่เฉพาะในเรื่องที่ได้อธิบายไว้ในตารางที่ ง-๑

การส่งก�าลังบ�ารุง (Logistics) ง-๔๐ การส่งก�าลังบ�ารุงเป็นงานทีช่ ว่ ยฟืน้ ฟูกา� ลังของหน่วย ซึง่ ได้ ใช้ทรัพยากรที่มีค่าของหน่วยจนหมดสิ้นไป ในระหว่างการด�าเนินการแก้ไข สถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. ในระหว่างการปฏิบตั กิ ารฟืน้ ฟูหน่วยมัก ใช้การปฏิบตั กิ ารด้านการส่งก�าลังบ�ารุงเพือ่ เตรียมความพร้อมส�าหรับภารกิจ ครั้งใหม่ในอนาคต ง-๔๑ การปฏิบัติการฟื้นฟูด้านการส่งก�าลังบ�ารุงภายหลังการ ปฏิบตั กิ ารแก้ไขสถานการณ์อนั เนือ่ งมาจาก คชรน. มักเกีย่ วข้องกับการฟืน้ ฟู การฟื้นสภาพ การประกอบก�าลังขึ้นใหม่ และการด�ารงสภาพการปฏิบัติ การของหน่วยให้ดา� เนินไปอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ การเตรียมความพร้อมส�าหรับ ภารกิจครั้งใหม่ พันธกิจการฟื้นฟูทั่วไป อาจได้แก่ 346

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การซ่อมบ�ารุงยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันตนและการส่งก�าลังเพิม่ เติม l การท�าลายล้างพิษยุทโธปกรณ์ การซ่อมบ�ารุง การปรับ เทียบเครื่องมือวัด และการส่งก�าลังเพิ่มเติมส�าหรับสิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลือง l คัดกรองทางด้านแพทย์หลังจากเกิดเหตุการณ์ l

การปฏิบัติการเปลี่ยนผ่าน (Transition Operations) ง-๔๒ หน่วยทหารทีท่ า� หน้าทีต่ อบสนองเหตุการณ์ได้เปลีย่ นผ่าน เพื่อกลับเข้าสู่ที่ตั้งปกติ หลังจากที่เชื่อว่าภารกิจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากก�าลังทหารอีกต่อไป เมื่อได้รับการแจ้งเตือน และได้รับอนุมัติจาก บก.หน่วยเหนือ ก็เริ่มการปฏิบัติการเปลี่ยนผ่านได้ ตารางที่ ง-๑ รายการตรวจสอบการสนับสนุนบริการสุขภาพส�าหรับการ ปฏิบัติการฟื้นฟู การคัดแยกผู้ป่วย  ใช้ระดับเครื่องแต่งกายยุทธภัณฑ์ป้องกันตน/ยุทธภัณฑ์ป้องกันประจ�ากาย อย่างเหมาะสม  แนะน�าผู้ป่วยให้ไปยังจุดที่ให้การรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือช่องเส้น ทางการท�าลายล้างพิษผู้ป่วย ซึ่งเป็นไปตามสภาพการคัดแยกผู้ป่วยตาม ลักษณะการบ่งชี้ทางการแพทย์  ให้การสนับสนุนการคัดแยกผู้ป่วยในบริเวณพื้นที่พักรอในเขตปลอดภัย  จัดประเภทผู้ป่วยตามขั้นตอนการคัดแยกผู้ป่วยที่เหมาะสม ตามสถานภาพ บ่งชี้ทางการแพทย์  จัดการสนับสนุนการคัดแยกผู้ป่วยที่จุดรวบรวมผู้ป่วย

347

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

การรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉิน คาดหวังว่ามีการใช้ระดับยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันตน/ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันประจ�ากายทีเ่ หมาะสม   จัดให้มขี น้ั ตอนการรักษาทางการแพทย์ฉกุ เฉินทีจ่ ดุ รวบรวมผูป้ ว่ ยในเขตเฝ้าระวัง  จัดให้มีขั้นตอนการรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉินที่พื้นที่พักรอในบริเวณเขต ปลอดภัย ตามความจ�าเป็น การท�าลายล้างพิษผู้ป่วย  จัดให้มีการรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉินและให้ค�าแนะน�าด้านการแพทย์ใน ขั้นตอนการท�าลายล้างพิษผู้ป่วย  จัดการ/ท�าลายล้างพิษบริเวณเฝือก/ผ้าพันแผลกดรัดในบริเวณพื้นที่ท�าลาย ล้างพิษผู้ป่วย (ดูรายละเอียดในคู่มือ FM 4-02.7/MCRP 4-11.1F/NTTP 4-02.7/AFTTP 3-42.3) การส่งกลับสายแพทย์  จัดให้มีการเคลื่อนย้ายหรือส่งผู้ป่วยไปยังที่รักษาพยาบาลภายใต้ขีดความ สามารถของหน่วย  จัดให้มีการรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มเติมในระหว่างเส้นทาง ส�าหรับชุด ปฏิบัติการตอบสนองประจ�าท้องถิ่นที่ท�าหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วย  ประสานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  ก�าหนดเส้นทางการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางภาคพื้นดิน  ตรวจสอบพื้นที่พักรอส�าหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และแผนการท�าลายล้าง พิษรถพยาบาล  ประสานกับผู้ประสานงาน กห. ประจ�าศูนย์ประสานงานแห่งชาติเพื่อหา สถานที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เหมาะสม

348

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ง-๑ รายการตรวจสอบการสนับสนุนบริการสุขภาพส�าหรับการ ปฏิบัติการฟื้นฟู (ต่อ) การรับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล  ก�าหนดพื้นที่ท�าลายล้างพิษผู้ป่วยและพื้นที่รับผู้ป่วย ในบริเวณใกล้เคียงกับ โรงพยาบาล  รับผู้ที่ได้บาดเจ็บจากสถานที่เกิดเหตุ  จัดให้มีการคัดแยกผู้ป่วยในพื้นที่รับผู้ป่วย ประเมินผู้ป่วยเพื่อก�าหนด สถานภาพการท�าลายล้างพิษ  จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในบริเวณรับผู้ป่วย ตามความจ�าเป็น  ด�าเนินการตามขั้นตอนการท�าลายล้างพิษผู้ป่วย ตามความจ�าเป็น  รับผู้ป่วยเข้ารักษาที่ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน จัดให้มีการบริการ ทางการแพทย์ฉุกเฉิน ตามความจ�าเป็น  รับผู้ป่วยเข้ารักษาในพื้นที่ที่ให้บริการทางการแพทย์ ตามลักษณะอาการบ่งชี้ ทางการแพทย์  อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านในรายที่ไม่มีความจ�าเป็นต้องเข้าพักรักษาใน โรงพยาบาล  ประสานกับศูนย์ประสานงานแห่งชาติ เพื่อหาโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยเข้าพัก รักษาในโรงพยาบาล

349

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ง-๑ รายการตรวจสอบการสนับสนุนบริการสุขภาพส�าหรับการ ปฏิบัติการฟื้นฟู (ต่อ) การบริการทางการแพทย์เพิ่มเติม  จัดให้มีการบริการทางการแพทย์เพิ่มเติมให้แก่ที่รักษาพยาบาลแรกรับผู้ป่วย  จัดให้มีการบริการเพิ่มเติมในบริเวณรับผู้ป่วยของที่รักษาพยาบาล และจัดให้มี พื้นที่ท�าลายล้างพิษ  จัดให้มีการบริการเพิ่มเติมในบริเวณบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินของที่รักษา พยาบาล  จัดให้มีการบริการเพิ่มเติมในบริเวณที่ให้การบริการทางการแพทย์  ประสานกับเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่สายแพทย์ส�าหรับการเพิ่มเติมก�าลังเพื่อให้ความ ช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน เช่นการยกเปลผู้ป่วย อธิบายศัพท์ DOD Department of Defense (กระทรวงกลาโหม, กห.) EMT emergency medical treatment (การบริการทางการแพทย์ฉกุ เฉิน) IPE individual protective equipment (ยุทธภัณฑ์ปอ้ งกันประจ�ากาย) MTF medical treatment facility (ที่รักษาพยาบาล) PPE personal protective equipment (ยุทธภัณฑ์ป้องกันตน)

350

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ง-๒ รายงานการตรวจสอบยุทธภัณฑ์ป้องกันตน รายการยุทธภัณฑ์ ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟู ป้องกันตน เครื่องแต่งกาย  กลับเอาด้านในของชุดเครื่องแต่งกายป้องกันที่ไม่เปื้อนพิษออก ป้องกัน ระดับ A น�าไปแขวนไว้บนตะขอส�าหรับแขวนบนราวแขวน หรือในโรงเก็บ ส�าหรับการท�าความสะอาด  ใช้นา�้ ยาฆ่าเชือ้ โรค ๑ ออนซ์ ผสมกับน�า้ ยาฟอกขาวเหลว ๒๔ ออนซ์ เติมน�้าให้ได้ขนาด ๑ แกลลอน ท�าความสะอาดทั้งด้านนอกและ ด้านในชุดเครื่องแต่งกายป้องกัน ปล่อยทิ้งไว้นานประมาณ ๑๐ นาที  ล้างด้วยน�้าสะอาดให้ทั่วทั้งชุด และผึ่งลมให้แห้ง กลับเอาด้าน นอกออก  ท�าความสะอาดด้านนอก (หากจ�าเป็น) ด้วยฟองน�้า และผึ่งให้แห้ง  ตรวจชุดเครือ่ งแต่งกายป้องกันอย่างละเอียด เพือ่ ดูวา่ ยังสามารถน�า ไปใช้งานต่อไปได้หรือไม่ หรือตรวจหาการช�ารุดเสียหาย (แต่ละคน ต้องด�าเนินการบันทึกการตรวจสอบ และบันทึกผลลงในสมุดบันทึก การตรวจสอบเครื่องแต่งกายป้องกัน)  พับให้ถูกวิธีและน�าไปใส่ถุงส�าหรับจัดเก็บที่ก�าหนดไว้  ใช้แปรงขนแข็ง ๆ ปัดถุงจัดเก็บแต่ละถุงเพื่อปัดฝุ่นที่สะสมอยู่บน ถุงจัดเก็บ รองเท้าป้องกัน  น� า เอารองเท้ า ป้ อ งกั น ไปแช่ ใ นน�้ า สบู ่ อุ ่ น ๆ นานประมาณ ๑๐ นาที แล้วล้างด้วยน�้าอุ่นให้ทั่วทั้งรองเท้า  ขจัดเศษดินทีต่ ดิ ตามรองเท้าด้วยแปรงขนนุม่ ตามความจ�าเป็น  ผึ่งลมให้แห้ง หงายรองเท้าขึ้น-ลง จนรองเท้าแห้งสนิท ถุงมือป้องกัน  น�าเอาถุงมือป้องกันไปแช่ในน�้าสบู่อุ่น ๆ นานประมาณ ๑๐ นาที แล้วล้างด้วยน�้าอุ่นให้ทั่วทั้งถุงมือ  ผึ่งลมให้แห้ง กลับเอาด้านใน-ด้านนอกออก จนถุงมือแห้งสนิท

351

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ง-๒ รายงานการตรวจสอบยุทธภัณฑ์ป้องกันตน (ต่อ) รายการยุทธภัณฑ์ ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟู ป้องกันตน ระบบถังอากาศ  เช็ดบริเวณภายนอกด้วยผ้าเปียกและผึง่ ลมให้แห้ง (ระบบถังอากาศ อัดช่วยหายใจ อัดช่วยหายใจทุกแบบ จะประกอบด้วยถังอากาศอัดบรรจุอากาศ หายใจ, สายรัดและโครงสะพายหลัง เพื่อพยุงอุปกรณ์นี้เข้ากับ ร่างกายของผูส้ วมใส่ และส่วนหน้ากากหายใจ โดยทีส่ ว่ นนีอ้ าจเป็น โครงพลาสติกแข็ง ชิ้นส่วนทั้งหมดนี้จะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป) ถังอากาศอัด  ตรวจดูถังอากาศอัดช่วยหายใจด้วยสายตาก่อนน�าไปใช้งาน เพื่อ บรรจุอากาศ หารอยผุและรอยกัดกร่อน (ตามด) ของชิ้นส่วนโลหะ หรือวัสดุที่ ส�าหรับหายใจ ใช้ห่อหุ้ม  ถอดถังอากาศอัดออก ไม่น�าไปใช้งานหากพบว่ามีการช�ารุด หรือ เป็นถังอากาศอัดเปล่า  เช็ดท�าความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ซึ่งอาจสะสมขึ้นในระหว่าง การน�าไปใช้งาน  ตรวจสอบวันที่ทดสอบหารอยรั่วด้วยน�้า (hydrostatic test) สายรัดถังอากาศ  ตรวจดูสายรัดแต่ละเส้นและโครงสะพายหลังด้วยสายตา เพื่อหา อัดช่วยหายใจ รอยฉีกขาด/การหลุดลุ่ยของสายรัด, ชิ้นส่วนยางที่ก�าหนดอายุ, และโครงสะพาย การท�างานของเข็มขัดรัดและความช�ารุดเสียหายใด ๆ ที่อาจขึ้น หลัง กับสายรัดและโครงสะพายหลัง  ถอดสายรัดและโครงสะพายหลังที่ช�ารุดเพื่อส่งซ่อม  เช็ดถูเอาฝุน่ ทีเ่ กาะอยูต่ ามชิน้ ส่วนหรือส่วนประกอบออกด้วยมือ ชิ้นส่วนหน้ากาก  ถอดชุดควบคุมการหายใจออกจากส่วนหน้ากาก (จ�าเป็นมาก ของระบบถัง ส�าหรับชิน้ ส่วนหน้ากากของระบบถังอากาศอัดช่วยหายใจทุกแบบ) อากาศอัด  ท�าความสะอาดชิ้นส่วนหน้ากากด้วยการแช่ในน�้าสบู่อุ่น ๆ นาน ช่วยหายใจ ประมาณ ๑๐ นาที จากนั้นล้างด้วยน�้าสะอาด  ล้างด้วยน�้าดื่ม โดยฉีดเป็นฝอยจากขวดน�้าดื่ม หรือปล่อยน�้าไหล ผ่านอย่างช้า ๆ

352

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ง-๒ รายงานการตรวจสอบยุทธภัณฑ์ป้องกันตน (ต่อ) รายการยุทธภัณฑ์ ป้องกันตน

ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟู  เตรียมน�้ายาฆ่าเชื้อโรคเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (ใช้น�้ายาฟอกขาว ประมาณ ๒ ช้อนโต๊ะต่อน�้า ๑ แกลลอน หรือจะใช้น�้ายาฆ่าเชื้อโรค ที่มีขายกันทั่วไป หรือใช้แผ่นน�้ายาฆ่าเชื้อ (ที่มีส่วนผสมของไอโซ โพรพิลแอลกอฮอล์ ความเข้มข้น ๗๐%)  สะบัดเอาน�้าที่ติดค้างออกจากหน้ากาก หากมีเวลา ให้แขวนผึ่ง ลมไว้จนกว่าจะแห้ง (ถ้าไม่มีเวลา ให้ใช้ท�าให้แห้งด้วยผ้าพันแผล ที่สะอาดและปราศจากส�าลี หรือใช้อุปกรณ์เป่าผมด้วยลมเบา ๆ หรือใช้อากาศหายใจเป่าให้แห้งโดยใช้แรงดันประมาณ ๓๐ ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว หรือแรงดันน้อยกว่านี้  ต่อหน้ากากเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมการหายใจหลังจากที่หน้ากาก แห้งแล้ว  ส่งชิ้นส่วนหน้ากากที่ช�ารุดไปยังส่วนที่มีหน้าที่ในการซ่อมบ�ารุง หน้ากาก

เครื่องกรอง อากาศ ให้บริสุทธิ์

 ถอดเปลี่ยนเครื่องกรองอากาศหรือกล่องใส่เครื่องกรอง อากาศ เครื่องกรองอากาศและกล่องใส่เครื่องกรองอากาศ ต้องไม่น�าไปล้างน�้า  ทิ้งเครื่องกรองอากาศที่อุดตัน หรือกล่องใส่เครื่องอากาศที่ได้ ใช้งานมาแล้ว  ถอดวาล์วและชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่น�ากลับมาใช้ได้  ช�าระล้างหน้ากากและส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วยน�้ายาฟอก ขาวอ่อน ๆ กับน�้าอุ่น (อย่าใช้สารละลายอินทรีย์ อาจใช้ แปรงขนนุ่มขจัดหรือปัดเศษดินเศษหินออก)  ล้างชิ้นส่วนเครื่องช่วยหายใจและส่วนประกอบด้วยน�้าอุ่นที่ สะอาด

353

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ง-๒ รายงานการตรวจสอบยุทธภัณฑ์ป้องกันตน (ต่อ) รายการยุทธภัณฑ์ ป้องกันตน

ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟู

 เตรียมน�้ายาฆ่าเชื้อโรคเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (ใช้น�้า ยาฟอกขาวประมาณ ๒ ช้อนโต๊ะต่อน�้า ๑ แกลลอน หรือใช้น�้ายาฆ่าเชื้อโรคที่มีขายกันทั่วไป หรือใช้ แผ่นน�้ายาฆ่าเชื้อ (ที่มีส่วนผสมของไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ ความเข้มข้น ๗๐%)  แช่ชิ้นส่วนหน้ากากและส่วนประกอบในน�้ายาฆ่าเชื้อ นานประมาณ ๒ นาที แล้วล้างด้วยน�้าอุ่นที่สะอาด และผึ่งลมให้แห้งโดยทิ้งไว้ทั้งคืน  ประกอบเครื่องช่วยหายใจและส่วนประกอบกลับ เข้าไปใหม่หลังจากที่แห้งสนิท  เก็บหน้ากากและกล่องบรรจุเครื่องกรองอากาศใน ภาชนะที่ปิดสนิทมิดชิดเมื่อไม่ได้ใช้ จัดเก็บในสภาพ แวดล้อมที่สะอาด, แห้ง, อุณหภูมิปกติ และปราศจาก การเปื้อนพิษ (มีความส�าคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องจัดเก็บ กล่องเครื่องกรองอากาศและไอไว้ในภาชนะปิดสนิท ในระบบสุญญากาศ เพื่อว่าเครื่องกรองอากาศจะไม่ ดูดซับเอาอากาศจากสภาพแวดล้อมในบริเวณจัดเก็บ ซึ่งท�าให้อายุการใช้งานของแผ่นกรองอากาศสั้นลง หากเป็นเครื่องกรองอนุภาคและฝุ่น ก็ควรได้รับการ ป้องกันฝุ่นและสิ่งสกปรก เครื่องกรองอากาศแต่ละ ชิ้นควรได้รับการตรวจสอบตามวงรอบก่อนการน�าไป ใช้งานแต่ละครั้ง และให้ทิ้งไปหากพบว่าไม่สามารถ น�าไปใช้งานได้อีกต่อไป เช่น ผ่านการสัมผัสกับการ เปื้อนพิษจากหยดเหลวของสารเคมี)

354

การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ อันเนื่องมาจากเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์

ตารางที่ ง-๒ รายงานการตรวจสอบยุทธภัณฑ์ป้องกันตน (ต่อ) รายการยุทธภัณฑ์ป้องกัน ตน

เสื้อกั๊กให้ความเย็น แผ่นสอดให้ความเย็น ในเสื้อกั๊ก

ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟู

 ตรวจสอบเสื้อกั๊กให้ความเย็นด้วยสายตา เพื่อหารอย ช�ารุดและดูความสะอาด  ซักและซ่อมแซมหากเปื้อนดินหรือหากช�ารุด  ตรวจแผ่นสอดให้ความเย็นด้วยสายตา หารอยฉีก ขาด, รอยรั่ว หรือรอยช�ารุด  ถอดแผ่นสอดให้ความเย็นทิ้งหากพบว่าช�ารุด  การซ่อมบ�ารุงท�าได้อย่างจ�ากัด ท�าได้เพียงล้างเบา ๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยน�้าอุ่น, น�้าสบู่ แล้วล้าง ออก และน�าไปแช่ในตู้เย็นส�าหรับการใช้ในอนาคต

-----------------------------

355

Data Loading...