2รายงานสรุปผลโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน - PDF Flipbook

2รายงานสรุปผลโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน

221 Views
85 Downloads
PDF 635,074 Bytes

Download as PDF

REPORT DMCA


1

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

2 รายงานสรุปผล โครงการวัวแดงรักษ์ฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน ********************* เขียนที่ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม วันที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ. 2565 เรียน มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ข้าพเจ้า นางสาวนางสาวเมธิกา วงษา ตำแหน่ง ประธานชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ พัฒนาสังคม ฝ่ายพัฒ นาสังคมและบำเพ็ญ ประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญ บุรี ขอรายงาน ความก้าวหน้า ของโครงการวัวแดงรักษ์ฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของโครงการ 1. ชื่อโครงการ วัวแดงรักษ์ฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน 2. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม 3. ผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการฯ นางสาวรุ่งนภา ครุชสินธ์ 4. วัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ 4.1 เพื่ อให้ ผู้ เข้ าร่ วมดำเนิ นโครงการได้ ท ำจิ ตอาสาเผยแพร่ ข้ อ มู ล การเคลื่ อ นตั ว ของฝู ง วัว แดงต่ อ ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศของชุมชนและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับสมัครอาสาตั้งกล้องดักถ่าย อัตโนมัติจากคนในชุมชน 4.2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมดำเนิ นโครงการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการย้อมสี ธรรมชาติ เทคนิคการมัดย้อมและการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าด้วยยางกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรในท้องถิ่น 4.3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมดำเนินโครงการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ร่วมกันจากการสำรวจและรวบรวม ข้อมูลสีที่ได้สีที่ได้จากพืชในป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรในระบบนิเวศแบบพึ่งพากัน 5. สถานที่จัดกิจกรรมตามโครงการฯ ชุมชนบ้านตีนตก ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 6. ระยะเวลาดำเนินโครงการ เมษายน 2565 - พฤษภาคม 2565 - การจัดทำสื่อ - การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่โครงการฯ - การดำเนินโครงการ 12-16 พฤษภาคม 2565

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

3 8. รายงานสรุปค่าใช้จ่ายโครงการวัวแดงรักษ์ฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน รายการงบประมาณดำเนินโครงการวัวแดงปี 65 จำนวน 100,000 บาท หมวดค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยงคนขับรถตู้โดยสารของมหาวิทยาลัยฯ มาส่งและมารับ (500 บาทx2 คันx2 วัน) ค่าเบี้ยเลี้ยงคนขับรถกระบะ 4X4 ใช้ตลอดโครงการฯ (500 บาทx1 คันx5 วัน) ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ (1,200 บาทx6 ชั่วโมงx3 วัน) ค่าตอบแทนวิทยากรสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าจากยางกล้วย (1,200 บาทx6 ชั่วโมง x2 วัน) หมวดค่าใช้สอย ค่าน้ำมันรถตู้โดยสารของมหาวิทยาลัยฯ (2 คันx ระยะทางรวม 492 กิโลเมตรx2 วัน) ค่าน้ำมันรถกระบะ 4X4 (1 คันx6 วัน ระยะทางรวม 850 กิโลเมตร) ค่าอาหาร (มื้อกลางวัน 30 คนx4 มื้อ มื้อละ 1,500 บาท มื้อเช้าและเย็น 20 คนx8 มื้อ มื้อละ 1,000 บาท) ค่าสถานที่ดำเนินโครงการฯ (บ้านป้ามุขดา) ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน (400 บาท x 6 เล่ม) ค่าด้ายฝ้ายสำหรับย้อมสีธรรมชาติ ขนาด 10/1 สั่งผ่านวิทยากรมัดย้อมฯ (5 ก้อนx520 บาท) ค่าด้ายฝ้ายสำหรับย้อมสีธรรมชาติ ขนาด 10/3 สั่งผ่านวิทยากรมัดย้อมฯ (5 ก้อนx600 บาท) ค่าผ้าสีพื้นขาว 1 ม้วน (สั่งจากวิทยากรมัดย้อมฯ) ค่าสารส้ม สั่งผ่านวิทยากรมัดย้อมฯ (5 กิโลกรัม x50 บาท) ค่าปูนกินหมาก สั่งผ่านวิทยากรมัดย้อมฯ (5 กิโลกรัม x40 บาท) ค่าผงเฟอรัสซัลเฟต 1 กิโลกรัม สั่งผ่านวิทยากรมัดย้อมฯ ค่าน้ำยางกล้วยผสมสำเร็จ สั่งจากวิทยากรยางกล้วยฯ (350 บาทx10 ขวด) ค่าน้ำมันรถวิทยากรยางกล้วยฯ (ขับมาเอง) ค่าพู่กัน (25 ด้ามX20 บาท) ค่าหน้ากากอนามัย 3 กล่อง ชุดตรวจ ATK (25 ชุดX49 บาท) ค่าเต๊นท์สำหรับวิทยากร 2 หลัง ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ค่าน้ำแข็ง ค่าอุปกรณ์ (เชือก คลิป ไม้กระดาน บานพับ ฯลฯ) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด (เครื่องปรุงเพิ่มเติม ขนม น้ำอัดลม ถุงขยะ ฯลฯ) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติม 30 พ.ค.-3 มิ.ย. 65 รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

จำนวนเงิน (บาท) 40,500 2,000 2,500 21,600 14,400 59,500 6,720 4,224 14,000 3,000 2,400 2,600 3,000 2,850 250 200 90 3,500 2,000 500 85 1,225 1,990 350 400 2,085 1,205 6,826 100,000

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

4 9. การดำเนินงาน - ติดต่อสถานที่และประสานงานเพื่อแจ้งข้อมูลการจัดกิจกรรม - จัดเตรียมอุปกรณ์ เอกสารและดำเนินการการเก็บข้อมูล - สอบถามข้อมูลในชุมชนเพิ่มเติมและประชาสัมพันธ์โครงการฯ ด้วยการสร้างช่องทางติดต่อกับ คนในชุมชนผ่านระบบออนไลน์ - ศึกษาองค์ความรู้เพื่อการจัดทำกิจกรรมในปีต่อไป ระหว่างรอสถานการณ์วิด -19 ในปี 2564 ให้คลี่คลายและยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมเต็มรูปแบบในพื้นที่โครงการฯ ได้ - ประชุมหารือ ประเมินสถานการณ์และปรับปรุงอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้เหมาะสม - จัดทำสื่อที่ใช้ในโครงการในรูปแบบต่าง ๆ ลงชื........................................ ............................. ลงชื่อ..................................................................... (นางสาวรุ่งนภา ครุชสินธ์) กรรมการฝ่ายเลขานุการ

(นางสาวเมธิกา วงษา) ประธานชมรมฯ

ผู้รับผิดชอบโครงการ และจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ ลงชื่อ...................................................................... (ผศ.ว่าที่ร.ต.หญิงยุวดี กวาตระกูล) อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ และจัดทำรายงานผลผลการดำเนินโครงการ

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

5 ส่วนที่ 2 รายงานสรุปผลโครงการวัวแดงรักษ์ฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน ข้อมูลของผู้ตอบแบบประเมิน ตารางที่ 1 จำแนกตามเพศของผู้ตอบแบบประเมิน เพศ จำนวน ร้อยละ ชาย 1 6.3 หญิง 15 93.8 รวม 16 100 จากตารางที่ 1 พบว่าผู้ตอบประเมินส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 93.8 เป็นเพศชาย 1 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 ดังแสดงในแผนภูมิที่ 1 แผนภูมิที่ 1 แสดงร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินจำแนกตามเพศ

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

6 ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของผู้ตอบแบบประเมิน รายการ

ความพึงพอใจ ด้านกระบวนการ 1. เนื้อหาในการให้ความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้าด้วยสีจากธรรมชาติมีความน่าสนใจ 2. เนื้อหาในการให้ความรู้เกี่ยวกับการวาดลวดลายเสื้อผ้าด้วยยางกล้วยมีควาน่าสนใจ 3. บรรยากาศในการเข้าร่วมกิจกรรม มีความน่าสนใจ 4. การใช้เวลาในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม 5. มีเทคนิคในการถ่ายทอดเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจได้ง่าย ความพึงพอใจ ด้านความรู้ความเข้าใจ 6. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การย้อมผ้าด้วยสีจากธรรมชาติ ก่อน เข้าร่วม กิจกรรม 7. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การย้อมผ้าด้วยสีจากธรรมชาติ หลัง เข้าร่วมกิจกรรม 8. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวาดลวดลายบนเสื้อผ้าด้วยอยางกล้วย ก่อน เข้า ร่วมกิจกรรม 9. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวาดลวดลายบนเสื้อผ้าด้วยยางกล้วย หลัง เข้า ร่วมกิจกรรม 10. มีความรู้ความเข้าใจ ถึงความสัมพันธ์ ระหว่างการมีอยู่ของวัวแดง และ การสร้าง รายได้จากวัสดุธรรมชาติ ที่มีอยู่รอบๆชุมชน ด้านการนำความรู้ไปใช้ 11. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผนการสอนและสื่อการสอน 12. สามารถนำความรู้จากกิจกรรม การวาดลวดลายเสื้อผ้าด้วยยางกล้วย ไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้านความพึงพอใจในภาพรวม/ความรูท้ ี่ได้รับ/ระยะเวลาเหมาะสม/การอำนวย ความสะดวก 13. ความรู้เกี่ยวกับ กิจกรรมการย้อมผ้าด้วยสีจากธรรมชาติและการวาดลวดลายบน เสื้อผ้าด้วยยางกล้วย ที่ได้รับโดยภาพรวม 14. ความเหมาะสม ของอุปกรณ์ ในกิจกรรม การย้อมผ้าด้วยสีจากธรรมชาติและการ วาดลวดลายบนเสื้อผ้าด้วยยางกล้วย 15. โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในกิจกรรม วัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน ภาพรวม

จากตารางที่ 2 พบว่า

S.D.

เกณฑ์ระดับ มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด

3.11

0.50 0.54 0.50 0.81 0.68 0 1.01

3.88 2.94

0.62 1.18

มากที่สุด

3.81

0.83

3.63

0.96

3.94 3.81

0.68 0.54

มากที่สุด มากที่สุด

3.88

0.62

มากที่สุด

4.00

0.63

มากที่สุด

4.00

052

3.88 4.91 3.88 3.56 3.94

มากที่สุด

มากที่สุด

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

7

ข้อเสนอแนะอื่น ๆ 1. สรุปประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ

2. ท่านจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

3. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

8 การทำแบบทดสอบก่อนและหลังอบรม ตารางที่ 3 แสดงคะแนนก่อนและหลังการอบรม ลำดับ

ชื่อ-สกุล

คะแนนก่อนทดสอบ

คะแนนหลังทดสอบ

1

นิชาภา

ลำใยเจริญ

9

12

2

สุนิสา

ทิวัฒนิฤดี

4

7

3

จินตนา

บ้านกลางกำจร

10

13

4

เค

มดแดง

7

10

5

สุพรรณี

จันทา

7

10

6

สำอาง

กำเนิด

6

8

7

มนัสนันท์

สวัสดีนที

7

10

8

กาญจนา

บ้านกลางกำจร

6

9

9

มุขดา

เอี่ยมเจริญ

9

10

10

เนรตชนก

ไวยเนตร์

5

10

11

มือดะ

บ้านกลางกำจร

6

10

12

ไม้แคะ

สวัสดิ์กระบวน

11

13

13

โชติกา

อุปการ

6

8

14

แจ่มใส

อุปการ

5

8

15 16

สาธิตา บ้านกลางสมภพ เพ็ญนภา บ้านกลางสมภพ ค่าเฉลี่ย

4 5 6.67

8 9 9.96

จากตารางที่ 2 พบว่าคะแนนหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนการอบรม

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

9 ส่วนที่ 3 ข้อมูลเพิ่มเติมและความเป็นมาของโครงการแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิถีชุมชน การปล่อยวัวแดงครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 เป็นผลมาจากการรวบรวมข้อมูลศึกษาวิจัย ของทีมงานศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมวลชนจิตอาสาอนุรักษ์วัวแดง ทุกภาคส่วน ทำให้ทราบว่า การเคลื่อนตัวของวัวแดงไปยังทุง่ สว่าง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตก ดังนั้นชุมชนบ้านตีนตกจึงยังคงเป็นพืน้ ที่สำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งเรื่อง“Corridor มนุษย์” ซึ่ง นำไปสู่โอกาสที่วัวแดงจะขยายพันธุ์ตามธรรมชาติโดยไม่มีปัญหาเลือดชิดซึ่งจะทำให้เป็นหมันได้นั้น ขึ้นกับ ปัจจัยของระบบนิเวศและโอกาสที่ชุมชนจะมอบให้แก่วัวแดงในการเดินทางผ่านไปได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ถูก ล่าจากมนุษย์ จากประเด็นนี้ ทางชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมธัญบุรี ได้ตระหนัก ถึงความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ การพึ่งพาและเอื้อประโยชน์ต่อกันในการดำรงชีวิต และ เพื่อ ความยั่งยืน ของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง จึงได้จัด โครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพั นธ์วิถี ชุมชนขึ้น ระหว่างวันที่ 12-16 พฤษภาคม 2565 ณ ชุมชนบ้านตีนตก หมู่ที่ 1 ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากวิถีชุมชนดั้งเดิมพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก ปลูกข้าวไร่ พริก มะเขือ เพื่อการบริโภค และมักจะปลูกฝ้ายไว้รอบ ๆ ไร่ข้าว เมื่อฝ้ายออกผลผลิต จะเก็บเกี่ยวแล้วนำมาปั่นเป็นเส้นด้ายไว้ย้อมสีและ ทอเป็ นผืน ผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน งานทอผ้ าเป็นงานประจำที่สำคั ญ ยิ่งของผู้หญิ งนอกเหนือไปจากงานในไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะออกเรือนแม่จะต้องมีผ้านุ่งที่ทอลวดลายเฉพาะพื้นถิ่นเตรียมไว้สำหรับลูกสาวในการมี ครอบครัว ตามวิถีของชุมชนถือทางฝ่ายหญิงเป็นใหญ่ จะให้ทางฝ่ายชายแต่งงานเข้ามาอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิ ง ช่วยกันทำไร่ หาของป่า ปลูกกล้วย ปลูกพืชไร่ และยังนิยมใช้ย่ามที่ทำขึ้นเองในครัวเรือน เป็นของคู่กายใน ชีวิตประจำวันอีกด้วย ทั้งนี้สีที่ใช้ย้อมเส้นฝ้ายจะนำมาจากเปลือกไม้และใบไม้ในป่า “เรียกได้ว่าวิถีวัฒนธรรม ของชุมชนนั้นกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างมาก แม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปของการดำเนิน ชีวิต แต่ยังคงมีกลุ่มคนในชุมชนที่สนใจเรียนรู้และต้องการฟื้นฟูวิถีชุมชนด้านการทอผ้าจากเส้นฝ้ายย้อมสี ธรรมชาติ ทางชมรมฯ จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีธรรมชาติให้แก่ คนในชุมชนที่สนใจ รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าด้วยยางกล้วยซึ่งเป็น พืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในชุมชน เพื่อสื่อ ถึงเอกลักษณ์ของชุมชนรวมทั้งนำไปต่อยอดในการพัฒนา อาชีพ” และได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศที่ให้สีสันสวยงามจากธรรมชาติตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ อีก มากเพื่อการดำรงชีพ โดยความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศธรรมชาตินั้นมีวัวแดงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ สำคัญของห่วงโซ่อาหาร โดยจะมีการจัดกิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลการเคลื่อนตัวของฝูงวัวแดงต่อความสัมพันธ์ในระบบนิเวศของชุมชน 2) กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับรับสมัครจิตอาสาติดตั้งกล้องดักถ่ายอัตโนมัติเพื่อติดตามการ เคลื่อนตัวของวัวแดง 3) กิจกรรมอบรมความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีธรรมชาติเพื่อเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชน 4) กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าด้วยยางกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรในท้องถิ่น 5) กิจกรรมการสำรวจและรวบรวมข้อมูลสีที่ได้จากพืชในธรรมชาติ ทั้งนี้ การดำเนินโครงการจะเป็นประโยชน์ ทั้งต่อหน่วยงาน ชุมชนและนั กศึกษาที่ร่วมดำเนิ น โครงการ โดยกิจกรรมรูปแบบการอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีธรรมชาติให้แก่คนในชุมชนที่สนใจ รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีในชุมชน รวมทั้ง นำไปต่ อ ยอดในการพั ฒ นาอาชี พ เพื่ อ ให้ เห็ น ถึ ง ความสำคั ญ ของระบบนิ เวศ ที่ มี วั ว แดงเป็ น หนึ่ ง ใน ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

10 องค์ประกอบที่สำคัญของห่วงโซ่อาหาร นำไปสู่การอนุรักษ์ให้ประชากรวัวแดงมีจำนวนเพิ่ มขึ้นและได้รับ การปกป้องจากมวลชนจิตอาสาอนุรักษ์วัวแดงและคนในชุมชนบริเวณเขตติดต่อระหว่างพื้นที่เขตป่าสลัก พระกับพื้นที่ป่าห้วยขาแข้งและบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา ทั้งยังได้ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีจิตอาสา ได้ฝึกทักษะการพูด การแสดงออก การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะและ ได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำงานในชุมชน อันเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ สืบไป ปัญหาอุปสรรคการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนและการแก้ไขปัญหา ข้อมูลเพิ่มเติม การทำโครงการในปีนี้สืบ เนื่องมาจากโครงการในปีที่แล้วที่จัดขึ้น ในปี 2564 มีการประชาสัมพั นธ์ โครงการ ผ่านการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และในการจัดกิจกรรมของโครงการฉันรัก (ษ์)วัวแดง รวมไปถึงการ ประชาสัมพันธ์ผ่านทางแกนนำชุมชน (นางมุขดา เอี่ยมเจริญ ผู้ดูแล ศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระ เกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ) มีการประชาสัมพันธ์การเตรียมงานอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ได้รับ ข่าวมาว่า ผู้ เข้าร่ว มอบรม ไม่ สามารถมาเข้าร่ว มอบรมได้ โดยมาทราบสาเหตุ ภ ายหลังว่าเป็น เพราะปัญ หา การเมืองในท้องถิ่น ที่มีการเข้าใจผิดกัน ทางเราได้ลงพื้นที่ไปแก้ปั ญหาอย่างเร่งด่วนโดยได้ความช่วยเหลือจาก ทางศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ เมื่อถึงวันที่จัดกิจกรรมทราบว่าทางชุมชนมีการระบาดของโรค โควิด 19 อย่างหนักทางเรามีการเตรียมตัวรับมือโดยการให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาโจด เข้ามา ตรวจ ATK ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม ก่อนร่วมกันทำกิจกรรม ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมอบรม 1 คนติดเชื้อโควิด 19 ใน การอบรม ทั้ง 5 วันมีผู้เข้าร่วมอบรมหมุนเวียนกันมา ทั้งเก่าและใหม่ บางคนหมุนเวียนเข้ามาเพราะมีการไป กระจายข่าวปากต่อปาก และบางคนหายไปสืบเนื่องจากเป็นผู้เสี่ยงสูง ตลอดระยะเวลาการอบรมผู้เข้าร่วมอบรม มีความสนใจในกิจกรรมที่ได้จัดขึ้นเนื่องจากเป็นความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดจากอาชีพที่ทำอยู่ได้ และเป็นการ คงไว้ซึ่งประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ร่วมถึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างวิทยากร นักศึกษาและชาวบ้านเอง การอบรบในครั้งนี้ ไม่เป็นเพียงแค่การนำความรู้มาให้ชาวบ้านสร้างเสริมอาชีพ แต่ยังเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ สมดุลให้กลับมา การลงพื้นที่ทำงานกับชาวบ้านโดยตรงแต่ละครั้งมีความยาก เนื่องจากทางนักศึกษาเองไม่ใช่คน ในพื้นที่ และไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่บ่อยๆได้ แต่ผลมาจากการลงพื้นที่ในแต่ละครั้งนั้น ปรากฏได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ ด้วยพื้นที่ หมู่ 1 มีความกว้างมาก รวมทั้งสิ้นกว่าสี่ร้อยหลังคาเรือน (อ้างอิงข้อ มูลจากเทศบาลตำบลเขา โจด) และยังมีการแบ่งออกเป็นคุ้มเป็นกลุ่ม ยิ่งทำให้การติดต่อประสานงานยากมากยิ่งขึ้น ไม่มีการแบ่งเขตุแดนที่ ชัดเจน มีเพียงคนในพื้นที่ที่รู้ จากการอบรมในครั้งนี้ ทำให้เราสามารถสร้างเครือข่ายชาวบ้านขึ้นมาได้ เนื่องจาก การอบรมมีระยะเวลาถึง 5 วัน ผู้เข้าร่วมอบรมที่เป็นชาวบ้านจึงเปิดใจให้ข้อมูลต่างๆกับนักศึกษามากยิ่งขึ้น หลังจากการอบรมเสร็จสิ้น ทางนักศึกษาได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลอีกครั้ง การลงพื้นที่ในครั้งนี้ง่ายกว่าครั้งอื่นๆ คนในชุมชนให้การช่วยเหลือกับเรามากยิ่งขึ้น ให้ข้อมูลที่ตนทราบ บอกถึงปัญหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ให้ความ ร่วมมือในกิจกรรมที่ให้ทำ รับฟังมากยิ่งขึ้น ทางนักศึกษาเองได้รู้จักกับชุมชนมากขึ้น รวมถึงได้ทราบเกี่ยวกับ ประเพณีในท้องถิ่นที่สำคัญ เช่นประเพณีข้าวใหม่ ผูกข้อไม้ข้อมือ ด้ายแดง ด้ายเหลือง ในเดือน 5 ทำโดยเจ้าวัด (ผู้นำความเชื่อ) เรามีโอกาสได้คุยกับเจ้าวัดด้ายเหลือง (นางไม้แคะ สวัสดิ์กระบวน และนายขะเมียโจ สวัสดิ์ กระบวน) ซึ่งเป็นผู้มาเข้าร่วมอบรมในโครงการด้วย จากการพูดคุยพบว่า ในอดีตชาวบ้านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสี ธรรมชาติมาก่อนแล้ว ในปัจจุบันก็ยังมีการย้อมอยู่หลักๆเลยคือการนำเอาฝางมาย้อมด้ายแดง และการเอาลูก ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

11 มะเกมาย้อมด้ายสีเหลือง เพื่อนำมาผูกข้อมือในพิธีที่สำคั ญ และได้พูดคุยถึงการทอผ้าแบบชาวกระเหรี่ย งท่าน บอกว่ายังมีการทอผ้าอยู่หลายบ้านเนื่องจากยังอยากคงไว้ซึ่งไว้ประเพณีที่ทำสำคัญในท้องถิ่นแต่เด็กสมัยนี้มีความ จำเป็นต้องออกไปเรียนไกลบ้าน จึงไม่มีเวลาที่จะเรียนรู้เพราะมันเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและมีความละเอียดอ่อน การทอผ้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นจึงค่อยๆหายไป ท่านและผู้เข้าร่วมโครงการยังบอกอีกว่าโครงการนี้ เป็นโครงการที่ดีเพราะได้เริ่มฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่น และยังได้ทราบเกี่ยวกับการนำวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น มาย้อม ด้ายเพื่อลดต้นทุนการผลิต ได้สีที่สวยตามธรรมชาติ ยังมีในเรื่องของการมัดย้อม ตอนอบรมนั้นทุกคนตื่นเต้น และให้ความสนใจกันมากๆ เพราะได้พับลายกันเองตามที่วิทยากรณ์ได้สอน บางคนพับลายเดียวกันแต่ออกมาไม่ เหมือนกันก็มี ลายเดียวกันได้ออกมาคนละสีก็มี อยู่ที่ว่าใครจะเลือกย้อมด้วยสีอะไรกระตุ้นด้วยอะไร เรียกได้ว่า เป็นผลงานฝีมือตัวเองชิ้นเดียวในโลกเลย ทางเราจึงได้เสนอไปว่าถ้าหากทุกคน หยิบเอาความรู้ตรงนี้ไปต่อยอด ประกอบอาชีพ เราสามารถนำมันมาขายสร้างรายได้ ได้เลย ด้วยลวดลายที่แตกต่างกันออไปความเป็นเอกลักษณ์ ด้วยสีจากธรรมชาติในชุมชนของเราเอง ยกตัวอย่าง ส.ท.ไม้ที่บ้านมีการทำเกษตรแบบอินทรีย์อยู่แล้ว มีการปลูก พืชใหม่ๆ มีการแบ่งพื้นที่ที่บ้านเป็นลานกางเต็ นท์ มีที่ขายผลไม้ขายน้ำปลอกสารเคมี มีการทอผ้าขายอยู่แล้ว หากมีการมัดย้อมเสื้อเอาไปตั้งขายยิ่งเป็นการเสริมสร้างรายได้ขึ้นไปอีก เพราะสี สันและราคาที่ดึงดูดตาดึงดูดใจ นักท่องเที่ยว บ้านป้ามุกดา ที่เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว หากนำความรู้ตรงนี้ไปต่อยอดเปิดเป็นศูนย์ การเรียนรู้เกี่ยวกับการมัดย้อม การทอผ้า ยิ่งเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการ เห็นดังนี้แล้วจึงมีการสร้างเครือข่ายสร้างไลน์กลุ่มกันเพื่อเอาไว้ปรึกษาและเปลี่ยนความรู้กัน ล่าสุดตอนนี้ทาง กลุ่มแจ้งมาว่า มีการมาแบ่งด้ายที่ได้ทำการย้อมและตากไว้ ไปแต่ละบ้านเพื่อนำเอาไปทอ หลังเลิกงานเกษตร ทำ ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมอบรมยังมีการสานต่องานจากจุดเล็กๆที่เราได้เริ่มต้นขึ้น และมีความเข้าใจถึงการมีอยู่ของน้อง วัวแดงความสมดุลของธรรมชาติการอยู่ร่วมกันระหว่างป่าสัตว์และคนมากยิ่งขึ้น

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

12

ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการสรุปผลด้านข้อมูล แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - กมล ภูพนาสวัสดิ์ หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - 22/4 (บ้านกลาง) อาชีพ : เกษตรกร และ อสม. หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ในพื้นที่มีการร่วมมือดูแลและไม่ทำร้ายวัวแดง จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ไม่มี โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - การสร้างแกนนำในชุมชน ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ไม่มี หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - นักศึกษาเข้ามาลงพื้นที่ให้ความรู้ หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - อยากให้วัวแดงยังคงอยู่ต่อไป หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - มีความเหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - มีความเหมาะสม

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

13 หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - มีความเหมาะสม หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ไม่มีปัญหา หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน ไม่มี หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - เป็นโครงการที่มีประโยชน์ หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีรำตรง มีผู้หญิงร่วมกันร้องเพลงในวันพระ - ประเพณีข้าวใหม่ - ประเพณีกินน้ำสุก ทำขึ้นในเดือน 5 ของทุกๆปี หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ไม่รู้จัก หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - พอรู้จักมาบ้างเนื่องจากเมื่อก่อนยังมีการย้อมกันอยู่ หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังคงมีอยู่แต่น้อยลงแล้ว หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - เด็กเริ่มเข้าเรียนในเมืองจึงไม่ได้สนใจที่จะสานต่อ หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - ไม่มี

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

14 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - จินดา ประสิทธิสิงห์ หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - 261 (บริเวณโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน) อาชีพ : เกษตรกร และ อสม. หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - พื้นที่ในชุมชนอยู่ในเขตป่า จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ไม่มี โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาให้ความรู้ ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ข้อมูลไม่เพียงพอ หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - นักศึกษาเดินสำรวจให้ข้อมูล หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - อยากให้ป่ายังคงสมบูรณ์ หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - มีกิจกรรมที่เหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสม

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

15 หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ปัญหาเกี่ยวกับโควิด 19 อาจทำให้ชาวบ้านไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมที่ทางนักศึกษาจัดขึ้นจึงอาจได้รับ ความรู้ไม่เพียงพอ หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - ไม่มี หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - มีความเหมาะสม ทำให้ชาวบ้านได้รับความรู้ที่มากขึ้น หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีทำบุญข้าวใหม่กับหมู่บ้าน - การทำบุญวันพระ - ประเพณีผูกข้อไม้ข้อมือเรียกขวัญ (ทำเฉพาะแต่ละบ้าน) หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ประดู่ : ให้สีแดง หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - รู้จัก จากการย้อมด้ายผูกข้อมมือในพิธีผูกข้อมือ หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังคงมีอยู่ โดยมีการทอผ้าใส่เอง หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - มีงานอย่างอื่นที่ได้รายได้เยอะกว่าทำให้มีรายได้เยอะขึ้นจึงหันไปทำอย่างอื่น หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - ครั้งหน้าอยากให้ลงให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารแปรรูป

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

16 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - อัจจิมา ปานพิมพ์ หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - 9/1 (บ้านตีนตก) อาชีพ : เกษตรกร และ อสม. หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - พื้นที่รอบๆหมู่บ้านเป็นป่าที่สมบูรณ์ จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ผู้ล่าเข้ามาสัตว์ภายในเขตุป่า โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาให้ความรู้กับหมู่บ้าน ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ข้อมูลที่ได้รับไม่เพียงพอ หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีนักศึกษาลงพื้นที่มาให้ความรู้ หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - --------หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ไม่มี ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

17

หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - ไม่มี หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - มีความเหมาะสม หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีทำบุญข้าวใหม่กับหมู่บ้าน - ประเพณีลอยกระทง - ประเพณีผูกข้อไม้ข้อมือเรียกขวัญ (ทำเฉพาะแต่ละบ้าน) หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ลูกมะเกศา (คำแสด) ให้สีแดงเหลือง หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - ไม่รู้จัก หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังคงมีอยู่ โดยมีการทอผ้าใส่เอง หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยใส่ใจที่จะเรียนรู้ หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - ไม่มี

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

18 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - ส้ม บุญธรรม หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - 22/2 (บ้านกลาง) อาชีพ : เกษตรกร และ อสม. หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ความอุดมสมบูรณ์ของป่า จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ไม่มี โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - มีหน่วยงานภายนอก (นักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี) ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ไม่มี หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่ำาวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - จากนักศึกษา หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - ----------------------หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ปัญหาโควิด19 ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

19

หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - หน่วยงานกับชาวบ้านต้องเข้าใจกัน หากชาวบ้านอยู่ได้ป่าอยู่ได้ ต้องเข้ามาติดตามงาน หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - มีความเหมาะสม เพราะให้ความรู้และการสร้างอาชีพแก่ชาวบ้าน หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีทำบุญข้าวใหม่กับหมู่บ้าน - ประเพณีด้ายแดง (มีความเคร่งน้อยกว่าด้ายเหลือง สามารถกินสุรามึงเมาได้) - ประเพณีด้ายเหลือง (มีความเคร่งมากกว่าด้ายแดง ไม่สามารถกินสุรามึงเมาได้) หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ลูกมะเก : สีเหลืองเข้ม - ลูกหมาก : สีแดง หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - ไม่รู้จัก หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังคงมีอยู่ โดยมีการทอผ้าใส่เอง หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยใส่ใจที่จะเรียนรู้ หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - โครงการมีความเหมาะสมแล้ว - อยากให้ช่วยประชมสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่มาดูแลช้างและเสือโครง

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

20 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - นาฏยา พระบุญมี (นักวิชาการสาธารณะสุข ทันตสาธารณสุข) หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - 29 หมู่ 2 ต.หนองปรือ อ.หนองปรือ / รับราชการ หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - เป็นพื้นที่ ที่มีการปล่อยวัวแดง จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ขาดความรู้ความเข้าใจ โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - มีหน่วยงานภายนอก (นักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี) ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - จากแกนนำชุมชน ป้ามุกดา หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - ----------------------หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ไม่มี ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

21 หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - ไม่มี หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - ไม่มี หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีทำบุญข้าวใหม่กับหมู่บ้าน - ประเพณีด้ายแดง (มีความเคร่งน้อยกว่าด้ายเหลือง สามารถกินสุรามึงเมาได้) - ประเพณีด้ายเหลือง (มีความเคร่งมากกว่าด้ายแดง ไม่สามารถกินสุรามึงเมาได้) หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ลูกมะเก : สีเหลืองเข้ม หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - ไม่รู้จัก หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังคงมีอยู่ หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - ไม่ทราบ หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - การจัดโครงการมีความเหมาะสมแล้วเพิ่มเติมการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มคนหรือการเข้าถึงกลุ่มคน

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

22 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - ไม้แคะ สวัสดิ์กระบวน หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - บ้านเลขที่ 33 บ้านบึงชักโค (เจ้าวัดผู้หญิงด้ายเหลือง) หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่รู้จัก ไม่เคยเจอ โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - มีหน่วยงานภายนอก (นักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี) ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ข้อมูลยังไม่เพียงพอ หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - จากนักศึกษาให้ความรู้ หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - ----------------------หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสมและยังอยากให้มีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่อไปเรื่อยๆ หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ข้อมูลไม่เพียงพอ ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

23

หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - ไม่มี หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - ชอบ เพราะทำให้ได้ความรู้ และได้สืบสานวัฒนธรรมเก่าของชุมชน หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีด้ายเหลือง (มีความเคร่งมากกว่าด้ายแดง ไม่สามารถกินสุรามึงเมาได้) หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ลูกมะเก : สีเหลืองเข้ม หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - รู้จัก ในสมัยก่อนยังมีการยอมด้ายเพื่อผ้าอยู่บ้าง หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังคงมีอยู่ โดยมีการทอผ้าใส่เองโดยตัวเองก็ยังมีการทออยู่ แต่เริ่มมีน้อยลงทุกวัน หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - เด็กๆไปเรียนไกลบ้าน เลยไม่มีวลาที่จะมาเรียนรู้ - ยังอยากให้ลูกหลานสืบสานมันต่อไป หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - โครงการมีความเหมาะสมแล้ว - อยากให้มาจัดโครงการ และติดตามโครงการต่อเนื่อง

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

24 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - ขะเมียโจ สวัสดิ์กระบวน หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - บ้านเลขที่ 33 บ้านบึงชักโค (เจ้าวัดผู้ชายด้ายเหลือง) หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ข้อมูลไม่เพียงพอ โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - ไม่เคยทราบข้อมูลวัวแดงว่ามีการอนุรักษ์มาก่อนหน้านี้ ทราบจากนักศึกษา ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ข้อมูลยังไม่เพียงพอ หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - จากนักศึกษาให้ความรู้ หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - ----------------------หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสมและยังอยากให้มีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่อไปเรื่อยๆ หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ข้อมูลไม่เพียงพอ ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

25 หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - ให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - โครงการมีความเหมาะสมให้ความรู้แกชุมชมดี ชอบ หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีด้ายเหลือง (มีความเคร่งมากกว่าด้ายแดง ไม่สามารถกินสุรามึงเมาได้) หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ลูกมะเก : สีเหลืองเข้ม หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - รู้จัก ในสมัยก่อนยังมีการยอมด้ายเพื่อผ้าอยู่บ้าง หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มมีน้อยลงทุกวัน หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - เด็กๆไปเรียนไกลบ้าน เลยไม่มีวลาที่จะมาเรียนรู้ - ยังอยากให้ลูกหลานสืบสานมันต่อไป หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - โครงการมีความเหมาะสมแล้ว - อยากให้มาจัดโครงการ และติดตามโครงการต่อเนื่อง

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

26 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - สมชาย บ้านกลางสมภพ หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - บ้านเลขที่ 70 ท่าวัด รองนายกเทศบาลเขาโจด หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - เคยมีวัวแดงอยู่ในพื้นที่มาก่อน จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ไม่มี โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - การสร้างเครือข่ายในชุมชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ชุมชนเป็นป่าเปิดทำให้มีคนเข้ามาล่าวัวแดง หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - ห้วยขาแข็ง สลักพระ หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - เป็นผู้นำชุมชน หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - เหมาะสม หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสมและยังอยากให้มีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่อไปเรื่อย ๆ หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน มีการล่าขายของคนจากที่อื่น ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

27 หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - สร้างเครือข่ายชุมชน หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - มีความเหมาะสม หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณีด้ายเหลือง (มีความเคร่งมากกว่าด้ายแดง ไม่สามารถกินสุรามึงเมาได้) - ประเพณีกินน้ำสุก หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - ลูกมะเก : สีเหลืองเข้ม - ประดู่ - ดาวเรือง หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - รู้จัก ในสมัยก่อนยังมีการยอมด้ายเพื่อผ้าอยู่บ้าง หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - มีอยู่ถ้าเทียบกับเมื่อก่อนหายไปเยอะ หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - ทางด้านสังคมเด็กที่ทอผ้าได้เริ่มหายไป จากการที่นักเรียนที่ไปเรียนที่อื่น หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - อยากให้กระจายงาน ดูตัวแทนแต่ละคุ้ม ติดต่องานต่างๆ ผ่านผู้ใหญ่

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

28 แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัวแดงของชุมชน หมู่ 1ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล - เจ้าอาวาสวัดไทยชาวเขา หัวข้อที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน : ที่อยู่/อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/ ฐานะทางเศรษฐกิจ / ตำแหน่งทาง สังคม - เจ้าอาวาส หัวข้อที่ 2 : ข้อมูล SWOT แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ … จุดแข็ง คือข้อดีหรือจุดเด่น ข้อได้เปรียบ ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - มีป่ามีเขา ที่วัวแดงสามารถอยู่ได้ ชาวบ้านเลิกล่าวัวแดง จุดอ่อน คือข้อด้อยหรือจุดอ่อน ของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง - ข้อมูลไม่เพียงพอ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ โอกาส คือ ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุน ของพื้นที่ชุมชนบ้านตีนตกต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึง่ เป็นปัจจัยที่มาจาก ภายนอก ชุมชน เช่น หน่วยงานภายนอก นโยบายภาครัฐ การได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากองค์กร อื่นๆ การสร้างเครือข่ายของชุมชน เป็นต้น - การให้ความรู้โดยนักศึกษา ปัญหา คืออุปสรรคของพื้นที่ชุมชนหมู่ 1 ต่อการอนุรักษ์วัวแดง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกชุมชน - ชุมชนเป็นป่าเปิดทำให้มีคนเข้ามาล่าวัวแดง หัวข้อที่ 3 : ท่านทราบข่าวกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดงฯ จากแหล่งใด และท่านได้ร่วมทำกิจกรรมใดบ้าง ตั้งแต่เมื่อใด - ห้วยขาแข็ง สลักพระ หัวข้อที่ 4 : เหตุผลในการเป็นแกนนำเข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัวแดง - เป็นการอนุรักษ์และสามารถใช้หลักธรรมมาสอนได้ หัวข้อที่ 5 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง จากกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันรัก (ษ์)วัวแดง - มีความเหมาะสม อาจต้องใช้การสื่อสารหรือขอความช่วยเหลือจากพระผู้นำหรือแกนนำชุมชนเพราะ คำพูดจะดูมีน้ำหนักน่าเชื่อถือและชาวบ้านจะรับฟัง หัวข้อที่ 6 : ความเหมาะสมของข้อมูลเผยแพร่และเครือข่ายในการสื่อสารข้อมูลกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ สัตว์ป่าเขาน้ำพุฯ - เหมาะสม หัวข้อที่ 7 : ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์วัวแดง - เหมาะสมและยังอยากให้มีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่อไปเรื่อย ๆ ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

29 หัวข้อที่ 8 : ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของท่าน ชาวบ้านอาจไม่เข้าใจถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง หัวข้อที่ 9 : ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัวแดง ตามความคิดเห็นของ ท่าน - นำอาชีพมาเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัวแดง ให้เขาเห็นถึงประโยชน์จากการ อนุรักษ์ หัวข้อที่ 10 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน (โครงการปีที่ 2) - มีความเหมาะสม หัวข้อที่ 11 : ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในชุมชนของท่านมีประเพณีอะไรบ้าง - ประเพณี การแต่งกายของเด็กหญิง ยังไม่แต่งงานชุดขาว แต่งงานแล้วชุดแดง หัวข้อที่ 12 : ในชุมชนของท่านมีพืชให้สีธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ท่านรู้จัก - แก่นขนุน - หิน - ปูนกินหมาก หัวข้อที่ 13 : ท่านรู้จักการย้อมด้ายด้วยสีจากธรรมติมาก่อนหรือไม่ - รู้จัก มีการย้อมสีจากธรรมชาติ ย้อมสีจีวรพระจาก หิน (ดินแดง) แก่นขนุน (แก่นแก่ แก่นอ่อน) หัวข้อที่ 14 : ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้าในชุมชนของท่านหรือไม่ - ยังมีการทอผ้าอยู่ในหมูบ้านเช่นบ้านเจ้าวัดมี หัวข้อที่ 15 : ท่านคิดว่ามีปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้การทอผ้าเริ่มหายไปจากชุมชน - ความเจริญทางเมืองเข้าสู่ชุมชน ความเปลี่ยนแปลงทางยุคสมัย ทำให้เด็กๆไม่ค่อยเรียนรู้ หัวข้อที่ 16 : ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวัวแดงรักฉันสื่อสัมพันธ์วิธีชุมชน - ดีแล้ว

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

30

ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการสรุปรูปภาพการจัดกิจกรรมและการลงพื้นที่เพิ่มเติม วันที่ 12 พฤษภาคม 2565

ภาพ : เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลเขาโจดมาทำการตรวจ ATK ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมก่อนทำกจกรรม

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

31

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

32

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคม RMUTT

Data Loading...